Chat
x
toggle menu
toggle menu

Select Groups

All Group
  • All Group
  • นโยบายเเละมาตรการพิเศษในการส่งเสริม
  • การขอรับการส่งเสริมการลงทุน
  • การออกบัตรส่งเสริม
  • การเปิดดำเนินการ
  • การเเก้ไขโครงการ
  • การดำเนินการอื่น ๆ
  • การรายงานความคืบหน้าโครงการ (e-Monitoring)
  • การปฏิบัติหลังการได้รับการส่งเสริม
  • การยกเลิกบัตรส่งเสริม
  • เรื่องทั่วไป
  • การใช้สิทธิด้านที่ดิน
  • การใช้สิทธิด้านเครื่องจักร
  • การใช้สิทธิด้านช่างฝีมือ/ต่างด้าว
  • การใช้สิทธิด้านวัตถุดิบ
  • ประเภทกิจการ - การแพทย์
  • การใช้สิทธิด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ประเภทกิจการ - รถยนต์ไฟฟ้า
  • ประเภทกิจการ - ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (IBC) IPO และ TISO
  • ประเภทกิจการ - โรงแรม
  • ประเภทกิจการ - ผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ
  • ประเภทกิจการ - กิจการผลิตเครื่่องจักร อุุปกรณ์และชิ้นส่วน
  • ประเภทกิจการ - กิจการศูนย์กระจายสินค้าระหว่า ประเทศด้วยระบบที่่ทันสมัย (IDC)
1.บริษัทสามารถขอคืนอากรเครื่องจักรได้หรือไม่ /มีระยะเวลาที่กำหนดไว้ กี่วัน/บริษัทขอสงวนสิทธิไว้แล้ว 2. หากบริษัทยังไม่ได้ดำเนินการผลิต แต่มีเครื่องจักรที่เราเสียภาษีเข้า สามารถ ขอคืนอากรได้หรือไม่ค่ะ 3. บริษัทมีความจำเป็นจะต้องยกเลิกบัตรส่งเสริมเนื่องจากผลิตภัณฑ์ไม่มียอดสั่งซื้อ หรือมีเบอร์ ติดต่อเจ้าหน้าที่ ที่บริษัท สามารถ คุยสอบถามโดยตรงได้

1.หากบริษัทนำเข้าเครื่องจักรมาในช่วงที่ได้รับสิทธิประโยชน์การยกเว้นภาษีอากร โดยได้ชำระภาษีอากรไว้ บริษัทสามารถยื่นขออนุมัติสั่งปล่อยคืนอากรได้ แต่ต้องไม่เกิน 1 ปี นับจากวันที่สิ้นสุดระยะเวลานำเข้าเครื่องจักร ตามประกาศ สกท ที่ ป.4/2556 ข้อ 8.1

2.การขอคืนอากรเครื่องจักร จะเป็นช่วงที่ยังไม่เริ่มการผลิตก็ได้

3.การติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่ BOI ขอให้ติดต่อโดยตรงกับกองบริหารการลงทุนของ BOI ที่รับผิดชอบประเภทอุตสาหกรรมที่บริษัทได้รับการส่งเสริม

บุคคลธรรมดาสามารถยื่นขอรับการส่งเสริมได้หรือไม่

ผู้ที่จะได้รับการส่งเสริม จะต้องเป็นบริษัท สหกรณ์ หรือมูลนิธิที่จดทะเบียนในประเทศไทยเท่านั้น  ทั้งนี้หากยังไม่ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท สามารถยื่นคำขอรับการส่งเสริมในนามบุคคลก่อนก็ได้ แล้วจึงจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทหลังจากได้รับหนังสือแจ้งมติให้การส่งเสริมการลงทุน และจดทะเบียนบริษัทให้เรียบร้อยภายใน 6 เดือนก่อนยื่นขอรับบัตรส่งเสริมการลงทุน

การรวมบัตรส่งเสริม

กรณีที่ผู้ได้รับส่งเสริมลงทุนในหลายกิจการ ทั้งที่ได้รับส่งเสริมหรือไม่ได้รับการส่งเสริมก็ตาม ผู้ได้รับส่งเสริมจะต้องควบคุมการใช้สิทธิประโยชน์ให้จำกัดอยู่ภายในโครงการที่ได้รับส่งเสริมเท่านั้น เช่น จะต้องแยกบัญชีรายรับ-รายจ่ายของแต่ละโครงการ เพื่อให้สามารถคำนวณกำไรสุทธิที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลของแต่ละโครงการได้อย่างถูกต้อง เป็นต้น

เมื่อสิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากรของแต่ละโครงการสิ้นสุดลง ผู้ได้รับส่งเสริมอาจขอรวมโครงการที่ได้รับส่งเสริมเข้าด้วยกันก็ได้ เพื่อความสะดวกในการบริหารจัดการภายในบริษัท

ทั้งนี้โครงการที่ได้รับการส่งเสริมแต่ละโครงการ อาจได้รับสิทธิประโยชน์ที่แตกต่างกัน หรืออาจจะมีกำหนดเริ่มต้นและสิ้นสุดแตกต่างกัน อีกทั้งสิทธิประโยชน์ของแต่ละบัตรส่งเสริม ก็จะต้องใช้เฉพาะโครงการที่ได้รับส่งเสริมนั้นๆ เท่านั้น

ดังนั้น ผู้ที่ได้รับส่งเสริมหลายโครงการ จึงต้องควบคุมการใช้สิทธิและประโยชน์ของแต่ละโครงการแยกออกจากกันโดยเคร่งครัด และบางครั้งจึงเป็นภาระต่อการควบคุมการใช้สิทธิประโยชน์ทั้งในด้านบุคลากร ระยะเวลา และค่าใช้จ่าย

ผู้ได้รับส่งเสริมอาจขอรวมบัตรส่งเสริม 2 ฉบับ หรือหลายฉบับเข้าด้วยกัน เพื่อลดภาระในการบริหารจัดการด้านสิทธิประโยชน์ และเพื่อทำให้การใช้เครื่องจักรของแต่ละโครงการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดได้ โดยมีแนวทางการพิจารณา ดังนี้

1.      ควรเป็นโครงการที่เปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว และ

2.     ควรเป็นโครงการที่สิ้นสุดระยะเวลาการได้รับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้ว

กรณีที่ผู้ได้รับส่งเสริมประสงค์จะรวมโครงการที่ยังเปิดดำเนินการไม่เต็มโครงการ หรือสิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากรยังไม่สิ้นสุดลง จะอนุญาตให้รวมโครงการได้ โดยผู้ได้รับส่งเสริมจะต้องยินยอมสละสิทธิประโยชน์ให้เหลือเท่ากับโครงการที่มีสิทธิประโยชน์น้อยที่สุด ดังนี้


 นอกเหนือจากการรวมโครงการแล้ว ผู้ได้รับส่งเสริมอาจขอรวมบัญชีปริมาณสต๊อควัตถุดิบของแต่ละโครงการเข้าด้วยกันโดยไม่ต้องรวมบัตรส่งเสริมก็ได้ ซึ่งจะช่วยลดภาระในการควบคุมการใช้สิทธิประโยชน์การนำเข้าและตัดบัญชีวัตถุดิบของแต่ละโครงการได้

คำถามเกี่ยวกับมาตรการยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นสำหรับการผลิตเพื่อการส่งออก (มาตรา 36) สิทธิประโยชน์ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบ ตามมาตรา 36 คืออะไร

โครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนที่ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก จะได้รับสิทธิและประโยชน์ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ เพื่อใช้ผลิต ผสม ประกอบเป็นผลิตภัณฑ์หรือผลิตผลเพื่อส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด พร้อมกับจะได้รับค้ำประกันภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย

 

ทั้งนี้ วัตถุดิบที่นำเข้ามาโดยใช้สิทธิประโยชน์ยกเว้นอากรขาเข้านี้ จะต้องใช้ในโครงการที่ได้รับส่งเสริมเพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ตามที่ระบุไว้ในบัตรส่งเสริม และส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศเท่านั้น

 

กรณีที่นำไปผลิตจำหน่ายในประเทศ หรือไม่สามารถส่งออกได้ ผู้ได้รับส่งเสริมจะต้องเสียภาษีอากรวัตถุดิบตามสภาพ ณ วันนำเข้า พร้อมเงินเพิ่มและเบี้ยปรับตามกฎหมายศุลกากร อีกทั้งจะต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมเงินเพิ่มและเบี้ยปรับอีกด้วย

สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรมีอะไรบ้าง

- ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 13 ปี (มาตรา 31)

- ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 50 (มาตรา 35 (1))

- ยกเว้น/ลดหย่อนอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร (มาตรา 28/29)

- ลดหย่อนอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็น (มาตรา 30)

- ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในการวิจัยและพัฒนา (มาตรา 30/1)

- ให้หักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา เป็นสองเท่า (มาตรา 35 (2))

- ให้หักค่าติดตั้งหรือก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มขึ้นร้อยละ 25 (มาตรา 35 (3))

- ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นสำหรับการผลิตเพื่อการส่งออก (มาตรา 36)

การได้สิทธิประโยชน์ดังกล่าวขึ้นอยู่กับประเภทกิจการและเงื่อนไขของโครงการที่ได้รับการส่งเสริม

บริษัทที่มีชาวต่างชาติเป็นหุ้นส่วนสามารถถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินได้หรือไม่

ตามประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2508 บุคคลที่มีสัญชาติไทย และนิติบุคคลที่มีสัญชาติไทย (บุคคลหรือนิติบุคคลที่มีสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน) เท่านั้น จึงจะสามารถถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินได้

 

ยกเว้นกรณีบริษัทต่างชาติ (มีหุ้นไทยต่ำกว่าร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน) ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตาม พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 จะได้รับสิทธิประโยชน์ตามมาตรา 27 ให้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อประกอบกิจการที่ได้รับส่งเสริมได้ ซึ่งนอกจากจะใช้ที่ดินดังกล่าวเพื่อใช้สร้างอาคารโรงงานแล้ว ยังสามารถใช้สร้างเป็นสำนักงาน และที่พักอาศัยของพนักงานได้อีกด้วย แต่ต้องอยู่ในพื้นที่เดียวกันกับอาคารโรงงาน

 

อนึ่ง ที่ดินซึ่งได้รับอนุมัติให้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน จะต้องใช้ในกิจการที่ได้รับส่งเสริมเท่านั้น

 

กรณีที่บริษัทยกเลิกกิจการ จะต้องจำหน่ายที่ดินดังกล่าวภายใน 1 ปีนับจากวันที่เลิกกิจการ แต่หากไม่ดำเนินการภายในเวลาที่กำหนด อธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจจำหน่ายที่ดินนี้ได้ตามบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายที่ดิน

 

พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 ได้บัญญัติสิทธิและประโยชน์ในการถือครองกรรม สิทธิที่ดินไว้ตามมาตรา 27 ดังนี้

 

มาตรา 27
ให้ได้รับอนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามจำนวนที่คณะกรรมการพิจารณาเห็นสมควร ทั้งนี้ ที่ดินที่จะได้รับอนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ตามบัตรส่งเสริม จะต้องใช้เพื่อประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมเท่านั้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการก่อน

 

เมื่อผู้ได้รับการส่งเสริมเลิกกิจการ ให้บริษัทจำหน่ายที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินภายใน 1 ปี นับแต่วันที่เลิกกิจการนี้ ถ้าผู้ได้รับการส่งเสริมฝ่าฝืน อธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจจำหน่ายที่ดินนี้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายที่ดิน

นโยบายการส่งเสริมการลงทุนในปัจจุบันมีแนวโน้มให้การส่งเสริมการลงทุนแบบใดบ้าง

เป้าหมายส่งเสริมการลงทุนตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ 2/2557

1. ส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาการสร้างนวัตกรรม การสร้างมูลค่าเพิ่มของภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ และการส่งเสริม

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตลอดจนส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรม และการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม

2. ส่งเสริมกิจการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีการประหยัดพลังงานหรือใช้พลังงานทดแทน เพื่อการเติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืน

3. ส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มของการลงทุน (Cluster) ที่สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ และสร้างความเข้มแข็งของห่วงโซ่มูลค่า

4. ส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจท้องถิ่นที่เกื้อกูลต่อการสร้างความมั่นคงในพื้นที่

5. ส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ โดยเฉพาะพื้นที่ชายแดนทั้งในและนอกนิคมอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน และรองรับการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

6. ส่งเสริมการลงทุนของไทยในต่างประเทศ เพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจไทย และเพิ่มบทบาทของประเทศไทยในเวทีโลก

การขอรับการส่งเสริมกิจการโรงแรมสามารถนำอาคารเก่าหรือซื้อโรงแรมมาปรับปรุง ขอรับการส่งเสริมได้หรือไม่

สำนักงานไม่ให้การส่งเสริมนำกิจการโรงแรมเที่ดำเนินการอยู่แล้วมาขอรับการส่งเสริม กรณีการใช้อาคารเก่าหรือโครงการเดิมมายื่นขอรับการส่งเสริม จะต้องปิดกิจการเดิม และหยุดการใช้อาคารดังกล่าว และเสนอแผนการลงทุนใหม่โดยจะต้องไม่รวมค่าสิ่งปลูกสร้างเดิมในเงินลงทุน และจะต้องมีการลงทุนงานระบบใหม่ เช่น ลิฟท์ ระบบไฟฟ้า ระบบประปา และงานระบบอื่นๆ เป็นต้น โดยวงเงินลงทุนใหม่ต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาทต่อห้อง ทั้งนี้ หากโครงการตั้งอยู่ใน 20 จังหวัดรายได้ต่อหัวต่ำ ซึ่งจะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี การนับ Cap วงเงินยกเว้นภาษี จะไม่รวมสิ่งปลูกสร้างเดิม

สำนักงานขอสงวนสิทธิในการพิจารณา กรณีใช้อาคารหรือกิจการเดิมมาปรับทำกิจการโรงแรมเป็นรายกรณี และอาจเพิ่มเงื่อนไขให้จัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเสมือนหนึ่งเป็นโครงการกิจการโรงแรมทั่วไป

สำนักงานให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าอย่างไร การส่งเสริมการลงทุนเพื่อการผลิตรถไฟฟ้าให้ส่งเสริมรถยนต์อย่างเดียวหรือไม่ หรือให้การส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับรถไฟฟ้าด้วย

สำนักงานให้ความสำคัญกับการสร้างอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศเป็นอย่างมาก และต้องการให้เกิดการลงทุนครบสายการผลิตในประเทศไทย จึงออกมาตรการส่งเสริมพิเศษ ตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ 5/2560 เพื่อให้ส่งเสริมทั้งการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ไฟฟ้า และสถานีอัดประจุไฟฟ้า

รายละเอียดผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในข่าย มีดังนี้

1. รถยนต์ไฟฟ้า ได้แก่ Hybrid Electric Vehicles, Plug-in Hybrid Electric Vehicles, Battery Electric Vehicles

2. อุปกรณ์ เช่น Battery, Traction Motor, ระบบปรับอากาศ, BMS, DCU, Converter, On-board Charger, สายชาร์จพร้อมเต้ารับ-เต้าเสียบ, DC/DC Converter, Inverter, Portable Electric Vehicle Charger, Electrical Circuit Breaker, Smart Charging System, คานหน้าคานหลังสำหรับรถโดยสารไฟฟ้า เป็นต้น

3. สถานีบริการอัดประจุไฟฟ้า

สำนักงานให้ความสำคัญกับกิจกรรมการส่งเสริมการลงทุนเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการแพทย์หรือไม่
สำนักงานมีมาตรการที่สนับสนุนการลงทุนเพื่อให้เกิดธุรกิจเกี่ยวกับสุขภาพครบวงจร โดยมีจุดประสงค์ให้ประเทศไทยเติบโตขึ้นเป็น Medical Hub ของภูมิภาค ซึ่งสำนักงานได้มีประเภทให้การส่งเสริมที่เกี่ยวข้องหลากหลายตั้งแต่การผลิตเครื่องมือแพทย์หรือชิ้นส่วน อาหารทางการแพทย์ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร การผลิตยาแผนปัจจุบันหรือแผนโบราณ สารออกฤทธิ์สำคัญในยา เป็นต้น โดยให้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้ 3 ถึง 8 ปี
ระบบฯ ปรากฏข้อความสีแดง ‘กรุณากรอกชื่อผู้ถือหุ้นให้ครบถ้วน’ หมายความว่าอย่างไร

หากบริษัทมีหุ้นต่างชาติ ระบบฯ จะให้กรอกชื่อผู้ถือหุ้นต่างชาติเฉพาะรายที่ถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละ 10 ขึ้นไปเท่านั้น (รายใดถือหุ้นไม่ถึงร้อยละ 10 ไม่ต้องกรอก) แต่หากบริษัทไม่มีผู้ถือหุ้นต่างชาติรายใดถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละ 10 ขึ้นไปเลย ให้ลบรายการที่รอให้บันทึกออก

บริษัทอยู่ระหว่างเลิกกิจการ ยังต้องรายงานผลการดำเนินงานประจำปีอีกหรือไม่

หากบริษัทมีบัตรส่งเสริมฯ ถือว่าเป็นผู้ได้รับการส่งเสริมที่ยังต้องรายงานผลการดำเนินงานประจำปี

บริษัทเพิ่งจัดตั้งยังไม่มี ภ.ง.ด.50 ให้กรอกข้อมูลอย่างไร

ให้กรอก ‘0’ ในส่วนที่ยังไม่มีข้อมูล และโปรดแนบหนังสือบริษัทชี้แจงเหตุผลในระบบฯ เช่น บริษัทเพิ่งจัดตั้งยังไม่มีข้อมูลในส่วนนี้

บริษัทไม่มีการจ้างงาน หรือไม่มี ภ.ง.ด.1ก ให้กรอกข้อมูลอย่างไร

ให้กรอก ‘0’ ในส่วนที่ยังไม่ข้อมูล และให้แนบหนังสือบริษัทชี้แจงเหตุผล เช่น พนักงานเป็นของบริษัทแม่ว่าจ้างบริษัทอื่นดำเนินการ (Outsource) หรือ กฎหมายมีข้อยกเว้นไม่ต้องยื่น ภ.ง.ด.1ก เป็นต้น

การชี้แจงโครงการ

หลังจากยื่นคำขอรับการส่งเสริมแล้ว ผู้ขอรับการส่งเสริมจะต้องติดต่อเจ้าหน้าที่ประจำกองบริหารการลงทุนซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบคำขอนั้นๆ เพื่อนัดหมายกำหนดวันชี้แจงโครงการ

จากนั้น ผู้ขอรับการส่งเสริมจะต้องเดินทางไปพบเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ เพื่อชี้แจงรายละเอียดของโครงการที่ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุน หรืออาจมอบหมายให้ผู้อื่นไปชี้แจงโครงการแทนก็ได้

ในการชี้แจงโครงการ ผู้ขอรับการส่งเสริมควรนำบุคคลที่มีความเข้าใจรายละเอียดของโครงการที่ขอรับการส่งเสริม ทั้งในด้านการผลิต การเงิน และการตลาด ร่วมเดินทางไปชี้แจงโครงการด้วย เนื่องจากจะทำให้การชี้แจงโครงการมีความถูกต้องชัดเจน และจะทำให้การพิจารณาคำขอรับการส่งเสริมเป็นไปโดยสะดวกรวดเร็วมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม กรณีที่ข้อมูลในคำขอรับการส่งเสริมไม่ชัดเจนหรือไม่ถูกต้อง ผู้ขอรับการส่งเสริมสามารถแก้ไขข้อมูลดังกล่าวได้โดยเจ้าหน้าที่จะเป็นผู้ติดต่อและแจ้งรายละเอียดที่ต้องการเพิ่มเติมให้ทราบอีกครั้ง

การอนุมัติโครงการ

หลังจากการชี้แจงโครงการสิ้นสุดลง เจ้าหน้าที่จะสรุปรายงานการขอรับส่งเสริมการลงทุนดังกล่าว และนำเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน คณะอนุกรรมการฯ หรือคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนตามขนาดการลงทุนของโครงการนั้นๆ โดยมีกำหนดแล้วเสร็จภายใน 40-90 วันทำการ ดังนี้

บริษัทได้รับใบรับรองมาตรฐาน เช่น ISO 9001 และ ISO 14001 แต่ในระบบฯ มีแสดงเฉพาะ ISO 9000 และ ISO 14000 ให้กรอกข้อมูลอย่างไร

ให้เลือก ISO 9000 และ ISO 14000 เนื่องจาก ISO 9001 และ ISO 14001 เป็นเพียงอนุกรมมาตรฐานที่อยู่ภายใต้ ISO 9000 และ ISO 14000 ตามลำดับ

หากบริษัทพบว่าสถานะข้อมูลบัตรส่งเสริมที่ปรากฎใน ระบบฯ ไม่ถูกต้อง เช่น ปัจจุบันเปิดดำเนินการแล้วให้ดำเนินการอย่างไร

โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง โดยอาจต้องแสดงหลักฐานเพื่อยืนยันสถานะบัตรส่งเสริม เช่น สำเนาใบอนุญาตเปิดดำเนินการ

ทางบริษัทจะมีการนำเข้าเครื่องจักรใช้แล้วอายุไม่เกิน 10 ปี ซึ่งชื่อและคุณสมบัติการทำงานตรงกันกับที่เคยขออนุมัติบัญชีเครื่องจักร แต่บัญชีที่เคยยื่นระบุเป็นสภาพใหม่ แต่ที่จะนำเข้าเป็นเครื่องจักรที่ใช้แล้ว ในบัตรส่งเสริมได้รับอนุญาตนำเข้าเครื่องจักรเก่ายกเว้นอากรขาเข้าอายุไม่เกิน 10 ปี Case ต้องยื่นแบบไหน 1.ขอเพิ่มรายการเครื่องจักร ติดตรงที่ว่าต้องเลือกสภาพเครื่องจักร เป็นใหม่ หรือ เก่า "คำว่าสภาพ วัดจากอะไรค่ะ การใช้งานแล้ว หรือ สภาพที่เรามองเห็นเครื่องจักรนั้น เก่า ใหม่" 2.ขอเพิ่มจำนวนเครื่องจักร 3.ขอเพิ่มชื่อรอง ถ้าไม่สามารถใช้สิทธิ์ได้จะต้องเสียอากรขาเข้ากี่ %

เครื่องจักรเก่า ในความหมายของ BOI หมายถึงเครื่องจักรที่เคยมีการใช้งานเชิงพาณิชย์แล้ว

หากเป็นเครื่องจักรใหม่ที่เก็บไว้นาน ยังคงถือว่าเป็นเครื่องจักรใหม่ กรณีที่สอบถาม บริษัทจะนำเข้าเครื่องจักรเก่า จึงจะต้องยื่นขออนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักรเพิ่มเติมโดยชื่อที่จะขออนุมัติจะต้องระบุ Model และปีที่ผลิตด้วย เช่น Used Grinding Machine Serial No. 1234 Year of MFG 2015 และจะต้องแนบใบรับรองประสิทธิภาพเครื่องจักรเก่าซึ่งมีรายละเอียดตามที่ BOI กำหนดด้วย

ขณะนี้ทางบริษัทฯได้ยื่นเปิดดำเนินการไปแล้ว แต่ติดปัญหาคืออะไหล่และชิ้นส่วนบางรายการไม่สามารถระบุเป็นเลขที่สินทรัพย์ได้ในคำขอเปิดดำเนินการ เนื่องจากเป็นชิ้นส่วนเล็กๆ แต่ได้ใช้สิทธิ์ยกเว้นอากรขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่มไปแล้ว เจ้าหน้าที่ก็จะยึดหลักการที่ว่า ขอสั่งปล่อยยกเว้นเท่าไหร่ ก็ต้องสามารถระบุเป็นทรัพย์สินได้หมด เพื่อให้การเปิดดำเนินการลุล่วงเป็นไปได้ บริษัทยินดีที่จ่ายภาษีอากรขาเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม และเบี้ยปรับอื่นๆถ้ามีสำหรับรายการดังกล่าวข้างต้น คำถาม ไม่ทราบว่าจะยื่นเรื่องขอเสียภาษีอากรตามรายการดังกล่าวได้อย่างไร เนื่องจาก 1) จะยื่นเรื่องปลอดภาระภาษีในระบบ eMT แม้ว่าอะไหล่และชื้นส่วนดังกล่าวนั้น มีอายุจากการนำเข้าเกิน ๕ ปีแล้วก็ตาม ซึ่งปรากฏว่าไม่อนุญาตให้ยื่นเนื่องจากติดที่ว่าไม่ได้ทำตามเงื่อนไขคือต้องเปิดดำเนินการก่อน 2) ยื่นทาง เอกสารโดยตรงที่กองฯ กองฯ จะให้ไปยื่นผ่านระบบ eMT แทน และเช็คที่แบบฟอร์มต่างๆ ก็ไม่มีแบบฟอร์มที่รองรับเรื่องนี้โดยเฉพาะ

เครื่องจักร (รวมถึงอุปกรณ์ และชิ้นส่วนต่าง ๆ) ทุกรายการ ที่นำเข้าโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรตามมาตรา 28 จะต้องแสดงในแบบคำขอเปิดดำเนินการ

ข้อ 2 รายละเอียดเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ติดตั้งใช้ในโครงการ ให้ครบทุกรายการ เว้นแต่รายการที่ได้รับอนุมัติให้ส่งคืน/จำหน่าย/ทำลาย และตัดบัญชีเครื่องจักรไปแล้ว แต่เครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ ที่นำเข้าโดยใช้สิทธิฯ อาจจะไม่อยู่ในทะเบียนสินทรัพย์ของบริษัทก็ได้ ขึ้นอยู่กับนโยบายทางการบัญชีของบริษัทนั้นๆ เช่น รายการที่มีมูลค่าต่ำกว่า 3,000 บาท จะไม่บันทึกเป็นสินทรัพย์ เป็นต้น

กรณีที่สอบถาม บริษัทไม่มีความจำเป็นต้องชำระภาษีเครื่องจักรที่ไม่อยู่ในทะเบียนสินทรัพย์ แต่ขอให้ปรึกษากับจนท BOI ที่รับผิดชอบในการตรวจสอบเปิดดำเนินการโครงการของบริษัท เพื่อขอคำแนะนำในการเตรียมเอกสารและข้อมูลเพื่อชี้แจงตามข้อเท็จจริง

ขออภัยครับ ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ในภาษาที่ท่านเลือก !

Sorry, There is no information support your selected language !

Download และ ติดตั้งโปรแกรมอ่าน PDF

Download PDF Reader

Site map