Chat
x
toggle menu
toggle menu

Select Groups

All Group
  • All Group
  • นโยบายเเละมาตรการพิเศษในการส่งเสริม
  • การขอรับการส่งเสริมการลงทุน
  • การออกบัตรส่งเสริม
  • การเปิดดำเนินการ
  • การเเก้ไขโครงการ
  • การดำเนินการอื่น ๆ
  • การรายงานความคืบหน้าโครงการ (e-Monitoring)
  • การปฏิบัติหลังการได้รับการส่งเสริม
  • การยกเลิกบัตรส่งเสริม
  • เรื่องทั่วไป
  • การใช้สิทธิด้านที่ดิน
  • การใช้สิทธิด้านเครื่องจักร
  • การใช้สิทธิด้านช่างฝีมือ/ต่างด้าว
  • การใช้สิทธิด้านวัตถุดิบ
  • ประเภทกิจการ - การแพทย์
  • การใช้สิทธิด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ประเภทกิจการ - รถยนต์ไฟฟ้า
  • ประเภทกิจการ - ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (IBC) IPO และ TISO
  • ประเภทกิจการ - โรงแรม
  • ประเภทกิจการ - ผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ
  • ประเภทกิจการ - กิจการผลิตเครื่่องจักร อุุปกรณ์และชิ้นส่วน
  • ประเภทกิจการ - กิจการศูนย์กระจายสินค้าระหว่า ประเทศด้วยระบบที่่ทันสมัย (IDC)
ในกรณี B (BOI) ซื้อเครื่องจักรจาก A (Tranding non BOI in Thailand) ซึ่ง B (BOI) ชำระเงินค่าเครื่องจักรให้ A และให้ C (ต่างประเทศ) เป็นผู้ส่งเครื่องจักรมา ให้ B (BOI) เป็นผู้นำเข้าโดยใช้สิทธิประโยชน์ BOI ในกรณีเช่นนี้สามารถดำเนินการได้หรือไม่และในกรณีนี้จะถือว่าเป็นการซื้อเครื่องจักรในประเทศหรือไม่

ถ้า B (BOI) นำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศ โดยใช้สิทธิ BOI แต่ B จ่ายเงินให้ A (ไทย) ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายของ C (ต่างประเทศ) เข้าใจว่าไม่น่าจะมีปัญหา

บริษัทฯ ได้รับส่งเสริมฯกิจการ IPO บริษัทฯ สามารถซื้อขายได้ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศหรือไม่ หรือจำกัดเฉพาะต่างประเทศเท่านั้น

IPO จะซื้อจากในหรือนอกประเทศก็ได้ และจะจำหน่ายในประเทศหรือส่งออกก็ได้ แต่ต้องซื้อมาพักเก็บในคลังสินค้าของตนเอง โดยต้องไม่ใช่เป็นการซื้อขายในข่ายนายหน้าตัวแทน

ถ้าทางบริษัทนำเข้า TRAY เพื่อใช้ใน process packing สามารขอยื่นเพิ่มชื่อรายการวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นเพื่อขอใช้สิทธิ์บีโอไอนำเข้าได้ไหม
หาก Tray เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ติดไปกับสินค้าส่งออก ก็สามารถขออนุมัติบัญชีรายการวัตถุดิบได้
กิจการได้รับการส่งเสริม แต่มีการนำเข้าเครื่องจักรภายใต้ BOI และชำระภาษี 1. สำหรับเครื่องจักรที่นำเข้าจากต่างประเทศแบบชำระภาษี สามารถนำมาผลิตผลิตภัณฑ์ภายใต้ BOI ได้หรือไม่ 2. สำหรับเครื่องจักรที่ซื้อในประเทศ สามารถนำมาผลิตผลิตภัณฑ์ภายใต้ BOI ได้หรือไม่

กิจการที่ได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร แต่จะไม่ใช้ดังกล่าว คือจะนำเข้าเครื่องจักรโดยการชำระภาษีอากรขาเข้าก็ได้ ไม่มีปัญหาอะไร

เครื่องจักรที่นำเข้าจากต่างประเทศโดยชำระภาษี สามารถนำมาใช้ในผลิตผลิตภัณฑ์ในโครงการ BOI ได้

- ต้องเป็นเครื่องจักรใหม่

- กรณีเป็นเครื่องจักรเก่า ต้องได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องจักรเก่าตามเงื่อนไขในบัตรส่งเสริม และต้องมีใบรับรองประสิทธิภาพเครื่องจักรเก่า และต้องไม่เคยนำไปใช้ในโครงการอื่นในประเทศมาก่อน เครื่องจักรที่ซื้อในประเทศ สามารถนำมาผลิตผลิตภัณฑ์ในโครงการ BOI ได้

- แต่ต้องเป็นเครื่องจักรใหม่เท่านั้น
เครื่องจักรเก่าที่นำเข้ามา เป็นเครื่องจักรปี 2002 นำเข้ามา ปี 2011 จำนวน 3 เครื่อง มียื่นเรื่องขออนุมัติ แต่การพิจารณา ไม่อนุมัติ สำหรับกรณีนี้ยังสามารถนำเครื่องจักรมาใช้ในโครงการได้หรือไม่ กรณี นำเข้าเครื่องจักรเก่า ณ วันนำเข้ายังไม่เกิน 10 ปี แต่นับอายุเครื่องจักรถึงปัจจุบันมีอายุเกิน 10ปี จะต้องทำเรื่องขอใช้เครื่องจักรอายุเกิน10ปี หรือไม่

1.เครื่องจักรผลิตปี 2002 นำเข้ามาในปี 2011 แต่ไม่ได้รับอนุมัติ

- ทราบเหตุผลในการไม่อนุมัติหรือไม่ครับ ปกติ BOI น่าจะมีการแจ้งผลในการไม่อนุมัติให้ทราบ

- การไม่อนุมัติคืออะไร ไม่อนุมัติให้ใช้ในโครงการ หรือไม่อนุมัติให้ได้รับยกเว้นภาษี ช่วยอธิบายรายละเอียดเพิ่มขึ้นอีกหน่อยครับ

2.เครื่องจักรเก่าที่อายุไม่เกิน 10 ปี และนำเข้ามาได้รับอนุมัติยกเว้นภาษีอากรขาเข้า แต่หลังจากใช้งานไปเรื่อยๆ ก็จะมีอายุเกิน 10 ปี กรณีไม่ต้องขออนุญาตใช้เครื่องจักรอายุเกิน 10 ปีอีก

บริษัทได้รับการส่งเสริมมีบัตรส่งเสริมมีสิทธิประโยชน์ทั้งมาตรา 36(1) และ 36(2) อยากสอบถามว่า หากบริษัทจะนำเข้าชิ้นส่วนเพื่อมาประกอบ และหลังจากประกอบเป็นสินค้าสำเร็จรูปแล้ว ก็ทำการทดสอบผลิตภัณฑ์ เมื่อทดสอบแล้วบางส่วนก็ส่งออกไปต่างประเทศไม่นำกลับมาอีก บางส่วนทดสอบเสร็จแล้วก็ทำลายทิ้ง ขอทราบว่าชิ้นส่วนดังกล่าวบริษัทสามารถนำเข้ามาโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษี BOI ได้หรือไม่ และวิธีการสั่งปล่อยและตัดบัญชีเหมือนกันหรือไม่อย่างไร

1. การชิ้นส่วนเข้ามาประกอบเป็นสินค้าสำเร็จรูปเพื่อส่งออก หากเป็นไปตามขั้นตอนที่ได้รับส่งเสริมหรือไม่ ก็สามารถขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีตามมาตรา 36(1) ได้

2. วัตถุดิบที่นำเข้าเพื่อผลิตส่งออก หากไม่สามารถส่งออกได้ และจัดอยู่ในข่าย "ส่วนสูญเสีย" ตามประกาศ ป.7/2543 ตาม Link จะสามารถขออนุมัติทำลาย และชำระภาษีตามสภาพเศษซาก (ถ้ามี) เพื่อปลอดจากภาระภาษีอากรได้

3. วัตถุดิบที่นำเข้ามาผลิตสินค้าทดสอบ โดยไม่มีวัตถุประสงค์จะส่งออก ไม่เป็นไปตามนิยาม "ส่วนสูญเสีย" ตามประกาศ ป.7/2543 จึงไม่อยู่ในข่ายจะขอทำลายเพื่อตัดบัญชี

หากจะนำวัตถุดิบเข้ามาผลิตทดสอบ โดยไม่มีเจตนาส่งออก ก็ไม่ควรใช้สิทธิ ม.36 ตั้งแต่ต้น แต่หากนำเข้ามาผลิต เพื่อส่งไปเป็นตัวอย่างหรือตรวจสอบต่างประเทศ จะขอใช้สิทธิ ม.36 ได้ ซึ่งกรณีนี้ หากผลิตแล้วเสียหาย ส่งออกไม่ได้ จะขอทำลายก็ได้

การซื้อขายวัตถุดิบภายในประเทศระหว่างบริษัทที่ใช้สิทธิ BOI ด้วย ทำไมต้องมี Vat 7%

พรบ.ส่งเสริมการลงทุนของ BOI ฉบับปัจจุบัน มีอำนาจในการยกเว้นอากรขาเข้า แต่ไม่มีอำนาจในการยกเว้น VAT การที่บริษัทที่ได้รับ BOI ไม่ต้องเสีย VAT เป็นไปตาม ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร วันที่ 27 ธันวาคม 2534 ที่อนุญาตให้ใช้หนังสืออนุมัติให้นำเข้าวัตถุดิบของ BOI เป็นหนังสือในการค้ำประกัน VAT และถอนค้ำประกัน ได้ แต่กรณีการซื้อขายวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนภายในประเทศ ระหว่างบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมนั้น BOI จะไม่ออกหนังสือยกเว้นอากรขาเข้าให้ จึงต้องชำระ VAT ตามปกติ

เนื่องจากเอกสารนำเข้าของเครื่องจักรชุดนี้ที่บริษัทไม่มีเอกสารเก็บไว้ จึงไปขอบัญชีเครื่องจักรจาก IC และที่เอกสารบัญชีเครื่องจักร ระบุ ตรงช่องการพิจารณาว่า ไม่อนุมัติแค่นั้น ไม่มีข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติม จึงขอรบกวนปรึกษาว่าอย่างนี้ทางเราต้องดำเนินการอย่างไรถึงจะทราบ
เหตุผลที่ไม่อนุมัติ มีหลายกรณี เช่น

- เป็นรายการที่มีผลิตในประเทศ

- เป็นเครื่องจักรเก่าโดยที่โครงการไม่ได้รับอนุมัติให้ใช้เครื่องจักรเก่า

- เป็นเครื่องจักรเก่าที่ไม่มีใบรับรองประสิทธิภาพ

- เป็นเครื่องจักรเก่าเกินกว่า 10 ปี

- ไม่ตรงกับกรรมวิธีผลิตที่ได้รับอนุมัติ

- กำลังผลิตเกินกว่าที่ได้รับส่งเสริม ... เป็นต้น

ลองตรวจทานดูว่าเข้าข่ายข้อไหนบ้าง ไม่อย่างนั้นก็เช็คกับพนักงานของบริษัทฯที่เคยรับผิดชอบในช่วงนั้น (แม้อาจจะลาออกไปแล้ว ก็น่าจะติดต่อได้) แต่หากตรวจสอบแล้ว หาสาเหตุไม่ได้จริงๆ ก็คงต้องนำเอกสารและข้อมูลเท่าที่จะมี ไปปรึกษากับ จนท. BOI
ในระหว่างที่บริษัทกำลังดำเนินการขอรับการส่งเสริมโดยยื่นเอกสาร ครั้งที่ 1 ยื่นเอกสารไปวันที่ 14 พฤษภาคม 2557 นัดชี้แจงเอกสารวันที่ 11 มิถุนายน 2557 มีการชี้แจงและแก้ไขเอกสารที่ยื่นไปครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ยื่นเอกสารไปวันที่ 3 กรกฎาคม 2557 พร้อมชี้แจงแก้ไขเอกสาร ให้ทำเพิ่ม ครั้งที่ 3 ยื่นเอกสารไปวันที่ 18 กรกฎาคม 2557จบการชี้แจงรออนุมัติโครงการ สอบถาม 1.ในระหว่างที่กำลังขอรับการส่งเสริมอยู่ บริษัทฯได้มีการนำเข้าเครื่องจักร แม่พิมพ์ และอุปกรณ์ ในต้นเดือนสิงหาคม 2557 บริษัทฯจะขอใช้สิทธิ BOI ได้หรือไม่ 2.ถ้าได้ บริษัทฯต้องดำเนินการอย่างไรบ้างคะถึงจะใช้สิทธิ BOI ได้ 3.ถ้าไม่ได้ บริษัทฯต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง 4.ขออนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักรผ่านระบบEMT ใช้ระยะเวลากี่วันที่บัญชีเครื่องจักรจะอนุมัติ 5.ถ้าบริษัทฯนำเครื่องจักรเข้ามาช่วงต้นเดือนสิงหาคม 2557 บริษัทฯสามารถเอาเข้ามาก่อนแล้วขอคืนอากรได้หรือเปล่า ในกรณีที่บัตรส่งเสริมยังไม่ได้รับการอนุมัติ

1-3,5 ระหว่างที่รออนุมัติโครงการ จะยังใช้สิทธิใดๆไม่ได้ ในกรณีนี้จึงต้องชำระภาษีอากรเครื่องจักรไปก่อน จากนั้นเมื่อได้รับบัตรส่งเสริม จึงขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรย้อนหลังไปจนถึงวันที่ยื่นคำขอรับการส่งเสริม จากนั้นจึงยื่นสั่งปล่อยขอคืนอากรเครื่องจักร 4. การอนุมัติบัญชีเครื่องจักร กำหนดระยะเวลาไว้ 60 วันทำการ แต่ส่วนใหญ่จะพิจารณาอนุมัติได้เร็วกว่านั้น ขึ้นอยู่กับเจ้าหน้าที่และรายละเอียดของโครงการนั้นๆ โดยเฉลี่ยน่าจะใช้เวลาไม่เกิน 2-3 อาทิตย์

การนำเข้าวัตถุดิบเข้ามาผลิตประกอบเป็นผลิตภัณฑ์แล้วส่งออก สำนักงานฯ มีข้อกำหนดหรือไม่ว่านำเข้ามาแล้วภายในระยะเวลา 1 ปีจะต้องผลิต ประกอบเป็นผลิตภัณฑ์แล้วส่งออกให้หมด ถ้าไม่หมดจะต้องทำเรื่องเสียภาษี หรือไม่ก็ต้องส่งกลับหรือส่งออกไปต่างประเทศ เช่น วัตถุดิบที่มีอายุการใช้งาน

การใช้สิทธิตามมาตรา 36 ไม่มีข้อกำหนดว่าจะต้องผลิตส่งออกใน 1 ปี แต่มีข้อกำหนดคือ

1. จะต้องยื่นขอตัดบัญชีภายใน 1 ปี นับจากวันที่ในใบขนขาออก หรือหากมีเหตุผลจำเป็น ให้ขยายการตัดบัญชีออกไปได้อีกไม่เกิน 1 ปี

2. กรณีที่สิทธิตามมาตรา 36 สิ้นสุดลง ต้องนำวัตถุดิบที่เหลือไปผลิตเป็นสินค้าและส่งออกภายใน 1 ปีนับจากวันที่สิ้นสุดสิทธิ และต้องยื่นขอตัดบัญชีภายใน 2 ปีนับจากวันสิ้นสุดสิทธิ

สามารถหาเอกสารหรือประกาศของสำนักงานฯ เพื่อใช้ประกอบเรื่องดังกล่าวได้จากไหน

รวมประกาศ BOI ค้นได้จาก link : http://www.faq108.co.th/boi/announcement/ ส่วนเรื่องที่สอบถาม คือ ประกาศ BOI ที่ ป.3/2556 เรื่อง วิธีปฏิบัติในการใช้สิทธิและประโยชน์ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบ และวัสดุจำเป็น เพื่อใช้ในการผลิตเพื่อการส่งออก ตาม link :

http://www.faq108.co.th/boi/announcement/pdf/2556_por03.pdf

ในกรณีการนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศจำเป็นต้องเป็นเทอม CIF เท่านั้นไหม ถึงจะได้รับการยกเว้นอากรขาเข้า และ VAT

ไม่จำเป็นต้องเป็น CIF ครับ จะเป็น FOB ก็ได้ หากเป็น FOB บริษัทก็ต้องแสดงค่า Insurance และ Freight เพื่อรวมคำนวณเป็นต้นทุนในการได้มาซึ่งเครื่องจักรดังกล่าวไว้ในหน้าใบขน เพื่อคำนวณอากรและ VAT BOI จะยกเว้นอากรขาเข้าและ VAT ตามรายการในหน้าใบขน ซึ่งตรงกับรายการที่อนุมัติสั่งปล่อย

หมดระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรจะยังสามารถนำเข้าอะไหล่เครื่องจักรได้อยู่ไหม

หากระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรสิ้นสุดแล้ว และขยายเวลานำเข้าครบ 3 ครั้งแล้ว ก็ไม่สามารถนำเข้าอะไหล่โดยใช้สิทธิยกเว้นภาษี ต้องนำเข้าโดยชำระภาษีอากรตามปกติ

วัสดุบางตัวในสูตรการผลิต ที่เราไม่ได้ใช้แล้ว หรือใช้น้อยมากๆ สามารถยกเลิกไม่ใช้สิทธิ BOI ได้ไหม ถ้าสามารถยกเลิกได้ ต้องทำแบบไหน ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง

หากบริษัทไม่ต้องการใช้สิทธิวัตถุดิบ A อีกต่อไป ให้เคลียร์ยอดคงเหลือของ A ให้เป็น 0 และแก้ไข Max Stock ของ A ให้เป็น 0 และแก้ไขสูตรการผลิต/หรือขอสูตรการผลิตใหม่ โดยไม่มีการใช้วัตถุดิบ A

อยากทราบถึงขั้นตอนการเพิ่มสูตรการผลิต และแก้ไขสูตรการผลิต ต้องเริ่มจากตรงไหน ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง
1.การเพิ่มสูตรการผลิต ใช้เอกสารดังนี้

- หนังสือบริษัทขออนุมัติสูตรการผลิต

- แบบการขอใช้สิทธิและประโยชน์ มาตรา 36 (F IN RM 13)

- รายละเอียดสูตรการผลิตและปริมาณการใช้วัตถุดิบ ตามมาตรา 36 สูตรละ 2 ชุด

- ภาพถ่ายแสดงปริมาณการใช้วัตถุดิบของแต่ละสูตร

- ขั้นตอนการผลิตที่ได้รับอนุมัติ

2.การแก้ไขสูตรการผลิต ใช้เอกสารดังนี้

- หนังสือบริษัทขออนุมัติแก้ไขสูตรการผลิต

- แบบการขอใช้สิทธิและประโยชน์ มาตรา 36 (F IN RM 13)

- รายละเอียดการแก้ไขสูตรการผลิตและการใช้วัตถุดิบ ตามมาตรา 36 สูตรละ 2 ชุด

- ภาพถ่ายแสดงปริมาณการใช้วัตถุดิบของแต่ละสูตร

- ขั้นตอนการผลิตที่ได้รับอนุมัติ

3.เมื่อได้รับอนุมัติสูตร/อนุมัติแก้ไขสูตรจาก BOI แล้ว ให้นำข้อมูลไปบันทึกในระบบ RMTS ที่สมาคม IC แบบฟอร์มต่างๆ ขอรับได้จาก BOI และ IC หรือดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ของแต่ละหน่วยงาน

บริษัท ฯ ครบกำหนดกำหนดวันนำเข้าเครื่องจักรวันที่ 31 ก.ค. 2562 แต่ตอนนี้ บริษัท ฯ ยังไม่ได้ดำเนินการก่อสร้างบริษัท ฯ ยังไม่ได้ใช้สิทธิประโยชน์ของบัตรส่งเสริม ไม่ทราบว่าบริษัท ฯ สามารถขอยื่นขยายนำเข้าเครื่องจักรได้หรือไม่ เพราะถ้าจะนำเข้าเครื่องจักร ก่อน 31 ก.ค. 62 น่าจะยังไม่สามารถนำเข้ามาได้ หรือถ้าบริษัท ฯ นำเข้าเครื่องจักรหลังจากวันที่ 31 ก.ค. 62 บริษัท ฯ ต้องนำเข้าเครื่องจักรแบบเสียภาษี /อากร เท่านั้น

การขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักร เข้าใจว่าไม่น่าจะมีข้อกำหนดว่าจะต้องเริ่มนำเข้าเครื่องจักรมาบางส่วนแล้ว จึงน่าจะยื่นขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรได้ตามปกติ

ถ้าเปิดโครงการแล้ว กำลังการผลิตยังไม่ถึงตามที่อนุมัติ ทางบริษัทฯ สามารถนำเครื่องจักรมือสองเข้ามาได้หรือไม่

เนื่องจากคำถามมีข้อมูลไม่เพียงพอ จึงขอตอบในภาพรวม โดยแยกเป็น 2 เรื่อง ดังนี้

1. การนำเข้าเครื่องจักรภายหลังได้รับใบอนุญาตเปิดดำเนินการเต็มโครงการ

เมื่อบริษัทได้รับใบอนุญาตเปิดดำเนินการจาก BOI จะถือว่าบริษัทได้มีการลงทุนครบตามเงื่อนไขที่ระบุในบัตรส่งเสริมแล้ว

ดังนั้น หากจะนำเครื่องจักรเข้ามาเพิ่มเติมอีก จะไม่ได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร และไม่นับเครื่องจักรดังกล่าวเป็น

มูลค่าการลงทุนของโครงการ และหากมีกำลังผลิตเพิ่มขึ้นกว่าที่ระบุในบัตรส่งเสริม กำลังผลิตส่วนที่เพิ่มขึ้นจะไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

ทั้งนี้ ไม่รวมกิจการบางประเภท เช่น กิจการผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า และชิ้นส่วน ซึ่งมีเงื่อนไขอนุญาตให้นำเครื่องจักรเข้ามาเพื่อเพิ่มกำลังผลิตได้ แม้จะเปิดดำเนินการครบตามโครงการไปแล้วก็ตาม

2. การนำเข้าเครื่องจักรเก่าเข้ามาใช้ในโครงการหลังเปิดดำเนินการเต็มโครงการ

กรณีที่บัตรส่งเสริมกำหนดเงื่อนไขให้ต้องใช้เครื่องจักรใหม่ บริษัทไม่สามารถใช้เครื่องจักรเก่าในโครงการได้ ไม่ว่าจะได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้วหรือไม่ก็ตาม

เวลาขออนุมัติสูตรการผลิต (ผลิตภัณฑ์คือ เครื่องจักร เช่นเครื่องฉีดยาง ฯลฯ) เอกสารที่ใช้แนบประกอบ ยื่น BOI ต้องใช้อะไรบ้าง เนื่องจากทุกวันนี้ทำตามเจ้าหน้าที่คนเก่าที่ลาออกไปแล้ว เลยไม่ทราบว่าที่ทำอยู่ทุกวันนี้ใช้เอกสารเกินความจำเป็นหรือเปล่า

เอกสารในการยื่นขออนุมัติสูตรการผลิตมีดังนี้

หนังสือบริษัทฯ ขออนุมัติสูตรการผลิต

แบบการขอใช้สิทธิประโยชน์มาตรา 36 (F IN RM 13)

รายละเอียดสูตรการผลิตและปริมาณการใช้วัตถุดิบ สูตรละ 2 ชุด

ภาพตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่แสดงการใช้วัตถุดิบของสูตรการผลิตนั้นๆ

กรรมวิธีการผลิตที่ได้รับจาก BOI และในบางกรณีบริษัทอาจเตรียมเอกสารในส่วนของ BOI เพื่อความสะดวกในการพิจารณา เช่น ใบตรวจเอกสารวัตถุดิบ (F IN RM 01)

หนังสืออนุมัติสูตรการผลิต (F IN RM 14)

ตอนนี้ทางเราได้ขอสูตรการผลิตจาก BOI ไปแล้ว และได้ใบขนส่งออกแล้ว ชื่อ ผลิตภัณฑ์ ACCESSORIES FOR GAS COMPRESSOR แบบที่ PROCESS GAS SKIDS 2C-EQ019 จำนวน 2 สูตร แต่การใช้งานไม่เท่ากัน เช่น สูตรที่ 1 ใช้ กรุ๊ปที่ 1 จำนวน 1 ชิ้น และ สูตรที่ 2 ใช้กรุ๊ปที่ 1 จำนวน 2 ชิ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าการใช้งานแตกต่างกัน แต่ชื่อผลิตภัณฑ์และ ชื่อ แบบที่ เหมือนกัน ดั้งนั้นทางบริษัทควรดำเนินการยังไงดี หมายเหตุ: ส่งออกไปแล้ว ใบขน 1 รายการ จำนวน 2 set (BOI อนุมัติสูตรมาแล้ว จำนวน 2 สูตร ชื่อเหมือนกัน แต่ปริมาณการใช้ไม่เหมือนกัน)

1. ในการขออนุมัติสูตรการผลิต ชื่อสินค้า (Product Name) + ชื่อรุ่น (Model) จะต้องไม่ซ้ำกับสูตรการผลิตที่เคยได้รับอนุมัติอยู่เดิม เช่น หากบริษัทได้รับอนุมัติสูตรการผลิตของผลิตภัณฑ์ A โมเดล 123 ไปแล้ว จะขออนุมัติสูตรการผลิตของผลิตภัณฑ์ A โมเดล 123 อีกไม่ได้

2. กรณีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุมัติสูตรการผลิตไปแล้ว แต่ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงปริมาณการใช้วัตถุดิบ สามารถยื่นขอแก้ไขสูตรการผลิตได้ โดยระบบจะบันทึกเป็น revision 2, 3, 4 .. ตามลำดับที่มีการอนุมัติให้แก้ไขสูตรการผลิตนั้นๆ

3. การขออนุมัติสูตรการผลิตโดยใช้ชื่อสินค้าเป็น ACCESSORIES FOR GAS COMPRESSOR ไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง หากบริษัทมีการส่งออกทางอ้อม จะไม่สามารถตัดบัญชีได้ เนื่องจากชื่อนี้ไม่สามารถนำไปตั้งเป็นชื่อรองของวัตถุดิบของบริษัทผู้ซื้อได้ บริษัทควรปรึกษาปัญหากับ จนท BOI โดยตรงอีกครั้งหนึ่ง

บริษัททำเรื่องขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรที่ EMT Online เลขคำร้อง 23033*** เมื่อวันที่ 22/5/61 ไม่ทราบว่าตอนนี้ความคืบหน้าถึงไหนแล้ว พอดีเข้าไปเช็คในระบบไม่มีข้อมูลการแจ้งเลื่อนขึ้นว่าอนุมัติแล้วหรือยัง
ให้ตรวจสอบความคืบหน้าการพิจารณาจากเมนูในระบบ eMT

- หากเรื่องอยู่ระหว่างการพิจารณา จะอยู่ในเมนู "คำขอที่อยู่ในขั้นตอนอนุมัติ"

- หากเรื่องพิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว จะอยู่ในเมนู "คำขอที่ดำเนินการแล้ว"

กรณีที่เรื่องพิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว โดยได้รับอนุมัติให้ขยายเวลานำเข้าเครื่องจักร ให้บริษัทพิมพ์ผลการพิจารณา เลขที่หนังสืออนุมัติ และนำไปยื่นพร้อมกับบัตรส่งเสริมฉบับจริง ที่แผนกบัตรส่งเสริม เพื่อดำเนินการแก้ไขเอกสารแนบท้ายบัตรส่งเสริมต่อไป

ขออภัยครับ ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ในภาษาที่ท่านเลือก !

Sorry, There is no information support your selected language !

Download และ ติดตั้งโปรแกรมอ่าน PDF

Download PDF Reader

Site map