Chat
x
toggle menu
toggle menu

Select Groups

All Group
  • All Group
  • นโยบายเเละมาตรการพิเศษในการส่งเสริม
  • การขอรับการส่งเสริมการลงทุน
  • การออกบัตรส่งเสริม
  • การเปิดดำเนินการ
  • การเเก้ไขโครงการ
  • การดำเนินการอื่น ๆ
  • การรายงานความคืบหน้าโครงการ (e-Monitoring)
  • การปฏิบัติหลังการได้รับการส่งเสริม
  • การยกเลิกบัตรส่งเสริม
  • เรื่องทั่วไป
  • การใช้สิทธิด้านที่ดิน
  • การใช้สิทธิด้านเครื่องจักร
  • การใช้สิทธิด้านช่างฝีมือ/ต่างด้าว
  • การใช้สิทธิด้านวัตถุดิบ
  • ประเภทกิจการ - การแพทย์
  • การใช้สิทธิด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ประเภทกิจการ - รถยนต์ไฟฟ้า
  • ประเภทกิจการ - ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (IBC) IPO และ TISO
  • ประเภทกิจการ - โรงแรม
  • ประเภทกิจการ - ผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ
  • ประเภทกิจการ - กิจการผลิตเครื่่องจักร อุุปกรณ์และชิ้นส่วน
  • ประเภทกิจการ - กิจการศูนย์กระจายสินค้าระหว่า ประเทศด้วยระบบที่่ทันสมัย (IDC)
ทางบริษัทได้รับอนุมัติตำแหน่งเป็นระยะเวลา 2 ปี จนถึง 21 มกราคม 2560 แต่ต่างชาติหมดสัญญาจ้างต้องกลับประเทศประมาณ 30 มีนาคม 2559 ไม่ทราบบริษัทจะแจ้งพ้นตำแหน่งได้หรือไม่ เพราะในระบบ ระบุอย่างน้อย 15 วัน

ให้รอจนถึง 15 วันก่อนพ้นตำแหน่ง จึงค่อยยื่นแจ้งพ้นตำแหน่งบนระบบ จากนั้นจึงนำหนังสืออนุมัติไปแจ้งยกเลิกวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน

ช่างฝีมือของบริษัทจะเดินทางกลับประเทศวันที่ 19 ธันวาคม 2014 จะต้องแจ้งพ้นตำแหน่งภายในวันที่เท่าไหร่

การแจ้งพ้นจากตำแหน่ง ระบบ e-expert จะล็อคให้กำหนดวันพ้นตำแหน่งล่วงหน้าได้ไม่เกิน 15 วัน โดยบริษัทจะแจ้งพ้นล่วงหน้าเมื่อใดก็ได้ใน 1-15 วัน นี้ แต่หากเป็นการแจ้งพ้นจากตำแหน่งหนึ่ง เพื่อบรรจุในตำแหน่งอื่น หรือเพื่อย้ายไปทำงานในบริษัทอื่น ควรแจ้งพ้นล่วงหน้า 15 วัน เพื่อให้มีระยะเวลาวีซ่าเหลือเพียงพอที่จะยื่นบรรจุในตำแหน่งใหม่ได้

ทางบริษัทได้ขออนุญาตชั่วคราว 6 เดือนให้กับช่างฝีมือเพื่อรอบรรจุต่อจากช่างฝีมือที่จะหมดวาระลง ขณะนี้ตำแหน่งที่ต้องการบรรจุนั้นว่างลงแล้ว ขั้นตอนแรกทางบริษัทต้องทำอย่างไรก่อนถึงจะบรรจุช่างในตำแหน่งที่ว่างลงได้
เมื่อตำแหน่ง A ว่างลง และจะย้ายช่างที่ปฏิบัติงานในตำแหน่ง B มาบรรจุลงแทนในตำแหน่ง A ให้ดำเนินการดังนี้

- แจ้งช่างพ้นจากตำแหน่ง A

- แจ้งช่างพ้นจากตำแหน่ง B ล่วงหน้า 15 วัน โดยระบบจะเพิ่มวันที่อนุญาตให้ช่าง B อยู่ในประเทศให้อีก 7 วัน หลังพ้นตำแหน่ง แต่ไม่เกินระยะเวลาอยู่ในประเทศที่ได้รับอนุญาตอยู่เดิม

- นำหนังสือเดินทางของช่าง B ไปประทับตราพ้นตำแหน่งที่ ตม.

- ยื่นขอบรรจุช่าง B ในตำแหน่ง A (โดยในวันที่ยื่นคำร้อง ช่าง B ต้องมีระยะเวลาวีซ่าเหลือไม่น้อยกว่า 15 วัน)

การขอขยายเวลาอายุของช่างฝีมือ ถ้าได้รับอนุมัติให้ถึง เมษายน 2015 แต่ช่างฝีมือเดินทางกลับประเทศเดือนธันวาคม 2014 แล้วมีคนมาแทน...อย่างนี้ต้องขอขยายระยะเวลาก่อนบรรจุคนใหม่หรือไม่?

ระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติถึงเมษายน 2015 คือ ระยะเวลาของตำแหน่ง หากมีการบรรจุช่างฝีมือ ช่างฝีมือจะได้รับอนุญาตให้อยู่ตามระยะเวลาของตำแหน่ง คือ เมษายน 2015 หากช่างที่บรรจุอยู่ในปัจจุบัน จะเดินทางกลับประเทศเดือนธันวาคม 2014 ก็ให้แจ้งพ้นตำแหน่ง แล้วยื่นบรรจุช่างคนใหม่แทน โดยช่างคนใหม่จะได้รับอนุญาตให้อยู่ตามระยะเวลาที่เหลืออยู่เดิมของตำแหน่ง คือ เมษายน 2015 และเมื่อถึงระยะเวลา 15-90 วัน ก่อนสิ้นสุดระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติอยู่เดิม จึงยื่นขยายระยะเวลาของตำแหน่ง จากนั้นจึงยื่นขอต่ออายุการอยู่ในประเทศของช่างฝีมือ หากตำแหน่งนั้นว่างลง เนื่องจากช่างคนเก่าเดินทางกลับ และช่างคนใหม่มาไม่ทัน จะไม่สามารถขอขยายระยะเวลาของตำแหน่งที่ว่างลงได้ ต้องปล่อยให้ตำแหน่งนั้นหมดอายุไป แล้วยื่นขออนุมัติตำแหน่งใหม่เมื่อมีความต้องการในภายหลัง

ตำแหน่งที่ได้รับอนุมัติมีกำหนดระยะเวลาหมดอายุไหม ถ้ามีตำแหน่ง แต่ยังไม่ได้บรรจุ

ตำแหน่งที่ได้รับอนุมัติ ปกติมีระยะเวลา 2 ปี นับจากวันที่ยื่นคำร้อง (ยกเว้นกิจการบางประเภท เช่น TISO หรือซอฟต์แวร์ จะมีระยะเวลา 1 ปี) หากตำแหน่งใกล้จะสิ้นสุดลง สามารถยื่นขอขยายระยะเวลาตำแหน่งได้ โดย BOI จะพิจารณาเหตุผลความจำเป็นเป็นกรณีไป ตำแหน่งที่ได้รับอนุมัติแล้ว แต่ไม่ได้ยื่นขอบรรจุ เมื่อครบตามกำหนดเวลาที่ได้รับอนุมัติ ตำแหน่งนั้นก็จะสิ้นสุดลง

บริษัทได้ซื้อเครื่องจักรจากร้านค้าต่างประเทศ ซึ่งจะต้องให้ผู้รับเหมาต่างชาตินั้นเข้ามาติดตั้งเป็นเวลานาน 2 ปี จึงอยากสอบถามว่า 1. บริษัทจะต้องยื่นขอตำแหน่งและบรรจุเหมือนช่างฝีมือ/ผู้ชำนาญการทั่วไปหรือไม่ อย่างไร 2. ต้องทำแผนถ่ายทอดฯ หรือเพิ่มเข้าไปในผังองค์กรหรือไม่ อย่างไร

1.-2. หากจะขออนุญาตทำงานเกินกว่า 6 เดือน จะต้องยื่นขออนุมัติตำแหน่ง / ยื่นขอบรรจุ / ทำแผนถ่ายทอดเทคโนโลยี / ระบุในผังองค์กร เช่นเดียวกับตำแหน่งช่างฝีมือ/ผู้ชำนาญการอื่นๆ

หากนำเข้าเครื่องจักรจาก ตปท แล้วต่อมาให้ช่างจากทางผู้ขายเข้ามาติดตั้งและอบรมการใช้เครื่องจักร ซึ่งเป็นการบริการที่มีค่าใช้จ่าย ออกเป็นอินวอยซ์เรียกเก็บในเวลาต่อมา กรณีนี้จำเป็นต้องนำเค้าบริการดังกล่าว ไปดำเนินการเสียภาษีย้อนหลังกับท่าที่ตรวจปล่อยของกรมศุลฯหรือไม่

กรณีนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศ และมีการให้ช่างต่างชาติเข้ามาติดตั้งเครื่องจักร ค่าติดตั้งดังกล่าวเป็นค่าบริการที่เกิดขึ้นในประเทศ ไม่เป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องรวมสำแดงเป็นราคานำเข้าเครื่องจักร รายละเอียดขอให้ติดต่อสอบถามกับกรมศุลกากรโดยตรง

กรณีต้องการเปลี่ยนการใช้สิทธิการนำเข้าคนต่างด้าว ผ่าน กนอ มาใช้สิทธิ ทางด้าน BOI เนื่องจากทางบริษัทต้องการเปลี่ยนการใช้สิทธิการนำเข้าคนต่างด้าว ผ่าน กนอ มาใช้สิทธิ ทางด้าน BOI ซึ่งจะเป็นตำแหน่งระดับ Manager รบกวนสอบถามว่า สามารถทำได้หรือไม่ มีวิธีการ ขั้นตอน และเอกสาร อย่างไรบ้าง

บริษัทสามารถเปลี่ยนการใช้สิทธิช่างฝีมือต่างชาติ จากเดิมของ กนอ มาเป็นของ BOI ได้ โดยดำเนินการดังนั้น

1. ยื่นขออนุมัติตำแหน่งช่างฝีมือต่างชาติต่อ BOI

2. ยื่นแจ้งพ้นตำแหน่งเดิมต่อ กนอ. โดยต้องแจ้งล่วงหน้า เพื่อให้มีระยะเวลาวีซ่าเหลือไม่น้อยกว่าที่จะยื่นต่อ BOI ตามข้อ 3

3. ยื่นขอบรรจุช่างฝีมือต่อ BOI โดยระยะเวลานับจากวันที่ยื่นคำร้องในระบบ e-expert ของ BOI จนถึงวันที่ในหนังสือแจ้งพ้นที่ กนอ อนุญาตให้อยู่ในประเทศ จะต้องเหลือไม่น้อยกว่า 15 วัน กรณีที่ระยะเวลาเหลือน้อยกว่า 15 วัน จะไม่สามารถยื่นบรรจุต่อ BOI ได้ ดังนั้น ก่อนจะแจ้งพ้นตำแหน่งเดิมต่อ กนอ (ตามข้อ 2) จะต้องตรวจสอบขั้นตอนและเอกสารที่ใช้ยื่นขอบรรจุช่างฝีมือต่อ BOI (ตามข้อ 3) ให้ถูกต้อง ด้วย

ถ้ากรณีที่ตอนนี้ช่างฝีมืออยู่ต่างประเทศ จะแพลนจะเข้ามาในเดือนเมษายน 2560 กรณีนี้หมายความว่า เราสามารถดำเนินการตามข้อ1 และ 3 ได้เลยใช่ไหม
ถ้าช่างฝีมือคนดังกล่าวยังไม่เข้ามาประเทศโดยใช้สิทธิจาก กนอ ก็สามารถขอใช้สิทธิจาก BOI ตามขั้นตอน 1 และ 3
บริษัทเป็นบริษัทฉีดพลาสติก ตั้งอยู่นอกเขตนิคมฯ มีช่างชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานอยู่แล้วก่อนขอ BOI และมีช่างที่เข้ามาใหม่ ซึ่งทำงานในส่วนการผลิตแม่พิมพ์ ไม่ทราบว่าต้องขออนุญาตหรือไม่

สิทธิประโยชน์ที่ได้รับจาก BOI จะใช้หรือไม่ใช้ก็ได้ ช่างต่างชาติที่ได้รับใบอนุญาตทำงานอยู่แล้วก่อนที่บริษัทจะขอส่งเสริม ก็ยังสามารถทำงานได้ต่อไป ส่วนช่างต่างชาติที่เข้ามาใหม่ จะขอใช้สิทธิจาก BOI หรือไม่ก็ได้ หากจะขอใช้สิทธิ BOI ก็ต้องยื่นขออนุมัติตำแหน่ง และขอบรรจุ ตามหลักเกณฑ์ที่ BOI กำหนด

เรื่องสิทธิการนำคนต่างด้าวซึ่งเป็นช่างฝีมือเข้ามาในราชอาณาจักรครับ จากบัตรส่งเสริมการลงทุนประเภท TISO มีคำถามดังนี้ 1. ช่างที่มีฝีมือกับไร้ฝีมือ ใช้เกณฑ์อะไรในการตรวจสอบ 2. อ้างอิงจากสิทธิและประโยชน์ในบัตรส่งเสริมครับ มาตรา 25 ใช้คำว่า ช่างฝีมือหรือผู้ชำนาญการ ถ้าเป็นวิศวกร เข้าข่ายตามมาตรานี้ไหม 3. กรณีตัวอย่าง จะนำเข้าวิศวกรต่างด้าวที่จบปริญญาตรีแล้ว แต่ยังไม่มีประสบการณ์การทำงานมาก่อน เข้ามาในราชอาณาจักรได้ไหม 4. ถ้ากรณีตัวอย่างในข้อ 3 สามารถทำได้ ขั้นตอนการนำคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักร มีอย่างไรบ้าง

1.ช่างฝีมือ คือผู้ที่มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพ ส่วนผู้ที่ไร้ฝีมือ ไม่เรียกว่า ช่าง แต่เรียกว่า แรงงานไร้ฝีมือ

2.วิศวกร เป็นช่างฝีมือ ตามมาตรา 25

3.-4.ไม่เข้าข่ายที่จะได้รับอนุมัติ เนื่องจากประสบการณ์ทำงานไม่ตรงกับหลักเกณฑ์ที่ BOI กำหนด หลักเกณฑ์การอนุมัติบรรจุช่างฝีมือ ตาม Link : http://www.faq108.co.th/boi/expert/employ.php

การขอ username & password ของระบบผู้ชำนาญการต่างประเทศ ต้องใช้เอกสารอะไรนอกเหนือจากนี้อีกหรือเปล่าคะ? 1.ข้อตกลงการขออนุญาตฯ 2.หนังสือมอบอำนาจ 3.สำเนาบัตรประชาชน หรือ สำเนา passport ของผู้มอบอำนาจ, ผู้รับมอบอำนาจ 4.สำเนาหนังสือรับรองบริษัท เฉพาะหน้าแรก

เอกสารที่ใช้ในการขอ username และ password ระบบช่างฝีมือ (e-Expert System) มีดังนี้

1. ข้อตกลงการขออนุญาตนำคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรตามมาตรา 25 และ 26

- กรรมการบริษัทฯ ลงนาม ประทับตรา

2. หนังสือมอบอำนาจขอรับ username และ password

- ใช้กระดาษหัวจดหมายบริษัทฯ

- ติดอากรแสตมป์ 10 บาท

- ผู้รับมอบอำนาจต้องเป็นพนังงานของบริษัทฯ เท่านั้น

3. สำเนาบัตรประชาชน ของผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ

- กรณีเป็นคนต่างชาติ ใช้สำเนาหนังสือเดินทาง

4. สำเนาบัตรพนักงานบริษัทฯ หรือหนังสือรับรองความเป็นพนักงานบริษัทฯ ของผู้รับมอบอำนาจ

- กรรมการบริษัท หรือ ฝ่ายบุคคลของบริษัทฯ ลงนามรับรอง

5. สำเนาหนังสือรับรองทะเบียนนิติบุคคล

- ไม่เกิน 6 เดือน

ปัจจุบันช่างฝีมือได้รับการอนุมัติจากบีโอไอในตำแหน่ง CDM specialist และต่อมาในเดือนเมษายนที่ผ่านมาช่างฝีมือได้รับมอบหมายให้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามของบริษัท และบริษัทต้องการยื่นขอขยายระยะเวลาตำแหน่งภายในเดือนกันยายนนี้ นอกจากยื่นขออนุมัติในข้อ 11.1 และ 11.2 แล้ว ต้องยื่นขออนุมัติข้อใดอีกบ้าง

ให้ยื่นขอเพิ่มลักษณะงานต่อ BOI (ระบบ e-expert) และเมื่อได้รับอนุมัติแล้ว จึงนำเอกสารหลักฐานไปติดต่อแรงงาน เพื่อขอแก้ไขลักษณะงานในใบอนุญาตทำงาน

1. ในกรณี บริษัทยังไม่เคยใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือมาก่อน จะสามารถจ้างใหม่ได้หรือไม่ 2. จะต้องแจ้งข้อมูล/เอกสารการใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือ กับทาง BOI หรือไม่ อย่างไร 3. หากเลิกจ้างแล้วจะต้องแจ้งกับทาง BOI หรือไม่ อย่างไร

ประกาศ BOI ที่ ป.2/2558 ผ่อนผันให้โครงการที่ได้รับส่งเสริม ใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือได้ โดยต้องไม่ขัดต่อกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง จนถึงสิ้นปี 2559 ผู้ได้รับส่งเสริมจึงไม่ต้องแจ้งหรือขออนุญาตจาก BOI แต่ต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงแรงงาน

การขอใช้ Premium lane ต้องทำอย่างไรบ้าง และใครสามารถใช้สิทธิ์นี้ได้

ผู้ที่สามารถใช้ช่องทางพิเศษ (premium lane / fast track lane) ในการเดินทางเข้าออกประเทศที่สนามบิน มีหลายประเภท สำหรับส่วนที่เกี่ยวข้องกับ BOI คือ

เป็นบริษัทที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนจาก BOI และ

เป็นนักลงทุนต่างชาติระดับผู้บริหาร ตั้งแต่ Manager ขึ้นไป

วิธีการขอใช้ช่องทางพิเศษ ทำได้โดยการส่งอีเมลแจ้งต่อ BOI ล่วงหน้า 7 วัน รายละเอียดได้ใส่เพิ่มเติมไว้ในหน้าสาระน่ารู้ ตาม link : http://faq108.co.th/common/topic/premium_lane.php

อยากทราบว่า BOI จำกัดจำนวนช่างฯ ที่จะเข้ามาทำงานหลังจากได้รับการส่งเสริมหรือไม่ มีเกณฑ์อย่างไร

BOI ไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับจำนวนช่างฝีมือต่างชาติที่จะมาปฏิบัติงานในโครงการที่ได้รับส่งเสริม เนื่องจากเป็นการอนุญาตให้คนต่างชาติมาปฏิบัติงานเพื่อถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีให้กับพนักงานไทย BOI จึงจะพิจารณาเหตุผลความจำเป็นของแต่ละโครงการเป็นกรณีๆ ไปครับ

การใช้สิทธิช่างฝีมือต่างด้าวหลังยกเลิกบัตรส่งเสริม กรณีที่บริษัทได้ยื่นขอยกเลิกบัตรส่งเสริม วีซ่าและใบอนุญาตทำงานของผู้บริหารต่างชาติจะสิ้นสุดเมื่อไร

กรณีที่ BOI มีคำสั่งยกเลิกหรือเพิกถอนบัตรส่งเสริม โดยที่โครงการนั้นยังมีช่างฝีมือต่างชาติได้รับสิทธิประโยชน์ให้พำนักและทำงานในประเทศอยู่

BOI จะมีหนังสือแจ้งไปยังบริษัท เพื่อให้ยื่นเรื่องช่างฝีมือดังกล่าวพ้นตำแหน่ง ภายใน 15 วัน หากพ้นกำหนดดังกล่าวแล้ว แต่บริษัทไม่ดำเนินการยื่นเรื่องช่างฝีมือพ้นตำแหน่ง BOI จะแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ตม. และ แรงงาน) เพื่อแจ้งว่าช่างฝีมือดังกล่าว พ้นจากการได้รับสิทธิให้อยู่และทำงานในประเทศ ภายใต้สิทธิของ BOI แล้ว

เนื่องจากบริษัทได้ทำการยื่นขอเพื่อขอบรรจุชาวต่างชาติเป็นจำนวนมากกว่า 4 ครั้ง ทั้งนี้ชาวต่างชาติรายนี้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อสกุล โดยบริษัทได้แนบเอกสารคือ ทะเบียนบ้าน ฉบับภาษาไทย ที่ได้มีการประทับรับรองการแปลแล้ว แต่ยังคงไม่ผ่านการอนุมัติจากเจ้าหน้าที่ จึงขอคำแนะนำว่าจะต้องนำเอกสารใดมาประกอบ หรือพอจะยกตัวอย่างเอกสารให้ได้หรือไม่ อย่างไร หมายเหตุ ชาวต่างชาติเป็นชาวญี่ปุ่น (11 มิ.ย. 2563)

กรณีเป็นขั้นตอนการยื่นขอบรรจุช่างฝีมือ โดยที่ช่างฝีมือต่างชาติดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงชื่อสกุล ทำให้ชื่อสกุลในเอกสารต่างๆ ที่ใช้ในการยื่นบรรจุ (หนังสือเดินทาง ใบรับรองการทำงาน ใบรับรองวุฒิการศึกษา) จะมีชื่อสกุลไม่ตรงกัน จึงต้องแนบเอกสารรับรองการเปลี่ยนชื่อสกุล (ชื่อเดิม และชื่อใหม่) ที่ออกโดยหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องของประเทศนั้นๆ ด้วย

กรณีที่ยื่นคำร้องไปหลายครั้งแล้วยังไม่ผ่าน เข้าใจว่าบริษัทยื่นเอกสารไม่ตรงกับที่ BOI ขอเพิ่มเติม จึงขอให้ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ผู้พิจารณาเรื่องโดยตรง

กรณีใช้สิทธิช่างฝีมือ ต้องยกเลิกการใช้สิทธิช่างฝีมือ หลังจากที่ได้รับอนุมัติการยกเลิกบัตรส่งเสริมภายในกี่วัน(2 ก.ค. 2563)

กรณียื่นขอยกเลิกบัตรส่งเสริม ปกติบริษัทควรดำเนินการแจ้งพ้นตำแหน่งช่างฝีมือ และเปลี่ยนวีซ่าทำงาน (กรณียังอยู่ปฏิบัติงานในประเทศต่อ) ให้เสร็จสิ้นก่อน

แต่หากบริษัทไม่ได้แจ้งพ้นตำแหน่งช่างฝีมือ BOI จะมีหนังสือแจ้งให้บริษัทดำเนินการยกเลิกการใช้สิทธิช่างฝีมือ ภายใน 15 วัน หลังได้รับหนังสือแจ้ง

กรณีขอยื่นบรรจุตำแหน่ง PERSONAL HISTORY ไม่มี แต่มีหนังสือ Retirement Certificate มากกว่า 2 บริษัท แต่เป็นภาษาญี่ปุ่น สามารถใช้ยื่นเข้าระบบได้ไหม – ถ้าไม่ได้ต้องแปลเป็นไทยหรืออังกฤษให้สถาบันที่ไทยรับรองการแปลได้ใช่ไหม - ส่วน Retirement certification ระบุแต่ช่วงเวลาในการทำงานอย่างนี้ใช้ได้ไหม (กรกฎาคม 2564)
เอกสารประวัติการทำงาน เพื่อยื่นขอบรรจุช่างฝีมือ มีข้อกำหนดดังนี้
1. ต้องเป็นเอกสารที่ออกโดยบริษัทนายจ้างที่ช่างฝีมือปฏิบัติงานอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เท่านั้น (บริษัทที่จะรับบรรจุช่างฝีมือ จะออกเอกสารรับรองแทนบริษัทนายจ้างเก่าไม่ได้)

2. ต้องมีข้อมูลดังนี้
- ชื่อบริษัทนายจ้าง ที่ตั้ง ข้อมูลในการติดต่อ เช่น โทรศัพท์ โทรสาร อีเมล์
- ชื่อและตำแหน่งของผู้ลงนามในเอกสาร และตราประทับ (ถ้ากฎหมายประเทศนั้นๆ กำหนดให้ต้องมี)
- ชื่อและนามสกุลช่างฝีมือ
- ตำแหน่ง แผนก/กอง เดือน/ปี ที่เริ่มต้นและสิ้นสุดในการปฏิบัติงานในตำแหน่งนั้น

3. กรณีช่างฝีมือเคยปฏิบัติงานในหลายบริษัท สามารถยื่นหนังสือรับรองของหลายบริษัทได้

4. ระยะเวลาการปฏิบัติงานที่ตรงกับตำแหน่งที่จะขอบรรจุ ต้องรวมไม่ต่ำกว่าเงื่อนไขของตำแหน่งนั้นๆ (เช่น 2 ปี หรือ 5 ปี เป็นต้น)

5. กรณีหนังสือรับรองไม่ใช่ภาษาไทยหรืออังกฤษ ต้องให้สถาบันการแปลเอกสาร แปลเป็นภาษาไทยหรืออังกฤษ พร้อมกับลงนามประทับตรารับรองการแปลเอกสาร โดยในการยื่นต่อ BOI ให้ยื่นทั้งเอกสารภาษาต้นฉบับและเอกสารแปล

ขออภัยครับ ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ในภาษาที่ท่านเลือก !

Sorry, There is no information support your selected language !

Download และ ติดตั้งโปรแกรมอ่าน PDF

Download PDF Reader

Site map