Chat
x
toggle menu
toggle menu

Select Groups

All Group
  • All Group
  • นโยบายเเละมาตรการพิเศษในการส่งเสริม
  • การขอรับการส่งเสริมการลงทุน
  • การออกบัตรส่งเสริม
  • การเปิดดำเนินการ
  • การเเก้ไขโครงการ
  • การดำเนินการอื่น ๆ
  • การรายงานความคืบหน้าโครงการ (e-Monitoring)
  • การปฏิบัติหลังการได้รับการส่งเสริม
  • การยกเลิกบัตรส่งเสริม
  • เรื่องทั่วไป
  • การใช้สิทธิด้านที่ดิน
  • การใช้สิทธิด้านเครื่องจักร
  • การใช้สิทธิด้านช่างฝีมือ/ต่างด้าว
  • การใช้สิทธิด้านวัตถุดิบ
  • ประเภทกิจการ - การแพทย์
  • การใช้สิทธิด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ประเภทกิจการ - รถยนต์ไฟฟ้า
  • ประเภทกิจการ - ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (IBC) IPO และ TISO
  • ประเภทกิจการ - โรงแรม
  • ประเภทกิจการ - ผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ
  • ประเภทกิจการ - กิจการผลิตเครื่่องจักร อุุปกรณ์และชิ้นส่วน
  • ประเภทกิจการ - กิจการศูนย์กระจายสินค้าระหว่า ประเทศด้วยระบบที่่ทันสมัย (IDC)
เนื่องจากโครงการก่อนวิกฤตอุทกภัยเป็นโครงการโยกย้ายสถานประกอบการมา อยากทราบว่าในช่อง (2) และ (3) ตามข้อ 1.3 ต้องกรอกค่าซ่อมแซมเครื่องจักร และค่าเครื่องจักรที่ลงทุนใหม่ ทั้งสองช่องหรือไม่ และทั้งสองช่องมีความแตกต่างกันอย่างไร

ช่อง 1.3 (2) คือ เครื่องจักรที่ซื้อมาใช้ในโครงการนั้นๆ ส่วน 1.3 (3) คือ สินทรัพย์อื่นๆ เช่น ค่าก่อสร้าง ยานพาหนะ และอุปกรณ์สำนักงาน เป็นต้น จึงเป็นค่าใช้จ่ายคนละรายการกัน หากจะยื่นขอใช้สิทธิตามบัตรโยกย้ายสถานประกอบการ ไม่น่าจะนับค่าเครื่องจักรเป็นขนาดการลงทุนได้ เนื่องจากโครงการโยกย้าย ไม่ครอบคลุมถึงการปรับปรุงเครื่องจักรเก่าหรือซื้อเครื่องจักรมาเพิ่มเติม

"เอกสารที่ใช้ในการขอแก้ไขบัตรส่งเสริม" หลังจากที่ได้รับหนังสือแจ้งมติจากการขอแก้ไขโครงการ (เพิ่มผลิตภัณฑ์, กรรมวิธีผลิต, เพิ่มกำลังการผลิต) ไม่ทราบว่าต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

กรณีได้รับหนังสืออนุมัติให้แก้ไขโครงการ โดยมีการระบุให้นำบัตรส่งเสริมไปแก้ไข ปกติไม่ต้องยื่นเอกสารอะไร นอกจากบัตรส่งเสริมฉบับจริง

แก้ไขโครงการ กรณีบริษัทฯ เปิดดำเนินการแล้วเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559 ในส่วนของลดและเพิ่มปริมาณสต็อกสูงสุด ลดปริมาณจำนวนจากรายการหนึ่ง แล้วเพิ่มปริมาณอีกรายการหนึ่งได้หรือไม่ แต่ปริมาณสต็อกสูงสุดที่ได้รับอนุมัติจาก สนง.ตอนเปิดดำเนินการไม่มีการเปลี่ยนแปลง บริษัทฯสามารถขอแก้ไขโครงการฯได้หรือไม่

จะแก้ไขโครงการ (คือแก้เงื่อนไขในบัตรส่งเสริม) หรือจะแก้ไข max stock หากจะแก้ไข max stock ช่วยให้ข้อมูลให้มากกว่านี้

1.stock เดิม เป็นอย่างไร

2.มีเหตุผลอย่างไรจึงต้องการแก้

3.ต้องการแก้เป็นอย่างไร

สอบถามกรณีถ้าขอขยายนำเข้าเครื่องจักรย้อนหลัง ขอถึงวันที่ยื่นเอกสารวันที่ 4 พฤศจิกายน 2554 ตามบัตรส่งเสริมได้รับอนุมัติวันที่ 30 ธันวาคม 2554 เวลาเปิดดำเนินการนับอย่างไร และเป็นวันที่เท่าไหร่

ขอยกตัวอย่างใหม่เป็นดังนี้ 1 ม.ค. 54 ยื่นคำขอรับการส่งเสริม 1 ก.พ. 54 นำเข้าเครื่องจักรโดยชำระภาษี 1 มี.ค. 54 อนุมัติให้การส่งเสริม 1 เม.ย. 54 ออกบัตรส่งเสริม (เริ่มนับระยะเวลาการยกเว้นภาษีอากรเครื่องจักร) 1 ต.ค. 56 สิ้นสุดระยะเวลานำเข้าเครื่องจักร (30 เดือน นับจากวันที่ออกบัตรส่งเสริม) 1 เม.ย. 57 ครบกำหนดเปิดดำเนินการ (6 เดือน นับจากวันที่สิ้นสุดระยะเวลานำเข้าเครื่องจักร)

กรณีข้างต้นนี้ หากบริษัทยื่นขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรย้อนหลัง เพื่อยกเว้นภาษีอากรเครื่องจักรที่นำเข้ามาก่อนออกบัตรส่งเสริม BOI จะขยายระยะเวลานำเข้าย้อนหลังไปจนถึงวันที่ 1 ม.ค. 54 (วันที่ยื่นคำขอรับส่งเสริม) แต่ระยะเวลาสิ้นสุดการนำเข้าเครื่องจักรยังคงเป็นวันเดิม (1 ต.ค. 56) และวันครบกำหนดเปิดดำเนินการก็ยังคงเป็นวันเดิม (1 เม.ย. 57)

บริษัทยังไม่ได้รับการอนุมัติเปิดดำเนินการจะยกเลิกบัตรส่งเสริมได้หรือไม่ (2 เม.ย. 2563)

โครงการของท่านสามารถขอยกเลิกบัตรส่งเสริมได้ โดยมีรายละเอียดที่เกี่ยวข้องดังนี้

กรณีที่ 1 ขอยกเลิกบัตรส่งเสริม โดยที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดดำเนินการ

สำนักงานจะถือว่าบริษัทไม่เคยได้รับการส่งเสริมตั้งแต่ต้น และบริษัทจะต้องชำระภาษีอากรที่ได้รับสิทธิและประโยชน์จากบีโอไอคืนทั้งหมด กรณีที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบอาจมีภาระภาษีที่จะต้องชำระคืนพร้อมเงินเพิ่มและเบี้ยปรับ (ถ้ามี) ได้แก่

- ด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล จะต้องชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลที่เคยใช้สิทธิยกเว้นภาษีไปแล้วคืนทั้งหมด พร้อมเงินเพิ่มและเบี้ยปรับ

- ด้านอากรขาเข้าเครื่องจักร จะต้องชำระอากรขาเข้าเครื่องจักรและภาษีมูลค่าเพิ่มย้อนหลังตามสภาพ ณ วันนำเข้า พร้อมเงินเพิ่มและเบี้ยปรับ

- ด้านอากรขาเข้าวัตถุดิบ จะต้องชำระอากรขาเข้าวัตถุดิบและภาษีมูลค่าเพิ่มย้อนหลังตามสภาพ ณ วันนำเข้า พร้อมเงินเพิ่มและเบี้ยปรับ

กรณีที่ 2 กรณีที่ได้รับอนุญาตให้เปิดดำเนินการแล้ว และปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขบัตรส่งเสริมมาโดยตลอด

- ด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล ไม่มีภาระภาษีที่ต้องชำระคืน

- ด้านอากรขาเข้าเครื่องจักร หากเครื่องจักรมีอายุเกินกว่า 5 ปีนับจากวันนำเข้า จะอนุญาตให้ตัดบัญชีเครื่องจักรเพื่อปลอดภาระภาษี จึงจะไม่มีภาระที่ต้องชำระอากรขาเข้าเครื่องจักรคืนในส่วนนี้ แต่หากเครื่องจักรมีอายุน้อยกว่า 5 ปี จะต้องชำระอากรขาเข้าเครื่องจักรและภาษีมูลค่าเพิ่มตามสภาพ ณ วันที่อนุมัติให้ยกเลิกบัตรส่งเสริม โดยไม่ต้องชำระเงินเพิ่มหรือเบี้ยปรับ

- ด้านอากรขาเข้าวัตถุดิบ หากมีวัตถุดิบค้างคงเหลือในบัญชีและไม่สามารถส่งออกไปต่างประเทศได้ จะต้องชำระอากรขาเข้าวัตถุดิบและภาษีมูลค่าเพิ่มตามสภาพ ณ วันนำเข้า พร้อมเงินเพิ่มและเบี้ยปรับ

กรณีที่ผู้ได้รับส่งเสริมเป็นบริษัทต่างด้าว และใช้สิทธิในการถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน ผู้ได้รับส่งเสริมจะต้องจำหน่ายที่ดินดังกล่าว ภายใน 1 ปี นับจากวันที่ได้รับอนุมัติให้ยกเลิกบัตรส่งเสริม

กิจการบริการสอบเทียบมาตรฐาน (A1) ได้รับสิทธิมาตรา 36 ด้วยไหม ถ้าได้รับหมายถึงรายการเครื่องมือวัดที่ลูกค้าส่งมารับบริการสอบเทียบมาตรฐานใช่ไหม

ปัจจุบันกิจการในหมวดบริการไม่ให้สิทธิมาตรา 36 เนื่องจากกิจการบริการไม่มีมีวัตถุดิบที่ใช้ในโครงการ

กรณีกิจการบริการสอบเทียบมาตรฐาน ที่จำเป็นต้องนำเข้าสินค้า เช่น เครื่องมือวัดที่ลูกค้าต่างประเทศส่งมาสอบเทียบ และส่งกลับออกไป บริษัทน่าจะยื่นขอรับสิทธิตามมาตรา 36(2) การยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่ผู้ได้รับส่งเสริมนำเข้ามาเพื่อส่งกลับออกไป

1) การนำผลิตภัณฑ์ที่ผลิตและส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ และขอนำกลับเข้ามาซ่อมเพื่อส่งกลับออกไปอีกครั้ง โดยจะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับผลิตภัณฑ์นั้น, วิธีการนี้เรียกว่าอย่างไร 2) ในกรณีที่ไม่ได้ใช้สิทธิ BOI ในการส่งออกครั้งแรก จะสามารถใช้ยกเว้นอากรขาเข้าได้หรือไม่

1. ถ้าเรียกรวมๆ ก็คือการขอนำผลิตภัณฑ์กลับเข้ามาซ่อม แต่ถ้าจะพูดถึงการขอสั่งปล่อยยกเว้นภาษีอากร หรือการขออนุมัติบัญชีปริมาณสต็อก หรือการขอสูตรการผลิต ฯลฯ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่นำกลับเข้ามาซ่อม ก็จะว่ากันเป็นเรื่องๆไปครับ

2. ใช้สิทธิได้ การขอนำผลิตภัณฑ์กลับเข้ามาซ่อม ไม่จำเป็นต้องเป็นสินค้าที่ส่งออกไปโดยใช้สิทธิฯ หากเป็นไปตามเงื่อนไขต่อไปนี้ ก็อยู่ในข่ายที่จะขออนุมัติบัญชีปริมาณสต็อก และนำเข้ามาซ่อมโดยใช้สิทธิได้ คือ

- ต้องเป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม

- ต้องเป็นสินค้าที่สามารถซ่อมได้

- ต้องไม่เป็นการรับจ้างซ่อม หรือเป็นการซ่อมสินค้าที่ผ่านการใช้งานแล้ว

บริษัทจะจำหน่ายเครื่องจักรอายุเกิน 5 ปี ยังไม่ตัดบัญชีเครื่องจักร และถ้าจำหน่ายกำลังการผลิตจะลดลงเกิน 20 % ขั้นตอนที่บริษัทต้องทำคือดังนี้ถูกต้องไหม 1. ตัดบัญชีเครื่องจักร พร้อมแก้ไขโครงการ 2.ทำเรื่องขอจำหน่าย

ขั้นตอนที่ถูกต้องควรดำเนินการดังนี้

1.ยื่นคำขอแก้ไขโครงการเพื่อลดกำลังผลิต

2.ยื่นขออนุมัติจำหน่ายเครื่องจักรโดยไม่มีภาระภาษี (แต่ต้องเปิดดำเนินการแล้ว หรือยังไม่ครบกำหนดเปิดดำเนินการ)

บริษัทฯ สามารถขอรับการส่งเสริมทั้งประเภทกิจการ TISO และ IPO ได้หรือไม่
บริษัทสามารถขอรับการส่งเสริมได้พร้อมกัน (แยก Application) เนื่องจาก 1 บริษัทสามารถขอรับการส่งเสริมกี่ประเภทกิจการก็ได้ แต่จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขเฉพาะกิจการให้ได้ครบทุกเงื่อนไขของแต่ละประเภท
ขอทราบขั้นตอนการยื่นขอรับการส่งเสริมในกิจการ IPO
สามารถยื่นขอรับการส่งเสริมได้ที่ ระบบ e-Investment ใน Website ของ BOI ที่ https://boi-investment.boi.go.th/public/index_en.php ทั้งนี้ บริษัทสามารถ Download แบบฟอร์มเป็น pdf file มาศึกษาก่อนได้ ที่ https://www.boi.go.th/upload/content/F%20PA%20PP%2003(Th)%20e-Form_6008fa2cee5a7.pdf จากนั้นหากบริษัทได้ยื่นขอรับการส่งเสริมในระบบ เจ้าหน้าที่จะนัดสัมภาษณ์รายละเอียดของโครงการ และจัดทำรายงานเพื่อเสนอคณะกรรมการ โดยจะใช้ระยะเวลาที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับเงินลงทุนของบริษัท เช่น หากลงทุนไม่เกิน 200 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและเงินทุนหมุนเวียน) จะใช้เวลา 40 วันทำการนับตั้งแต่วันยื่นคำขอ หากลงทุน 200-2,000 ล้านบาท ใช้ระยะเวลา 60 วันทำการ และหากเกิน 2,000 ล้านบาท จะใช้ระยะเวลาประมาณ 90 วันทำการ
ถ้าจะจำหน่ายเครื่องจักรที่เกิน 5 ปี ต้องตัดบัญชีเครื่องจักรก่อน และดำเนินการขออนุญาตจำหน่ายเครื่องจักรใช่ไหม และต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ทั้งสองขั้นตอน

1.กรณีที่บริษัทยังไม่ทราบว่าจะจำหน่ายเครื่องจักรอายุเกิน 5 ปีหรือไม่

- ให้ยื่นขอตัดบัญชีเครื่องจักรเกิน 5 ปี ก่อน

- เมื่อจะจำหน่าย ให้ยื่นขอจำหน่ายโดยไม่มีภาระภาษี

2.กรณีที่บริษัททราบว่าจะจำหน่ายเครื่องจักรอายุเกิน 5 ปี

- สามารถยื่นขอจำหน่ายโดยไม่มีภาระภาษี โดย BOI จะพิจารณาว่าเป็นเครื่องที่เกิน 5 ปีหรือไม่ และบริษัทดำเนินการตามเงื่อนไขเปิดดำเนินการ ฯลฯ ถูกต้องหรือไม่ หากพิจารณาแล้วถูกต้องตามหลักเกณฑ์ ก็จะอนุญาตให้จำหน่ายโดยไม่มีภาระภาษีไปในขั้นตอนเดียวกันเลย ขั้นตอนทั้งหมดให้ยื่นขออนุมัติในระบบ eMT โดยแนบสำเนาเอกสาร เช่น ใบขนขาเข้า ตามที่ระบุในระบบ

บริษัท A ได้ปิดโครงการไปแล้วปลายปี 59 และตอนนี้ลูกค้าแจ้งสินค้ามีปัญหาจะส่งสินค้ากลับคืนมาเพื่อซ่อมแซมและส่งออกไป (สินค้าที่ ลูกค้าใช้ไม่ได้เปิด Invoice ขายตั้งแต่ เดือนมิถุนายน 59 ก่อนปิดโครงการ ) บริษัทฯ A สามารถนำเข้ามาเพื่อโดยไม่เสียภาษี และผ่าน BOI ได้ไหม - กรณี บริษัท A (non BOI) ขายสินค้าให้ลูกค้าต่างประเทศ โดยสลักหลังใบขน โอนสิทธิให้บริษัท B (BOI) แต่สินค้าไม่ได้คุณภาพลูกค้าแจ้งคืนสินค้า รบกวนสอบถามว่าบริษัท A ให้ บริษัท B ( BOI) รับภาระในการนำสินค้ากลับมาซ่อมแซมได้ไหม ****ขั้นตอนของทั้ง 2 บริษัท มีดังนี้ บริษัท A ได้โอนวัตถุดิบทั้ง หมดไปให้บริษัท B ไปผลิต ก่อนปิดโครงการ // ปัจจุบัน บ.B ได้ขายสินค้า ให้ บ.A ( Non ฺBOI) ซึ่ง บริษัท A เป็นผู้ส่งออก โดยการสลักหลังใบขนขาออกโอนสิทธิ์ให้บริษัท B นำมาตัดบัญชีวัตถุดิบ)

1. หากบริษัท A ปิดโครงการ (คงหมายถึงสิ้นสุดสภาพการเป็นผู้ได้รับส่งเสริมแล้ว) ก็ไม่สามารถใช้สิทธิใดๆ ได้อีก จึงไม่สามารถใช้สิทธิยกเว้นอากรสินค้าที่นำกลับเข้ามาซ่อมได้

2. A (Non BOI) ซื้อสินค้าจาก B (BOI) ไปส่งออก แต่สินค้าไม่ได้คุณภาพ ต้องนำกลับเข้ามาซ่อม B สามารถนำเข้ามาโดยใช้สิทธิยกเว้นอากรของ B ได้ เนื่องจากเป็นการซ่อมสินค้าที่ B เป็นผู้ผลิตขึ้นเอง ไม่ใช่การรับจ้างซ่อมสินค้าที่ผลิตโดยผู้อื่น

วิธีการคิดอัตราส่วนหนี้สิน : ส่วนผู้ถือหุ้น (3:1) ของสนง.ฯ เพื่อเพื่อคำนวณการเพิ่มทุนจดทะเบียนบริษัทฯ โดยที่เดิมบริษัทฯ มีทุนจดทะเบียนแล้ว 41ล้านบาท มีเงินลงทุนทั้งโครงการใหม่ 149 ล้านบาท รวมเงินลงทุนทุกรายการแล้วตามข้อ 3หนี้สินปัจจุบัน(ตามงบการเงินฯ) 235 ล้านบาท ส่วนของผู้ถือหุ้น 72 ล้านบาท อยากทราบว่า

A คือ ส่วนของผู้ถือหุ้น 72 ล้านบาท B คือ หนี้สินปัจจุบัน 235 ล้านบาท C คือ เงินลงทุนของโครงการใหม่ 149 ล้านบาท

ถ้าจะไม่เพิ่มทุน C จะเป็นเงินกู้ทั้งหมด

อัตราส่วนหนี้สิน : ส่วนผู้ถือหุ้น (รวมโครงการเดิม)

B+C = 384, A = 72

จะเป็น (B+C) : A = 5.33 : 1 ซึ่งเกิน 3:1

ดังนั้น บริษัทจึงต้องเพิ่มทุนจดทะเบียนอีกส่วนหนึ่ง คือ C1 และกู้เงินอีกส่วนหนึ่ง คือ C2 โดย C1 + C2 = 149 ล้านบาท ซึ่งถ้า (B+C2) : (A+C1) ไม่เกิน 3 : 1 ก็อยู่ในเกณฑ์ที่จะอนุมัติได้

การยกเลิกบัตรส่งเสริม สิทธิประโยชน์ที่ใช้ไปแล้ว บริษัทไม่สามารถจ่ายคืนภาษีย้อนหลังได้ เนื่องจากกิจการมีปัญหาสภาพคล่อง และจำเป็นต้องรับผิดชอบค่าชดเชยพนักงานเป็นเงินสูงมาก ทางบีโอไอมีแนวทางช่วยเหลืออย่างไรได้บ้างคะ (2 เม.ย. 2563)

หากบริษัทปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขของบัตรส่งเสริมที่สำนักงานกำหนดมาโดยตลอด ท่านสามารถขอยกเลิกบัตรส่งเสริมได้โดยปราศจากภาระอากรต่าง ๆ ตามแนวทางที่ได้เสนอไปข้างต้น

อย่างไรก็ตาม สำนักงานแนะนำให้ท่านติดต่อกับกองบริหารการลงทุน 5 ซึ่งปัจจุบันกำกับดูแลประเภทกิจการของท่าน เพื่อเร่งรัดการตรวจเปิดดำเนินการ และดำเนินการขอยกเลิกบัตรส่งเสริมต่อไป

สำหรับการยกเลิกบัตรส่งเสริมสามารถดำเนินการโดย บริษัทนำส่งหนังสือชี้แจงจากบริษัท เรื่อง ขอยกเลิกบัตรส่งเสริม โดยชี้แจงเหตุผลที่ต้องการยกเลิกบัตรส่งเสริม เช่น เลิกประกอบกิจการ ยกเลิกการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการส่งเสริม หรือสิทธิประโยชน์ทางภาษีสิ้นสุดลงโดยไม่ประสงค์จะใช้สิทธิที่ไม่ใช่ภาษี เป็นต้น

สำนักงานจะดำเนินการตรวจสอบการใช้สิทธิและประโยชน์จากระบบการจัดเก็บเอกสารของสำนักงาน และสมาคมสโมสรนักลงทุน ได้แก่ การใช้สิทธิและประโยชน์ด้านเครื่องจักร ด้านวัตถุดิบ ด้านที่ดิน ด้านช่างฝีมือ และด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามสิทธิและประโยชน์ที่ได้รับตามประเภทกิจการ และให้นำส่งหนังสือขอยกเลิกบัตรส่งเสริมที่กองบริหารการลงทุน 5 ที่กำกับดูแลประเภทกิจการของท่าน โดยหลักประกัน การคุ้มครอง และสิทธิประโยชน์ทั้งหมดจะสิ้นสุดลงในวันที่ได้รับอนุมัติให้ยกเลิกบัตรส่งเสริม

เอกสารการยกเลิกบัตรส่งเสริม

1. จดหมายชี้แจง (บริษัทท่านจะต้องเป็นผู้ทำจดหมายชี้แจงของบริษัท) โดยต้องระบุสาระสำคัญ ได้แก่ เลขที่บัตรส่งเสริม / ลงวันที่ออกบัตรส่งเสริม และเหตุผลการขอยกเลิกบัตรส่งเสริม

2. สำเนาหนังสือรับรองบริษัท

3. สำเนาบัตรส่งเสริม

4. สำเนางบการเงินปีล่าสุด

5. สำเนา ภ.ง.ด. 50 ปีล่าสุด

ทั้งนี้ เอกสารตามข้อ 1 – 5 ต้องมีลายเซ็นกรรมการผู้จัดการหรือผู้มีอำนาจลงนามพร้อมทั้งประทับตราบริษัท โดยยื่นเอกสารที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กองบริหารการลงทุน 5 ที่กำกับดูแลประเภทกิจการที่ได้รับการส่งเสริม

ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ในการยื่นขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรย้อนหลัง

ใช้เอกสารตามนี้

หนังสือนำส่งของบริษัท

ไม่มีแบบฟอร์ม ใช้หนังสือหัวจดหมายบริษัท เรื่องขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรย้อนหลัง เรียนเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ลงนามโดยกรรมการผู้มีอำนาจและประทับตรารับรอง

แบบขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรและเปิดดำเนินการ (F IN EM 02) 1 ชุด กรอกข้อมูลในข้อ 1 และ 2 และเลือกข้อ 3.1

สำเนาหนังสือแจ้งมติให้การส่งเสริม (หน้าแรก) 1 ชุด

ตอนนี้บริษัทหยุดการผลิตไป 1 สายการผลิต แต่ทางเจ้านายยังไม่ทราบแน่นอนว่าต่อไปจะมีการผลิตอีกหรือไม่มีการผลิตอีก บริษัทต้องดำเนินการลดกำลังการผลิตหรือไม่ หรือต้องดำเนินการอย่างไรก่อน

การจะหยุดกิจการเป็นเวลาตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป จะต้องแจ้ง BOI เพื่อขออนุญาตก่อน แต่การชะลอการผลิต โดยการหยุดผลิตไป 1 สายการผลิต ไม่ต้องแจ้งขออนุญาต

กรณีมี 2 โครงการ ในการรายงาน ต.ส.310 ต้องแยกรายได้ทั้งสองโครงการออกจากกันหรือรวมกัน

การยื่น ตส.310 กรณีมีหลายบัตร ให้คีย์ข้อมูลรายได้รายจ่ายรวมกันทุกโครงการและให้คีย์ข้อมูลการผลิตรวมกันทุกบัตร (แยกชนิดภัณฑ์)

เอกสารประกอบที่ต้องใช้ยื่นขอออกบัตรส่งเสริมมีเอกสารอะไรบ้าง

เอกสารประกอบการขอรับบัตรส่งเสริม ระบุไว้ในแบบประกอบการขอรับบัตรส่งเสริม (กกท.05) (F GA CT 08) หากเอกสารครบ จะใช้เวลาออกบัตรส่งเสริมภายใน 10 วันทำการ

ขั้นตอนการทำเอกสารและยื่นเอกสารสิทธิประโยชน์ BOI ต้องใช้เอกสารหรือแบบฟอร์มไหนบ้างเพื่อขอ Passport + work permit

ขออธิบายขั้นตอนและเอกสารคร่าวๆ ดังนี้

1. สมัครใช้บริการระบบ e-expert รายละเอียดตาม Link : http://www.faq108.co.th/boi/expert/e_expert.php

2.ขออนุมัติตำแหน่ง

- ยื่น online

- ระบุเหตุผลความจำเป็นในการต้องมีตำแหน่งของชาวต่างชาติ

- ใช้เอกสารตามที่กำหนด เช่น ผังองค์กร แผนการถ่ายทอดเทคโนโลยี หนังสือรับรองบริษัท เป็นต้น

3.ยื่นบรรจุช่างฝีมือ

- ยื่น online

- ใช้เอกสารตามที่กำหนด เช่น หนังสือเดินทาง ใบรับรองการทำงาน ใบรับรองวุฒิการศึกษา เป็นต้น จากนั้น จึงพาช่างฝีมือไปต่อวีซ่าและทำใบอนุญาตทำงานตามที่ได้รับอนุมัติบรรจุ

บริษัทได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สมมุติว่ากำหนดวงเงินไว้ 30,000,000 บาท บริษัทใช้ไปในระยะเวลา 6 ปี เป็นจำนวนเงิน 15,000,000 แต่ปีที่ 7 ถ้าได้กำไรมาก ซึ่งจะเกินกว่าเงื่อนไขวงเงินยกเว้นภาษีที่ บีโอไอ ตั้งไว้ บริษัทจะขอยายวงเงินได้ไม่ แล้วถ้าปีที่ 7 เกินวงเงิน จะมีผลต่อการขอใช้สิทธิอย่างไรบ้าง

1. วงเงินยกเว้นภาษี กำหนดตามขนาดการลงทุนของโครงการในวันที่อนุมัติเปิดดำเนินการ ปัจจุบันเข้าสู่ปีที่ 7 ซึ่งคงได้รับอนุมัติเปิดดำเนินการและตรวจสอบขนาดการลงทุนที่แท้จริงไปแล้ว จึงไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงวงเงินได้อีก

2. กรณีที่มีกำไรเกินกว่าวงเงินที่จะได้รับยกเว้นภาษี ก็จะต้องชำระภาษีในส่วนที่เกิน ยกตัวอย่างเช่น ปีนี้เป็นปีสุดท้าย และเหลือวงเงินยกเว้นภาษี 15 ล้านบาท แต่บริษัทมีกำไรสุทธิ 100 ล้านบาท คำนวณภาษีเงินได้คือ 20 ล้าน ก็จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้เท่าที่ยังเหลือสิทธิ คือ 15 ล้านบาท และต้องชำระภาษีเงินได้ 5 ล้านบาท

ขออภัยครับ ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ในภาษาที่ท่านเลือก !

Sorry, There is no information support your selected language !

Download และ ติดตั้งโปรแกรมอ่าน PDF

Download PDF Reader

Site map