กรณีที่จะต้องมีการลงทุนเครื่องจักรเพิ่มเติม โดยเครื่องจักรดังกล่าวเกี่ยวข้องโดยตรงกับการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตที่ได้รับอนุมัติอยู่เดิม อาจยื่นขอแก้ไขโครงการ เพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ที่ได้รับอนุมัติแล้วได้ ตามแนวทางข้อ 1.5 ใน คำชี้แจง สกท ลงวันที่ 28 กันยายน 2561
แต่หากเครื่องจักรที่จะลงทุนเพิ่ม ไม่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงประสิทธิภาพ ตามที่ได้รับอนุมัติอยู่เดิม เช่น เป็นการลงทุนเพื่อเพิ่มกำลังผลิต เพิ่มชนิดผลิตภัณฑ์ หรือเพิ่มขั้นตอนการผลิต ไม่น่าจะอยู่ในข่ายที่จะขอแก้ไขโครงการได้
สิทธิลดหย่อนภาษีวัตถุดิบ (ม.30) ใช้ในกรณีที่นำวัตถุดิบเข้ามาเพื่อผลิตเป็นสินค้า ซึ่งจะส่งออกหรือไม่ก็ได้ ส่วนสิทธิยกเว้นภาษีวัตถุดิบ (ม.36) ใช้ในกรณีที่นำวัตถุดิบเข้ามาผลิตส่งออก
1) A (ม.36) -> B (ม.36) -> ส่งออก ... กรณีนี้สามารถทำได้ ไม่มีปัญหา
2) A (ม.36) -> B (ม.30) -> จำหน่ายในประเทศ ... กรณีนี้มีปัญหา เนื่องจากเป็นการนำวัตถุดิบตามมาตรา 36 ไปจำหน่ายในประเทศ
3) A (ม.36) -> B (ม.30) -> ส่งออก ... กรณีนี้มีปัญหา เนื่องจากวิธีการตัดบัญชีตามมาตรา 30 เป็นการสรุปรายงานการผลิตจำหน่ายปีละ 1 ครั้ง ซึ่งต่างกับวิธีการตัดบัญชีตามมาตรา 36 ... จึงควรให้ลูกค้า B ขอรับสิทธิตามมาตรา 36 เพิ่มเติม และดำเนินการตามวิธีที่ 1 คือ A (ม.36) -> B (ม.36) -> ส่งออก
ตาม ประกาศ สกท ที่ ป.8/2561 การขอขยายเวลานำเข้าวัตถุดิบตามมาตรา 36 จะต้องยื่นคำขอขยายเวลาภายในไม่เกิน 6 เดือน นับจากวันสิ้นสุดสิทธิ
กรณีที่สอบถาม ระยะเวลานำเข้าวัตถุดิบสิ้นสุดเกินกว่า 6 เดือนแล้ว จึงจะขอขยายเวลานำเข้าไม่ได้ แต่สามารถขอรับสิทธิประโยชน์ตามมาตรา 36 ได้อีก โดยวัตถุดิบที่เหลือค้างจากการนำเข้าตามระยะเวลาเดิม จะต้องดำเนินการตัดบัญชีหรือขอชำระภาษี เพื่อเคลียร์ยอดค้างคงเหลือเป็น 0 ด้วย
เครื่องจักรที่จะอนุมัติให้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้า จะต้องเป็นไปตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม คือ มีกำลังการผลิตตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม การไม่อนุมัติให้เพิ่มรายการเครื่องจักร เพื่อเพิ่มกำลังผลิตเกินกว่าบัตรส่งเสริม เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ถูกต้อง
ประกาศ กกท ที่ 6/2549 ไม่ได้ถูกยกเลิกโดยประกาศ กกท ที่ 2/2557 บริษัทที่ได้รับส่งเสริมในกิจการผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และชิ้นส่วน จึงยังสามารถขอนำเครื่องจักรเข้ามาปรับปรุงหรือทดแทนเครื่องจักรเดิมหรือเพื่อเพิ่มกำลังผลิตได้ โดยได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรแม้จะเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้วก็ตาม กรณีเพิ่มกำลังการผลิตจะต้องยื่นขอแก้ไขโครงการเพื่อเพิ่มกำลังผลิตให้เสร็จสิ้นก่อน แล้วจึงขอแก้ไขบัญชีรายการเครื่องจักร เพื่อเพิ่มรายการ/ปริมาณเครื่องจักรต่อไป
การขอแก้ไขโครงการโดยมีการลงทุนเพิ่ม มีประกาศ สกท ที่ ป.3/2547 กำหนดเงื่อนไขไว้ว่า จะต้องยังไม่เปิดดำเนินการเต็มโครงการ แต่ประกาศ กกท ที่ 6/2549 เป็นประกาศที่ออกมาภายหลัง ซึ่งสามารถอ้างหลักเกณฑ์ตามประกาศ กกท ที่ 6/2549 ได้
เบื้องต้น แนะนำให้ติดต่อกับเจ้าหน้าที่วิเคราะห์โครงการกองส่งเสริมการลงทุน 2 ที่รับผิดชอบกิจการเครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อปรึกษาเรื่องการขอแก้ไขกำลังผลิตของโครงการที่เปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว เพื่อนำเข้าเครื่องจักรเข้ามาเพิ่มเติมต่อไป
Product A ตามบัตรส่งเสริม มีกำลังการผลิต 17,000 ชิ้น (เวลาทำงาน 24 ชม 280 วัน)
Product B ตามบัตรส่งเสริม มีกำลังการผลิต 465,000 ชิ้น (เวลาทำงาน 24 ชม 280 วัน)
หลังเปิดดำเนินการ มีกำลังการผลิต ดังนี้
Product A ตามบัตรส่งเสริม มีกำลังการผลิต 18,547 ชิ้น (เวลาทำงาน 24 ชม 360 วัน) คิดเป็น 109% ของโครงการ (109% ของ 17,000 ชิ้น)
Product B ตามบัตรส่งเสริม มีกำลังการผลิต 290,304 ชิ้น (เวลาทำงาน 24 ชม 360 วัน) คิดเป็น 62% ของโครงการ (62% ของ 465,000 ชิ้น)
ปริมาณนี้ได้มาจาก การคำนวณประสิทธิภาพเครื่องจักร ณ วันเปิดดำเนินการ โดยคำนวณที่ 90% ของประสิทธิภาพเครื่องจักรจริง
คำถามคือ บริษัทต้องการขอเพิ่มกำลังการผลิตโดย
1. เพิ่มเวลาทำงานจาก 24 ชม. 360 วัน เป็น 24 ชม. 365 วัน
2. ขอเพิ่ม 30% เกินจากกำลังการผลิต ได้หรือไม่ ถ้าได้ จะเป็นการเพิ่ม 30% จากกำลังการผลิตตอนเปิดดำเนินการ หรือ 30% จากกำลังการผลิตตอนได้รับบัตรส่งเสริม
1. หลักเกณฑ์ 30% ใช้กับกรณีแก้ไขผลิตภัณฑ์/กำลังผลิต โดยมีการลงทุนเครื่องจักรเพิ่ม กรณีที่สอบถาม เป็นการขอเพิ่มกำลังผลิตโดยเพิ่มเวลาทำงาน จึงไม่เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ ดังนั้นกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากเวลาทำงานที่เพิ่มขึ้นสามารถแก้ไขโครงการได้ตลอดระยะเวลาที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ฯ หรือตลอดระยะเวลาที่ถือบัตรส่งเสริม โดยยื่นคำขอแก้ไขโครงการ
2. นอกจากนี้ บริษัทได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการแล้ว จึงไม่เข้าข่ายจะขอแก้ไขโครงการโดยการลงทุนเครื่องจักรเพิ่มได้เช่นกัน
3. บริษัทได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการโดยมีกำลังผลิต A 18,547 ชิ้น (24 ชม. 360 วัน) B 290,304 ชิ้น (24 ชม. 360 วัน)
ดังนั้น หากจะขอเพิ่มกำลังผลิตโดยการเพิ่มเวลาทำงาน สามารถขอเพิ่มได้เป็น A 18,804 ชิ้น (24 ชม. 365 วัน) B 294,336 ชิ้น (24 ชม. 365 วัน) แต่อาจไม่จำเป็นต้องทำ เนื่องจาก
1) ไม่ได้ทำให้ Max Stock เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
2) หากต้องการเพิ่มกำลังผลิต เพื่อใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับผลิตภัณฑ์ส่วนที่เพิ่มขึ้น (ถ้ายังไม่สิ้นสุดสิทธิ) จะต้องเป็นยอดขายจากกำลังผลิตที่เกิดขึ้นจริง จากการทำงาน 24 ชม. 365 วัน
ถาม Q1.1:
ตามคำตอบข้างต้นตามข้อ 2) หากต้องการเพิ่มกำลังผลิต เพื่อใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับผลิตภัณฑ์ส่วนที่เพิ่มขึ้น (ถ้ายังไม่สิ้นสุดสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล) จะต้องเป็นยอดขายจากกำลังผลิตที่เกิดขึ้นจริง จากการทำงาน 24 ชม. 365 วัน
จากข้อความข้างต้นนี้ หมายถึง หากวันทำงานจริงไม่ถึง 365 วัน ก็จะไม่ได้สิทธิเต็มจำนวน ใช่หรือไม่ ทางสรรพากรหรือ BOI เช็คตรงนี้ด้วยหรือไม่ว่า จำนวนวันทำงานจริงในแต่ละปี ตรงกับที่ระบุในบัตรแก้ไขหรือไม่ (แต่ละปีก็อาจจะไม่เท่ากัน)
ตอบ A1.1:
การตรวจสอบวัน/เวลาในการผลิต เพื่อคำนวณจำนวนการผลิต/รายได้/กำไรในแต่ละปีเพื่อขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น จะเป็นการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีระบุไว้ในรายงานผู้สอบบัญชี แนบเป็นเอกสารประกอบการพิจารณาขออนุมัติใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
มูลค่าวัตถุดิบที่นำเข้า และมูลค่าสินค้าที่ส่งออก ฝ่ายบัญชีน่าจะช่วยคำนวณตัวเลขออกมาให้ได้ มูลค่าผลิตภัณฑ์ที่รอตัดบัญชี จะใช้ตัวเลขจากมูลค่าใบขนขาออกที่ยังไม่ได้ยื่นตัดบัญชี และยอดขายตามอินวอยซ์ซึ่งยังไม่ได้รับ report-v คืนจากลูกค้า มูลค่าวัตถุดิบและสินค้าคงเหลือในสต็อก สามารถเช็คตัวเลขได้จากวัตถุดิบและสินค้าคงคลัง และคำนวณย้อนกลับเป็นมูลค่าวัตถุดิบหรือมูลค่าสินค้า ตามแต่ละกรณี
บริษัทผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เปิดดำเนินการแล้ว และมีกำลังการผลิตตามบัตรฯ ปีละ 25,000,000,000 ชิ้น/ปี มีเครื่องจักรหลักที่ใช้นับกำลังการผลิตในโครงการที่นำเข้าแล้วจำนวน 21 เครื่อง โดยมีกำลังการผลิตรวมทั้งหมดจำนวน 48,000,000,000 ชิ้น/ปี ถ้ากำลังการผลิตของเครื่องจักรในโครงการสามารถผลิตได้จริงมากกว่ากำลังการผลิตตามบัตรฯ บริษัทต้องขอแก้ไขกำลังการผลิตในบัตรฯ หรือไม่ เพื่อให้ได้เท่ากับกำลังการผลิตของเครื่องจักรที่ผลิตได้จริง
1. กิจการอิเล็กทรอนิกส์ ได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรตลอดระยะที่ได้รับส่งเสริม จึงอาจเป็นไปได้ว่า อาจมีการนำเข้าเครื่องจักรเพื่อปรับปรุงทดแทนเครื่องจักรเดิม ภายหลังจากได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการแล้ว และทำให้กำลังผลิตที่ผลิตได้จริง มีมากกว่าที่ได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการ
2. โดยปกติ BOI จะตรวจสอบเปิดดำเนินการ โครงการละ 1 ครั้งเท่านั้น ซึ่งการแก้ไขโครงการโดยมีการลงทุนเพิ่ม (เช่น เพื่อเพิ่มชนิดผลิตภัณฑ์ หรือเพิ่มกำลังผลิต) จะมีเงื่อนไขว่า ต้องเป็นกรณีที่ยังไม่ได้เปิดดำเนินการ เพื่อป้องกันไม่ให้โครงการที่เปิดดำเนินการแล้วมีการลงทุนเพิ่ม
3. การให้สิทธิเครื่องจักรตลอดไป เป็นเพียงการยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรให้ตลอดระยะเวลาที่ได้รับส่งเสริม แต่ไม่มีข้อความใดระบุว่า จะให้กำลังผลิตที่อาจเพิ่มขึ้นได้รับสิทธิทางภาษีเงินได้ด้วย นอกจากนี้ บริษัทไม่ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขโครงการเพื่อเพิ่มกำลังผลิต
ตามกรณีที่สอบถาม บริษัทนำเครื่องจักรเข้ามาเพิ่มเติมหลังจากเปิดดำเนินการแล้ว ตามสิทธิมาตรา 28 ที่ได้รับ จึงทำให้มีกำลังผลิตเกิน ซึ่งไม่อยู่ในข่ายจะขอยื่นแก้ไขโครงการเนื่องจากเปิดดำเนินการไปแล้ว กรณีนี้ BOI จะยังคงยึดถือกำลังผลิตตามผลการตรวจสอบเปิดดำเนินการในครั้งแรกตามที่ระบุในบัตรส่งเสริม
การเปลี่ยนแปลงข้อมูลผู้ถือหุ้นของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน เช่น การเปลี่ยนชื่อบริษัทผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในต่างประเทศ นอกจากขอแก้ไข บอจ.5 แล้ว ทางบริษัทต้องแจ้งบีโอไอภายในกี่วัน การแจ้งมีแบบฟอร์ม หรือสามารถทำเป็นจดหมายแนบ บอจ.5 ที่แก้ไขแล้วได้
1. ในบัตรส่งเสริมการลงทุน กำหนดเงื่อนไขทั่วไปไว้ว่า ต้องรายงานการเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนการถือหุ้นระหว่างผู้มีสัญชาติไทยและคนต่างด้าว และการเปลี่ยนแปลงการถือหุ้นของคนต่างด้าวต่างสัญชาติ ทุกครั้ง ดังนั้น หากบริษัทมีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น แต่ไม่ขัดกับเงื่อนไขสัดส่วนการถือหุ้นไทยที่กำหนดในเงื่อนไขเฉพาะโครงการในบัตรส่งเสริม จะต้องรายงานการเปลี่ยนแปลงต่อ BOI ในกรณีดังนี้
1.1 การเปลี่ยนแปลงจากผู้ถือหุ้นไทย เป็นผู้ถือหุ้นไทยรายอื่น
-> ไม่ต้องรายงานต่อ BOI
1.2 การเปลี่ยนแปลงจากผู้ถือหุ้นไทย เป็นผู้ถือหุ้นต่างชาติ (โดยไม่ขัดกับเงื่อนไขสัดส่วนการถือหุ้นไทย)
-> ต้องรายงานต่อ BOI
1.3 การเปลี่ยนแปลงจากผู้ถือหุ้นต่างชาติ เป็นผู้ถือหุ้นไทย
-> ต้องรายงานต่อ BOI
1.4 การเปลี่ยนแปลงจากผู้ถือหุ้นต่างชาติ เป็นผู้ถือหุ้นต่างชาติรายอื่นที่เป็นสัญชาติเดียวกัน
-> ไม่ต้องรายงานต่อ BOI
1.5 การเปลี่ยนแปลงจากผู้ถือหุ้นต่างชาติ เป็นผู้ถือหุ้นต่างชาติรายอื่นแต่ต่างสัญชาติกัน2. กรณีที่ต้องรายงาน ให้ใช้เอกสารหัวจดหมายบริษัท (ไม่มีแบบฟอร์ม) เพื่อยื่นรายงานต่อ BOI และแนบเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น
-> ต้องรายงานต่อ BOI
บอจ.5 ฉบับล่าสุด ที่ได้มีการแก้ไขรายชื่อผู้ถือหุ้น และยื่นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว เป็นต้น ทั้งนี้ ไม่มีเงื่อนไขกำหนดว่าต้องยื่นรายงานภายในกี่วัน
3. BOI ไม่มีวัตถุประสงค์ในการตรวจสอบหรือจัดเก็บรายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัท แต่ใช้เพื่อการจัดเก็บข้อมูลของการลงทุนไทย และการลงทุนต่างชาติ (แยกตามสัญชาติ) ในเชิงสถิติเท่านั้น จึงกำหนดให้รายงานเฉพาะกรณีตามข้อ 2.2, 2.3 และ 2.5