Chat
x
toggle menu
toggle menu

Select Groups

All Group
  • All Group
  • นโยบายเเละมาตรการพิเศษในการส่งเสริม
  • การขอรับการส่งเสริมการลงทุน
  • การออกบัตรส่งเสริม
  • การเปิดดำเนินการ
  • การเเก้ไขโครงการ
  • การดำเนินการอื่น ๆ
  • การรายงานความคืบหน้าโครงการ (e-Monitoring)
  • การปฏิบัติหลังการได้รับการส่งเสริม
  • การยกเลิกบัตรส่งเสริม
  • เรื่องทั่วไป
  • การใช้สิทธิด้านที่ดิน
  • การใช้สิทธิด้านเครื่องจักร
  • การใช้สิทธิด้านช่างฝีมือ/ต่างด้าว
  • การใช้สิทธิด้านวัตถุดิบ
  • ประเภทกิจการ - การแพทย์
  • การใช้สิทธิด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ประเภทกิจการ - รถยนต์ไฟฟ้า
  • ประเภทกิจการ - ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (IBC) IPO และ TISO
  • ประเภทกิจการ - โรงแรม
  • ประเภทกิจการ - ผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ
  • ประเภทกิจการ - กิจการผลิตเครื่่องจักร อุุปกรณ์และชิ้นส่วน
  • ประเภทกิจการ - กิจการศูนย์กระจายสินค้าระหว่า ประเทศด้วยระบบที่่ทันสมัย (IDC)
กิจการ IBC จะต้องให้บริการวิสาหกิจในเครือในต่างประเทศอย่างน้อย 1 แห่งใช่หรือไม่

การให้บริการวิสาหกิจในเครือในประเภท 7.34 IBC ตามขอบข่ายที่ 1.1 – 1.10 จะต้องให้บริการวิสาหกิจในเครือที่อยู่ต่างประเทศอย่างน้อย 1 ประเทศ และจะให้บริการวิสาหกิจในเครือในประเทศด้วยก็ได้

การเก็บเอกสารการตัดบัญชี ในกรณีที่เราเก็บเอกสารการตัดบัญชีการ Submit ตั้งเเต่สมัยเปิดดำเนินการโครงการมาหลายปี ถ้ากรณีอายุมากกว่าเท่าไหร่ ถึงจะสามารถทำลายได้หรือต้องเก็บเอกสารตลอดจนกว่าจะปิดโครงการของบัตรนั้นๆ

BOI ไม่มีประกาศหรือคำสั่งกำหนดว่าผู้ได้รับส่งเสริมจะต้องเก็บรักษาเอกสารใดบ้างไว้เป็นเวลาเท่าใด แต่มีระเบียบปฏิบัติภายในว่า BOI จะเก็บเอกสารในการอนุมัติงานในแต่ละประเภทเป็นเวลานานเท่าใด

ดังนั้น หากผู้ได้รับส่งเสริมเห็นว่าเอกสารบางชนิดที่ได้รับอนุมัติแล้ว ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเก็บรักษาต่อไป และต้องการจะทำลาย ก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้ได้รับส่งเสริมเอง

แต่หากมีการทำลายไป และพ้นระยะเวลาที่ BOI เก็บรักษาเอกสารนั้นไว้ตามระเบียบแล้ว ผู้ได้รับส่งเสริมจะขอคัดสำเนาเอกสารดังกล่าวจาก BOI อีกไม่ได้

สอบถามการขอยกเลิกบัตรส่งเสริม เนื่องจากบริษัทฯกำลังปิดกิจการ เนื่องจากขาดทุน ไม่มีรายได้ หุ้นส่วนไม่เพิ่มทุน แต่ได้รับสิทธิประโยชน์ BOI ตามบัตรส่งเสริมเดือนมกราคม 2562 บริษัทฯ ยังไม่มีผลิตหรือขาย แต่ใช้สิทธ์ ม.28 ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรภาษีนำเข้า 7% = 916,318.00 บาท นำเข้าวันที่ 17/03/2062 บริษัทฯ ต้องทำหนังสือยื่น BOI แบบไหน เพื่อยื่นเสียภาระภาษีทั้งหมด และจะมีเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ (2 ก.ค. 2563)

1.กรณียังไม่ครบกำหนดเปิดดำเนินการ

-หากเปิดดำเนินการไม่ได้ จะเป็นการขัดต่อเงื่อนไขในบัตรส่งเสริม ซึ่งต้องชำระภาษีอากรเครื่องจักรตามสภาพ ณ วันนำเข้า

2.กรณีครบกำหนดเปิดดำเนินการแล้ว และไม่สามารถขอขยายเวลาเปิดดำเนินการได้อีก

-สามารถขอส่งคืนเครื่องจักรไปต่างประเทศ (ไม่มีภาระภาษี) หรือขอจำหน่ายในประเทศ (มีภาระอากรขาเข้าตามสภาพ ณ วันอนุมัติให้จำหน่าย) โดยการขอส่งคืนเครื่องจักรไปต่างประเทศและการขอจำหน่ายเครื่องจักร ให้ยื่นคำร้องผ่านระบบ eMT

BOI ใช้เกณฑ์อะไรในการตรวจสอบว่าโครงการปฏิบัติตามเงื่อนไข “พนักงานประจำที่มีความรู้และทักษะในกิจการ IBC”

ในเบื้องต้นจะดูจากวุฒิการศึกษา และตำแหน่งงานรวมถึงลักษณะงานที่ทำในโครงการ IBC และจะตรวจสอบทุกครั้งที่มีการใช้สิทธิประโยชน์

บริษัทมีหุ้นต่างชาติทั้งสิ้นได้รับการส่งเสริม IHQ จาก BOI ในปี พ.ศ. 2558 ได้รับอนุมัติการใช้สิทธิทางภาษี IHQ จากกรมสรรพากร ในปี พ.ศ. 2560 บริษัทควรเปลี่ยนเป็นกิจการ “IBC” หรือไม่

ขึ้นอยู่กับนโยบายของบริษัท หากยังคงเป็นกิจการ IHQ สามารถใช้สิทธิและโยชน์ทางด้านภาษีในปัจจุบันต่อไปถึงระยะเวลาที่กำหนด (15 รอบปีบัญชี)

มาตรการบีโอไอ THAILAND PLUS ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตามมาตรการบีโอไอ THAILAND PLUS ข้อ 2 2.1 มาตรการสนับสนุนการฝึกอบรม (ไม่กำหนดวงเงินค่าใช้จ่ายในการอบรมขั้นต่ำ) -กรณีพัฒนาทักษะแก่นักศึกษา ได้รับสิทธิเพิ่มวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 100% ของค่าใช้จ่ายในการอบรม - กรณีพัฒนาทักษะแก่พนักงาน ได้รับสิทธิเพิ่มวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 200% ของค่าใช้จ่ายในการอบรม ขอสอบถามว่า 1.หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขอรับการส่งเสริมตามมาตรการนี้จะต้องไปดูที่ประกาศฉบับไหน 2. สามารถใช้สิทธิ์ทั้ง 2 กรณีควบคู่กันได้หรือไม่ หรือต้องเลือกใช้ได้แค่กรณีใดกรณีหนึ่งเท่านั้น 3. หลักสูตรที่เข้าเกณฑ์ในการใช้สิทธิ์สามารถหาหลักสูตรได้จากที่ไหนบ้าง

1. มาตรการสนับสนุนการฝึกอบรม ตามมาตรการบีโอไอ THAILAND PLUS สามารถดูรายละเอียดได้จาก ประกาศ กกท ที่ 5/2562

2. เนื่องจากในประกาศไม่ได้มีข้อกำหนดห้าม จึงเข้าใจว่าสามารถฝึกอบรมและใช้สิทธิทั้ง 2 แบบ ควบคู่กัน

3. หลักสูตรการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีขั้นสูง ครอบคลุมถึงหลักสูตรเทคโนโลยีขั้นสูงหรือทักษะพิเศษที่เป็นเป้าหมาย ซึ่งได้รับการรับรองจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) หรือจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ซึ่งสามารถติดต่อขอรายละเอียดหลักสูตรจากหน่วยงานดังกล่าวได้

หากบริษัทมียอดขายจากผลพลอยได้ ในแบบคำขอใช้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ต้องกรอกรายละเอียดการผลิตและการจำหน่ายของผลิตภัณฑ์หรือไม่ (หน้า 5/7)
ต้องกรอกรายละเอียดการผลิตและการจำหน่ายของผลิตภัณฑ์ด้วย (หน้า 5/7)
เรื่องการยกเลิกบัตรส่งเสริม เมื่อยื่นเอกสารกับทางสำนักงานแล้วไม่ทราบว่าจะมีเจ้าหน้ามีมาตรวจสอบที่บริษัทหรือเปล่า เอกสารที่ใช้ยื่นกับสำนักงาน นอกจากหนังสือบริษัท,สำเนาบัตรส่งเสริม,MML จาก IC ไม่ทราบเป็น MML Raw Material อย่างเดียวหรือของเครื่องจักรด้วย

การยกเลิกบัตรส่งเสริม หากยังไม่ได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการแล้ว ควรต้องเปิดดำเนินการให้ได้ก่อน มิฉะนั้นอาจถูกเพิกถอนบัตรส่งเสริม และถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลังเสมือนไม่เคยได้รับส่งเสริมมาก่อน แต่การยกเลิกบัตรส่งเสริมหลังจากที่ได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการแล้ว ปกติจะตรวจสอบจากเอกสาร โดยอาจไม่ต้องไปตรวจสอบโรงงาน การยกเลิกบัตรส่งเสริม จะพิจารณาว่าเครื่องจักรและวัตถุดิบที่นำเข้ามาโดยใช้สิทธิ มีภาระภาษีที่ต้องเรียกคืนหรือไม่ จึงควรแนบหลักฐานการใช้สิทธิวัตถุดิบ (MML) และบัญชีรายการเครื่องจักรเข้าไปด้วย

การนำเข้าเครื่องจักรมาก่อนการสร้างโรงงานในจังหวัด B แล้วเสร็จ ยังคงเป็นเพียงแผนงานอยู่ แต่หากมีความจำเป็นจากเงื่อนไขทางการค้ากับผู้ผลิตเครื่องจักร และแผนการผลิตที่ต้องการให้สามารถผลิตสินค้าได้เร็วที่สุดเมื่อทำการเปิดโรงงาน จึงต้องนำเข้าเครื่องจักรเข้ามาจัดเก็บและ test-run ในจังหวัด A ก่อน จะต้องขออนุญาตก่อน หรือ หลัง นำเครื่องจักรเข้ามา และกรณีการ test-run บริษัทสามารถพิสูจน์อย่างไรได้บ้าง

การขอนำเครื่องจักรไปเก็บนอกสถานที่ ปกติจะยื่นหลังจากนำเข้าเครื่องจักรมาแล้ว โดยต้องระบุรายละเอียดเลขที่หนังสืออนุมัติสั่งปล่อยเครื่องจักรรายการนั้นด้วย แต่ถ้าจะขออนุญาตก่อนนำเข้า ไม่เคยได้ยินว่ามีการอนุญาตเช่นนั้น รวมถึงการ test-run ก็เช่นกัน เพราะการ test-run อาจทำการผลิตเสมือนจริง และของที่ผลิตได้ อาจจะสามารถจำหน่ายเป็นสินค้าก็เป็นไปได้ กรณีนี้แนะนำให้ปรึกษาเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการโดยตรง เพราะความเห็นของเจ้าหน้าที่แต่ละคนน่าจะต่างกัน

กรณีที่โครงการขอรับการส่งเสริม ประเภท 5.4.3.2 กิจการผลิตชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์ สำหรับโทรคมนาคมอื่นๆ ลักษณะเป็นงานฉีดพลาสติกขึ้นรูปชิ้นงานแล้วนำมาประกอบกับ parts ที่นำเข้าอีกครั้ง โดยขั้นตอนการทำงานดังนี้ - รับวัตถุดิบ คือ เม็ดพลาสติก เข้าเครื่องฉีดพลาสติก ( Injection Molding Machine) - ตัดตกแต่งชิ้นงาน ตรวจสอบ -นำชิ้นงานที่ผ่านการตรวจสอบแล้วและ parts ที่นำเข้ามาประกอบเป็นชิ้นงาน -ตรวจสอบ -ส่งออก สอบถามการคิดกำลังการผลิตสูงสุดของโครงการว่าคิดจากขั้นตอนไหน และมีวิธีการคิดอย่างไรบ้าง
กรณีที่สอบถาม ขั้นตอนการผลิตที่อาจใช้ในการคำนวณกำลังผลิต ได้แก่

- ขั้นตอนฉีดพลาสติก

- ขั้นตอนประกอบ

- ขั้นตอนตรวจสอบ

ให้คำนวณ Cycle Time ในการผลิตของ 3 ขั้นตอนนี้ ขั้นตอนที่มี Cycle Time สูงที่สุด จะเป็นตัวกำหนดกำลังผลิตของโครงการ (Bottle Neck)
เนื่องจากได้รับอนุมัติเปิดดำเนินการเรียบร้อยแล้ว และต่อมาจะนำเข้าเครื่องจักรเก่าที่ผลิตปี 2007 (9ปี) โดยไม่ใช้สิทธิประโยชน์ทางด้าน BOI เนื่องจากหมดระยะเวลาแล้ว กรณีนี้ ต้องยื่นเรื่องแจ้งขออนุญาตกับสำนักงาน BOI หรือไม่ อย่างไร

การจะนำเครื่องจักรเก่ามาใช้ในโครงการ ต้องเป็นกรณีที่บัตรส่งเสริมกำหนดเงื่อนไขอนุญาตให้ใช้เครื่องจักรเก่าเท่านั้น

การนำเครื่องจักรเก่าเข้ามาโดยชำระภาษีเอง เนื่องจากสิ้นสุดระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรแล้ว สามารถทำได้แต่เครื่องจักรเก่านั้นตรงกับเงื่อนไขที่ระบุในบัตรส่งเสริม และมีใบรับรองประสิทธิภาพเครื่องจักรเก่าตามเงื่อนไขที่กำหนดด้วย

กิจการซอฟต์แวร์ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และให้บริการดิจิทัล ในส่วนรายละเอียดความคืบหน้าของงานปัจจุบัน หากโปรแกรม/ระบบได้พัฒนาเสร็จสิ้นแล้ว ให้กรอกข้อมูลอย่างไร

เบื้องต้นให้กรอกว่าอยู่ในขั้นทดสอบ

บริษัทจะขอรายงานล่าช้ากว่ากำหนด หรือ ระบบฯ จะมีการปิดให้กรอกข้อมูลหลังเลยกำหนดเวลา รายงานหรือไม่
การรายงานในรอบปี 2561 นี้ ยังไม่มีการปิดระบบฯ ในการกรอกข้อมูลแต่อย่างใด จึงสามารถรายงานในระบบฯ ได้อยู่ อย่างไรก็ตาม เมื่อได้ข้อมูลแล้ว ขอให้บริษัทเร่งดำเนินการกรอกและส่งข้อมูลใน ระบบฯ เนื่องจากการรายงานล่าช้าอาจส่งผลต่อระบบการขอใช้สิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ ในภายหลัง ทั้งนี้ ในรอบปีถัดไปอาจมีการปิดระบบตามเวลาที่กำหนด
กำไรสุทธิ หมายถึง กำไรก่อนค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ หรือกำไรหลังหักค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้

กำไรหลังหักค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้

สินค้าบางชนิด เช่น ยาดม ยาอม และยาหม่อง เป็นต้น สามารถขอรับการส่งเสริมได้หรือไม่

สินค้าที่ถูกจัดเป็นยา ตามประเภทของ อย. อยู่ในข่ายที่จะขอรับการส่งเสริมได้

หลักเกณฑ์การถือหุ้นชาวต่างชาติมีอะไรบ้าง

คณะกรรมการฯ กำหนดหลักเกณฑ์การถือหุ้นของต่างชาติสำหรับโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนว่า โครงการที่อยู่ข่ายได้รับการส่งเสริมการลงทุนส่วนใหญ่ ต่างชาติสามารถถือหุ้นได้ทั้งสิ้น ยกเว้น โครงการลงทุนในกิจการที่ปรากฏในบัญชีหนึ่งท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน  หากเป็นกิจการที่ปรากฏในบัญชีสองและสามท้ายพระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้น อนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นข้ามากหรือทั้งสิ้นได้ เว้นแต่กรณีที่มีกฎหมายอื่นกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ

อย่างไรก็ตาม เมื่อมีเหตุผลอันสมควร คณะกรรมการฯ อาจกำหนดสัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติเป็นการเฉพาะสำหรับกิจการที่ให้การส่งเสริมการลงทุนบางประเภท

ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับสูตรการผลิต

1. บริษัทขออนุมัติสูตรการผลิตล่วงหน้า โดยประมาณการปริมาณวัตถุดิบที่จะต้องใช้ก่อนการผลิตจริง เมื่อมีการผลิตจริงทำให้ปริมาณการใช้วัตถุดิบแตกต่างจากสูตรการผลิตที่ได้รับอนุมัติ ทำให้ต้องแก้ไขสูตรการผลิตเพื่อให้ปริมาณวัตถุดิบสอดคล้องกับความเป็นจริง

2. บางบริษัทมีสูตรการผลิตหลายสูตร ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกัน แต่ต่างกันที่ชื่อรุ่น (Model) ทำให้ต้องแก้ไขสูตรการผลิตหลายครั้ง

3. กรณีวัตถุดิบชนิดเดียวกันแต่มีการซื้อทั้งในประเทศต่างประเทศ มีโอกาสทำให้เกิดการตัดบัญชีผิดพลาดได้ง่าย ส่งผลให้ต้องแก้ไขสูตรการผลิต

1. บริษัทมีโครงการใหม่ได้ลงทุนก่อสร้างอาคารสำหรับโครงการใหม่ นำเข้าเครื่องจักรมาแล้ว แต่ก็ยังมีพื้นที่เหลือว่าง เป็นโครงการที่อยู่ในพื้นที่บริษัทเดียวกัน แต่แยกคนละอาคารตามบัตรส่งเสริมแต่ละบัตร 2. บริษัท ต้องการย้ายเครื่องจักรของโครงการเก่า (เฉพาะบัตรใดบัตรหนึ่ง) มาใช้พื้นที่ของโครงการใหม่ อาคารใหม่ ที่มีพื้นที่เหลือ บริษัทต้องดำเนินการแจ้งบีโอไอหรือไม่ อย่างไรหรือสามารถ ย้ายเครื่องจักรนั้นได้เลย โครงการเดิม ได้เปิดดำเนินการแล้ว แต่โครงการใหม่เพิ่งจะสร้างอาคารเสร็จ และกำลังจะเริ่มผลิต เลยไม่แน่ใจว่า ต้องปฏิบัติอย่างไร

บริษัทได้รับส่งเสริม 2 โครงการ บนที่ดินเดียวกัน โครงการที่ 1 ได้รับอนุมัติเปิดดำเนินการแล้วที่อาคารเก่า ส่วนโครงการที่ 2 จะลงทุนก่อสร้างอาคารใหม่

ขอตอบตามนี้

1. การย้ายเครื่องจักรของโครงการที่ 1 ไปติดตั้งในอาคารใหม่ ไม่ต้องขออนุญาต BOI เนื่องจากโครงการที่ 1 ยังคงประกอบกิจการในสถานที่ตั้งตามที่ระบุในบัตรส่งเสริม และใบอนุญาตเปิดดำเนินการ (ส่วนจะต้องแจ้งกรมโรงงานหรือหน่วยราชการอื่นหรือไม่อย่างไรนั้น ขอให้ตรวจสอบกับหน่วยงานนั้นๆโดยตรง)

2. กรณีนี้จะมีประเด็นปัญหาเรื่องการคำนวณมูลค่าการลงทุนของโครงการที่ 2 ในวันครบกำหนดเปิดดำเนินการ เนื่องจากอาคารใหม่นี้ ไม่ได้สร้างเพื่อใช้สำหรับโครงการที่ 2 อย่างเดียว แต่สร้างเผื่อไว้ใช้อย่างอื่นได้ด้วย ดังนั้น เงินลงทุนค่าก่อสร้างอาคารใหม่ จึงไม่นับเป็นการลงทุนของโครงการ 2 ได้ทั้งหมด ต้องมีการปันส่วนกับโครงการอื่นที่ใช้ร่วมกันด้วย

การชี้แจงโครงการทำเมื่อไหร่

ท่านจะได้รับวันนัดหมายให้มาชี้แจงโครงการผ่านระบบ e-Investment Promotion และให้พิมพ์แบบฟอร์มคำขอฉบับสมบูรณ์ที่บันทึกไว้ พร้อมลงนามเพื่อนำมายื่นในวันที่ชี้แจงโครงการ

จากนั้น ผู้ขอรับการส่งเสริมจะต้องเดินทางไปพบเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ เพื่อชี้แจงรายละเอียดของโครงการที่ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุน หรืออาจมอบหมายให้ผู้อื่นไปชี้แจงโครงการแทนก็ได้

ในการชี้แจงโครงการ ผู้ขอรับการส่งเสริมควรนำบุคคลที่มีความเข้าใจรายละเอียดของโครงการที่ขอรับการส่งเสริม ทั้งในด้านการผลิต การเงิน และการตลาด ร่วมเดินทางไปชี้แจงโครงการด้วย เนื่องจากจะทำให้การชี้แจงโครงการมีความถูกต้องชัดเจน และจะทำให้การพิจารณาคำขอรับการส่งเสริมเป็นไปโดยสะดวกรวดเร็วมากขึ้น

ถ้าบริษัท A เป็น IPO ขายวัตถุดิบให้บริษัท B ซึ่งเป็นบีโอไอและบริษัท B ผลิตและขายเป็นผลิตภัณฑ์คืนบริษัท A แล้วAส่งออก (บริษัท B ไม่ได้นำเข้าวัตถุดิบซื้อจากAทุกรายการ) A มีทั้งบัตร IPO และ สามารถผลิตได้ บริษัท A ส่งออก แล้วตัดบัญชีคืน B หลังจากนั้น B ก็โอนทั้งหมดคืนให้ A เข้าใจถูกต้องไหมท คำถามคือบริษัทBต้องยื่นสูตรการผลิต ยื่นเพิ่มชื่อรายการวัตถุดิบเพราะบางรายการทาง B ยังไม่มีชื่อวัตถุดิบที่ได้รับอนุมัติ เพื่อทำการโอนสิทธิ์คืนให้บริษัท A ทุกรายการในสูตรการผลิตนี้ ไม่ทราบว่าขั้นตอนแบบนี้ถูกต้องหรือไม่

A(IPO) ขายวัตถุดิบคือ A1 ให้ B จากนั้น (B) นำไปผลิตเป็นสินค้า B1 ขายให้ A(IPO) และ A นำไปส่งออก ในกรณีนี้ให้ A(IPO) ยื่นตัดบัญชี B1 และโอนสิทธิตัดบัญชีวัตถุดิบคือ B1 ให้กับ B จากนั้น B ตัดบัญชี B1 และโอนสิทธิตัดบัญชีวัตถุดิบคือ A1 ให้กับ A เพื่อให้นำไปตัดบัญชีต่อไป หาก B ยังไม่มีรายการวัตถุดิบเป็น A1 ก็ต้องแก้ไขเพิ่มรายการในบัญชี และในสูตรการผลิต มิฉะนั้นจะตัดบัญชีโอนสิทธิไปให้ A ไม่ได้

ขออภัยครับ ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ในภาษาที่ท่านเลือก !

Sorry, There is no information support your selected language !

Download และ ติดตั้งโปรแกรมอ่าน PDF

Download PDF Reader

Site map