Chat
x
toggle menu
toggle menu

Select Groups

All Group
  • All Group
  • นโยบายเเละมาตรการพิเศษในการส่งเสริม
  • การขอรับการส่งเสริมการลงทุน
  • การออกบัตรส่งเสริม
  • การเปิดดำเนินการ
  • การเเก้ไขโครงการ
  • การดำเนินการอื่น ๆ
  • การรายงานความคืบหน้าโครงการ (e-Monitoring)
  • การปฏิบัติหลังการได้รับการส่งเสริม
  • การยกเลิกบัตรส่งเสริม
  • เรื่องทั่วไป
  • การใช้สิทธิด้านที่ดิน
  • การใช้สิทธิด้านเครื่องจักร
  • การใช้สิทธิด้านช่างฝีมือ/ต่างด้าว
  • การใช้สิทธิด้านวัตถุดิบ
  • ประเภทกิจการ - การแพทย์
  • การใช้สิทธิด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ประเภทกิจการ - รถยนต์ไฟฟ้า
  • ประเภทกิจการ - ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (IBC) IPO และ TISO
  • ประเภทกิจการ - โรงแรม
  • ประเภทกิจการ - ผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ
  • ประเภทกิจการ - กิิจการผลิิตเครื่่องจัักร อุุปกรณ์์และชิ้นส่่วน
  • ประเภทกิจการ - กิิจการศููนย์์กระจายสิินค้้าระหว่่าง ประเทศด้้วยระบบที่่ทัันสมััย (IDC)
ตามประกาศที่ 1/2564 การติดตั้งโซลาร์เซลล์ หากมีขนาดการลงทุนน้อยกว่า 1 ล้านบาท จะเข้าข่ายได้รับส่งเสริม ต้องเข้าข่ายข้อ 2.4.1 และ 2.4.2 แต่หากเกิน 1 ล้านบาท ก็ไม่จำเป็นต้องมีข้อ 2.4.1 และ 2.4.2 ใช่หรือไม่ หากต้องการจะติดตั้งโซลาร์เซลล์ (สมมติว่าเกิน 1 ล้านบาท) สำหรับโครงการเดิมที่สิทธิและประโยชน์การลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลยังไม่สิ้นสุด (เหลืออีก 5 ปี) และสำหรับโครงการใหม่ที่กำลังจะยื่นคำขอในปีนี้ แสดงว่าสิทธิประโยชน์ของโซลาร์เซลล์จะใช้ได้เฉพาะกับโครงการใหม่ และสิทธิเรื่องภาษีเงินได้จะใช้ได้ 3 ปี หลังจากเริ่มมีรายได้ครั้งแรกจากโครงการใหม่ใช่หรือไม่

ตอบคำถามดังนี้

1. หากมีขนาดการลงทุนเกินกว่า 1 ล้านบาท ไม่ต้องมีคุณสมบัติตามข้อ 2.4 ของประกาศ

2. มาตรการตามประกาศ กกท ที่ 1/2564 ใช้กับกิจการที่ดำเนินการอยู่แล้ว ดังนั้น หากบริษัทจะลงทุนเพื่อขยายกิจการ (ยื่นคำขอเป็นโครงการใหม่) จะไม่เข้าข่ายตามประกาศ กกท ที่ 1/2546
แต่จะได้รับสิทธิประโยชน์ตามหลักเกณฑ์การส่งเสริมการลงทุน ตาม ประกาศ กกท ที่ 2/2557


Q5.1:

หมายความว่าหากบริษัททจะขอขยายโครงการใหม่ ก็จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์จากการติดตั้งโซลาร์เซลล์ ใช่หรือไม่

A5.1:

หากยื่นขอรับส่งเสริมเป็นโครงการใหม่ การลงทุนในส่วนของ Solar Roof จะนับเป็นการลงทุนเครื่องจักรที่จะนำมาคำนวณเป็นขนาดการลงทุนของโครงการได้ แต่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือไม่ ขึ้นอยู่กับประเภทกิจการที่ยื่นขอรับส่งเสริม ว่าเข้าข่ายกิจการในประเภท A ที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้หรือไม่


Q5.2:

หมายถึงหากเป็นกิจการประเภท A จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เพิ่มเติมจากตัวโครงการ แต่หากเป็นประเภท B ที่ไม่ได้รับยกเว้นเงินได้จากตัวโครงการ ก็จะไม่ได้รับยกเว้นเงินได้จากตัวโซลาร์เซลล์ใช่หรือไม่

A5.2:

1. หากเป็นกิจการในประเภท A จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ 3 - 8 ปี โดยมูลค่าการลงทุน Solar Roof ทั้ง 100% จะถูกนับรวมเป็นขนาดการลงทุนของโครงการ (และรวมกับมูลค่าการลงทุนค่าก่อสร้าง และเครื่องจักรอื่นๆ) เพื่อกำหนดวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่หากเป็นมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ จะได้รับวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้ เพียงแค่ 50% ของมูลค่าการลงทุนของ Solar Roof

2. หากเป็นกิจการในประเภท B จะไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ทั้งในส่วนของการยื่นขอรับส่งเสริมเป็นโครงการขยาย หรือยื่นขอรับส่งเสริมตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ


Q5.3:

สำหรับโครงการที่สิ้นสุดระยะเวลายกเว้นภาษีเงินได้แล้ว จึงจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ 50% ของเงินลงทุน ในที่นี้คือเงินลงทุนทั้งหมดหรือเงินลงทุนค่าโซลาร์เซลล์

หากเป็นโครงการเดิมที่ยังไม่หมดภาษีเงินได้ไม่สามารถขอยื่นปรับปรุงประสิทธิภาพได้ แต่สามารถนำเข้าโซลาร์เซลล์โดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีเครื่องจักรได้ใช่หรือไม่

การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ หากจะนำมาใช้กับโครงการเดิม (ที่ยังเหลือสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ 50% อีก 5 ปี) สามารถขอรับการส่งเสริมได้หรือไม่

A5.3:

ตอบคำถามดังนี้

1. การลงทุนตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ 3 ปี เป็นสัดส่วน 50% ของเงินลงทุนไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน เฉพาะเงินลงทุนในการปรับปรุง

2. หากโครงการเดิมยังไม่สิ้นสุดการยกเว้นภาษีเงินได้ จะขอรับการส่งเสริมตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพไม่ได้ แต่หากโครงการเดิมยังไม่ครบกำหนดเปิดดำเนินการ บริษัทสามารถลงทุนโซลาร์เซลล์ และนำมูลค่าการลงทุนนั้นมารวมคำนวณเป็นมูลค่าการลงทุนของโครงการ เพื่อปรับเปลี่ยนวงเงินที่จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ภายใต้โครงการเดิมได้

3. มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ตามประกาศ กกท ที่ 4/2564 จะต้องเป็นโครงการที่สิ้นสุดสิทธิการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้ว


Q5.4:

ตามคำตอบข้อ 2 ข้างต้น ไม่ทราบว่าสามารถได้รับยกเว้นภาษีนำเข้าโซลาร์เซลล์ไหม (ทั้งกรณีเปิดดำเนินการแล้วและยังไม่ได้เปิด)

A5.4:

หากยังมีระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรเหลืออยู่ สามารถขอแก้ไขบัญชีรายการเครื่องจักรเพื่อนำเข้า โซลาเซลล์ได้

กรณีติดโซล่าเซลล์ที่คลังสินค้าซึ่งอยู่คนละที่กับโรงงานผลิต โดยได้สิทธิ์ตามมาตรา 27 ทั้งหมด บริษัทสามารถนำบัตรกิจการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าของโรงงานผลิตไปขอรับการส่งเสริมการติดโซล่าเซลล์ที่คลังสินค้าได้หรือไม่

หากคลังสินค้านั้นใช้เฉพาะกิจการที่ได้รับส่งเสริมตามโครงการนั้น การติดตั้งโซลาเซลล์ที่คลังสินค้า ก็เข้าข่ายมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพตามประกาศ

การขยายเวลามาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ
มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพที่สิ้นสุดระยะเวลาในปี 2565 มีการขยายระยเวลาเพิ่มเติมหรือไม่

เนื่องจากเป็นมาตรการที่ช่วยยกระดับในด้านต่างๆ ให้กับผู้ประกอบการในประเทศ และมีมาตรการย่อย บางข้อที่เพิ่งเริ่มประกาศใช้ได้ไม่นาน จึงอาจจะมีการพิจารณาขยายเวลาของมาตรการนี้ ทั้งนี้ขอให้ติดตามประกาศอย่างเป็นทางการของสำนักงานจากหน้าเว็บไซต์

การติดตั้ง Solar Roof ตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ
มีการกำหนดสัดส่วนของพลังงานที่ได้จากโซลาร์เซลล์หรือไม่ และต้องมีการลงทุนเท่าใด

ตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ ด้านการนำพลังงานทดแทนมาใช้ในกิจการ หมายถึง การเปลี่ยพลังงานที่ใช้ในโครงการ จากเดิมที่ใช้พลังงานฟอสซิล (เช่น น้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ) เป็นการใช้พลังงานทดแทน ตามชนิดที่กำหนด (เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม เป็นต้น) นั้นไม่มีเงื่อนไขตัวชี้วัดเป็นตัวเลขที่ต้องปฏิบัติให้ได้ เนื่องจากในบางกรณีหรือในช่วงระยะเวลาหนึ่ง การใช้พลังงานทดแทนอาจมีต้นทุนสูงกว่าพลังงานที่ใช้อยู่เดิม แต่จะพิจารณาว่าพลังงานทดแทนที่จะนำมาใช้ มีความเหมาะสมหรือไม่

ถาม Q14.1:

ทำไมจึงไม่ให้สิทธิประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุตตลตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพกับโครงการที่ยังไม่สิ้นสุดระยะเวลาการได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจากโครงการเดิมที่มีอยู่

ตอบ A14.1:

กรณีที่บริษัทจะลงทุนติดตั้งแผง Solar

1. หากโครงการที่ได้รับส่งเสริม ยังไม่สิ้นสุดระยะเวลายกเว้นภาษีเงินได้ และยังไม่ครบกำหนดเปิดดำเนินการ
- ให้ยื่นขอแก้ไขกรรมวิธีผลิต โดยให้ระบุว่าจะมีการลงทุนติดตั้งแผง Solar เพื่อใช้พลังงานทดแทนในโครงการด้วย
- เมื่อได้รับอนุมัติ จะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าแผง Solar (กรณีไม่ผลิตหรือประกอบในประเทศ) และจะได้รับแก้ไขวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เพิ่มขึ้นเท่ากับ 100% ของมูลค่าการลงทุนในส่วนของแผง Solar (ซึ่งจะมากกว่าข้อ 2 ที่กำหนดวงเงินยกเว้นภาษีเพียง 50% ของมูลค่าการลงทุนแผง Solar)
2. หากโครงการที่ได้รับส่งเสริม สิ้นสุดระยะเวลายกเว้นภาษีเงินได้ และได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว
- สามารถนำโครงการนี้มายื่นขอรับส่งเสริมตามมาตรการปรับปรุงฯ
- จะได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าตามมาตรา 28 และยกเว้นภาษีเงินได้เป็นวงเงิน 50% ของมูลค่าการลงทุนในส่วนของแผง Solar
3. หากโครงการที่ได้รับส่งเสริม ได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว แต่ยังไม่สิ้นสุดสิทธิการยกเว้น/ ลดหย่อนภาษีเงินได้
- ไม่สามารถยื่นแก้ไขโครงการตามข้อ 1 เนื่องจาก BOI ไม่อนุญาตให้แก้ไขโครงการที่มีการลงทุนเพิ่มเติม หลังเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว
- และไม่สามารถยื่นขอรับส่งเสริมตามมาตรการปรับปรุงตามข้อ 2 เนื่องจากยังไม่สิ้นสุดสิทธิการยกเว้น/ลดหย่อนภาษีเงินได้

ถาม Q14.2:

- การใช้สิทธิยกเว้นอากรนำเข้าเครื่องจักร หากทางบริษัทที่เป็นผู้รับติดตั้งนำเข้ามาเอง สามารถใช้สิทธิยกเว้นอากรนำเข้าของบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมได้หรือไม่
- ระบบบัญชีต้องดำเนินการอย่างไร ต้องแยกบัญชีหรือไม่หากได้รับการส่งเสริมตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ
- Serial No. ของอุปกรณ์ จะต้องถูกต้องตรงกับที่จะนำมาติดตั้งจริง หากไม่ตรงกันจะทำให้ไม่สามารถผ่านพิธีศุลกากรใช่หรือไม่

ตอบ A14.2:

ตอบคำถามดังนี้
1. ในการจะใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร ผู้นำเข้าจะต้องเป็นบริษัทที่ได้รับส่งเสริมที่ได้รับสิทธิ เท่านั้น (แต่สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่น เป็นผู้ดำเนินการผ่านพิธีการศุลกากรแทนได้ ตามระเบียบของกรมศุลกากร) หากบริษัทที่เป็นผู้รับติดตั้งแผงโซลาร์ เป็นผู้นำเข้าจากนั้นจำหน่ายพร้อมติดตั้งให้กับผู้ได้รับส่งเสริม จะไม่สามารถใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรได้
2. กรณีติดตั้งแผงโซลาร์ ปกติจะตรวจสอบเพียงว่าได้นำพลังงานจากแผงโซลาร์ไปใช้ในโครงการที่ได้รับส่งเสริมปรับปรุงประสิทธิภาพเท่านั้น เช่น หากบริษัทได้รับส่งเสริมหลายโครงการ (บัตร 1, บัตร 2, บัตร 3) อยู่ในสถานประกอบการเดียวกัน แต่ยื่นขอส่งเสริมเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเฉพาะบัตร 1 บริษัทจะต้องดำเนินการให้สามารถตรวจสอบได้ว่า การลงทุนแผงโซลาร์ เป็นการนำพลังงานทดแทนมาใช้ในบัตร 1 เท่านั้น
3. การยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร มีเงื่อนไขว่า ต้องไม่เป็นเครื่องจักรที่ผลิตหรือประกอบได้ในประเทศ ซึ่งมีคุณภาพใกล้เคียงกับชนิดที่ผลิตในต่างประเทศ และมีปริมาณเพียงพอที่จะจัดหามาใช้ได้ การระบุ serial หรือ spec เป็นวิธีการหนึ่งที่จะยืนยันว่า เครื่องจักรที่จะขอนำเข้าโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากร ไม่เป็นชนิดที่มีผลิตหรือประกอบในประเทศ ซึ่งมีคุณภาพใกล้เคียงกัน ดังนั้น หากบริษัทยื่นขออนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักรโดยระบุ serial / spec ก็จะต้องระบุ serial / spec ของสินค้านำเข้า ให้ตรงกับที่ได้รับอนุมัติ มิฉะนั้นจะขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรไม่ได้
การลงทุนตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ ของกิจการในกลุ่ม B
กิจการในกลุ่ม B สามารถได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ ได้อย่างไรบ้าง

1. กิจการกลุ่ม B คือกลุ่มที่ไม่ให้ได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายส่งเสริมการลงทุน แต่ในบางช่วงเวลา BOI อาจกำหนดให้กิจการกลุ่ม B (เฉพาะกรณีเป็นการลงทุนใหม่) ได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมหากมีการลงทุนตามมาตรการเป้าหมาย เช่น มีการนำใช้ระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์มาใช้ หรือมีการนำเทคโลยีดิจิทัลมาใช้ เป็นต้น โดยจะให้สิทธิประโยชน์ด้านเครื่องจักรและภาษีเงินได้เป็นสัดส่วนเฉพาะเท่าที่ลงทุนเพิ่มเติมตามมาตรการเป้าหมายนั้นๆ เท่านั้น

2. ปัจจุบันสำนักงานได้มีมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ เช่น การลงทุนติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ (ประกาศ กกท ที่ 1/2564) จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ วงเงินไม่เกิน 50% ของเงินลงทุนติดตั้งโซลาร์เซลล์ แต่มีเงื่อนไขว่าโครงการเดิมที่จะลงทุนติดตั้งแผงโซลาร์ ต้องไม่ได้รับสิทธิ/หรือสิ้นสุดสิทธิภาษีเงินได้แล้วซึ่งกิจการกลุ่ม B สามารถขอรับการส่งเสริมในมาตรการนี้ได้

3. การขอรับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลทั้งในกรณีการลงทุนตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ และกรณีการลงทุนของกิจการกลุ่ม B ที่ขอรับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม จะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้เป็นวงเงินไม่เกิน 50% (บางกรณี 100%) ของการลงทุนเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับมาตรการนั้นๆ เท่านั้น เช่น หากจะลงทุนติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์มูลค่า 10 ล้านบาท จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ไม่เกิน 5 ล้านบาท หรือโครงการในกลุ่ม B หากจะลงทุน 100 ล้านบาท โดยเป็นระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์ 10 ล้านบาท จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ไม่เกิน 5 ล้านบาท (บางกรณีไม่เกิน 10 ล้านบาท หรือร้อยละ 100 ของเงินลงทุน)

ถาม Q15.1:

กิจการกลุ่ม B มีการขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นไปอีก 3 เท่า ต้องการขอรับการส่งเสริมเป็นบัตรใหม่ โดยยังไม่มีการลงทุนในโซลาร์เซลล์ในตอนแรก เมื่อได้รับการส่งเสริมแล้วสามารถขอส่งเสริมตามมารการปรับปรุงประสิทธิภาพในการติดตั้งโซลาร์เซลล์ เพื่อให้ได้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ครึ่งหนึ่งของมูลค่าการลงทุนโซลาร์เซลล์ภายหลังได้หรือไม่

ตอบ A15.1:

1. กิจการผลิตในกลุ่ม B หากจะนำโครงการเดิมที่ได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการแล้ว มายื่นขอรับส่งเสริมตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ โดยการลงทุนติดตั้งโซลาร์เซลล์กรณีนี้สามารถทำได้หากประเภทกิจการไม่ขัดกับบัญชี negative list ของกิจการกลุ่ม B ที่ไม่ให้สิทธิประโยชน์ตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ (ตามประกาศ สกท ที่ ป.1/2564)
2. กรณีลงทุนใหม่ในกิจการผลิตในกลุ่ม B โครงการนั้นจะต้องเปิดดำเนินการเต็มโครงการให้เสร็จสิ้นก่อน จากนั้นจึงจะนำโครงการนั้นมายื่นขอรับส่งเสริมตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพได้ ทั้งนี้เนื่องจากการขอรับส่งเสริมตามมาตรการปรับปรุง จะมีการยกเลิกบัตรส่งเสริมฉบับเดิมแต่หากบัตรส่งเสริมฉบับเดิมไม่ได้เปิดดำเนินการเต็มโครงการจะเป็นการผิดเงื่อนไขสำคัญ และจะถูกเพิกถอนสิทธิประโยชน์ของโครงการนั้น

ถาม Q15.2:

หากโครงการเดิมได้รับการส่งเสริมก่อนที่จะมีการจัดประเภทกิจการแบบใหม่เป็น A, B เราได้สิทธิภาษี 8 ปี ได้สิทธิครึ่งหนึ่ง 5 ปี ตอนนี้หมดไปแล้ว 8 ปี อยู่ในช่วง 5 ปีหลัง แต่ปัจจุบันประเภทกิจการเป็นกลุ่ม B จะเข้าข่ายการขอรับการส่งเสริมหรือไม่ หรือที่เขียนหมายถึงโครงการกลุ่ม B ที่ได้รับการส่งเสริมตอนที่มีการจัดประเภทกิจการแบบใหม่แล้วเท่านั้น

ตอบ A15.2:

กิจการกลุ่ม B ในที่นี้ หมายถึง ตามประเภทกิจการ ณ วันที่ยื่นขอรับส่งเสริมตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพโดยก่อนหน้านี้ (ก่อนจะยื่นขอรับส่งเสริมตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ) จะเป็นกิจการในประเภท/หรือกลุ่มใดก็ได้

ถาม Q15.3:

การเปิดดำเนินการเต็มโครงการของกิจการในกลุ่ม B ดำเนินการเช่นเดียวกับกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้หรือไม่ (เป็นกิจการที่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าเครื่องจักรได้ตลอดระยะเวลาส่งเสริมแต่ไม่ได้รับสิทธิภาษีเงินได้)

ตอบ A15.3:

1. การตรวจสอบเปิดดำเนินการ (กรณีกิจการผลิต) มีหลักการเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นกิจการในกลุ่มใด 2. กรณีได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร 30 เดือน สามารถขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรได้ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ปี และจะต้องเปิดดำเนินการภายใน 6 เดือน หลังวันสิ้นสุดระยะเวลานำเข้าเครื่องจักร และขอขยายเวลาเปิดดำเนินการเพียงอย่างเดียว ได้ 1 ครั้ง ไม่เกิน 1 ปี 3. กรณีได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรตลอดระยะเวลาที่ได้รับส่งเสริมจะต้องเปิดดำเนินการภายใน 36 เดือน นับจากวันที่ออกบัตรและขอขยายเปิดดำเนินการเพียงอย่างเดียวได้ 1 ครั้ง ไม่เกิน 1 ปี

ขออภัยครับ ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ในภาษาที่ท่านเลือก !

Sorry, There is no information support your selected language !

Download และ ติดตั้งโปรแกรมอ่าน PDF

Download PDF Reader

Site map