หาก 2 โครงการแรก ยังไม่ได้ใช้สิทธินำเข้าเครื่องจักร ก็สามารถยื่นขออนุมัติบัญชีเครื่องจักรทั้งหมดในบัตรใหม่ (บัตรรวมโครงการ) ได้ แต่จะต้องรอให้มีการออกบัตรใหม่ให้เสร็จสิ้นก่อน เนื่องจากผลของการรวมบัตรส่งเสริม อาจทำให้ชนิดผลิตภัณฑ์ กำลังผลิต และกรรมวิธีการผลิตเปลี่ยนแปลงไป จึงต้องทำบัญชีเครื่องจักรทั้งหมดอีกครั้งหนึ่ง
1. สินค้าที่ผลิตขึ้นมาแล้ว แต่ถูกยกเลิกออเดอร์และจำหน่ายไม่ได้ ถือเป็น "ส่วนสูญเสีย" ตามข้อ 3.3 ของประกาศ
2. สามารถดำเนินการได้ 3 วิธี คือ 1)ขอทำลาย 2)ขอบริจาค 3)ขอส่งออก
3. หากจะส่งออก ให้ขออนุญาตก่อน ตามข้อ 5 และ 5.6 ของประกาศ
4. เมื่อส่งออกแล้วให้นำหลักฐานมาตัดบัญชี ตามข้อ 6.3 ของประกาศ เมื่อบริษัทเลือกที่จะส่งส่วนสูญเสียออกไปต่างประเทศ ก็ไม่ต้องทำลาย แต่จะต้องยื่นขออนุญาตจาก BOI ก่อน
ถูกต้อง ตามตัวอย่างที่สอบถาม เมื่อผลิตสินค้า A0001 จำนวน 1 ชิ้น จะเกิดส่วนสูญเสียในสูตร คือเศษขี้กลึงอลูมิเนียม 20 กรัม ซึ่งจะต้องแยกเก็บไว้ก่อน เมื่อส่งสินค้า A0001 ออกไปต่างประเทศ และนำหลักฐานมาตัดบัญชี จะได้รับการตัดบัญชีรวมส่วนสูญเสียในสูตร (เศษขี้กลึง) 20 กรัมนี้ด้วย แต่เนื่องจากเศษขี้กลึง 20 กรัมนี้ ไม่ได้ส่งออก และเป็นเศษซากที่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ จึงต้องชำระภาษีตามสภาพเศษซากก่อนที่จะจำหน่ายในประเทศ โดยส่วนสูญเสียในสูตรนี้ ไม่ต้องทำลายซ้ำ และไม่ต้องให้ inspector มาตรวจสอบรับรองปริมาณ
การจัดเก็บส่วนสูญเสียในสูตร จะต้องแยกจากส่วนสูญเสียนอกสูตร เนื่องจากส่วนสูญเสียนอกสูตร ต้องให้ inspector ตรวจสอบรับรองชนิด ปริมาณ สาเหตุการสูญเสีย และรับรองการทำลาย ซึ่งเป็นขั้นตอนที่แตกต่างกับส่วนสูญเสียในสูตร
1.การนำเข้าสินค้า 1 รายการ เป็นเครื่องจักรและส่วนประกอบ น่าจะมีปัญหาในการกำหนดชื่อรายการสินค้า เนื่องจากไม่ทราบว่าเป็นการถอดแยกเครื่องจักร A เป็นส่วนประกอบหลายๆชิ้น หรือเป็นการซื้อเครื่องจักร A with accesory หรือซื้อเครื่องจักร A และอะไหล่
2.กรณีเป็นการนำเข้าเครื่องจักร A ที่ถอดแยกชิ้นเป็นส่วนประกอบครบชุด และนำเข้าในเที่ยวเรือเดียว สามารถขออนุมัติ Master List เป็นเครื่อง A 1 เครื่องได้
3.กรณีเป็นการนำเข้าเครื่องจักร A with accessory ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของ จนท ผู้พิจารณาว่าอาจจะให้ขออนุมัติ Master List เป็นเครื่อง A 1 เครื่อง และแยกขออนุมัติ accessory แต่ละชนิด เป็นแต่ละรายการตามจริง
4.หน่วยของเครื่องจักร หากมีการระบุหน่วยสินค้าตามพิกัดศุลกากร ให้ยื่นขออนุมัติ Master List ตามหน่วยที่กำหนดตามพิกัด แต่หากในพิกัดไม่ได้กำหนด ปกติควรยื่นขอหน่วยเครื่องจักรเป็น PIECE OR UNIT
หากหนังสือแจ้งมติอนุมัติแก้ไขโครงการ ระบุให้ต้องนำบัตรส่งเสริมไปแก้ไข ก็ต้องดำเนินการแก้ไขบัตรส่งเสริมให้เสร็จสิ้นก่อน และจะใช้บัตรส่งเสริมที่แก้ไขเสร็จแล้วเป็นหลักฐาน แต่หากหนังสือแจ้งมติอนุมัติแก้ไขโครงการ ไม่ได้ระบุให้ต้องนำบัตรส่งเสริมไปแก้ไข ก็จะใช้หนังสือแจ้งมติดังกล่าวเป็นหลักฐาน
ตามประกาศสำนักงาน ที่ 5/2543 เรื่อง เงื่อนไขและวิธีการสำหรับส่วนสูญเสียและเศษซากของวัตถุดิบตามมาตรา 36(1) ส่วนสูญเสียนอกสูตรการผลิต สามารถดำเนินการเพื่อตัดบัญชีได้ 3 วิธี คือ
1. ทำลายให้เป็นเศษซาก ตามวิธีทำลายที่สำนักงานอนุมัติ โดยต้องมีบริษัท Inspector ที่ได้รับมอบหมายจากสำนักงานฯ ร่วมควบคุมตรวจสอบรับรอบในการทำลายด้วย
- หากเศษซากหลังทำลาย มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ จะต้องชำระภาษีตามสภาพเศษซากให้เสร็จสิ้นก่อน จึงจะตัดบัญชีให้
2. ส่งออกไปต่างประเทศตามที่สำนักงานอนุมัติ
3. บริจาคตามที่สำนักงานอนุมัติ
ดังนั้น หากบริษัทเลือกใช้วิธีที่ 1 ให้ต้องดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
1.ขออนุมัติวิธีทำลาย (หากจะทำลายส่วนสูญเสียชนิดเดิม ด้วยวิธีเดิมที่ได้รับอนุมัติแล้ว ไม่ต้องขออนุมัติวิธีทำลายซ้ำอีก)
2.ติดต่อบริษัท Inspector ที่ได้รับมอบหมายจากบีโอไอ ให้มาตรวจสอบชนิดและปริมาณของส่วนสูญเสียนอกสูตร และตรวจสอบควบคุมการทำลายให้เป็นตามที่ได้รับอนุมัติ
3.ยื่นขอตัดบัญชีส่วนสูญเสียนอกสูตรต่อ BOI
- หากเศษซากหลังทำลายมีมูลค่าเชิงพาณิชย์ ให้ยื่นขอชำระภาษีเศษซากด้วย
4.นำหนังสืออนุมัติไปตัดบัญชี (ปรับยอด) ที่ IC
- หากเศษซากหลังทำลายมีมูลค่าเชิงพาณิชย์ ให้นำหนังสือ BOI ไปติดต่อชำระภาษีที่กรมศุลกากรก่อน จากนั้นจึงแนบใบเสร็จรับเงินภาษีไปพร้อมกับการขอตัดบัญชี (ปรับยอด) ที่ IC การจำหน่ายเศษซากที่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ จะทำได้เมื่อชำระภาษีตามสภาพเศษซากต่อกรมศุลกากรแล้ว
วิธีการทำลายขึ้นอยู่กับชนิดและสภาพของส่วนสูญเสียนอกสูตรนั้นๆ เช่น ตัด อัด บด ทุบทำลาย หลอม หรือจ้างให้นำไปกำจัดโดยวิธีต่าง เช่น เผา เป็นต้น
การแก้ไขบัตรส่งเสริมที่มีเอกสารแนบท้าย กำหนดระยะเวลาดำเนินการ 1 วันทำการ (ระเบียบ BOI ฉบับที่ 1/2553 เรื่อง กำหนดระยะเวลาในการปฏิบัติงานส่งเสริมการลงทุน)
คำถามของคุณเข้าใจยากว่าต้องการสอบถามประเด็นใด ควรใช้วิธีแจ้งว่าบริษัทต้องการทำอะไร และติดปัญหาในประเด็นใด จะเข้าใจง่ายกว่า
กรณีมีบริษัทการแก้ไขโครงการ และต้องการขออนุมัติรายการเครื่องจักรเพิ่มเติม แบ่งเป็น 2 กรณีคือ1.กรณีต้องมีการแก้ไขบัตรส่งเสริม เช่น การเพิ่มชนิดผลิตภัณฑ์ หรือเพิ่มกำลังผลิต - เมื่อได้รับหนังสือแจ้งมติอนุมัติแก้ไขโครงการ ให้นำบัตรส่งเสริมไปติดต่อ BOI เพื่อแก้ไขเอกสารแนบท้ายบัตร - จากนั้นสำนักสารสนเทศ BOI จะทำการแก้ไขข้อมูลในฐานข้อมูลกลาง และ IC จะดึงข้อมูลไปลงในระบบ eMT เพื่อให้บริษัทยื่นแก้ไขบัญชีรายการเครื่องจักรต่อไป
2.กรณีไม่ต้องมีการแก้ไขบัตรส่งเสริม เช่น การแก้ไขกรรมวิธีผลิต - บริษัทสามารถเพิ่มขั้นตอนการผลิตในระบบ eMT จากนั้นเพิ่มรายการเครื่องจักรที่ต้องการขออนุมัติเพิ่มเติม
การจัดการกากอุตสาหกรรม ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด เช่น การจะนำของเสียที่เป็นอันตรายไปจ้างทำลาย (เช่น เผาทำลาย หรือบำบัดพิษ) ก็ต้องเป็นผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตจากหน่วยงานราชการว่าด้วยการนั้นๆ
รายละเอียดของของเสียแต่ละอย่าง เกินว่าที่จะตอบภายใต้กรอบคำถามของ BOI ได้ คงจะต้องติดต่อกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องโดยตรง (http://www2.diw.go.th/PIC/law_01.html)
1. ทำลายให้ไม่อยู่ในสภาพเดิม
2. ชำระภาษีตามสภาพเศษหลังทำลาย
3. จากนั้นจะจำหน่ายให้โรงหลอม โรงรับซื้อเศษเหล็ก โรงรีไซเคิล อย่างไรก็ได้ แต่ให้เป็นไปตามข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
สรุปตามที่สอบถามคือ จะจำหน่ายให้โรงคัดแยกและรีไซเคิลก็ได้ แต่ต้องทำลาย และชำระภาษีตามสภาพเศษเหล็กก่อน
ในการขออนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักร เครื่องจักรหลัก หมายถึง เครื่องจักรที่จำเป็นต้องมี เพื่อให้ครบตามขั้นตอนการผลิตที่ได้รับส่งเสริม และเป็นเครื่องจักรที่สามารถคำนวณกำลังผลิตได้
หากบริษัทยื่นขออนุมัติรายการเครื่องจักรไม่ตรงกับรายการเครื่องจักรที่จะนำเข้ามาใช้ในโครงการ บริษัทจะใช้สิทธิสั่งปล่อยยกเว้นอากรหรือคืนอากรไม่ได้ ซึ่งในกรณีนี้บริษัทสามารถยื่นขออนุมัติชื่อรองในบัญชีเครื่องจักรให้ตรงกับชื่อที่จะนำเข้าเพื่อสั่งปล่อยยกเว้นหรือคืนอากรเครื่องจักรนั้นได้
แต่ในกรณีที่บริษัทจะไม่ใช้สิทธิยกเว้นอากรเครื่องจักร ชื่อเครื่องจักรในบัญชีรายการที่ขออนุมัติ จะตรงหรือไม่ตรงกับรายการเครื่องจักรที่นำเข้าก็ได้ คือจะไม่ยื่นขออนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักรเลยก็ได้
ตามประกาศของบีโอไอ ป.5/2543 "เศษซาก" หมายถึง ส่วนสูญเสียที่ถูกทำลายจนไม่เหลือสภาพเดิมส่วนสูญเสียนอกสูตรจะต้องผ่านการทำลายเป็น "เศษซาก" ก่อน การพ่นสเปรย์ชิ้นงานโลหะที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่ถือเป็นการทำลายส่วนสูญเสียให้กลายเป็นเศษซาก
วิธีทำลายโดยการเผาและฝังกลบ ใช้ได้กับส่วนสูญเสียหลายประเภท แต่ก็มีที่ใช้ไม่ได้ เช่น ส่วนสูญเสียจำพวกโลหะ เป็นต้น ในการขออนุมัติวิธีทำลาย จะต้องระบุด้วยว่าเป็นวิธีทำลายส่วนสูญเสียอะไร ดังนั้น หากบริษัทเคยยื่นขออนุมัติวิธีทำลายโดยการเผาและฝังกลบ แต่ยังไม่ครอบคลุมส่วนสูญเสียทั้งหมด ก็สามารถยื่นขออนุมัติเข้าไปเพิ่มเติมได้อีก
มีประเด็นที่ควรระวัง คือ แผ่นพลาสติก ซึ่งไม่แน่ใจว่ารูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร หากมีความสุ่มเสี่ยงที่จะนำไปรีไซเคิลได้ เจ้าหน้าที่ก็อาจจะไม่อนุญาตให้ทำลายโดยการเผา แต่อาจจะให้ใช้วิธีทุบทำลาย และเสียภาษีตามสภาพเศษซาก แต่ถ้าหากเป็นพลาสติกที่ฉีดยึดติดกับวัตถุดิบชนิดอื่น จนยากที่จะแกะออก และมีปริมาณต่อหน่วยจำนวนไม่มาก ไม่คุ้มกับการคัดแยก ก็อาจจะอนุญาตให้ใช้วิธีเผาทำลายไปพร้อมกันได้
ไม่ต้องยกเลิก เนื่องจากหากไม่ใช้สิทธิสั่งปล่อย ปริมาณนำเข้าเครื่องจักรดังกล่าวจะเป็น 0 เครื่อง ซึ่งไม่มีปัญหาใดๆ และในอนาคต หากจำเป็นต้องนำเข้าอะไหล่เครื่องจักรดังกล่าวจากต่างประเทศ ก็สามารถขออนุมัติบัญชีอะไหล่ได้โดยไม่ต้องขอเพิ่มรายการเครื่องจักรนั้นอีก
อะไหล่ จะเป็น part เดียวๆ หรือเป็นชิ้นที่ประกอบจาก part หลายชนิดก็ได้ แต่หากจะขอนำชิ้นส่วนแยกชิ้น เพื่อนำมาประกอบเป็นอะไหล่ ต้องขออนุมัติบัญชีอะไหล่รายการนั้นเป็น BOM
ส่วนสูญเสียนอกสูตร หมายถึงส่วนสูญเสียที่เกิดขึ้นเป็นครั้งเป็นคราวในอัตราส่วนที่ไม่คงที่ กรณีของคุณหากฉาบกาวแล้วเป็นตามด (ฟองอากาศ) ถือเป็นส่วนสูญเสียนอกสูตร เพราะแต่ละครั้งเกิดขึ้นมากบ้างน้อยบ้างไม่เท่ากัน ส่วนสูญเสียนอกสูตรนี้ ให้ดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อตัดบัญชีได้ 3 วิธี คือ
1. ทำลายให้เป็นเศษซาก ตามวิธีทำลายที่สำนักงานอนุมัติ โดยต้องมีบริษัท Inspector ที่ได้รับมอบหมายจากสำนักงานฯ ร่วมควบคุมตรวจสอบรับรอบในการทำลายด้วย
- หากเศษซากหลังทำลาย มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ จะต้องชำระภาษีตามสภาพเศษซากให้เสร็จสิ้นก่อน จึงจะตัดบัญชีให้
2. ส่งออกไปต่างประเทศตามที่สำนักงานอนุมัติ
3. บริจาคตามที่สำนักงานอนุมัติ
ดังนั้น หากบริษัทเลือกใช้วิธีที่ 1 ให้ต้องดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
1.ขออนุมัติวิธีทำลาย (หากจะทำลายส่วนสูญเสียชนิดเดิม ด้วยวิธีเดิมที่ได้รับอนุมัติแล้ว ไม่ต้องขออนุมัติวิธีทำลายซ้ำอีก)
2.ติดต่อบริษัท Inspector ที่ได้รับมอบหมายจากบีโอไอ ให้มาตรวจสอบชนิดและปริมาณของส่วนสูญเสียนอกสูตร และตรวจสอบควบคุมการทำลายให้เป็นตามที่ได้รับอนุมัติ
3.ยื่นขอตัดบัญชีส่วนสูญเสียนอกสูตรต่อ BOI
- หากเศษซากหลังทำลายมีมูลค่าเชิงพาณิชย์ ให้ยื่นขอชำระภาษีเศษซากด้วย
4.นำหนังสืออนุมัติไปตัดบัญชี (ปรับยอด) ที่ IC
- หากเศษซากหลังทำลายมีมูลค่าเชิงพาณิชย์ ให้นำหนังสือ BOI ไปติดต่อชำระภาษีที่กรม
การขออนุมัติวิธีทำลาย ใช้เวลาพิจารณาอนุมัติประมาณ 3-4 สัปดาห์ หลังจากนั้นจึงให้ inspector มาตรวจสอบการทำลาย จากนั้นยื่นขอตัดบัญชี และยื่นชำระภาษี (ถ้ามี) แล้วจึงนำหลักฐานไปปรับยอดที่ IC หากเริ่มทำครั้งแรก น่าจะใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 3 เดือน จึงต้องดูว่าโรงงานมีพื้นที่สำหรับเก็บส่วนสูญเสียได้มากน้อยเพียงใด และต้องรีบตัดบัญชีส่วนสูญเสียนี้หรือไม่ ถ้ามีพื้นที่เพียงพอ และไม่รีบร้อนตัดบัญชีส่วนสูญเสียนอกสูตร จะทำปีละ 1-2 ครั้ง ก็ไม่มีปัญหาอะไร