“วิสาหกิจในเครือ” หมายความว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีความสัมพันธ์กับศูนย์กลาง ธุรกิจระหว่างประเทศ ในลักษณะดังนี้
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งถือหุ้นในศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศทั้งทางตรงหรือทาง อ้อมรวมกันคิดเป็นสัดส่วนการถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของทุนทั้งหมด
(2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศถือหุ้น หรือเป็นหุ้นส่วนทั้งทาง ตรงหรือทางอ้อมรวมกันคิดเป็นสัดส่วนการถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของทุนทั้งหมด
(3) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตาม (1) ถือหุ้น หรือเป็นหุ้นส่วนทั้งทางตรงหรือทางอ้อมรวมกันคิดเป็นสัดส่วนการถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของทุนทั้งหมด
(4) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจควบคุมกิจการหรือกำกับดูแลการดำเนินงานและการ บริหารงานของศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ
(5) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศมีอำนาจควบคุมกิจการหรือกำกับดูแลการดำเนินงานและการบริหารงาน
(6) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตาม (4) มีอำนาจควบคุมกิจการหรือกำกับดูแลการดำเนินงานและการบริหารงาน
โครงการที่ได้รับส่งเสริม จะใช้เครื่องจักรเก่าในประเทศที่เคยใช้งานเชิงพาณิชย์ในประเทศมาก่อนไม่ได้ และเครื่องจักรที่นำเข้าโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากร จะต้องใช้ในโครงการนั้นเท่านั้น
ดังนั้น หากบริษัทนำเครื่องจักรที่นำเข้าโดยใช้สิทธิในโครงการที่ 1 ไปใช้ในโครงการที่ 2 จะเป็นการขัดกับเงื่อนไขการใช้สิทธิเครื่องจักรของโครงการที่ 1 และจะเป็นการขัดสาระสำคัญในการให้การส่งเสริมของโครงการที่ 2
1.โครงการที่ 1 เปิดดำเนินการแล้ว หากจะนำเครื่องจักรที่ซื้อมาโดยไม่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรเครื่องจักร ไปใช้เพื่อการอื่น -> ไม่ขัดกับเงื่อนไขการใช้สิทธิเครื่องจักร และไม่ต้องขออนุญาต
แต่ทั้งนี้ โครงการที่ 1 ยังคงต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ได้รับส่งเสริมอยู่ต่อไปด้วย เช่น จะนำเครื่องจักรหลักไปใช้เพื่อการอื่น จนมีขั้นตอนการผลิตไม่ครบตามที่ได้รับส่งเสริม ไม่ได้ เป็นต้น
2.โครงการที่ 2 เปิดดำเนินการแล้ว หากจะนำเครื่องจักรเก่าจากในประเทศ มาใช้ในโครงการที่ได้รับส่งเสริม -> ขัดกับเงื่อนไขนโยบายการให้การส่งเสริมการลงทุน ซึ่งกำหนดว่าเครื่องจักรที่ใช้ในโครงการ จะต้องเป็นเครื่องจักรใหม่เท่านั้น หรือหากเป็นเครื่องจักรเก่า จะต้องได้รับอนุญาต โดยต้องเป็นเครื่องจักรเก่าจากต่างประเทศ และต้องมีใบรับรองประสิทธิภาพเครื่องจักรเก่า
แต่ทั้งนี้ หาก BOI พิจารณาว่า โครงการที่ 2 ขอแก้ไขโครงการเพื่อใช้เครื่องจักรร่วมกับโครงการที่ 1 โดยขั้นตอนดังกล่าวไม่เป็นสาระสำคัญในการผลิตของโครงการที่ 2 ก็อาจพิจารณาอนุญาตให้ได้
กิจการการค้าระหว่างประเทศภายใต้ประเภทกิจการ 7.34 IBC ปัจจุบัน มีเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ที่ได้รับแตกต่างจากประเภท 7.6 ITC เดิม โดยมีเงื่อนไขเฉพาะประเภทกิจการดังนี้
1.ต้องมีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท (เหมือนเดิม)
2.ต้องมีการจ้างพนักงานประจำที่มีความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับ IBC ไม่น้อยกว่า 10 คน เว้นแต่กรณี IBC ที่มีเฉพาะการให้บริการด้านการบริหารเงินแก่วิสาหกิจในเครือ ต้องมีการจ้างพนักงานประจำที่มีความรู้และทักษะไม่น้อยกว่า 5 คน
3.กรณีเป็นการดำเนินกิจการการค้าระหว่างประเทศ จะต้องมีขอบข่ายธุรกิจในข้อ 1.1 – 1.10 ร่วมด้วยไม่น้อยกว่า 1 ข้อ
4.ไม่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร (มาตรา 28) และไม่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นสำหรับส่วนที่ผลิตเพื่อการส่งออก (มาตรา 36)
เงื่อนไขในการยื่นขอและสิทธิประโยชน์ที่ได้รับเปลี่ยนไป ทั้งด้านการจ้างงานบุคลากรที่เพิ่มขึ้น ด้านขอบข่ายการบริการที่ต้องมีการให้บริการวิสาหกิจในเครือด้วยที่เพิ่มขึ้น และด้านสิทธิประโยชน์ด้านการยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร (ม.28) ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบ (ม.36) ที่ถูกยกเลิกไป
BOI มีแนวทางการพิจารณาว่าหากกิจการต้องการจะดำเนินกิจการการค้าระหว่างประเทศ ภายใต้ประเภทกิจการ 7.34 IBC จะต้องมีการดำเนินการในขอบข่ายธุรกิจในข้อ 1.1 – 1.10 ของประเภทกิจการ IBC ด้วยอย่างมีนัยสำคัญ
Commercial Distribution แบบ Out-Out ดังกล่าวอยู่ในขอบข่ายกิจการ ITC ที่บริษัทได้รับการ ส่งเสริมอยู่ ปัจจุบันหลังจากที่กระทรวงการคลังปรับนโยบายเป็นให้การส่งเสริมการลงทุนกิจการ IBC และยุติ การอนุมัติให้เป็น IHQ หรือ ITC รายได้ดังกล่าวไม่สามารถได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง จึงต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามปกติ
จะต้องใช้แบบฟอร์มดังนี้
- กรณีกิจการอยู่ในหมวดส่งเสริมการลงทุน 1 – 6 ให้ใช้แบบฟอร์มขอรับส่งเสริมการลงทุนทั่วไป (F PA PP 01-06)
- กรณีกิจการอยู่ในหมวดส่งเสริมการลงทุน 7 ให้ใช้แบบฟอร์มขอรับส่งเสริมการลงทุน (บริการ) (F PA PP 03-07)
โดยยื่นพร้อมกับแบบประกอบคำขอรับส่งเสริมการลงทุนตามกรณีต่าง ๆ ดังนี้
- แบบประกอบคำขอรับส่งเสริมตามหลักเกณฑ์การให้สิทธิและประโยชน์ตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน หรือการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (F PA PP 28-03)
- แบบประกอบคำขอรับการส่งเสริมตามหลักเกณฑ์การให้สิทธิและประโยชน์ ตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต (F PA PP 30-02)
- แบบประกอบคำขอรับการส่งเสริมตามหลักเกณฑ์การให้สิทธิและประโยชน์ ตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการวิจัย พัฒนา และออกแบบทางวิศวกรรมเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตตามประกาศณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ 1/2557 (F PA PP 38-01)
1.การยื่นขอใช้สิทธิ์ยกเว้นภาษีเงินได้ ต้องยื่นภายใน 120 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดย BOI จะตรวจสอบและแจ้งยืนยันการใช้สิทธิให้กับบริษัททราบ เพื่อให้บริษัทสามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ในการยื่นต่อกรมสรรพากรภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
2.การยื่นขอใช้สิทธิ์ยกเว้นภาษีเงินได้ เกินกว่า 120 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ก็สามารถทำได้ แต่จะทำให้บริษัทไม่สามารถยื่นต่อสรรพากรได้ภายในกำหนด 150 วัน ซึ่งถือเป็นความรับผิดชอบของบริษัทเอง
1. แจ้งความเอกสารหาย
2. ยื่นหนังสือ (ไม่มีแบบฟอร์ม ร่างขึ้นได้เอง) ถึงเลขาธิการ BOI เพื่อขอคัดสำเนาบัตรส่งเสริม โดยแนบหลักฐานใบแจ้งความ
3. BOI จะถ่ายสำเนาบัตรส่งเสริมให้กับบริษัท กรณีที่บริษัทจะยกเลิกโครงการที่ได้รับส่งเสริม ขอให้ตรวจสอบเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ด้วยว่า บริษัทปฏิบัติผิดเงื่อนไข และใช้สิทธิประโยชน์ผิดหรือไม่ เพราะหากปฏิบัติผิดเงื่อนไข และใช้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีโดยไม่ถูกต้อง อาจถูกเพิกถอนบัตร และเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง
เครื่องจักรที่นำเข้ามาแล้ว แต่มีกำลังผลิตเหลือไม่สามารถนำกำลังผลิตที่มีเหลือ ไปใช้ร่วมกับโครงการอื่นได้ แต่สามารถขอแก้ไขกำลังผลิตของโครงการเดิมเพื่อเพิ่มกำลังผลิตเท่าที่สามารถผลิตได้จริง ในขั้นตอนการเปิดดำเนินการเต็มโครงการ
1.กรณียังไม่ได้เปิดดำเนินการ บริษัทสามารถซื้อเครื่องจักรใหม่ภายในประเทศ เพื่อใช้ในกิจการที่ได้รับส่งเสริมได้ โดยไม่ต้องรายงานต่อ BOI
2.กรณียื่นขอเปิดดำเนินการ ให้จัดทำบัญชีรายการเครื่องจักรทั้งหมดที่ใช้ในกิจการ (ทั้งที่นำเข้าและซื้อในประเทศ) ในแบบคำขออนุญาตเปิดดำเนินการ และยื่นต่อ BOI
เครื่องจักรที่ประกอบขึ้นใหม่ โดยมีการใช้อุปกรณ์เก่า ไม่นับเป็นเครื่องจักรใหม่ เช่น รถยนต์ แม้จะเปลี่ยนเครื่องยนต์ เปลี่ยนล้อ เปลี่ยนเบาะเก้าอี้ เปลี่ยนระบบไฟฟ้า ระบบส่งกำลังต่างๆ แต่ยังใช้ตัวถังเดิม ก็ไม่สามารถจะบอกว่าเป็นรถใหม่
รายการลงทุนที่เคยแสดงในการยื่นขอรับการส่งเสริมสามารถใช้เป็นแนวทางพิจารณาว่ารายการลงทุนใดเป็นการลงทุนตามโครงการ อย่างไรก็ตาม ในการรายงานให้ยึดตามมูลค่าการลงทุนหรือค่าใช้จ่ายที่ได้เกิดขึ้นจริง
ระบบฯ ไม่ได้มีข้อผิดพลาดแต่อย่างใด แต่เพื่อไม่ให้เป็นภาระในการกรอกข้อมูล ระบบฯ จึงมีเฉพาะช่องรายการที่จำเป็นเท่านั้น
ระบบฯ ไม่มีการส่งอีเมลตอบกลับ ทั้งนี้ หากระบบฯ ขึ้นว่าได้ ‘ส่งข้อมูลแล้ว ณ วันที่ ...’ ถือว่าบริษัทได้ส่งรายงานมายังสำนักงานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ไม่ใช่ ให้กรอกรายได้รวมทั้งส่วนที่ได้และไม่ได้รับการส่งเสริมของทั้งบริษัทแต่ไม่รวมรายได้อื่น เนื่องจากการรายงานผลการดำเนินงานประจำปีเป็นการรายงานของบริษัทในภาพรวม ซึ่งแตกต่างจากการรายงานความคืบหน้าโครงการที่เป็นการรายงานข้อมูลเฉพาะโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
เนื่องจากข้อมูลส่วนใหญ่ที่กรอกต้องลงรายละเอียดและอาจอ้างอิงเอกสารอื่นที่เป็นภาษาไทย ดังนั้นปัจจุบันจึงยังไม่มีการพัฒนาระบบฯ เป็นภาษาอังกฤษ อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นสามารถดูแบบเตรียม ข้อมูลที่เป็นภาษาอังกฤษได้ที่เว็บไซต์ของสำนักงานที่ www.boi.go.th โดยไปที่ INVESTMENT PROMOTION > BOI Forms and Online Service > Project Monitoring > Form
สำนักงานกำหนดรูปแบบของการให้สิทธิและประโยชน์
โดยแบ่งเป็นประเภท 2
ดังนี้
สิทธิประโยชน์ตามประเภทกิจการ
(Activity-based Incentives)
แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่ม
A ได้แก่
กลุ่มกิจการที่จะได้รับสิทธิและประโยชน์ด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล เครื่องจักร
วัตถุดิบ และสิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษีอากร โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่ม
A1
- ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี โดยไม่กำหนดวงเงิน
- ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร
- ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบสำหรับการผลิตเพื่อส่งออก
- ยกเว้นอากรสำหรับของที่นำเข้ามาวิจัยและพัฒนา
รวมทั้งการทดสอบที่เกี่ยวข้อง (เฉพาะกิจการ 7.12.1 – 7.12.4)
กลุ่ม
A2
- ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี โดยมีวงเงินยกเว้นเท่ากับมูลค่าเงินลงทุน ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน
- ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร
- ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบสำหรับการผลิตเพื่อส่งออก
กลุ่ม A3
- ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 5 ปี โดยมีวงเงินยกเว้นเท่ากับมูลค่าเงินลงทุน ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน
(ยกเว้นบางกิจการที่กำหนดให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้โดยไม่กำหนดวงเงิน)
- ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร
- ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบสำหรับการผลิตเพื่อส่งออก
กลุ่ม
A4
- ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี โดยมีวงเงินยกเว้นเท่ากับมูลค่าเงินลงทุนไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน
- ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร
- ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบสำหรับการผลิตเพื่อส่งออก
กลุ่ม
B ได้แก่ กลุ่มกิจการที่จะได้รับสิทธิและประโยชน์เฉพาะด้านเครื่องจักร
วัตถุดิบ และสิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษีอากร โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่ม
B1
- ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร
- ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบสำหรับการผลิตเพื่อส่งออก
กลุ่ม
B2
- ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบสำหรับการผลิตเพื่อส่งออก
กิจการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีเป้าหมาย
ซึ่งมีความร่วมมือตามเงื่อนไขที่กำหนด ประกอบกิจการประเภท 5.6, 7.11, 7.13,
7.14, 7.15 และ 7.19
- ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 10 ปี โดยไม่กำหนดวงเงินสูงสุด
- ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร
- ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในการวิจัยและพัฒนา
(เฉพาะประเภท 7.11)
- ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบสำหรับการผลิตเพื่อส่งออก
หมวด 8 การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ได้แก่ กิจการพัฒนาเทคโนโลยีเป้าหมาย เช่น กิจการพัฒนา Biotechnology, Nanotechnology, Advanced Material Technology และ Digital Technology
- ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 10 ปี โดยไม่กำหนดวงเงินสูงสุด
- ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร
- ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบสำหรับการผลิตเพื่อส่งออก
- ยกเว้นอากรของนำเข้าเพื่อวิจัยและพัฒนา
รวมทั้งการทดสอบที่เกี่ยวข้อง
หมายเหตุ:
1. สิทธิประโยชน์การยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบเพื่อการผลิตส่งออก
จะให้ได้รับครั้งแรกเป็นเวลา 1 ปี และจะขยายเวลาให้ครั้งละ 2 ปี (หรือ 1 ปีสำหรับบางกิจการ เช่น ITC)
2. กิจการทุกกลุ่ม จะได้รับสิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษีอากร ได้แก่ การนำเข้าช่างฝีมือต่างด้าว การถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน และการอนุญาตให้ส่งเงินตราต่างประเทศออกนอกประเทศ
สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมตามคุณค่าของโครงการ
(Merit-based Incentives)
ให้สิทธิและประโยชน์เพิ่มเติม เพื่อจูงใจและกระตุ้นให้มีการลงทุนหรือใช้จ่ายในกิจกรรมที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศ
ดังนี้
1. การพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน
จะต้องมีการลงทุนหรือมีค่าใช้จ่าย ดังนี้
1) การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ทั้งการดำเนินการเอง
หรือการว่าจ้างผู้อื่นในประเทศ หรือการร่วมวิจัยและพัฒนากับองค์กรในต่างประเทศโดยให้ได้รับวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม
300% ของเงินลงทุนหรือค่าใช้จ่าย
2) การสนับสนุนกองทุนด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและบุคลากร (เป็นกองทุนของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
(สวทช.) เป็นหน่วยงานในกำกับของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งต้องใช้หนังสือรับรองการแสดงความจำนงสนับสนุนเงินเข้ากองทุนฯ จาก สวทช. ยื่นขออนุมัติจากบีโอไอได้ทันที
กองทุนดังกล่าวมีพันธกิจหลักในเรื่องกิจการวิจัยและพัฒนาการพัฒนาบุคคลากรด้านเทคนิค การสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีและให้การสนับสนุนต่อวิสาหกิจขนาดกลางและย่อมในเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยี เป็นต้น
ผู้สนใจสามารถติดต่อให้การสนับสนุนหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สวทช โทร 0-2564-7000
ต่อ 1334-1339) สถาบันการศึกษา ศูนย์ฝึกอบรมเฉพาะทาง สถาบันวิจัย
หรือหน่วยงานของภาครัฐในประเทศ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ โดยให้ได้รับวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติมเท่ากับของเงินลงทุนหรือค่าใช้จ่าย
3) ค่าธรรมเนียมการใช้สิทธิเทคโนโลยีที่พัฒนาจากแหล่งในประเทศ โดยให้ได้รับวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม
200% ของเงินลงทุนหรือค่าใช้จ่าย
4) การฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีขั้นสูง โดยให้ได้รับวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม
200% ของเงินลงทุนหรือค่าใช้จ่าย
5) การพัฒนาผู้ผลิตวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนในประเทศ (Local Supplier) ที่มีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่า
51% ของทุนจดทะเบียน
ในส่วนที่เกี่ยวกับการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีขั้นสูง
และการให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิค โดยให้ได้รับวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม
200% ของเงินลงทุนหรือค่าใช้จ่าย
6) การออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ทั้งการดำเนินการเอง
หรือการว่าจ้างผู้อื่นในประเทศ ตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ โดยให้ได้รับวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม
200% ของเงินลงทุนหรือค่าใช้จ่าย
ทั้งนี้
จะเพิ่มวงเงินยกเว้นเงินภาษีเงินได้ ให้ 200%
ของเงินลงทุนในข้อ 3-6 จะให้ได้รับสิทธิและประโยชน์เพิ่มเติม ดังนี้
- หากมีการลงทุนหรือค่าใช้จ่ายข้างต้นรวมกันไม่น้อยกว่า 1% ของยอดขายรวมใน 3 ปีแรก หรือไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาท ให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้น 1 ปี แต่รวมแล้วไม่เกิน 13 ปี
- หากมีการลงทุนหรือค่าใช้จ่ายข้างต้นรวมกันไม่น้อยกว่า 2% ของยอดขายรวมใน
3 ปีแรก หรือไม่น้อยกว่า 400 ล้านบาท ให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้น 2 ปี แต่รวมแล้วไม่เกิน 13 ปี
- หากมีการลงทุนหรือค่าใช้จ่ายข้างต้นรวมกันไม่น้อยกว่า 3% ของยอดขายรวมใน 3 ปีแรก หรือไม่น้อยกว่า 600 ล้านบาท ให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้น 3 ปี แต่รวมแล้วไม่เกิน 13 ปี
2. การกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค
กรณีตั้งสถานประกอบการในเขตส่งเสริมการลงทุนที่มีรายได้ต่ำ
20 จังหวัด ได้แก่ ได้แก่ กาฬสินธุ์
ชัยภูมิ นครพนม น่าน บึงกาฬ บุรีรัมย์ แพร่ มหาสารคาม มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ยโสธร ร้อยเอ็ด
ศรีสะเกษ สกลนคร สระแก้ว สุโขทัย สุรินทร์ หนองบัวลำภู อุบลราชธานี และอำนาจเจริญให้ได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม
ดังนี้
- ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติมอีก
3 ปี แต่รวมแล้วไม่เกิน
8 ปี แต่หากเป็นกิจการกลุ่ม A1 หรือ A2
ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปีอยู่แล้ว
จะให้ได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 50% เป็นเวลา 5
ปี เพิ่มเติม ตามมาตรา 35(1)
-
ให้หักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า และค่าประปา 2 เท่า เป็นเวลา 10 ปี
ตามมาตรา 35(2)
- ให้หักค่าติดตั้งหรือก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก
25% จากกำไรสุทธิ
นอกเหนือจากการหักค่าเสื่อมราคาตามปกติ ตามมาตรา 35(3)
3. การพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรม
ให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติมอีก
1 ปี แต่รวมแล้วไม่เกิน
8 ปี
กรณีตั้งสถานประกอบการในนิคมหรือเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับส่งเสริม
แต่ไม่รวมถึงกิจการที่มีเงื่อนไขบังคับว่าตั้งตั้งในนิคมหรือเขตอุตสาหกรรม
เงื่อนไขในการขอรับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมตามคุณค่าของโครงการข้างต้นในข้อ
1-3
กิจการกลุ่ม
A
- ขอในขั้นยื่นคำขอรับการส่งเสริม หรือ
- ขอภายหลังจากได้รับการส่งเสริม ก่อนระยะเวลาหรือวงเงินยกเว้นภาษีอย่างใดอย่างหนึ่งจะสิ้นสุดลง
กิจการกลุ่ม B
- ต้องขอในขั้นยื่นคำขอรับการส่งเสริมเท่านั้น และ
- ไม่ให้ได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมตามข้อ
3 การพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรม และ
- ต้องไม่เป็นกิจการประเภทที่กำหนดว่าจะไม่ให้ได้รับสิทธิเพิ่มเติมตามคุณค่าของโครงการ
สูตรการผลิต คือ ปริมาณการใช้วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด ซึ่งทำให้ทราบว่าผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ ใช้วัตถุดิบอะไรบ้าง กี่รายการ แต่ละรายการมีปริมาณเท่าใด เราใช้สูตรการผลิตในการตัดบัญชีวัตถุดิบ เช่น บริษัทได้รับอนุมัติปริมาณสต๊อกวัตถุดิบ Steel Sheet 1 รายการ จำนวน 1,000 ตัน ดังนั้นบริษัทมีสิทธินำเข้า Steel Sheet ไม่เกิน 1,000 ตัน หากบริษัทนำเข้างวดแรก 100 ตัน ปริมาณสต๊อคคงเหลือจะเท่ากับ 900 ตัน ต่อมานำเข้างวดที่ 2 จำนวน 100 ตัน ปริมาณสต๊อคคงเหลือจะลดลงเหลือ 800 ตัน วัตถุดิบงวดแรก 100 ตัน เมื่อผ่านการผลิตและส่งออกไปต่างประเทศแล้ว ก็จะนำหลักฐานใบขนสินค้าขาออกมาแสดงเพื่อตัดบัญชี ซึ่งระบบจะคืนปริมาณสต็อคกลับมา 100 ตัน รวมกับของเดิมที่มีอยู่ 800 ตัน รวมเป็นมูลค่า 900 ตัน ซึ่งเป็นบัญชีแบบหมุนเวียน