การให้บริการวิสาหกิจในเครือในประเภท 7.34 IBC ตามขอบข่ายที่ 1.1 – 1.10 จะต้องให้บริการวิสาหกิจในเครือที่อยู่ต่างประเทศอย่างน้อย 1 ประเทศ และจะให้บริการวิสาหกิจในเครือในประเทศด้วยก็ได้
BOI ไม่มีประกาศหรือคำสั่งกำหนดว่าผู้ได้รับส่งเสริมจะต้องเก็บรักษาเอกสารใดบ้างไว้เป็นเวลาเท่าใด แต่มีระเบียบปฏิบัติภายในว่า BOI จะเก็บเอกสารในการอนุมัติงานในแต่ละประเภทเป็นเวลานานเท่าใด
ดังนั้น หากผู้ได้รับส่งเสริมเห็นว่าเอกสารบางชนิดที่ได้รับอนุมัติแล้ว ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเก็บรักษาต่อไป และต้องการจะทำลาย ก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้ได้รับส่งเสริมเอง
แต่หากมีการทำลายไป และพ้นระยะเวลาที่ BOI เก็บรักษาเอกสารนั้นไว้ตามระเบียบแล้ว ผู้ได้รับส่งเสริมจะขอคัดสำเนาเอกสารดังกล่าวจาก BOI อีกไม่ได้
1.กรณียังไม่ครบกำหนดเปิดดำเนินการ
-หากเปิดดำเนินการไม่ได้ จะเป็นการขัดต่อเงื่อนไขในบัตรส่งเสริม ซึ่งต้องชำระภาษีอากรเครื่องจักรตามสภาพ ณ วันนำเข้า
2.กรณีครบกำหนดเปิดดำเนินการแล้ว และไม่สามารถขอขยายเวลาเปิดดำเนินการได้อีก
-สามารถขอส่งคืนเครื่องจักรไปต่างประเทศ (ไม่มีภาระภาษี) หรือขอจำหน่ายในประเทศ (มีภาระอากรขาเข้าตามสภาพ ณ วันอนุมัติให้จำหน่าย) โดยการขอส่งคืนเครื่องจักรไปต่างประเทศและการขอจำหน่ายเครื่องจักร ให้ยื่นคำร้องผ่านระบบ eMT
ในเบื้องต้นจะดูจากวุฒิการศึกษา และตำแหน่งงานรวมถึงลักษณะงานที่ทำในโครงการ IBC และจะตรวจสอบทุกครั้งที่มีการใช้สิทธิประโยชน์
ขึ้นอยู่กับนโยบายของบริษัท หากยังคงเป็นกิจการ IHQ สามารถใช้สิทธิและโยชน์ทางด้านภาษีในปัจจุบันต่อไปถึงระยะเวลาที่กำหนด (15 รอบปีบัญชี)
1. มาตรการสนับสนุนการฝึกอบรม ตามมาตรการบีโอไอ THAILAND PLUS สามารถดูรายละเอียดได้จาก ประกาศ กกท ที่ 5/2562
2. เนื่องจากในประกาศไม่ได้มีข้อกำหนดห้าม จึงเข้าใจว่าสามารถฝึกอบรมและใช้สิทธิทั้ง 2 แบบ ควบคู่กัน
3. หลักสูตรการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีขั้นสูง ครอบคลุมถึงหลักสูตรเทคโนโลยีขั้นสูงหรือทักษะพิเศษที่เป็นเป้าหมาย ซึ่งได้รับการรับรองจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) หรือจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ซึ่งสามารถติดต่อขอรายละเอียดหลักสูตรจากหน่วยงานดังกล่าวได้
การยกเลิกบัตรส่งเสริม หากยังไม่ได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการแล้ว ควรต้องเปิดดำเนินการให้ได้ก่อน มิฉะนั้นอาจถูกเพิกถอนบัตรส่งเสริม และถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลังเสมือนไม่เคยได้รับส่งเสริมมาก่อน แต่การยกเลิกบัตรส่งเสริมหลังจากที่ได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการแล้ว ปกติจะตรวจสอบจากเอกสาร โดยอาจไม่ต้องไปตรวจสอบโรงงาน การยกเลิกบัตรส่งเสริม จะพิจารณาว่าเครื่องจักรและวัตถุดิบที่นำเข้ามาโดยใช้สิทธิ มีภาระภาษีที่ต้องเรียกคืนหรือไม่ จึงควรแนบหลักฐานการใช้สิทธิวัตถุดิบ (MML) และบัญชีรายการเครื่องจักรเข้าไปด้วย
การขอนำเครื่องจักรไปเก็บนอกสถานที่ ปกติจะยื่นหลังจากนำเข้าเครื่องจักรมาแล้ว โดยต้องระบุรายละเอียดเลขที่หนังสืออนุมัติสั่งปล่อยเครื่องจักรรายการนั้นด้วย แต่ถ้าจะขออนุญาตก่อนนำเข้า ไม่เคยได้ยินว่ามีการอนุญาตเช่นนั้น รวมถึงการ test-run ก็เช่นกัน เพราะการ test-run อาจทำการผลิตเสมือนจริง และของที่ผลิตได้ อาจจะสามารถจำหน่ายเป็นสินค้าก็เป็นไปได้ กรณีนี้แนะนำให้ปรึกษาเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการโดยตรง เพราะความเห็นของเจ้าหน้าที่แต่ละคนน่าจะต่างกัน
- ขั้นตอนฉีดพลาสติก
- ขั้นตอนประกอบ
- ขั้นตอนตรวจสอบ
ให้คำนวณ Cycle Time ในการผลิตของ 3 ขั้นตอนนี้ ขั้นตอนที่มี Cycle Time สูงที่สุด จะเป็นตัวกำหนดกำลังผลิตของโครงการ (Bottle Neck)การจะนำเครื่องจักรเก่ามาใช้ในโครงการ ต้องเป็นกรณีที่บัตรส่งเสริมกำหนดเงื่อนไขอนุญาตให้ใช้เครื่องจักรเก่าเท่านั้น
การนำเครื่องจักรเก่าเข้ามาโดยชำระภาษีเอง เนื่องจากสิ้นสุดระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรแล้ว สามารถทำได้แต่เครื่องจักรเก่านั้นตรงกับเงื่อนไขที่ระบุในบัตรส่งเสริม และมีใบรับรองประสิทธิภาพเครื่องจักรเก่าตามเงื่อนไขที่กำหนดด้วย
เบื้องต้นให้กรอกว่าอยู่ในขั้นทดสอบ
กำไรหลังหักค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้
สินค้าที่ถูกจัดเป็นยา
ตามประเภทของ อย. อยู่ในข่ายที่จะขอรับการส่งเสริมได้
คณะกรรมการฯ
กำหนดหลักเกณฑ์การถือหุ้นของต่างชาติสำหรับโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนว่า โครงการที่อยู่ข่ายได้รับการส่งเสริมการลงทุนส่วนใหญ่
ต่างชาติสามารถถือหุ้นได้ทั้งสิ้น ยกเว้น
โครงการลงทุนในกิจการที่ปรากฏในบัญชีหนึ่งท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
พ.ศ. 2542 ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 51
ของทุนจดทะเบียน หากเป็นกิจการที่ปรากฏในบัญชีสองและสามท้ายพระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้น
อนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นข้ามากหรือทั้งสิ้นได้
เว้นแต่กรณีที่มีกฎหมายอื่นกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีเหตุผลอันสมควร คณะกรรมการฯ อาจกำหนดสัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติเป็นการเฉพาะสำหรับกิจการที่ให้การส่งเสริมการลงทุนบางประเภท
A(IPO) ขายวัตถุดิบคือ A1 ให้ B จากนั้น (B) นำไปผลิตเป็นสินค้า B1 ขายให้ A(IPO) และ A นำไปส่งออก ในกรณีนี้ให้ A(IPO) ยื่นตัดบัญชี B1 และโอนสิทธิตัดบัญชีวัตถุดิบคือ B1 ให้กับ B จากนั้น B ตัดบัญชี B1 และโอนสิทธิตัดบัญชีวัตถุดิบคือ A1 ให้กับ A เพื่อให้นำไปตัดบัญชีต่อไป หาก B ยังไม่มีรายการวัตถุดิบเป็น A1 ก็ต้องแก้ไขเพิ่มรายการในบัญชี และในสูตรการผลิต มิฉะนั้นจะตัดบัญชีโอนสิทธิไปให้ A ไม่ได้
1. บริษัทขออนุมัติสูตรการผลิตล่วงหน้า
โดยประมาณการปริมาณวัตถุดิบที่จะต้องใช้ก่อนการผลิตจริง
เมื่อมีการผลิตจริงทำให้ปริมาณการใช้วัตถุดิบแตกต่างจากสูตรการผลิตที่ได้รับอนุมัติ
ทำให้ต้องแก้ไขสูตรการผลิตเพื่อให้ปริมาณวัตถุดิบสอดคล้องกับความเป็นจริง
2. บางบริษัทมีสูตรการผลิตหลายสูตร
ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกัน แต่ต่างกันที่ชื่อรุ่น (Model) ทำให้ต้องแก้ไขสูตรการผลิตหลายครั้ง
3. กรณีวัตถุดิบชนิดเดียวกันแต่มีการซื้อทั้งในประเทศต่างประเทศ
มีโอกาสทำให้เกิดการตัดบัญชีผิดพลาดได้ง่าย ส่งผลให้ต้องแก้ไขสูตรการผลิต
บริษัทได้รับส่งเสริม 2 โครงการ บนที่ดินเดียวกัน โครงการที่ 1 ได้รับอนุมัติเปิดดำเนินการแล้วที่อาคารเก่า ส่วนโครงการที่ 2 จะลงทุนก่อสร้างอาคารใหม่
ขอตอบตามนี้
1. การย้ายเครื่องจักรของโครงการที่ 1 ไปติดตั้งในอาคารใหม่ ไม่ต้องขออนุญาต BOI เนื่องจากโครงการที่ 1 ยังคงประกอบกิจการในสถานที่ตั้งตามที่ระบุในบัตรส่งเสริม และใบอนุญาตเปิดดำเนินการ (ส่วนจะต้องแจ้งกรมโรงงานหรือหน่วยราชการอื่นหรือไม่อย่างไรนั้น ขอให้ตรวจสอบกับหน่วยงานนั้นๆโดยตรง)
2. กรณีนี้จะมีประเด็นปัญหาเรื่องการคำนวณมูลค่าการลงทุนของโครงการที่ 2 ในวันครบกำหนดเปิดดำเนินการ เนื่องจากอาคารใหม่นี้ ไม่ได้สร้างเพื่อใช้สำหรับโครงการที่ 2 อย่างเดียว แต่สร้างเผื่อไว้ใช้อย่างอื่นได้ด้วย ดังนั้น เงินลงทุนค่าก่อสร้างอาคารใหม่ จึงไม่นับเป็นการลงทุนของโครงการ 2 ได้ทั้งหมด ต้องมีการปันส่วนกับโครงการอื่นที่ใช้ร่วมกันด้วย
1. ผลิตภัณฑ์พลาสติก ให้ส่งเสริมในประเภท 6.6 กิจการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกสำหรับอุตสาหกรรม (Plastic Products for Industrial Goods)
2. มีเงื่อนไข ต้องมีขบวนการขึ้นรูปพลาสติก การซื้อชิ้นส่วนพลาสติกมาพ่นสีและสกรีน ไม่อยู่ในข่ายให้การส่งเสริมในประเภท 6.6 แต่หากเป็นการซื้อขาย/ขายไป โดยอาจมีขั้นตอนว่าจ้างผลิตทอดเดียว เช่น ว่าจ้างพ่นสี สามารถขอรับส่งเสริมในประเภท 7.6 กิจการบริษัทการค้าระหว่างประเทศ (International Trading Centers: ITC) มีเงื่อนไข ต้องมีทุนจดทะเบียนเรียกชำระไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท