อยากทราบความแตกต่างระหว่างกิจการ IBC, IPO และ TISO
กิจการ 7.34 IBC คือกิจการที่ให้บริการบริษัทในเครือและในกลุ่มเป็นหลัก ทำหน้าที่เสมือน Headqaurters หรือ Regional Operating Headquarters นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรม Trading แต่กิจกรรมนี้สามารถให้บริการใครก็ได้ แต่จะต้องทำกิจกรรมให้บริการ HQ เป็นหลักก่อน ถึงจะสามารถขอกิจกรรม Trading ได้เพิ่มเติมได้
กิจการ 7.37 IPO คือกิจการจัดซื้อวัตถุดิบ ชิ้นส่วน และส่วนประกอบ จากหลายๆแหล่ง ให้แก่ลูกค้าซึ่งเป็นโรงงานอุตสาหกรรม หรือตัวแทนจำหน่าย โดยจะเป็นการค้าส่งในประเทศ และ/หรือส่งออกต่างประเทศ ทำหน้าที่เสมือน Sourcing Unit ของให้แก่ลูกค้าที่เป็นโรงงานอุตสาหกรรมหรือ Distributors
กิจการ 7.7 TISO เป็นกิจการสนับสนุนด้านการค้าการลงทุนของอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีหลายขอบข่ายธุรกิจที่บริษัทสามารถขอรับการส่งเสริมได้ เช่น การให้บริการทางวิศวกรรม การให้คำปรึกษา การติดตั้ง บำรุงรักษา ซ่อมแซมเครื่องจักร เป็นต้น อย่างไรก็ตาม แต่ละประเภทกิจการจะมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันออกไป (สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเงื่อนไขกิจการได้ที่คู่มือขอรับการส่งเสริม)
กิจการ 7.37 IPO คือกิจการจัดซื้อวัตถุดิบ ชิ้นส่วน และส่วนประกอบ จากหลายๆแหล่ง ให้แก่ลูกค้าซึ่งเป็นโรงงานอุตสาหกรรม หรือตัวแทนจำหน่าย โดยจะเป็นการค้าส่งในประเทศ และ/หรือส่งออกต่างประเทศ ทำหน้าที่เสมือน Sourcing Unit ของให้แก่ลูกค้าที่เป็นโรงงานอุตสาหกรรมหรือ Distributors
กิจการ 7.7 TISO เป็นกิจการสนับสนุนด้านการค้าการลงทุนของอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีหลายขอบข่ายธุรกิจที่บริษัทสามารถขอรับการส่งเสริมได้ เช่น การให้บริการทางวิศวกรรม การให้คำปรึกษา การติดตั้ง บำรุงรักษา ซ่อมแซมเครื่องจักร เป็นต้น อย่างไรก็ตาม แต่ละประเภทกิจการจะมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันออกไป (สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเงื่อนไขกิจการได้ที่คู่มือขอรับการส่งเสริม)
ทำไม BOI จึงพิจารณานำกิจการ IPO กลับมาให้ส่งเสริมอีกครั้ง และอยากทราบความแตกต่างระหว่างกิจการ IBC, IPO และ TISO
เนื่องจาก BOI ได้ยกเลิกการส่งเสริมกิจการ International Trading Center (ITC) โดยได้กำหนดกิจการใหม่เป็น IBC ที่รวมการทำ Trading ไปด้วย แต่เนื่องจากจะต้องดำเนินธุรกิจ Headquarters เป็นหลักก่อน จึงจะสามารถทำกิจกรรม Trading ได้ ทำให้บางบริษัท ที่ไม่ต้องการจะเป็น HQ จะไม่สามารถขอรับการส่งเสริมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ Trading ได้ นอกจากนี้ รัฐบาลไทยได้มุ่งเน้นผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุนของภูมิภาค และได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของกิจการ IPO ซึ่งถือเป็นธุรกิจในภาคบริการที่มีส่วนสำคัญต่อภาคการผลิตในประเทศ ก่อให้เกิดการเชื่อมโยงของห่วงโซ่อุปทานอย่างครบวงจร จึงกลับมาส่งเสริมกิจการ IPO อีกครั้ง เพื่อกระตุ้นภาคเศรษฐกิจและการลงทุนในประเทศ สำหรับความแตกต่างกิจ IPO IBC และ TISO อ้างอิงคำตอบจากข้อ 1.
BOI มีแผนพิจารณานำกิจการ ITC กลับมาให้การส่งเสริมอีกครั้งด้วยหรือไม่
ปัจจุบัน BOI ยังไม่มีแผนพิจารณาการนำกิจการ ITC กลับมาส่งเสริมอีกครั้งแบบแยกประเภท เนื่องจาก ITC มีให้การส่งเสริมอยู่แล้ว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจการ IBC ในปัจจุบัน
อยากทราบสิทธิประโยชน์และข้อจำกัดในการขอรับการส่งเสริมภายใต้กิจการ IPO
สิทธิประโยชน์ 1. การยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบ สำหรับวัตถุดิบที่นำมาขายต่อให้ผู้ผลิตเพื่อผลิต ผสม ประกอบ และส่งออกไปต่างประเทศ 2. การยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรสำหรับใช้ในกิจการ IPO 3. การถือหุ้นต่างชาติข้างมาก 4. การถือครองที่ดิน 5. สิทธิ Visa และ Work Permit ของการนำต่างชาติเข้ามาทำงานในโครงการ IPO สำหรับข้อจำกัด หรือเงื่อนไขการขอรับการส่งเสริมคือ 1. จะต้องมีทุนจดทะเบียนเรียกชำระ 10 ล้านบาท 2. มีการลงทุนขั้นต่ำ เช่น การซื้อสินทรัพย์ที่ใช้ในโครงการ การเช่าพื้นที่ การปรับปรุง Office เป็นต้น (ไม่รวมค่าที่ดินและเงินทุนหมุนเวียน) ขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท ภายใน 3 ปี 3. เงื่อนไขเฉพาะโครงการอื่นๆ ตามประกาศประเภทกิจการ 7.37 เช่น ต้องมีหรือเช่าคลังสินค้า มีระบบจัดการสินค้าในคลังสินค้า มีการตรวจสอบสินค้าอย่างเหมาะสม มีการจัดซื้อในประเทศไทยอย่างน้อย 1 ราย เป็นต้น
บริษัทฯ สามารถขอรับการส่งเสริมทั้งประเภทกิจการ TISO และ IPO ได้หรือไม่
บริษัทสามารถขอรับการส่งเสริมได้พร้อมกัน (แยก Application) เนื่องจาก 1 บริษัทสามารถขอรับการส่งเสริมกี่ประเภทกิจการก็ได้ แต่จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขเฉพาะกิจการให้ได้ครบทุกเงื่อนไขของแต่ละประเภท
ขอทราบขั้นตอนการยื่นขอรับการส่งเสริมในกิจการ IPO
สามารถยื่นขอรับการส่งเสริมได้ที่ ระบบ e-Investment ใน Website ของ BOI ที่ https://boi-investment.boi.go.th/public/index_en.php ทั้งนี้ บริษัทสามารถ Download แบบฟอร์มเป็น pdf file มาศึกษาก่อนได้ ที่ https://www.boi.go.th/upload/content/F%20PA%20PP%2003(Th)%20e-Form_6008fa2cee5a7.pdf จากนั้นหากบริษัทได้ยื่นขอรับการส่งเสริมในระบบ เจ้าหน้าที่จะนัดสัมภาษณ์รายละเอียดของโครงการ และจัดทำรายงานเพื่อเสนอคณะกรรมการ โดยจะใช้ระยะเวลาที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับเงินลงทุนของบริษัท เช่น หากลงทุนไม่เกิน 200 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและเงินทุนหมุนเวียน) จะใช้เวลา 40 วันทำการนับตั้งแต่วันยื่นคำขอ หากลงทุน 200-2,000 ล้านบาท ใช้ระยะเวลา 60 วันทำการ และหากเกิน 2,000 ล้านบาท จะใช้ระยะเวลาประมาณ 90 วันทำการ
การเปิดให้การส่งเสริมในประเภทกิจการ IPO ใหม่นี้ มีกำหนดเวลาสิ้นสุดหรือไม่
ปัจจุบัน ยังไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุด
ตามที่กิจการ ITC ได้ถูกยกเลิกให้การส่งเสริมอย่างกะทันหันเมื่อเดือนธันวาคม 2561 อยากทราบว่ากิจการ IPO จะมีกำหนดเวลาสิ้นสุดการให้ส่งเสริมหรือไม่
ปัจจุบัน ยังไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุด
ในกรณีบริษัทที่ได้รับส่งเสริมในกิจการ ITC ต้องการยื่นขอรับการส่งเสริมในกิจการ IPO จำเป็นต้องยกเลิกบัตรส่งเสริมของกิจการ ITC ก่อนหรือไม่
เนื่องจากกิจการ ITC และ กิจการ IPO เป็นการให้บริการในลักษณะเดียวกัน ซึ่ง IPO เป็นส่วนหนึ่งของ ITC หากบริษัทมีบัตร ITC อยู่แล้ว จะสามารถครอบคลุมทุกกิจกรรมของ IPO และสามารถประกอบธุรกิจทุกอย่างที่ IPO ทำได้ ภายใต้บัตร ITC โดยไม่เงื่อนไขเฉพาะที่กำหนดเหมือน IPO ดังนั้น บริษัทไม่จำเป็นต้องยกเลิกบัตร ITC เพื่อขอบัตรใหม่ IPO เพราะ ITC มีเงื่อนไขที่มีความยืดหยุ่นมากกว่า หากมีบัตร ITC อยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องขอบัตร IPO อีกบัตร เนื่องจากเป็นการบริการที่เหมือนกัน
บริษัทที่ได้รับบัตรส่งเสริมในกิจการ IPO เดิม ซึ่ง BOI ยกเลิกการให้ส่งเสริมไปเมื่อปี 2557 จะสามารถขอแก้ไขเป็นบัตรส่งเสริมภายใต้กิจการ IPO ใหม่ได้หรือไม่
ไม่จำเป็นต้องขอใหม่ เนื่องจากเป็นการให้บริการลักษณะที่เหมือนกัน และเงื่อนไขและสิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ ไม่ได้แตกต่างกัน
บริษัทที่ได้รับส่งเสริมในกิจการ IBC อยู่แล้ว สามารถยื่นขอรับการส่งเสริมในกิจการ IPO ได้หรือไม่ หากไม่ได้ จะขอยกเลิกบัตรส่งเสริมกิจการ IBC และยื่นขอรับการส่งเสริมในกิจการ IPO ได้หรือไม่ หรือสามารถเปลี่ยนกิจการที่ได้รับส่งเสริมจาก IBC เป็นกิจการ IPO ได้หรือไม่
หากมีบัตร IBC อยู่แล้ว บริษัทสามารถขอรับการส่งเสริมกิจการ IPO ได้ เนื่องจาก 1 บริษัท สามารถขอรับการส่งเสริมได้หลายบัตรหรือหลายกิจการ ทั้งนี้ บริษัทจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขเฉพาะโครงการของกิจการแต่ละประเภท อย่างไรก็ตามบริษัทไม่สามารถนำบัตร IBC มาเปลี่ยนประเภทเป็นกิจการ IPO ได้ เนื่องจากเป็นคนละประเภทกิจการกัน และมีลักษณะการให้บริการที่แตกต่างกัน
อยากทราบขอบข่ายการให้บริการภายใต้กิจการ IPO
ขอบข่ายการให้บริการภายใต้กิจการ IPO เป็นการให้บริการทางด้านการจัดหา จัดซื้อวัตถุดิบ ชิ้นส่วน และส่วนประกอบ ที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต รวมถึงการให้บริการตรวจสอบคุณภาพและการบรรจุสินค้า เป็นต้น
บริษัทร่วมทุนญี่ปุ่น-ไทย โดยมีผู้ถือหุ้นไทยข้างมาก สามารถยื่นขอรับการส่งเสริมในกิจการ IPO ได้หรือไม่
จะต้องจัดตั้งเป็นบริษัทนิติบุคคลในไทย โดยสามารถเป็นหุ้นไทยข้างมาก หรือหุ้นต่างชาติข้างมากได้
กิจการ IPO สามารถดำเนินธุรกรรมในรูปแบบ In-In, In-Out, Out-In, Out-Out ได้ทั้งหมดหรือไม่
กิจการ IPO ไม่สามารถทำกิจกรรม Out-Out ได้ เนื่องจากมีเงื่อนจะต้องมี Warehouse ในประเทศ (สามารถลงทุนสร้างเอง หรือเช่าได้) เพื่อทำการตรวจสอบสินค้า หรือ Repackage ก่อนส่งสินค้าให้ลูกค้า
อยากทราบเงื่อนไขและข้อกำหนดของคลังสินค้า รวมถึงซอฟต์แวร์ที่ใช้ในระบบบริหารจัดการคลังสินค้า
ไม่ได้มีข้อกำหนดถึงขนาด (Size)หรือรูปแบบของ Warehouse แต่จะต้องมีขนาดและอุปกรณที่เหมาะสมกับปริมาณและชนิดสินค้าที่บริษัทจะขาย ซึ่งสามารถเช่า Warehouse หรือลงทุนสร้างและปรับปรุงเองได้ นอกจากนี้ ระบบหรือซอฟต์แวร์ ควรเป็นชนิดที่สามารถอัพเดทได้อย่าง Real Time ว่ามีกี่ชิ้นคงเหลือในคลังสินค้า สินค้าอยู่ Shelf ไหน สามารถ Link การทำงานของทุกแผนกที่เกี่ยวข้องกับสินค้าได้ ทั้งนี้ สำนักงานไม่ได้ระบุชนิดซอฟต์แวร์เฉพาะ แต่ห้ามเป็นระบบ Manual อย่าง Excel หรือ Word ที่ทำตารางเอง และไม่สามารถดู Real Time ได้
มีข้อกำหนดสำหรับซอฟต์แวร์ที่ใข้ในระบบบริหารจัดการคลังสินค้าของกิจการ IPO หรือไม่ อย่างไร
ระบบหรือซอฟต์แวร์ ควรเป็นชนิดที่สามารถอัพเดทได้อย่าง Real Time ว่ามีกี่ชิ้นคงเหลือในคลังสินค้า สินค้าอยู่ Shelf ไหน สามารถ Link การทำงานของทุกแผนกที่เกี่ยวข้องกับสินค้าได้ ทั้งนี้ สำนักงานไม่ได้ระบุชนิดซอฟต์แวร์เฉพาะ แต่ห้ามเป็นระบบ Manual อย่าง Excel หรือ Word ที่ทำตารางเอง และไม่สามารถดู Real Time ได้
มีข้อกำหนดสำหรับขนาดคลังสินค้าและคุณสมบัติของซอฟต์แวร์ที่ใข้ในระบบบริหารจัดการคลังสินค้าของกิจการ IPO หรือไม่ อย่างไร
ไม่ได้มีข้อกำหนดถึงขนาด (Size) หรือรูปแบบของ Warehouse แต่จะต้องมีขนาดและอุปกรณที่เหมาะสมกับปริมาณและชนิดสินค้าที่บริษัทจะขาย ซึ่งสามารถเช่า Warehouse หรือลงทุนสร้างและปรับปรุงเองได้ นอกจากนี้ ระบบหรือซอฟต์แวร์ ควรเป็นชนิดที่สามารถอัพเดทได้อย่าง Real Time ว่ามีกี่ชิ้นคงเหลือในคลังสินค้า สินค้าอยู่ Shelf ไหน สามารถ Link การทำงานของทุกแผนกที่เกี่ยวข้องกับสินค้าได้ ทั้งนี้ สำนักงานไม่ได้ระบุชนิดซอฟต์แวร์เฉพาะ แต่ห้ามเป็นระบบ Manual อย่าง Excel หรือ Word ที่ทำตารางเอง และไม่สามารถดู Real Time ได้
มีการกำหนดเงื่อนไขขนาดของคลังสินค้าที่สร้างขึ้นหรือเช่าไว้หรือไม่ หากไม่มีบริษัทสามารถใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งในสำนักงานที่ทำการเช่าอยู่ เพื่อเป็นคลังสินค้าในโครงการได้หรือไม่
ไม่ได้มีข้อกำหนดถึงขนาด (Size) หรือรูปแบบของ Warehouse แต่จะต้องมีขนาดและอุปกรณที่เหมาะสมกับปริมาณและชนิดสินค้าที่บริษัทจะขาย ซึ่งสามารถเช่า Warehouse หรือลงทุนสร้างและปรับปรุงเองได้ สามารถใช้พื้นที่สำนักงานได้ แต่ต้องตรวจสอบว่า ทางอาคารของพื้นที่ที่เช่าจะอนุญาตให้เป็นคลังสินค้าได้หรือไม่ หรือติดกฎหมายอื่นๆ หรือไม่
ภายใต้เงื่อนไขของกิจการ IPO เดิม บริษัทจำเป็นต้องใช้ซอฟต์แวร์ที่ได้รับความเห็นชอบจาก BOI อยากทราบว่ากิจการ IPO ใหม่ ยังคงมีข้อกำหนดดังกล่าวหรือไม่
ยังคงมีเงื่อนไขนี้ โดยระบบหรือซอฟต์แวร์ ควรเป็นชนิดที่สามารถอัพเดทได้อย่าง Real Time ว่ามีกี่ชิ้นคงเหลือในคลังสินค้า สินค้าอยู่ Shelf ไหน สามารถ Link การทำงานของทุกแผนกที่เกี่ยวข้องกับสินค้าได้ ทั้งนี้ สำนักงานไม่ได้ระบุชนิดซอฟต์แวร์เฉพาะ แต่ห้ามเป็นระบบ Manual อย่าง Excel หรือ Word ที่ทำตารางเอง และไม่สามารถดู Real Time ได้
บริษัทสามารถเช่าคลังสินค้าและ outsource ในกระบวนการตรวจสอบคุณภาพ และบรรจุภัณฑ์ได้หรือไม่
สามารถเช่าคลังสินค้าได้ โดยจะต้องแจ้งตอนยื่นขอรับการส่งเสริม รวมถึงระบุว่า คลังสินค้าที่จะเช่า จะรวมการตรวจสอบคุณภาพและ Repacking ด้วย