Chat
x
toggle menu
toggle menu

Select Groups

All Group
  • All Group
  • นโยบายเเละมาตรการพิเศษในการส่งเสริม
  • การขอรับการส่งเสริมการลงทุน
  • การออกบัตรส่งเสริม
  • การเปิดดำเนินการ
  • การเเก้ไขโครงการ
  • การดำเนินการอื่น ๆ
  • การรายงานความคืบหน้าโครงการ (e-Monitoring)
  • การปฏิบัติหลังการได้รับการส่งเสริม
  • การยกเลิกบัตรส่งเสริม
  • เรื่องทั่วไป
  • การใช้สิทธิด้านที่ดิน
  • การใช้สิทธิด้านเครื่องจักร
  • การใช้สิทธิด้านช่างฝีมือ/ต่างด้าว
  • การใช้สิทธิด้านวัตถุดิบ
  • ประเภทกิจการ - การแพทย์
  • การใช้สิทธิด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ประเภทกิจการ - รถยนต์ไฟฟ้า
  • ประเภทกิจการ - ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (IBC) IPO และ TISO
  • ประเภทกิจการ - โรงแรม
  • ประเภทกิจการ - ผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ
  • ประเภทกิจการ - กิจการผลิตเครื่่องจักร อุุปกรณ์และชิ้นส่วน
  • ประเภทกิจการ - กิจการศูนย์กระจายสินค้าระหว่า ประเทศด้วยระบบที่่ทันสมัย (IDC)
วัตถุดิบบางรายการ ผู้ว่าจ้างจะส่งมาให้ แต่วัตถุดิบบางรายการ เป็นของบริษัทเราเอง อยากทราบว่าทางบริษัทจะต้องทำอย่างไรบ้าง

การรับจ้างผลิตครบขั้นตอน จะใช้วัตถุดิบจากผู้ว่าจ้างบางส่วน และใช้วัตถุดิบของบริษัทเองบางส่วนก็ได้ เพียงแต่เมื่อผู้ว่าจ้างนำไปผลิตส่งออก ก็ต้องโอนสิทธิตัดบัญชีมาให้กับผู้รับจ้างอย่างถูกต้องด้วย

การใช้สิทธิประโยชน์ BOI กับ Free Zone ขอความรู้เกี่ยวกับ แบบฟอร์ม ก ศก. 122 คือ ปัจจุบัน บริษัทฯ มีขายสินค้าให้กับลูกค้าที่อยู่ในเขตประกอบการค้าเสรี FREE ZONE โดยการจัดทำใบขนสินค้าขาออก type D และตัดบัญชีวัตถุดิบปกติ แต่ทางลูกค้าต้องให้บริษัทฯ ใช้ แบบฟอร์ม ก ศก. 122 แทนการเดินพิธีการใบขนสินค้า รบกวนสอบถาม 1. บริษัทฯ สามารถใช้ แบบฟอร์ม ก ศก. 122 แทนการเดินพิธีการใบขนสินค้า ได้หรือไม่ 2. ถ้าใช้ได้ ในการตัดบัญชีวัตถุดิบ บริษัทฯ ต้องดำเนินอย่างไร และใช้เอกสารอะไรในการตัดบัญชีวัตถุดิบเนื่องจากบริษัทฯมีการใช้วัตถุดิบที่นำเข้ามาผลิต โดยใช้สิทธิ BOI
แบบฟอร์ม ก ศก 122 เป็นการขอนำสินค้าเข้าไปในเขต FREE ZONE แต่ไม่ใช่การผ่านพิธีการขาออก จึงยังไม่ถือว่าสินค้านั้นหมดภาระภาษีจากการส่งไปยังเขต FREE ZONE และไม่สามารถนำแบบฟอร์ม ก ศก 122 มาตัดบัญชีวัตถุดิบตามมาตรา 36 ได้
เนื่องจากแบบฟอร์ม ก ศก 122 เป็นข้อกำหนดของกรมศุลกากร จึงควรตรวจสอบกับกรมศุลกากรอีกครั้ง
การใช้สิทธิยกเว้นภาษี
ขอสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการใช้สิทธิยกเว้นภาษี ต่อไปนี้
1. ตามบัตรส่งเสริมระบุว่า "ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมมีกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่วันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการนั้น" ขอสอบถามว่า บริษัทฯ ได้เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการและมีกำไรที่ต้องเสียภาษีแล้ว ซึ่งในการใช้สิทธิยกเว้นภาษีนี้ จำเป็นต้องดำเนินการตามเงื่อนไขเฉพาะโครงการให้ครบถ้วนหรือไม่ ถึงสามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีได้ หรือได้รับอนุมัติให้ได้รับการยกเว้นภาษีหรือไม่
2. ในกรณีที่บริษัทไม่ได้รับอนุมัติให้ใช้สิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเนื่องจากดำเนินการ ไม่ครบในเงื่อนไขเฉพาะโครงการ (ในส่วนของขนาดการลงทุน) ขอสอบถามว่าในการยื่นภาษีประจำปี ในแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 50 นั้น ต้องระบุรายการในช่องใด เพราะกิจการของบริษัทฯ เป็นกิจการที่ได้รับสิทธิการยกเว้นภาษี แต่ไม่ได้รับอนุมัติให้ใช้สิทธิ

1. การใช้สิทธิภาษีเงินได้ มีเงื่อนไขคือ ต้องมีการลงทุนไม่น้อยกว่าขนาดการลงทุนขั้นต่ำของโครงการ (ปกติคือไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) และต้องเป็นรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม ปริมาณไม่เกินกำลังการผลิตที่ได้รับส่งเสริม และมีกรรมวิธี การผลิตตามที่ได้รับส่งเสริม จากกรณีที่สอบถาม ไม่แน่ใจว่าที่บริษัทเข้าใจว่าดำเนินการตามเงื่อนไขเฉพาะโครงการไม่ครบถ้วน หมายถึงในข้อใด ยกตัวอย่าง เช่น หากบริษัทไม่มีการลงทุนเครื่องจักรในขั้นตอนที่เป็นสาระสำคัญ หรือมีขนาดการลงทุนต่ำกว่า 1 ล้านบาท จะถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม แต่ปฏิบัติผิดเงื่อนไข ไม่สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีได้ แต่ระยะเวลาการใช้สิทธิยกเว้นภาษี จะเริ่มนับตั้งแต่วันที่มีจำหน่ายผลิตภัณฑ์นั้นแล้ว

2. หรือหากบริษัทจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกับที่ได้รับส่งเสริม แต่เป็นการซื้อมาจำหน่าย (ซื้อมา-ขายไป : trading) กรณีนี้อาจพิจารณาว่า ไม่ใช่การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม ระยะเวลาการใช้สิทธิยกเว้นภาษี จึงจะยังไม่เริ่มนับจากการเริ่มจำหน่ายผลิตภัณฑ์แบบซื้อมา-ขายไปนี้ เป็นต้น

3. กรณีที่ BOI พิจารณาว่ารายได้ที่ขอใช้สิทธิฯ เป็นรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการส่งเสริม แต่ไม่อนุญาตให้ใช้สิทธิ เนื่องจากผิดเงื่อนไขสำคัญ การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 50 บันทึกเป็นรายได้ในกิจการที่ต้องเสียภาษีเงินได้

ตอนนำวัตถุดิบเข้ามาได้จ่ายภาษีไปก่อน เพราะคิดว่าวัตถุดิบตัวนี้เราจะขายในประเทศ และใบขนก็ไม่ได้ ระบุข้อความว่า สงวนสิทธิ์ BOI ขอคืนอากรภายหลัง ภายหลังได้ผลิตและส่งออกเข้าเขต FZ ถามว่าเราจะขอสั่งปล่อยขอคืนอากรได้ไหม (วัตถุดิบตัวนี้ได้ยื่นสูตร และ Max Stock ในฐานข้อมูลแล้ว)

ปกติการนำเข้าสินค้าโดยชำระภาษีและขอสงวนสิทธิคืนอากร จะต้องยื่นคำร้องต่อกรมศุลฯ ตั้งแต่ตอนที่นำเข้า หากบริษัทฯขอสั่งปล่อยคืนอากรวัตถุดิบรายการที่นำเข้ามาโดยไม่ได้ยื่นสงวนสิทธิคืนอากรไว้ BOI จะพิจารณาว่าวัตถุดิบดังกล่าวเป็นรายการที่ได้รับอนุมัติตามบัญชี และนำเข้าในช่วงที่ได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าตามมาตรา 36 หรือไม่ หากใช่ จะมีหนังสือแจ้งสั่งปล่อยคืนอากรไปยังกรมศุลฯ แต่ทั้งนี้ การพิจารณาคืนอากรจะขึ้นอยู่กับกรมศุลกากร

กรณีที่เราซื้อชิ้นงานจากผู้ผลิตในประเทศ แต่เรานำ Casting tool ส่งไปให้ผู้ผลิตหล่อชิ้นงานให้เพื่อขายให้เรา เนื่องจากชิ้นงานที่เราสั่งทำค่อนข้างเป็นงานเฉพาะ ไม่มีผลิตทั่วๆไป Casting tool ที่ส่งไปซื้อในประเทศ แบบนี้จะสามารถนับเป็นเงินลงทุนได้หรือไม่ ถ้าได้ บริษัทต้องทำเรื่องขออนุญาตบีโอไอขอนำ Casting tool ไปให้ผู้อื่นผลิตหรือไม่

1.หากกรรมวิธีการผลิตที่ได้รับการส่งเสริม มีขั้นตอนการนำ Tool ไปว่าจ้างให้ผู้อื่นผลิตชิ้นงานให้กับผู้ได้รับส่งเสริม ก็สามารถนับมูลค่า Tool นั้น เป็นมูลค่าการลงทุนของโครงการที่ได้รับส่งเสริมได้ คำถามคำตอบที่ใกล้เคียงกันมีอยู่ในคำถามอื่นตาม Link : http://www.faq108.co.th/board/index.php?action=viewtopic&topicid=261

2.กรณีที่กรรมวิธีการผลิตที่ได้รับส่งเสริมมีขั้นตอนตามข้อ 1 และบริษัทนำเข้า Tool ดังกล่าวจากต่างประเทศโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรตามมาตรา 28 ตามหลักเกณฑ์เดิม ก่อนจะนำ Tool ออกนอกโรงงานเพื่อไปว่าจ้างผู้อื่นผลิตชิ้นงาน จะต้องได้รับอนุญาตจาก BOI ก่อน แต่ตามหลักเกณฑ์ปัจจุบัน เข้าใจว่าหากเป็นการนำออกไปว่าจ้างตามกรรมวิธีผลิตที่ได้รับส่งเสริม ก็ไม่ต้องขออนุญาต BOI ก่อนนำ Tool ออกนอกโรงงาน จะตรวจสอบข้อมูล และแจ้งคำตอบอีกครั้งหนึ่ง

1. กรรมวิธีการผลิตของบริษัทคือซื้อวัตถุดิบมาประกอบเท่านั้น รับคำสั่งซื้อ ออกแบบ จัดซื้อชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่างๆ และตรวจสอบ นำชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่างๆ มาประกอบตามแบบ ปรับตั้งอุปกรณ์และปรับตั้งค่าต่างๆ ทดสอบการทำงาน ตรวจสอบคุณภาพ บรรจุ และจัดส่ง 2.Casting tool ที่ส่งไปบริษัทไม่ได้นำเข้าค่ะ เราซื้อในประเทศ แล้วส่งไปให้ผู้ผลิตทำการผลิตงานให้ตามที่เราต้องการ แสดงว่ากรณีแบบนี้จะถือว่า Casting tool นี้ ไม่ใช่เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต แล้วสามารถนับเป็นทรัพย์สินอื่นๆ เพื่อนับเงินลงทุนได้หรือไม่

1.ตามกรรมวิธีที่ได้รับส่งเสริม เป็นการออกแบบ และจัดซื้อชิ้นส่วนมาประกอบ ไม่มีขั้นตอนการนำ Casting Tool ไปว่าจ้างซัพพลายเออร์ให้ผลิตชิ้นส่วน Casting Tool จึงไม่เป็นเครื่องจักรในโครงการที่ได้รับส่งเสริม และไม่นับเป็นเงินการลงทุนของโครงการนั้น หากต้องการนับเป็นเงินลงทุนเครื่องจักรในโครงการ จะต้องยื่นแก้ไขกรรมวิธีการผลิตต่อ BOI เพื่อเพิ่มขั้นตอนการนำ Casting Tool ไปว่าจ้างผลิตด้วย

2.Casting Tool เป็นเงินลงทุนในข่ายเครื่องจักร หาก BOI ไม่อนุญาตให้นับรวมเป็นการลงทุนในข่ายเครื่องจักรตามข้อ 1 ก็จะไม่นับรวมเป็นการลงทุนในข่ายสินทรัพย์อื่นๆ

บริษัทฯ ได้รับบัตรส่งเสริมจาก BOI และอยู่ระหว่างการขออนุมัติบัญชีรายการวัตถุดิบ แต่บริษัทฯ มีความจำเป็นต้องนำวัตถุดิบเข้ามาเพื่อการผลิตโดยเร่งด่วน จะต้องดำเนินการอย่างไร
สามารถดำเนินการได้ 2 วิธี คือ

ชำระภาษีอากรไปก่อน แล้วจึงขอคืนในภายหลัง

- สามารถชำระภาษีอากรต่อกรมศุลกากร เพื่อนำของออกมาได้ โดยไม่ต้องยื่นเรื่องต่อ BOI หรือสมาคม IC

- วัตถุดิบที่จะขอคืนอากรได้ จะต้องไม่นำเข้ามาก่อนวันที่โครงการนั้นได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม และต้องเป็นรายการที่ได้รับอนุมัติบัญชีปริมาณวัตถุดิบ

ใช้หนังสือของธนาคารเพื่อค้ำประกันภาษีอากร

- ต้องยื่นเรื่องต่อ BOI เพื่อขออนุญาตใช้ธนาคารค้ำประกันแทนการชำระภาษีอากร

- นำหนังสืออนุมัติจาก BOI และหนังสือค้ำประกันภาษีอากรไปยื่นต่อกรมศุลกากร เพื่อนำของออกมา โดยยังไม่ต้องชำระภาษีอากร

ทั้ง 2 กรณีข้างต้นนี้ เมื่อบริษัทได้รับอนุมัติบัญชีรายการวัตถุดิบเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะต้องยื่นขอสั่งปล่อยเพื่อขอคืนอากร หรือสั่งปล่อยเพื่อถอนการใช้ธนาคารค้ำประกัน โดยให้ยื่นเรื่องขอสั่งปล่อยดังกล่าวผ่านทางสมาคม IC ต่อไป

การใช้สิทธิและประโยชน์หักค่าไฟฟ้าและประปาเป็นค่าใช้จ่ายสองเท่าตามมาตรา 35(2)

สำนักงานกำหนดให้การใช้สิทธิและประโยชน์หักค่าไฟฟ้าและประปาเป็นค่าใช้จ่ายสองเท่าตามมาตรา 35(2) หากกิจการมีการใช้ไฟฟ้าหรือประปาเป็นวัตถุดิบทางตรงในการผลิตชนิดผลิตภัณฑ์ที่ระบุใน บัตรส่งเสริม ย่อมไม่สามารถใช้สิทธิและประโยชน์หักเป็นค่าใช้จ่ายสองเท่าได้ โดยพิจารณาจากชนิดผลิตภัณฑ์และประเภทกิจการได้รับการส่งเสริม ตัวอย่างข้อหารือ ดังนี้

1. บริษัทได้รับการส่งเสริมการลงทุนการผลิต ETHYLENE, PROPYLENE ประเภทกิจการการผลิตผลิตภัณฑ์เคมี, การจัดสร้างศูนย์บริการสาธารณูปโภค ประเภทกิจการศูนย์บริการสาธารณูปโภคสำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี, การผลิตไฟฟ้า ประเภทกิจการผลิตพลังงานไฟฟ้าและไอน้ำ โดยในการประกอบกิจการบริษัทมีการซื้อน้ำดิบจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อใช้ในการผลิตน้ำประเภทต่างๆ ซึ่งน้ำประปาที่ได้ส่วนใหญ่ใช้ในกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ตามโครงการ และสาธารณูปโภคของบริษัท นอกจากนี้ บริษัทยังมีการผลิตไฟฟ้าขึ้นเองเพื่อใช้ในกิจการ เนื่องจากในระยะเริ่มแรกการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ไม่สามารถส่งไฟฟ้าให้ได้ตามความต้องการ

แนววินิจฉัย ค่าน้ำดิบที่บริษัทซื้อจากการนิคมอุตสาหกรรมฯ และค่าไฟฟ้าที่บริษัทผลิตขึ้นเอง เพื่อใช้ในกิจการที่ได้รับการส่งเสริมนั้น สามารถใช้สิทธิและประโยชน์ตามมาตรา 35(2) ได้ โดยต้องจัดทำบัญชีแยกประเภทสำหรับรายการค่าใช้จ่าย เพื่อประโยชน์ในการใช้สิทธิตามมาตราดังกล่าว แต่หากกิจการใดมีการใช้น้ำดิบ และไฟฟ้า เป็นวัตถุดิบในการประกอบกิจการโดยตรงตามที่ระบุไว้ในบัตรส่งเสริมบริษัทย่อมไม่สามารถใช้สิทธิและประโยชน์ตามมาตรา 35(2) ได้

2. บริษัทได้รับการส่งเสริมในกิจการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี กิจการผลิตไฟฟ้าและไอน้ำ การประปาหรือน้ำเพื่ออุตสาหกรรม ฯลฯ ในการดำเนินกิจการ บริษัทได้รับน้ำดิบจากอ่างเก็บน้ำดอกกราย โดยน้ำดิบจะถูกส่งเข้ายังหน่วยปรับปรุงคุณภาพ เมื่อผ่านการปรับปรุงสภาพแล้วจะถูกส่งเข้าไปยังหน่วยผลิตต่างๆ เช่น

- หน่วยผลิตน้ำประปา ซึ่งเป็นหน่วยผลิตน้ำสำหรับใช้ในการอุปโภคและบริโภค

- ระบบผลิตน้ำหล่อเย็น ซึ่งเป็นระบบน้ำหล่อเย็นที่ใช้ในการระบายความร้อนจากกระบวนการผลิตและระบบสาธารณูปโภค

- ระบบผลิตน้ำ DEMINERALIZATION WATER SUPPLY เป็นระบบน้ำที่ปราศจากแร่ธาตุใช้ในการป้อนเข้าระบบ BOILER เพื่อผลิตไอน้ำสำหรับใช้ในกระบวนการผลิต

แนววินิจฉัย การหักค่าประปาเป็นสองเท่าของจำนวนเงินที่ผู้ได้รับการส่งเสริมเสียไปเป็นค่าใช้จ่ายในการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมนั้น ต้องเป็นค่าใช้จ่ายในด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่ได้กำหนดไว้ตามมาตรา ๓๕(๒) แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 เท่านั้น ดังนั้น การที่บริษัทมีค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงคุณภาพน้ำให้เหมาะสมกับการใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ตามโครงการที่ได้รับการส่งเสริม เช่น ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี การผลิตไฟฟ้า เป็นต้น โดยขั้นตอนการปรับปรุงคุณภาพน้ำจะต้องอยู่ในขั้นตอนการผลิตที่ได้รับอนุมัติสำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์นั้นๆ จึงถือเป็นค่าใช้จ่ายตามความหมายของมาตรา ๓๕(๒) แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงการปรับปรุงคุณภาพน้ำเพื่อผลิตเป็นน้ำเพื่อการอุตสาหกรรมเพื่อจำหน่าย

3. บริษัทได้รับการส่งเสริมการลงทุนในกิจการผลิต AMMONIUM SULFATE (AMS), ACETONE CYANOHYDRIN (ACH), METHYL METHACRYLATE (MMA), ACRYLONITRILE (AN) และไอน้ำ โดยในการประกอบกิจการบริษัทมีการใช้น้ำสะอาด คือ CLARIFIED WATER ในระบบหล่อเย็น และ DEMINERALIZED WATER ในการผลิตไอน้ำ เนื่องจากคุณสมบัติมีความพิเศษเหมาะสำหรับใช้ในกระบวนการผลิตอุตสาหกรรมปิโตรเคมี กรณีดังกล่าวบริษัทสามารถนำค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำสะอาด มาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมตามมาตรา 35(2) ได้หรือไม่

แนววินิจฉัย กรณีที่บริษัทได้รับสิทธิและประโยชน์ตามมาตรา 35(2) โดยได้รับอนุญาตให้หักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า และค่าประปาสองเท่าของค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นระยะเวลาสิบปี นับแต่วันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการ ดังนั้น การที่บริษัทฯ ซื้อน้ำสะอาด CLARIFIED WATER และ DEMINERALIZED WATER มาเพื่อใช้ในกิจการที่ได้รับการส่งเสริม บริษัทฯ ย่อมสามารถใช้สิทธิและประโยชน์หักค่าประปาเป็นสองเท่าของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงในการซื้อน้ำสะอาดนั้น แต่หากกิจการนำน้ำสะอาดดังกล่าวมาเป็นวัตถุดิบทางตรงในการผลิตชนิดผลิตภัณฑ์ตามที่ระบุไว้ในบัตรส่งเสริม ย่อมไม่สามารถใช้สิทธิและประโยชน์หักค่าประปาเป็นสองเท่าตามมาตรา ๓๕(๒) ได้

4. นอกจากนี้การใช้สิทธิและประโยชน์อื่นตามมาตรา 25 ได้มีประกาศสำนักงาน ที่ ป.4/2537 ลงวันที่ 3 มีนาคม 2537 ดังนี้

(1) การอนุญาตให้หักค่าขนส่งสองเท่าตามมาตรา 35(2) โดยหักได้เฉพาะค่าขนส่งภายในประเทศเท่านั้น

(2) การอนุญาตให้หักเงินที่ผู้ได้รับการส่งเสริมลงทุนในการติดตั้งหรือก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมตามมาตรา 35(3) ให้หักได้เฉพาะค่าใช้จ่าย ดังนี้

(2.1) ค่าติดตั้งหรือก่อสร้างระบบคมนาคม เช่น ถนน ท่าเทียบเรือ ทางรถไฟ และการวางท่อสำหรับการขนส่ง เป็นต้น

(2.2) ค่าติดตั้งหรือก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับกิจการที่ได้รับการส่งเสริม เช่น ระบบไฟฟ้า (การปักเสา พาดสาย) ระบบน้ำเพื่อการอุตสาหกรรม (การวางท่อ) เป็นต้น

การกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มควบรวมกิจการ: ข้อมูลเครื่องจักรที่ต้องกรอกในแบบฟอร์มการควบรวมกิจการ ให้กรอกเฉพาะเครื่องจักรที่ยังไม่ได้นำเข้ามา (ยังไม่ได้ใช้สิทธิ) ใช่หรือไม่ (11 พ.ย. 2564)
การยื่นคำขอรับโอนกิจการ (กรณีรับโอนทั้งโครงการ) ให้ยื่นคำร้องโดยมีข้อมูลหลักๆ เหมือนกับโครงการของผู้โอนที่เคยยื่นขอรับส่งเสริมไว้เดิม โดยระบุรายการเครื่องจักรที่ขอรับโอนทั้งหมดจากผู้โอน
เราใช้สิทธิ์ยกเว้นภาษีอากรตอนนำเข้ามา แต่ตอนที่เรารับจ้างผลิต ได้ใช้วัตถุดิบของเราด้วย แล้วเวลาขายสินค้าให้กับผู้ว่าจ้าง ตอนที่เปิดบิลขาย เค้าให้แยกเป็น 2 บิล คือ 1. ค่ารับจ้างผลิต กับ 2. ค่าวัตถุดิบ อยากทราบว่าวัตถุดิบที่เราขายไปจะมีความผิดกับทาง BOI หรือเปล่า แต่บริษัทที่เค้ามาจ้างให้เราผลิตสินค้าตัวนี้เค้าส่งออก ไม่ได้ขายในประเทศ จะถือว่าเป็นการส่งออกทางอ้อมได้หรือเปล่า

การเปิดบิล 2 ใบ เป็นค่าวัตถุดิบ และค่าว่าจ้างผลิต สามารถมองได้ว่า ผู้ว่าจ้างซื้อวัตถุดิบจากเรา แล้วก็นำวัตถุดิบนั้น + วัตถุดิบของผู้ว่าจ้าง มาจ้างให้เราผลิตเป็นสินค้า ซึ่งการนำวัตถุดิบที่นำเข้าโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีไปจำหน่ายนั้น เป็นการปฏิบัติเงื่อนไขของ BOI จึงควรรวมบิลเป็นค่าผลิตสินค้า โดยรวมค่าวัตถุดิบเข้าไปด้วย จะเหมาะสมกว่า สำหรับการรับจ้างผลิตให้กับผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างนำไปส่งออก สามารถทำได้ คือเป็นการส่งออกทางอ้อม ซึ่งไม่ขัดกับเงื่อนไขของ BOI

การรับจ้างผลิต ไม่ครบกระบวนการ ในกรณีเครื่องจักรที่หมดภาระภาษีแล้ว ต้องขออนุญาตใช้เครื่องจักรเพื่อการอื่นหรือไม่

เครื่องจักรที่นำเข้าโดยได้รับสิทธิยกเว้น/ลดหย่อนภาษี จะต้องใช้ในโครงการที่ได้รับส่งเสริม หากจะนำไปใช้เพื่อการอื่น จะต้องได้รับอนุญาตก่อน เครื่องจักรที่นำเข้ามาเกิน 5 ปีโดยปฏิบัติตามเงื่อนไขถูกต้อง เมื่อได้รับอนุญาตตัดภาระภาษีแล้ว ก็ยังคงต้องใช้ในโครงการที่ได้รับส่งเสริมต่อไป ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักรที่หมดภาระภาษีแล้วหรือไม่ หากจะนำไปรับจ้างผลิตไม่ครบขั้นตอน ก็ต้องได้รับอนุญาตจาก BOI ก่อน

บริษัทฯ ได้รับการส่งเสริมในเรื่อง การบริการซ่อมแซมแท่นลอยขุดเจาะนำมัน คราวนี้ต้องนำแท่นลอยเข้ามา ซึ่งจะสามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางด้านบีโอไอได้หรือเปล่า เพราะไม่แน่ใจว่าแท่นลอยที่เข้ามาเพื่อซ่อมต้องเสียภาษีหรือเปล่า ใช้สิทธิ์ ม36(2) ได้หรือเปล่า

หากบริษัทได้รับส่งเสริมในกิจการให้บริการ "ซ่อมแท่นลอย" "แท่นลอย" ที่นำเข้ามา ก็ถือเป็นวัตถุดิบของโครงการ ซึ่งสามารถสั่งปล่อยโดยยกเว้นอากรตามมาตรา 36(1) ได้ ซึ่งเมื่อซ่อมเสร็จต้องส่งไปต่างประเทศ

ส่วนมาตรา 36 (2) นั้น ใช้สำหรับ "ของ" ที่นำเข้ามาเพื่อส่งออก โดยไม่ผ่านกระบวนการผลิต เช่น ของตัวอย่าง ที่เอามาเป็นต้นแบบ ฯลฯ ดังนั้น จึงจะใช้มาตรา 36 (2) กับ "แท่นลอย" ที่นำเข้ามาซ่อม = ผ่านกระบวนการผลิตไม่ได้

บริษัทมีความประสงค์จะนำเข้า แม่พิมพ์สำหรับฉีดชิ้นงานพลาสติก (บริษัทไม่ได้มีเครื่องจักรสำหรับฉีดพลาสติก) จึงจำเป็นจะต้องจ้าง Supplier ฉีดชิ้นส่วนพลาสติกนี้ให้ คำถาม คือ 1. บริษัทสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีอากร ตามมาตรา 28 ได้หรือไม่ 2. แม่พิมพ์นี้ สามารถใช้เป็น CAP วงเงิน เพื่อใช้สิทธิตามมาตรา 31 ได้หรือไม่

การจะนำเข้าเครื่องจักร ชิ้นส่วน แม่พิมพ์ เข้ามาโดยขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากร => เครื่องจักร ชิ้นส่วน แม่พิมพ์ นั้น ต้องสอดคล้องกับกรรมวิธีการผลิตที่ได้รับส่งเสริม เช่น หากกรรมวิธีผลิต มีขั้นตอนฉีดชิ้นส่วนพลาสติก ก็สามารถขอนำเข้าเครื่องฉีดพลาสติก และแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก เข้ามาโดยได้รับยกเว้นภาษีอากรได้ แต่หากกรรมวิธีผลิต ไม่มีขั้นตอนฉีดพลาสติก ก็ไม่สามารถขอนำเข้าแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก โดยยกเว้นภาษีอากรได้

1. กรณีที่กรรมวิธีผลิตที่ได้รับส่งเสริม ไม่มีขั้นตอนฉีดพลาสติก แต่บริษัทต้องการนำเข้าแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก เพื่อว่าจ้างผู้อื่นให้ฉีดชิ้นส่วนพลาสติกให้ สามารถขอแก้ไขกรรมวิธีผลิต เพิ่มขั้นตอนการนำแม่พิมพ์ไปว่าจ้างผู้อื่นให้ฉีดชิ้นส่วนพลาสติกบางรายการให้ ซึ่งเมื่อได้รับอนุมัติ จะสามารถนำเข้าแม่พิมพ์ฉีดพลาสติกเข้ามาโดยได้รับยกเว้นภาษีอากร และเมื่อจะนำแม่พิมพ์ดังกล่าวออกนอกโรงงานเพื่อว่าจ้างฉีด จะต้องยื่นเรื่องขอนำแม่พิมพ์ไปให้ผู้อื่นใช้ ต่อ BOI อีกครั้งหนึ่ง

2. เมื่อแก้ไขกรรมวิธีผลิตให้มีขั้นตอนการนำแม่พิมพ์ไปว่าจ้างฉีด ก็ถือว่า แม่พิมพ์นั้นเป็นการลงทุนตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม จึงสามารถนำมูลค่าแม่พิมพ์ดังกล่าวมารวมเป็นขนาดการลงทุน เพื่อคำนวณวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย

ถ้าทางบริษัทนำเข้าโดยการเสียภาษีอากรเองทุกอย่าง และในกระบวนการผลิตไม่มีขี้นตอนของการฉีดพลาสติกขึ้นรูป แต่พลาสติกชิ้นส่วนนี้เป็นชิ้นส่วนที่เป็นวัตถุดิบในตัวสินค้าที่เราได้รับส่งเสริม เลยอยากจะทราบว่า แม่พิมพ์นี้ ถือเป็นเงินลงทุน ( CAP วงเงิน) ได้หรือเปล่า

ถ้าในกรรมวิธีผลิตที่ได้รับการส่งเสริม ไม่มีขั้นตอนฉีดพลาสติก หรือขั้นตอนนำแม่พิมพ์ไปว่าจ้างฉีดพลาสติก แม่พิมพ์ฉีดพลาสติก ก็ไม่ใช่การลงทุนตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม (พูดง่าย ๆ คือเป็น Non-BOI)จึงจะนำมานับเป็นมูลค่าการลงทุนของโครงการ หรือนำมาคำนวณเป็นวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลของโครงการ ไม่ได้

ตอนนี้มีบริษัทที่เค้าซื้อแท่นลอยสำหรับขุดเจาะน้ำมันเข้ามาเป็นเครื่องจักรโดยใช้สิทธิ์บีโอไอ เพราะเค้าทำธุรกิจขุดเจาะน้ำมัน แต่เค้าจะไม่ใช้แท่นลอยทำงานแล้ว และจะส่งคืนให้กับ Oversea Supplier พอดีกับ Oversea Supplier เป็นลูกค้าของเรา เมื่อได้รับตัวแท่นลอย ก็จะส่งมาให้เราซ่อมแซม คำถามคือ ถ้าไม่ต้องการทำเรื่องส่งออกไปต่างประเทศก่อน เค้าสามารถส่งมาให้เราซ่อมเลย ทำได้หรือไม่ เพราะเค้าใช้สิทธิ์บีโอไอนำเข้าแท่นลอยเป็นเครื่องจักร แต่เราใช้แท่นลอยเป็นสิทธิ์นำเข้าวัตถุดิบ
A (BOI) จะส่งคืนเครื่องจักรไปให้ B (ต่างประเทศ) และ B จะส่งมายัง C (BOI) เพื่อว่าจ้างให้ซ่อม

กรณีนี้ หาก C ไม่มีเงื่อนไขว่า จะต้องซ่อมเครื่องจักรจากต่างประเทศเท่านั้น ก็อาจใช้วิธีดังนี้

1. A (BOI) ส่งเครื่องจักรไปให้ C (BOI) ซ่อม จากนั้น จึงรับกลับมา แล้วส่งคืนกลับไปต่างประเทศให้ B

2. A กับ B คงต้องตกลงเรื่องค่าซ่อมให้เรียบร้อยก่อน เช่น A จ่ายค่าซ่อมให้ C / แล้ว B ชดเชยค่าจ้างส่วนนั้นคืนกลับมาให้ A

ถ้าบริษัทของเราเป็นบีโอไอ แล้วไปว่าจ้างให้บริษัทที่ไม่เป็นบีโอไอ ผลิตบางขั้นตอน ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกๆ และนำกลับมาประกอบต่อที่บริษัท เพื่อทำการส่งออกต่อไป แต่ว่าขั้นตอนการผลิตไม่ได้ระบุว่าจะมีการว่าจ้างในการยื่นโครงการครั้งแรก แต่ถูกระบุลงในการยื่นสูตรการผลิต (ขั้นตอนการทำงาน) แล้วเราต้องยื่นแก้ไขโครงการหรือไม่

การนำวัตถุดิบที่นำเข้าโดยใช้สิทธิ ม.36 ออกนอกโรงงานเพื่อว่าจ้างผู้อื่นผลิต จะต้องได้รับอนุมัติกรรมวิธีการผลิตให้มีการนำวัตถุดิบไปว่าจ้างผลิต กรณีที่สอบถาม บริษัทไม่ได้แก้ไขกรรมวิธีการผลิตให้ถูกต้อง แต่เป็นการระบุลงไปในขั้นตอนยื่นขอสูตร จึงเป็นการแจ้งข้อมูลที่เป็นเท็จ และเป็นการปฏิบัติผิดเงื่อนไข หากถูกตรวจพบ ก็จะมีปัญหากับศุลกากร ควรรีบยื่นขอแก้ไขกรรมวิธีการผลิตโดยด่วน แต่จะได้รับอนุมัติหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงว่า ส่วนที่จะไปว่าจ้างผู้อื่นผลิตให้นั้น เป็นสาระสำคัญของโครงการหรือไม่ ถ้าใช่ ก็อาจไม่อนุมัติให้ทำการว่าจ้าง

บริษัทได้รับการส่งเสริมการลงทุน โดยได้สิทธิเฉพาะเครื่องจักรและวัตถุดิบ แต่บริษัทยังไม่มีการนำเข้าวัตถุดิบตามที่ขอไว้ ระหว่างนี้บริษัทสามารถรับจ้างผลิตให้กับบริษัทที่ได้ BOI หรือไม่ - ต้องการทราบว่า กรณีที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ การรับจ้างผลิตต้องขออนุญาต BOI หรือไม่ - มีเงื่อนไขข้อห้ามอะไรบ้าง ในการที่รับจ้างผลิตจากบริษัทที่ได้ BOI และ NON-BOI

การรับจ้างผลิตสินค้าชนิดเดียวกับที่ได้รับส่งเสริม และครบถ้วนตามกรรมวิธีผลิตที่ไม่ได้รับส่งเสริม ถือเป็นการผลิตตามโครงการ และไม่ต้องขออนุญาตจาก BOI ดังนั้น แม้จะยังไม่มีการนำเข้าวัตถุดิบ แต่หากรับจ้างผลิตตามเงื่อนไขข้างต้น ก็สามารถดำเนินการได้ โดยให้ลูกค้าเป็นผู้จัดส่งวัตถุดิบมาให้ทั้งหมด

- การนำเครื่องจักรที่นำเข้าโดยได้รับสิทธิตามมาตรา 28 หรือ 29 ไปใช้ในการรับจ้างผลิตสินค้าชนิดอื่น หรือรับจ้างผลิตไม่ครบขั้นตอนที่ได้ส่งเสริม จะต้องยื่นขออนุญาตจาก BOI ไม่ว่าโครงการนั้นจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้หรือไม่ก็ตาม

- การรับจ้างผลิต จะรับจ้างจากบริษัท BOI หรือ non-BOI ก็ได้ ไม่มีข้อแตกต่างกัน

บัญชีวัตถุดิบและปริมาณสูงสุด (Max Stock 4 เดือน) สำหรับกิจการฉีดประกอบชิ้นงาน และกิจการ ITC(IPO) กรณี ที่บริษัทฯ ได้รับอนุมัติแล้ว( 6 เดือน) ถ้าจะคิดบัญชีและปริมาณสูงสุด (max Stock 4 เดือน) ไม่ทราบมีวิธีการคิดแบบไหน
1.กรณีกิจการผลิต จะอนุมัติ Max Stock จากกำลังการผลิต 4 เดือน ของกำลังผลิตสูงสุดตามที่ระบุในบัตรส่งเสริม

2.กรณีกิจการ ITC จะอนุมัติ Max Stock ตามแผนการจำหน่าย 4 เดือน

ในกรณีที่บริษัทต้องการนำแม่พิมพ์ ไปว่าจ้าง supplier ผลิตงานให้ สามารถทำได้หรือไม่ แม่พิมพ์ไม่ได้ใช้สิทธิ BOI วัตถุดิบใช้สิทธิ BOI บริษัท ส่งให้ supplier กรณีที่ไม่สามารถใช้วัตถุดิบที่ใช้สิทธิ BOI เราสามารถเปลี่ยนใช้วัตถุดิบที่ไม่ใช้สิทธิ BOI ได้หรือไม่ บริษัทเปิดดำเนินการแล้วเมื่อ ปี2559 กระบวนการผลิตของบริษัท คือ 1.ฉีดขึ้นรูป บางส่วนจำหน่าย 2.ตัด 3.พ่นสี บางส่วนว่าจ้าง 4.พิมพ์ บางส่วนว่าจ้าง 5.ประกอบ 6.บรรจุ 7.ส่งมอบ

กรรมวิธีผลิตที่ได้รับอนุมัติ ตามที่แจ้งมา คือ

- บริษัทจะต้องฉีดขึ้นรูปชิ้นส่วนพลาสติกเอง (ตามข้อ 1)

- สามารถนำไปว่าจ้างพ่นสีหรือพิมพ์ได้ (ตามข้อ 3 และ 4)

ดังนั้น การจะว่าจ้างผู้อื่นฉีดขึ้นรูปชิ้นส่วนพลาสติก โดยใช้แม่พิมพ์และ/หรือวัตถุดิบที่นำเข้าโดยใช้สิทธิหรือไม่ก็ตาม น่าจะขัดกับกรรมวิธีการผลิตตามข้อ 1

เนื่องจากเครื่องจักรสำหรับฉีดงานของบริษัทมี 2 ประเภท คือ 1. เครื่องฉีดปกติ ฉีดออกมามีวัตถุดิบประเภทเดียว 2. เครื่องฉีดดับเบิล คือฉีดออกมามี 2 วัตถุดิบประกอบกัน และในส่วนของเครื่องฉีดดับเบิล กำลังการผลิตของเครื่องไม่เพียงพอต่อการผลิตงานให้ลูกค้า กรณีนี้มีวิธีการอย่างไรได้บ้างที่จะขออนุญาตทางสำนักงานส่งเสริมการลงทุน แก้ไขกรรมวิธีการผลิตได้หรือไม่

กิจการผลิตชิ้นส่วนพลาสติก ถือว่าการฉีดพลาสติกเป็นขั้นตอนสำคัญของโครงการ จึงไม่น่าจะขอแก้ไขกรรมวิธีการผลิต เพื่อจ้างผู้อื่นให้ฉีดชิ้นส่วนพลาสติกแทนได้

กรณีตามที่สอบถาม สินค้าของบริษัทมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิม เครื่องจักรที่มีอยู่เดิมจึงไม่สามารถรองรับความต้องการได้ หากบริษัทจะรับออร์เดอร์นี้ จะต้องลงทุนเครื่องจักรใหม่ เพื่อให้ผลิตสินค้าชนิดใหม่ได้ แต่เนื่องจากบริษัทเปิดดำเนินการครบตามโครงการแล้ว จึงไม่สามารถแก้ไขโครงการโดยมีการลงทุนเครื่องจักรเพิ่มเติมได้ หากจะลงทุนเพิ่ม จะต้องยื่นขอรับส่งเสริมเป็นโครงการใหม่ (กิจการขยาย)

ขออภัยครับ ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ในภาษาที่ท่านเลือก !

Sorry, There is no information support your selected language !

Download และ ติดตั้งโปรแกรมอ่าน PDF

Download PDF Reader

Site map