Chat
x
toggle menu
toggle menu

Select Groups

All Group
  • All Group
  • นโยบายเเละมาตรการพิเศษในการส่งเสริม
  • การขอรับการส่งเสริมการลงทุน
  • การออกบัตรส่งเสริม
  • การเปิดดำเนินการ
  • การเเก้ไขโครงการ
  • การดำเนินการอื่น ๆ
  • การรายงานความคืบหน้าโครงการ (e-Monitoring)
  • การปฏิบัติหลังการได้รับการส่งเสริม
  • การยกเลิกบัตรส่งเสริม
  • เรื่องทั่วไป
  • การใช้สิทธิด้านที่ดิน
  • การใช้สิทธิด้านเครื่องจักร
  • การใช้สิทธิด้านช่างฝีมือ/ต่างด้าว
  • การใช้สิทธิด้านวัตถุดิบ
  • ประเภทกิจการ - การแพทย์
  • การใช้สิทธิด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ประเภทกิจการ - รถยนต์ไฟฟ้า
  • ประเภทกิจการ - ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (IBC) IPO และ TISO
  • ประเภทกิจการ - โรงแรม
  • ประเภทกิจการ - ผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ
  • ประเภทกิจการ - กิจการผลิตเครื่่องจักร อุุปกรณ์และชิ้นส่วน
  • ประเภทกิจการ - กิจการศูนย์กระจายสินค้าระหว่า ประเทศด้วยระบบที่่ทันสมัย (IDC)
ขอบข่ายธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมในประเภทกิจการ International Business Center (IBC) เป็นอย่างไร

ขอบข่ายธุรกิจในประเภทกิจการ IBC มีรายละเอียดดังนี้

1.1 การบริหารงานทั่วไป การวางแผนทางธุรกิจ และ การประสานงานทางธุรกิจ

1.2 การจัดหาวัตถุดิบและชิ้นส่วน

1.3 การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์

1.4 การสนับสนุนด้านเทคนิค

1.5 การส่งเสริมด้านการตลาดและการขาย

1.6 การบริหารด้านงานบุคคลและการฝึกอบรม

1.7 การให้คำปรึกษาด้านการเงิน

1.8 การวิเคราะห์และวิจัยด้านเศรษฐกิจและการลงทุน

1.9 การจัดการและควบคุมสินเชื่อ

1.10 การให้บริการด้านการบริหารเงินของศูนย์บริหารเงิน (Treasury Center)

1.11 กิจการการค้าระหว่างประเทศ

1.12 การให้กู้ยืมเงินแก่วิสาหกิจในเครือในลักษณะที่ไม่เข้าข่ายการประกอบธุรกิจในข้อ 1.10 และ สามารถดำเนินการได้ภายใต้กฎหมายควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เช่น

- การให้กู้ยืมเงินสกุลเงินตราต่างประเทศแก่วิสาหกิจในเครือในต่างประเทศ

- การให้กู้ยืมเงินบาทแก่วิสาหกิจในเครือในประเทศไทย

- การให้กู้ยืมเงินบาทแก่วิสาหกิจในประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และประเทศที่ มีพรมแดนติดต่อกับประเทศไทย โดยกิจการที่กู้ยืมเงินจะต้องนำไปใช้เพื่อการค้าหรือการลงทุนในประเทศไทยหรือประเทศดังกล่าวเท่านั้น

1.13 การให้บริการสนับสนุนอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการให้ความเห็นชอบ

ตัวอย่างรายละเอียดกิจกรรมแต่ละขอบข่ายธุรกิจ โปรดดู: International Business Center (IBC).pdf
กิจการ International Business Center (IBC) คือการให้บริการแก่วิสาหกิจในเครือ หากทำธุรกิจเฉพาะส่วนที่เป็นการค้าขาย (Trading) โดยไม่ให้บริการแก่วิสาหกิจในเครือ สามารถได้รับการส่งเสริมภายใต้กิจการ IBC ได้หรือไม่

เนื่องจากปัจจุบันกิจการ International Trading Center (ITC) ได้ยกเลิกการให้ส่งเสริมไปแล้ว ในส่วนของกิจการ IBC เปรียบเหมือนการปรับการให้ส่งเสริมกิจการ International Headquarters (IHQ) เป็นกิจการ IBC จึงมีเงื่อนไขบังคับว่าต้องมีแผนการดำเนินการให้บริการแก่วิสาหกิจในเครือ และให้ส่งเสริมการดำเนินธุรกิจการค้าระหว่างประเทศได้ หากมีการดำเนินธุรกิจ IBC เพื่อให้บริการแก่บริษัทในเครือ (IHQ) ตามที่กำหนดเป็นหลัก

บริษัทมีต่างชาติถือหุ้นทั้งสิ้น ปัจจุบันดำเนินกิจการผลิตอยู่และประสงค์จะเริ่มทำกิจการการค้าระหว่างประเทศ ต้องการนำเข้าสินค้ากึ่งสำเร็จรูปจากสำนักงานใหญ่ในญี่ปุ่นมาจำหน่ายให้กับบริษัทในไทยควรจะขอส่งเสริมการลงทุนอย่างไร

หากจะขยายกิจการทำธุรกิจในกิจการการค้าระหว่างประเทศโดยนำเข้าสินค้ากึ่งสำเร็จรูปมาจำหน่ายในไทยให้ขออนุญาตกองประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ หรือเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนชำระเต็มมูลค่าหุ้นหนึ่งร้อยล้านบาทเพื่อดำเนินธุรกิจค้าส่ง หากต้องการดำเนินธุรกิจค้าปลีกจะต้องขออนุญาตกองประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติ หรือเพิ่มทุนจดทะเบียนชำระเต็มมูลค่าหุ้นอีกหนึ่งร้อยล้านบาท

บริษัทมีหุ้นต่างชาติทั้งสิ้น ต้องการดำเนินธุรกิจควบคุมด้านการเงิน เช่น จัดการเงินทุนและให้กู้ยืมเงินแก่บริษัทในเครือในเอเชียและไทย รวมถึงรวมศูนย์กลางการชำระเงินการค้าระหว่างประเทศ ควรจะดำเนินการอย่างไร

ให้ขออนุญาตการดำเนินธุรกิจ TC (Treasury Center) กับธนาคารแห่งประเทศไทย จากนั้นให้ยื่นขอรับ ส่งเสริมการลงทุนในกิจการ IBC สำหรับขอบข่าย “TC (Treasury Center)” หากต้องการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้ยื่นขออนุมัติเป็น IBC กับกรมสรรพากร

“วิสาหกิจในเครือ” สำหรับกิจการ IBC มีคำจำกัดความอย่างไร

“วิสาหกิจในเครือ” หมายความว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีความสัมพันธ์กับศูนย์กลาง ธุรกิจระหว่างประเทศ ในลักษณะดังนี้

(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งถือหุ้นในศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศทั้งทางตรงหรือทาง อ้อมรวมกันคิดเป็นสัดส่วนการถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของทุนทั้งหมด

(2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศถือหุ้น หรือเป็นหุ้นส่วนทั้งทาง ตรงหรือทางอ้อมรวมกันคิดเป็นสัดส่วนการถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของทุนทั้งหมด

(3) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตาม (1) ถือหุ้น หรือเป็นหุ้นส่วนทั้งทางตรงหรือทางอ้อมรวมกันคิดเป็นสัดส่วนการถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของทุนทั้งหมด

(4) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจควบคุมกิจการหรือกำกับดูแลการดำเนินงานและการ บริหารงานของศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ

(5) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศมีอำนาจควบคุมกิจการหรือกำกับดูแลการดำเนินงานและการบริหารงาน

(6) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตาม (4) มีอำนาจควบคุมกิจการหรือกำกับดูแลการดำเนินงานและการบริหารงาน

กิจการการค้าระหว่างประเทศภายใต้ประเภทกิจการ 7.34 IBC ต่างจากที่ให้ส่งเสริมกิจการ ITC เดิมหรือไม่

กิจการการค้าระหว่างประเทศภายใต้ประเภทกิจการ 7.34 IBC ปัจจุบัน มีเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ที่ได้รับแตกต่างจากประเภท 7.6 ITC เดิม โดยมีเงื่อนไขเฉพาะประเภทกิจการดังนี้

1.ต้องมีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท (เหมือนเดิม)

2.ต้องมีการจ้างพนักงานประจำที่มีความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับ IBC ไม่น้อยกว่า 10 คน เว้นแต่กรณี IBC ที่มีเฉพาะการให้บริการด้านการบริหารเงินแก่วิสาหกิจในเครือ ต้องมีการจ้างพนักงานประจำที่มีความรู้และทักษะไม่น้อยกว่า 5 คน

3.กรณีเป็นการดำเนินกิจการการค้าระหว่างประเทศ จะต้องมีขอบข่ายธุรกิจในข้อ 1.1 – 1.10 ร่วมด้วยไม่น้อยกว่า 1 ข้อ

4.ไม่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร (มาตรา 28) และไม่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นสำหรับส่วนที่ผลิตเพื่อการส่งออก (มาตรา 36)

เงื่อนไขในการยื่นขอและสิทธิประโยชน์ที่ได้รับเปลี่ยนไป ทั้งด้านการจ้างงานบุคลากรที่เพิ่มขึ้น ด้านขอบข่ายการบริการที่ต้องมีการให้บริการวิสาหกิจในเครือด้วยที่เพิ่มขึ้น และด้านสิทธิประโยชน์ด้านการยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร (ม.28) ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบ (ม.36) ที่ถูกยกเลิกไป

BOI มีแนวทางการพิจารณาว่าหากกิจการต้องการจะดำเนินกิจการการค้าระหว่างประเทศ ภายใต้ประเภทกิจการ 7.34 IBC จะต้องมีการดำเนินการในขอบข่ายธุรกิจในข้อ 1.1 – 1.10 ของประเภทกิจการ IBC ด้วยอย่างมีนัยสำคัญ

กิจการ IBC จะต้องให้บริการวิสาหกิจในเครือในต่างประเทศอย่างน้อย 1 แห่งใช่หรือไม่

การให้บริการวิสาหกิจในเครือในประเภท 7.34 IBC ตามขอบข่ายที่ 1.1 – 1.10 จะต้องให้บริการวิสาหกิจในเครือที่อยู่ต่างประเทศอย่างน้อย 1 ประเทศ และจะให้บริการวิสาหกิจในเครือในประเทศด้วยก็ได้

BOI ใช้เกณฑ์อะไรในการตรวจสอบว่าโครงการปฏิบัติตามเงื่อนไข “พนักงานประจำที่มีความรู้และทักษะในกิจการ IBC”

ในเบื้องต้นจะดูจากวุฒิการศึกษา และตำแหน่งงานรวมถึงลักษณะงานที่ทำในโครงการ IBC และจะตรวจสอบทุกครั้งที่มีการใช้สิทธิประโยชน์

กิจการ IBC ได้รับสิทธิประโยชน์จาก BOI ในกลุ่ม B1 โดยได้รับสิทธิประโยชน์ด้านเครื่องจักร วัตถุดิบอย่างไร

กิจการ IBC ได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรเฉพาะเครื่องจักรที่ใช้วิจัยและพัฒนาและฝึกอบรม โดยไม่ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบ

ต้องการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุน IBC กับ BOI ต้องทำอย่างไร

สามารถยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ได้ตามลิงค์: https://www.boi.go.th/index.php?page=form_app1

กรณีได้รับการส่งเสริมในกิจการ IHQ จะเปลี่ยนเป็นกิจการ IBC ได้หรือไม่

เปลี่ยนได้โดยจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของ IBC

กรณีได้รับการส่งเสริมในกิจการ ITC จะเปลี่ยนเป็นกิจการ IBC ได้หรือไม่

ควรยื่นขอรับการส่งเสริมในกิจการ IBC เพิ่มเติม เนื่องจากกรณีเปลี่ยนประเภทกิจการจาก ITC เป็นกิจการ IBC จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร (ม.28) และไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบเพื่อการส่งออก (ม.36)

บริษัทมีหุ้นต่างชาติทั้งสิ้นได้รับการส่งเสริม IHQ จาก BOI ในปี พ.ศ. 2558 จะมีการโอนแผนก R&D มายังบริษัทตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 โดยได้รับเงินค่าวิจัยและพัฒนาจากสำนักงานใหญ่ บริษัทต้องการขอรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีกับกรมสรรพากรในส่วนของรายได้จากการวิจัยและพัฒนานี้ บริษัทควรดำเนินการอย่างไร

กรมสรรพากรยุติการอนุมัติให้เป็น IHQ หรือ ITC และประกาศให้ส่งเสริมกิจการ IBC ซึ่งมีเงื่อนไขเข้มงวดมากขี้น หากต้องการขอรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีกับกรมสรรพากร จะต้องเปลี่ยนมาขอรับการส่งเสริม IBC แทน

บริษัทมีหุ้นต่างชาติทั้งสิ้นได้รับการส่งเสริม IHQ จาก BOI ในปี พ.ศ. 2558 ได้รับอนุมัติการใช้สิทธิทางภาษี IHQ จากกรมสรรพากร ในปี พ.ศ. 2560 บริษัทควรเปลี่ยนเป็นกิจการ “IBC” หรือไม่

ขึ้นอยู่กับนโยบายของบริษัท หากยังคงเป็นกิจการ IHQ สามารถใช้สิทธิและโยชน์ทางด้านภาษีในปัจจุบันต่อไปถึงระยะเวลาที่กำหนด (15 รอบปีบัญชี)

บริษัทมีหุ้นต่างชาติทั้งสิ้นได้รับการส่งเสริมกิจการ ROH จาก BOI ในปี พ.ศ. 2546 และได้รับสิทธิและประโยชน์ทางภาษีจากกรมสรรพากรกิจการ ROH ในปี พ.ศ. 2548 บริษัทควรพิจารณาเปลี่ยนเป็น IBC หรือไม่

ขึ้นอยู่กับนโยบายของบริษัท หากประสงค์จะขอรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้ยื่นขออนุมัติเป็น IBC กับกรมสรรพากรโดยจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของ IBC

การลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากิจการ IHQ และ ITC ของกรมสรรพากรระบุว่า หากชาวต่างชาติที่ปฏิบัติงาน มีรายได้สุทธิมากกว่า 2 แสนบาทต่อเดือน พำนักอยู่ในประเทศไทยมากกว่า 180 วัน จะสามารถลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (อัตราคงที่ 15%) กิจการ IBC มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ อย่างไร

ไม่เปลี่ยนแปลง

บริษัทมีหุ้นต่างชาติทั้งสิ้นได้รับส่งเสริมการลงทุนประเภทกิจการ “IPO” ของ BOI ต้องการขยาย กิจการเพื่อสนับสนุนด้านการขายและการตลาด รวมถึงบริหารงานและควบคุมดูแลบริษัทในเครือ ในเอเชียและประเทศไทย โดยรับค่าบริการเป็นการตอบแทน บริษัทควรจะดำเนินการอย่างไร

สามารถยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนในกิจการ IBC สำหรับการขยายธุรกิจดังกล่าว โดยไม่จำเป็นต้อง จัดตั้งบริษัทใหม่

เงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ในการส่งเสริมการลงทุนที่ปรับเปลี่ยนสำหรับกิจการ IBC ที่แตกต่างจากประเภทกิจการ IHQ และกิจการ ITC คืออะไร

ที่มา: ได้ยกเลิกการให้ส่งเสริมการลงทุนกิจการ International Headquarters (IHQ), International Trading Center (ITC) โดยกิจการ IBC เปรียบเหมือนการปรับการให้ส่งเสริมในกิจการ International Headquarters (IHQ) มาเป็นกิจการ IBC จึงมีเงื่อนไขว่าจะต้องมีแผนการดำเนินการให้บริการแก่วิสาหกิจในเครือ และส่งเสริมให้ดำเนินธุรกิจการค้าระหว่างประเท ได้ หากมีการดำเนินธุรกิจให้บริการแก่บริษัทในเครือ (IHQ) เป็นหลัก

(1) เงื่อนไข:

- ต้องมีการจ้างพนักงานประจำที่มีความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับ IBC ไม่น้อยกว่า 10 คน เว้นแต่กรณี IBC ที่มีเฉพาะการให้บริการด้านการบริหารเงินแก่วิสาหกิจในเครือ ต้องมีการจ้างพนักงานประจำที่มีความรู้และทักษะไม่น้อยกว่า 5 คน

- กรณีเป็นการดำเนินกิจการการค้าระหว่างประเทศ ภายใต้ประเภทกิจการ 7.34 IBC จะต้องมีขอบข่ายธุรกิจในข้อ 1.1 – 1.10 ของกิจการ IBC ร่วมด้วยไม่น้อยกว่า 1 ข้อ

(2) สิทธิประโยชน์: ไม่ได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบของ BOI ได้ แต่สามารถขอคืนภาษีนำเข้ากับกรมศุลกากรได้

บริษัทมีหุ้นต่างชาติทั้งสิ้นปัจจุบันได้รับส่งเสริมการลงทุน “IHQ และ ITC” ของ BOI อยู่แล้ว หลังจากนี้จะต้องเปลี่ยนมาขอรับการส่งเสริมการลงทุน “IBC” แทนหรือไม่

หากการได้รับการส่งเสริมการลงทุนในประเภทกิจการ “IHQ และ ITC” ครอบคลุมการดำเนินธุรกิจของโครงการ ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนมาขอรับการส่งเสริมการลงทุน “IBC” แต่หากประสงค์จะเปลี่ยนเป็นกิจการ IBC จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของกิจการ IBC

บริษัทมีหุ้นต่างชาติทั้งสิ้น ได้รับการส่งเสริมกิจการ “ITC” จาก BOI ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 มีแผนการที่จะยื่นขอรับเรื่องสิทธิประโยชน์ด้านภาษีจากกรมสรรพากร เนื่องจากจะมีธุรกิจเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2562 เพื่อจำหน่ายสินค้า (Commercial distribution) จากเวียดนามไปยังฮ่องกง โดยให้ส่งสินค้าโดยตรงจากเวียดนามไปยังฮ่องกง และบริษัทเป็นผู้สั่งซื้อและชำระเงินค่าสินค้าไปยังเวียดนามและเป็นผู้จำหน่ายสินค้าไปยังฮ่องกง บริษัทควรจะดำเนินการอย่างไร

Commercial Distribution แบบ Out-Out ดังกล่าวอยู่ในขอบข่ายกิจการ ITC ที่บริษัทได้รับการ ส่งเสริมอยู่ ปัจจุบันหลังจากที่กระทรวงการคลังปรับนโยบายเป็นให้การส่งเสริมการลงทุนกิจการ IBC และยุติ การอนุมัติให้เป็น IHQ หรือ ITC รายได้ดังกล่าวไม่สามารถได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง จึงต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามปกติ

ขออภัยครับ ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ในภาษาที่ท่านเลือก !

Sorry, There is no information support your selected language !

Download และ ติดตั้งโปรแกรมอ่าน PDF

Download PDF Reader

Site map