การขออนุมัติสูตรและบัญชีปริมาณสต็อกสูงสุดแบบ online น่าจะเริ่มให้บริการได้ประมาณกลางปี 2563 นี้ โดยจะมีการประกาศแจ้งเป็นทางการจาก BOI และ IC ก่อนล่วงหน้า
ประกาศ BOI เกี่ยวกับเครื่องจักรทุกฉบับ กำหนดหลักเกณฑ์ว่า โครงการที่ได้รับส่งเสริมต้องใช้เครื่องจักรใหม่ หากจะใช้เครื่องจักรเก่าต้องมีใบรับรองประสิทธิภาพและได้รับอนุญาตจาก BOI (ยกเว้นบางกรณีที่มีข้อยกเว้น เช่น แม่พิมพ์ เป็นต้น) และในบัตรส่งเสริม ก็จะระบุเงื่อนไขเช่นเดียวกัน หากบริษัทยังคงมีสถานะเป็นผู้ได้รับส่งเสริม (ไม่ว่าจะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นอากรเครื่องจักรหรือไม่ / ไม่ว่าจะเปิดดำเนินการแล้วหรือไม่) หากจะใช้เครื่องจักรเก่า ก็ยังคงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข คือ ต้องมีใบรับรองประสิทธิภาพ และต้องได้รับอนุญาตจาก BOI
1) เครื่องจักรที่ใช้ในโครงการต้องเป็นเครื่องจักรใหม่ หรือ
2) กรณีได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องจักรเก่า ต้องเป็นเครื่องจักรที่นำเข้าจากต่างประเทศ มีใบรับรองประสิทธิภาพ และอายุไม่เกินกว่าที่กำหนดในบัตรส่งเสริม
กรณีได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว แต่ต่อมามีการซื้อเครื่องจักรเก่ามาใช้ โดยชำระภาษีเอง หากไม่มีใบรับรองประสิทธิภาพ จะขัดกับเงื่อนไขข้อ 2 ดังนั้น ผลผลิตที่เกิดจากเครื่องจักรดังกล่าว จะเป็นผลผลิตที่ไม่ได้รับการส่งเสริม ซึ่งไม่สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ จึงควรทำใบรับรองประสิทธิภาพให้ถูกต้องตามเงื่อนไขในบัตรส่งเสริมการผลิตสินค้าไม่ครบตามขั้นตอนการผลิตที่ได้รับอนุมัติ เป็นการขัดกับเงื่อนไขในบัตรส่งเสริมจะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่ได้ และใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบไม่ได้
ข้อมูลที่บริษัทแจ้งมา ไม่เพียงพอที่จะให้คำแนะนำว่า อยู่ในข่ายที่จะผ่อนผันได้หรือไม่ และควรดำเนินการอย่างไร จึงขอตอบเป็นหลักการกว้างๆ ดังนี้
1. หากเป็นการผลิตไม่ครบขั้นตอนการผลิตในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เนื่องจากมีปัญหาในการผลิตอาจขอผ่อนผันกรรมวิธีการผลิตเป็นการชั่วคราว โดยอาจมีการกำหนดระยะเวลา และ/หรือจำนวน ที่ขอผ่อนผันก็ได้ แล้วแต่กรณี โดยควรพิจารณาถึงวิธีการตัดบัญชีวัตถุดิบสำหรับสินค้ากึ่งสำเร็จรูปนี้เผื่อไว้ด้วย
2. หากเป็นการผลิตไม่ครบขั้นตอน เป็นบางรุ่น เป็นการถาวร อาจต้องแก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์ในบัตรส่งเสริม โดยจะต้องพิจารณาว่า สินค้าที่ผลิตไม่ครบขั้นตอนนั้น อยู่ในข่ายที่จะให้ได้รับการส่งเสริมหรือไม่
โดยส่วนสูญเสียที่รวมไว้ในสูตรการผลิต จะได้รับการตัดบัญชีเมื่อมีการส่งสินค้าไปต่างประเทศและยื่นตัดบัญชีวัตถุดิบ
แต่ส่วนสูญเสียที่ไม่รวมไว้ในสูตรการผลิต (ส่วนสูญเสียนอกสูตร) จะไม่ได้รับการตัดบัญชีเมื่อมีการส่งออกสินค้าและตัดบัญชีวัตถุดิบ โดยจะต้องให้ บ.Inspector ตรวจสอบรับรองชนิดและปริมาณของส่วนสูญเสีย จากนั้นต้องทำลายเป็นเศษซากตามวิธีที่ได้รับอนุญาต และต้องชำระภาษีตามสาพเศษซาก (หากเศษซากมีมูลค่าเชิงพาณิชย์) จากนั้นจึงจะนำมาตัดบัญชีวัตถุดิบสำหรับส่วนสูญเสียนอกสูตรนั้นได้
ประเด็นที่สอบถาม หากบริษัทต้องการแก้ไขสูตรการผลิตเพื่อให้มีผลย้อนหลัง เนื่องจากทำสูตรผิด จะต้องยกเลิกการตัดบัญชีสำหรับใบขนที่มีการส่งออกสินค้าตามสูตรดังกล่าว จากนั้นจึงนำใบขนนั้นมายื่นตัดบัญชีใหม่โดยใช้สูตรที่แก้ไขแล้ว
หากจะดำเนินการด้วยวิธีนี้ แนะนำให้ศึกษาขั้นตอนวิธีดำเนินการให้เข้าใจถูกต้องชัดเจนก่อน
ถ้าจะลงรายละเอียด ขอให้ช่วยให้ข้อมูลให้ครบด้วย เช่น กิจการอะไร กรรมวิธีผลิตที่ได้รับอนุมัติเป็นอย่างไร บัตรส่งเสริมอนุญาตให้ใช้เครื่องจักรเก่าหรือไม่ เครื่องจักรเก่าที่จะนำเข้าคืออะไร
เงื่อนไขเครื่องจักรเก่าต้องมีใบรับรองประสิทธิภาพ กำหนดไว้ในประกาศ สกท ที่ ป.2/2546 และประกาศ กกท ที่ 6/2558 หากไม่อยู่ในข่ายข้อยกเว้น จะต้องมีใบรับรองประสิทธิภาพ
1.ประกาศ BOI เกี่ยวกับเครื่องจักร ค้นได้จาก http://www.faq108.co.th/boi/announcement/ โดยเลือกหมวดหมู่เป็น "เครื่องจักร"
2.ความหมายของเลขบัตรส่งเสริม ดูได้จาก Link : http://faq108.co.th/boi/certificate/overview.php
หากประสงค์จะใช้สูตรแก้ไข เฉพาะการตัดบัญชีในครั้งต่อไป ให้ยื่นแก้ไขสูตรเดิม ซึ่งจะเป็น revision 2 โดยในการตัดบัญชีครั้งต่อไป ก็ให้เลือกตัดบัญชีโดยระบุเป็น revision 2
สำหรับวัตถุดิบที่ได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเพื่อผลิตและส่งออกนั้น หากต้องการนำมาจำหน่าย หรือผลิตในโครงการ non-BOI จะต้องดำเนินการชำระอากรพร้อมเบี้ยปรับเงินเพิ่ม (ภาษี และ VAT) ให้เรียนร้อยก่อนจึงจะสามารถตัดบัญชีเพื่อให้พ้นภาระภาษี และนำไปจำหน่ายหรือผลิตในโครงการ non-BOI ได้ สำหรับแบบฟอร์มต่างๆ นั้นสามารถดาวน์โหลดได้ผ่าน link ดังนี้
https://www.boi.go.th/upload/content/F%20IN%20RM%2035_43684.pdf
https://www.boi.go.th/upload/content/F%20IN%20RM%2043_81913.pdf
https://www.boi.go.th/upload/content/F%20IN%20RM%2044_36586.pdf
กรณีนำอะไหล่เข้ามาทดลองใช้กับเครื่องจักร เช่น เพื่อต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักร หรือเพื่อลดต้นทุนค่าอะไหล่ ถือว่ามีเจตนาที่ต้องการนำอะไหล่นั้นมาใช้ในโครงการที่ได้รับส่งเสริม จึงน่าจะอยู่ในข่ายที่สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรได้ตามปกติ แต่หากนำมาทดลองแล้ว ปรากฏว่าไม่สามารถใช้ได้ บริษัทก็ต้องขออนุญาตส่งคืนอะไหล่ดังกล่าวออกไปต่างประเทศ หรือขอจำหน่ายในประเทศโดยมีภาระภาษีตามสภาพ
คำถามขาดรายละเอียด จึงขอตอบเฉพาะหลักการดังนี้
หากบริษัท B จะใช้สิทธิตามมาตรา 28 เพื่อยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร B จะต้องมีสถานะเป็นผู้นำเข้า จึงจะใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรตามมาตรา 28 ได้
กรณีที่สอบถาม โครงการที่ 2 จะต้องทำลายส่วนสูญเสียนอกสูตรตามวิธีที่ได้รับอนุญาตจาก BOI และให้ บ.Inspector ตรวจสอบและออกหนังสือรับรอง
จากนั้นโครงการที่ 2 ต้องยื่นขอตัดบัญชีส่วนสูญเสียนอกสูตร พร้อมกับขอโอนสิทธิการตัดบัญชีส่วนสูญเสียที่ผ่านการทำลายแล้วให้กับโครงการที่ 1 และเมื่อได้รับอนุมัติจาก BOI โครงการที่ 2 จึงส่งหนังสืออนุมัติโอนสิทธิการตัดบัญชีส่วนสูญเสียดังกล่าวให้กับโครงการที่ 1 เพื่อตัดบัญชีต่อไป
Q1.1: ขอสอบถามเพิ่มเติม หากโครงการที่ 2 ส่งส่วนสูญเสียดังกล่าวออกไปต่างประเทศการทำใบขนขาออก ทางบริษัทฯ จะต้องระบุว่าโอนสิทธิ์วัตถุดิบให้กับโครงการที่ 1 เข้าใจถูกหรือไม่ และต้องระบุอย่างไรบ้าง หลังจากส่งออกแล้วก้อนำใบขนฯ เพื่อตัดบัญชีส่วนสูญเสียต่อไป ใช่หรือไม่
A1.1: การส่งส่วนสูญเสียนอกสูตรไปต่างประเทศ
1) กรณีเป็นเศษซากวัตถุดิบชนิดเดียวกับรายการวัตถุดิบในบัญชีปริมาณสต็อกสูงสุดที่ได้รับอนุมัติ เช่น เศษพลาสติกแยกตามชนิด มีขั้นตอนดำเนินการดังนี้
1.1 ยื่นขออนุมัติส่งส่วนสูญเสียนอกสูตรไปต่างประเทศต่อ BOI
1.2 ส่งออกส่วนสูญเสียตามชนิดและรายการที่ได้รับอนุมัติ
1.3 ยื่นขออนุมัติตัดบัญชีส่วนสูญเสียนอกสูตรที่ได้ส่งออกไปต่างประเทศแล้ว ต่อ BOI
1.4 ยื่นขอตัดบัญชี (ปรับยอด) วัตถุดิบ ต่อ IC กรณีที่สอบถาม จะเป็นการโอนสิทธิการตัดบัญชีวัตถุดิบให้กับอีกโครงการอื่น (โครงการที่ 1) ดังนั้น ในขั้นตอน 1.3 ให้แนบตารางโอนสิทธิไปพร้อมกับด้วย และเมื่อได้รับอนุมัติให้ส่งหนังสืออนุมัติให้กับโครงการที่ 1 เพื่อนำไปยื่นตัดบัญชีตามขั้นตอนที่ 1.4 ต่อ IC ต่อไป
2) กรณีเป็นชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูปที่ไม่ใช่รายการวัตถุดิบในบัญชีปริมาณสต็อกสูงสุดที่ได้รับอนุมัติ มีขั้นตอนดำเนินการดังนี้
2.1 ติดต่อ บ.Inspector ให้มาทำการตรวจสอบชนิดและปริมาณวัตุดิบที่ใช้ในชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูปนั้น จากนั้นทำลายตามขั้นตอนที่ได้รับอนุมัติ และให้ บ.Inspector ออกหนังสือรับรองตามที่ BOI กำหนด
2.2 ดำเนินการต่อตามขั้นตอนที่ 1.1 - 1.4
Q1.2: สอบถามเพิ่มเติม ในการส่งส่วนสูญเสียนอกสูตรไปต่างประเทศ ในขั้นตอน 1.2 ส่งออกส่วนสูญเสียตามชนิดและรายการที่ได้รับอนุมัติจะต้องระบุในใบขนขาออกด้วยหรือไม่ เช่น ระบุว่าโอนสิทธิ์ตัดบัญชีวัตถุดิบ ในรายการที่.... ให้บัตรส่งเสริม..... เป็นต้น หรือต้องระบุอย่างไร
A1.2: ไม่ต้องระบุการโอนสิทธิในขั้นตอนที่ 1.2 แต่ให้แนบตารางโอนสิทธิต่อ BOI พร้อมการยื่นขออนุมัติ ตัดบัญชีในขั้นตอนที่ 1.3 แบบฟอร์มตารางโอนสิทธิ ขอให้ติดต่อรับตัวอย่างจาก BOI โดยตรง
ตามประกาศ BOI ส่วนสูญเสียนอกสูตรจะต้องทำลายเป็นเศษซาก จึงจะปลอดจากภาระภาษี ส่วนการนำเศษซากไปกำจัดจะต้องเป็นไปตามกฎหมายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่ข้อกำหนดตามประกาศ เรื่องส่วนสูญเสียของ BOI คำแนะนำคือ ให้ขออนุมัติวิธีการทำลาย เช่น ตัด ทุบ บด อัด ให้เสียสภาพ เป็นต้น โดย บ.Inspector จะทำการตรวจสอบ โดยอยู่ร่วมในการทำลายด้วย สำหรับเรื่องสรรพากรขอให้ศึกษาจากคำสั่งกรมสรรพากร ที่ 79/2541 หรือปรึกษากับกรมสรรพากรโดยตรง
กรณีได้รับอนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักรแล้ว สามารถยื่นขอแก้ไขหน่วยของเครื่องจักรได้ แต่จะต้องยังไม่เคยยื่นสั่งปล่อยเครื่องจักรรายการที่จะแก้ไขหน่วยนั้น
หากในการขออนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักร ระบุว่าไม่ใช่เครื่องจักรหลัก แต่ในขั้นเปิดดำเนินการจะระบุว่าเป็นเครื่องจักรหลัก ก็สามารถทำได้ ตามข้อเท็จจริง โดยไม่ต้องแก้ไขอะไรเพิ่มเติม
ปกติน่าจะใช้ข้อมูลจาก production report ของบริษัท
เช่น วันที่ ... เบิกวัตถุดิบจำนวน... ผลิตสินค้า โมเดล ... จำนวน .... โมเดล .... จำนวน .... คำนวณการใช้วัตถุดิบสุทธิตามสูตรการผลิตของแต่ละโมเดล จำนวน .... เกิดส่วนสูญเสียนอกสูตรการผลิต จำนวน ....
โดยการรายงานจะต้องมีการแยกโมเดลด้วย
ในการรวมสต็อกวัตถุดิบของ 2 โครงการ BOI จะปรับแก้ไขระยะเวลานำเข้าให้เป็นระยะเวลาที่สั้นที่สุดของโครงการก่อนรวมสต็อก (สั้นหน้า สั้นหลัง)
ดังนั้น ก่อนการขอรวมสต็อก บริษัทควรตรวจสอบว่ามีวัตถุดิบที่นำเข้ามาโดยสงวนสิทธิ ที่ต้องการขอคืนภาษี ค้างคงเหลือหรือไม่ และดำเนินการสั่งปล่อยคืนอากรให้เสร็จสิ้นก่อน จึงค่อยทำการรวมสต็อก
กรณีที่สอบถาม เนื่องจากมีการอนุมัติรวมสต็อกไปแล้ว จึงขอให้ติดต่อกองบริหารการลงทุนที่รับผิดชอบโครงการของบริษัท ซึ่งหากเจ้าหน้าที่ BOI เห็นว่า วัตถุดิบที่สงวนสิทธิดังกล่าว นำเข้ามาในระยะเวลาที่ได้รับสิทธิ มาตรา 36 ของโครงการนั้น ก็จะแจ้งไปยัง IC เพื่อให้ปลดล็อคเงื่อนไขวันที่เริ่มใช้สิทธิของโครงการรวมสต็อก เป็นการชั่วคราว เพื่อให้สามารถสั่งปล่อยคืนอากรวัตถุดิบดังกล่าวได้
เนื่องจากเป็นคำถามที่กว้างมาก จึงขอตอบเฉพาะกรอบใหญ่ ๆ ดังนี้
1. การขออนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักร (Master List)
- สมัครใช้บริการระบบ eMT กับสมาคม IC
- ยื่นคำร้องขออนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักรผ่านระบบ eMT
2. การขออนุมัติบัญชีปริมาณสต็อกวัตถุดิบ (Max Stock)
- ยื่นแบบคำขออนุมัติบัญชีปริมาณสต็อกวัตถุดิบต่อ BOI
- สมัครใช้บริการระบบ RMTS กับสมาคม IC
- นำข้อมูลบัญชีปริมาณสต็อกวัตถุดิบที่ได้รับอนุมัติจาก BOI ไปบันทึกในระบบ RMTS
เมื่อสมัครใช้บริการระบบ eMT และ RMTS กับสมาคม IC แล้วจะได้รับสิทธิเข้ารับการฝึกอบรมวิธีการใช้งานระบบนั้น ๆ
หรือหากต้องการศึกษาวิธีปฏิบัติหลังได้รับการส่งเสริมสามารถเข้ารับการฝึกอบรมจากคอร์สต่างๆ ที่สมาคม IC จัดขึ้นเป็นประจำ http://icis.ic.or.th/i-regist/index.php?r=site/courseให้ขออนุมัติเป็นรายการใหม่ (ระบบ eMT นับการเว้นวรรคเป็นอักขระ)
กรณีมีการรวมบัญชีสต็อกวัตถุดิบ
1. ระยะเวลาการได้รับสิทธิของบัญชีรวมสต็อก จะกำหนดให้เป็นระยะเวลาที่สั้นที่สุดครั้งล่าสุดของทุกโครงการ (สั้นหน้า สั้นหลัง) ซึ่งกรณีของบริษัทที่สอบถาม คือ 28 ก.ย. 62 - 17 มิ.ย. 63
2. การขยายเวลานำเข้าวัตถุดิบครั้งแรกหลังรวมบัญชีสต็อก ให้ยื่นขยายเฉพาะโครงการที่จะสิ้นสุดก่อน ซึ่งกรณีของบริษัทคือ ขยายเวลาโครงการที่ 2 (สิ้นสุด 17 มิ.ย. 63) โดยจะได้รับอนุญาตให้ขยายเวลาถึงวันสิ้นสุดสิทธิของอีกโครงการหนึ่ง (27 ก.ย. 64)
3. หลังจากนั้น เมื่อใกล้ครบระยะเวลานำเข้าของทั้ง 2 โครงการ (27 ก.ย. 64) ให้ยื่นขยายเวลานำเข้าของทั้ง 2 โครงการ ซึ่งจะได้รับอนุญาตให้ขยายครั้งละไม่เกิน 2 ปี (11 มิ.ย. 2563)