บริษัทสามารถยื่นขอแก้ไขโครงการ เพื่อแก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์และประเภทกิจการได้ ซึ่งปกติจะได้รับสิทธิประโยชน์ตามหลักเกณฑ์ ณ วันยื่นคำขอรับการส่งเสริมโครงการนั้นๆ (ไม่ใช่หลักเกณฑ์ ณ วันที่ยื่นแก้ไขโครงการ) โดยจะนับสิทธิประโยชน์ต่อเนื่องจากที่ได้รับอยู่เดิม เอกสารที่ต้องใช้ คือ แบบคำขออนุญาตแก้ไขโครงการ (F PA PC 01) และยื่นเฉพาะโครงการที่ต้องการแก้ไข แต่เมื่อแก้ไขแล้ว ก็ยังคงมี 2 บัตรส่งเสริมอยู่เช่นเดิม
แม้ว่าโครงการของบริษัทจะได้รับอนุมัติเปิดดำเนินการแล้ว แต่บริษัทยังคงจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ได้รับส่งเสริม คือ ต้องผลิตผลิตภัณฑ์ตามที่กำหนดในบัตรส่งเสริม และกรรมวิธีการผลิตต้องเป็นไปตามที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมp>
1.หากโมเดลใหม่ มีกรรมวิธีผลิตตรงตามที่ได้รับอนุมัติอยู่เดิมp>- บริษัทสามารถลงทุนเครื่องจักรไลน์ใหม่ และ modify เครื่องจักรเดิมได้ โดยไม่ต้องแจ้ง BOIp>
- สิทธิประโยชน์จะได้รับเท่าที่เหลืออยู่ของโครงการเดิมp>
- รายได้ที่เกิดขึ้น นับเป็นรายได้ตามโครงการ ซึ่งสามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้p>
- ค่าเครื่องจักรที่ลงทุนเพิ่ม และค่า modify เครื่องจักรเดิม ไม่สามารถนำมานับเป็นขนาดการลงทุน เพื่อใช้สิทธิp>
ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 2. หากโมเดลใหม่ มีกรรมวิธีไม่ครบตามที่ได้รับอนุมัติอยู่เดิมp>- ต้องขอแก้ไขกรรมวิธีการผลิต และได้รับอนุมัติก่อน จึงจะสามารถดำเนินการได้
บริษัทมีกำลังผลิตลวดหรือเพลาสแตนเลส ปีละ 2,400 ตัน จึงสามารถขอmax stock สำหรับการผลิต 6 เดือน คือ 1,200 ตัน แต่ปัจจุบันบริษัทได้รับอนุมัติ stock วัตถุดิบกรุ๊ป 000001 จำนวน 7,000 ตัน สามารถนำไปผลิตเป็นสินค้าได้ 4,500 ตัน ซึ่งเกินกว่ากำลังผลิต 6 เดือน จึงไม่น่าจะถูกต้องตามหลักเกณฑ์ ดังนั้น หากจะขอวัตถุดิบกรุ๊ป 000002 เพิ่มอีก อาจจะทำให้เกิดปัญหามากยิ่งขึ้นอีก แนะนำให้เข้าไปปรึกษากับ จนท BOI โดยตรง แต่ผลจากการปรึกษา อาจทำให้บริษัทต้องถูกลด max stock ลง เพื่อให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์
หากการส่งเครื่องจักรไปซ่อมต่างประเทศ กระทำในนามบริษัทที่ได้รับส่งเสริม และการนำเครื่องจักรดังกล่าวกลับเข้ามาในประเทศ กระทำในนามบริษัทที่ได้รับส่งเสริม ก็สามารถยื่นขออนุญาตส่งซ่อม และขอสั่งปล่อยยกเว้นอากรขาเข้า(ค่าซ่อม) ของเครื่องจักรที่นำกลับเข้ามาได้
ส่วนการมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทน จะต้องกระทำอย่างไรเพื่อให้เป็นตามเงื่อนไขข้างต้น ควรสอบถามกับกรมศุลกากรโดยตรงการขอส่งเครื่องจักร (ที่นำเข้ามาโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรตามมาตรา 28) ไปซ่อม (รวมถึงตรวจสอบ ปรับค่า ฯลฯ) ในต่างประเทศ มีขั้นตอนดังนี้
1. ยื่นคำร้องผ่านระบบ eMT เพื่อขอส่งเครื่องจักรไปซ่อมต่างประเทศ 2. ยื่นคำร้องต่อกรมศุลกากรเพื่อขอทำใบสุทธินำกลับ 3. ส่งเครื่องจักรที่ได้รับอนุญาตตาม 1 และ 2 ไปซ่อมต่างประเทศ 4. เมื่อจะนำกลับเข้ามา ให้ยื่นคำร้องผ่านระบบ eMT เพื่อขอสั่งปล่อยเครื่องจักรที่ส่งไปซ่อมต่างประเทศ โดยเครื่องจักรดังกล่าว จะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับค่าซ่อม ตามสิทธิมาตรา 28 และจะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร ตามสิทธิใบสุทธินำกลับสามารถยื่นเรื่องเข้าไปได้เลย โดยไม่ต้องรอให้สูตรได้รับอนุมัติ เพราะการขออนุมัติสูตร กับการขอเพิ่ม/ลดปริมาณสต็อค สามารถแยกพิจารณาได้ โดยไม่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
สต๊อกวัตถุดิบ มีแบบหมุนเวียน (max stock) กับแบบไม่หมุนเวียน (max import) ไม่มีแบบ semi
การรวมบัตร ควรเป็นกรณีที่ได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการครบตามโครงบัตรแล้ว และสิ้นสุดสิทธิภาษีเงินได้แล้ว ถ้าเป็นไปไปตามนี้ ก็สามารถยื่นหนังสือ 1 ฉบับ แจ้งความประสงค์ขอรวมโครงการตามบัตรส่งเสริมเลขที่ ... เอกสารไม่มีแบบฟอร์มที่กำหนด สามารถร่างขึ้นมาได้เอง หากทำตารางเปรียบเทียบเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ของแต่ละบัตรที่ต้องการรวมบัตรไปด้วย ก็น่าจะเข้าใจง่ายขึ้น
1.เครื่องจักร ต้องยื่นขออนุมัติบัญชี Master List ใหม่ เฉพาะรายการที่นำเข้ายังไม่ครบ
2.วัตถุดิบ ต้องยื่นขออนุมัติบัญชี Max Stock ใหม่ จากนั้นโอนยอดวัตถุดิบคงเหลือจากบัตรเดิม และต้องยื่นขออนุมัติสูตรใหม่ทั้งหมด
1.ขั้นตอนการขอส่งคืนเครื่องจักรไปต่างประเทศ
- ยื่นคำร้องในระบบ eMT - เมื่อได้รับอนุมัติให้ส่งคืน จะต้องส่งเครื่องจักรไปต่างประเทศภายใน 90 วัน - จากนั้นให้บันทึกข้อมูลเลขที่ใบขนสินค้าขาออกในระบบ eMT 2.การส่งคืนเครื่องจักรไปต่างประเทศ - ไม่มีภาระภาษีที่ต้องชำระคืน - ต้องไม่เป็นเครื่องจักรหลัก - กรณีเป็นเครื่องจักรหลักที่ทำให้กำลังผลิตหรือกรรมวิธีการผลิตเปลี่ยนแปลง จะต้องนำเครื่องจักรใหม่เข้ามาทดแทน หรือจะต้องยื่นขอแก้ไขโครงการก่อน จึงจะอนุญาตให้ส่งเครื่องจักรคืนไปต่างประเทศได้กรณีนำเครื่องจักรเข้ามาโดยยกเว้นภาษีอากรตามสิทธิ BOI แต่ต่อมาไม่ต้องการใช้เครื่องจักรดังกล่าวในโครงการ สามารถดำเนินการได้ดังนี้
1.ขอส่งคืนไปต่างประเทศ - หากเป็นเครื่องจักรหลัก ต้องไม่ทำให้กำลังลดลงเกินกว่า 20% ยกเว้นจะมีการนำเครื่องจักรใหม่เข้ามาทดแทน - ไม่มีภาระภาษีอากรที่ต้องชำระคืน - เรียกเก็บเงินค่าสินค้า (เครื่องจักร) ได้ตามปกติ เนื่องจากเป็นการจำหน่ายสินทรัพย์ออกจากโครงการ 2.ขอจำหน่ายในประเทศ - หากเป็นเครื่องจักรหลัก ต้องไม่ทำให้กำลังลดลงเกินกว่า 20% ยกเว้นจะมีการนำเครื่องจักรใหม่เข้ามาทดแทน - หากนำเข้ายังไม่ครบ 5 ปี ต้องชำระภาษีตามสภาพ ณ วันที่อนุญาตให้จำหน่าย - เรียกเก็บเงินค่าสินค้า (เครื่องจักร) ได้ตามปกติ เนื่องจากเป็นการจำหน่ายสินทรัพย์ออกจากโครงการ1.ใช้เอกสารแบบฟอร์มจาก Link แบบฟอร์ม BOI ในหัวข้อ การขออนุมัติ/แก้ไขสูตรการผลิต และหรือ ขออนุมัติ/แก้ไขบัญชีปริมาณสต๊อก
http://www.faq108.co.th/common/topic/boiform.php
2.ขั้นตอนและวิธีการ ส่วนที่ยื่นต่อ BOI ให้เตรียมข้อมูลเบื้องต้นตามแบบฟอร์ม กำหนดชื่อหลัก ชื่อรองของวัตถุดิบ กำหนด max stock ไว้ที่ 6 เดือนของกำลังผลิตสูงสุดในบัตร และควรเข้าพบ จนท เพื่อให้ตรวจสอบเบื้องต้นก่อน ส่วนที่ยื่นต่อ IC ควรเข้าอบรมการใช้ระบบ RMTS ไม่อย่างนั้นคงจะทำไม่ได้
3. บริษัทนำเข้า Copper strip มาเป็นม้วนใหญ่ และนำมาตัดภายในประเทศตามsize ที่ลูกค้าสั่งซื้อเข้ามา ต้องทำสูตรการผลิตเป็นครั้งๆไป โดยมีหน่วยเป็นน้ำหนัก อัตราการใช้วัตถุดิบเป็น 1 ต่อ 1 ไม่อนุมัติส่วนสูญเสียในสูตร * คำถามข้อ 2 กว้างเกินไป ถามตอบกัน 2 วัน ก็ไม่หมด เบื้องต้นขอตอบเท่านี้ก่อน
การรวมบัตรส่งเสริม คือกรณีที่บริษัทหนึ่ง ได้รับการส่งเสริมหลายโครงการ (หลายบัตรส่งเสริม) และต่อมาต้องการรวมโครงการเข้าด้วยกัน จึงขอรวมบัตรส่งเสริม โดย BOI จะอนุญาตให้รวมบัตรส่งเสริม โดยจะตัดสิทธิประโยชน์ให้เหลือเท่ากับบัตรที่สั้นที่สุด กรณีการรวมบัตรส่งเสริมนี้ บัตรส่งเสริมเดิมจะถูกยกเลิกเมื่อมีการออกบัตรใหม่ ดังนั้น บริษัทจึงควรจัดการเรื่องที่ค้างอยู่ในบัตรเก่าให้เสร็จสิ้นก่อนจะขอรวมบัตรส่งเสริม
โรงงานที่ได้รับส่งเสริมเพื่อผลิตสินค้า ปกติจะไม่ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายชิ้นส่วนที่ซื้อมาจากผู้อื่น เนื่องจากชิ้นส่วนนั้นไม่ได้เกิดขึ้นตามกระบวนการผลิตที่ได้รับส่งเสริม ชิ้นส่วนที่ซื้อมา แล้วนำมา pack รวมกับสินค้า เช่น บริษัทผลิตโทรศัพท์มือถือ และซื้อแบตเตอรี่ มา pack ในกล่อง สามารถทำได้ เนื่องจากไม่ใช่การจำหน่ายชิ้นส่วนที่ซื้อมาจากผู้อื่น แต่เป็นการจำหน่ายโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม กรณีที่จำเป็นต้องจำหน่ายชิ้นส่วนที่ซื้อมาจากผู้อื่น เช่น จำหน่ายเป็น Service part ให้กับลูกค้า จะต้องขอผ่อนผันเป็นกรณีๆ โดยอาจมีการกำหนดระยะเวลาหรือปริมาณไว้ด้วยก็ได้ แต่รายได้จากการจำหน่ายชิ้นส่วนที่ซื้อมาจากผู้อื่น จะไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
ขั้นตอนการขอบัญชีสต็อกและสูตร สำหรับวัสดุจำเป็น กับขั้นตอนของวัตถุดิบ เหมือนกันเกือบทั้งหมด ต่างกันแค่เพียงต้องระบุหมายเหตุว่า รายการใดเป็นวัสดุจำเป็น และปกติ ในการทำสูตรการผลิต วัสดุจำเป็นจะให้คีย์เฉพาะปริมาณใช้จริง ไม่คีย์ปริมาณส่วนสูญเสียในสูตร
1. การส่งชิ้นส่วนของเครื่องจักรไปซ่อมต่างประเทศ มีขั้นตอนดังนี้
- เข้าไปที่เมนูส่งซ่อมเครื่องจักรไปต่างประเทศ - คีย์เลขหนังสืออนุมัติสั่งปล่อยที่ใช้สิทธินำเข้าเครื่องจักรนั้น - เลือกรายการเครื่องจักร - ติ๊กช่อง "ชื่อรายการที่ส่งซ่อมไม่ตรงกับชื่อในบัญชี" - คือในช่อง "ชื่อตามที่ส่งซ่อม" เป็นชื่อชิ้นส่วนที่จะส่งไปซ่อมต่างประเทศ 2. เมื่อซ่อมเสร็จแล้วนำกลับเข้ามา จะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเฉพาะค่าซ่อม ส่วนอากรขาเข้าของชิ้นส่วนที่นำกลับเข้ามา จะต้องทำใบสุทธินำกลับต่อกรมศุลกากร เพื่อยกเว้นอากรขาเข้าในส่วนนั้น1.กรณีส่งแม่พิมพ์ออกไปซ่อมต่างประเทศ แต่ไม่ได้ทำใบสุทธินำกลับ ให้ยื่นคำร้องขอผ่อนผันใบสุทธินำกลับ ตามขั้นตอนที่กรมศุลกากรกำหนด http://search.customs.go.th:8090/Formality/Re-ImportCertificate.jsp เมื่อนำแม่พิมพ์นั้นกลับเข้ามาในประเทศ จะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับแม่พิมพ์นั้น แต่ต้องชำระภาษีอากรสำหรับค่าซ่อม
2.หากได้ยื่นขออนุญาตส่งแม่พิมพ์ออกไปซ่อมต่อ BOI สามารถขอสั่งปล่อยแม่พิมพ์ที่นำกลับเข้ามาได้ โดยจะได้รับยกเว้นอากรเข้าสำหรับค่าซ่อมแม่พิมพ์นั้น ตามสิทธิประโยชน์ที่บริษัทได้รับอยู่1. กิจการผลิตผลิตภัณฑ์หรือชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับอุตสาหกรรม ปัจจุบันให้ส่งเสริมประเภท 6.6 โดยจะมีต้องขั้นตอนการขึ้นรูปพลาสติกเอง
http://www.boi.go.th/upload/Sector_6_38267.pdf2. กรณีที่สอบถาม เป็นการซื้อชิ้นส่วนพลาสติกมาพ่นสีและประกอบ จึงไม่เข้าข่ายที่จะขอรับส่งเสริมในประเภท 6.6 (หรือ 6.12 เก่า)
3. กรณีเป็นการประกอบชิ้นส่วนพลาสติกกับชิ้นส่วนอื่นๆ เพื่อผลิตชิ้นส่วนเครื่องไฟฟ้าหรือชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อาจขอรับส่งเสริมในประเภท 5.2.5 การผลิตชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ หรือประเภท 5.4.19 การผลิตชิ้นส่วนสำหรับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ
http://www.boi.go.th/upload/Sector_5_93941.pdfเหตุผลขัดแย้งกัน คือ บริษัทอ้างว่า กำลังผลิตในขั้นตอนพ่นสีไม่เพียงพอ จึงจะซื้อชิ้นส่วนที่พ่นสีแล้วมาใช้ หากกำลังผลิตขั้นตอนพ่นสีไม่เพียงพอ ก็สามารถว่าจ้างพ่นสี ตามขั้นตอนที่ได้รับอนุมัติ
การจะซื้อชิ้นส่วนที่พ่นสีแล้วมาใช้ เท่ากับว่าไม่ได้ฉีดชิ้นงานนั้นขึ้นเอง จึงผิดเงื่อนไขสำคัญ คงไม่น่าจะแก้ไขตามที่สอบถามมาได้