เมื่อบริษัท A และบริษัท B ควบรวมกิจการเข้าด้วยกันเป็นบริษัทไม่ว่าจะใช้ชื่อเป็น A หรือ B หรือ C ก็ตาม
ในทางกฎหมายถือเป็นคนละนิติบุคคลกับบริษัทเดิมที่ก่อนจะควบรวมกิจการ ดังนั้น
บัตรส่งเสริมของบริษัท A และ B จึงจะสิ้นสุดอายุไปในเวลา
3 เดือนนับจากวันที่ควบรวมกิจการด้วยเช่นกัน
กรณีที่บริษัทที่เกิดขึ้นใหม่จากการควบรวมกิจการ
ประสงค์จะเป็นผู้ได้รับส่งเสริมในกิจการเดิมของบริษัท A และ B จะต้องยื่นขอรับโอนกิจการจากบริษัท
A และ B เช่นเดียวกับกรณีของการโอนและรับโอนกิจการข้างต้น
ทั้งนี้หากบริษัท C ที่คาดว่าจะขอรับการส่งเสริมเพื่อควบรวมกิจการยังไม่มีการจัดตั้ง
ณ วันที่ยื่นขอรับการส่งเสริม สามารถยื่นขอในนามบุคคลธรรมดาได้
แต่ควรระบุชื่อบริษัทที่คาดว่าจะจัดตั้งในคำขอรับการส่งเสริมด้วย
บริษัท C จะต้องยื่นคำขอรับการส่งเสริมเพื่อขอรับโอนกิจการดังกล่าว
โดยคณะกรรมการจะพิจารณาให้ได้รับสิทธิประโยชน์เท่าที่ยังเหลืออยู่เดิม
ขั้นตอนการขอรับโอนกิจการในกรณีที่ผู้รับโอนเป็นบริษัทที่เกิดใหม่จากการควบรวมกิจการ
มีขั้นตอนและแนวทางพิจารณาเช่นเดียวกันกับการโอน – รับโอนกิจการตามปกติ
ข้อควรระวังในการควบรวมกิจการ
ควรจะต้องยื่นขอรับการส่งเสริมก่อนที่การควบรวมกิจการมีผล
เนื่องจากผลกำไรของรายได้ที่จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจากจากกิจการที่มีการควบรวมกิจการจะมีผลตั้งแต่วันอนุมัติขอรับการส่งเสริมควบรวมกิจการ
หากอนุมัติภายหลังหรือยื่นภายหลังเกิดการควบรวมกิจการแล้ว
รายได้ในช่วงระหว่างยื่นเรื่องถึงวันก่อนอนุมัติจะไม่สามารถยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้
1.
บริษัทต้องสมัครเป็นสมาชิกสมาคมสโมสรนักลงทุน (IC)
พร้อมทั้งขอรหัสโครงการเพื่อใช้ในระบบการสั่งปล่อยวัตถุดิบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (RMTS)
2. บริษัทสามารถขออนุมัติบัญชีปริมาณสต๊อกสูงสุดได้โดยขอรับแบบฟอร์มจากสำนักงานไปดำเนินการ หรือ Download โดยใช้แบบฟอร์ม F IN RM 13 และ ตัวอย่างที่ 19
3.
เมื่อเรื่องได้รับการอนุมัติปริมาณสต๊อคแล้ว
จะต้องนำเอกสารอนุมัตินั้นไปบันทึกในระบบฐานข้อมูลของสมาคมสโมสรนักลงทุน (IC)
เพื่อใช้อ้างอิงในการสั่งปล่อยวัตถุดิบโดยระบบ RMTS ต่อไป
ผู้ได้รับส่งเสริมที่เป็นนิติบุคคลต่างชาติ
สามารถขอถือกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อใช้เป็นสถานที่ตั้งโรงงานได้ โดยมีแนวทางพิจารณา
ดังนี้
- ตรวจสอบรายชื่อผู้ถือหุ้นและสัดส่วนผู้ถือหุ้นว่า
ต้องเป็นหุ้นต่างชาติข้างมาก
- ต้องเป็นที่ดินในจังหวัดและนิคมอุตสาหกรรม
ตามเงื่อนไขสถานที่ตั้งโรงงานที่ระบุในบัตรส่งเสริม
- ต้องมีขนาดของที่ดินเหมาะสมกับขนาดของกิจการที่ได้รับการส่งเสริม
- กรณีที่ขอถือกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อรองรับการขยายกิจการในอนาคต
จะต้องเสนอรายละเอียดของแผนการขยายโครงการในอนาคตด้วย
- กิจการที่อาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
และจำเป็นต้องใช้ที่ดินจำนวนมากเพื่อก่อสร้างระบบป้องกันหรือบำบัดปัญหาสิ่งแวดล้อม
เช่น ระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น จะอนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในปริมาณที่เพียงพอต่อการก่อสร้างดังกล่าวด้วย
พรบ ส่งเสริมการลงทุน มาตรา 27 ผู้ได้รับการส่งเสริมจะได้รับอนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินเพื่อประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามจำนวนที่คณะกรรมการพิจารณาเห็นสมควร แม้ว่าจะเกินกำหนดที่จะพึงมีได้ตามกฎหมายอื่น
ในกรณีที่ผู้ได้รับการส่งเสริมซึ่งเป็นคนต่างด้าวตามประมวลกฎหมายที่ดินเลิกกิจการที่ได้รับการส่งเสริมหรือโอนกิจการนั้นให้แก่ผู้อื่น ผู้ได้รับการส่งเสริมต้องจำหน่ายที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่เลิกหรือโอนกิจการ มิฉะนั้นให้อธิบดีที่ดินมีอำนาจจำหน่ายที่ดินนั้นตามประมวลกฎหมายที่ดิน
สิทธิประโยชน์ด้านที่ดิน ตาม พรบ.ส่งเสริมการลงทุน เป็นการอนุญาตให้ต่างชาติซึ่งไม่มีสิทธิหรือถูกจำกัดสิทธิการถือครองที่ดิน สามารถถือกรรมสิทธิ์ที่ดินได้ ตามที่ BOI เห็นสมควร ทั้งนี้สิทธิในการถือครองที่ดินนี้ไม่เกี่ยวกับเรื่องภาษีที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่กำหนดไว้โดยพระราชบัญญัติ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
1,3,4. กรณีผู้รับจ้าง คือ A (BOI) นำวัตถุดิบเข้ามาโดยใช้สิทธิ ม.36 เพื่อผลิตจำหน่ายให้ B (BOI) แต่ต่อมามีการยกเลิกสัญญาจ้างผลิต ทำให้มีวัตถุดิบเหลือค้างที่ A หากวัตถุดิบดังกล่าวเป็นกล่าวเป็น spec ที่ใช้สำหรับผลิตสินค้าของ B ซึ่ง A ไม่สามารถนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น A และ B สามารถยื่นขอโอน/รับโอนวัตถุดิบได้ แต่ทั้งนี้ B ต้องได้รับอนุมัติบัญชีวัตถุดิบที่มีรายการวัตถุดิบเดียวกันนั้นด้วย จึงจะรับโอนได้
2. BOI ไม่มีข้อกำหนดเรื่องราคาที่จะโอน/รับโอน
กรณีนี้ ข้อเท็จจริงเป็นการโอนวัตถุดิบเนื่องจากยกเลิกสัญญาจ้าง การจะกำหนดราคาอย่างไร ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรง
3. การโอนวัตถุดิบ (โอนยอดในระบบ RMTS) สามารถโอนได้ หากชื่อวัตถุดิบของผู้โอนและผู้รับโอนตรงกัน
1.
ให้ความช่วยเหลือด้านการขอรับส่งเสริมการลงทุน
- ให้คำปรึกษาในการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนทั้งรายใหม่และรายเดิมที่ต้องการขยายการลงทุน
- ให้คำแนะนำในการดำเนินการต่างๆ เช่น การเตรียมข้อมูลสำหรับการขอรับส่งเสริมการลงทุน การขอวีซ่าและใบอนุญาตทำงานสำหรับชาวต่างชาติ การขอใบอนุญาตจากหน่ายงานของรัฐอื่นๆ ที่
2. บริการจับคู่ธุรกิจ
- บริการฐานข้อมูลผู้ร่วมลงทุน โดยสามารถสืบค้นข้อมูลได้จากเว็บไซต์สำนักงาน และสามารถฝากข้อมูลเพื่อ ประกาศหาผู้ร่วมลงทุนได้
- ให้บริการคำปรึกษาและจัดอบรมแก่นักลงทุนที่สนใจไปลงทุนในต่างประเทศ
3. กองพัฒนาและเชื่อมโยงการลงทุน (Industrial Linkage Development
Division) ให้บริการดังนี้
- เชื่อมโยงผู้ประกอบการในการสร้างเครือข่ายทางการค้าและธุรกิจ
- สร้างซัพพลายเออร์
และพัฒนาความสามารถของผู้ประกอบการไทย
- เสริมช่องทางการตลาดให้ผู้ประกอบการไทยสามารถขยายตลาดได้มากขึ้นทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ
- แนะนำช่องทางการค้าและการลงทุน
เพื่อเปิดโอกาสร่วมลงทุนระหว่างผู้ประกอบการไทยด้วยกันและระหว่างผู้ประกอบการไทยและต่างชาติ
4. อำนวยความสะดวกในการขอวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน
- รับคำขอ
อนุมัติ/อนุญาต รวมถึงการให้คำแนะนำในการกรอกคำขอ
- ดำเนินการเรื่องช่างฝีมือ
การบรรจุตัวช่างฝีมือ ผู้ชำนาญการและครอบครัว
5. ให้บริการศูนย์บุคลากรทักษะสูง (Strategic Talent Center- STC)
สนใจเพิ่มเติมโปรดติดต่อที่ โทรศัพท์: 0 2209
1100 อีเมล์: stc@boi.go.th
การยื่นขอส่งเสริมเพื่อผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจะต้องยื่นเอกสาร
ดังนี้
1.
แบบฟอร์มขอรับการส่งเสริม ทั่วไป (F PA PP 01-06)
2.
แผนงานรวม (Package)
ที่ประกอบด้วย โครงการประกอบรถยนต์และโครงการผลิตหรือใช้ชิ้นส่วนสำคัญ
แผนการนำเข้าเครื่องจักรและติดตั้ง แผนการผลิตรถยนต์ปีที่ 1-3 แผนการผลิตหรือจัดหาชิ้นส่วนอื่นๆ
แผนการจัดการแบตเตอรี่ใช้แล้ว และแผนการพัฒนาผู้ผลิตวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนในประเทศ
(Local Supplier) ที่มีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ
51 ในการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีและการให้ความช่วยเหลือทางเทคนิค
3.
เอกสารแนบเกี่ยวกับเงื่อนไขอื่นๆ ของประเภทกิจการ เช่น ข้อมูลผลิตภัณฑ์
กระบวนการผลิต เครื่องจักรและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า
รวมถึงแผนการผลิตและตลาด เป็นต้น
เพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตให้ทัดเทียมกับประเทศคู่แข่งขันในระดับสากล
จึงเป็นที่มาที่ทำให้ผู้ประกอบการไทย
รวมถึงหน่วยงานรัฐในฐานะผู้กำกับดูแลต้องปรับตัวให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
โดยมาตรฐาน GMP ตามแนวทาง PIC/S ได้ออกเป็นประกาศของกระทรวงสาธารณสุข
เรื่อง
กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการในการผลิตยาแผนปัจจุบันตามกฎหมายว่าด้วยยา
พ.ศ. 2554 ลงวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2554
ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้ว ณ ปัจจุบัน
มาตรฐานการผลิตที่ดี Good Manufacturing
Practice: GMP ในอุตสาหกรรมยา
องค์การเภสัชกรรม
ได้ให้คำนิยามสำหรับหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตยา หรือ Good Manufacturing Practice (GMP) ไว้ว่า คือ ข้อกำหนด
ระเบียบ แบบแผน
และวิธีปฏิบัติที่นำมาใช้ในการผลิตที่ดีและได้สินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐาน
ซึ่งครอบคลุมถึง สถานที่ผลิต อุปกรณ์เครื่องจักร บุคลากร วัสดุ เอกสารต่างๆ
และสิ่งอื่นที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการการผลิตทุกขั้นตอน
PICS หรือ Pharmaceutical Inspection
Cooperation Scheme
กำหนดโดยองค์กรสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (European
Free Trade Association หรือ EFTA) ประกอบไปด้วยประเทศสมาชิกเริ่มต้นทั้งหมด
18 ประเทศ เพื่อมีข้อตกลงร่วมกันในการตรวจสอบการผลิตยา
ภารกิจหลักของ PICS คือเป็นศูนย์รวมและผู้สนับสนุนหลักให้ประเทศสมาชิกในการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตยา
เช่น การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ข้อมูล องค์ความรู้ด้าน GMP ทำหน้าที่ในการรายงาน
ตรวจสอบ จัดประชุม จัดการอบรมให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสอบ GMP (GMP
Auditor/Inspector) พัฒนาปรับปรุงเอกสารคู่มือต่างๆ ในการผลิตยา
รวมไปถึงการส่งเสริมการจัดตั้งเครือข่ายและเสริมสร้างความเชื่อมั่นระหว่างประเทศสมาชิกและส่งเสริม
International Harmonization ในด้าน GMP
สำนักงานได้ให้ความสำคัญกับการลงทุนเพื่อยกระดับมาตรฐานดังกล่าวเป็นอย่างมาก
โดยได้กำหนดมาตรฐานดังกล่าวเป็นเงื่อนไขในการขอรับการส่งเสริมการลงทุนในกิจการผลิตยาทั้งแผนปัจจุบันและแผนโบราณด้วย
ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนและแบ่งเบาภาระในการลงทุนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของบริษัทในประเทศไทย
ให้กรอก ‘0’ ในส่วนที่ยังไม่มีข้อมูล และโปรดแนบหนังสือบริษัทชี้แจงเหตุผลในระบบฯ เช่น บริษัทเพิ่งจัดตั้งจึงยังไม่มีข้อมูลในส่วนนี้
สามารถแก้ไขข้อมูลได้ ถ้ายังไม่ได้กดปุ่ม ‘ส่งข้อมูล’ แต่หากส่งข้อมูลแล้ว โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่ศูนย์ เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 1-7 หรือกองบริหารการลงทุน 1-5 เพื่อดำเนินการส่งข้อมูลคืนให้แก้ไข ทั้งนี้ เมื่อ แก้ไขแล้ว ต้องกดปุ่ม ‘ส่งข้อมูล’ อีกครั้ง
เบื้องต้นให้กรอกมูลค่ารวมจาก ภ.ง.ด.50 ทุกฉบับ และรวมไฟล์ ภ.ง.ด.50 ของทุกฉบับเป็นไฟล์เดียวกันเพื่อแนบในระบบฯ
ในระยะแรก สามารถประมาณจากระดับการศึกษาที่บริษัทใช้กำหนดคุณสมบัติประจำตำแหน่ง (Job Qualification) ของคนงานไทย ทั้งนี้ ในระยะถัดไปขอให้จัดเก็บและรายงานข้อมูลที่ใกล้เคียงความเป็นจริงมากขึ้น
ในการทำใบขน เข้าใจว่าให้แจ้งชิปปิ้งเพื่อระบุในหมายเหตุว่า ขอสงวนสิทธิ BOI
หากโครงการยังยกเลิกหรือเพิกถอนไม่แล้วเสร็จ ถือว่าเป็นโครงการที่ยังต้องรายงานความคืบหน้าโครงการ
ให้เลือก ‘เป็นกิจการที่ไม่ต้องใช้ที่ดิน/ใช้ที่ดินเดิม’
1.โครงการที่ได้รับส่งเสริมตามนโยบาย (ประกาศที่ 2/2557) จะไม่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรเก่าหากบริษัทฯ ได้ใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรเก่า จะต้องขอชำระภาษีอากรของเครื่องจักรนั้น
2.ขั้นตอนคือ ให้ยื่นคำขอชำระภาษีเครื่องจักร ผ่านระบบ eMT และเลือกประเภทขอชำระภาษีเป็น "ชำระภาษีตามสภาพ ณ วันที่นำเข้า"
1.ในบัญชีสินทรัพย์จะต้องระบุว่าเครื่องจักรรายการใด ลงบันทึกสินทรัพย์เป็นของโครงการใด เพื่อให้สามารถคำนวณค่าใช้จ่ายของแต่ละโครงการได้อย่างถูกต้อง ดังนั้น แม้ว่าในอินวอยซ์จะมีการซื้อเครื่องจักรของ 2 โครงการเข้ามาพร้อมกัน ก็ไม่มีปัญหาอะไร
2.กรณีที่บัตรส่งเสริมระบุเวลาทำงานเป็น 24 ชั่วโมง แต่บริษัทผลิตจริงเพียง 8 ชั่วโมง หากคำนวณกำลังผลิตต่อ 1 ชั่วโมง แล้วได้เท่ากัน (บวกลบไม่เกิน 20%) ก็ถือว่ามีกำลังตรงตามบัตรส่งเสริม แม้จะผลิตจริงไม่ถึง 24 ชั่วโมงก็ตาม
3.หากคำนวณกำลังผลิตต่อ 1 ชั่วโมงแล้วได้ไม่ถึง 80% ของกำลังผลิตตามบัตรส่งเสริม ก็จะถูกปรับลดกำลังผลิตในบัตรส่งเสริมให้เหลือเท่ากับกำลังผลิตของเครื่องจักรที่มีอยู่จริง
4.บริษัทสามารถไปติดต่อขอรับคำปรึกษากับ จนท BOI ของกองที่กำกับดูแลกิจการตามประเภทนั้นๆ
5.หากจะนำเครื่องจักรเข้ามาเพิ่ม จะต้องนำเข้ามาภายในระยะเวลาก่อนสิ้นสุดวันครบกำหนดเปิดดำเนินการเต็มโครงการ มิฉะนั้น เครื่องจักรที่นำเข้ามาเพิ่ม จะไม่นับเป็นกำลังผลิตของโครงการนั้น และไม่นับเป็นเงินลงทุนที่จะคำนวณวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลของโครงการนั้น
การให้การส่งเสริมของ BOI จะให้ส่งเสริมเป็น "รายโครงการ" ไม่ใช่ "รายบริษัท" ดังนั้น ตามหลักเกณฑ์ทั่วไปคือ โครงการแต่ละโครงการที่ขอรับการส่งเสริม จะต้องมีการลงทุนเครื่องจักรแยกกันเป็นรายโครงการ จะใช้เครื่องจักรร่วมกันในหลายโครงการไม่ได้ เหตุผลที่สำคัญข้อหนึ่งคือ เครื่องจักรในโครงการเดิมเคยใช้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ไปแล้วครั้งหนึ่ง หากนำไปใช้ในโครงการใหม่อีก ก็จะเป็นการเวียนเทียนนำเครื่องจักรชุดเดียวกันมาใช้สิทธิประโยชน์หลาย ๆ รอบ ซึ่งขัดต่อเจตนาในการให้การส่งเสริมการลงทุน
1. กรณีที่เปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว ก็ยังสามารถขอแก้ไขโครงการได้ หากไม่มีการลงทุนเครื่องจักรเพื่อเพิ่มกำลังผลิตหรือเพิ่มขั้นตอนการผลิต แต่ถ้าเป็นกิจการในหมวด 5 (เครื่องไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และชิ้นส่วน) แม้จะเปิดดำเนินการแล้ว จะแก้ไขอย่างไรก็ได้
2. กรณีที่สอบถาม เป็นการผ่อนผันกรรมวิธีการผลิตชั่วคราว เพื่อนำเข้าชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูปมาผลิตเป็นสินค้า ซึ่งไม่ต้องลงทุนเครื่องจักรเพิ่มเติม ดังนั้น แม้จะเปิดดำเนินการครบตามโครงการแล้ว ก็ยังขอผ่อนผันกรรมวิธีผลิตได้
3. หากได้รับผ่อนผันตามข้อ 2 ปกติจะได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบ แต่การยกเว้นภาษีเงินได้ จะพิจารณาเป็นกรณีๆไป