ขออธิบายขั้นตอนและเอกสารคร่าวๆ ดังนี้
1. สมัครใช้บริการระบบ e-expert รายละเอียดตาม Link : http://www.faq108.co.th/boi/expert/e_expert.php
2.ขออนุมัติตำแหน่ง
- ยื่น online
- ระบุเหตุผลความจำเป็นในการต้องมีตำแหน่งของชาวต่างชาติ
- ใช้เอกสารตามที่กำหนด เช่น ผังองค์กร แผนการถ่ายทอดเทคโนโลยี หนังสือรับรองบริษัท เป็นต้น
3.ยื่นบรรจุช่างฝีมือ
- ยื่น online
- ใช้เอกสารตามที่กำหนด เช่น หนังสือเดินทาง ใบรับรองการทำงาน ใบรับรองวุฒิการศึกษา เป็นต้น จากนั้น จึงพาช่างฝีมือไปต่อวีซ่าและทำใบอนุญาตทำงานตามที่ได้รับอนุมัติบรรจุ
กรณีนี้ไม่สามารถแก้ไขได้แล้ว หากจะแก้ไขชื่อนามสกุลให้ถูกต้อง จะต้องแจ้งพ้นตำแหน่งช่างต่างชาติดังกล่าว (แจ้งเผื่อล่วงหน้าให้เหลือระยะเวลาวีซ่าเกินกว่า 15 วัน) แล้วจึงยื่นขอบรรจุใหม่ จากนั้นจึงต่อวีซ่าและทำใบอนุญาตทำงานใหม่
จากการสอบถามผู้ที่มีประสบการณ์มา เขาบอกว่า ข้อ 3.1 ประเภทงาน ไม่ต้องกรอกไปก็ได้ เรื่องการกรอกฟอร์มใบอนุญาตทำงาน ไม่ใช่งานที่ยื่นกับ BOI รายละเอียดไม่ทราบ
1. กรณีเยี่ยมชมโรงงาน สามารถเดินทางเข้าประเทศ โดยไม่ต้องทำวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน โดยสามารถอยู่ในประเทศได้ไม่เกิน 30 วัน
2. กรณีสอนงาน (Training) ซึ่งทราบระยะเวลาชัดเจนและมีกำหนดการสอนชัดเจน ต้องขอใบอนุญาตทำงาน
3. กรณีซ่อมเครื่องจักรเร่งด่วนฉับพลัน ซึ่งไม่มีกำหนดล่วงหน้ามาก่อน จะต้องขอใบอนุญาตทำงาน แต่จะออกให้เป็นใบประกาศด่วน (URGENT) แทนใบอนุญาตทำงาน โดยสามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปยื่นเรื่อง/ขอรับเอกสาร แทนชาวต่างชาติได้ ส่วนวีซ่าเป็นวีซ่าผ่านเข้ามาปกติ ไม่ต้องเป็นวีซ่า Non-B
4. กรณีปฏิบัติงานเกินกว่า 15 วัน แต่ไม่เกิน 30 วัน สามารถยื่นขอใช้สิทธินำเข้าช่างฝีมือชั่วคราวเร่งด่วนต่อ BOI ได้ ซึ่งไม่ต้องขออนุมัติตำแหน่ง แต่ขั้นตอนดำเนินการขอใบอนุญาตทำงานจะเหมือนขั้นตอนปกติ โดยช่างต่างชาติจะต้องเดินทางไปทำใบอนุญาตทำงานด้วย ส่วนวีซ่าจะต้องเป็นวีซ่า Non- B
ชาวต่างชาติระดับบริหาร ในบริษัทที่ได้รับส่งเสริมจาก BOI สามารถขอใช้ช่องทางพิเศษ (Fast Track Lane / Premium Lane) ที่สนามบิน ในการเดินทางเข้าออกประเทศได้ ข้อมูลเบื้องต้นตาม www.faq108.co.th/common/topic/premium_lane.php
ช่างฝีมือที่ได้รับอนุมัติบรรจุตามสิทธิประโยชน์ BOI สามารถขอนำครอบครัว (คู่สมรส และบุตรที่อายุไม่เกิน 20 ปี) เข้ามาประเทศได้ โดยครอบครัวจะได้รับอนุมัติให้อยู่ในประเทศได้ตามระยะเวลาที่ช่างฝีมือได้รับอนุมัติจาก BOI ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทกิจการที่ได้รับส่งเสริม เช่น
- กิจการผลิต 2 ปี
- กิจการสนับสนุนการค้าและการลงทุน (TISO ) 1 ปี
- กิจการ ITC และ IHQ 4 ปี
กรณีที่สอบถาม บุตรอายุ 18 ปี จึงสามารถขอใช้สิทธิข้างต้นจาก BOI ได้ แต่จะได้รับอนุญาตให้อยู่ได้ถึงอายุ 20 ปีบริบูรณ์ หลังจากนั้นต้องขอวีซ่าอื่น (เช่น วีซ่านักศึกษา) ตามขั้นตอนปกติ
หลังจากได้รับอนุมัติตำแหน่ง บริษัทจะยื่นบรรจุช่างฝีมือเมื่อใดก็ได้ แต่ระยะเวลาวีซ่าของช่างฝีมือที่จะบรรจุ จะต้องเหลือไม่น้อยกว่า 7 วัน และเมื่อได้รับอนุมัติบรรจุ จะต้องไปดำเนินการทำใบอนุญาตงานและต่อวีซ่าก่อนที่ระยะเวลาวีซ่าเดิมจะสิ้นสุด
ช่างต่างด้าวจะขอนำเข้ามาทำงานในประเทศโดยใช้สิทธิ BOI ต้องเป็นช่างฝีมือหรือผู้ชำนาญการที่เข้ามาเพื่อกำกับดูแลกิจการของบริษัท หรือเพื่อถ่ายทอดความรู้ให้กับคนไทย ไม่ใช่เข้ามาเพื่อปฏิบัติงานในตำแหน่งที่คนไทยสามารถทำงานแทนได้ กรณีตำแหน่งทั่วไป ปกติจะเป็นตำแหน่งระดับหัวหน้างานหรือผู้เชี่ยวชาญ ที่จะมาถ่ายทอดความรู้ให้กับคนไทย ดังนั้น จึงต้องมีวุฒิการศึกษาตรงกับตำแหน่งงานนั้นๆ และมีประสบการณ์ทำงานที่ตรงกับตำแหน่งนั้นๆ ไม่น้อยกว่า 2 ปี แต่หากมีวุฒิการศึกษาไม่ตรงกับตำแหน่ง จะต้องมีประสบการณ์ทำงานที่ตรงกับตำแหน่งนั้นๆ ไม่น้อยกว่า 5 ปี
- ยื่นแจ้งพ้นตำแหน่งของช่างฝีมือคนเก่า
- ยื่นบรรจุช่างฝีมือคนใหม่
- ติดต่อ ตม. และแรงงาน เพื่อยกเลิกวีซ่าและใบอนุญาตทำงานของช่างฝีมือคนเก่า
- ติดต่อ ตม. และแรงงาน เพื่อขยายเวลาวีซ่าและทำใบอนุญาตทำงานของช่างฝีมือคนใหม่
2.ใช้เอกสารอะไรบ้าง
1) การแจ้งพ้นตำแหน่งไม่ต้องใช้เอกสาร
2) การยื่นบรรจุ
- ไฟล์รูปถ่าย
- สำเนาหนังสือเดินทาง
- สำเนาใบรับรองการศึกษา
- สำเนาใบรับรองการทำงาน
- สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) (ไม่เกิน 6 เดือน)
3.ระยะเวลาเตรียมการก่อนเข้ามาทำงานจริง
- ช่างฝีมือต้องเดินทางเข้ามาแล้ว จึงจะยื่นขอบรรจุได้
- การพิจารณาอนุมัติบรรจุใช้เวลาไม่เกิน 3 วันทำการ
- เมื่อได้รับอนุมัติบรรจุแล้ว จะต้องพาช่างฝีมือไปทำใบอนุญาตทำงาน และต่อวีซ่าภายใน 15 วัน
การแจ้งพ้นตำแหน่งช่างฝีมือ เมื่อระบบอนุมัติแล้ว ไม่สามารถยกเลิกได้ การดำเนินการ แยกได้เป็น 2 กรณีดังนี้
1. กรณีที่ระยะเวลาตามที่แจ้งพ้น เหลือเกินกว่า 15 วัน
สามารถยื่นขอบรรจุในตำแหน่งเดิมได้ โดยแจ้งเหตุผลว่าเคยมีการแจ้งพ้นเมื่อ .... ซึ่งแจ้งผิด จึงขอบรรจุกลับเข้าไปใหม่
2. กรณีระยะเวลาตามที่แจ้งพ้น เหลือไม่ถึง 15 วัน
2.1 ต้องเดินทางออกนอกประเทศภายในระยะเวลาที่แจ้งพ้น จากนั้น ทำ visa non-B และกลับเข้ามาในประเทศไทย และจึงยื่นขอบรรจุใหม่ หรือ
2.2 ขอบรรจุเป็นช่างชั่วคราวเป็นการเร่งด่วน (30 วัน) จากนั้นยื่นประทับตราวีซ่าเพื่อขยายเวลาอยู่ต่อตามที่ได้รับอนุญาต จากนั้นจึงยื่นแจ้งพ้นตำแหน่งช่างชั่วคราวก่อนที่วีซ่าจะหมดอายุ 15 วัน พร้อมกับยื่นขอบรรจุในตำแหน่งเดิม โดยการยื่นบรรจุนี้จะต้องมีระยะเวลาวีซ่าเหลือไม่น้อยกว่า 15 วัน
1. เอกสารตามแบบตรวจเอกสาร ม.25 คือ สำเนาหนังสือเดินทาง สำเนาหนังสือรับรองไม่เกิน 6 เดือน และสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นไม่เกิน 6 เดือน
2. ต้องยื่นขอขยายเวลาของตำแหน่งคนต่างด้าวให้เสร็จสิ้นก่อน
- การขยายเวลาตำแหน่ง ยื่นก่อนล่วงหน้าได้ 90 วัน
- ใช้เอกสารคือ แผนผังสายงาน ผลการถ่ายทอดเทคโนโลยี งบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีรับรองแล้ว สำเนาหนังสือรับรองไม่เกิน 6 เดือน และสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นไม่เกิน 6 เดือน
3. การยื่นขยายเวลาตำแหน่ง และการยื่นต่ออายุการอยู่ในประเทศ ต้องยื่นทางอินเตอร์เน็ตบนระบบ e-expert เท่านั้น
- เมื่อได้รับอนุญาตต่ออายุแล้ว จึงไปรับหนังสืออนุญาต และพาช่างฝีมือไปต่อวีซ่าและใบอนุญาตทำงานต่อไป
การขออนุมัติตำแหน่งช่างฝีมือ กำหนดระยะเวลาพิจารณา 3 วันทำการ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้จากระบบฯ ว่า วันครบกำหนดคือวันใด แต่หาก BOI พิจารณาแล้วข้อมูลไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้อง จะคืนคำร้อง ซึ่งบริษัทจะต้องแก้ไขและยื่นใหม่ และจะนับเวลาพิจารณาใหม่
เนื่องจากปัจจุบันระบบ e-expert ไม่มียื่นขอขยายตำแหน่งเพียงอย่างเดียวแล้ว บริษัทจึงควรยื่นยกเลิกตำแหน่งเดิมในระบบก่อน จากนั้นให้ยื่นขอตำแหน่งเข้าไปใหม่ เมื่อได้รับอนุมัติตำแหน่งแล้ว ให้ยื่นขอบรรจุในวันที่ชาวต่างชาติเดินทางมาถึง (12 ก.ค.) โดย BOI จะใช้เวลาพิจารณา 2-3 วันทำการ
การอนุมัติตำแหน่งช่างฝีมือต่างชาติ พิจารณาอนุมัติเป็นรายตำแหน่ง ไม่จำเป็นต้องสิ้นสุดระยะเวลาตำแหน่งพร้อมกัน
1. กรณีตำแหน่ง MD จะสิ้นสุดเดือนสิงหาคม 2561 หากมีการขออนุมัติตำแหน่งอื่นเพิ่มเติม ตำแหน่งอื่นที่ขออนุมัติ จะได้รับอนุมัติเป็นเวลา 2 ปี (หรือ 1 ปี หรือ 4 ปี ตามประเภทของกิจการนั้นๆ)
2. เมื่อมีการขอขยายเวลาตำแหน่ง MD ก็จะได้รับอนุมัติให้ขยายเป็นเวลา 2 ปี (หรือ 1 ปี หรือ 4 ปี ตามประเภทของกิจการนั้นๆ)
1.กรณีติดป๊อปอัพ แก้ไขโดยให้คลิกปิดป๊อปอัพก่อน จากนั้นจึงจะสั่งพิมพ์ที่รูปเครื่องพิมพ์
2.กรณีสั่งพิมพ์ที่รูปเครื่องพิมพ์ไม่ได้ แก้ไขโดยสั่งพิมพ์จากข้อความอีเมล์
3.ขั้นตอนอนุมัติตำแหน่ง ไม่จำเป็นต้องสั่งพิมพ์เอกสารอนุมัติ ควรสั่งพิมพ์เอกสารหลังจากได้รับอนุมัติการบรรจุ เพื่อนำเอกสารไปยื่นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
1. ตำแหน่ง President, Managing Director, General Manager และ Director ในสายงานต่างๆ ถือเป็นตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง
2. ตำแหน่ง President จะอนุมัติในกรณีที่มีหุ้นต่างด้าวเกินกว่า 50% ของทุนจดทะเบียน หรือมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท
3. กรณีที่ได้รับอนุมัติตำแหน่ง Managing Director ไปแล้ว อาจไม่อนุมัติตำแหน่ง General Manager ให้อีก เว้นแต่กรณีที่มีหุ้นต่างชาติมากกว่า 50% ของทุนจดทะเบียน และมีเงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท
ตอบคำถาม
1. กรณีของบริษัทมีทุนจดทะเบียนเกินกว่า 100 ล้านบาท หากเป็นหุ้นต่างชาติข้างมาก อยู่ในข่ายที่จะขออนุมัติตำแหน่ง General Manager เพิ่มเติมจากตำแหน่ง President ที่มีอยู่เดิม
2. แต่หากบริษัทเป็นหุ้นไทยข้างมาก ปกติจะไม่อนุมัติตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงให้มากกว่า 1 ตำแหน่ง
ยอดขายให้ใช้ข้อมูล "รายได้จากการขาย" ในงบการเงินปีล่าสุดตามที่แนบเอกสาร กรณียื่นขอตำแหน่งครั้งแรก หากยังไม่มีงบการเงิน จะคีย์ยอดขายเป็น 0 ไปก่อนก็ได้ โดยให้เขียนหมายเหตุชี้แจงเพิ่มเติมด้วยว่า บริษัทจัดตั้งเมื่อไร ครบรอบปีบัญชีเมื่อไร เหตุใดจึงยังไม่มีงบการเงิน ฯลฯ
กิจการที่ได้รับส่งเสริมจาก BOI ปกติจะได้รับอนุมัติตำแหน่งช่างฝีมือและผู้เชี่ยวชาญต่างชาติ ครั้งละ 2 ปี ดังนั้น ในการยื่นขยายระยะเวลาตำแหน่ง งบการเงินจึงจะเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่บางกิจการ เช่น กิจการซอฟต์แวร์ และกิจการ TISO จะได้รับอนุมัติตำแหน่งครั้งละ 1 ปี ดังนั้น ในการยื่นขยายเวลาตำแหน่งในครั้งแรก งบการเงินจึงอาจจะยังไม่เสร็จก็เป็นไปได้ กรณีจะยื่นขอขยายระยะเวลาตำแหน่ง แต่งบการเงินยังไม่เสร็จ จะไม่ต้องยื่นงบการเงินก็ได้ โดย BOI จะตรวจสอบจากหนังสือรับรองของบริษัทที่แนบไปด้วย ซึ่งในหนังสือรับรอง (หน้าที่ 2) จะมีข้อความระบุว่า บริษัทยื่นงบล่าสุดถึงปีไหนแล้ว หากในหนังสือรับรองระบุการยื่นงบถึงปีใด บริษัทก็ต้องยื่นงบของปีนั้น แต่หากในหนังสือรับรองระบุว่ายังไม่มีการยื่นงบ บริษัทก็สามารถชี้แจงต่อ BOI ว่า งบการเงินยังไม่เสร็จ และไม่ต้องแนบงบฯ ก็ได้
1. การขออนุมัติตำแหน่ง จะพิจารณาเพียงแค่ว่า ตำแหน่งที่ขอนั้นมีความจำเป็นต่อโครงการที่ได้รับส่งเสริมหรือไม่ โดยจะยังไม่พิจารณาถึงคุณสมบัติของช่างฝีมือที่จะมาบรรจุในตำแหน่งนั้น
2. เมื่อได้รับอนุมัติตำแหน่งแล้ว จึงจะเป็นขั้นตอนการยื่นขอบรรจุช่างฝีมือในตำแหน่งที่ได้รับอนุมัติ
3. ช่างฝีมือจะต้องจบวุฒิการศึกษาตรงกับตำแหน่งที่จะขอบรรจุ และจะต้องมีประสบการณ์ตรงกับตำแหน่งไม่น้อยกว่า 2 ปี (กรณีตำแหน่งทั่วไป) หรือ 5 ปี (กรณีตำแหน่งผู้จัดการ) แต่หากจบวุฒิการศึกษาไม่ตรงกับตำแหน่งที่จะขอบรรจุ จะต้องมีประสบการณ์ตรงกับตำแหน่งไม่น้อยกว่า 5 ปี ช่างฝีมือไม่จำเป็นต้องจบปริญญาตรีก็ได้ เช่น ช่างฝีมือบางคนอาจจบเพียงระดับการศึกษาภาคบังคับของประเทศนั้นๆ จากนั้นก็ทำงานในโรงงานเป็นเวลาสิบๆปี จนกลายเป็นช่างฝีมือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งกรณีนี้ก็สามารถขอบรรจุในตำแหน่งที่ตรงกับประสบการณ์ของช่างผู้นั้นได้