Chat
x
toggle menu
toggle menu

Select Groups

All Group
  • All Group
  • นโยบายเเละมาตรการพิเศษในการส่งเสริม
  • การขอรับการส่งเสริมการลงทุน
  • การออกบัตรส่งเสริม
  • การเปิดดำเนินการ
  • การเเก้ไขโครงการ
  • การดำเนินการอื่น ๆ
  • การรายงานความคืบหน้าโครงการ (e-Monitoring)
  • การปฏิบัติหลังการได้รับการส่งเสริม
  • การยกเลิกบัตรส่งเสริม
  • เรื่องทั่วไป
  • การใช้สิทธิด้านที่ดิน
  • การใช้สิทธิด้านเครื่องจักร
  • การใช้สิทธิด้านช่างฝีมือ/ต่างด้าว
  • การใช้สิทธิด้านวัตถุดิบ
  • ประเภทกิจการ - การแพทย์
  • การใช้สิทธิด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ประเภทกิจการ - รถยนต์ไฟฟ้า
  • ประเภทกิจการ - ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (IBC) IPO และ TISO
  • ประเภทกิจการ - โรงแรม
  • ประเภทกิจการ - ผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ
  • ประเภทกิจการ - กิจการผลิตเครื่่องจักร อุุปกรณ์และชิ้นส่วน
  • ประเภทกิจการ - กิจการศูนย์กระจายสินค้าระหว่า ประเทศด้วยระบบที่่ทันสมัย (IDC)
โปรดอธิบายคำจำกัดความที่ชัดเจนของชิ้นส่วนและส่วนประกอบภายใต้กิจการ IPO ผลิตภัณฑ์ใดบ้างที่จัดเป็นชิ้นส่วนและส่วนประกอบ
IPO สามารถซื้อขายวัตถุดิบ ชิ้นส่วน และส่วนประกอบได้ ซึ่งจะไม่รวมสินค้าสำเร็จรูปที่พร้อมใช้งาน (เช่น ปากกาที่พร้อมใช้งาน ไม่ต้องเอาไประกอบก่อนใช้งาน) ดังนั้น วัตถุดิบ ชิ้นส่วน และส่วนประกอบจะยังคงไม่สามารถใช้งานได้ทันที จะต้องนำไปผลิต ผสม หรือประกอบต่อ เพื่อทำเป็นสินค้าสำเร็จรูป
เครื่องจักรที่ใช้สำหรับกิจการ IPO จะสามารถได้รับสิทธิประโยชน์ในการยกเว้นอากรนำเข้าเครื่องจักร" แต่ "เครื่องจักรที่นำเข้ามาเพื่อจำหน่ายให้ลูกค้าจะไม่อยู่ในข่ายได้รับสิทธิประโยชน์" ความเข้าใจนี้ถูกต้องหรือไม่
ถูกต้อง เฉพาะเครื่องจักรที่ใช้ในโครงการของกิจการ IPO เท่านั้นที่จะสามารถได้รับสิทธิประโยชน์ในการยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร (ตามมาตรา 28) แต่เครื่องจักรที่นำเข้ามาเพื่อจำหน่ายจะไม่ได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้า นอกจากนั้น มีข้อพึงระวังคือ เครื่องจักรจัดเป็นสินค้าสำเร็จรูป ไม่ใช่วัตถุดิบ ชิ้นส่วน และส่วนประกอบ การจำหน่ายเครื่องจักรจึงไม่อยู่ในข่ายดำเนินการภายใต้กิจการ IPO ได้
ในกิจการ IPO เดิม BOI กำหนดจะต้องมีแหล่งจัดหาสินค้าจากหลายราย และอย่างน้อยต้องมีแหล่งจัดซื้อจากในประเทศด้วย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 อยากทราบว่าภายใต้กิจการ IPO ใหม่ ยังคงมีการกำหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าวอยู่หรือไม่
สำหรับ IPO ปัจจุบัน มีการกำหนดให้จะต้องมีการจัดซื้อจากในประเทศ อย่างน้อย 1 ราย โดยไม่กำหนดเปอร์เซ็น ทั้งนี้ แม้ไม่ได้มีการหนดเปอร์เซ็น และบริษัทสามารถมีการจัดซื้อในไทยน้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นได้ แต่ควรมีการจัดซื้อในประเทศอย่างเหมาะสม ไม่ใช่การเลี่ยงเพื่อให้ผ่านเงื่อนไขของ BOI
ในกิจการ IPO เดิม BOI กำหนดจะต้องมีการจัดหาสินค้าในประเทศและส่งออกไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 อยากทราบว่าภายใต้กิจการ IPO ใหม่ ยังคงมีการกำหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าวอยู่หรือไม่
IPO กำหนดเงื่อนไขจะต้องมีการจัดซื้อจากในประเทศ อย่างน้อย 1 ราย โดยไม่กำหนดเปอร์เซ็น ทั้งนี้ แม้ไม่ได้มีการหนดเปอร์เซ็น และบริษัทสามารถมีการจัดซื้อในไทยน้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นได้ แต่ควรมีการจัดซื้อในประเทศอย่างเหมาะสม ไม่ใช่การเลี่ยงเพื่อให้ผ่านเงื่อนไขของ BOI นอกจากนี้ ไม่มีการกำหนดเงื่อนไขการส่งออกว่าต้องมีกี่เปอร์เซ็นต์
กรณีบริษัทดำเนินธุรกิจค้าส่ง โดยมีหุ้นไทยข้างมาก มีทุนจดทะเบียน 2 ล้านบาท บริษัทสนใจขอรับส่งเสริมในกิจการ IPO โดยมีแผนจะเพิ่มทุนและเปลี่ยนโครงสร้างผู้ถือหุ้นเป็นต่างชาติ 100% อยากทราบว่า บริษัทจำเป็นต้องเพิ่มทุนก่อนออกบัตรส่งเสริม หรือตั้งแต่ในขั้นยื่นคำขอรับการส่งเสริม
สามารถเพิ่มทุนให้ครบและเรียกชำระให้ครบ 10 ล้านบาท หลังยื่น Application ได้ แต่จะต้องก่อนออกบัตรส่งเสริม ทั้งนี้ ใน Application จะต้องมีการระบุว่า บริษัทจะเพิ่มทุนจดทะเบียน
ขอสอบถามกรณีบริษัทได้รับส่งเสริมในกิจการ TISO และมีทุนจดทะเบียนเรียกชำระแล้ว 10 ล้านบาท หากประสงค์ยื่นขอรับการส่งเสริมเพิ่มเติมในกิจการ IPO บริษัทจำเป็นต้องเพิ่มทุนจดทะเบียนอีก 10 ล้านบาท หรือไม่ / จำเป็นต้องจัดตั้งบริษัท ใหม่หรือไม่
BOI มีเกณฑ์ Debt/Equity ratio ซึ่งจะตรวจสอบจากงบการเงินล่าสุดของบริษัทว่ายังคงอยู่ในเกณฑ์ D/E ไม่เกิน 3/1 หรือไม่ หากไม่เกินเกณฑ์ที่ BOI กำหนด บริษัทไม่จำเป็นต้องเพิ่มทุนจดทะเบียน โดยสามารถใช้เงินลงทุนของโครงการใหม่จากกำไรสะสมของบริษัทได้ หรือใช้เงินกู้จากในประเทศหรือต่างประเทศได้ อย่างไรก็ตาม หาก D/E เกิน 3/1 อาจจะต้องพิจารณาเพิ่มทุนจดทะเบียน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับเงินลงทุนของโครงการ IPO สำหรับการขอรับการส่งเสริมฯ บริษัทจะใช้บริษัทเดิมที่ดำเนินธุรกิจอยู่แล้วมาขอได้ หรือจะจัดตั้งบริษัทใหม่มาขอก็ได้
มีเงื่อนไขข้อกำหนดเรื่องจำนวนการจ้างงาน สำหรับกิจการ IPO หรือไม่
ไม่มีกำหนดเงื่อนไขการจ้างงานในกิจการ IPO
กรณีบริษัทดำเนินธุรกิจส่งออกอาหารสัตว์จากญี่ปุ่น สามารถยื่นขอรับการส่งเสริมในกิจการ IPO ได้หรือไม่
บริษัทจะต้องมีการดำเนินธุรกิจตามที่กำหนดในเงื่อนไขของ IPO ซึ่งจะต้องเป็นการจัดซื้อวัตถุดิบ ชิ้นส่วน และส่วนประกอบเท่านั้น หากอาหารสัตว์เป็นสินค้าสำเร็จรูปที่พร้อมให้สัตว์รับประทาน จะไม่สามารถขอรับการส่งกิจการ IPO ได้เนื่องจากไม่ใช่วัตถุดิบ ชิ้นส่วน และส่วนประกอบ
กรณีส่วนประกอบและผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป Prefabicated Houses อยู่ในข่ายดำเนินการภายใต้กิจการ IPO ได้หรือไม่
IPO อนุญาตให้ซื้อขาย (ไม่รวมการผลิต ผสม ประกอบเอง) วัตถุดิบ ชิ้นส่วน และส่วนประกอบเท่านั้น โดยไม่รวมสินค้าสำเร็จรูป ทั้งนี้ บริษัทจะต้องดูก่อนว่า สิ่งที่จะขายจะต้องไม่ใช่สินค้าสำเร็จรูปที่พร้อมใช้งาน และถ้าขายในประเทศ จะต้องขายส่งเท่านั้น (ห้ามขายให้ผู้ใช้รายสุดท้าย) ในกรณี Prefabricated House หากสิ่งที่บริษัทจะขายเป็นเพียงแค่ชิ้นส่วน หรือ ส่วนประกอบ เช่น โครงสร้างเหล็ก เป็นต้น จะสามารถเข้าข่ายกิจกรรม IPO ได้ เนื่องจากไม่ใช่ผลิตภัณฑ์สินค้าสำเร็จรูปหรือบ้านสำเร็จรูปที่พร้อมใช้งาน ซึ่งผู้ซื้อ (บริษัทรับเหมาก่อสร้าง) จะต้องนำไปประกอบต่อเป็นสินค้าสำเร็จรูปก่อนนำไปขายให้ End User หรือเจ้าของบ้านอีกครั้ง
หาก Prefabricated Houses ไม่อยู่ในข่ายดำเนินการภายใต้กิจการ IPO บริษัทจำเป็นต้องมีการแยกบัญชีหรือไม่ หรือไม่มีความจำเป็นต้องแยกบัญชี เนื่องจากกิจการ IPO ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลอยู่แล้ว (ทั้งนี้ ธุรกิจ Prefabricated House ไม่จัดอยู่บัญชีท้าย พรบ.ประกอบธุรกิจต่างด้าว)
เบื้องต้นจะต้องตรวจสอบว่า ธุรกิจ Prefabricated House ที่บริษัทหมายถึง คือเฉพาะส่วนที่ซื้อขายชิ้นส่วนและส่วนประกอบ หรือธุรกิจรับประกอบและสร้างบ้าน สำหรับการซื้อขาย (ค้าส่งในประเทศ หรือส่งออกต่างประเทศ) ชิ้นส่วนและส่วนประกอบ จะเข้าข่ายกิจการ IPO ได้ โดยจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของสำนักงาน BOI หากเป็นธุรกิจอื่นๆ เช่น การรับประกอบหรือสร้างบ้าน จะต้องติดต่อสอบถามเพิ่มเติมที่ DBD ว่าเข้าข่ายบัญชีท้ายของ พรบ. การประกอบธุรกิจคนต่างด้าวหรือไม่ นอกจากนี้ หากไม่อยู่ในขอบข่าย IPO หรือกิจการที่ BOI ให้การส่งเสริม บริษัทจะต้องขออนุญาตหรือจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายอื่นๆ ซึ่งควรจะต้องแยกบัญชีภายในเพื่อง่ายต่อการจัดการของบริษัทเองหากมีการตรวจสอบจากหน่วยงานอื่นๆ แม้ว่าจะไม่ได้รับสิทธิและประโยชน์ทางภาษี
บริษัทจำเป็นต้องแจ้งรายละเอียดของวัตถุดิบและชิ้นส่วนในกิจการ IPO ให้ BOI พิจารณาก่อนหรือไม่ หรือบริษัทสามารถดำเนินธุรกิจจัดหาสินค้าประเภทใดก็ได้ อย่างในกรณีวัสดุสิ้นเปลือง เช่น น้ำมันหล่อลื่นสำหรับเครื่องจักร อยู่ในข่ายดำเนินการภายใต้กิจการ IPO ได้หรือไม่
บริษัทต้องแจ้งรายละเอียดวัตถุดิบ บริษัทที่จัดซื้อ และบริษัทลูกค้าที่จะขาย รวมถึงอุตสาหกรรมของสินค้าที่จะขายคร่าวๆ ใน Application อย่างไรก็ตาม หากมีการใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบ จะต้องแจ้งรายชื่อเพื่อขออนุญาตยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบ รวมถึงแจ้งปริมาณก่อนนำเข้าทุกครั้ง สำหรับน้ำมันหล่อลื่น ที่ใช้สำหรับเครื่องจักรผลิต ถือเป็นสินค้าพร้อมใช้งาน หรือสินค้าสำเร็จรูป ไม่ได้นำไปผลิตต่อ จึงไม่เข้าข่าย IPO
อยากทราบว่า "สินค้าสำเร็จรูป" ซึ่งสามารถดำเนินการภายใต้กิจการ ITC เดิมได้นั้น สามารถดำเนินการภายใต้กิจการ IPO ได้ด้วยหรือไม่
IPO ไม่อนุญาตให้ซื้อขายสินค้าสำเร็จรูปได้
กิจการ ITC เดิม ได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและบุคคลธรรมดาจากกรมสรรพากร อยากทราบว่ากิจการ IPO ใหม่จะได้รับสิทธิประโยชน์ดังกล่าวด้วยหรือไม่
IPO ไม่ได้รับสิทธิและประโยชน์ด้านภาษีเงินได้นิติบุคคลและบุคคลธรรมดาจากกรมสรรพากร
อยากทราบสิทธิประโยชน์และข้อจำกัดในการขอรับการส่งเสริมภายใต้กิจการ IBC
สิทธิประโยชน์ของ BOI ภายใต้กิจการ IBC จะได้รับสิทธิและประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษีอากร เช่น การถือหุ้นต่างชาติข้างมาก การถือครองที่ดิน และสิทธิ Visa และ Work Permit ของการนำต่างชาติเข้ามาทำงานใน เป็นต้น รวมถึงการยกเว้นอากรขาเข้าเครื่อจักรสำหรับเพื่อใช้ในกิจกรรมการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการฝึกอบรม ทั้งนี้ กรมสรรพากร จะให้สิทธิและประโยชน์ทางภาษี ในการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล และบุคคลธรรมดาสำหรับชาวต่างชาติ โดยมีรายละเอียดและเงื่อนไขตาม Link นี้ https://www.rd.go.th/fileadmin/images/IBC/Presentation%20by%20Revenue%20Department%20%28EN%29.pdf สำหรับภาษาอังกฤษ และhttps://www.rd.go.th/fileadmin/images/IBC/Presentation%20by%20Revenue%20Department%20%28JP%29.pdf สำหรับภาษาญี่ปุ่น

สำหรับเงื่อนไขหรือข้อจำกัดของ BOI บริษัทจะต้องมีการลงทุนขั้นต่ำ (ไม่รวมค่าที่ดินและเงินทุนหมุนเวียน) ไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท ในระยะเวลา 3 ปี ซึ่ง 1 ล้านบาทสามารถรวมค่าสินทรัพย์ที่ใช้ในการให้บริการลูกค้าตามขอบข่ายธุรกิจที่บริษัทขอ ค่า Renovate Office ค่าเช่าอาคารที่มากกว่า 36 เดือน เป็นต้น รวมถึงจะต้องมีการจ้างงานขั้นต่ำ 10 คน (รวมทั้งคนไทยและต่างชาติ)
อยากทราบขั้นตอนในการยื่นขออนุญาตประกอบธุรกิจศูนย์บริหารเงิน (Treasury Center)
บริษัทจะต้องยื่นขออนุญาตการเป็นศูนย์บริหารเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยจะต้องกรอกรายละเอียดลงแบบฟอร์ม พร้อมจัดเตรียมเอกสารตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด (Request forms of Treasury Centers) เช่น หนังสือรับรองการจัดตั้งบริษัท และเอกสารอื่นๆ โดยจะใช้เวลาอนุมัติประมาณ 60 วัน ซึ่งสามารถตรวจสอบรายละเอียดเงื่อนไขและการเตรียมเอกสารได้ที่ https://www.bot.or.th/Thai/FinancialMarkets/ForeignExchangeRegulations/ForeignMeansOfPaymenBusinesses/Pages/TreasuryCenter.aspx นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้จัดทำรายละเอียดและแปลขอบข่ายศูนย์บริหารเงินเป็นภาษาญี่ปุ่นและอังกฤษ สามารถ Download ได้ที่ https://www.rd.go.th/fileadmin/images/IBC/Presentation%20by%20Bank%20of%20Thailand%20%28EN%29.pdf สำหรับภาษาอังกฤษ และhttps://www.rd.go.th/fileadmin/images/IBC/Presentation%20by%20Bank%20of%20Thailand%20%28JP%29.pdf สำหรับภาษาญี่ปุ่น
อยากทราบรายละเอียดขอบข่ายธุรกิจที่สามารถดำเนินการได้ภายใต้กิจการ TISO
บริษัทสามารถเลือกประกอบธุรกิจข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้
1. การกำกับดูแล และ/หรือการให้บริการบริษัทในเครือและในกลุ่ม ทั้งนี้ ให้รวมถึงการให้บริการจัดหา หรือให้เช่าอาคารสำนักงาน หรืออาคารโรงงานให้บริษัทในเครือและในกลุ่มด้วย
2. การให้คำปรึกษาและแนะนำในการประกอบธุรกิจ ยกเว้น ธุรกิจด้านการซื้อขายหลักทรัพย์ และด้านแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ สำหรับธุรกิจด้านบัญชีด้านกฎหมาย ด้านโฆษณา ด้านสถาปัตยกรรมและด้านวิศวกรรมโยธา ต้องได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้องก่อนยื่นคำขอรับการส่งเสริม
3. การให้บริการข้อมูลข่าวสารด้านการจัดซื้อจัดหาสินค้า
4. การให้บริการทางวิศวกรรมและเทคนิคที่ไม่รวมถึงการให้บริการทางสถาปัตยกรรมและทางวิศวกรรมโยธา
5. กิจกรรมทางธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องจักร เครื่องกล เครื่องมือ และอุปกรณ์ ได้แก่
- การนำเข้าเพื่อค้าส่ง
- การให้บริการฝึกอบรม
- การติดตั้ง บำรุงรักษา และซ่อมแซม
- การปรับ (Calibration)
6. การค้าส่งสินค้าที่ผลิตในประเทศ
7. การให้บริการรับจ้างบริหารระบบธุรกิจระหว่างประเทศ (International Business Process Outsourcing) โดยต้องให้บริการผ่านเครือข่ายโทรคมนาคมในด้านต่าง เช่น Administration Services, Finance & Accounting Services, Human Resource Services, Sales and Marketing Services, Customer Services, Data Processing เป็นต้น
อยากทราบสิทธิประโยชน์กิจการ TISO
สิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษีอากร เช่น การถือหุ้นต่างชาติข้างมาก การถือครองที่ดิน สิทธิ Visa และ Work Permit ของการจ้างงานคนต่างชาติในโครงการ TISO
กรณีบริษัท่ได้รับอนุญาตให้ซื้อที่ดินภายใต้โครงการที่ได้รับส่งเสริมในกิจการ TISO บริษัทจะสามารถให้เช่าที่ดินแก่บริษัทในเครือได้หรือไม่
ไม่สามารถให้เช่าที่ดินได้ ทั้งนี้ บริษัทจะสามารถให้เช่าพื้นที่อาคารสำนักงาน (พื้นที่ส่วนน้อย) ที่เหลือจากการประกอบธุรกิจหลักของ TISO โดยสามารถให้เช่าแก่บริษัทในเครือและในกลุ่มเท่านั้น และไม่ได้เป็นการประกอบธุรกิจให้เช่าอาคารเป็นหลัก ตามขอบข่ายธุรกิจข้อที่ 1. การกำกับดูแล และ/หรือการให้บริการบริษัทในเครือและในกลุ่ม ทั้งนี้ ให้รวมถึงการให้บริการจัดหา หรือให้เช่าอาคารสำนักงาน หรืออาคารโรงงานให้บริษัทในเครือและในกลุ่มด้วย
ปัจจุบันบริษัทดำเนินธุรกิจโดยไม่ได้ BOI หากบริษัทได้รับส่งเสริมในประเภทกิจการ TISO จะสามารถซื้อที่ดินที่มีการเช่าอยู่ในปัจจุบันนี้ได้หรือไม่
BOI จะอนุมัติให้ถือครองที่ดินตามความจำเป็น เฉพาะที่ดินที่ประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมเท่านั้น หากได้รับการส่งเสริม TISO BOI จะพิจารณาจำนวนการถือครองที่ดินตามความจำเป็นของการให้บริการภายใต้ขอบข่ายธุรกิจของ TISO
บริษัทต่างชาติที่ประสงค์ดำเนินธุรกิจ Trading โดยไม่มีกิจการผลิต ต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง
กิจการ Trading ถือเป็นธุรกิจบริการตามบัญชี 3 ของ พรบ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือ DBD ซึ่งหากบริษัทเป็นหุ้นต่างชาติข้างมาก จะต้องขออนุญาตก่อนประกอบธุรกิจ โดยสามารถขอ Foreign Business License (FBL) ได้ที่ DBD หรือหากเป็นประเภทที่มีการส่งเสริมจาก BOI สามารถขอรับการส่งเสริมก่อนได้ หากได้รับการอนุมัติเป็นผู้ได้รับการส่งเสริมจากบีโอไอ จะสามารถขอ Foreign Business Certificate (FBC) จาก DBD ได้ทันที โดยไม่ต้องขออนุญาตเพื่อได้ใบ FBL อีกครั้งจาก DBD

ขออภัยครับ ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ในภาษาที่ท่านเลือก !

Sorry, There is no information support your selected language !

Download และ ติดตั้งโปรแกรมอ่าน PDF

Download PDF Reader

Site map