Chat
x
toggle menu
toggle menu

Select Groups

All Group
  • All Group
  • นโยบายเเละมาตรการพิเศษในการส่งเสริม
  • การขอรับการส่งเสริมการลงทุน
  • การออกบัตรส่งเสริม
  • การเปิดดำเนินการ
  • การเเก้ไขโครงการ
  • การดำเนินการอื่น ๆ
  • การรายงานความคืบหน้าโครงการ (e-Monitoring)
  • การปฏิบัติหลังการได้รับการส่งเสริม
  • การยกเลิกบัตรส่งเสริม
  • เรื่องทั่วไป
  • การใช้สิทธิด้านที่ดิน
  • การใช้สิทธิด้านเครื่องจักร
  • การใช้สิทธิด้านช่างฝีมือ/ต่างด้าว
  • การใช้สิทธิด้านวัตถุดิบ
  • ประเภทกิจการ - การแพทย์
  • การใช้สิทธิด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ประเภทกิจการ - รถยนต์ไฟฟ้า
  • ประเภทกิจการ - ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (IBC) IPO และ TISO
  • ประเภทกิจการ - โรงแรม
  • ประเภทกิจการ - ผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ
  • ประเภทกิจการ - กิจการผลิตเครื่่องจักร อุุปกรณ์และชิ้นส่วน
  • ประเภทกิจการ - กิจการศูนย์กระจายสินค้าระหว่า ประเทศด้วยระบบที่่ทันสมัย (IDC)
ขอถามเพิ่มเติมในส่วนของการนับเงินลงทุนกิจการ ITC กรณีค่าเช่าที่ทำสัญญาเช่านานกว่า 3 ปี นับเป็นขนาดการลงทุน กรณีของบริษัทเป็นโครงการขยาย ซึ่งใช้ออฟฟิศและสโตร์ของโครงการเดิม กรณีนี้โตรงการ ITC สามารถทำสัญญาเช่าได้หรือไม่ อย่างไร

บริษัทใช้ออฟฟิซและสโตร์เดิม จึงไม่มีการลงทุนในส่วนค่าเช่าเกิดขึ้นใหม่ จึงไม่สามารถนำมานับเป็นการลงทุนของโครงการ ITC ได้อีก แต่ถ้ามีการขยายพื้นที่เช่าเพื่อใช้ในกิจการ ITC ส่วนที่ขยาย (สัญญาเช่ามากกว่า 3 ปี) สามารถนับเป็นขนาดการลงทุนได้

กรณีที่กิจการมีการเปลี่ยนแปลงจากคลินิกเป็นโรงพยาบาลเพื่อได้รับการส่งเสริมฯ วันที่เริ่มถือเป็นรายได้ BOI ควรเริ่มจากวันไหนในกรณีที่การเปิดบริการเป็นโรงพยาบาลเกิดก่อนใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาลสามารถเริ่มรายได้ที่ได้รับการสิทธิ์ยกเว้นภาษีจากวันที่เปิดบริการโรงพยาบาลได้เลยหรือไม่และต้องมีหลักฐานใดประกอบบ้าง

การเปลี่ยนแปลงจากคลินิกเป็นโรงพยาบาล เพื่อขอรับการส่งเสริมฯ ต้องแจ้งหยุดกิจการสถานพยาบาลแบบไม่ค้างคืน (Clinic) กับกระทรวงสาธารณสุข ในส่วนการขอรับการส่งเสริมกิจการโรงพยาบาลต้องมีการทุนในเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ใหม่ โดยอนุญาตให้ใช้ตึกเก่าได้ ดังนั้น วันที่เริ่มนับรายได้ BOI จะเริ่มนับหลังจากได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการกับกระทรวงสาธารณสุข

ในแบบคำขอใช้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลข้อ 1.3 การลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ นั้น - มูลค่าเครื่องจักร สามารถนับรวมสินทรัพย์ทรัพย์ที่รับเข้าตั้งแต่ยื่นขอใบอนุมัติบัตรส่งเสริมฯ เลยหรือไม่ หรือต้องภายหลังวันที่ในบัตรส่งเสริมฯ

มูลค่าของโครงการที่ขอรับการส่งเสริมจะนับหลังจากวันที่ยื่นคำขอ และต้องเป็นเครื่องจักรใหม่ทั้งสิ้น

กรณีที่ต้องการขอแจ้งแก้ไขเปลี่ยนชื่อที่ตั้งสำนักงาน มีแบบฟอร์มหรือไม่ สามารถดาวน์โหลดได้ที่ไหน หมายเหตุ บริษัทตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง ต่อมานิคมได้เปลี่ยนชื่อนิคม แต่ไม่ได้มีการย้ายสถานที่ ยังคงตั้งสำนักงานอยู่ที่เดิม

สามารถดาวน์โหลด แบบคำขออนุญาตเปลี่ยน/เพิ่ม/ลด สถานที่ตั้งโรงงาน/สถานประกอบการ (F PA PC 03) ได้จากเว็บไซต์ของ BOI ตาม Link : http://www.boi.go.th/newboi/index.php?page=form_amendment

กรณีบริษัทต้องการนำทีมช่าง (ประมาณ 4 คน) เข้ามาซ่อมบำรุงเครื่องจักรตามแผนประจำปี ระยะเวลาไม่เกิน 15 วัน ทางบริษัทจะต้องดำเนินการอย่างไร เข้าข่ายกรณีเร่งด่วน หรือไม่ (13 ธ.ค. 2564)

กรณีที่สอบถาม เป็นการนำช่างต่างชาติเข้ามาทำงานซ่อมเครื่องจักร ตามแผนซ่อมบำรุงประจำปี จึงไม่น่าจะเข้าข่ายกรณีเร่งด่วน (เนื่องจากเป็นการเดินทางเข้ามาตามแผนที่คาดการณ์ได้ล่วงหน้า)

กรณีนี้อาจจะต้องขออนุญาตทำงานชั่วคราว (ไม่เกิน 6 เดือน) ต่อ BOI ไม่ใช่การขออนุญาตทำงานเร่งด่วน

ถ้าทางบริษัทมีการนำเข้าวัตถุดิบชิ้นเล็กจากต่างประเทศจำนวน 600 ชิ้น (1 กล่อง) ผ่านตัวแทนขนส่งระหว่างประเทศ (เนื่องจากต้องการใช้ของเร่งด่วน) ซึ่งวัตถุดิบที่นำเข้ามาอยู่ในสูตรการผลิตที่ขออนุมัติจาก BOI ไว้ ถ้าบริษัทไม่ต้องจ่ายภาษีอากรเนื่องจากค่าอากรไม่เกินเกณฑ์ที่ทางกรมศุลกากรตั้งไว้ และถ้าชื่อใน Invoice ไม่ตรงกับชื่อที่ขออนุมัติเช่น ชื่อที่ขออนุมัติใช้ A แต่ชื่อใน Invoice ใช้ AB ส่วนชื่อในใบขนใช้ BBC และใบขนเป็นใบขนรวมซึ่งจำนวนของในใบขนแสดงปริมาณ 1C62 (1 Package) ดังนั้นเมื่อนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เรียบร้อยแล้วต้องการตัดบัญชีวัตถุดิบสามารถทำการโอน vendor ได้หรือไม่

ถ้าบริษัทนำเข้าวัตถุดิบโดยไม่ได้ชำระภาษีอากรเนื่องจากไม่เกินเกณฑ์ที่กรมศุลกากรตั้งไว้ ก็ถือเป็นวัตถุดิบที่นำเข้าโดยไม่ได้ใช้สิทธิจาก BOI เวลาตัดบัญชีก็ไม่ต้องตัดรายการนี้ คือ คีย์เป็น local ไป

บริษัทได้รับอนุมัติตรวจเปิดดำเนินการแล้ว นำเข้าเครื่องจักร และแม่พิมพ์ มาครบ 5 ปีแล้ว ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนขออนุมัติตัดบัญชีเครื่องจักรเกิน 5ปี เพื่อปลดภาระภาษี มีข้อสงสัยอยากสอบถามว่า 1. ในขั้นตอนต่อไปหากบริษัทต้องการขายแม่พิมพ์เป็นเศษซาก ต้องดำเนินการขออนุมัติทำลายก่อนใช่ไหม? 2. การขออนุมัติทำลายมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง, และวิธีทำลายแม่พิมพ์ที่ทาง BOI อนุมัติมีวิธีไหนบ้าง 3. หลังจากขั้นตอนการทำลายเสร็จแล้ว บริษัทสามารถขายเป็นเศษซากได้โดยไม่ต้องมีภาระภาษีใช่หรือไม่ 4. หลังจากทำลาย บริษัท ต้องยื่นตัดบัญชีเครื่องจักรในระบบ eMT หรือไม่ 5. ในการยื่นขอตัดบัญชีเกิน 5 ปีในระบบ eMT เจ้าหน้าที่ใช้เวลาในการพิจารณากี่วัน

1-4. หลังจากบริษัทได้รับอนุมัติให้ตัดภาระภาษีเครื่องจักรหรือแม่พิมพ์ที่นำเข้าเกินกว่า 5 แล้ว บริษัทยังคงต้องใช้เครื่องจักรดังกล่าวในโครงการต่อไป หากไม่ต้องการใช้ในโครงการอีกต่อไป บริษัทต้องยื่นขออนุญาตจำหน่ายออกจากโครงการ โดยไม่ต้องทำลาย การขอทำลาย เป็นกรณีที่นำเข้ายังไม่ครบ 5 ปี แต่จะขอทำลายเพื่อปลดภาระภาษี

5. การขอตัดภาระภาษีเครื่องจักรเกิน 5 ปี กำหนดระยะเวลาพิจารณา 30 วันทำการ

ในกรณีขออนุญาตจำหน่ายออกจากโครงการต้องยื่นเป็นเอกสารต่อเจ้าหน้าที่ หรือสามารถยื่นในระบบ eMT และในการจำหน่ายแม่พิมพ์ ทางบีโอไอกำหนดผู้ซื้อไว้หรือสามารถจำหน่ายให้ใครก็ได้ และในการจำหน่ายแม่พิมพ์เราจะจำหน่ายเป็นเศษเหล็ก ซึ่งรายการใน invoice ไม่ตรงตามที่นำเข้า อย่างนี้จะสามารถตัดบัญชีเครื่องจักรได้หรือไม่

1. การจำหน่ายเครื่องจักรออกจากโครงการ ยื่นในระบบ eMT

2. BOI ไม่ได้กำหนดเงื่อนไขว่าต้องจำหน่ายให้ใคร

3. แม่พิมพ์ที่บริษัทสอบถาม นำเข้าเกิน 5 ปี และได้รับอนุมัติตัดภาระภาษีแล้ว BOI จึงจะไม่ตรวจว่าจำหน่ายในสภาพใด หากขออนุมัติจำหน่ายออกจากโครงการ ก็จะได้รับอนุมัติ

การคีย์เป็น local กับคีย์ชื่อบริษัทที่ซื้อจากต่างประเทศแตกต่างกันอย่างไร หรือสามารถเลือกได้ว่าจะคีย์เป็น Local หรือจะคีย์ชื่อบริษัท

สมาคม IC มี หนังสือที่ RMTS 009/2558 ลงวันที่ 8 กันยายน 2558 แจ้งผู้ใช้บริการระบบ RMTS เกี่ยวกับวิธีการคีย์ไฟล์ตัดบัญชีกรณีที่ Vendor ไม่ได้รับส่งเสริมการลงทุน (Non BOI Vendor) โดยจะต้องคีย์ชื่อบริษัทและเลขทะเบียนนิติบุคคลของ Vendor ที่ไม่ได้รับส่งเสริมด้วย (จากเดิมที่เคยคีย์เป็น Local เฉยๆ โดยไม่รู้ว่าซื้อมาจากใคร ฯลฯ)

กรณีของคุณเป็นการซื้อจากต่างประเทศโดยชำระภาษี ซึ่งจะว่าไปแล้วก็เป็นการซื้อจาก Non BOI Vendor เหมือนกัน แต่อาจจะไม่เหมาะที่จะคีย์ Ven_name และ Ven_ID เป็นบริษัทต่างประเทศ อาจจะลองคีย์เป็น Local ไปก่อน ถ้าติดปัญหาจึงค่อยชี้แจงกับ IC

1.อยากทราบว่ากรณีที่ลูกค้าสั่งซื้อแม่พิมพ์สำหรับฉีดชิ้นงานพลาสติกจากบริษัท และ บริษัท สั่งซื้อจากอีกบริษัทมาขายให้ลูกค้า กรณีนี้ถือว่าแม่พิมพ์ เข้าข่าย กิจการ ITC หรือไม่อย่างไร บริษัท ได้รับส่งเสริมกิจการประเภท 7.6 และ 6.9 2. กรณีที่บริษัท มีการสร้างสโตร์เพิ่ม ซึ่งจะไว้สำหรับพื้นที่สำหรับสินค้าที่รอขนส่ง แต่เนื่องจาก บริษัทจะใช้สำหรับ ทั้งกิจการผลิต 6.9 และ กิจการ ITC 7.6 อย่างนี้สามารถนับมานับเป็นเงินลงทุนของกิจการ ITC ได้ด้วยหรือไม่

1. บริษัท A (ลูกค้า) ซื้อแม่พิมพ์จากบริษัท B (BOI) แต่ B ไปซื้อแม่พิมพ์จากบริษัท C เพื่อมาขายให้กับ A

1.1 หาก A นำแม่พิมพ์ดังกล่าวไปจำหน่ายต่อให้กับผู้อื่น ถือว่า B ได้จำหน่ายแม่พิมพ์ในลักษณะค้าส่ง ซึ่งอยู่ในข่ายที่จะขอส่งเสริมในกิจการ ITC

1.2 หาก A นำแม่พิมพ์ดังกล่าวไปใช้ในธุรกิจของตนเอง เช่น นำไปฉีดพลาสติกเอง หรือส่งต่อไปให้ผู้อื่นฉีดพลาสติกให้ ถือว่า B ได้จำหน่ายแม่พิมพ์ในลักษณะค้าปลีก ซึ่งไม่อยู่ในข่ายที่จะขอส่งเสริมในกิจการ ITC

2. กรณีมีการสร้างโกดังเก็บสินค้าเพิ่มเติม เพื่อใช้ทั้งกิจการผลิตและกิจการ ITC สามารถนำค่าก่อสร้างมานับเป็นการลงทุนของกิจการ ITC โดยใช้วิธีปันส่วนตามที่ BOI พิจารณาว่าถูกต้องเหมาะสม

สินทรัพย์ที่นับเป็นขนาดการลงทุน: หากมีการปรับปรุงโครงสร้าง อาคาร เพื่อให้บริการสถานพยาบาล ซึ่งได้รับสิทธิส่งเสริมฯ (ปรับปรุงคลินิกเป็นโรงพยาบาล) สามารถกรอกในช่องนี้ได้หรือไม่

ขนาดการลงทุน หมายถึง ค่าก่อสร้างหรือค่าเช่า ค่าปรับปรุง รวมถึงค่าตกแต่งอาคาร

ในแบบคำขอใช้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลข้อ 1.4 ปริมาณการผลิต เนื่องจากกิจการเป็นโรงพยาบาลซึ่งตามบัตรส่งเสริมกำหนดไว้ว่าต้องเป็นสถานพยาบาลขนาด 30 เตียง จึงอยากสอบถามว่าจำนวนเตียงคนไข้ถือเป็นกำลังการผลิตหรือไม่ และตามบัตรส่งเสริมฯ ไม่ได้มีการกล่าวถึงกำลังการผลิตอื่นเลย

กำลังผลิตหรือขนาดของโครงการให้ยึดตามที่ปรากฏในบัตรส่งเสริม

ทั้งนี้ เพื่อการปฏิบัติที่ถูกต้องกรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่กองบริหารการลงทุน 4 ชั้น 2 หรือโทรติดต่อ 02-553-8337

เนื่องจากบริษัทฯ มีการเปิดโปรเจ็คใหม่ ซึ่งโรงงานใหม่จะแล้วเสร็จช่วงเดือน มีนาคม 2562 ซึ่งตอนนี้บัตรส่งเสริมของโปรเจ็คใหม่ได้ อนุมัติเรียบร้อยแล้ว 1. โปรเจ็คใหม่ใช้ที่อยู่และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของโปรเจ็คเก่าอยู่ทำให้ระบบ EMT และ RMT ไม่สามารถสมัครแยกออกมาได้ อันนี้เข้าใจถูกต้องใช่หรือไม่ 2. หากโปรเจ็คใหม่ได้ทำการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ เป็นโรงงานใหม่เรียบร้อยแล้ว สามารถทำการสมัคร EMT และ RMT เป็นของตัวเองได้หรือไม่

1.ระบบ eMT

หากบริษัทสมัครใช้บริการระบบ eMT สำหรับโครงการแรกแล้ว และต่อมาได้รับส่งเสริมโครงการที่ 2 บริษัทสามารถล็อคอินโดยใช้ username และ password เดิม แล้วเลือกเลขที่บัตรส่งเสริมที่ต้องการดำเนินการ

2.ระบบ RMTS

หากบริษัทสมัครใช้บริการระบบ RMTS สำหรับโครงการแรกแล้ว และต่อมาได้รับส่งเสริมโครงการที่ 2 บริษัทต้องยื่นขอ project code ของโครงการที่ 2 ต่อสมาคม IC ก่อน จากนั้นจึงล็อคอินโดยใช้ username และ password เดิม แล้วเลือก project code ของบัตรส่งเสริมที่ต้องการกดำเนินการ

กรณีบริษัท A ซื้อวัตถุดิบจาก Vendor ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) แต่ Vendor ขายวัตถุดิบเป็น NON BOI ให้บริษัท A ดังนั้นการตัดบัญชีวัตถุดิบ ที่ช่อง Ven_Type บริษัทไม่ต้องระบุเป็น "B" แต่สามารถโอนยอดวัตถุดิบเป็น "NON BOI" ได้ ใช่หรือไม่

แม้เวนเดอร์รายนั้นจะเป็น BOI แต่ถ้าซื้อวัตถุดิบจากเวอเดอร์รายนั้นเป็นแบบ non-BOI คือ ไม่ต้องโอนสิทธิตัดบัญชีวัตถุดิบกลับไปให้ เพราะราคารวมอากรขาเข้าไปด้วยแล้ว ก็สามารถตัดบัญชีเป็น Local คือไม่ต้องออกใบโอนสิทธิได้ โดยช่อง VEN_TYPE และ VEN_MODEL ปล่อยว่างไว้ ส่วนช่อง VEN_NAME, VEN_ID, VEN_QTY คีย์ตามปกติ

ถ้าบริษัทต้องการทำลายเครื่องจักรที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว โดยเครื่องจักรดังกล่าวได้นำเข้ามาเกินระยะเวลา 5 ปี ต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง

หากเครื่องจักรนำเข้ามาเกินกว่า 5 ปี และไม่ต้องการใช้งานอีกต่อไป แนะนำให้ยื่นขอจำหน่ายจะดีกว่า เนื่องจากการขอจำหน่ายเครื่องจักรที่นำเข้ามาเกินกว่า 5 ปี สามารถอนุญาตให้จำหน่ายได้โดยไม่มีภาระภาษี จึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องทำลาย

ในการทำเรื่องขอจำหน่าย นี่หมายความถึงขอจำหน่ายออกจาก BOI ใช่รึเปล่า แล้วถ้าทำเรื่องขอจำหน่ายกับทาง BOI เรียบร้อยแล้ว ทางบริษัทก็จะสามารถทำลายเครื่องจักรได้เลยใช่ไหม

การขอจำหน่าย คือการจะขายออกจากโครงการ เมื่อได้รับอนุมัติจำหน่ายจากบีโอไอแล้ว จะขายเป็นเครื่องจักรมือสองไปก็ได้ ไม่จำเป็นต้องทำลาย เสียค่าใช้จ่ายในการทำลายเปล่า ๆ

บริษัทตรวจสอบพบว่ามียอด Balance 3 รายการ ตรวจสอบพบว่าไม่ได้ตัดบัญชี สามารถนำใบขน ไปขออนุญาต BOI ตัด บัญชีได้หรือไม่ ซึ่งเป็นใบขนของปี 2009-2013 หมายเหตุ - ปัจจุบัน 3รายการนี้ไม่มีนำเข้าส่งออก และ ระบบ RMTS-2011 ไม่มีสูตรการผลิต แต่มีสูตรในระบบ RMTS กรณีที่สามารถตัดบัญชีได้ จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มจากเดิมอย่างไร และจะต้องทำสูตรการผลิตเข้าสู่ ระบบ RMTS-2011 เพื่อรองรับการตัดบัญชีได้หรือไม่
1. ตามประกาศ BOI ที่ ป.3/2556 และ ป.1/2557

- ใบขนขาออก และใบโอนสิทธิ (report-v) จะต้องนำมาตัดบัญชีภายใน 1 ปี นับจากวันส่งออก หรือวันที่ตามหนังสือโอนสิทธิ

- หากมีเหตุอันสมควร BOI จะอนุญาตขยายเวลาตัดบัญชีให้ไม่เกิน 1 ปี คือรวมแล้วไม่เกิน 2 ปี

2. อัตราค่าตัดบัญชีของ IC ปกติใบขนละ 40 บาท

- หากเกิน 1 ปี (แต่ไม่เกิน 2 ปี) ใบขนละ 500 บาท

- กรณีใช้ระบบ RMTS-2011 ผ่อนผันค่าบริการสำหรับใบขนที่เกิน 1 ปี (แต่ไม่เกิน 2 ปี) จาก 500 บาท เป็น 100 บาท จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2558

3. สมาคม IC ปิดระบบ RMTS แล้วตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2558 กรณีที่สอบถาม หากเป็นใบขนของปี 2009-2013 ของระบบ RMTS ซึ่งเกิน 2 ปีแล้ว จะไม่สามารถนำมายื่นตัดบัญชีได้ แต่ถ้าใบขนใดยังไม่เกิน 2 ปี และต้องการตัดบัญชี ก็ต้องยื่นตัดในระบบ RMTS-2011

กรณีที่บริษัท A เป็น BOI ต้องการซื้อกิจการของบริษัท B ซึ่งเป็นบริษัท BOI เหมือนกันอยากทราบว่า 1. เราจะเรียกการดำเนินการแบบนี้ว่าอย่างไร การควบกิจการ หรือ การโอน-การรับโอนกิจการ 2. ถ้าทั้ง 2 บริษัทยื่นเอกสารกับสำนักงานฯ (BOI) เรียบร้อยแล้ว (ตามข้อที่ 1....) ระยะเวลาทำการของสำนักงานฯ (BOI) หลังจากที่บริษัทยื่นเอกสารไปแล้วใช้เวลากี่วันทำการ 3. ระหว่างที่ทั้ง 2 บริษัท ยื่นเรื่องขออนุมัติจากสำนักงานฯ (BOI) ทั้งบริษัท A และบริษัท B สามารถทำการผลิต หรือ ซื้อ-ขายได้ตามปกติหรือไม่

การควบบริษัท คือการที่บริษัทตั้งแต่ 2 บริษัทขึ้นไป มารวมกันเป็นบริษัทเพียงบริษัทเดียว เมื่อควบบริษัทเข้ากันแล้ว จะมีผลทำให้บริษัทเดิมแต่ละบริษัทสิ้นสภาพไป และเกิดบริษัทใหม่ขึ้นมาแทน โดยบริษัทที่ตั้งขึ้นใหม่อันเกิดจากการควบ จะใช้ชื่อบริษัทเดิมที่ควบเข้ากัน หรือจะตั้งชื่อใหม่ก็ได้ (http://dbd.go.th/download/downloads/03_boj/intro_step_bj_merge.pdf)

ตอบคำถามดังนี้

บริษัท A (BOI) จะซื้อกิจการของบริษัท B (BOI)

1. BOI จะพิจารณาเป็นการโอน/รับโอนกิจการโดยบัตรส่งเสริมของ B จะใช้ได้ต่อไปได้อีกไม่เกิน 3 เดือนนับแต่วันโอนกิจการ ดังนั้น หาก A ต้องการจะรับช่วงดำเนินการที่ได้รับการส่งเสริมตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในบัตรส่งเสริมเดิมของ B A จะต้องยื่นคำขอรับการส่งเสริมเพื่อรับโอนกิจการภายในกำหนด 3 เดือนข้างต้น

2. BOI กำหนดระยะเวลาพิจารณาการโอน/รับโอนกิจการ ไม่เกิน 30 วันทำการ

3. ระหว่างที่รอการพิจารณา BOI ไม่มีข้อกำหนดว่า A และ B ห้ามดำเนินการอะไรบ้าง บริษัทจึงควรพิจารณาความเหมาะสมเป็นเรื่องๆ ไป

บริษัทได้รับส่งเสริมการลงทุนในกิจการซอฟต์แวร์มีข้อสอบถามในเรื่องของ “การยกเว้นภาษีจากกำไรที่ได้จากการขายสินค้า” 1. สามารถใช้ได้กับสินค้า (ซอฟต์แวร์) ทุกตัวของบริษัทหรือไม่ 2. หากไม่สามารถใช้ได้กับสินค้าทุกตัว เราต้องดำเนินการอย่างไรให้สินค้าของบริษัท ที่กำลังจะออกมาขายในตลาดในเร็วๆ นี้ให้ได้ BOI

การให้การส่งเสริมการลงทุนกิจการซอฟต์แวร์ มีเงื่อนไขคือ

1. ต้องมีค่าใช้จ่ายเงินเดือนของบุคลากรด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศไม่น้อยกว่า 1,500,000 บาท/ปี

2. ต้องมีกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์อย่างใดอย่างหนึ่งตามที่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลกำหนดหรือเห็นชอบ

ดังนั้น หากบริษัทมีค่าใช้จ่ายเงินเดือนบุคลากรตามเงื่อนไขข้อ 1 และซอฟต์แวร์ที่จะจำหน่ายมีกระบวนการ พัฒนาตามเงื่อนไขข้อ 2 ก็สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ แต่ทั้งนี้ ต้องไม่ใช่ซอฟต์แวร์เดิมที่บริษัทเคยจำหน่ายอยู่แล้วก่อนได้รับการส่งเสริม

บริษัทเป็น BOI แล้วมีลูกค้ามาติดต่อลูกค้าอยู่ในเขต EPZ Zone ให้ผลิตงานให้โดยที่ลูกค้า Support Mat'l and Mold ให้โดยให้เรามีหน้าที่ผลิตสินค้าให้กับลูกค้าอย่างเดียว บริษัทต้องยื่นเรื่องแจ้งต่อ BOI หรือไม่และสามารถทำได้หรือไม่

การรับจ้างผลิตสินค้า หากเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกับที่บริษัทได้รับส่งเสริม และมีกรรมวิธีผลิตครบตามขั้นตอนที่ได้รับอนุมัติ ก็สามารถทำได้ โดยไม่ต้องแจ้งอะไรต่อ BOI ส่วนในการใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบและแม่พิมพ์จาก EPZ ก็สามารถใช้สิทธิได้เสมือนกับการนำเข้าจากต่างประเทศ คือ วัตถุดิบ

เป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ (EPZ) เมื่อผลิตเสร็จก็ส่งสินค้าออกไปต่างประเทศ (EPZ) จึงสามารถใช้สิทธิมาตรา 36(1) ในการยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบได้ แม้ว่าลูกค้าใน EPZ จะส่งวัตถุดิบมาให้โดยไม่คิดมูลค่า แต่ก็ต้องสำแดงราคาเพื่อประโยชน์ในการประเมินภาษีอากร

กรณีเกิดส่วนสูญเสียจากการผลิต ขึ้นอยู่กับว่ามีข้อตกลงกับลูกค้าอย่างไร หากไม่ส่งส่วนสูญเสียคืนกลับไปให้ลูกค้าใน EPZ ก็ต้องทำลายหรือชำระภาษีตามหลักเกณฑ์ว่าด้วยเรื่องส่วนสูญเสียตามมาตรา 36(1) แม่พิมพ์ ใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรขาเข้าตามมาตรา 28 ได้

ต้องสำแดงราคา เพื่อประโยชน์ในการประเมินภาษีอากร ทั้งนี้ในทางบัญชี ถือว่าเป็นทรัพย์สินของลูกค้าที่ส่งมาให้บริษัทใช้ผลิตชิ้นงานให้ลูกค้า เมื่อใช้งานเสร็จแล้ว ก็ยื่นเรื่องขออนุญาตส่งแม่พิมพ์คืนไปต่างประเทศ (EPZ)

ขออภัยครับ ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ในภาษาที่ท่านเลือก !

Sorry, There is no information support your selected language !

Download และ ติดตั้งโปรแกรมอ่าน PDF

Download PDF Reader

Site map