กรณีที่บริษัท A (BOI) รับจ้างผลิตสินค้า โดยเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกับที่ได้รับส่งเสริม และมีขั้นตอนการผลิตครบตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม ในส่วนของ BOI จะถือว่า การรับจ้างดังกล่าว เป็นการผลิตตามโครงการที่ได้รับการส่งเสริม บริษัท A จึงไม่ต้องแจ้ง BOI หรือขออนุญาตใดๆ เพิ่มเติมจาก BOI
สำหรับการหักภาษี ณ ที่จ่าย จากการจ้างทำของ บริษัท A สามารถขอให้ BOI ออกหนังสือรับรองว่า การรับจ้างผลิตดังกล่าว เป็นการผลิตตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม และรายได้จากการรับจ้างผลิตดังกล่าว อยู่ในข่ายได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 31 เพื่อนำไปใช้รับรองกับผู้ว่าจ้างและกรมสรรพากรว่า ค่าจ้างทำของดังกล่าว ไม่อยู่ในข่ายต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย
สำหรับการขออนุญาตตาม พรบ การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว กรณีที่บริษัท A มีต่างชาติถือหุ้นข้างมาก หากการรับจ้างดังกล่าว เข้าข่ายการบริการ บริษัท A สามารถขอให้ BOI ออกหนังสือรับรองว่า การรับจ้างผลิตดังกล่าว เป็นการผลิตตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม เพื่อนำไปใช้ประกอบการขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจต่างด้าว จากสำนักบริหารการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว กระทรวงพาณิชย์ ต่อไป ทั้งนี้ ขอให้ติดต่อสอบถามจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงอีกทางหนึ่งด้วย
บริษัท A (BOI) นำเข้าวัตถุดิบมาผลิตเป็นสินค้า X และขายให้บริษัท B จากนั้นบริษัท B (BOI) นำ X ไปประกอบกับ Y เป็นสินค้า Z และส่งออก ดังนั้น เมื่อบริษัท B นำใบขนขาออกของสินค้า Z มาตัดบัญชี ก็จะได้สิทธิการตัดบัญชี X และ Y ตามปริมาณที่คำนวณได้จากสูตรการผลิตที่ได้รับอนุมัติจาก BOI
หากY เป็นวัตถุดิบที่บริษัท B นำเข้ามาเอง บริษัท B ก็จะตัดบัญชี Y จาก Max Stock ของตนเอง แต่ X เป็นสินค้าที่บริษัท B ซื้อมาจากบริษัท A ดังนั้น บริษัท B จึงจะไม่ตัดบัญชี X จาก Max Stock ของตนเอง แต่จะโอนสิทธิตัดบัญชี X ไปให้กับบริษัท A
วิธีการโอนสิทธิตัดบัญชี คือ เมื่อบริษัท B ยื่นไฟล์ตัดบัญชี คือ ไฟล์ BIRTEXL และ BIRTEXP บริษัท B จะต้องยื่นไฟล์ BIRTVEN เพิ่มเติมไปด้วย โดยในไฟล์ BIRTVEN จะต้องระบุ ชื่อผู้รับโอน / เลขนิติบุคคลของผู้รับโอน / รายการและปริมาณที่ต้องการโอน ด้วย ซึ่งเมื่อสมาคม IC ทำการตัดบัญชีให้กับบริษัท B ก็จะออก report-v ให้ตามที่ระบุในไฟล์ ฺBIRTVEN จากนั้น บริษัท B ก็จะส่ง report-v ดังกล่าวให้กับบริษัท A เพื่อนำไปตัดบัญชีต่อไป
อายุเครื่องจักร/แม่พิมพ์ นับจากวันที่นำเข้าครั้งแรกของเครื่องจักร/แม่พิมพ์นั้น ๆ
1. เครื่องจักร เครื่องมือ ที่มีลักษณะใช้งานสิ้นเปลือง เช่น ใบมีด ดอกสว่าน ฯลฯ สามารถยื่นขอทำลายได้โดยไม่มีภาระภาษี โดยไม่ต้องเก็บให้ครบ 5 ปี
2. เครื่องจักร เครื่องมือ ทุกรายการ ที่นำเข้าเกิน 5 ปี สามารถยื่นขอตัดบัญชีเพื่อปลดภาระภาษีได้ แต่ยังจะต้องใช้ในโครงการต่อไป
3. กรณีที่นำเข้าเกิน 5 ปี และไม่ต้องการใช้ในโครงการต่อไป สามารถยื่นขอจำหน่ายโดยไม่มีภาระภาษี และเมื่อจำหน่ายหรือกำจัดแล้ว จะต้องยื่นตัดบัญชี เพื่อลดยอดจำนวนที่นำเข้าโดยใช้สิทธิต่อไป
กรณีใบขนสินค้าขาออก ไม่ได้ระบุโมเดล จะต้องแนบสำเนาอินวอยซ์ที่ระบุโมเดล (กรรมการลงนามรับรองสำเนา) เพื่อให้ IC / BOI พิจารณา หาก BOI พิจารณาอนุมัติให้ตัดบัญชีได้ IC ก็จะดำเนินการตัดบัญชีให้ต่อไป แต่หากในใบขนสินค้าขาออกและในอินวอยซ์ ไม่ระบุโมเดล จะไม่สามารถตัดบัญชีได้
1. ผู้รับโอน ไม่ต้องยื่นขออนุญาตเปิดดำเนินการต่อ BOI อีก โดยในบัตรส่งเสริมของผู้รับโอนจะไม่ระบุเงื่อนไขวันครบกำหนดที่ต้องเปิดดำเนินการ เนื่องจากเป็นโครงการที่ได้ตรวจสอบการเปิดดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้ว
2. การรายงานความคืบหน้าปีละ 2 ครั้ง เป็นเงื่อนไขต้องปฏิบัติจนกว่าจะได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการเต็มโครงการ ดังนั้น กรณีนี้ก็ไม่ต้องยื่นรายงานความคืบหน้าเช่นเดียวกัน
1. กรณีที่บริษัทมั่นใจว่าไม่สามารถลงทุนให้ครบเงื่อนไข 1 ล้านบาทได้ บริษัทควรยื่นเรื่องขอชำระภาษีเครื่องจักรและวัตถุดิบต่อ BOI เพื่อให้ BOI มีหนังสือแจ้งให้เรียกเก็บภาษีอากรไปยังกรมศุลกากร
2. และเมื่อบริษัทไปชำระภาษีกับกรมศุลกากร และตัดบัญชีเครื่องจักรและวัตถุดิบเป็น 0 แล้ว บริษัทจึงยื่นเรื่องขอยกเลิกโครงการต่อ BOI ซึ่ง BOI จะพิจารณาเพิกถอนบัตร โดยไม่มีภาระภาษี (เพราะบริษัทได้ไปชำระภาษีเรียบร้อยหมดแล้ว)
วัตถุดิบที่ตัดบัญชีไปแล้ว ได้มีการพิสูจน์ว่ามีการส่งออกไปแล้ว จึงไม่มีภาระภาษีย้อนหลัง
กรณีที่บริษัทมีการลงทุนเพียง 1 โครงการ โดยเป็นโครงการที่ได้รับส่งเสริม ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นก่อนวันมีรายได้ ย่อมถือเป็นค่าใช้จ่ายล่วงหน้าก่อนวันมีรายได้ของโครงการที่ 1 ได้ แต่กรณีที่บริษัทมีการลงทุน 2 โครงการ โดยโครงการแรกไม่ได้รับส่งเสริม และต่อมามีการลงทุนโครงการที่ 2 โดยได้รับส่งเสริม ค่าใช้จ่ายของโครงการที่ 2 ซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันมีรายได้ครั้งแรกของโครงการที่ 2 ก็ย่อมถือเป็นค่าใช้จ่ายของโครงการที่ 2 ได้เช่นกัน เพียงแต่จะต้องแยกบัญชีค่าใช้จ่ายโดยชัดเจน โดยค่าใช้จ่ายบางรายการที่เป็นค่าใช้จ่ายรวม เช่น ค่าน้ำค่าไฟ หรือเงินเดือนผู้บริหาร สามารถใช้วิธีปันส่วนตามหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมได้ แต่ค่าใช้จ่ายบางรายการซึ่งแยกไม่ได้ และไม่มีเกณฑ์ปันส่วนที่เหมาะสม หากเกิดขึ้นก่อนวันมีรายได้โครงการที่ 2 จะมีรายได้ ก็อาจต้องลงบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายของโครงการที่ 1
กรณียื่นขอยกเลิกบัตรส่งเสริม ปกติบริษัทควรดำเนินการแจ้งพ้นตำแหน่งช่างฝีมือ และเปลี่ยนวีซ่าทำงาน (กรณียังอยู่ปฏิบัติงานในประเทศต่อ) ให้เสร็จสิ้นก่อน
แต่หากบริษัทไม่ได้แจ้งพ้นตำแหน่งช่างฝีมือ BOI จะมีหนังสือแจ้งให้บริษัทดำเนินการยกเลิกการใช้สิทธิช่างฝีมือ ภายใน 15 วัน หลังได้รับหนังสือแจ้ง
BOI ไม่ได้เป็นผู้ที่กำหนดหลักเกณฑ์ในการปันส่วนค่าใช้จ่าย บริษัทมีหน้าที่ต้องปันส่วนรายจ่ายให้เป็นไปตามมาตรฐานทางบัญชี เรื่องนี้ปรึกษากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงด้านบัญชีดีกว่า ตามมาตรฐานการทำบัญชี บริษัทจะต้องปันส่วนค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถแยกได้ ตามเกณฑ์ที่เหมาะสม
แต่ก็ไม่ได้ถึงกับกำหนดว่า ค่าใช้จ่ายทุกประเภทต้องปันส่วนด้วยเกณฑ์เดียวกัน ดังนั้น หากเห็นว่าเงินเดือนผู้บริหารจะปันส่วนตามรายได้ของแต่ละโครงการ ส่วนค่าเช่าอาคารจะปันส่วนตามสัดส่วนพื้นที่ใช้สอยของแต่ละโครงการ ก็น่าจะทำได้
ขอแนะนำให้ปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรง เช่น ผู้สอบบัญชี และสรรพากร
คาดว่าบริษัทไม่ได้ขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว แต่ขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ตามขอบเขตกิจการที่ได้รับการส่งเสริม ดังนั้น หากเป็นกรณีหลัง (หนังสือรับรอง) เมื่อ BOI ยกเลิกบัตรส่งเสริม บริษัทก็ไม่สามารถประกอบธุรกิจตามหนังสือรับรองฯ ฉบับนั้นได้อีกต่อไป
1. ต้องเป็นเอกสารที่ออกโดยบริษัทนายจ้างที่ช่างฝีมือปฏิบัติงานอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เท่านั้น (บริษัทที่จะรับบรรจุช่างฝีมือ จะออกเอกสารรับรองแทนบริษัทนายจ้างเก่าไม่ได้)
2. ต้องมีข้อมูลดังนี้
- ชื่อบริษัทนายจ้าง ที่ตั้ง ข้อมูลในการติดต่อ เช่น โทรศัพท์ โทรสาร อีเมล์
- ชื่อและตำแหน่งของผู้ลงนามในเอกสาร และตราประทับ (ถ้ากฎหมายประเทศนั้นๆ กำหนดให้ต้องมี)
- ชื่อและนามสกุลช่างฝีมือ
- ตำแหน่ง แผนก/กอง เดือน/ปี ที่เริ่มต้นและสิ้นสุดในการปฏิบัติงานในตำแหน่งนั้น
3. กรณีช่างฝีมือเคยปฏิบัติงานในหลายบริษัท สามารถยื่นหนังสือรับรองของหลายบริษัทได้
หากกำลังผลิตที่ BOI ตรวจสอบ ณ วันเปิดดำเนินการ มากกว่าหรือน้อยกว่าไม่เกิน 20% ของกำลังผลิตตามบัตรส่งเสริม ถือว่ามีกำลังการผลิตตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม
กรณีที่สอบถาม หากมีกำลังผลิตจริง 680,000 เครื่อง จากกำลังผลิตในบัตรส่งเสริม 800,000 เครื่อง ถือว่าเป็นไปตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม
Q11.1:
ในกรณีที่กำลังการผลิตน้อยกว่า 20% หมายความว่าผิดเงื่อนไขและไม่สามารถเปิดดำเนินการได้ใช่หรือไม่
A11.1:
หากในการตรวจสอบเปิดดำเนินการพบกว่ากำลังผลิตที่มีอยู่จริงต่ำกว่า 80% ของกำลังผลิตที่ระบุในบัตรส่งเสริม จะแก้ไขกำลังผลิตในบัตรส่งเสริมให้เหลือเท่าที่ตรวจสอบได้จริง และเปิดดำเนินการให้ตามกำลังผลิตนั้น
Q11.2:
ในกรณีที่เปิดดำเนินการตามการผลิตจริง จะส่งผลกระทบต่อ MAX STOCK หรือไม่ ทางบริษัทต้องไปดำเนินการลด MAX STOCK ด้วยหรือไม่
A11.2:
Max Stock จะได้รับอนุมัติเป็นปริมาณเท่ากับกำลังผลิต 4 เดือนของกำลังผลิตที่ได้รับส่งเสริม ดังนั้นเมื่อมีการปรับลดกำลังผลิตในขั้นตอนเปิดดำเนินการและแก้ไขบัตรส่งเสริม ก็จะต้องดำเนินการแก้ไขเพื่อปรับลด Max Stock ลงด้วยเช่นกัน
กิจการที่ได้รับส่งเสริม จะมีการกำหนดเงื่อนไขชนิดผลิตภัณฑ์ กำลังผลิต และกรรมวิธีการผลิต ไว้ในบัตรส่งเสริม แต่ไม่มีเงื่อนไขว่าจะต้องซื้อวัตถุดิบมาผลิตเอง ดังนั้น จึงจะรับจ้างผลิตก็ได้ โดยไม่เป็นการขัดกับเงื่อนไขในบัตรส่งเสริม แต่ในการรับจ้างผลิต จะต้องเป็นผลิตภัณฑ์ตามบัตรส่งเสริม และมีขั้นตอนครบถ้วนตามที่ได้รับส่งเสริม โดยรายได้จากการรับจ้างผลิตนี้ จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เช่นเดียวกับการผลิตจำหน่ายตามปกติ
กรณีผู้ได้รับส่งเสริมเป็นบริษัทที่มีชาวต่างชาติถือหุ้นข้างมาก หากจะมีการรับจ้างผลิต ซึ่งเข้าข่ายการให้บริการ จะต้องดำเนินการให้ได้รับอนุญาตจากสำนักบริหารการประกอบธุรกิจต่างด้าว กรมพัฒนาธุรกิจการค้าด้วย
หากผู้ได้รับส่งเสริมมีเศษซากให้ BOI ตรวจสอบชนิดและปริมาณตามเงื่อนไขที่กำหนด ก็สามารถตัดบัญชีในข่ายส่วนสูญเสียนอกสูตรได้
1. การขอทำลายเครื่องจักร เครื่องมือ ที่ชำรุดเสียหาย ให้ยื่นคำร้องในระบบ eMT
2. วิธีทำลาย เช่น การทุบ บด อัด ให้เสียสภาพ เป็นต้น
3. ต้องให้ บ.Inspector ที่ได้รับอนุญาตจาก BOI ตรวจสอบการทำลายและออกหนังสือรับรอง ตาม ประกาศ สกท ที่ ป.3/2555
หากยังไม่ปลอดภาระภาษี (นำเข้ายังไม่ครบ 5 ปี) แต่ต้องการตัดบัญชีโดยไม่มีภาระภาษี ก็ต้องปฏิบัติตามประกาศ ป.3/2555
การตัดบัญชีส่วนสูญเสียโดยไม่มีภาระภาษี จะต้องดำเนินการตาม ประกาศ ที่ ป.5/2543 โดยจะต้องมีวัตถุดิบที่เป็นส่วนสูญเสียอยู่จริง และต้องทำลายตามวิธีที่ได้รับอนุญาตจาก BOI โดยมี inspector ร่วมตรวจสอบรับรองการทำลาย จึงจะครบตามเงื่อนไขของประกาศ การให้หน่วยงานอื่นที่ชักตัวอย่าง ออกหนังสือรับรอง ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ จึงไม่น่าจะนำมาใช้ตัดบัญชีได้ แต่บริษัทอาจทำหนังสือสอบถามไปยัง BOI เพื่อขอทราบคำตอบที่เป็นทางการก็ได้
A1:
การขออนุญาตนำเข้าช่างต่างชาติเพื่อปฏิบัติงานในประเทศไทยเป็นเวลาเกินกว่า 6 เดือน จะต้องยื่นขออนุมัติตำแหน่งก่อน และเมื่อได้รับอนุมัติตำแหน่งแล้วจึงขออนุมัติบรรจุช่างฝีมือ ข้อมูลและเอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบการขออนุมัติตำแหน่ง เช่น
- Organization Chart ซึ่งรวมตำแหน่งที่ขออนุมัติเพิ่มเติม
- รายชื่อลูกค้าและผลิตภัณฑ์ที่จำหน่าย
- รายได้จากการส่งออกและจำหน่ายในประเทศ
- จำนวนพนักงานไทย
- เหตุผลความจำเป็นในการขออนุมัติตำแหน่ง
- แผนการถ่ายทอดเทคโนโลยี
- สำเนาหนังสือรับรอง
- สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น
- สำเนางบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีรับรองแล้ว