Chat
x
toggle menu
toggle menu

Select Groups

All Group
  • All Group
  • นโยบายเเละมาตรการพิเศษในการส่งเสริม
  • การขอรับการส่งเสริมการลงทุน
  • การออกบัตรส่งเสริม
  • การเปิดดำเนินการ
  • การเเก้ไขโครงการ
  • การดำเนินการอื่น ๆ
  • การรายงานความคืบหน้าโครงการ (e-Monitoring)
  • การปฏิบัติหลังการได้รับการส่งเสริม
  • การยกเลิกบัตรส่งเสริม
  • เรื่องทั่วไป
  • การใช้สิทธิด้านที่ดิน
  • การใช้สิทธิด้านเครื่องจักร
  • การใช้สิทธิด้านช่างฝีมือ/ต่างด้าว
  • การใช้สิทธิด้านวัตถุดิบ
  • ประเภทกิจการ - การแพทย์
  • การใช้สิทธิด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ประเภทกิจการ - รถยนต์ไฟฟ้า
  • ประเภทกิจการ - ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (IBC) IPO และ TISO
  • ประเภทกิจการ - โรงแรม
  • ประเภทกิจการ - ผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ
  • ประเภทกิจการ - กิจการผลิตเครื่่องจักร อุุปกรณ์และชิ้นส่วน
  • ประเภทกิจการ - กิจการศูนย์กระจายสินค้าระหว่า ประเทศด้วยระบบที่่ทันสมัย (IDC)
บริษัทสามารถกรอกจำนวนการจ้างงานจริงไม่ตรงกับจำนวนผู้รับเงินได้ ใน ภ.ง.ด.1ก ได้หรือไม่

ได้ เนื่องจากจำนวนการจ้างงานทั้งสองส่วนไม่จำเป็นต้องตรงกัน

บริษัทไม่ได้มีรอบบัญชีตามปีปฏิทิน เช่น เริ่มต้นเดือนเมษายนและสิ้นสุดเดือนมีนาคม ทำให้ ภ.ง.ด. 50 ยังไม่แล้วเสร็จ ให้กรอกข้อมูลอย่างไร

สามารถกรอกข้อมูลและแนบไฟล์ ภ.ง.ด.50 ฉบับร่างได้ หรือถ้ายังไม่มีร่าง ให้กรอก ‘0’ ในส่วนที่ไม่มีข้อมูลและแนบหนังสือบริษัทชี้แจงเหตุผลและเดือนที่คาดว่าจะสามารถกรอกข้อมูลส่วนนี้ได้ในระบบฯ ทั้งนี้ หากประสงค์จะแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อมูลในภายหลัง โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อส่งเรื่องคืนให้แก้ไข

ระบบฯ จะส่งอีเมลตอบกลับหรือไม่ว่าได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว

ระบบฯ ไม่มีการส่งอีเมลตอบกลับ ทั้งนี้ หากระบบฯ ขึ้นว่าได้ ‘ส่งข้อมูลแล้ว ณ วันที่ ...’ ถือว่า บริษัทได้ส่งรายงานมายังสำนักงานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

บริษัทมหาชนจำกัด มีบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นหลายหน้าเนื่องจากมีผู้ถือหุ้นเป็นจำนวนมาก ทำให้ไฟล์มี ขนาดใหญ่ ต้องแนบไฟล์ในระบบฯ อย่างไร

ให้แนบไฟล์แบบแสดงรายงานการกระจายหุ้นที่ส่งให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ แทนบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น

เครื่องสำอางสามารถขอรับการส่งเสริมได้หรือไม่

หากเป็นสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกาย เช่น สบู่ ยาสระผม ยาสีฟัน เครื่องสำอาง เป็นต้น สามารถขอรับการส่งเสริมได้ตามประเภท 6.15 แต่มีเงื่อนไขว่าจะต้องตั้งในเขตเศรษฐกิจพิเศษ 10 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี เชียงราย นครพนม นราธิวาส หนองคาย ตราด ตาก มุกดาหาร สระแก้ว สงขลา ผู้สนใจจะต้องยื่นคำขอต่อสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ภายใน 30 ธันวาคม 2561 โดยจะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี (A2) หากกิจการอยู่นอกพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษจะไม่อยู่ในข่ายได้รับการส่งเสริม

การยื่นขอรับการส่งเสริมเพื่อผลิตรถยนต์ไฟฟ้ามีระยะเวลาสิ้นสุดการยื่นหรือไม่

การขอรับการส่งเสริมเพื่อผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสามารถยื่นขอได้ตามช่วงเวลา ดังนี้

1. Hybrid Electric Vehicles ยื่นภายใน 31 ธันวาคม 2560 (สิ้นสุดแล้ว)

2. Plug-in Hybrid Electric Vehicles, Battery Electric Vehicles ยื่นภายใน 31 ธันวาคม 2561

3. สำหรับชิ้นส่วน อุปกรณ์ต่างๆ นั้น ไม่มีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการยื่นขอรับคำขอรับการส่งเสริม

การลงทุนในกิจการโรงแรมหมายความรวมถึงค่าใช้จ่ายในเรื่องใดบ้าง

ค่าใช้จ่ายรวมถึง ค่าก่อสร้าง ค่าการตกแต่งรวมถึงเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ ค่าอุปกรณ์และวัสดุจำเป็น ค่างานระบบ

สิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษีอากรมีอะไรบ้าง

สิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษีอากรภายใต้ พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนปีพ.ศ. 2520 ได้แก่

- อนุญาตให้นำคนต่างด้าวเข้ามาเพื่อศึกษาลู่ทางการลงทุน (มาตรา 24)

- อนุญาตให้นำช่างฝีมือและผู้ชำนาญการเข้ามาทำงานในกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (มาตรา 25 และ 26)

- อนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน (มาตรา 27)

- อนุญาตให้ส่งออกซึ่งเงินตราต่างประเทศ (มาตรา 37)

การได้สิทธิประโยชน์ดังกล่าวขึ้นอยู่กับประเภทกิจการและเงื่อนไขของโครงการที่ได้รับการส่งเสริม

กรณีที่ A โอนยอดวัตถุดิบมาให้ B เรียบร้อยและ ปรับยอดที่ IC เรียบร้อยแล้ว หาก B มีเหตุต้องยื่นเรื่องขอชำระภาษีวัตถุดิบรายการนี้ ปกติจะต้องยื่นเรื่องพร้อมเอกสารแนบ คือ อินวอยซ์ และ ใบขนนำเข้า กรณีนี้ เอกสารแนบ ต้องใช้อะไรบ้าง

A โอนวัตถุดิบให้ B แต่ต่อมา B ไม่สามารถนำไปผลิตส่งออก และจะขอชำระภาษี กรณีนี้ใบขนขาเข้าเป็นชื่อของ A ดังนั้น A ต้องเป็นผู้ยื่นหนังสือขอชำระภาษีต่อ BOI แต่ในส่วนการชำระภาษีต่อกรมศุลกากร B จะเป็นผู้ชำระภาษี (หรือ A เป็นผู้ชำระ และ B จ่ายเงินคืนค่าภาษีคืนให้กับ A)

บริษัทได้รับส่งเสริมการลงทุนจาก BOI และต้องการขายที่ดินที่ได้รับสิทธิถือครองที่ดิน โดยต้องการขายขายที่ดินบางส่วน เป็นจำนวน 2 ไร่ จากจำนวนที่ดินที่ถือครองทั้งหมด 24 ไร่ บริษัทจะต้องดำเนินการอย่างไร ทางสำนักงานส่งเสริมการลงทุนมีแบบฟอร์มเพื่อยื่นขออนุญาตในการขายที่ดินบางส่วน หรือไม่ และจะต้องติดต่อที่สำนักงาน BOIเขต หรือ ที่ BOI ส่วนกลาง

1.หากบริษัทได้รับสิทธิการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินภายใต้กฎหมาย BOI สามารถยื่นแบบฟอร์มคำขอต่อ BOI เพื่อขอจำหน่ายที่ดินบางส่วนได้ แบบฟอร์มและเอกสารที่ใช้ สามารถดาวน์โหลดจากเว็บ BOI หัวข้อ แบบฟอร์มงานที่ดิน (F LD LO)

2.การพิจารณาอนุมัติให้ถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน หรือจำหน่ายที่ดิน เป็นอำนาจของ BOI ที่ส่วนกลาง แต่บริษัทสามารถยื่นเอกสารผ่าน สนง BOI ภูมิภาคได้ โดย สนง BOI ภูมิภาค จะตรวจสอบเอกสารตาม check list หากครบถ้วน ก็จะรับเรื่อง และส่งให้ BOI กรุงเทพ ดำเนินการต่อไป

3. กรณีที่สอบถาม บริษัทฯ ตั้งโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม จึงน่าจะถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินตาม พรบ.การนิคมอุตสาหกรรม ไม่ใช่ พรบ.ส่งเสริมการลงทุนของ BOI ดังนั้น หากจะจำหน่ายที่ดินที่ถือครองภายใต้สิทธิตาม พรบ การนิคมฯ ก็ต้องยื่นขออนุญาตต่อ กนอ ไม่ใช่ BOI

กรณีที่โครงการเดิมมีหุ้นไทยเป็นส่วนใหญ่ แต่ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นจากเดิม เป็นการถือหุ้นโดยต่างชาติเป็นส่วนใหญ่ จะได้รับสิทธิประโยชน์การถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือไม่?
เมื่อ BOI อนุมัติให้แก้ไขโครงการให้ต่างชาติถือหุ้นข้างมากได้ ก็จะอนุมัติให้ได้รับสิทธิประโยชน์การถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินตามมาตรา 27 เพิ่มเติมไปพร้อมกัน
หลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการ

โครงการที่จะได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

1. เป็นกิจการที่กำหนดไว้ในบัญชีประเภทกิจการที่ให้การส่งเสริมการลงทุน ตามประกาศคณะกรรมการที่ 2/2557 ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2557  ประกอบด้วย 

หมวด 1  เกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตร

หมวด 2  เซรามิกส์ และโลหะขั้นมูลฐาน

หมวด 3  อุตสาหกรรมเบา

หมวด 4  ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร และอุปกรณ์ขนส่ง

หมวด 5  อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

หมวด 6  เคมีภัณฑ์ กระดาษ และพลาสติก

หมวด 7  กิจการบริการและสาธารณูปโภค

หมวด 8  การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม

กรณีที่โครงการที่ยื่นขอรับการส่งเสริม เป็นกิจการที่ไม่มีกำหนดไว้ในบัญชีประเภทกิจการที่ให้การส่งเสริมการลงทุน หรือกิจการที่ BOI ประกาศระงับให้การส่งเสริมไปแล้ว หรือเป็นกิจการประเภทใหม่ที่ยังไม่เคยมีผู้ยื่นขอรับการส่งเสริม คณะกรรมการฯ จะพิจารณาความเหมาะสมในการเปิดประเภทการให้การส่งเสริมการลงทุนขึ้นใหม่เป็นกรณีๆ ไป

2. มีเงินลงทุนขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) ยกเว้นกิจการ SMEs ซึ่งกำหนดขนาดการลงทุนขั้นต่ำที่ 5 แสนบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) หรือกิจการที่กำหนดไว้เป็นการเฉพาะ  ทั้งนี้ ขนาดการลงทุนขั้นต่ำ หมายความรวมถึงค่าใช้จ่ายดังนี้

ทั้งนี้ กรณีเป็นกิจการบริการที่ใช้ฐานความรู้เป็นปัจจัยหลักในการดำเนินการธุรกิจจะกำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำจากเงินเดือนของบุคลากรต่อปีไม่น้อยกว่าที่กำหนด

3. มีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่า 20% ของรายได้
ยกเว้นกิจการเกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตร กิจการอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน  และกิจการตัดโลหะ ต้องมีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่า 10% ของรายได้

ทั้งนี้ มูลค่าเพิ่มมีแนวทางในการคำนวณดังนี้

4. มีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนจดทะเบียนไม่เกิน 3 : 1 สำหรับโครงการริเริ่ม  สำหรับโครงการขยาย จะพิจารณาเป็นกรณีๆ ไป เพื่อป้องกันโครงการที่มีความเสี่ยงสูงเกินไป จึงต้องควบคุมหนี้สิน และทุนจด ทะเบียน  (หรือส่วนของผู้ถือหุ้น) ยกตัวอย่างเช่น เงินลงทุนทั้งสิ้นของโครงการ 100 ล้านบาท ดังนั้น หนี้สิน (ได้แก่ เงินกู้ของโครงการ สินเชื่อ กำไรสะสม เป็นต้น) ต้องไม่เกิน 75 ล้านบาท หรือร้อยละ 75 ของเงินลงทุน และทุนจดทะเบียนต้องไม่น้อยกว่า 25 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 25 ของเงินลงทุน เพื่อให้อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนไม่เกิน 3:1

5. มีกรรมวิธีการผลิตที่ทันสมัย และใช้เครื่องจักรใหม่
กรณีที่ใช้เครื่องจักรใช้แล้ว (นับอายุจากปีที่ผลิตถึงปีที่นำเข้า) มีแนวทางพิจารณาดังนี้

- ต้องไม่ใช่เครื่องจักรใช้แล้วในประเทศ

- ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ

- ต้องมีใบรับรองประสิทธิภาพจากสถาบันที่เชื่อถือได้

- กรณีทั่วไป

กรณีอายุไม่เกิน 5 ปี ให้นับเป็นขนาดการลงทุนสำหรับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่ไม่ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้า

กรณีอายุ 5-10 ปี ไม่นับเป็นขนาดการลงทุนสำหรับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และไม่ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้า

- กรณีย้ายฐานการผลิต

       กรณีอายุไม่เกิน 5 ปี ให้นับเป็นขนาดการลงทุนสำหรับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่ไม่ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้า 

       กรณีอายุ 5-10 ปี ให้นับเป็นขนาดการลงทุนสำหรับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่เกิน 50% ของมูลค่าเครื่องจักร

ตามบัญชี แต่ไม่ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้า

       กรณีอายุเกิน 10 ปี ไม่นับเป็นขนาดการลงทุนสำหรับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และไม่ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้า

- กรณีอื่นๆ

       เครื่องจักรใช้แล้วที่ผ่อนผันให้มีอายุเกิน 10 ปี โดยให้นับเป็นขนาดการลงทุนสำหรับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและ

ยกเว้นอากรขาเข้า ได้แก่

       ยานพาหนะ สำหรับกิจการขนส่งทางเรือ และกิจการขนส่งทางอากาศ (เครื่องบินต้องอายุไม่เกิน 14 ปี นับจากปีที่

ผลิตถึงปีที่ยื่นคำขอ)

       แม่พิมพ์ แม่แบบ หรืออุปกรณ์ที่ใช้งานในลักษณะเดียวกัน เช่น Mold, Dies, Jig, Fixture, Pattern เป็นต้น

6. อนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นข้างมากหรือทั้งสิ้นได้ ยกเว้นโครงการลงทุนในกิจการตามบัญชี 1 ท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 จะต้องมีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่า 51% ของทุนจดทะเบียน รวมถึงกิจการที่กฎหมายอื่นหรือมีการกำหนดเงื่อนไขไว้เป็นการเฉพาะ

7. ที่ตั้งโรงงาน
ตั้งโรงงานได้ทุกเขตที่ตั้ง ยกเว้นกิจการที่กำหนดเงื่อนไขไว้เป็นการเฉพาะว่า ต้องตั้งโรงงานในเขตอุตสาหกรรมหรือนิคมอุตสาหกรรม เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ หรือพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง

8. เงื่อนไข ISO

- โครงการที่มีขนาดการลงทุนตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) จะต้องดำเนินการให้ได้ใบรับรองมาตรฐาน ISO 9000 หรือ ISO 14000 หรือมาตรฐานสากลอื่นที่เทียบเท่า ภายใน 2 ปี นับจากวันครบเปิดดำเนินการ

- กรณีปฏิบัติตามเงื่อนไข ISO ไม่ได้ จะถูกเพิกถอนสิทธิประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 1 ปี

9. โครงการที่มีขนาดการลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) มากกว่า 750 ล้านบาท จะต้องเสนอรายงานศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการตามที่คณะกรรมการกำหนด เพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติให้การส่งเสริม

วัตถุดิบ และวัสดุจำเป็น หมายถึงอะไร

วัตถุดิบ (Raw Material)

หมายถึง ของที่ใช้ในการผลิต หรือผสม หรือประกอบเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งบางครั้งอาจไม่คงสภาพเดิมเมื่อผ่านกระบวนการแล้ว ทั้งนี้ ให้หมายรวมถึงของที่ใช้บรรจุผลิตภัณฑ์ด้วย

 

วัสดุจำเป็น (Essential Material)

หมายถึง ของซึ่งจำเป็นต้องใช้และเมื่อใช้แล้วสิ้นเปลืองในการผลิต หรือผสม หรือประกอบเป็นผลิตภัณฑ์หรือผลิตผล เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพ คุณภาพ และมาตรฐาน ช่วยลดการสูญเสีย และเพิ่มผลผลิตสำหรับผลิตภัณฑ์หรือผลิตผลดังกล่าว

การโอนและรับโอนกิจการ

เมื่อผู้ได้รับส่งเสริมโอนหรือขายกิจการที่ได้รับส่งเสริมให้กับผู้อื่น บัตรส่งเสริมฉบับนั้นจะใช้ต่อไปได้อีกไม่เกิน 3 เดือนนับจากวันที่โอนหรือขายกิจการ

ในกรณีที่ผู้รับโอนกิจการ ประสงค์จะรับช่วงดำเนินการที่ได้รับส่งเสริมตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในบัตรส่งเสริม ผู้รับโอนกิจการจะต้องยื่นคำขอรับการส่งเสริมเพื่อขอรับโอนกิจการดังกล่าว โดยคณะกรรมการจะพิจารณาให้ได้รับสิทธิประโยชน์เท่าที่ยังเหลืออยู่เดิม

ขั้นตอนการโอน - รับโอนกิจการ

การโอน - รับโอนกิจการมีขั้นตอน และแนวทางพิจารณา ดังนี้

1. ผู้รับโอนกิจการจะต้องยื่นคำขอรับส่งเสริมเพื่อรับโอนกิจการ (เอกสารหมายเลข F PA PC 17-00)  โดยคำขอดังกล่าวต้องมีเอกสารแสดงเจตจำนงของผู้โอน และคำขอรับการส่งเสริมของผู้รับโอน โดยยื่นเรื่องเข้ามาพร้อมกัน

2. การยื่นคำขอรับโอนกิจการ ควรยื่นก่อนที่จะทำการโอน-รับโอนกิจการ เนื่องจากหากมีการโอนกิจการไปแล้วก่อนยื่นคำขอรับโอนกิจการ บัตรส่งเสริมฉบับเดิมจะสิ้นสุดภายใน 3 เดือนนับจากวันที่โอนกิจการ ซึ่งอาจทำให้บัตรส่งเสริมเดิมสิ้นสุดอายุไปก่อนก็ได้

3. กรณีที่อนุมัติให้โอนกิจการ ผู้ที่รับโอนกิจการจะได้รับสิทธิประโยชน์เท่าที่เหลืออยู่ตามโครงการเดิม และมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดอยู่เดิม

4. ภายหลังจากรับโอนกิจการไปแล้ว หากปรากฏในภายหลังว่ามีการปฏิบัติผิดเงื่อนไขซึ่งจะต้องเพิกถอนสิทธิประโยชน์ทางภาษีบางส่วนหรือทั้งหมด ไม่ว่าการปฏิบัติผิดเงื่อนไขนั้น จะก่อนหรือหลังการรับโอนกิจการก็ตาม ผู้รับโอนกิจการจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบทางด้านภาษีอากรทั้งหมด

5. การโอน - รับโอนกิจการจะโอนทั้งบัตรส่งเสริม หรือโอนเฉพาะบางส่วนของบัตรส่งเสริมก็ได้ เช่น โครงการที่ได้รับส่งเสริมผลิตสินค้า A และ B อาจขอโอนโครงการเฉพาะผลิตภัณฑ์ B ให้กับผู้รับโอนก็ได้ โดยจะพิจารณาตามความเหมาะสมเป็นกรณีๆ ไป

ข้อควรระวังในการรับโอนกิจการ

1. เนื่องจากผู้รับโอนกิจการจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบภาระภาษีทั้งหมดหากมีการปฏิบัติผิดเงื่อนไขในบัตรส่งเสริม ไม่ว่าความผิดนั้นจะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังการรับโอนกิจการ ดังนั้น ผู้รับโอนกิจการจึงควรตรวจสอบสถานะของโครงการที่จะรับโอนอย่างละเอียดรอบคอบก่อนการรับโอนโครงการ

2. กรณีที่ผู้รับโอนกิจการขอรับโอนวัตถุดิบที่ใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเพียงบางส่วนจากผู้รับโอนหรือไม่รับโอน ซึ่งจะทำให้ปริมาณวัตถุดิบคงเหลืออยู่ที่ผู้โอนกิจการ ผู้ที่จะโอนกิจการจะต้องดำเนินการจัดการปริมาณวัตถุดิบให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานก่อนยื่นเรื่องขอโดนกิจการ

ตัวอย่าง 

บริษัท A จะรับโอนกิจการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากบริษัท B โดยบริษัท A ได้ตรวจสอบทรัพย์สินของบริษัท B แล้ว ตกลงจะซื้อทรัพย์สินทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยเครื่องจักร 10 เครื่อง และวัตถุดิบ (ผ้า) ทั้งหมดในบัญชีทรัพย์สินจำนวน 100,000 ตารางหลา

แต่หากหลักฐานทางบัญชีเครื่องจักรและวัตถุดิบของ BOI ปรากฏว่า บริษัท B นำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศโดยใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้ารวมทั้งสิ้น 12 เครื่อง และนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศซึ่งยังไม่ได้นำหลักฐานการส่งออกมาตัดบัญชี จำนวน 250,000 ตารางหลา BOI ก็จะพิจารณาว่า บริษัท A ได้รับโอนเครื่องจักรและวัตถุดิบตามบัญชีทั้งหมดจากบริษัท B แล้ว และต้องเป็นผู้รับผิดชอบภาระภาษีของเครื่องจักรและวัตถุดิบดังกล่าว

หากปรากฏหลักฐานในภายหลังว่า โครงการนี้มีการนำเครื่องจักร 2 เครื่องไปจำหน่ายในประเทศ และนำวัตถุดิบจำนวน 150,000 ตารางหลา ไปผลิตเป็นสินค้าจำหน่ายในประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นการปฏิบัติผิดเงื่อนไขในการใช้สิทธิประโยชน์ BOI จะพิจารณาว่า ผู้ได้รับส่งเสริมในปัจจุบัน (บริษัท A) จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบภาระภาษีอากรของเครื่องจักรและวัตถุดิบดังกล่าว ไม่ว่าการกระทำผิดเงื่อนไขนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อใดก็ตาม

ในกรณีดังกล่าวนี้ BOI จะแจ้งให้กรมศุลกากรดำเนินการเรียกเก็บภาษีจากบริษัท A ในฐานะผู้รับโอนกิจการต่อไป

 

ขั้นตอนการขอรับบัตรส่งเสริมการลงทุนประกอบด้วยขั้นตอนอะไรบ้าง

การขอรับการส่งเสริมการลงทุน ประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้

1. การยื่นคำขอรับการส่งเสริม

2. การชี้แจงโครงการ

3. การตอบรับมติการให้ส่งเสริม

4. การขอรับบัตรส่งเสริม

เครื่องรีดนมวัว น่าจะจัดอยู่ประเภท 4.5 การผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์ หากเป็นการผลิต โดยมีการขึ้นรูปชิ้นส่วน หรือออกแบบทางวิศวกรรม จะเป็นประเภท 4.5.2 เป็นกลุ่ม A3 ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ 5 ปี แต่หากเป็นเพียงการประกอบตามขั้นตอนที่คณะกรรมการเห็นชอบ จะเป็นประเภท 4.5.3 เป็นกลุ่ม A4 ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ 3 ปี กิจการหมวด 4 ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร อุปกรณ์ขนส่ง ติดต่อที่สำนัก 2

กิจการ IPO ในประเภท 7.12 เดิม จะเป็นประเภท 7.6 กิจการบริษัทการค้าระหว่างประเทศ (ITC) ตามประกาศใหม่ โดย ITC จะมีขอบข่ายธุรกิจกว้างกว่า เช่น สามารถซื้อสินค้าจากประเทศหนึ่ง เพื่อส่งไปขายอีกประเทศหนึ่ง โดยไม่ต้องนำสินค้านั้นมาพักเก็บในประเทศไทยก็ได้ ผู้ที่ได้รับส่งเสริมอยู่แล้วในกิจการ IPO ยังคงมีหน้าที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขและขอบเขตธุรกิจที่ได้รับส่งเสริมอยู่เดิม แต่หากประสงค์จะเปลี่ยนแปลงขอบข่ายธุรกิจให้เป็นไปตามกิจการ ITC ก็สามารถยื่นขอแก้ไขโครงการ เพื่อเปลี่ยนแปลงประเภทกิจการและขอบข่ายธุรกิจได้

การยื่นขอเปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้ง จะต้องยื่นก่อนออกบัตร หรือ ต้องออกบัตรมาก่อนแล้วจึงยื่น

สามารถทำได้ทั้ง 2 วิธี คือจะแก้ไขที่ตั้งสถานประกอบการก่อนออกบัตรหรือหลังออกบัตรก็ได้ แต่หากยื่นเอกสารประกอบการขอออกบัตรส่งเสริมไปแล้ว ควรรอให้ขั้นตอนการออกบัตรเสร็จสิ้นก่อน จึงยื่นขอแก้ไขสถานที่ตั้ง

กรณีที่จะยื่นแก้ไขที่ตั้งสถานประกอบการก่อน แล้วจึงยื่นเอกสารขอออกบัตรส่งเสริม มีข้อควรระวังคือ

1. เมื่อได้รับอนุมัติอนุมัติแก้ไขที่ตั้งแล้ว ควรรอ 2-3 วัน เพื่อให้สำเนาหนังสืออนุมัติไปถึงฝ่ายบัตรส่งเสริมแล้ว จะได้ไม่ระบุที่ตั้งในบัตรส่งเสริมผิดพลาด

2. หากบริษัทต้องการรีบออกบัตรส่งเสริมโดยเร่งด่วน จะยื่นเอกสารขอออกบัตรส่งเสริมในวันเดียวกับที่ได้รับอนุมัติแก้ไขที่ตั้งก็ได้ แต่ควรโทรแจ้งให้ฝ่ายบัตรส่งเสริมทราบด้วยว่าบริษัทได้รับอนุมัติแก้ไขที่ตั้งใหม่แล้ว

บริษัทได้รับการส่งเสริมการลงทุน โดยมี 4 บัตรส่งเสริม และยังไม่ได้ขอเปิดดำเนินการ ต่อมาทางบริษัทต้องการแยกบัตรที่ 1 และบัตรที่ 2 เป็นอีกบริษัท โดยตั้งชื่อเป็นบริษัทใหม่ มีทุนจดทะเบียนใหม่ แต่ตั้งอยู่ที่เดิมจะต้องทำอย่างไรบ้าง

ต้องทำเรื่องโอนและรับโอนกิจการ เพื่อโอนโครงการตามบัตรที่ 1 และบัตรที่ 2 จากบริษัทที่ได้รับส่งเสริมเดิม ไปให้บริษัทที่ตั้งขึ้นใหม่ (แม้ว่าจะเป็นบริษัทในเครือเดียวกันก็ตาม) กรณีที่บริษัทเดิมเป็นหุ้นไทยข้างมาก บริษัทที่ตั้งขึ้นใหม่สามารถตั้งอยู่ที่เดิมได้โดยการเช่าพื้นที่ เป็นต้น แต่หากบริษัทเดิมเป็นหุ้นต่างชาติข้างมาก และถือครองที่ดินโดยสิทธิประโยชน์มาตรา 27 จาก BOI อาจจะเกิดปัญหา เนื่องจาก BOI จะอนุญาตให้นำที่ดินที่ถือครองกรรมสิทธิ์ตามมาตรา 27 ไปให้ผู้อื่น เช่น บริษัทในเครือ

คาดว่าบริษัทฯ ยังไม่พร้อมที่จะมีรายได้ภายในปี 2560 ได้ ตามเงื่อนไขที่ประกาศ แต่ในบัตรส่งเสริมที่ได้รับไม่มีเงื่อนไขระบุว่าต้องมีรายได้ ภายใน 31 ธันวาคม 2560 ตามที่ BOI กำหนดคือ 1.ไม่ทราบว่าบริษัทต้องทำตามเงื่อนไขของประกาศที่ 10/2558 http://www.boi.go.th/upload/content/10_2558_12883.pdf เรื่องนโยบายส่งเสริมการลงทุนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบ คลัสเตอร์ ใช่หรือไม่ 2.ถ้าทำตามเงื่อนไข ประกาศที่ 10/2558 บริษัท สามารถยื่นเรื่องขอขยาย ระยะเวลา ได้ไหม 3.ขั้นตอนการยื่นเอกสารยื่นขอขยายระยะเวลาต้องทำอย่างไรบ้าง

1.กรณีได้รับสิทธิประโยชน์ตามนโยบายคลัสเตอร์ จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของประกาศคณะกรรมการ ที่ 10/2558 ซึ่งกำหนดไว้ในบัตรส่งเสริม เช่น จะต้องทำ MOU กับสถาบันการศึกษา และจะต้องมีรายได้ครั้งแรกภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2560

2.สามารถยื่นขอขยายเวลาการดำเนินการตามเงื่อนไขได้ ตามเหตุผลความจำเป็นของผู้ได้รับส่งเสริมแต่ละราย แต่หาก BOI พิจารณาแล้วไม่อนุมัติให้ขยายเวลาดำเนินการตามเงื่อนไขคลัสเตอร์ และบริษัทไม่สามารถดำเนินการตามเงื่อนไขที่กำหนดได้ จะถูกเพิกถอนสิทธิที่ให้เพิ่มเติมตามนโยบายคลัสเตอร์ คือจะเหลือสิทธิเท่ากับหลักเกณฑ์ปกติ ณ วันที่ยื่นคำขอรับการส่งเสริม

3.ปัจจุบัน (มีนาคม 2560) ยังเร็วเกินไปที่จะพิจารณาการขอขยายเวลาการมีรายได้ครั้งแรกในปี 2560 และเข้าใจว่า BOI ยังไม่ได้กำหนดเอกสารและแนวทางพิจารณา สำหรับการขอขยายระยะเวลาวันเริ่มมีรายได้ครั้งแรกตามนโยบายคลัสเตอร์

แต่หากบริษัทมีหลักฐานที่ชัดเจนว่าไม่สามารถมีรายได้ครั้งแรกภายในปี 2560 และต้องการทราบผลพิจารณาโดยเร็ว (เช่น เพื่อประกอบการตัดสินใจจะลงทุน/ไม่ลงทุน) ก็สามารถยื่นขอขยายเวลาการเริ่มมีรายได้ครั้งแรกได้ โดยอาจใช้แบบคำขอแก้ไขโครงการ (F PA PC 01) และเตรียมหลักฐานข้อมูลที่คิดว่ามีความจำเป็นต่อการพิจารณาของ BOI

วิธีการยื่นคำขอรับการส่งเสริมมีกี่วิธี

 ผู้ขอรับการส่งเสริมสามารถยื่นคำขอรับการส่งเสริมได้ 2 วิธีคือ

1)      ระบบออนไลน์ กรอกแบบฟอร์มคำขอรับส่งเสริมการลงทุนผ่านระบบออนไลน์ (e-investment) ได้ที่เว็บไซต์ www.boi.go.th

2)      Walk-in กรอกแบบฟอร์มคำขอรับการส่งเสริมการลงทุน และยื่นได้ที่กองบริหารกองทุนตามประเภทกิจการที่ได้รับการส่งเสริม ซึ่งมีทั้งหมด 5 กอง คือ

กองบริหารการลงทุน 1 อุตสาหกรรมเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพ และผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์

กองบริหารการลงทุน 2 อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง

กองบริหารการลงทุน 3 อุตสาหกรรมพื้นฐานและอุตสาหกรรมสนับสนุน

กองบริหารการลงทุน 4 กิจการบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูง

กองบริหารการลงทุน 5 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์และดิจิทัล

ขออภัยครับ ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ในภาษาที่ท่านเลือก !

Sorry, There is no information support your selected language !

Download และ ติดตั้งโปรแกรมอ่าน PDF

Download PDF Reader

Site map