Chat
x
toggle menu

Font Size

toggle menu

Select Groups

All Group
  • All Group
  • นโยบายเเละมาตรการพิเศษในการส่งเสริม
  • การขอรับการส่งเสริมการลงทุน
  • การออกบัตรส่งเสริม
  • การเปิดดำเนินการ
  • การเเก้ไขโครงการ
  • การดำเนินการอื่น ๆ
  • การรายงานความคืบหน้าโครงการ (e-Monitoring)
  • การปฏิบัติหลังการได้รับการส่งเสริม
  • การยกเลิกบัตรส่งเสริม
  • เรื่องทั่วไป
  • การใช้สิทธิด้านที่ดิน
  • การใช้สิทธิด้านเครื่องจักร
  • การใช้สิทธิด้านช่างฝีมือ/ต่างด้าว
  • การใช้สิทธิด้านวัตถุดิบ
  • ประเภทกิจการ - การแพทย์
  • การใช้สิทธิด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ประเภทกิจการ - รถยนต์ไฟฟ้า
  • ประเภทกิจการ - ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (IBC) IPO และ TISO
  • ประเภทกิจการ - โรงแรม
  • ประเภทกิจการ - ผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ
  • ประเภทกิจการ - กิจการผลิตเครื่่องจักร อุุปกรณ์และชิ้นส่วน
  • ประเภทกิจการ - กิจการศูนย์กระจายสินค้าระหว่า ประเทศด้วยระบบที่่ทันสมัย (IDC)
เนื่องจากทางบริษัท ได้ขยายระยะเวลาการนำเข้าเครื่องจักรครั้งที่ 3 โดยขยายเวลานำเข้าเครื่องจักร ออกไปถึงวันที่ 9 สิงหาคม 2560 และขยายเวลาเปิดดำเนินการครบตามโครงการออกไปถึงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2516 ขอสอบถามว่า 1.บริษัทฯเมื่อครบกำหนดเวลาดังกล่าว บริษัทไม่สามารถขยายระยะเวลาแล้วใช่ไหม และบริษัทฯต้องดำเนินเรื่องอย่างไรต่ออีกหรือเปล่า 2.บริษัทฯสามารถยื่นขอขยายระยะเวลาเปิดดำเนินการออกไปอีก ได้ 1 ปี ใช่หรือหรือเปล่า 3.หรือถ้า ครบครั้งที่ 3 แล้ว บริษัทฯต้องทำเรื่องเปิดดำเนินการเลยหรือเปล่า และต้องทำล่วงหน้าก่อนกี่วันหมดอายุในการขยายระยะเวลา 4.ต้องทำผ่านระบบของ บีโอไอ (IC) หรือทำเป็น Manual ยื่นที่สำนักงานฯ

1.เมื่อขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรครบ 3 ครั้งแล้ว จะไม่สามารถขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรได้อีก

2.หลังจากขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรครบ 3 ครั้งแล้ว สามารถขยายเวลาเปิดดำเนินการเพียงอย่างเดียวได้อีก 1 ครั้ง เป็นเวลาไม่เกิน 1 ปี

3.หากไม่ขยายเวลาเปิดดำเนินการ จะต้องยื่นคำขอเปิดดำเนินการภายในเวลาที่กำหนด หากไม่ยื่นคำขอเปิดดำเนินการภายในเวลาที่กำหนด อาจไม่สามารถขอขยายเวลาการปฏิบัติงานของช่างฝีมือต่างชาติ หรืออาจไม่สามารถขยายเวลานำเข้าวัตถุดิบได้

4.การขยายเวลานำเข้าเครื่องจักร ให้ยื่นผ่านระบบ emt โดยจะได้รับอนุมัติให้ขยายเวลาเปิดดำเนินการไปด้วยให้พร้อมกัน ส่วนการขอขยายเวลาเปิดดำเนินการเพียงอย่างเดียว ให้ยื่นคำขอขยายเวลาเปิดดำเนินการเพียงอย่างเดียว (F PM EX 02) ที่สำนักงาน

การเพิ่มชื่อผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ เป็นโครงการที่เปิดดำเนินการแล้ว เมื่อวันที่ 8 ก.พ.2559 ประเภท 5.5 ผลิต Telecommunication Parts เช่น Adapter , Connector เป็นต้น บริษัทฯจะมีการขายผลิตภัณฑ์ให้กับบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมฯ เหมือนกัน ซึ่งบริษัทดังกล่าวซื้อผลิตภัณฑ์ของบริษัทแล้วนำไปประกอบส่งออก โดยมีชื่อบางรายการไม่ตรงกัน เช่น ผลิตภัณฑ์ของบริษัทเป็นชื่อ Connector แต่บริษัทผู้ซื้อใช้ชื่อเป็น Ferrule , Plug Frame ซึ่งเป็นรายการวัตถุดิบส่วนหนึ่งที่ใช้ประกอบเป็นผลิตภัณฑ์ Connector กรณีนี้บริษัทฯ ต้องทำอย่างไร

A (BOI) จำหน่าย Connector ให้กับ B (BOI) แต่ชื่อวัตถุดิบของ B ที่โอนสิทธิตัดบัญชีให้ A คือ Ferrule, Plug Frame ซึ่งเป็นชิ้นส่วนที่นำไปประกอบเป็น Connector กรณีนี้ A จะนำ report-v ไปตัดบัญชีไม่ได้ เนื่องจากรายการวัตถุดิบที่ B โอนสิทธิมาให้ ไม่ตรงกับชื่อสินค้าที่ A จำหน่ายให้ B

1. บริษัท A เพิ่มชื่อจากเดิมที่มีคำว่า Connector, Ferrule, Plug Frame ได้หรือไม่ 2. บริษัท B เพิ่มชื่อ Connector ในรายการ Ferrule และ Plug Frame จะได้หรือเปล่า

1. หาก Ferrule, Plug Frame ตรงกับชนิดผลิตภัณฑ์ที่ระบุในบัตรส่งเสริมของ A และมีกรรมวิธีการผลิตตรงตามที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม บริษัท A ก็สามารถขออนุมัติสูตรการผลิต Ferrule, Plug Frame ได้โดยไม่ต้องแก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์ในบัตรส่งเสริม แต่หากไม่ตรง A ก็ต้องขอแก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์ในบัตรส่งเสริม

2. หาก Connector เป็นสินค้าชนิดเดียวกับ Ferrule, Plug Frame บริษัท B ก็สามารถเพิ่ม Connector เป็นชื่อรองใน Group No. เดียวกับ Ferrule, Plug Frame ได้

ในกรณีที่ขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรครบทั้ง 3 ครั้งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว (กำหนดครบวันที่ 17 ตุลาคม 2561) แต่ยังสามารถขอขยายเวลาการเปิดดำเนินการออกไปอีก1ปี ตามที่ได้ทราบมา เมื่อมีการนำเข้าเครื่องจักรหรือแม่พิมพ์ต่างๆ หลังจากวันครบกำหนด ก็เสียภาษีตามปกติใช่หรือไม่

กรณีที่ระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรสิ้นสุดแล้ว แต่มีการขยายระยะเวลาการเปิดดำเนินการครบตามโครงการออกไป หากบริษัทจะนำเข้าเครื่องจักร อะไหล่ แม่พิมพ์ เพื่อให้ครบตามโครงการ ก็ต้องชำระภาษีอากรตามปกติ

ทางบริษัท ได้ทำเรื่องขยายเวลาในการนำเข้าเครื่องจักรไว้ แล้วเมื่อเดือน ก.ย. ได้มีการนำเข้าเครื่องจักรมา ต้องทำอย่างไรบ้าง

หากนำเข้าเครื่องจักรเข้ามาในช่วงที่สิทธิมาตรา 28 ยังไม่ขาดก็สามารถสั่งปล่อยยกเว้นภาษีได้ตามปกติ แต่ถ้านำเข้ามาในช่วงที่สิทธิขาด และอยู่ระหว่างขยายเวลานำเข้าเครื่องจักร ก็ต้องชำระภาษีอากรโดยสงวนสิทธิไว้

เมื่อได้รับอนุมัติขยายเวลานำเข้าเครื่องจักร ต้องแก้ไขท้ายบัตรส่งเสริม และแก้ไขระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรในระบบ eMT จากนั้นจึงสามารถยื่นสั่งปล่อยขอคืนอากรเครื่องจักรได้ แต่ VAT จะไม่ได้รับคืนโดยสิทธิ BOI โดย VAT จะเข้าสู่ระบบ VAT ขาย - VAT ซื้อ ตามปกติ

บริษัทผลิตชิ้นส่วนประกอบยานพาหนะ โครงการเขียนไว้ว่าฉีดขึ้นรูปโครงพลาสติก(บางกรณีจะนำเข้าชิ้นส่วนพลาสติกที่ฉีดขึ้นรูปแล้วประมาณปีละไม่เกิน 100,000 ชิ้น) นำหนังเทียมมาประกอบเข้าด้วยกันและส่งออก คำถามคือ ปกติจะยื่นสูตร คือ นำเข้าเม็ดพลาสติก หนังเทียม ด้าย แต่ช่วงแรกที่ทดลองฉีดแม่พิมพ์ที่ต่างประเทศสำหรับโมเดลใหม่ จะมีการนำเข้าโครงพลาสติกมา เวลายื่นสูตรต้องมีโครงพลาสติกไปด้วยไหม หรือต้องยื่นแบบไหน เช่น Group 000001 RESIN 5,000 KG / 6 เดือน Group 000002 PVC LEARTER 12,000 SM / 6 เดือน Group 000003 THREAD 1,000,000 ME / 6 เดือน Group 000004 INJECTION BASE 30,000 C62 / 6 เดือน แต่เราจะนำเข้าแค่ช่วงแรกเท่านั้น ในสูตรจะยื่นอย่างไร ถ้าใส่ในสูตรด้วยเวลาตัดบัญชีสต๊อคจะติดลบไหมเวลาไม่ได้นำเข้าแล้ว
สามารถทำได้ 2 วิธีคือ

1. กำหนดชื่อโมเดลให้ต่างกัน เช่น สมมุติว่ากำหนดโมเดลเป็น Model AAA-A และ AAA-B กรณีนี้ Model AAA-A (ซึ่งใช้ semi-part) ก็จะมีรายการวัตถุดิบเป็น 000002, 000003, 000004ส่วน AAA-B (ซึ่งฉีดชิ้นส่วนพลาสติกเอง) ก็จะมีรายการวัตถุดิบเป็น 000001, 000002, 000003 เมื่อส่งออก ก็ระบุโมเดลให้ถูกต้อง และตัดบัญชีตามสูตรของโมเดลนั้นๆ

2. แก้ไข revision ของสูตรการผลิต โดยการขอสูตรโมเดล AAA ครั้งแรก (ซึ่งใช้ semi-part) จะถือเป็น revision #1 และมีรายการวัตถุดิบเป็น 000002, 000003, 000004 จากนั้นยื่นแก้ไขสูตรการผลิต (เปลี่ยนจาก semi-part เป็นฉีดพลาสติก) จะถือเป็น revision #2 และจะมีรายการวัตถุดิบเป็น 000001, 000002, 000003 ตอนยื่นตัดบัญชีก็คีย์ revision ในไฟล์ birtexp ให้ถูกต้อง

เนื่องจากทางบริษัทได้รับการส่งเสริมการลงทุนและทำการดำเนินการไปแล้วระยะเวลาหนึ่ง และจะทำการเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต คือ ในการเป่าขวดจากใช้พรีฟอร์ม 27กรัม ไปเป็นพรีฟอร์ม 15กรัมบริษัทจะต้องทำการแก้ไขโครงการในส่วนไหนบ้าง ทั้งนี้ กระบวนการผลิต และเครื่องจักรเหมือนเดิม ไม่มีการลงทุนเพิ่มแต่อย่างใดจากที่ได้รับบัตรส่งเสริม หมายเหตุ : พรีฟอร์มคือพลาสติกที่ใช้ในการเป่าขวด

1. หากเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบ แต่ไม่ขัดกับกรรมวิธีผลิตที่ได้รับส่งเสริม ก็สามารถดำเนินการไปได้เลย

2. หากวัตถุดิบตัวใหม่ เป็นคนละรายการกับวัตถุดิบตัวเดิม จะต้องยื่นขอแก้ไขบัญชีสต็อควัตถุดิบ (Max Stock) เพื่อเพิ่มรายการวัตถุดิบ จากนั้นต้องยื่นขอสูตรการผลิตใหม่เพิ่มเติมด้วย เพื่อให้สามารถใช้สิทธินำเข้าและตัดบัญชีวัตถุดิบตัวใหม่ได้ด้วย

กิจการ ITC สามารถขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรได้หรือไม่ ถ้าได้สามารถขอขยายได้กี่ครั้ง

กิจการ ITC ที่มีการใช้เครื่องจักร เช่น เครื่องตรวจสอบ สามารถขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรได้ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ปี เช่นเดียวกับกิจการอื่นๆ

1.การขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักร ครั้งที่ 4 สามารถขอได้หรือเปล่า 2.ถ้าไม่สามารถนำเข้าเครื่องมาได้ในเวลาที่ขอขยายจะมีผลอย่างไร
1. การขยายเวลานำเข้าเครื่องจักร กำหนดไว้ในประกาศ สกท ที่ ป.1/2548 โดยจะให้ขยายครั้งละ 1 ปี ไม่เกิน 3 ครั้ง ปกติจึงจะขยายครั้งที่ 4 ไม่ได้ แต่ตามข้อ 6 ของประกาศ ระบุว่า หากเลขาธิการ BOI เห็นสมควร อาจนำเสนอคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาได้

ความเห็นส่วนตัวคือ หากจะขอขยายเวลาครั้งที่ 4 จะต้องเป็นเหตุสุดวิสัยที่ไม่สามารถคาดการณ์และหลีกเลี่ยงได้เท่านั้น จึงจะมีน้ำหนักเพียงพอที่ BOI อาจจะรับไว้พิจารณา

2. กรณีไม่สามารถนำเครื่องจักรเข้ามาในกำหนดระยะเวลาที่ได้รับสิทธิประโยชน์

บริษัทยังสามารถนำเข้าเครื่องจักรได้จนครบกำหนดเปิดดำเนินการ แต่จะไม่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรที่นำเข้ามาหลังพ้นกำหนดระยะเวลานำเข้า หากครบกำหนดเปิดดำเนินการแล้ว แต่ยังนำเข้าเครื่องจักรไม่ครบ BOI จะลดกำลังผลิต / กรรมวิธีผลิต / และขนาดของโครงการ ให้เหลือเท่าที่มีการลงทุน

วัตถุดิบชนิดเดียวกันแต่แค่เปลี่ยนแปลงน้ำหนักจาก 27 กรัมไปเป็น 15 กรัม ใช้กระบวนการในการผลิตเหมือนเดิม จำเป็นต้องมีการแก้ไขบัตรส่งเสริมหรือไม่

กรณีตามที่สอบถาม ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบ แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงปริมาณการใช้วัตถุดิบ ซึ่งต้องขออนุมัติสูตรการผลิตและโมเดลใหม่ แต่หากจะใช้โมเดลเดิม ก็ต้องขอแก้ไขสูตรการผลิต โดยบันทึกเป็น revision 2 ไม่เกี่ยวกับการแก้ไขบัตรส่งเสริม

เรื่องการยื่นสูตรการผลิต วัตถุดิบที่ประกอบในสูตรต้องเป็นวัตถุดิบที่ใช้สิทธิ์บีโอไอเท่านั้นใช่ไหม ในสูตรสามารถประกอบด้วยทั้งวัตถุดิบบีโอไอและไม่ใช้สิทธิ์ได้หรือไม่

ใช่ ยื่นเฉพาะรายการที่ใช้สิทธิกับ BOI หากใส่วัตถุดิบรายการที่ไม่ได้ใช้สิทธิ ไว้ในสูตรการผลิต เวลาตัดบัญชีก็จะถูกนำไปคำนวณปริมาณการใช้ และหักลบยอดออกจากยอดนำเข้าสะสมด้วย ซึ่งไม่ถูกต้อง

เนื่องจากทางบริษัทนำเข้าแม่พิมพ์ โดยใช้สิทธิประโยชน์ BOI ถ้าหากบริษัทมีระยะเวลาการนำเข้าเครื่องจักรถึงวันที่ 16 กันยายน 2559 หลังจากวันที่กำหนด บริษัทจะสามารถนำเข้าแม่พิมพ์โดยใช้สิทธิประโยชน์ BOI ได้อีกหรือไม่

ตามหลักเกณฑ์ปัจจุบัน ระยะเวลานำเข้าแม่พิมพ์ จะสิ้นสุดพร้อมกับระยะเวลานำเข้าเครื่องจักร ดังนั้น หากบริษัทจำเป็นต้องนำเข้าแม่พิมพ์ หลังจากที่นำเครื่องจักรเข้ามาครบแล้ว ก็ควรขยายระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรออกไปอีก โดยสามารถขอขยายได้สูงสุด 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ปี แต่หากขยายระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรครบ 3 ครั้งแล้ว แม่พิมพ์ที่นำเข้าหลังจากนั้น ก็ต้องชำระภาษีอากร

ในกรณีที่เรานำเข้าแม่พิมพ์มาแล้ว และผลิตสินค้าครบตามจำนวนการสั่งซื้อจะต้องนำส่งแม่พิมพ์กลับออกไปให้ลูกค้าในต่างประเทศ แต่สิทธิเครื่องจักรและแม่พิมพ์หมดแล้วและการขยายเวลาก็ครบ 3 ครั้งแล้ว เราจะสามารถนำส่งแม่พิมพ์กลับได้หรือเปล่า
1.สิทธิหมด แปลว่า ระยะนำเข้าเครื่องจักรโดยได้รับยกเว้นภาษี สิ้นสุดไปแล้ว แต่การจะส่งคืนหรือจำหน่ายเครื่องจักร จะทำเมื่อใดก็ได้ แต่ต้องยื่นขออนุมัติก่อน

2.การส่งแม่พิมพ์คืนกลับไปต่างประเทศ ต้องยื่นเรื่องในระบบ emt ตามขั้นตอนดังนี้

- ขออนุญาตส่งคืนเครื่องจักรไปต่างประเทศ

- ส่งออกใน 90 วัน

- ยื่นตัดบัญชีเครื่องจักรจากการส่งคืน

หากสูตรการผลิตมีวัตถุดิบที่ใช้สิทธิบีโอไอแค่ตัวเดียวที่เหลือเป็นซื้อในประเทศทั้งหมด สามารถขอยื่นสูตรการผลิตเพื่อขอใช้สิทธิบีโอไอได้หรือไม่

สามารถขอสูตรเฉพาะรายการวัตถุดิบที่ใช้สิทธิ BOI เท่านั้น แต่ต้องระวังรายการวัตถุดิบที่ซื้อจากเวนเดอร์ BOI ด้วย คือต้องใส่รายการวัตถุดิบที่จะมีการโอนสิทธิ ไว้ในสูตรการผลิตด้วย

บริษัทฯ สามารถยื่นสูตรการผลิตใหม่ได้หรือไม่ กรณีที่วัตถุดิบเป็นวัตถุดิบประเภทใหม่ แต่บริษัทยื่นขอแก้ไขเพิ่มบัญชีรายการปริมาณสต๊อกสูงสุดแล้ว แต่ยังไม่ได้รับอนุมัติ
ควรรอให้ได้รับอนุมัติบัญชีวัตถุดิบก่อน
บริษัทฯ ได้รับการส่งเสริม กิจการผลิตชิ้นส่วนสำหรับอุปกรณ์โทรคมนาคมภัณฑ์ ประเภท 5.5 ผลิตชิ้นส่วนและหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือชิ้นส่วนและหรืออุปกรณ์ที่ใช้กับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ ได้รับสิทธิมาตรา 28 ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรอายุไม่เกิน 10 ปี ตลอดระยะเวลาที่ได้รับการส่งเสริมฯ และครบกำหนดเปิดดำเนินการฯเดือนกุมภาพันธ์ 2560 (ขอขยายเปิดดำเนินการเพียงอย่างเดียวแล้ว) รบกวนสอบถามดังนี้ 1. บริษัทฯสามารถนำเข้าเครื่องจักร(Injection Molding Machine) ซึ่งขอไว้ 3 เครื่อง ตั้งแต่ยื่นขอรับการส่งเสริมฯ และปัจจุบันบริษัทฯ นำเข้ามาครบแล้ว ถ้าบริษัทฯจะนำเข้าเครื่องจักรดังกล่าวสามารถนำเข้าได้อีกหรือไม่ ก่อนยื่นเปิดดำเนินการฯ 2. หลังยื่นเปิดดำเนินการฯแล้ว บริษัทฯสามารถนำเข้าเครื่องจักร (Injection Molding Machine) ได้หรือไม่

กิจการผลิตเครื่องไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สามารถนำเข้าเครื่องจักรตลอดระยะเวลาที่ได้รับส่งเสริม เพื่อปรับปรุงและทดแทนเครื่องจักรเดิม หรือเพิ่มกำลังผลิตของโครงการเดิมไม่ว่าจะเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้วหรือไม่ก็ตาม ตามประกาศ ที่ 6/2549

กรณีที่สอบถาม

1.กรณีนำเครื่องจักรเข้ามาเพิ่มเติมก่อนครบกำหนดเปิดดำเนินการ ในขั้นตรวจสอบเปิดดำเนินการ BOI จะอนุญาตให้แก้ไขกำลังผลิตตามที่ตรวจพบจริง แต่ไม่เกิน 30% ของกำลังผลิตตามบัตรแรก โดยเครื่องจักรที่นำเข้ามาก่อนวันครบกำหนดเปิดดำเนินการ จะนับเป็น cap วงเงินให้ด้วยตามสัดส่วนที่เพิ่มกำลังผลิตไม่เกิน 30% รายละเอียดดูได้จาก คำชี้แจงของ BOI ตาม link: http://www.boi.go.th/index.php?page=faq_inside&group_id=300¤tpage=5&language=th คำถามที่ 23 หลักเกณฑ์การพิจารณาการแก้ไขโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามนโยบายเดิม ภายหลังวันที่ 1 มกราคม 2558

2.กรณีนำเครื่องจักรเข้ามาเพิ่มเติมหลังครบกำหนดเปิดดำเนินการ สามารถทำได้ โดยจะยังคงได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรตามประกาศ ที่ 6/2549 โดย BOI จะพิจารณาแก้ไขเพิ่มกำลังผลิตให้ไม่เกิน 30% ของบัตรแรก แต่จะไม่แก้ไข cap วงเงินยกเว้นภาษีเงินได้ เนื่องจากเป็นการลงทุนเพิ่มเติมหลังวันครบกำหนดเปิดดำเนินการไปแล้ว

ในกรณีที่บริษัทได้รับสิทธิประโยชน์ การนำเข้าเครื่องจักรถึงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2557 บริษัทสามารถขยายเวลาต่อเพื่อทำการนำเข้าแม่พิมพ์ได้หรือไม่ และต้องดำเนินการอย่างไรเพื่อจะสามารถนำเข้าแม่พิมพ์ได้บ้าง

กิจการที่ได้รับสิทธิยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้าเครื่องจักร สามารถขอขยายระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรและเปิดดำเนินการ ได้ 3 ครั้ง หากบริษัทไม่เคยขยายเวลานำเข้ามาก่อน ก็สามารถขอขยายได้ เอกสารที่ใช้คือ

1. หนังสือนำส่งของบริษัท เพื่อแสดงความประสงค์ขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักร

2. แบบขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรและเปิดดำเนินการ (F IN EM 02) จำนวน 1 ชุด

3. สำเนาหนังสือ BOI ที่อนุมัติให้ขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรครั้งล่าสุด (ถ้ามี) จำนวน 1 แผ่น

การยื่นผลิตภัณฑ์ที่เป็นงานนำเข้ามาแล้วประกอบเป็นชิ้นงานเสร็จแล้วส่งขาย การยื่นสูตรต้องยื่นเฉพาะงานที่นำเข้ามาอย่างเดียวหรือต้องรวมส่วนสูญเสียจากการประกอบชิ้นงานด้วยรึเปล่า (บริษัทฯได้รับส่งเสริมประเภท 5.5 Telecommunication Part)

การผลิตสินค้าที่มีเฉพาะขั้นตอนการประกอบ แม้จะมีส่วนสูญเสียเกิดขึ้น แต่ปกติจะเกิดขึ้นโดยมีปริมาณไม่แน่นอน จึงจะนำส่วนสูญเสียนี้ มารวมในสูตรการผลิตไม่ได้ แต่หากบริษัทสามารถพิสูจน์ยืนยันได้ว่า วัตถุดิบบางรายการ จะเกิดส่วนสูญเสียในอัตราคงที่เสมอ ก็อาจพิจารณาอนุญาตให้มีส่วนสูญเสียในสูตรการผลิตได้

เรื่องการยื่นสูตรการผลิต บริษัทได้รับการส่งเสริมประเภทชิ้นงานนำเข้มมาเพื่อประกอบเสร็จแล้วส่งออก สนง.3 ผลิตอยากสอบถามเรื่องการยื่นสูตรการจำเป็นหรือใหม่ที่จะต้องยื่นสูตรการผลิตและรอจนกว่าสูตรการผลิตอนุมัติจึงจะเริ่มผลิตและส่งขายได้ ถ้าบริษัทผลิตและขาย แล้วยื่นสูตรการผลิตภายหลังจะได้หรือไม่

1. หากนำเข้าวัตถุดิบโดยใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้า หรือซื้อวัตถุดิบจากผู้ใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าตามมาตรา 36 บริษัทต้องยื่นขออนุมัติสูตรการผลิต มิฉะนั้น หลังจากส่งออก จะไม่สามารถตัดบัญชี เพื่อปลดภาระภาษีวัตถุดิบนั้นได้

2. สูตรการผลิต ให้จัดทำขึ้นเมื่อมีการผลิตไปแล้ว คือให้ใช้ข้อมูลและหลักฐานจริง ซึ่งระหว่างที่ยื่นขอสูตรการผลิตนี้ สามารถส่งออกไปก่อนก็ได้ (แต่โดยทฤษฎี ควรยังต้องมีการผลิตโมเดลนั้นอยู่)

ในกรณีดังกล่าวนี้บริษัทต้องยื่นขอขยายเวลาภายในหรือล่วงหน้ากี่วันคะ และต้องไปยื่นขอขยายเวลาที่ BOI ใช่ไหม ใช้เวลาในการอนุมัติกี่วัน และช่วงระหว่างเวลาที่เรายื่นขออนุมัติอยู่ ยกตัวอย่างเช่น ใช้สิทธิได้ภายในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ และเรายื่นเรื่องขอขยายเวลาวันที่ 1 กุมภาพันธ์ แต่จะมีการนำเข้าเครื่องจักรหรือแม่พิมพ์เข้ามาถึงไทยประมาณวันที่ 20 กุมภาพันธ์ จะสามารถใช้สิทธิได้หรือไม่

1.การยื่นขยายเวลาเครื่องจักร ต้องยื่นที่ BOI โดยกำหนดเวลาพิจารณาไว้ไม่เกิน 45 วันทำการ (หรือ 20 วัน กรณีขยายเวลาเฉพาะแม่พิมพ์) แต่ส่วนใหญ่มักจะใช้เวลาไม่นานมากนัก

2.การยื่นก่อนล่วงหน้ากี่วัน ไม่ได้กำหนดไว้ชัดเจน แต่หากดูจากระยะเวลาพิจารณาที่ BOI กำหนด ก็ควรยื่นล่วงหน้าได้ตั้งแต่ 2 - 2.5 เดือน ก่อนครบกำหนดวันนำเข้าเครื่องจักร

3.หากเครื่องจักรเข้ามาหลังจากสิ้นสุดระยะเวลาไปแล้ว แต่การพิจารณาอนุมัติขยายเวลายังไม่แล้วเสร็จ บริษัทต้องยื่นขออนุญาตใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร หรือชำระภาษีอากรไปก่อน จากนั้น เมื่อได้รับอนุมัติขยายระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรเรียบร้อยแล้ว จึงสามารถยื่นสั่งปล่อยถอนค้ำประกันหรือสั่งปล่อยคืนอากรได้ต่อไป

ขออภัยครับ ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ในภาษาที่ท่านเลือก !

Sorry, There is no information support your selected language !

Download และ ติดตั้งโปรแกรมอ่าน PDF

Download PDF Reader

Site map