Chat
x
toggle menu
toggle menu

Not Found

ลิขสิทธิ์©

2. ลิขสิทธิ์©

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2547 คุ้มครองงานวรรณกรรม ศิลปกรรม และนาฏกรรม โดยกำหนดให้การทำซ้ำหรือเผยแพร่งานดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย

2.1 งานอันมีลิขสิทธิ์

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์คุ้มครองงานงานสร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์คุ้มครองโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยห้ามทำซ้ำหรือดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน และให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานดังกล่าว แต่อัลกอริธึมไม่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์

พระราชบัญญัติกำหนดนิยามของคำว่า "ลิขสิทธิ์" หมายถึง สิทธิแต่ผู้เดียวที่จะทำการใดๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น และ "ผู้สร้างสรรค์" หมายถึง ผู้ทำหรือผู้ก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์อย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์

ให้ผู้สร้างสรรค์เป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานที่ตนได้สร้างสรรค์ขึ้นภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้

  • ในกรณีที่ยังไม่ได้มีการโฆษณางาน ผู้สร้างสรรค์ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทยหรืออยู่ในประเทศไทย หรือเป็นผู้มีสัญชาติหรืออยู่ในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วยตลอดระยะเวลาหรือเป็นส่วนใหญ่ในการสร้างสรรค์งานนั้น
  • ในกรณีที่ได้มีการโฆษณางานแล้ว การโฆษณางานนั้นในครั้งแรกต้องกระทำขึ้นในประเทศไทยหรือในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย หรือในกรณีที่การโฆษณาครั้งแรกได้กระทำนอกประเทศไทยหรือในประเทศอื่นที่ไม่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย ต้องมีการโฆษณางานดังกล่าวในประเทศไทยหรือในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วยภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้มีการโฆษณาครั้งแรก หรือผู้สร้างสรรค์ต้องเป็นผู้มีลักษณะตามที่กำหนดไว้ข้างต้นในขณะที่มีการโฆษณางานครั้งแรก

ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย ถ้าผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล นิติบุคคลนั้นต้องเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย


2.2 การละเมิดลิขสิทธิ์

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ระบุการกระทำที่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ที่ครอบคลุมตามกฎหมาย ดังนี้:

การละเมิดโดยการทำซ้ำ -- พระราชบัญญัติกำหนดคำนิยามของ "ทำซ้ำ" หมายถึง “คัดลอกไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ เลียนแบบ ทำสำเนา ทำแม่พิมพ์ บันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกเสียงและภาพ จากต้นฉบับ จากสำเนา หรือจากการโฆษณาในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน สำหรับในส่วนที่เกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้หมายความถึง คัดลอกหรือทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากสื่อบันทึกใด ไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ โดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำงานขึ้นใหม่ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน”

การละเมิดโดยการดัดแปลง -- พระราชบัญญัติกำหนดคำนิยามของ "ดัดแปลง" หมายถึง การทำซ้ำโดยเปลี่ยนรูปใหม่ ปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม หรือจำลองงานต้นฉบับในส่วนอันเป็นสาระสำคัญโดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำงานขึ้นใหม่

  • ในส่วนที่เกี่ยวกับวรรณกรรม ให้หมายความรวมถึง การแปลวรรณกรรม การเปลี่ยนรูปวรรณกรรม หรือการรวบรวมวรรณกรรมโดยคัดเลือกและจัดลำดับใหม่
  • ในส่วนที่เกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ให้หมายความรวมถึง การทำซ้ำโดยเปลี่ยนรูปใหม่ ปรับปรุง การแก้ไขเพิ่มเติมโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ โดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำขึ้นใหม่
  • With regard to dramatic work it shall include the transformation of a non-dramatic work into a dramatic work or dramatic work to a non-dramatic work, whether in the original language or in another language
  • ในส่วนที่เกี่ยวกับนาฏกรรม ให้หมายความรวมถึง การเปลี่ยนงานที่มิใช่นาฏกรรมให้เป็นนาฏกรรม หรือการเปลี่ยนนาฏกรรมให้เป็นงานที่มิใช่นาฏกรรม ทั้งนี้ ไม่ว่าในภาษาเดิมหรือต่างภาษากัน
  • ในส่วนที่เกี่ยวกับศิลปกรรม ให้หมายความรวมถึง การเปลี่ยนงานที่เป็นรูปสองมิติหรือสามมิติ ให้เป็นรูปสามมิติหรือสองมิติ หรือการทำหุ่นจำลองจากงานต้นฉบับ
  • ในส่วนที่เกี่ยวกับดนตรีกรรม ให้หมายความรวมถึง การจัดลำดับเรียบเรียงเสียงประสาน หรือเปลี่ยนคำร้องหรือทำนองใหม่

การละเมิดโดยการเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยมิได้รับอนุญาต -- "เผยแพร่ต่อสาธารณชน" หมายถึง “ทำให้ปรากฏต่อสาธารณชนโดยการแสดง การบรรยาย การสวด การบรรเลง การทำให้ปรากฏด้วยเสียงและหรือภาพ การก่อสร้าง การจำหน่าย หรือโดยวิธีอื่นใดซึ่งงานที่ได้จัดทำขึ้น” คำว่า“สาธารณชน” หมายถึง บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่อยู่หรือไม่อยู่ในสถานที่ซึ่งมีการแสดง การแสดงจะไม่ถือว่าแสดงต่อสาธารณชนหากจำกัดอยู่ภายในครอบครัวหรือเพื่อนฝูงของผู้แสดง หรือผู้ที่รับผิดชอบการแสดงดังกล่าว

ละเมิดลิขสิทธิ์โดยการจัดทำโสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง หรืองานแพร่เสียงแพร่ภาพ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน การแพร่เสียงแพร่ภาพซ้ำ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือการจัดให้ประชาชนฟังและหรือชมงานแพร่เสียงแพร่ภาพโดยเรียกเก็บเงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่นในทางการค้า


2.3 ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์

การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามวรรคหนึ่ง มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้

  • วิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
  • ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท
  • ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
  • เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
  • ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว
  • คัดสำเนา ทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอนหรือทำบทสรุปโดยผู้สอนหรือสถาบันศึกษา เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการกระทำเพื่อหากำไร
  • นำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ

นอกจากนี้ การกล่าว คัด ลอก เลียน หรืออ้างอิงงานบางตอนตามสมควรจากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

พระราชบัญญัติยังอนุญาตให้บรรณารักษ์ห้องสมุดทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หากการทำซ้ำนั้นมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไร


2.4 งานที่ไม่ถือเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์

สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานที่ได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้:

  • ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่างๆที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร
  • รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
  • ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
  • คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ

คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่างๆตามที่ระบุข้างต้นซึ่งกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทำขึ้น

2.5 ลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ ©

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 คุ้มครองงานที่มีลิขสิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์และนักแสดงของประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์หรืออนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของนักแสดงซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย


2.6 การอนุญาตให้ผู้อื่นใช้ลิขสิทธิ์หรือการโอนลิขสิทธิ์

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์กำหนดให้เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิในการอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิงานที่มีลิขสิทธิ์ พระราชบัญญัติกำหนดให้การโอนลิขสิทธิ์ซึ่งมิใช่ทางมรดกต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอน ถ้าไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้ในสัญญาโอนให้ถือว่าเป็นการโอนมีกำหนดระยะเวลา 10 ปี

ในการโอนลิขสิทธิ์ ผู้สร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์ยังมีสิทธิที่จะห้ามมิให้ผู้รับโอนลิขสิทธิ์บิดเบือน ตัดทอน ดัดแปลง หรือทำโดยประการอื่นใดแก่งานนั้นจนเกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของผู้สร้างสรรค์


2.7 ระยะเวลาในการคุ้มครองลิขสิทธิ์

ลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม หรือดนตรี มีอายุตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ และมีอยู่ต่อไปอีกเป็นเวลา 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล ให้ลิขสิทธิ์มีอายุ 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้น ลิขสิทธิ์ในงานศิลปประยุกต์ให้มีอายุ 25 ปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น


2.8 บทกำหนดโทษ

ผู้ที่ละเมิดลิขสิทธิ์โดยการทำซ้ำโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์อาจต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 200,000 บาท ถ้าการละเมิดลิขสิทธิ์เป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำอาจต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 4 ปี หรือปรับตั้งแต่ 100,000 บาทถึง 800,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

Updated 28 August 2010

ขออภัยครับ ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ในภาษาที่ท่านเลือก !

Sorry, There is no information support your selected language !

Download และ ติดตั้งโปรแกรมอ่าน PDF

Download PDF Reader

Site map