การขออนุญาตนำเครื่องจักรไปจำนอง ต้องเป็นกรณีที่ผู้ได้รับส่งเสริมเป็นผู้นำเข้าเครื่องจักรดังกล่าวโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีจาก BOI จากนั้นจึงยื่นขออนุญาตนำเครื่องจักรดังกล่าวไปจำนอง จะยื่นขอนำเครื่องจักรไปจำนองเมื่อไรก็ได้ แต่ต้องก่อนมีการจำนอง
Max Stock คือบัญชีรายการและปริมาณวัตถุดิบ ที่เพียงพอต่อการผลิตสินค้าตามบัตรส่งเสริมเป็นเวลา 6 เดือน กรณีที่ Max Stock ไม่พอต่อการผลิต
1. ตรวจสอบว่า Max Stock ที่ขอไว้ คำนวณจากกำลังการผลิต 6 เดือนตามบัตรส่งเสริมหรือไม่ หากขอไว้ไม่ครบ 6 เดือน สามารถขอแก้ไข Max Stock ให้ครบ 6 เดือนได้
2. สูตรการผลิตที่ใช้คำนวณปริมาณ Max Stock 6 เดือน เป็นสูตรที่เหมาะสมหรือไม่ เช่น บริษัทผลิตเสื้อ size S M L แต่หากใช้เสื้อ size S ในการคำนวณ Max Stock ย่อมได้ Max Stock น้อย และไม่พอต่อการผลิต กรณีนี้บริษัทสามารถเสนอแผนการผลิตในรอบ 6 เดือนใหม่ โดยเพิ่มสัดส่วนการผลิตเสื้อ size L ให้มากขึ้น เพื่อให้ได้ Max Stock ที่มากเพียงพอต่อการผลิต
3. มีกำลังผลิตจริงมากกว่าที่ขอรับส่งเสริม ทำให้ Max Stock ไม่พอ กรณีนี้อาจต้องยื่นขอเปิดดำเนินการเต็มโครงการ เพื่อแก้ไขกำลังผลิตในบัตรส่งเสริมให้เป็นไปตามกำลังผลิตที่มีอยู่จริง จากนั้นจึงขอแก้ไข Max Stock ให้เท่ากับกำลังผลิต 6 เดือนตามบัตรส่งเสริม
4. เกิดจากสาเหตุอื่น ซึ่งต้องแก้ไขเป็นกรณีๆไป ----------------------------------------------------------
กรณีที่สอบถาม เทียบเคียงได้กับกรณีข้อ 2 คือ มีผลิตภัณฑ์โมเดลใหม่ ที่ใช้วัตถุดิบมากกว่าโมเดลเดิม ซึ่งบริษัทสามารถเสนอแผนการคำนวณ Max Stock ใหม่ โดยเพิ่มสัดส่วนการผลิตโมเดลใหม่ให้มากขึ้น เพื่อให้ได้ Max Stock ใหม่ที่เพียงพอต่อการผลิต
ถ้าเป็นสิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวกับภาษีอากร จะมีการระบุระยะเวลาไว้ในบัตรส่งเสริม แต่ถ้าไม่ใช่สิทธิประโยชน์เกี่ยวกับภาษีอากร จะไม่ระบุระยะเวลา คือใช้สิทธิได้ตลอดไป ตราบเท่าที่ได้รับส่งเสริมการกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มแก้ไขโครงการ ให้กรอกแนวๆ นี้ มาตรา 25, 26, 27, 28, 31 ร้อยละ 100 (แปดปี), 34, 35 (1) ร้อยละห้าสิบ 5 ปี .......... และมาตรา 37
1. วัตถุดิบที่นำเข้ามาเพื่อผลิตการส่งออก ตามกระบวนการผลิตที่ได้รับส่งเสริม สามารถขอใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าตามมาตรา 36(1) ได้ โดยต้องยื่นขออนุมัติบัญชีสต็อควัตถุดิบให้ครอบคลุมรายการวัตถุดิบที่จะใช้สิทธินำเข้า และต้องขอสูตรการผลิตสำหรับตัดบัญชีหลังการส่งออก
2. กรณีที่ยังไม่ได้รับอนุมัติบัญชีสต็อควัตถุดิบ สามารถชำระภาษีอากรไปก่อน โดยสงวนสิทธิ BOI จากนั้นจะต้องขออนุมัติบัญชีวัตถุดิบ และสั่งปล่อยเพื่อขอคืนอากรขาเข้าภายใน 2 ปีนับจากวันนำเข้า
ให้ยื่นคำร้องในระบบ eMT
หลังจากยื่นเรื่องผ่านระบบ eMT เจ้าหน้าที่ BOI ประจำสมาคม IC จะเป็นผู้พิจารณาคำร้อง และลงนามหนังสืออนุมัติ ให้บริษัทตรวจสอบผลการพิจารณาในระบบ eMT หากได้รับอนุมัติ ให้ไปติดต่อสมาคม IC เพื่อรับหนังสืออนุมัติ และเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐาน
1. หากต้องการขออนุมัติวัตถุดิบรายการใหม่ ก็ยื่นขอแก้ไขบัญชีปริมาณสต็อค เพื่อแก้ไขปริมาณ/รายการวัตถุดิบ
2. หากต้องการขอสินค้าใหม่ ก็เป็นเรื่องการแก้ไขโครงการเพื่อเพิ่มชนิดผลิตภัณฑ์
หากในหนังสืออนุมัติ ไม่มีข้อความระบุให้นำบัตรส่งเสริมไปแก้ไขเอกสารท้ายบัตร บริษัทก็ไม่ต้องนำบัตรส่งเสริมไปแก้ไข แต่ให้เก็บหนังสืออนุมัตินั้นไว้เป็นหลักฐาน
หากหนังสืออนุมัติ มีเงื่อนไขให้นำบัตรส่งเสริมไปแก้ไข แต่บริษัทไม่นำบัตรส่งเสริมไปแก้ไข ถือว่าการอนุมัตินั้นยังไม่ผลบังคับ
1. การทำเรื่องนี้ (เรื่อง แก้ไขบัญชีปริมาณสต็อค) ต้องยื่นขออนุมัติที่ BOI และเมื่อได้รับอนุมัติแล้ว จะต้องนำผลอนุมัติไปบันทึกฐานข้อมูลที่ IC
2. การจะขอเพิ่มรายการวัตถุดิบวัตถุดิบในบัญชีปริมาณสต็อค วัตถุดิบนั้นจะต้องใช้ในกรรมวิธีผลิตที่ได้รับส่งเสริม และผลิตเพื่อการส่งออก
3. สำหรับปริมาณที่จะขออนุมัติ ขึ้นอยู่กับว่าบัญชีเดิมได้รับอนุมัติไว้อย่างไร บางกรณีอาจขอเพิ่มรายการใหม่ได้เลย บางกรณีอาจต้องลดปริมาณวัตถุดิบอื่นลงก่อน จึงจะเพิ่มปริมาณวัตถุดิบรายการใหม่ได้
เงื่อนไขเฉพาะโครงการ ข้อ 8.1 กำหนดว่า หากมีการเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนการถือหุ้นระหว่างผู้มีสัญชาติไทยและคนต่างด้าว และการเปลี่ยนแปลงการถือหุ้นของคนต่างด้าวต่างสัญชาติทุกครั้ง จะต้องรายงานให้ BOI ทราบทุกครั้ง ดังนั้น หากบริษัทเพิ่มทุนจดทะเบียน และมีการเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนการถือหุ้น ตามเงื่อนไขทั่วไป ข้อ 8.1 ก็ต้องรายงานให้ BOI ทราบ แต่หากบริษัทเพิ่มทุนจดทะเบียน แต่ไม่ทำให้อัตราส่วนผู้ถือหุ้นเปลี่ยนแปลง ตามเงื่อนไขทั่วไป ข้อ 8.1 ก็ไม่ต้องรายงานให้ BOI ทราบ
บัตรส่งเสริมมี 3 ส่วน คือ 1.สิทธิและประโยชน์ 2.เงื่อนไขทั่วไป 3.เงื่อนไขเฉพาะโครงการ เงื่อนไขข้อ 8.1 จะต้องรายงานการเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนการถือหุ้นระหว่างผู้มีสัญชาติไทยและคนต่างด้าว และการเปลี่ยนแปลงการถือหุ้นของคนต่างด้าวต่างสัญชาติทุกครั้ง หากเมื่อใดก็ตาม ที่บริษัทมีการเปลี่ยนแปลง ที่เข้าข่ายตามเงื่อนไขทั่วไป ข้อ 8.1 บริษัทก็มีหน้าที่ต้องรายงานให้ BOI ทราบ การรายงานนี้ ไม่ใช่การแก้ไขโครงการ และไม่ใช่การขออนุญาต เป็นเพียงการส่งหนังสือ เพื่อรายงาน ตามเงื่อนไขทั่วไป ที่กำหนดไว้ในบัตรส่งเสริม -------------------------------------------------------------------------------------------------- ส่วนเงื่อนไขทุนจดทดทะเบียน และเงื่อนไขอัตราส่วนหุ้นไทย เป็นเงื่อนไขที่กำหนดไว้ใน "เงื่อนไขเฉพาะโครงการ" แต่ละบริษัท แต่ละกิจการกำหนดไว้แตกต่างกัน เงื่อนไขเหล่านี้ (ถ้ามี) เป็นเงื่อนไขบังคับ ต้องปฏิบัติให้ได้ เช่น
- จะต้องมีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท โดยจะต้องชำระเต็มมูลค่าหุ้นก่อนเปิดดำเนินการ
- จะต้องมีผู้ถือหุ้นไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของหุ้นทั้งหมด ถ้าปฏิบัติไม่ได้ จะต้องขอแก้ไขโครงการ แต่หากไม่ได้รับอนุญาตให้แก้ไข และปฏิบัติตามเงื่อนไขไม่ได้ จะถูกเพิกถอนบัตรส่งเสริม ---------------------------------------------------------------------------------------------------- เงื่อนไขทั่วไป และเงื่อนไขเฉพาะโครงการ จึงเป็นคนละประเภทกัน จึงต้องแยกกันให้ถูก
จะต้องนำบัตรส่งเสริมไปแก้ไข ตามเงื่อนไขที่กำหนดในหนังสืออนุมัติ
การให้การส่งเสริมของ BOI ไม่มีการกำหนดระยะเวลาสิ้นสุด แต่สิทธิประโยชน์ทางภาษีจะมีระยะสิ้นสุด
เช่น เครื่องจักร 30 เดือน (ขยายเวลาได้ 3 ครั้ง) หรือภาษีเงินได้ 3-8 ปี (ขยายเวลาไม่ได้) เป็นต้น แม้ว่าสิทธิประโยชน์ทางภาษีจะสิ้นสุดลง แต่บริษัทก็ยังคงมีสถานะเป็นผู้ได้รับส่งเสริม และต้องปฏิบัติเงื่อนไขที่ได้รับส่งเสริมตลอดไปจนกว่ายกเลิกบัตร/หรือถูกเพิกถอนบัตรส่งเสริม เครื่องจักรที่นำเข้ามาโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากร มีเงือนไขคือ จะต้องใช้ในโครงการที่ได้รับส่งเสริมเท่านั้น การจะจำหน่ายจ่ายโอน หรืออนุญาตให้ผู้อื่นใช้ หรือนำไปใช้เพื่อการอื่น จะต้องได้รับอนุญาตจาก BOI ก่อน ไม่ว่าเครื่องจักรนั้นจะนำเข้ามาแล้วนานเท่าใด โดย BOI จะพิจารณาความเหมาะสม พร้อมกับพิจารณาภาระภาษี (ถ้ามี) ตามอายุเครื่องจักร ตามประกาศ ที่ ป.3/2558 กรณีที่สอบถาม เป็นการขอนำเครื่องจักรที่นำเข้าโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีไปทำการเช่าซื้อแบบลีสซิ่ง ซึ่งอ้างอิงประกาศ ที่ ป.6/2541 จึงควรยื่นขออนุญาตไปตามขั้นตอนปกติ โดยไม่จำเป็นต้องสนใจเรื่องอายุเครื่องจักรวัตถุดิบ Group 000001 จำนวน 7,000 ตัน หากนำไปผลิตเป็นสินค้าคือลวดและเพลาสแตนเลส จะผลิตได้กี่ตัน