Chat
x
toggle menu
toggle menu

Select Groups

All Group
  • All Group
  • นโยบายเเละมาตรการพิเศษในการส่งเสริม
  • การขอรับการส่งเสริมการลงทุน
  • การออกบัตรส่งเสริม
  • การเปิดดำเนินการ
  • การเเก้ไขโครงการ
  • การดำเนินการอื่น ๆ
  • การรายงานความคืบหน้าโครงการ (e-Monitoring)
  • การปฏิบัติหลังการได้รับการส่งเสริม
  • การยกเลิกบัตรส่งเสริม
  • เรื่องทั่วไป
  • การใช้สิทธิด้านที่ดิน
  • การใช้สิทธิด้านเครื่องจักร
  • การใช้สิทธิด้านช่างฝีมือ/ต่างด้าว
  • การใช้สิทธิด้านวัตถุดิบ
  • ประเภทกิจการ - การแพทย์
  • การใช้สิทธิด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ประเภทกิจการ - รถยนต์ไฟฟ้า
  • ประเภทกิจการ - ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (IBC) IPO และ TISO
  • ประเภทกิจการ - โรงแรม
  • ประเภทกิจการ - ผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ
  • ประเภทกิจการ - กิจการผลิตเครื่่องจักร อุุปกรณ์และชิ้นส่วน
  • ประเภทกิจการ - กิจการศูนย์กระจายสินค้าระหว่า ประเทศด้วยระบบที่่ทันสมัย (IDC)
1. สาเหตุของการแก้ไข Max Stock จาก 6 เดือน เป็น 4 เดือน เนื่องอะไร 2. กิจการ ITC Max Stock ให้ดูจากแผนการจำหน่าย คือดูจาก Forecast ของลูกค้าได้หรือไม่ และในการคำนวณดูในช่วงระยะกี่เดือน

1.BOI ไม่ได้มีคำชี้แจงเหตุผลการลด Max Stock จาก 6 เดือน เป็น 4 เดือน จึงขอตอบตามความเห็นส่วนตัว คือ BOI อาจเห็นว่า Max Stock 6 เดือน มีปริมาณมากเกินไป ทำให้บริษัทละเลยการตัดบัญชี และการเคลียร์ยอดส่วนสูญเสีย ฯลฯ ทำให้เกิดปัญหาสะสม ซึ่งยากต่อการแก้ไขปัญหาในภายหลัง จึงลดปริมาณ Max Stock ลง

2.การขอ Max Stock ของกิจการ ITC ปกติจะดูจากแผนการจำหน่ายของบริษัท โดยให้ยื่นแผน 6 เดือนไปก่อน

บริษัทผลิตสินค้าเสร็จแล้ว แต่ต่อมาลูกค้าให้ทำการอบเพิ่มเติม (สินค้าไม่ต้องอบก็ขายได้ แต่ลูกค้าให้อบ) บริษัทจึงไปว่าจ้างบริษัทอื่น (non-BOI) ทำการอบ เนื่องจากบริษัทไม่มีเครื่องอบ เพื่อสนองความต้องการของลูกค้า แบบนี้บริษัทต้องแก้ไขโครงการหรือไม่ แล้วกรณีนี้สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีได้หรือไม่

กรณีให้ยื่นแก้ไขกรรมวิธีการผลิต จากเดิมเป็น "บางส่วนนำไปว่าจ้างอบชิ้นงาน" เมื่อได้รับอนุมัติ ก็สามารถนำสินค้าไปว่าจ้างอบได้ และรายได้จากการจำหน่ายสินค้าจากการอบ ก็สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้เช่นกัน

การที่ BOI เปลี่ยน Max stock จาก 6 เดือน เป็น 4 เดือน บริษัทจะต้องดำเนินการยื่นเรื่องที่สำนักงานฯ เพื่อ ขอแก้ไข Max Stock เมื่อได้รับหนังสืออนุมัติแล้วนำไปดำเนินการที่ IC ต่อใช่หรือไม่ หรือว่าทาง IC จะดำเนินการแก้ไข Max Stock จาก 6 เดือน เป็น 4 เดือนให้บริษัทฯ โดยอัตโนมัติ

สมาคม IC จะปรับลดยอด Max Stock ของทุกบริษัทให้โดยอัตโนมัติ ในเวลา 24.00 ของวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 โดยบริษัทไม่ต้องยื่นคำร้องขอปรับลดยอด Max Stock

การนำ Machine หรือ Tooling ที่เป็น BOI ไปฝากไว้ที่ Supplier เพื่อให้ Supplier ผลิตของให้ การทำแบบนี้ถือว่าถูกต้องตามหลักของ BOI หรือไม่

การนำเครื่องจักร แม่พิมพ์ หรืออุปกรณ์ ที่นำเข้าโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรจาก BOI ไปให้ผู้อื่นใช้ผลิตสินค้าให้ ต้องดำเนินการดังนี้

1.ขอแก้ไขกรรมวิธีการผลิต ให้มีขั้นตอนการนำเครื่องจักร แม่พิมพ์ หรืออุปกรณ์ ไปว่าจ้างผู้อื่นให้ผลิตสินค้าหรือชิ้นส่วนให้

2.ยื่นขออนุญาตนำเครื่องจักร แม่พิมพ์ หรืออุปกรณ์ ไปให้ผู้อื่นใช้ หลังจากได้รับอนุมัติแล้ว จึงจะนำเครื่องจักร แม่พิมพ์ หรืออุปกรณ์ ไปให้ผู้อื่นใช้ ตามที่ได้รับอนุมัติได้

หากบริษัทฯ นำเครื่องจักรที่ชำระอากรเข้ามาไปให้ผู้อื่นใช้ได้หรือเปล่า โดยไม่มีผลกระทบต่อการผลิตหรือทำให้ขั้นตอนการผลิตเปลี่ยน

ในบัตรส่งเสริมมีเงื่อนไขเขียนไว้ว่า "จะต้องไม่จำนอง จำหน่าย โอน ให้เช่า หรือให้ผู้อื่นใช้เครื่องจักรที่ได้รับสิทธิยกเว้นหรือลดหย่อนภาษี" หากจะให้ผู้อื่นใช้ จะต้องได้รับอนุญาตจาก BOI ก่อน

สอบถามเรื่องหน่วยผลิตภัณฑ์ ถ้าบริษัทฯ ยื่นขอหน่วยผลิตภัณฑ์ในสูตรการผลิต เป็น TNE แต่ส่งออกหน่วย เป็น KGM ซึ่งสามารถตัดบัญชีได้ปกติในระบบเดิม บริษัทแปลงหน่วยจาก KGM เป็น TNE ก็สามารถยื่นตัดบัญชีได้ แต่ระบบ ตัดบัญชีแบบ Paperless บริษัทฯ ได้ไปทดลองตัดบัญชีแบบไร้เอกสารที่ IC ไม่สามารถตัดบัญชี ได้ เนื่องจากหน่วยผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกกับที่ขออนุมัติสูตรกับ BOI ไม่ตรงกัน รบกวนสอบถาม บริษัท ต้องขอสูตรการผลิตหน่วย เป็น KGM ใหม่ทั้งหมด เป็น พันกว่ารายการ หรือ ขอแก้ไขหน่วยผลิตภัณฑ์ และ บริษัทต้องใช้แบบฟอร์มไหนคะในการยื่นขอ กับ BOI หมายเหตุ : บริษัท ฯ ได้คำนวณปริมาณส่วนสูญเสียคำนวณจาก % ส่วนสูญเสีย จึงได้จำนวนตัวเลขเท่าเดิม แก้ไขเฉพาะหน่วยผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับที่ส่งออก

กรณีที่หน่วยของสินค้าส่งออก ไม่ตรงกับหน่วยของสินค้าตามสูตรการผลิต หากเป็นหน่วยที่สามารถแปลงค่าได้ในอัตราที่คงที่ เช่น 1 KGM = 1000 GRM ระบบ RMTS จะคำนวณปริมาณส่งออกให้เป็นหน่วยเดียวกับที่ได้รับอนุมัติโดยอัตโนมัติ กรณีที่บริษัทไปทดลองตัดบัญชีแบบไร้เอกสารแล้วพบว่าไม่สามารถตัดบัญชีได้เนื่องจากหน่วยไม่ตรง ขอแนะนำดังนี้

1.ติดต่อฝ่ายบริการเครื่องจักรและวัตถุดิบ สมาคม IC เพื่อให้ช่วยเช็คว่า หน่วย TNE และ KGM เป็นหน่วยที่สามารถแปลงได้ ในตารางแปลงค่า ที่ BOI กำหนดหรือไม่

2.หากหน่วย TNE และ KGM อยู่ในตารางแปลงค่า แต่ไม่สามารถตัดบัญชีได้ ให้แจ้งปัญหาให้ IC ทราบเพื่อดำเนินการแก้ไขต่อไป

3.หากหน่วย TNE และ KGM ไม่อยู่ในตารางแปลงค่า อาจขอให้ IC แจ้งไปยัง BOI เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมตารางแปลงค่า

การคิดคำนวณบัญชีปริมาณสต๊อคสูงสุด กรณีขอครั้งแรก โดยบริษัทฯ ได้รับอนุมัติกิจการประเภท 5.4.3.2 กิจการผลิต ผลิตชิ้นส่วนสำหรับอุปกรณ์โทรคมนาคมแบใยแสงนำแก้ว กำลังการผลิตปีละประมาณ 9,192,960 ชิ้น แบ่งออกเป็น ดังนี้ 1. Model A = 367,718.40 ชิ้น, 2. Model B = 6,986,649.60 ชิ้น, 3. Model C = 1,838,592.00 ชิ้น และปริมาณสต๊อคหมุนเวียน 6 เดือน = 4,596,480 ชิ้น ซึ่ง 1 ผลิตภัณฑ์ จะประกอบด้วย ชิ้นส่วนที่เป็นงานฉีดและชิ้นส่วนประกอบ รบกวนสอบถามดังนี้ 1) การคิดคำนวณบัญชีปริมาณสต๊อคฯ ต้องแยกออกเป็นแต่ละ Model หรือ ไม่ 2) ชิ้นส่วนที่เป็นชิ้นส่วนประกอบ เช่น ชิ้นส่วน ก 2 ชิ้น, ชิ้นส่วน ข 4 ชิ้น เป็นต้น คิดเป็น 2 ชิ้น หรือ 4 ชิ้น(ต่อ 1 ผลิตภัณฑ์) หรือคิดเป็น 1 ชิ้น แล้ว คูณ ปริมาณสต๊อคหมุนเวียน 6 เดือนเลย 3) ชิ้นส่วนที่เป็นงานฉีด และชิ้นส่วนประกอบ เมื่อรวมทั้ง 2 ส่วนต้องไม่เกินปริมาณสต๊อคหมุนเวียน 6 เดือน หรือกำลังการผลิตต่อปี
ขอตอบเฉพาะหลักเกณฑ์ในการขออนุมัติ Max Stock ดังนี้

1. สามารถขอได้เท่ากับกำลังผลิต 6 เดือนตามบัตรส่งเสริม เช่น หากบัตรส่งเสริมระบุกำลังผลิตสูงสุดไว้ 1,000,000 ชิ้น/ปี จะสามารถขอ Max Stock สำหรับการผลิต 500,000 ชิ้น

2. การขอ Max Stock จะใช้สินค้ากี่โมเดลในการคำนวณก็ได้ โดยให้ระบุปริมาณที่จะผลิตของแต่ละโมเดลนั้นๆ ซึ่งรวมแล้วต้องไม่เกินกำลังผลิต 6 เดือนตามบัตรส่งเสริม เช่น

Model A จำนวน 300,000 ชิ้น

Model B จำนวน 150,000 ชิ้น

Model C จำนวน 50,000 ชิ้น

จากนั้น คำนวณปริมาณการใช้วัตถุดิบของ Model A, B, C ตามกำลังผลิตข้างต้น แล้วนำมารวมกันเป็น Max Stock

บริษัทนำเข้า Mold/Die โดยการใช้สิทธิบีโอไอ แต่บริษัทยังไม่สามารถผลิตงานได้เอง เพราะ Max Stock รายการวัตถุดิบสำหรับผลิตงานยังไม่ได้รับอนุมัติ(ขอรายการเพิ่มจากเดิม)บริษัทสามารถนำMold/Die ให้บริษัทอื่นผลิตงานให้เป็นการชั่วคราว 3-4 เดือน เมื่อ Max stock อนุมัติแล้วก็จะนำมาผลิตงานเอง บริษัทต้องแจ้งบีโอไอ หรือไม่ ถ้าแจ้งต้องทำอย่างไร โดยกรรมวิธีผลิตมีดังนี้ 1). รับวัตถุดิบพลาสติกมา ขึ้นรูปฉีดพลาสติกโดยเครื่อง Injection Machine 2).หลังจากได้เป็นผลิตภัณฑ์แล้วนำมาตัดแต่งขอบ และ ตรวจสอบ 3).นำชิ้นงานพลาสติกอื่น และซื้อบางส่วนจากผู้ประกอบการภายนอก 4). นำชิ้นงานข้อ(2),(3) มาตรวจสอบก่อนนำเข้าสายการผลิต 5).นำชิ้นงานในขั้นตอนที่ (4) เข้าสายการผลิตเพื่อประกอบเป็นผลิตภัณฑ์ 6).ตรวจสอบ บรรจุ เตรียมจำหน่าย Mold/Die ที่ใช้ลักษณะเป็นการกดทับ(stamping) ชิ้นงานในขั้นตอนที่ 3

ขั้นตอนที่ 3 เขียนว่า

3).นำชิ้นงานพลาสติกอื่น และซื้อบางส่วนจากผู้ประกอบการภายนอก

ผมอ่านไม่เข้าใจว่าขั้นตอนนี้คืออะไร ต้องใช้แม่พิมพ์ Stamping อย่างไร

สรุปคือผมมองไม่เห็นภาพว่า โครงการนี้มีขั้นตอนอย่างไร จะเอาแม่พิมพ์ขั้นตอนไหนไปว่าจ้าง เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่บริษัทควรต้องการทำการผลิตเองหรือไม่ การว่าจ้างนอกจากจะนำแม่พิมพ์ไปจ้างแล้ว ต้องนำวัตถุดิบไปว่าจ้างด้วยหรือไม่ ควรขออนุญาตไปพร้อมกันหรือไม่ ฯลฯ จึงไม่ทราบว่าจะให้คำแนะนำอะไร

ขอตอบเฉพาะหลักการ คือ

1. การนำเครื่องจักร แม่พิมพ์ วัตถุดิบ ที่ใช้สิทธินำเข้าโดยยกเว้นภาษี ไปให้ผู้อื่นใช้ หรือไปใช้เพื่อการอื่น จะต้องได้รับอนุญาตก่อน

2. สินค้าที่มีขั้นตอนการผลิตไม่ตรงกับที่ได้รับส่งเสริม ไม่ถือเป็นสินค้าตามโครงการ จะใช้สิทธิใด ๆ ไม่ได้

บริษัทได้รับบัตรส่งเสริมสำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์ฉีดพลาสติกขึ้นรูป แต่เนื่องจากเหตุผลในเรื่องของปริมาณคำสั่งซื้อที่ลดลง ทำให้ไม่คุ้มที่จะดำเนินการในขั้นตอนของการฉีดพลาสติกขึ้นรูปเอง โดยปัจจุบันบริษัทได้ทำการสั่งซื้อชิ้นงานพลาสติกจากบริษัทอื่น และมีแผนจะนำเครื่องฉีดไปให้บริษัทที่ทำการฉีดชิ้นงานให้เช่า เครื่องจักรที่ใช้ในบัตรนี้ทั้งหมดเป็นเครื่องจักรที่ซื้อในประเทศและบริษัทก็มิได้มีการใช้สิทธิใดๆ เลย รวมถึงวัตถุดิบด้วย อยากทราบว่า บริษัทสามารถนำเครื่องฉีดพลาสติกไปให้ผู้อื่นเช่าได้หรือไม่ และถ้าสามารถได้ ไม่ทราบว่า ต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง

1. บริษัทได้รับส่งเสริมผลิตผลิตภัณฑ์ฉีดพลาสติกขึ้นรูป แต่ไม่ฉีดพลาสติกขึ้นเอง จึงน่าจะเป็นการผิดเงื่อนไขที่เป็นสาระสำคัญในการให้การส่งเสริมอย่างร้ายแรง และจะไม่สามารถใช้สิทธิประโยชน์ใด ๆ ทั้งสิ้นตามบัตรส่งเสริมได้

2. บริษัทซื้อเครื่องฉีดพลาสติกในประเทศ โดยไม่ได้ใช้สิทธิจาก BOI ดังนั้น การจะขายหรือให้เช่าเครื่องจักรนั้น จึงไม่น่าจะต้องขออนุญาตจาก BOI แต่หากเมื่อให้เช่าเครื่องจักรไปแล้ว ทำให้บริษัทไม่มีเครื่องจักรตามกรรมวิธีการผลิตและกำลังผลิตที่ได้รับส่งเสริม ก็จะขัดกับเงื่อนไขในบัตรส่งเสริม ซึ่งหากไม่แก้ไขให้ถูกต้อง ก็อาจอยู่ในข่ายที่ต้องถูกเพิกถอนบัตรส่งเสริมต่อไป

3. ในกรณีทั่วไป บริษัทสามารถขอแก้ไขกรรมวิธีการผลิต เพื่อทำการว่าจ้างผลิตชิ้นส่วน พร้อมกับขออนุญาตนำเครื่องจักรไปให้ผู้รับจ้างยืมใช้ ก็ได้ แต่ทั้งนี้ การว่าจ้างต้องไม่ทำให้สาระสำคัญของโครงการลดลงเหลือน้อยกว่าที่จะให้ส่งเสริมต่อไปได้

กรณีนี้ หากได้รับส่งเสริมฉีดพลาสติก แต่จะว่าจ้างฉีดพลาสติก โดยไม่ดำเนินการเอง จะทำให้สาระสำคัญของโครงการลดลงเกินกว่าที่จะให้ส่งเสริมต่อไปได้

กรณีบริษัท A ซื้อวัตถุดิบในประเทศ (BOI) ผลิตผลิตภัณฑ์ ส่งให้กับลูกค้าในประเทศ (BOI) และลูกค้าจัดส่งให้กับบริษัทในเครือที่อยู่ต่างประเทศอีกครั้งโดยที่ไม่ทำการแปรรูปใดๆทั้งสิ้น (ได้รับจากบริษัท Aอย่างไร ก็ส่งออกไปอย่างนั้น) ถามว่า ถ้าบริษัท A ได้รับสิทธิประโยชน์ตามมาตรา36(1) บริษัท A จะเป็นผู้ส่งออกทางตรงหรือทางอ้อม

ขอเปลี่ยนตัวอย่างใหม่ A (BOI) -> B (BOI) -> C (BOI:ITC) -> export A และ B เป็นผู้ส่งออกทางอ้อม C เป็นผู้ส่งออกทางตรง

บริษัทได้รับส่งเสริมผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าและชิ้นส่วน จะสามารถรับจ้างพันคอยล์ได้หรือไม่ (คอยล์เป็นชิ้นส่วนที่บริษัทขายอยู่ด้วย)

การรับจ้างผลิตสินค้าที่ได้รับส่งเสริม และครบตามกรรมวิธีที่ได้รับส่งเสริม ถือเป็นการผลิตผลิตภัณฑ์ตามโครงการ โครงการนี้มีชิ้นส่วนหม้อแปลง รวมถึงคอยล์ เป็นผลิตภัณฑ์ตามโครงการด้วย ดังนั้นการรับจ้างพันคอยล์ จึงถือเป็นการผลิตตามโครงการ ซึ่งไม่ต้องขอแก้ไขโครงการเพื่อทำการรับจ้างผลิต

ถ้าบริษัทแก้ไขโครงการเพื่อเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ และแก้ไขกรรมวิธีการผลิตผลิตภัณฑ์เดิม บริษัทจะสามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตั้งแต่เมื่อไร

1. การแก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์ และการแก้ไขกรรมวิธีการผลิต จะระบุในการอนุมัติว่า ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ .........(วันที่ยื่นคำขอแก้ไขโครงการ)......... ดังนั้น จึงสามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่แก้ไข ได้ตั้งแต่วันที่ยื่นแก้ไขโครงการ

2. ส่วนการแก้ไขกรรมวิธีผลิต จะไม่ระบุในการอนุมัติว่า ทั้งนี้ ตั้งแต่เมื่อใด ดังนั้น จึงสามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่แก้ไขกรรมวิธีผลิต ย้อนหลังไปถึงวันที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมของโครงการนั้น

ในกรณีที่ A (Non-BOI) -> B(BOI) -> C(BOI) Bจะต้องนำข้อมูลการส่งออก (Report-V) เพื่อนำไปตัดบัญชีด้วยหรือไม่ และในกรณีนี้ จะตรงตามมาตราใด
ถ้า B ซื้อวัตถุดิบในประเทศจาก non-BOI B ไม่มีความจำเป็นต้องตัดบัญชีวัตถุดิบ
บริษัทขออนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักรไป มีเครื่องจักรอยู่ 1 รายการ (ไม่ได้รับการอนุมัติ) เนื่องจากเป็นเครื่องจักรที่อยู่ในข่าย Negative list * เครื่องจักรดังกล่าวเป็นเครื่องจักรหลักที่ใช้นับกำลังการผลิต ( เป็นเครื่องที่เป็นคอขวด ) อยากทราบว่าเมื่อบริษัทนำเข้าเครื่องจักรดังกล่าวมาใช้ในการผลิต (เสียภาษีอากรขาเข้าถูกต้อง และเดินพิธีการเรียบร้อย) 1. เครื่องจักรข้างต้นเป็นเครื่องจักรหลักที่ใช้นับกำลังการผลิตในโครงการได้ใช่หรือไม่ 2. เครื่องจักรนี้ สามารถใช้สิทธิภาษีเงินได้นิติบุคคลได้หรือไม่

เครื่องจักรที่จะนับเป็นการลงทุนของโครงการ และนับกำลังผลิตเพื่อใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล จะต้องเป็นไปตามนี้

1.เป็นเครื่องจักรที่ใช้ในกรรมวิธีการผลิตตามที่ได้รับส่งเสริม

2.เป็นเครื่องจักรใหม่

3.กรณีเป็นเครื่องจักรเก่า ต้องได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องจักรเก่าในโครงการ โดยเป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ และมีอายุไม่เกินกว่าที่กำหนดในบัตรส่งเสริม โดยมีใบรับรองประสิทธิภาพตามที่ BOI กำหนด

4.จะนำเข้าโดยใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าตามมาตรา 28 หรือไม่ก็ได้

กรณีที่สอบถาม หากถูกต้องตามเงื่อนไขข้างต้น ก็จะนับเป็นเครื่องจักรในโครงการ และนับกำลังผลิตเพื่อใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 31 ได้

การจะนำเครื่องจักรจำนองมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ในกรณีเป็นเครื่องจักรที่ขอคืนอากรภายหลัง และเครื่องจักรที่ได้สั่งปล่อยแบบปกติ

การขอจำนองเครื่องจักรที่สั่งปล่อยคืนอากร และสั่งปล่อยปกติ มีขั้นตอนเหมือนกัน คือ ยื่นหนังสือถึงสำนักบริหารการลงทุน หรือศูนย์เศรษฐกิจการลงทุน ที่รับผิดชอบโครงการของบริษัท ประกอบด้วย

หนังสือหัวจดหมายบริษัทฯ เรื่อง ขออนุญาตจำนองเครื่องจักรที่ได้ใช้สิทธิตามบัตรส่งเสริม (ไม่มีแบบฟอร์ม พิมพ์ขึ้นได้เอง)

แบบคำขออนุญาตจำนองเครื่องจักรที่ได้ใช้สิทธิตามบัตรส่งเสริม (F IN MC 02) ไม่ต้องแนบรายการเครื่องจักรที่ขอจำนอง ระบุเพียงแค่ชื่อที่อยู่ของบริษัทรับจำนองเท่านั้น เมื่อได้รับอนุมัติจาก BOI แล้ว จึงจะสามารถนำเครื่องจักรที่ใช้สิทธิตามบัตรส่งเสริม ไปจำนองได้

ถึงแม้ว่าจะส่งให้กับ C ที่เป็น BOI ใช่หรือไม่

ใช่ การตัดบัญชี คือ การตัดภาระภาษีวัตถุดิบที่นำเข้าโดยใช้สิทธิมาตรา 36 ว่าได้มีการส่งออกไปต่างประเทศแล้ว หากบริษัทไม่เข้าใจสิทธิประโยชน์และหลักเกณฑ์การใช้สิทธิมาตรา 36 และการตัดบัญชี ควรเข้าอบรมคอร์สวัตถุดิบที่สมาคม IC จัดขึ้นเป็นประจำ เพื่อไม่ให้ปฏิบัติผิดพลาด

บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตเปิดดำเนินการแล้ว จะยังสามารถแก้ไขโครงการเพื่อแก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์ เพิ่มกำลังผลิต หรือแก้ไขกรรมวิธีการผลิต ได้หรือไม่

โครงการที่ได้รับใบอนุญาตเปิดดำเนินการแล้ว จะแก้ไขโครงการได้เฉพาะกรณีที่ไม่มีการลงทุนเพิ่มเติมเท่านั้น เช่น

- เพิ่มกำลังผลิต โดยการเพิ่มเวลาทำงาน

- เพิ่มชนิดผลิตภัณฑ์ ภายใต้กำลังผลิตเดิม โดยไม่ต้องลงทุนเครื่องจักรเพิ่ม เป็นต้น

ยกเว้นอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า และชิ้นส่วน ตามประกาศ กกท ที่ 6/2549 จะสามารถนำเครื่องจักรเข้ามาปรับปรุงโครงการ หรือเพิ่มกำลังผลิตได้ แม้จะเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้วก็ตาม

บริษัทได้รับส่งเสริมผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป 1 โครงการ และต่อมาได้รับส่งเสริมโครงการที่ 2 เพื่อผลิตชิ้นส่วนป้อนให้กับโครงการที่ 1 อยากทราบว่ากรณีนี้ เมื่อมองจากโครงการที่ 1 จะถือว่าเป็นการใช้เครื่องจักรร่วมกันกับโครงการที่ 2 หรือถือว่าเป็นการใช้ชิ้นส่วนสำเร็จรูป ถ้าใช่กรณีใดกรณีหนึ่ง จะต้องขออนุญาตจาก BOI ก่อนหรือไม่

หากผลิตภัณฑ์ในโครงการที่ 2 เป็นชิ้นส่วนตามกรรมวิธีการผลิตของโครงการที่ 1 ก็สามารถตั้งบัญชีซื้อขายภายในบริษัทได้เลย โดยไม่ต้องขออนุญาตจาก BOI เพราะไม่ได้เป็นการใช้เครื่องจักรร่วมกัน เหตุผลคือ โครงการที่ 1 ไม่มีขั้นตอนการผลิตชิ้นส่วนดังกล่าว จึงต้องจัดซื้อมาใช้ ซึ่งจะซื้อจากโครงการที่ 2 ก็ได้ ส่วนโครงการที่ 2 เมื่อผลิตชิ้นส่วนตามที่ได้รับส่งเสริมแล้ว จะขายให้กับใครก็ได้ และก็สามารถขายให้โครงการที่ 1 ได้เช่นกัน

การซื้อขายนี้ภายในบริษัทเช่นนี้ มีข้อควรระวังคือ การขายภายในบริษัท ต้องขายในราคาต้นทุน

- ดังนั้น โครงการที่ 2 ซึ่งขายให้โครงการที่ 1 จะไม่มีกำไร

- กำไรทั้งหมด จะไปลงบัญชีตอนที่จำหน่ายให้บริษัทอื่น คือจะลงบัญชีเป็นกำไรของโครงการที่ 1 การตัดบัญชี จะต้องแยกตัดเป็นส่วนๆ คือโครงการที่ 1 ตัดบัญชีก่อน แล้วโอนสิทธิตัดบัญชีส่วนที่ซื้อจากโครงการที่ 2 ไปให้โครงการที่ 2 เพื่อนำไปตัดบัญชีต่อไป

สอบถามขั้นตอนและวิธีปฏิบัติการขอปริมาณสต๊อคสูงสุดสำหรับครั้งแรกว่าต้องทำอย่างไรบ้าง บริษัทฯ ได้รับการส่งเสริมฯกิจการ ผลิตชิ้นส่วนสำหรับอุปกรณ์โทรคมนาคมแบบใยแสงนำแก้ว เช่น Patch Cord, Plug-Housing และ Adapter ประเภท 5.4.3.2 กิจการผลิตชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์สำหรับอุปกรณ์โทรคมนาคมอื่นๆ เมื่อวันที่ 8 พ.ย.60 รบกวนสอบถามดังนี้ 1. รายการวัตถุดิบทั้งหมดที่ใช้ในโครงการฯ ต้องเป็นModel และหรือรุ่นเดียวกับที่ยื่นขอรับการส่งเสริมฯ หรือไม่ เพราะรายการวัตถุดิบที่ใช้ยื่นตอนขอรับการส่งเสริมฯ มี 5 รายการ แต่รายการวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตจริงมีประมาณ 39 รายการ 2. Model และหรือรุ่นที่ใช้ยื่นขอปริมาณสต๊อคฯ ครั้งแรกใช่กี่ Model และหรือกี่รุ่น 3. รายการวัตถุดิบฯที่ขอครั้งแรกต้องขอครบทุกรายการหรือไม่ เพราะ บาง Model และหรือรุ่น ใช้รายการวัตถุดิบไม่เหมือนกัน

1. รายการวัตถุดิบที่จะยื่นขออนุมัติ Max Stock ไม่จำเป็นต้องตรงกับรายการที่ยื่นไว้ในคำขอรับการส่งเสริม แต่จะต้องเป็นวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้รับส่งเสริม และใช้ในกรรมวิธีการผลิตตามที่ได้รับอนุมัติ

2. โมเดลที่จะยื่นประกอบการขออนุมัติ Max Stock จะยื่นกี่โมเดลก็ได้

3. Max Stock ที่ยื่นขอครั้งแรก จะมีวัตถุดิบไม่ครบทุกรายการ และมีปริมาณไม่เต็มกำลังผลิต 6 เดือนก็ได้ แต่หากมีข้อมูลเพียงพอ ควรยื่นขอ Max Stock เต็มกำลังผลิต 6 เดือน และครอบคลุมวัตถุดิบทุกรายการ เพื่อจะได้ไม่ต้องแก้ไข Max Stock บ่อยๆ

ถ้ากรณีนำเครื่องจักรเข้าจากต่างประเทศ แต่ไม่ได้ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร (คือนำเข้าแบบเสียภาษีและอากร) แต่เครื่องจักรอยู่ในโครงการที่ได้รับการส่งเสริม ทางบริษัทมีความประสงค์จะจำนองเครื่องจักร ต้องแจ้งทางบีโอไอไหม และถ้ายื่นเรื่องจำนอง จะทำเรื่องขอคืนอากรขาเข้าเครื่องจักรภายหลังได้ไหม
1.เครื่องจักรที่นำเข้าโดยชำระภาษี หากจะนำไปจำนอง ไม่ต้องขออนุญาต BOI

2.หลังจากจำนองแล้ว จะขอสั่งปล่อยคืนอากรได้หรือไม่ / และหากสั่งปล่อยคืนอากรได้ จะขออนุญาตจำนองโดยมีผลย้อนหลัง หรือไม่นั้น

ข้อนี้ให้คำตอบไม่ได้ เพราะไม่มีแนวปฏิบัติที่สามารถนำมาอ้างอิงได้เพื่อป้องกันปัญหา น่าจะยื่นขอสั่งปล่อยคืนอากรก่อน แล้วจึงขออนุญาตจำนองต่อไป

ซึ่งหากภายหลังเปลี่ยนใจจะไม่ใช้สิทธิ ก็สามารถยกเลิกการส่งปล่อยคืนอากร (กรณียังไม่ได้ใช้สิทธิ) หรือขอชำระภาษีตามสภาพ (กรณีใช้สิทธิไปแล้ว) ก็ได้

ขออภัยครับ ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ในภาษาที่ท่านเลือก !

Sorry, There is no information support your selected language !

Download และ ติดตั้งโปรแกรมอ่าน PDF

Download PDF Reader

Site map