Chat
x
toggle menu
toggle menu

Select Groups

All Group
  • All Group
  • นโยบายเเละมาตรการพิเศษในการส่งเสริม
  • การขอรับการส่งเสริมการลงทุน
  • การออกบัตรส่งเสริม
  • การเปิดดำเนินการ
  • การเเก้ไขโครงการ
  • การดำเนินการอื่น ๆ
  • การรายงานความคืบหน้าโครงการ (e-Monitoring)
  • การปฏิบัติหลังการได้รับการส่งเสริม
  • การยกเลิกบัตรส่งเสริม
  • เรื่องทั่วไป
  • การใช้สิทธิด้านที่ดิน
  • การใช้สิทธิด้านเครื่องจักร
  • การใช้สิทธิด้านช่างฝีมือ/ต่างด้าว
  • การใช้สิทธิด้านวัตถุดิบ
  • ประเภทกิจการ - การแพทย์
  • การใช้สิทธิด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ประเภทกิจการ - รถยนต์ไฟฟ้า
  • ประเภทกิจการ - ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (IBC) IPO และ TISO
  • ประเภทกิจการ - โรงแรม
  • ประเภทกิจการ - ผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ
  • ประเภทกิจการ - กิิจการผลิิตเครื่่องจัักร อุุปกรณ์์และชิ้นส่่วน
  • ประเภทกิจการ - กิิจการศููนย์์กระจายสิินค้้าระหว่่าง ประเทศด้้วยระบบที่่ทัันสมััย (IDC)
บริษัทกำหนดแจ้งเปิดดำเนินการวันที่ 12 ตุลาคม 2558 หลังจากแจ้งเปิดดำเนินการแล้วบริษัทสามารถนำเข้าเครื่องจักรอุปกรณ์เข้ามาได้หรือไม่ และได้รับสิทธิยกเว้นภาษีอากรหรือ ถ้าได้บริษัทต้องทำอย่างไร

หากเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว จะไม่สามารถขอขยายเวลานำเครื่องจักร เพื่อนำเข้าเครื่องจักร อะไหล่ แม่พิมพ์ เข้ามาโดยยกเว้นภาษีได้อีก เว้นแต่กิจการบางประเภท เช่น เครื่องไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อาจมีการระบุในบัตรส่งเสริมให้สามารถนำเข้าเครื่องจักรได้ตลอดระยะเวลาที่ได้รับส่งเสริม

หากต้องการทราบรายละเอียดการสั่งปล่อยเครื่องจักรภายใต้สิทธิ์ BOI ทั้งหมดจะสามารถขอได้ที่หน่วยงานใด ขอทาง IC eMT ได้เลยหรือเปล่า

ถ้าเป็นระบบ eMT online สามารถดูรายการเครื่องจักร และรายการสั่งปล่อย ได้จากรายงานในระบบ eMT online แต่ถ้าเป็นระบบ eMTเก่า ปัจจุบันปิดการใช้งานไปแล้ว ให้ทำจดหมายขอข้อมูลไปยังสมาคม IC

NG ที่เกิดขึ้นในระหว่างการผลิตต้องทำอย่างไรในกรณีที่นำเข้าภายใต้การใช้สิทธิ์ยกเว้นอากรนำเข้า
ส่วนสูญเสีย ต้องทำลายตามวิธีที่ได้รับอนุญาต จากนั้นขอชำระภาษีตามสภาพเศษซาก แล้วจึงตัดขอบัญชีเพื่อปรับยอด
ถ้ามีวัตถุดิบ BOI เสียหาย แต่บริษัทนำเข้ามาทดแทนโดยการเสียภาษีเข้ามาแบบนี้ต้องทำเรื่องทำลายหรือไม่เพราะบริษัทใช้ชิ้นส่วนทดแทนที่เสียภาษีเข้ามา

1. วัตถุดิบที่ใช้สิทธิ BOI หากเสียหาย ก็สามารถขอทำลายในข่ายส่วนสูญเสียนอกสูตรได้ตามหลักเกณฑ์

2. ส่วนวัตถุดิบที่นำเข้ามาใหม่ ก็สามารถขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีได้อีก

BOI มีวิธีการช่วยเหลือตามขั้นตอนข้างต้นอยู่แล้ว จึงไม่น่าจะมีเหตุผลอะไรที่บริษัทจะเสียภาษีวัตถุดิบเข้ามาเอง หรือหากบริษัทต้องการชำระภาษี ก็ควรเป็นการอ้างถึงหนังสือสั่งปล่อยงวดก่อนที่เคยใช้สิทธิ ไม่ควรเป็นการชำระภาษีในการนำเข้าครั้งต่อไป ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกัน

ในกรณีที่ขออนุมัติบัญชีเครื่องจักร และในระบบ EMT Online ขึ้นสถานะว่าอนุมัติแล้ว แต่ยังไม่มีเลขที่ใบอนุมัติ ในกรณีนี้ต้องทำอย่างไรต่อค่ะ หรือต้องรอเลขที่ใบอนุมัติ ถ้ารอมีกำหนดระยะเวลาหรือไม่ค่ะ (เพราะรอมา 2 อาทิตย์แล้วนับตั้งแต่ขึ้นสถานะว่าอนุมัติ)

การอนุมัติบัญชีเครื่องจักรในระบบ eMT Online ไม่มีการออกเลขอนุมัติ หากบริษัทกรอก pin code เพื่อรับผลพิจารณาแล้วก็ถือว่าการอนุมัติเสร็จสิ้น สามารถเรียกรายการเครื่องจักรนั้นมาสั่งปล่อยได้

บริษัทนำเข้าเครื่องจักรอายุเกิน 10 ปีเข้ามาโดยการเสียภาษีอากรขาเข้า และไม่ได้ทำ Master List บริษัทอยากทราบดังต่อไปนี้. 1. อะไหล่ของเครื่องจักรจะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าหรือไม่ 2. จะดำเนินการอย่างไรถ้าได้รับช่วยแนะนำด้วย

การจะใช้เครื่องจักรเก่าอายุเกิน 10 ปี จะต้องแจ้งต่อ BOI ตั้งแต่ตอนที่ยื่นคำขอรับการส่งเสริม ซึ่งหากได้รับอนุญาต จะมีการแจ้งผลอนุญาตให้ใช้เครื่องจักรเก่า 10 ปี ใน "หนังสือแจ้งมติให้การส่งเสริม" ซึ่งหากจะไม่ให้ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรเกิน 10 ปี ดังกล่าว ก็จะมีระบุในหนังสือแจ้งมตินั้นด้วย

กรณีที่ไม่ได้แจ้งไว้ในขั้นยื่นขอรับการส่งเสริมว่าจะมีการใช้เครื่องจักรเกิน 10 ปี จะต้องยื่นขอแก้ไขโครงการ เพื่อขอใช้เครื่องจักรเก่าเกิน 10 ปี และต้องได้รับอนุมัติให้เสร็จสิ้นก่อน

กรณีที่ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องจักรเก่าเกิน 10 ปี โดยไม่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้า หากต้องการนำเข้าอะไหล่โดยใช้สิทธิยกเว้นภาษี ให้ยื่นขออนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักรนั้น โดยใส่ปริมาณเป็น 0.5 เครื่อง โดยให้ชี้แจงว่าเป็นการยื่นขอบัญชีเครื่องจักรเพื่อใช้สิทธิเฉพาะอะไหล่ของเครื่องจักรเท่านั้น เมื่อได้รับอนุมัติบัญชี 0.5 เครื่อง จะสั่งปล่อยเครื่องจักรไม่ได้ แต่สามารถสร้างบัญชีอะไหล่ของเครื่องจักรรายการนั้น เพื่อขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีต่อไป ทั้งนี้ อะไหล่ที่จะใช้สิทธินำเข้า จะต้องไม่เป็นรายการที่มีผลิตในประเทศ และมีปริมาณเพียงพอที่จะจัดซื้อมา

1.หากบริษัทมีชิ้นส่วนนำเข้ามาหลายรายการใน 1 ครั้งแต่มีชิ้นส่วนเสียหายเพียง 1 รายการ หากจะทำการทำลาย ก็จะต้องมีค่าใช้จ่าย Survey ซึ่งคำนวณแล้วมีมูลค่ามากกว่ามูลค่ายกเว้น ภาษีสำหรับรายการที่จะนำเข้ามาทดแทน จึงตัดสินใจโดยเสียภาษีนำเข้าเพื่อจะไม่ต้องทำเรื่อง Scrap ทำได้หรือไม่ 2. หากมีชิ้นส่วนเสียหายเพียง 1 รายการมีมูลค่าน้อยกว่าค่า Surveyor บริษัทสามารถเก็บรวมหลาย ๆ ครั้งไว้เพื่อให้ Survey มาตรวจสอบ ปีละครั้งได้หรือไม่ 3. หากต้องการนำชิ้นส่วนมาทดแทนทรัพย์สินที่เสียหาย ต้องรอให้ทำลายจ่ายภาษีเศษซากก่อนถึงจะนำนำเข้าหรือไม่ (เนื่องจากบริษัทต้องรีบใช้ชิ้นส่วนทดแทนมาทำการผลิต)

1. หากจะไม่ทำลาย แต่จะชำระภาษี ก็สามารถทำได้ แต่โดยหลักการ ควรนำใบขนที่สั่งปล่อยไปก่อนหน้านี้ มายื่นขอชำระภาษีบางรายการที่ต้องการชำระภาษีคืน

2. สามารถเก็บรวมของที่เสียหาย เพื่อรวมทำลายเพียงครั้งเดียวก็ได้

3. การทำลาย กับการนำเข้ามาทดแทน ไม่เกี่ยวข้องกัน สามารถนำเข้ามาทดแทนได้ โดยการสั่งปล่อยตามปกติ ไม่ต้องรอให้ทำลายเสร็จก่อน

คำแนะนำคือ

1. ส่วนที่เสียหาย ให้รวบรวมจนได้ปริมาณมากพอ จึงขอทำลายและตรวจสอบตัดบัญชีในภายหลัง (การเก็บ ให้แยกตามประเภทวัตถุดิบ และลักษณะการเสียหาย)

2. ระหว่างนั้นก็สั่งปล่อยเพิ่มเติมเพื่อนำมาใช้แทนส่วนที่เสียหาย

3. ส่วนที่เสียหายตามข้อ 1 จะมียอดค้างใน balance ใน max stock ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะทำลายและตัดบัญชีเสร็จ

4. ไม่มีความจำเป็นต้องเสียภาษีสำหรับส่วนที่นำเข้ามาใช้แทน แต่หากมีเหตุผลอื่นก็ขึ้นกับการตัดสินใจของบริษัท

เนื่องจากทางลูกค้าของบริษัทมีการยกเลิก order แต่ได้มีการผลิตงานออกมาแล้ว และลูกค้าจะจ่ายเงินให้โดยไม่มีการส่งงาน แต่จะทิ้งงานเป็น scrap จึงรบกวนถามว่ากรณีนี้ทางบริษัทจะต้องเตรียมเอกสารยื่น BOI อย่างไร ชิ้นงานประกอบไปด้วยวัตถุดิบภายใต้BOI และ วัสดุประกอบ (อย่างเช่น rubber spring screw) ที่อยู่ภายใต้ BOI เช่นกัน

สินค้าที่ไม่สามารถส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศได้ จัดอยู่ในข่าย ส่วนสูญเสียนอกสูตร สามารถขอทำลายได้ตามขั้นตอนดังนี้

ขออนุมัติวิธีทำลาย ทำลายตามวิธีที่ได้รับอนุมัติ โดยให้มีบริษัทผู้ตรวจสอบที่ได้รับอนุญาตจาก BOI ร่วมทำการตรวจสอบระหว่างทำลาย และจัดทำรายงานผลการทำลายตามที่ BOI กำหนด

ในการทำลายต้องแจ้งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น กรมสรรพากร ผู้สอบบัญชี .. คำสั่งกรมสรรพากร ป.79/2541 ป.84/2542 (กรุณาตรวจสอบเองอีกครั้งหนึ่ง)

ขออนุมัติตัดบัญชีส่วนสูญเสียนอกสูตร และขอชำระภาษีอากรเศษซากที่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ ชำระภาษีเศษซากที่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์

ยื่นตัดบัญชีต่อ IC

มีเครื่องจักรเก่าที่ได้นำเข้ามาแล้วโดยเป็นเครื่องจักรที่ผลิตก่อนปี 2544 จึงไม่ได้ทำ MASTER LIST และนำเข้ามาโดยจ่ายค่าอากรนำเข้าปกติ เงื่อนไขโครงการผมเป็นดังนี้ 1.1 ในกรณีที่ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องจักรเก่า เครื่องจักรที่ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้าจะต้องเป็นเครื่องจักรที่ผลิตตั้งแต่ปี พ.ศ.2544 จะต้องให้สถาบันที่เชื่อถือได้รับรองประสิทธิภาพและได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน คำถาม 1. ปัจจุบันผมมีสถาบันเข้ามารับรองประสิทธิภาพเครื่องจักรเรียบร้อยแล้ว จำเป็นต้องนำไปใส่ใน MASTER LIST หรือไม่ 2. เครื่องจักรหลักอื่นๆ ที่ซื้อภายในประเทศ จำเป็นต้องนำไปใส่ใน MASTER LIST หรือไม่ 3. รายการเครื่องจักรทั่วไปที่ไม่ได้เป็นเครื่องจักรหลัก จำเป็นต้องนำไปใส่ใน MASTER LIST หรือไม่ 4. หากเครื่องจักรหลักเข้ามาหมดแล้ว แต่ยังใช้ไม่เต็มกำลังการผลิตที่แจ้งไว้ จะขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรออกไปได้หรือไม่ อย่างไร 5. ตอนแจ้งเปิดดำเนินการ ต้องเตรียมข้อมูลเครื่องจักรไว้ให้ตรวจสอบอย่างไรบ้าง

1. และ 2. เครื่องจักรที่นำเข้ามาโดยชำระภาษี และเครื่องจักรที่ซื้อในประเทศ ไม่ต้องยื่นขออนุมัติใน Master List

3. เครื่องจักร อุปกรณ์ อะไหล่ เครื่องมือ ส่วนประกอบ ทุกรายการ ที่จะขอยกเว้นอากรขาเข้า ต้องยื่นขออนุมัติใน Master List

4. หากนำเครื่องจักรเข้ามายังไม่ครบตามกำลังผลิตที่ได้รับส่งเสริม สามารถขอขยายระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรได้ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ปี

5. การเปิดดำเนินการ ขอให้แยกเป็นคำถามใหม่ โดยตั้งไว้ในหมวดการเปิดดำเนินการ เท่าที่ดูเบื้องต้น บริษัทอาจทำผิดเงื่อนไข คือมีการใช้เครื่องจักรเก่าเกิน 10 ปี ในโครงการ โดยไม่ได้รับอนุญาต - ให้ตรวจสอบคำขอรับการส่งเสริม และหนังสือแจ้งมติให้การส่งเสริมว่า เคยมีการแจ้งและได้รับอนุมัติว่าจะมีการใช้เครื่องจักรเก่าเกิน 10 ปี แล้วหรือไม่

- หากไม่เคย จะต้องยื่นขอใช้เครื่องจักรเก่าเกิน 10 ปี
ในกรณีใช้เครื่องจักรเก่าเกิน 10 ปีในโครงการ 1. จะต้องยื่นขอใช้เครื่องจักรอย่างไร 2. หากผิดเงื่อนไขโครงการจะมีผลอย่างไรในกรณีนี้

1. ให้ยื่นแก้ไขโครงการตามแบบฟอร์ม เพื่อขอใช้เครื่องจักรเก่าเกิน 10 ปี โดยกรอกรายละเอียดเครื่องจักรที่เกิน 10 ปี (รายการ จำนวน ปีที่ผลิต นำเข้าจาก มูลค่า) และแนบใบรับรองประสิทธิภาพเครื่องจักรเก่า

2. หากไม่ได้รับอนุมัติ จะไม่สามารถใช้เครื่องจักรเหล่านั้นในโครงการที่ได้รับส่งเสริมได้ เมื่อไม่สามารถใช้เครื่องจักรนั้น กรรมวิธีการผลิตและกำลังผลิตจึงอาจไม่เป็นไปตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม และหากเป็นขั้นตอนที่เป็นสาระสำคัญ และไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องภายในกำหนดเปิดดำเนินการ ก็อาจเปิดดำเนินการไม่ได้ และอาจถูกเพิกถอนบัตรส่งเสริม

เอกสารยื่นประกอบส่งส่วนสูญเสีย(นอกสูตร)ไปต่างประเทศต้องใช้อะไรบ้าง และใช้จำนวนแผ่นหรือหน้าต่อการยื่นแต่ละครั้ง
ดูได้จาก link : http://www.faq108.co.th/common/topic/boiform.php
ต้องการทราบบริษัทที่รับตรวจสอบส่วนสูญเสียและเศษซากจากการผลิต (ชิ้นส่วนโลหะ) รบกวนขอชื่อบริษัทกับทาง faq108 หรือ ถ้าเป็นไปได้ขออีเมล์ด้วยก็จะเป็นเรื่องที่ดีมาก
ค้นได้จาก ประกาศ BOI และเลือกหมวดหมู่วัตถุดิบ
ผมได้กลับไปตรวจสอบ หนังสือแจ้งมติให้การส่งเสริมแล้วพบว่า ได้รับอนุมัติให้ใช้เครื่องจักรเก่าเกิน 10 ปี จำนวน 2 เครื่อง เป็นเครื่อง 630 ตัน และ 250 ตัน แต่ตอนยื่น MACHINE LIST ในระบบ EMT ผมไม่ได้อ้างถึงหนังสือแจ้งมติให้การส่งเสริม ทำให้สถานะของเครื่องจักร 2 เครื่องนี้ในระบบ EMT แจ้งไว้เป็นไม่อนุมัติ ผมต้องแก้ไขอย่างไร

การอนุญาตให้ใช้เครื่องจักรเกิน 10 ปี ปกติจะไม่ให้ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร จึงขอให้ตรวจสอบในหนังสือแจ้งมติโดยละเอียดว่า เป็นการอนุญาตให้ใช้เครื่องจักรเกิน 10 ปี โดยไม่ให้ได้รับการยกเว้นอากรเครื่องจักร ใช่หรือไม่ และตรวจสอบบัตรส่งเสริม สิทธิประโยชน์มาตรา 28 ว่ามีการระบุว่าให้ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรสำหรับเครื่องที่ผลิตตั้งแต่ปี .... (คือไม่เกิน 10 ปี) ใช่หรือไม่ หากใช่ก็คือ โครงการนี้ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องจักรเก่าเกิน 10 ปี โดยไม่ให้ยกเว้นอากรเครื่องจักรที่เกิน 10 ปีนั้น ดังนั้น การไม่ได้รับอนุมัติในระบบ eMT ก็ถูกต้องแล้ว เพราะเครื่องจักรรายการนั้นไม่ได้รับสิทธิยกเว้นอากร บริษัทจึงไม่จำเป็นต้องแก้ไขอะไร

1. ผมจะยื่นแก้ไขโครงการเพื่อขอใช้เครื่องจักรเก่าเกิน 10 ปี ต้องมี จดหมายนำหรือไม่ หรือใช้แบบฟอร์มกับเอกสารแนบอย่างเดียว 2. ในหนังสือแจ้งมติให้การส่งเสริม ระบุว่าอนุมัติให้ใช้เครื่องจักรเก่าเกิน 10 ปี จำนวน 2 เครื่อง แต่ในบัตรส่งเสริมไม่มีระบุไว้ ผมต้องนำบัตรส่งเสริมไปแก้ไขหรือไม่ 3. ตอนนี้ผมอยู่ระหว่างรออนุมัติการขยายเวลานำเข้าเครื่องจักร แต่กำลังจะมีแม่พิมพ์นำเข้ามา หากระยะเวลานำเข้าสิ้นสุดลง และยังไม่ได้รับอนุมัติให้ขยายระยะเวลา ในระบบ EMT ไม่สามารถเข้าไปสั่งปล่อยได้ต้องทำอย่างไร

1. แปลว่าที่ได้รับอนุมัติให้ใช้เครื่องจักรเก่าเกิน 10 ปี จำนวน 2 เครื่อง ไม่เพียงพอ บริษัทต้องการขอใช้เครื่องจักรเกิน 10 ปี มากกว่านั้นอีก ใช่ไหม ถ้าใช่ก็ต้องยื่นแก้ไข โดยปกติควรทำหนังสือนำเป็นหนังสือหัวจดหมายบริษัทแนบไปด้วย

2. ไม่ต้องนำบัตรส่งเสริมไปแก้ไขครับ เพราะระบุในหนังสือแจ้งมติแล้ว

3. หากสิทธินำเข้าสิ้นสุดลง และอยู่ระหว่างขยายเวลา ก็ต้องนำเข้ามาโดยชำระภาษีสงวนสิทธิหรือขอใช้ธนาคารค้ำประกัน แล้วจึงยื่นสั่งปล่อยคืนอากรหรือถอนธนาคารค้ำประกัน ภายหลังจากที่ได้รับอนุมัติให้ขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรแล้ว

บริษัทได้รับสิทธิ BOI แล้ว อยากจะสอบถามขั้นตอนหลังจากนี้ว่าต้องดำเนินการขั้นตอนอะไรต่อไป ถึงจะใช้สิทธิได้ ผลิตอุปกรณ์ผ่อนแรงที่ใช้ชักรอกม่านพลาสติกที่ใช้กับโรงเพาะชำ (ventilation) ซื้อชิ้นส่วนงานจากซัพพลายเออร์ไทย มีโรงงานประกอบที่ไทย แล้วส่งออกญี่ปุ่นทุกเดือน มีนำเข้าชิ้นส่วนสปริง 2 เดือนครั้ง

หากต้องการใช้สิทธิมาตรา 36 เพื่อยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบที่นำเข้ามาผลิตเพื่อการส่งออก จะต้องดำเนินการดังนี้

1.ขออนุมัติบัญชีปริมาณสต๊อกวัตถุดิบสูงสุด

2.สมัครใช้บริการ

- ขอ Project Code

- กำหนดวันนำเข้าครั้งแรก

3.ขออนุมัติสั่งปล่อยวัตถุดิบเพื่อยกเว้นอากรขาเข้า

4.ขออนุมัติสูตรการผลิต

5.ตัดบัญชีวัตถุดิบสำหรับสินค้าที่ส่งออก

6.ดำเนินการอื่นๆ ตามประกาศและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการใช้สิทธิมาตรา 36

ในขั้นแรก แนะนำให้เข้าฝึกอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับงานวัตถุดิบ ที่สมาคม IC จัดขึ้นเป็นประจำ

ทางบริษัทฯได้รับการส่งเสริมการลงทุนมีการนำเข้าเครื่องจักรเพื่อมาผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์ไปต่างประเทศ แต่บริษัทฯ ได้ยื่นขอเฉพาะเรื่องภาษีเงินได้นิติบุคคลเท่านั้น ไม่เคยใช้ มาตรา 36 (1) เรื่องการยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นเลย (ปัจจุบันภาษีนิติบุคคลตามมาตรา 31, ทาง บริษัทฯ ไม่ได้ทำการต่ออายุ และหมดอายุไปนานแล้ว) ต่อมาทางบริษัทฯ ได้ทำการศึกษา และพบว่าสามารถดำเนินการเรื่องนำเข้าวัตถุดิบ ตามมาตรา36 (1) ได้ โดยเริ่มนับจากวันที่นำเข้าครั้งแรก และได้ยื่นเรื่องขอดำเนินการไป และได้รับการอนุมัติ ( ได้ทำ MML กิจการและกำลังการผลิตเป็นไปตาม ข้อกำหนดและปริมาณที่ได้รับอนุมัติจาก BOI ตามบัตรส่งเสริม) แต่มีข้อสงสัยกลับไปว่า เครื่องจักรใหม่ที่ทางบริษัทฯใช้ในการผลิตนั้น ได้นำเข้ามาใหม่ (มาทดแทนเครื่องจักรเก่าที่เสื่อมสภาพไป-บางตัว) และเครื่องจักรนั้นไม่ได้ใช้สิทธินำเข้า BOI เนื่องจากเสียภาษีนำเข้าที่ 0%-1% เท่านั้น และไม่ได้ไปขอขึ้นทะเบียนเครื่องจักรกับ BOI อยากสอบถามว่า วัตถุดิบนำเข้ามา และมาผลิตกับเครื่องจักรดังกล่าว และได้ขอใช้สิทธิ ม.36 (1) ไปแล้วนั้น ผิดกฎระเบียบของ BOI หรือไม่
1. วัตถุดิบที่นำเข้ามาโดยใช้สิทธิมาตรา 36(1) จะต้องใช้ผลิต ผสม ประกอบผลิตภัณฑ์ เฉพาะที่ใช้ในการส่งออก และเฉพาะในกิจการที่ได้รับส่งเสริมเท่านั้น

2. เครื่องจักรที่ใช้ในกิจการที่ได้รับการส่งเสริม จะซื้อมาเองโดยไม่ใช้สิทธิมาตรา 28 ก็ได้ แต่จะต้องเป็นเครื่องจักรใหม่ หรือกรณีเป็นเครื่องจักรเก่าจากต่างประเทศต้องมีใบรับรองประสิทธิภาพและอายุไม่เกินกว่าที่กำหนดในบัตรส่งเสริม

3. การนำวัตถุดิบตามข้อ 1 ไปใช้ผลิตโดยเครื่องจักรตามข้อ 2 ถือว่าปฏิบัติถูกต้อง

เนื่องจากว่าทางบริษัทฯได้มีการขออนุมัติรายชื่อเครื่องจักรเรียบร้อยแล้ว แต่ INV ไม่ตรงกับชื่อที่ขอ จึงต้องการขอชื่อรองเพิ่มเติม แต่เนื่องจากในระบบแจ้งว่า - ถ้ารายการเครื่องจักรเป็น Negative List หรือ เป็นรายการเครื่องจักรเก่า จะไม่สามารถขอเพิ่มชื่อรองได้ ดังนั้นทางบริษัทสามารถแก้ไขชื่อได้อย่างไรบ้าง

1. เครื่องจักรที่ตรงกับบัญชีรายการที่มีผลิตในประเทศ (Negative List) จะต้องแสดงรายละเอียดเพื่อพิสูจน์ว่า เครื่องจักรที่จะนำเข้าเป็นรายการที่ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ เมื่อได้รับอนุมัติ ก็จะต้องนำเข้าเครื่องจักรที่มีรายละเอียดตรงกับที่ได้รับอนุมัติไว้ จะนำเข้าเครื่องอื่นที่อาจมี spec ต่างกันไม่ได้

2. กรณีที่สอบถาม หากเครื่องจักรที่จะนำเข้า เป็นรายการเดียวกับที่ได้รับอนุมัติ ก็จะต้องแก้ไขอินวอยซ์ให้ตรงกับรายการที่อนุมัติ แต่หากเป็นคนละรายการกัน ก็ต้องยื่นขอแก้ไขบัญชีเครื่องจักร เพื่อขอเพิ่มรายการใหม่ และให้ BOI พิจารณาอนุมัติใหม่

บัญชีเครื่องจักร MASTER LIST เนื่องจากทางเราต้องการขายเครื่องจักร แต่ไม่แน่ใจว่าอยู่ภายใต้ BOI หรือไม่ ซึ่งเจ้าหน้าที่คนเก่าได้ลาออกไป จึงไม่ทราบว่า สามารถขอข้อมูลจาก BOI ได้หรือเปล่า

ระบบ eMT Online สามารถตรวจสอบรายงานได้ว่าโครงการนั้นสั่งปล่อยเครื่องจักรอะไรไปแล้วบ้าง ตามหนังสือสั่งปล่อยเลขที่เท่าใดแต่ข้อมูลนี้ยังไม่เพียงพอที่จะยืนยันว่า เครื่องจักรที่จะขอจำหน่าย เป็นรายการเดียวกันกับที่นำเข้าโดยใช้สิทธิ BOI หรือไม่

การขออนุมัติจำหน่ายเครื่องจักร นอกจากจะต้องใช้หลักฐานการอนุมัติให้ยกเว้นภาษีอากรเครื่องจักรแล้ว ยังต้องใช้สำเนาใบขนขาเข้าที่แสดงการใช้สิทธิ BOI ตามเลขที่หนังสือสั่งปล่อยนั้นๆ ดังนั้น บริษัทจึงต้องตรวจสอบจากหลักฐานต่างๆ ที่บริษัทมีอยู่ด้วย

อยากทราบวิธีการและขั้นตอนการขออนุมัติบัญชีรายการวัตถุดิบและวัสดุที่จำเป็น เช่น เรามีการนำเข้า copper จากต่างประเทศ เข้ามาเพื่อใช้ในการซ่อมมอเตอร์ ตามสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจาก BOI เราจะต้องเริ่มต้นและทำอย่างไรบ้าง
วิธีการขออนุมัติบัญชีรายการวัตถุดิบและวัสดุจำเป็น

1. กำหนดสูตรการผลิตสินค้าที่จะนำมาเป็นตัวอย่าง เพื่อใช้ในการคำนวณปริมาณสต๊อกวัตถุดิบสูงสุด โดยจะกำหนดเพียง 1 สูตรหรือหลายสูตรก็ได้

2. ประมาณการผลิตตามกำลังผลิตสูงสุด 6 เดือน ของสินค้าแต่ละโมเดลตามข้อ 1.1

3. คำนวณเป็นรายการและปริมาณวัตถุดิบสูงสุดที่ต้องการใช้ในระยะเวลา 6 เดือน

รายละเอียดจำเป็นต้องมีการอธิบายมากกว่านี้ ซึ่งคิดว่าหากไม่เคยศึกษาข้อมูลมาก่อน น่าจะเข้าใจยาก แนะนำให้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับการใช้สิทธิประโยชน์วัตถุดิบและวัสดุจำเป็น มาตรา 36 ซึ่งสมาคมสโมสรนักลงทุนจัดขึ้นเป็นประจำ

บริษัทเป็นผู้ประกอบตู้ control ไฟฟ้าและสายไฟ harness ตาม order ของลูกค้า (made to order) ต้องการจะสอบถามว่า หากนำเข้าสายไฟ harness เข้ามาในประเทศไทย จะสามารถใช้สิทธิ BOI ได้หรือเปล่า

หากบริษัท A (BOI) ผลิตสินค้าตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม และจำหน่ายในประเทศให้กับบริษัท B (BOI) จากนั้นบริษัท B นำไปส่งออก/หรือผลิตต่อเป็นสินค้าแล้วส่งออก บริษัท A สามารถใช้สิทธิประโยชน์ตามมาตรา 36 เพื่อยกเว้นอากรขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับวัตถุดิบที่นำเข้ามาเพื่อผลิตเพื่อการส่งออกได้

ขออภัยครับ ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ในภาษาที่ท่านเลือก !

Sorry, There is no information support your selected language !

Download และ ติดตั้งโปรแกรมอ่าน PDF

Download PDF Reader

Site map