Chat
x
toggle menu
toggle menu

มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)

มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)

เพื่อกระตุ้นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้ปรับตัว โดยให้มีการลงทุนปรับปรุงประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การยกระดับไปสู่มาตรฐานเพื่อความยั่งยืนในระดับสากล และการเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรมใหม่ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนจึงออกประกาศมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ดังนี้

1. คุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับสิทธิและประโยชน์ ตามมาตรการนี้

- ต้องมีบุคคลธรรมดาสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน ทั้งนี้ กรรมการผู้มีอำนาจลงนามมากกว่ากึ่งหนึ่งจะต้องเป็นบุคคลธรรมดาสัญชาติไทย

- เมื่อรวมกิจการทั้งหมดทั้งที่ได้รับการส่งเสริมและไม่ได้รับการส่งเสริมแล้ว ผู้ขอฯ ต้องมีรายได้ของกิจการรวมกันแล้วไม่เกิน 500 ล้านบาท ในช่วง 3 ปีก่อนวันที่ยื่นขอรับการส่งเสริม

- ต้องเป็นนิติบุคคลที่ขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อเข้ารับบริการภาครัฐภายใต้โครงการหนึ่งรหัสหนึ่งผู้ประกอบการ (SME ONE ID) กับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ก่อนวันที่ยื่นขอรับการส่งเสริม

2. เงื่อนไข

- มาตรการนี้บังคับใช้กับโครงการที่ดำเนินการอยู่แล้ว ไม่ว่าจะได้รับส่งเสริมหรือไม่ก็ตาม โดยต้องเป็นประเภทกิจการที่ให้การส่งเสริมการลงทุนในขณะที่ยื่นขอรับการส่งเสริม ยกเว้นประเภทกิจการที่มีนโยบายเฉพาะที่จะไม่ให้สิทธิและประโยชน์ตามที่สำนักงานกำหนด

- โครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนอยู่เดิมสามารถยื่นขอรับการส่งเสริมภายใต้มาตรการนี้ได้เมื่อสิทธิและประโยชน์การยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้นสิ้นสุดลงแล้ว หรือเป็นโครงการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

- ต้องมีเงินลงทุนในการปรับปรุงประสิทธิภาพไม่น้อยกว่า 500,000 บาท (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน)

- ขอบข่ายการดำเนินการงาน ต้องดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพของโครงการที่ดำเนินการอยู่เดิม โดยดำเนินการในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือหลายเรื่องในโครงการเดียวกันได้ ดังนี้

• ด้านการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรและระบบอัตโนมัติ

• ด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

• ด้านการยกระดับไปสู่อุตสาหกรรม 4.0

• ด้านการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน หรือการลดผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อม

• ด้านการยกระดับไปสู่มาตรฐานเพื่อความยั่งยืนในระดับสากล

• ด้านการเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรมใหม่

3. สิทธิและประโยชน์

- ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรในการปรับปรุงประสิทธิภาพ

- ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลา 5 ปี เป็นสัดส่วนร้อยละ 100 ของเงินลงทุนในการปรับปรุงประสิทธิภาพ (โดยไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน)

- ระยะเวลาการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้นับจากวันที่มีรายได้ภายหลังได้รับบัตรส่งเสริม และต้องดำเนินการตามแผนที่ได้รับอนุมัติให้แล้วเสร็จภายใน 3 ปี นับจากวันออกบัตรส่งเสริม



ขออภัยครับ ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ในภาษาที่ท่านเลือก !

Sorry, There is no information support your selected language !

Download และ ติดตั้งโปรแกรมอ่าน PDF

Download PDF Reader

Site map