Chat
x
toggle menu
toggle menu

Select Groups

All Group
  • All Group
  • นโยบายเเละมาตรการพิเศษในการส่งเสริม
  • การขอรับการส่งเสริมการลงทุน
  • การออกบัตรส่งเสริม
  • การเปิดดำเนินการ
  • การเเก้ไขโครงการ
  • การดำเนินการอื่น ๆ
  • การรายงานความคืบหน้าโครงการ (e-Monitoring)
  • การปฏิบัติหลังการได้รับการส่งเสริม
  • การยกเลิกบัตรส่งเสริม
  • เรื่องทั่วไป
  • การใช้สิทธิด้านที่ดิน
  • การใช้สิทธิด้านเครื่องจักร
  • การใช้สิทธิด้านช่างฝีมือ/ต่างด้าว
  • การใช้สิทธิด้านวัตถุดิบ
  • ประเภทกิจการ - การแพทย์
  • การใช้สิทธิด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ประเภทกิจการ - รถยนต์ไฟฟ้า
  • ประเภทกิจการ - ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (IBC) IPO และ TISO
  • ประเภทกิจการ - โรงแรม
  • ประเภทกิจการ - ผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ
  • ประเภทกิจการ - กิิจการผลิิตเครื่่องจัักร อุุปกรณ์์และชิ้นส่่วน
  • ประเภทกิจการ - กิิจการศููนย์์กระจายสิินค้้าระหว่่าง ประเทศด้้วยระบบที่่ทัันสมััย (IDC)
ยกตัวอย่าง กรณีหลอดหยอดเรซิน หากเราทิ้งไว้ในหลอดนานมันจะแข็งตัวใช้ไม่ได้ต่อไป อันนี้เป็นส่วนสูญเสียนอกสูตรใช่ไหม แล้วการคำนวณปริมาณเพื่อตัดบัญชีจะทำอย่างไร ส่วนสูญเสียนอกสูตรที่ไม่มีมูลค่ามีขั้นตอนตัดบัญชีอย่างไร (11 มิ.ย. 2563)

1. เรซิ่น ที่แข็งในหลอด ไม่สามารถนำไปใช้งานต่อได้ เป็นส่วนสูญเสียนอกสูตร

2. การคำนวณปริมาณส่วนสูญเสีย อาจใช้วิธีชั่งน้ำหนัก หักลบด้วยน้ำหนักของหลอดเปล่า เป็นต้น

3. การขอตัดบัญชีส่วนสูญเสียนอกสูตร มีขั้นตอนดังนี้

- ขออนุมัติวิธีทำลาย (หากเป็นส่วนสูญเสียชนิดเดิม และจะทำลายโดยวิธีเดิมที่ได้รับอนุมัติแล้ว ไม่ต้องขออนมัติวิธีทำลายใหม่อีก)

- ทำลายตามวิธีที่ได้รับอนุมัติ โดยติดต่อ บ.Inspector ที่ได้รับอนุญาตจาก BOI ให้มาตรวจสอบรับรองชนิดและปริมาณของส่วนสูญเสีย ก่อนและหลังการทำลาย และออกเอกสารับรองตามแบบที่ BOI กำหนด

- ในการทำลายวัตถุดิบ (ส่วนสูญเสียนอกสูตร) ต้องแจ้งกรมสรรพากรและผู้สอบบัญชีทราบ ตามประกาศของกรมสรรพากร

- ยื่นคำร้องขอตัดบัญชีส่วนสูญเสียนอกสูตรต่อ BOI พร้อมหนังสือรับรองของ บ.Inspector

- เมื่อได้รับอนุมัติ จึงยื่นขอตัดบัญชี (ปรับยอด) ต่อ IC ต่อไป

เนื่องจากลูกค้ามีการแก้ไข report-v ซึ่งทางบริษัทได้นำมาตัดบัญชีเรียบร้อยแล้ว ตัดบัญชี ระบบPaperless อนุมัติแล้ว สามารถยกเลิกได้หรือไม่ (11 มิ.ย. 2563)

1. กรณีที่ Vendor นำ report-v ไปตัดบัญชีแล้ว ผู้ส่งออก (ผู้โอน report-v) จะไม่สามารถขอแก้ไข report-v ฉบับนั้นได้

2. กรณีจำเป็นต้องแก้ไข report-v ที่มีการนำไปตัดบัญชีแล้ว Vendor ต้องยื่นเรื่องต่อ BOI เพื่อขอยกเลิกการตัดบัญชีตาม report-v ฉบับดังกล่าว

3. เมื่อ BOI อนุมัติยกเลิกตัดบัญชีตามข้อ 2 ผู้ส่งออก (ผู้โอน report-v) จึงจะสามารถแก้ไข report-v ฉบับนั้นได้ แต่ทั้งนี้ จะแก้ไขรายการและปริมาณวัตถุดิบใน report-v ไม่ได้

4. การแก้ไข report-v จะต้องทำภายใน 3 เดือน นับจากวันออก report-v

เครื่องจักรที่อยู่ในข่าย Negative List สามารถดาวน์โหลดได้จากที่ไหน

ตรวจสอบได้จาก ประกาศ สกท ที่ ป.2/2556

บริษัท ก เป็นบริษัทได้รับการส่งเสริมการลงทุนในกิจการ ผลิต Solar Cell บริษัท ข ตกลงให้บริษัท ก ผลิต Solar Cell โดยบริษัท ข จะเป็นผู้จัดหาเครื่องจักรในการผลิต และบริษัท ก เป็นผู้จัดหาวัตถุดิบและแรงงาน โดย Solar Cell ที่ผลิตได้ 60% ขายให้บริษัท ข และ 40% ขายให้บริษัทอื่น อยากทราบว่า 1. บริษัท ก สามารถนำเข้าเครื่องจักรที่บริษัท ข เป็นผู้จัดหา โดยใช้สิทธิประโยชน์ BOI ได้หรือไม่ ถ้าได้ ต้องทำอย่างไรบ้าง 2. ลักษณะการทำธุรกิจข้างต้นนั้น บริษัท ก ถือว่าเป็นการรับจ้างผลิตใช่หรือไม่ ถ้าใช่ รายได้ดังกล่าวถือว่าเป็นรายได้ที่ได้รับสิทธิ BOI และได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเหมือนกับการผลิต Solar Cell ใช่หรือไม่

ขอตอบในเบื้องต้นดังนี้

1.การที่บริษัท ก จะขอรับการส่งเสริมจาก BOI บริษัท ก จะต้องมีการลงทุนเครื่องจักรเองโดยการซื้อหรือเช่า ดังนั้น การที่บริษัท ก จะรับเครื่องจักรจากบริษัท ข มาเพื่อผลิตสินค้าให้กับบริษัท ข ตามสัญญาจ้างทำของ โดยบริษัท ก ไม่มีการลงทุนเครื่องจักรเอง จึงไม่อยู่ในข่ายที่จะขอรับส่งเสริม

2.แต่หากบริษัท ก เช่าเครื่องจักรจากบริษัท ข (หากเช่าในประเทศ ต้องเป็นเครื่องจักรใหม่ที่ไม่เคยใช้งานเชิงพาณิชย์มาก่อน) จากนั้นผลิตสินค้าให้กับบริษัท ข ตามสัญญาจ้างทำของ

กรณีนี้ บริษัท ก สามารถยื่นขอรับส่งเสริมได้ โดยรายได้จากการทำของ ที่ตรงกับชนิดผลิตภัณฑ์ที่ระบุในบัตรส่งเสริม และมีกรรมวิธีการผลิตครบถ้วนตามที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม ถือเป็นรายได้ที่สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 31 และหากบริษัท ก เป็นนิติบุคคลต่างชาติ จะต้องยื่นขอใบรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จากสํานักบริหารการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เพื่อประกอบธุรกิจรับจ้างทำของ ตามที่ได้รับส่งเสริมจาก BOI ด้วย

สำคัญ! เนื่องจากคำตอบที่ 1 แม้ว่าอาจเคยมีการตีความกฎหมายมาแล้ว แต่เข้าใจว่าไม่มีประกาศหรือคำสั่งจาก BOI ที่จะนำมาอ้างอิงได้ จึงจะขอตรวจสอบข้อมูลอีกครั้ง และหากมีข้อมูลเพิ่มเติม จะอัพเดตให้ทราบต่อไป

3. ตามคำตอบที่ 2 หากบริษัท ก ไม่มีสถานะเป็นผู้นำเข้าเครื่องจักร บริษัท ก จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรขาเข้าเครื่องจักรตามมาตรา 28 หรือ 29 ไม่ได้

สอบถามกรณีบริษัทฯ ขอรายการและสต๊อควัตถุดิบ 1 รายการเพิ่มเติม ภายหลังจากดำเนินการไปหลายปีแล้ว หากต้องการสั่งปล่อยคืนอากรย้อนหลัง จำเป็นต้องสั่งปล่อยแค่จำนวนวัตถุดิบที่รอตัดสต๊อคส่งออกหรือไม่ หรือสามารถสั่งปล่อยคืนอากรได้ไม่จำกัดจำนวน (2 ก.ค. 2563)
หากนำเข้ามาในช่วงเวลาที่ได้รับสิทธิมาตรา 36 ก็สามารถสั่งปล่อยคืนอากรได้ โดยปริมาณที่ขอสั่งปล่อยต้องไม่เกินปริมาณที่สามารถอนุมัติให้ได้ (ยอด approve) ณ วันที่ยื่นคำร้อง
ยกตัวอย่างดังนี้ หากเรานำเข้าวัตถุดิบนี้มาตั้งแต่ปี 2017 แต่ตอนนี้บีโอไออนุมัติให้สั่งปล่อยคืนอากรได้ย้อนหลังไม่เกิน 2 ปี 1) กรณีนี้เราสามารถสั่งปล่อยคืนอากรได้ถึงปี 2017 หรือไม่ 2) กรณีข้างต้น หากสมมติเรานำเข้ามาตั้งแต่ปี 2017 จำนวน 100 ชิ้น แต่เรามีการตัดบัญชีส่งออกไปแล้วโดยไม่มีวัตถุดิบตัวนี้ไปแล้ว 70 ชิ้น และเหลือที่รอตัดบัญชีอีกเพียง 30 ชิ้น ดังนั้น สมมติหากเราต้องการสั่งปล่อยคืนอากรจำนวน 50 ชิ้น เราจำเป็นต้องไปยกเลิกตัวที่ตัดบัญชีไปโดยไม่มีวัตถุดิบตัวนี้ 20 ชิ้น เพื่อจะตัดบัญชีใหม่ 20 ชิ้น (สูตรใหม่มีวัตถุดิบตัวนี้อยู่ด้วยแล้ว) + 30 ชิ้น (ที่รอตัดบัญชี) เพื่อให้ปริมาณการตัดบัญชีเท่ากับปริมาณที่เราขอสั่งปล่อยคืนอากร 50 ชิ้นหรือไม่ (2 ก.ค. 2563)
ตามประกาศ BOI ที่ ป.8/2561 ข้อ 5.1.4 การสั่งปล่อยขอคืนอากร ต้องขอคืนภายใน 2 ปีนับจากวันนำเข้า กรณีที่สอบถาม เป็นการนำเข้าตั้งแต่ปี 2017 ซึ่งเกินกว่า 2 ปีไปแล้ว จึงไม่อยู่ในข่ายจะขอสั่งปล่อยคืนอากรได้
ถ้าในกรณีที่บริษัท ก ได้มีการลงทุนในเครื่องจักร และได้นำเข้าเครื่องจักรตามโครงการครบแล้ว ซึ่งได้มีการผลิตตามกรรมวิธีที่ได้รับการส่งเสริมอยู่แล้ว แต่เนื่องจากบริษัท ก มีชื่อเสียงและประสบการณ์การผลิตด้าน Solar cell เป็นอย่างดี บริษัท ข จึงไว้วางใจและต้องการให้บริษัท ก เป็นผู้ผลิตสินค้าให้ โดยบริษัท ข จะจัดหาเครื่องจักรเองตามที่กล่าวข้างต้น กรณีนี้สามารถดำเนินการได้หรือไม่

คำถามนี้น่าจะเป็นคำถามเชิงสมมุติ ซึ่งในทางปฏิบัติอาจไม่เกิดขึ้นจริง เนื่องจากหากบริษัท ก มีเครื่องจักรอยู่แล้ว บริษัท ข ไม่น่าจะมีความเป็นต้องซื้อเครื่องจักรอีกชุดหนึ่ง แล้วส่งมาจ้างให้บริษัท ก ผลิตสินค้าให้ เพราะจะทำให้ต้นทุนการได้มาซึ่งสินค้าของบริษัท ข จะสูงกว่าการซื้อสินค้าตามปกติ

แต่หากสมมุติว่าเกิดขึ้นได้จริง ก็น่าจะเข้าข่ายตามคำตอบแรก คือเป็นการผลิตสินค้าที่บริษัท ก ไม่ได้มีกรรมสิทธิ์ในเครื่องจักร (ไม่ได้ซื้อ/ไม่ได้เช่า) จึงไม่น่าจะเข้าข่ายที่จะนับเป็นโครงการที่ได้รับส่งเสริม

1.กรณีที่บริษัท A เป็น BOI และบริษัท B เป็น BOI > บริษัท A ต้องการขายเครื่องจักรให้บริษัท B (เครื่องจักรเป็นเครื่องจักรเก่าที่ใช้งานแล้ว ) สามารถทำได้หรือไม่ 2.ถ้าสามารถทำได้ต้องดำเนินการอย่างไร

กรณีที่ A (BOI) จะขายเครื่องจักรที่นำเข้าโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรจาก BOI ให้กับ B (BOI)

  1. A (BOI) สามารถจำหน่ายเครื่องจักรได้ โดยยื่นคำขอจำหน่ายเครื่องจักรโดยมีภาระภาษีตามสภาพ แต่หากทำให้กรรมวิธีการผลิตไม่ครบถ้วนตามที่ได้รับส่งเสริม หรือทำให้กำลังผลิตลดลงมากกว่า 20% โดยไม่มีการซื้อเครื่องจักรใหม่มาทดแทน จะต้องยื่นขอแก้ไขโครงการด้วย
  2. B (BOI) สามารถรับซื้อเครื่องจักรนั้นได้ แต่ไม่สามารถนำมาใช้ในโครงการที่ได้รับส่งเสริม เนื่องจากเป็นเครื่องจักรเก่าที่เคยใช้งานเชิงพาณิชย์ในประเทศมาแล้ว

กรณีที่เราได้รับอนุมัติวัตถุดิบรายการใหม่ (เข่น วัตถุดิบ ก.) มาแล้ว และเราต้องการสั่งปล่อยคืนอากรไม่เกิน 2 ปี ย้อนหลัง เราจำเป็นต้องนำใบขนส่งออกที่เคยตัดบัญชีไปแล้วมายกเลิกตัดบัญชีและตัดบัญชีใหม่อีกรอบด้วยสูตรที่ถูกต้อง คือสูตรที่มีวัตถุดิบ ก. นี้รวมอยู่ด้วยแล้ว ใช่หรือไม่ ตัวอย่าง เช่น สั่งปล่อยคืนอากรย้อนหลัง วัตถุดิบ ก. ไม่เกิน 2 ปี จำนวน 1,000 ชิ้น จะต้องนำใบขนส่งออกที่เคยตัดบัญชีไปแล้วในสูตรที่ไม่มี วัตถุดิบ ก. มายกเลิกแล้วตัดบัญชีใหม่ ในสูตรที่มีวัตถุดิบ ก. เพื่อให้ได้สต๊อควัตถุดิบ ก. คืนมา จำนวน 1,000 ชิ้น (2 ก.ค. 2563)

1.หากบัญชีสต็อกวัตถุดิบปัจจุบันมีรายการวัตถุดิบ A บริษัทสามารถยื่นสั่งปล่อยคืนอากรวัตถุดิบ A ที่เคยนำเข้าโดยชำระภาษีอากรได้ โดยต้องขอคืนภายในไม่เกิน 2 ปีนับจากวันนำเข้า

2.สามารถยื่นขอยกเลิกการตัดบัญชี เพื่อยื่นตัดบัญชีใหม่ โดยเลือก revision ที่ถูกต้องได้ / ซึ่งหากเดิมเป็นการตัดบัญชีด้วยระบบเดิม (แบบใช้สำเนาใบขน) ให้ยื่นเรื่องที่ BOI / แต่หากเดิมเป็นการตัดบัญชีแบบ paperless ให้ยื่นเรื่องที่ IC เพื่อส่งให้ BOI พิจารณา

3.การพิจารณาอนุมัติให้ยกเลิกตัดบัญชี เพื่อตัดใหม่โดยใช้ revision ที่บริษัทต้องการ เป็นดุลยพินิจของ เจ้าหน้าที่ BOI ผู้รับผิดชอบโครงการของบริษัท ดังนั้น บริษัทจึงควรเตรียมข้อมูลทั้งหมด และไปปรึกษาเจ้าหน้าที่ BOI ผู้รับผิดชอบก่อนที่จะสั่งปล่อยคืนอากร และยื่นยกเลิกตัดบัญชีเพื่อตัดใหม่

สอบถามการ Return ผลิตภัณฑ์ บริษัทได้นำเข้า Return ผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ และถ้าส่งกลับออกต่างประเทศเราต้องใส่ Product Code และ Description ตามสูตรที่ขออนุมัติไว้ใช่หรือไหม เพราะสงสัยว่าตอนที่คีย์ฐานข้อมูลให้ IC เช่น Product Code จะเป็น RTV R00005 และเวลาตัดบัญชีสามารถตัดได้ปกติใช่หรือไหม (2 ก.ค. 2563)

การส่งออกผลิตภัณฑ์ที่นำเข้ามาซ่อม จะต้องคีย์ Product Code และ Product Description ให้ตรงกับสูตรที่ได้รับอนุมัติ และต้องตรงกับข้อมูลในใบขนสินค้าขาออก

กรณีที่ Product Code และ Product Description ตรงกับข้อมูลในใบขนสินค้าขาออก ให้เลือกรูปแบบไฟล์ตัดบัญชีเป็น "ใบขนสินค้าขาออก"

กรณีที่ Product Code และ Product Description ไม่ตรงกับข้อมูลในใบขนสินค้าขาออก ให้เลือกรูปแบบไฟล์ตัดบัญชีเป็น "เอกสารอื่น"

นอกจากนี้ ยังมีอีก 1 วิธีคือ ในการขออนุมัติสูตรของผลิตภัณฑ์ที่นำกลับเข้ามาซ่อมเพื่อส่งออกให้ระบุชื่อสินค้าและโมเดลตามที่กลับนำเข้าซ่อมตามจริง ซึ่งเมื่อนำสูตรที่ได้รับอนุมัติไปบันทึกที่ IC จะได้รับการบันทึกเป็น revision 0 และเมื่อจะตัดบัญชีผลิตภัณฑ์ที่นำเข้ามาซ่อมแล้วส่งออก ให้ระบุเป็น revision 0

ถ้าโครงการ 1 ได้เปิดดำเนินการแล้ว และกำลังอยู่ในขั้นตอนขอโครงการใหม่ ในโครงการใหม่สามารถขอใช้เครื่องจักรร่วมกับของโครงการ 1 ได้หรือไม่ ต้องทำอย่างไรบ้าง

โดยหลักการ โครงการที่ได้รับส่งเสริมแต่ละโครงการ ไม่สามารถใช้เครื่องจักรร่วมกันได้ เพราะจะถือเป็นการสวมสิทธิ คือนำเครื่องจักรที่เคยใช้ผลิตเพื่อยกเว้นภาษีเงินได้ในโครงการหนึ่ง ไปใช้ผลิตเพื่อใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ในอีกครั้งในโครงการอื่น

แต่หากเป็นเครื่องจักรเป็นที่ไม่มีผลกระทบต่อกำลังผลิตและกรรมวิธีการผลิต เช่น แม่พิมพ์ รถโฟลค์ลิฟต์ อาจอยู่ในข่ายที่จะขอใช้ร่วมกันได้ ซึ่งมี 3 แนวทางคือ

1.แจ้งในขั้นยื่นขอรับส่งเสริมโครงการที่ 2 ว่าจะขอใช้เครื่องจักรร่วมกับโครงการที่ 1 ในขั้นตอน

2.ยื่นขอแก้ไขโครงการที่ 2 (กรณีได้รับบัตรส่งเสริมโครงการที่ 2 แล้ว) เพื่อขอแก้ไขโครงการเพื่อใช้เครื่องจักรร่วมกับโครงการที่ 1 ในขั้นตอน ....

3.ยื่นเรื่องในสถานะโครงการที่ 1 เพื่อขออนุญาตใช้เครื่องจักรเพื่อการอื่น (คือขอนำไปใช้ในโครงการที่ 2)

เนื่องจากเรื่องนี้ BOI ไม่มีคำสั่งหรือระเบียบปฏิบัติที่สามารถนำมาอ้างอิงได้โดยชัดเจน จึงควรปรึกษา จนท BOI ที่พิจารณาโครงการของบริษัทโดยตรงด้วย

บริษัทได้รับอนุมัติเปิดดำเนินการแล้ว กำลังการผลิตจากเครื่องจักรหลัก 10 เครื่อง บริษัทได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และได้พบว่าเครื่องจักรชำรุด 3 เครื่อง และจึงซื้อเครื่องใหม่เข้ามาทดแทน ขอสอบถามดังนี้ 1.บริษัทจะต้องทำเรื่องแจ้ง BOI หรือไม่ 2.สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สามารถใช้ได้เฉพาะสินค้าที่ผลิตได้ 7 เครื่อง ใช่ไหม ส่วน 3 เครื่องที่ซื้อใหม่ถือว่าเป็นเครื่องจักร NON BOI ไม่สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ใช่หรือไม่

กรณีที่ได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการจาก BOI แล้ว แต่ต่อมาภายหลังเครื่องจักรชำรุดเสียหาย บริษัทสามารถซื้อเครื่องจักรใหม่เข้ามาทดแทนเครื่องจักรที่ชำรุดเสียหาย เพื่อใช้สิทธิประโยชน์ตามที่เหลืออยู่ของโครงการเดิมได้ โดยเครื่องจักรที่ซื้อมาทดแทนนี้

  1. จะต้องเป็นเครื่องจักรใหม่ (หรือกรณีที่บัตรส่งเสริมอนุญาตให้ใช้เครื่องจักรเก่า จะต้องเป็นเครื่องจักรเก่าที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งผลิตไม่ก่อนปีที่กำหนดในบัตรส่งเสริม และมีใบรับรองประสิทธิภาพเครื่องจักรเก่า)
  2. จะไม่ได้รับสิทธิยกเว้นถาษีอากรขาเข้า (ยกเว้นเป็นประเภทกิจการที่ระบุในบัตรส่งเสริมให้ได้รับสิทธิเครื่องจักรตลอดระยะเวลาที่ได้รับส่งเสริม)
  3. จะต้องบันทึกเป็นสินทรัพย์ของโครงการที่ได้รับส่งเสริมนั้น
  4. บริษัทจะยังคงมีกำลังผลิตและมูลค่าวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามที่ระบุในบัตรส่งเสริมอยู่เดิม แม้ว่าเครื่องจักรที่ซื้อมาทดแทนนี้จะทำให้บริษัทมีกำลังผลิตเพิ่มขึ้นหรือลดลงกว่าเดิมก็ตาม

กรณีลูกค้า A BOI นำสินค้าจาก B เราBOI ส่งสินค้าที่เป็นชิ้นส่วนวัตถุดิบผ่าน courier เช่น DHL FedEx ออกไปต่างประเทศ แบบ No commercial value สามารถระบุการโอนมาให้กับเรา B โดยระบุเลขนิติบุคคล 13 หลักได้หรือไม่เพื่อมาตัดบัญชี (2 ก.ค. 2563)
ไม่เข้าใจประเด็นที่บริษัทต้องการสอบถาม หาก B (BOI) จำหน่ายวัตถุดิบให้ A (BOI) แล้ว A นำไปผลิตเป็นสินค้าส่งออก A จะต้องตัดบัญชีจากใบขนขาออก และโอนสิทธิตัดบัญชีวัตถุดิบที่ซื้อจาก B ให้กับ B ในรูป report-V (paperless)
กรณีลูกค้านำสินค้าเราไปส่งออก โดยใช้ Fedex หรือ DHL ส่งออกไปต่างประเทศ โดยใบขนจะจะเป็นของ Fedex เป็นผู้ส่งออก ในใบขนมี 10 รายการ แต่สินค้าของเรามีแค่รายการที่ 2 อย่างเดียว สามารถให้ Fedex ระบุในขน เลข BOI ของบริษัทเราได้ไหม หรือระบุโอนสิทธิ์ให้โดยใส่เลขนิติบุคคล 13 หลัก (2 ก.ค. 2563)

กรณีบริษัท BOI ส่งออกสินค้าโดยใช้บริการบริษัทขนส่ง ขอให้แจ้งข้อมูลกับผู้ให้บริการว่าเป็นการส่งออกแบบใช้สิทธิ BOI ที่ต้องเดินพิธีการขาออก มิฉะนั้น ชื่อผู้ส่งออกในใบขนสินค้า อาจเป็นชื่อของบริษัทผู้ให้บริการ และอาจไม่ได้ระบุการใช้สิทธิ BOI ในใบขนซึ่งจะนำมาตัดบัญชี BOI ไม่ได้

กรณีที่สอบถาม A (BOI) ผลิตวัตถุดิบจำหน่ายให้ B (BOI) จากนั้น B ผลิตเป็นสินค้าส่งออกต่างประเทศ แต่พบว่าชิ้นส่วนที่ซื้อจาก A ไม่ได้มาตรฐาน B จึงนำชิ้นส่วนตัวใหม่จาก A ส่งออกเป็น service part ให้ลูกค้าต่างประเทศ โดยใช้บริการบริษัทขนส่ง

กรณีนี้ให้ระบุชื่อผู้ส่งออกในใบขนสินค้าขาออกเป็น B และระบุการใช้สิทธิ BOI และระบุเลขนิติบุคคลของ A ในช่อง remark ของสินค้าที่จะโอนสิทธิตัดบัญชีให้ A

สอบถามเพิ่มเติมว่า กรณีนี้บริษัทฯ ต้องแจ้ง BOI ด้วยหรือไม่

กรณีนี้ไม่ต้องแจ้ง BOI เนื่องจากเป็นเครื่องจักรที่นำเข้ามาทดแทนโดยไม่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษี และในบัตรส่งเสริมไม่มีเงื่อนไขระบุให้ต้องแจ้งรายงานต่อ BOI

ในกรณีแม่พิมพ์ที่ได้ส่งออกไปซ่อมที่ต่างประเทศนำเข้ามาไม่ทันตามระยะเวลานำเข้า (ของทางบริษัทจะครบกำหนดในวันที่ 17/10/2562) จะต้องเสียอากรนำเข้าตามปกติใช่หรือไม่ และการรายงานในระบบ eMT Online ที่ได้รายงานไปตอนนำออกไปซ่อม เมื่อแม่พิมพ์ส่วนนี้เข้ามา จะยังต้องดำเนินการหรือไม่/อย่างไร

หากนำเข้าแม่พิมพ์ที่ส่งไปซ่อมต่างประเทศ กลับเข้ามาไม่ทันระยะเวลาที่ได้รับสิทธิตามมาตรา 28 หรือ 29 ให้ดำเนินการดังนี้

  1. ให้ยื่นคำร้องเปลี่ยนเรื่องการส่งซ่อมต่างประเทศ เป็นส่งคืนต่างประเทศ เพื่อไม่ให้แม่พิมพ์ดังกล่าวติดค้างในบัญชีรายการที่ใช้สิทธิ
  2. ในการนำแม่พิมพ์กลับเข้ามาหลังสิ้นสุดสิทธิ น่าจะใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเฉพาะตัวแม่พิมพ์ตามที่ได้ทำใบสุทธินำกลับไว้ได้ แต่ค่าซ่อม จะต้องชำระอากรขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่มตามปกติ ครับ

ตัดบัญชีใบขน BOI & FORM E: กรณีเราได้รับการส่งเสริม BOI โดยผลิตสินค้าที่นำเข้ามาโดยใช้สิทธิมาตรา36 ผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อส่งออกโดยปกติเราจะส่งขายไปต่างประเทศโดยนำใบขนมาตัดได้ปกติ แต่ถ้าเราจะส่งออกโดยให้ shipping เป็นคนทำเอกสาร form E และระบุใบขนใช้สิทธิ BOI ตามบัตรส่งเสริมเหมือนเดิม แบบนี้ได้ใช่ไหม และก็ตัดได้ปกติใช่ไหม
ปกติบริษัทผู้ส่งออกจะมอบหมายให้บริษัท shipping เป็นผู้จัดเตรียมร่างใบขนสินค้าขาออก หากมีการระบุรายละเอียดในใบขนขาออกครบถ้วนตามที่ BOI กำหนด เช่น ระบุการใช้สิทธิ BOI ระบุชื่อผู้ส่งออกเป็นผู้ที่ได้รับการส่งเสริม ระบุชื่อสินค้าและชื่อรุ่นตามที่ได้รับอนุมัติสูตรการผลิต ฯลฯ ก็สามารถนำใบขนดังกล่าวมาตัดบัญชีได้
บริษัทจะส่งออกวัตถุดิบเพื่อไป TEST กับเครื่องจักรที่ญี่ปุ่น โดยวัตถุดิบนี้นำเข้าแบบใช้สิทธิ BOI มา คำถาม 1.สามารถทำเรื่องแบบส่งคืนวัตถุดิบได้หรือไม่ 2. จะมีปัญหาไหมที่ส่งออกวัตถุดิบเพื่อไป TEST (กรกฎาคม 2564)
เดิม BOI เคยมีแนวทางปฏิบัติในการขออนุญาตส่งคืนวัตถุดิบไปต่างประเทศ ว่าจะอนุญาตให้ส่งคืนในกรณีที่เป็นวัตถุดิบที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือมีการยกเลิกคำสั่งซื้อ เป็นต้น
แต่ปัจจุบัน ได้เปลี่ยนจาก "การส่งคืน" เป็น "การส่งออก" โดยบริษัทไม่ต้องระบุเหตุผลที่จำเป็นต้องขอส่งออก
ดังนั้น แม้จะเป็นการส่งวัตถุดิบไปต่างประเทศเพื่อ test เครื่องจักร ก็สามารถยื่นขออนุญาตส่งออกได้ แต่ทั้งนี้ หากการส่งวัตถุดิบไปต่างประเทศ ไม่เกี่ยวกับกิจการตามที่ได้รับส่งเสริม และเป็นไปในเชิงพาณิชย์ บริษัทไม่ควรนำเข้าวัตถุดิบดังกล่าวโดยใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบตามมาตรา 36 ตั้งแต่แรก
บริษัทสามารถอธิบายเหตุผลลงในช่อง "เหตุผลการขอเปลี่ยนสถานะ" ได้เลยใช่หรือไม่ และการยื่นคำร้องเปลี่ยนสถานะการส่งซ่อมเป็นส่งคืน จะต้องทำการยื่นคำร้องหลังจากพ้นระยะเวลาที่ได้รับสิทธิ์ หรือต้องทำการยื่นคำร้องก่อนหมดระยะเวลาที่ได้รับสิทธิ์

1. เหตุผล จะกรอกอย่างไรก็ได้ ตามข้อเท็จจริงที่ต้องการเปลี่ยนสถานะจากส่งซ่อมเป็นส่งคืน

2. วันที่ยื่นเปลี่ยนสถานะ จะยื่นในวันที่ทราบชัดว่าไม่สามารถซ่อมเสร็จแล้วนำกลับเข้ามาได้ทันกำหนด หรือจะยื่นวันสุดท้ายของวันสิ้นสุดระยะเวลานำเข้า ก็ได้

ทางบริษัทพึ่งจะได้รับบัตรส่งเสริม และจะทำการนำเข้าเครื่องจักรในอันดับต่อไป รบกวนเจ้าหน้าที่ช่วยแนะนำและให้ความรู้ในขั้นตอนต่อไปด้วยครับ ว่าจะต้องดำเนินการต่ออย่างไร และหากมีข้อสงสัยในการทำเอกสารหรือผ่านออนไลน์ สามารถที่จะปรึกษากับเจ้าหน้าที่โดยตรงท่านไหนได้บ้าง

ตามที่ท่านได้สอบถามเกี่ยวกับการนำเข้าเครื่องจักร มีแนวทางการปฏิบัติ ดังนี้

1. บริษัทเตรียมข้อมูลขออนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักร (Machinery’s Master List) โดยนำส่งข้อมูลรายการเครื่องจักรที่ใช้ทั้งหมดในโครงการ

2. บริษัทยื่นคำร้องบัญชีรายการเครื่องจักรผ่านระบบ eMT

3. เมื่อสำนักงาน รับคำร้องบัญชีรายการเครื่องจักรแล้ว จะใช้เวลาพิจารณาอนุมัติ / ไม่อนุมัติ ภายใน 60 วันทำการ ผ่านระบบ eMT

4. บริษัทยื่นขออนุมัตินำเข้าเครื่องจักร โดยยื่นขออนุมัติสั่งปล่อยเครื่องจักร (F IN MI) ซึ่งสามารถขอสั่งปล่อยเครื่องจักรเฉพาะรายการได้ ผ่านระบบ eMT โดยสมาคมสโมสรนักลงทุน (IC) ดำเนินการภายใน 3 ชั่วโมง

ทั้งนี้ ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจาก ประกาศสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ ป.2/2554 เรื่อง วิธีปฏิบัติในการใช้สิทธิประโยชน์สำหรับเครื่องจักรด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์แบบครบวงจร (Electronic Machine Tracking (eMT online)) 

กรณีสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมท่านสามารถติดต่อสมาคมสโมสรนักลงทุน (Investor Club Association : IC) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานบีโอไอ ให้บริการสิทธิประโยชน์ด้านเครื่องจักรและวัตถุดิบแก่บริษัทที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ ให้บริการตอบคำถาม วิธีปฏิบัติ ขั้นตอนการดำเนินงาน ประสานงานแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับโปรแกรมการใช้งาน สำหรับงานสิทธิและประโยชน์ด้านเครื่องจักรด้วยระบบ eMT Online โทร.0 2936 1429 หรือติดต่อสมาคมสโมสรนักลงทุน เลขที่ 1 อาคารทีพีแอนด์ที ชั้น 12 ถนน วิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

ขออภัยครับ ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ในภาษาที่ท่านเลือก !

Sorry, There is no information support your selected language !

Download และ ติดตั้งโปรแกรมอ่าน PDF

Download PDF Reader

Site map