Chat
x
toggle menu

Font Size

toggle menu

Select Groups

All Group
  • All Group
  • นโยบายเเละมาตรการพิเศษในการส่งเสริม
  • การขอรับการส่งเสริมการลงทุน
  • การออกบัตรส่งเสริม
  • การเปิดดำเนินการ
  • การเเก้ไขโครงการ
  • การดำเนินการอื่น ๆ
  • การรายงานความคืบหน้าโครงการ (e-Monitoring)
  • การปฏิบัติหลังการได้รับการส่งเสริม
  • การยกเลิกบัตรส่งเสริม
  • เรื่องทั่วไป
  • การใช้สิทธิด้านที่ดิน
  • การใช้สิทธิด้านเครื่องจักร
  • การใช้สิทธิด้านช่างฝีมือ/ต่างด้าว
  • การใช้สิทธิด้านวัตถุดิบ
  • ประเภทกิจการ - การแพทย์
  • การใช้สิทธิด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ประเภทกิจการ - รถยนต์ไฟฟ้า
  • ประเภทกิจการ - ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (IBC) IPO และ TISO
  • ประเภทกิจการ - โรงแรม
  • ประเภทกิจการ - ผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ
  • ประเภทกิจการ - กิจการผลิตเครื่่องจักร อุุปกรณ์และชิ้นส่วน
  • ประเภทกิจการ - กิจการศูนย์กระจายสินค้าระหว่า ประเทศด้วยระบบที่่ทันสมัย (IDC)
ใช้แบบฟอร์มคำขอขยายเวลาเปิดดำเนินการเพียงอย่างเดียว (F PM EX 06-02) ได้หรือเปล่า เอกสารที่ว่านี้โหลดมาทางอินเตอร์เน็ทค่ะสามารถกรอกแล้วพิมพ์ออกมาใช้ได้เลย แล้วเอกสารประกอบขอขยายเวลาเปิดดำเนินการเพียงอย่างเดียวมีอะไรบ้าง และต้องยื่นแบบคำขอล่วงหน้านานเท่าไร
การขอขยายระยะเวลาเปิดดำเนินการเพียงอย่างเดียว โดยไม่ขยายเวลานำเข้าเครื่องจักร สามารถยื่นขอขยายได้ 1 ครั้ง เป็นเวลาไม่เกิน 1 ปี โดยใช้เอกสารดังนี้

- หนังสือบริษัท เรื่อง ขอขยายเวลาเปิดดำเนินการ เรียน เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (ไม่มีแบบฟอร์ม ร่างขึ้นได้เอง)

- แบบรายการเอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบการพิจารณาตรวจสอบ

- แบบคําขอขยายเวลาเปิดดําเนินการ (F PM EX 06)

เอกสารข้างต้นสามารถ download เพื่อมาพิมพ์ข้อมูลเพิ่มเติมได้ ส่วนระยะเวลาการพิจารณาของ BOI กำหนดไว้ไม่เกิน 36 วันทำการ จึงน่าจะยื่นเรื่องประมาณ 2 เดือนล่วงหน้า
กรณีที่ขายสินค้าให้เขตปลอดอากร (Free Zone) ใน invoice ต้องเปิดบิลขาย Vat7% หรือไม่ กรณีขายเป็น NON-BOI
เป็นคำถามที่เกี่ยวกับกรมสรรพากร จึงขอให้สอบถามกับกรมสรรพากรโดยตรง
ขอสอบถามการควบคุมวัตถุดิบ ทั้งกรณีนำเข้าและซื้อในประเทศ ดังนี้ 1. ต้องแยก physical ของวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นไหม (แยก warehouse หรือแยกบริเวณภายใน warehouse เดียวกัน) 2. ในทางบัญชีต้องแยกวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นของ BOI จาก Non-BOI ไหม เพราะเหมือนจะต้องยื่นให้กับทาง BOI ทุกปี 3. หากซื้อในประเทศ มีข้อกำหนดไหมว่าต้องซื้อกับใครได้บ้าง

1. วัตถุดิบที่นำเข้ามาโดยใช้สิทธิมาตรา 36 จะต้องแยกเก็บทางกายภาพ โดยต้องโดยไม่นำไปรวมกับวัตถุดิบที่ซื้อในประเทศ หรือชำระภาษี หรือใช้สิทธิอื่น แม้จะเป็นรายการวัตถุดิบเดียวกันก็ตาม เนื่องจากตามหลักการ วัตถุดิบที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษี กับที่ไม่ใช้สิทธิยกเว้นภาษี ไม่สามารถนำมาทดแทนกันได้ เช่น ไม่สามารถนำวัตถุดิบที่ยกเว้นภาษีไปจำหน่ายในประเทศก่อน จากนั้นจึงนำเข้าวัตถุดิบโดยชำระภาษี เพื่อมาทดแทน/ชดเชย ส่วนที่นำไปจำหน่ายในประเทศ ดังนั้น จึงต้องมีการแยกจัดเก็บให้ชัดเจน ไม่ปะปนกัน

2. ในทางบัญชี เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบที่ชำระภาษี กับยกเว้นภาษี ต้นทุนไม่เท่ากัน จึงเข้าใจว่าต้องแยกควบคุมด้วยเช่นกัน (ไม่ใช่ข้อกำหนดของ BOI แต่เป็นเรื่องหลักการทำบัญชี)

3. การซื้อวัตถุดิบ ทั้งกรณีนำเข้าและซื้อในประเทศ ไม่มีข้อกำหนดว่าจะต้องซื้อจากใคร

ประกาศเรื่องการขยายระยะเวลาการนำเข้าแม่พิมพ์จะออกเมื่อไหร่

การขยายเวลานำเข้าแม่พิมพ์ที่ไม่มีการผลิตในประเทศ ให้กับบริษัทที่สิ้นสุดระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรไปแล้ว ปัจจุบันยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานเพื่อนำเสนอคณะกรรมการ ที่ผ่านมา แม่พิมพ์ที่อนุญาตให้ขยายเวลานำเข้าตามบัญชี positive list จำกัดขอบเขตทำให้มีบริษัทที่ยื่นขอขยายเวลาไม่มากนัก นอกจากนี้กิจการในอุตสาหกรรมเครื่องไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ก็สามารถนำเข้าเครื่องจักรและแม่พิมพ์ตลอดระยะเวลาที่ได้รับส่งเสริม ตลอดจนในช่วงหลายปีที่ผ่านมาก็มีการลงทุนในอุตสาหกรรมผลิตแม่พิมพ์เกิดขึ้นในประเทศไทยมาก ดังนั้น จึงอาจมีความเป็นไปได้ที่ BOI อาจจะไม่ขยาย

บริษัทกำลังเตรียมข้อมูลสำหรับยื่นขอรับการส่งเสริม ในขณะเดียวกันก็กำลังดำเนินการจัดซื้อเครื่องจักร(ในประเทศ) มูลค่าของเครื่องจักรและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ค่าติดตั้ง ค่าทอลองที่เกิดขึ้นก่อนขอรับการส่งเสริม สามารถนำมารวมเป็นมูลค่าเงินลงทุนเพื่อใช้สิทธิ์ ยกเว้นภาษีเงินได้ ตามมาตรา 31 หรือไม่ วันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน 2557 1,418

1. เครื่องจักร (ทั้งจากในและนอกประเทศ) ที่ซื้อมาก่อนวันยื่นคำขอรับการส่งเสริม จะนำมารวมเป็นเครื่องจักรในโครงการไม่ได้

2. หากต้องการใช้เครื่องจักรที่ซื้อมาก่อนวันยื่นคำขอรับส่งเสริม จะต้องระบุในคำขอรับการส่งเสริมด้วยว่า ได้มีการซื้อเครื่องจักรมาก่อนที่จะยื่นคำขอ และขอใช้เครื่องจักรนั้นในโครงการที่ยื่นขอรับส่งเสริมด้วย

3. กรณีที่มีการระบุในคำขอ ตามข้อ 2 และยืนยันได้ว่าบริษัทไม่เคยใช้เครื่องจักรนั้นในเชิงพาณิชย์มาก่อน BOI จะอนุญาตให้ใช้เครื่องจักรนั้นในโครงการ โดยจะให้รวมมูลค่าของเครื่องจักรนั้นเป็นขนาดการลงทุนของโครงการ เพื่อคำนวณวงเงินยกเว้นภาษีตามมาตรา 31 ได้ด้วย

แต่ทั้งนี้ หากเป็นเครื่องจักรที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ก่อนยื่นคำขอรับส่งเสริม จะไม่ให้ยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้าตามมาตรา 28 หรือ 29 แม้ว่าจะอนุมัติให้ใช้ในโครงการได้ก็ตาม
ในกรณีที่บริษัทเป็นกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนประเภท 4.3 ต้องการนำสินค้าจากประเทศมาเลเซียเข้ามาเป็นบริษัทในเครือ นำเข้ามาเก็บไว้ที่บริษัทและทำการตรวจเช็คและบรรจุใหม่เพื่อส่งขายให้กับลูกค้าที่อยู่ในเขตประกอบการค้าเสรี (Free Zone) บริษัทสามารถดำเนินการนำเข้ามาโดยใช้สิทธิประโยชน์ BOI ได้หรือไม่ และถ้าเกิดไม่ได้บริษัทสามารถทำอย่างไรได้บ้าง สามารถแก้ไขโครงการได้หรือไม่

กรณีของโรงงานผลิต วัตถุดิบที่นำเข้ามาโดยใช้สิทธิ ม.36 จะต้องนำไปผลิตเป็นสินค้าตามกรรมวิธีที่ได้รับส่งเสริมตามโครงการนั้นเท่านั้น หากต้องการทำธุรกิจเป็นการซื้อมาขายไป ต้องขอรับส่งเสริมเพิ่มอีก 1 โครงการ ในประเภท International Trading Center จึงจะใช้สิทธิ ม.36 เฉพาะเพื่อการส่งออกได้

ถ้าบริษัทฯ ซื้อสินค้าจากตัวแทนจำหน่ายในประเทศแล้วนำเข้าโดยใช้สิทธิ BOI บริษัทฯ เรา ตอนที่ตัวแทนจำหน่ายเรียกเก็บเงินค่าสินค้าต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มอีกหรือเปล่า เพราะตอนนำเข้ามาใช้สิทธิ BOI ของบริษัทฯ เราซึ่งไม่ได้ชำระทั้งอากรและภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่แล้ว

เป็นคำถามที่นอกเหนือจากขอบเขตของ BOI จึงไม่สามารถให้คำตอบได้ ความเห็นส่วนตัวคิดว่า ตัวแทนจำหน่ายน่าจะต้องเรียกเก็บ VAT ด้วย เพราะเป็นการซื้อขายในประเทศ

การใช้สิทธิประโยชน์ตาม ม.28 ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร เราจะต้องต่ออายุ ทุกๆ ปี ต่อได้ 3 ครั้ง เราจะเริ่มนับปีแรกว่าต้องต่อเมื่อใด ดูได้จากตรงไหน (บัตรส่งเสริม อนุมัติ เมื่อ 25 ก.พ.2557 )

หลักการคือ ระยะเวลานำเข้าเครื่องจักร จะอนุมัติให้เป็นเวลา 36 เดือนนับจากวันที่ออกบัตรส่งเสริมวันที่ออกบัตรส่งเสริม ระบุอยู่ในหน้าสุดท้ายของบัตรส่งเสริม ส่วนวันที่สิ้นสุดนำเข้าเครื่องจักร ระบุในข้อ 1.1 ของเงื่อนไขเฉพาะโครงการ (ในหน้าที่ 6 หรือ 7 ในบัตรส่งเสริม) แต่หากมีการอนุมัติให้ขยายเวลานำเข้า จะระบุในเอกสารแนบท้ายบัตรส่งเสริม

ที่หน้า 7 ระบุไว้ว่าเครื่องจักรต้องนำเข้าภายในวันที่ 25 สิงหาคม 2559 แสดงว่าเราไม่ต้องต่อทุกปีใช่ไหม จนกว่าจะถึง 25 สิงหาคม 2559 ใช่ไหม

ถูกต้องครับ สามารถใช้สิทธิได้อย่างต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 25 ส.ค. 2559 และเมื่อใกล้จะครบกำหนดเวลา หากยังนำเครื่องจักรเข้ามาไม่ครบ ก็ค่อยยื่นขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักร

ขอทราบความหมายของข้อความในหนังสือสั่งปล่อยที่บอกว่า ภาษีมูลค่าเพิ่ม : ใช้หนังสือสำนักงานค้ำประกันและถอนค้ำประกัน จากคำถามการซื้อสินค้ากับ Supplier ในประเทศแล้วบริษัทเราเป็นผู้ดำเนินพิธีการขาเข้าและใช้สิทธิ์ BOI เรา เมื่อเรานำมาประกอบและส่งออกไปก็นำเอกสารมาตัดบัญชีปกติ เลยสงสัยว่าทาง Supplier ในประเทศยังต้องเรียกเก็บ Vat 7% อีก

1. ก่อนที่จะเริ่มใช้ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ในปี 2535 ประเทศไทยใช้ระบบภาษีการค้า ซึ่งในสมัยนั้น BOI มีอำนาจในการยกเว้นอากรขาเข้าและภาษีการค้า สำหรับวัตถุดิบที่นำเข้ามาเพื่อผลิตส่งออก แต่หลังจากเปลี่ยนระบบภาษีการค้าเป็น VAT พรบ.ส่งเสริมการลงทุน ไม่ได้ให้อำนาจ BOI ในการยกเว้น VAT

ดังนั้น เพื่อเป็นการลดภาระให้กับผู้ประกอบการ อธิบดีกรมสรรพากรจึงออกประกาศให้สามารถใช้หนังสือสั่งปล่อยของ BOI ในการค้ำประกันและถอนประกันภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ผู้ประกอบการจึงไม่ต้องชำระ VAT

2. กรณีที่สอบถาม ประเด็นอยู่ที่ว่า กรณีที่เป็นเคสทั่วไป ผู้ซื้อจะมีภาระต้องชำระ VAT ทั้ง 2 ทางหรือไม่ คือ ทั้งการซื้อในประเทศจากตัวแทนจำหน่าย และจากการผ่านพิธีการศุลกากร ... แต่เนื่องจากไม่ใช่เป็นคำถามในกรอบ BOI จึงไม่สามารถให้คำตอบในส่วนนี้ได้ แต่ไม่ว่าข้อสรุปจะเป็นอย่างไร สิทธิการยกเว้นภาษีอากรจาก BOI สามารถใช้ได้เฉพาะในกรณีที่ผู้ได้รับส่งเสริมเป็นผู้นำเข้าโดยตรงเท่านั้น

บริษัทจะซื้อวัตถุดิบที่อยู่ในเขต Free Zone โดยใช้สิทธิบีโอไอ บริษัทฯจะต้องทำอย่างไรบ้าง (คลังสินค้าผู้ผลิตอยู่ในเขตFree Zone)

A (BOI) ซื้อวัตถุดิบจาก B (ฟรีโซน) ถือเป็นการนำเข้ามาในประเทศ ในวันที่ของออกจากฟรีโซน ซึ่งต้องทำใบขนสินค้า โดย A(BOI) สามารถยื่นขอสั่งปล่อยวัตถุดิบต่อ BOI เพื่อยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบดังกล่าว ได้เช่นเดียวกับกรณีที่นำเข้าจากต่างประเทศ

การขยายเวลาการนำเข้าเครื่องจักร ม .28 ดูได้จากไหนว่าเราต้องขอขยายเมื่อใด

ระยะเวลาสิ้นสุดการนำเข้าเครื่องจักร จะระบุไว้ในบัตรส่งเสริม ในข้อ 1.1 ของเงื่อนไขเฉพาะโครงการ (ประมาณหน้าที่ 6 หรือ 7 ในบัตรส่งเสริม) การขยายเวลา ควรยื่นเรื่องก่อนวันสิ้นสุด ประมาณ 1-1.5 เดือน

เมื่อได้รับอนุมัติให้ขยายเวลา จะต้องนำบัตรส่งเสริมไปที่ BOI เพื่อให้เพิ่มเงื่อนไขในเอกสารแนบท้ายบัตรส่งเสริม ดังนั้น การตรวจสอบวันสิ้นสุดการนำเข้าเครื่องจักรในครั้งต่อๆไป ให้ดูจากเอกสารแนบท้ายบัตรส่งเสริม

เนื่องจาก บ. ได้ทำการเปิดกิจการกับ BOI เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทางบ. จะต้องทำการยื่นเรื่องขอขยายเวลานำเข้าอีกหรือไม่

การอนุมัติขยายเวลานำเข้าเครื่องจักร มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริษัทสามารถนำเครื่องจักรเข้ามาได้ครบถ้วนตามกำลังผลิตและกรรมวิธีผลิตที่ได้รับส่งเสริม ดังนั้น เมื่อบริษัทได้รับอนุมัติเปิดดำเนินการจาก BOI แล้ว ก็เป็นการแสดงว่า บริษัทได้นำเครื่องจักรเข้ามาครบถ้วนแล้ว จึงไม่สามารถขยายเวลานำเข้าได้อีก ยกเว้นกรณีที่มีการประกาศไว้เป็นการเฉพาะ เช่น เครื่องจักรในกิจการเครื่องไฟฟ้าหรืออิเล็กทรอนิกส์ หรือเครื่องจักรที่ใช้ในการวิจัยและพัฒนา หรือเครื่องจักรที่ใช้ขจัดหรือป้องกันมลภาวะแวดล้อม จะสามารถนำเข้าได้ตลอดระยะเวลาที่ได้รับส่งเสริม ปล. เข้าใจว่า คำว่า "เปิดกิจการกับ BOI " ที่คุณเขียน คือ การได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการจาก BOI

ในกรณีที่บริษัทเป็น BOI ซื้อวัตถุดิบจาก Vender ในประเทศที่ใช้สิทธิ Form E และอยู่ในเขต Free Zone มาเพื่อผลิตสินค้าขายให้กับลูกค้าที่มีสิทธิ BOI และไม่มีสิทธิ BOI บริษัทจะสามารถใช้สิทธิ BOI ได้ไหม เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียอากรขาเข้า

นำเข้า -> A (Free Zone / Form E) -> B (BOI) -> C (BOI หรือ Non-BOI) -> จำหน่ายในประเทศ หรือส่งออก

1.ถ้าวัตถุดิบที่ B ซื้อจาก A ถูกนำไปผลิตส่งออก B ก็สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรในวันที่นำเข้าจาก Free Zone ได้ตามปกติ

2.แต่ถ้าถูกนำไปผลิตจำหน่ายในประเทศ ภาระภาษีจะตกอยู่กับ B ตามสภาพวัตถุดิบ และอัตราอากรขาเข้า ณ วันที่นำออกมาจาก Free Zone

3.ส่วนอากรขาเข้าในวันที่นำออกมาจาก Free Zone จะเป็นอัตราเท่าใดนั้น Admin ไม่ทราบ แต่คิดว่าหากพิสูจน์ได้ว่าเป็นรายการเดียวกับที่ A นำเข้าไปใน Free Zone โดยใช้สิทธิ Form E ก็น่าจะเป็นอัตราเดียวกัน แต่หากวัตถุดิบนั้นมีการแปรรูปใน Free Zone แล้วจึงนำเข้ามา ก็น่าจะกลายเป็นอัตราตามพิกัดปกติของสินค้าที่แปรรูปแล้ว

เนื่องจากเป็นคำถามที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับงานในส่วนของ BOI โดยตรง จึงควรตรวจสอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกครั้งหนึ่ง

การสลักหลังใบขนในการโอนสิทธิ์ คืออะไร และมีวิธีการอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น B(ผู้ส่งออกทางตรง) ทำการสลักหลังในใบขนโอนให้กับA(ผู้ส่งออกทางอ้อม) เป็นต้น

การสลักหลังใบขน เข้าใจว่าหมายถึงการบันทึกข้อมูลของเจ้าหน้าที่ศุลกากร เช่น การบันทึกรับการบรรทุก ว่าตรวจสอบแล้วครบถ้วนถูกต้องเป็นที่พอใจ ฯลฯ เป็นต้น

ส่วนการที่ผู้ส่งออกจะโอนสิทธิ์การตัดบัญชีตามใบขนให้กับผู้อื่น เข้าใจว่าต้องเป็นการบันทึกในระบบว่าเป็นใบขนประเภท BOI และบันทึกชื่อ Vendor ที่จะโอนสิทธิ์การตัดบัญชีให้ในระบบ แต่ถ้าผู้ส่งออก (B) เป็น BOI และ Vendor (A) ก็เป็น BOI เหมือนกัน จะให้ผู้ส่งออกตัดบัญชีตามสูตร และออก Report-V ให้กับ Vendor

ดังนั้นเราควรจะทำการขยายไว้ก่อนดีกว่าใช่หรือไม่ ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าในอนาคตจะมีการนำเข้าเครื่องจักรมาอีกหรือไม่ และถ้าเป็นการนำเข้าวัตถุดิบ เมื่อบริษัทได้เปิดดำเนินกิจการแล้ว เรายังต้องขอขยายเวลานำเข้าวัตถุดิบอีกหรือไม่

1.หากยังนำเข้าเครื่องจักรไม่ครบ จะต้องขอขยายระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรและระยะเวลาเปิดดำเนินการ

2.หากนำเครื่องจักรเข้ามาครบหรือเกือบครบ จะขอเปิดดำเนินการ หรือจะขอขยายระยะนำเข้าเครื่องจักรออกไปก่อนก็ได้ เผื่ออาจจำเป็นต้องปรับปรุงสายการผลิตโดยนำเข้าเครื่องจักรบางส่วนเข้ามาในระยะอันใกล้

3.หากนำเครื่องจักรเข้ามาเกิน และจะผลิตเกินกว่าบัตรส่งเสริม ควรขอเปิดดำเนินการ เพื่อให้กำลังผลิตในส่วนที่เกินจากบัตรส่งเสริม สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ด้วย

ณ ตอนนี้บริษัท มี 3 บัตรส่งเสริม ที่รอยื่นขอขยายเวลานำเข้าแม่พิมพ์ ซึ่งหมดอายุการนำเข้าเมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 2556 โทรสอบถามเจ้าหน้าที่แจ้งว่ารอประกาศก่อน ไม่ทราบว่าจะยื่นเรื่องได้เมื่อไหร่

ประกาศคณะกรรมการ ที่ 5/2556 เรื่อง การยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับแม่พิมพ์ ให้สิทธิประโยชน์ยกเว้นอากรขาเข้าแม่พิมพ์ที่ยังไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2556 แม้จะโครงการนั้นจะสิ้นสุดระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรไปแล้วก็ตาม

ประกาศดังกล่าวเป็นอำนาจคณะกรรมการ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นรองประธานและกรรมการ แต่เนื่องจากคณะกรรมการได้ครบวาระไปตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ก่อนที่จะมีการยุบสภา ดังนั้น คณะกรรมการชุดเก่าจึงไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในฐานะรักษาการได้ ต้องรอให้มีนายกรัฐมนตรี และแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ให้เสร็จก่อน จึงจะดำเนินการต่อได้

ในอดีตที่ผ่านมา กรณีที่มีการออกประกาศล่าช้าด้วยเหตุผลภายใน เช่น วาระการประชุมมีมาก จนทำให้ต้องเลื่อนการพิจารณาบางเรื่องออกไปก่อน แต่เมื่อกรรมการพิจารณาอนุมัติเรื่องดังกล่าว ก็มักจะให้มีผลย้อนหลังต่อเนื่องจากประกาศเดิม เพื่อไม่ให้เป็นภาระกับผู้ประกอบการ

แต่ในกรณีนี้ เนื่องจากคณะกรรมการครบวาระไปก่อนหน้านั้นแล้ว และเรื่องนี้อาจจะไม่ได้บรรจุในวาระค้างพิจารณา (ข้อมูลไม่ยืนยัน) ดังนั้น แม้ว่าจะมีคณะกรรมการชุดใหม่ในอีก 1-2 เดือนหน้า แต่ไม่สามารถยืนยันได้ว่า จะมีการขยายเวลาการยกเว้นอากรขาเข้าแม่พิมพ์ต่อไปอีกหรือไม่ รวมถึงจะขยายย้อนหลังให้ต่อจากวันครบกำหนดเดิม คือ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 หรือไม่ โดยทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการชุดใหม่

อย่างไรก็ตาม สำหรับกิจการที่ยังมีระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรเหลืออยู่ และกิจการในอุตสาหกรรมเครื่องไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรตลอดระยะเวลาที่ได้รับส่งเสริม ยังคงสามารถนำเข้าแม่พิมพ์ได้ตามสิทธิประโยชน์ที่ได้รับอยู่เดิม

ประกาศตาม ป.5/2562 เปิดให้ยื่นคำขอขยายระยะเวลานำเข้าวัตถุดิบแบบอิเล็กทรอนิกส์ เริ่ม 1 เมษายน ต้องเข้าเว็บอะไรหรอคะ

1. การขยายเวลานำเข้าวัตถุดิบ ให้เข้าจากหน้าเว็บ e-service ของ BOI : https://www.boi.go.th/un/boi_online_services_form

2. หลังจากได้รับอนุมัติ จะต้องนำบัตรส่งเสริมไปแก้ไขเอกสารแนบท้ายบัตร จากนั้นยื่นเรื่องต่อสมาคม IC เพื่อขยายเวลานำเข้าวัตถุดิบในฐานข้อมูล RMTS ตามขั้นตอนที่ปฏิบัติอยู่เดิม

ขอสอบถามเพิ่มเติม ถ้าบริษัทจะยื่นขอขยายระยะเวลานำเข้าวัตถุดิบ แต่เมื่อเข้าระบบขยายเวลานำเข้าวัตถุดิบแล้ว ระบบแจ้งว่ามีใบขนค้างยังไม่ตัดบัญชีเกิน 1 ปี (เป็นใบขนสินค้าขาออกที่บริษัทส่งส่วนสูญเสีย (นอกสูตร) ออกไปต่างประเทศ) ซึ่งบริษัทได้ยื่นขออนุมัติตัดบัญชีกับสำนักงานฯ และยื่นขอปรับยอดกับ IC เรียบร้อยแล้ว บริษัทจะต้องดำเนินการอย่างไร เพื่อที่จะสามารถยื่นขอขยายระยะเวลานำเข้าวัตถุดิบต่อไปได้

กรณีการขอขยายเวลาวัตถุดิบ แต่ติดปัญหาว่า มีใบขนขาออกเกิน 1 ปีค้างอยู่ในระบบ แต่บริษัทไม่ต้องการนำใบขนนั้นมาตัดบัญชี (รวมถึงกรณีเป็นใบขนส่งคืนวัตถุดิบไปต่างประเทศตามที่สอบถามครั้งนี้) บริษัทจะต้องยืนยันการไม่ใช้สิทธิตัดบัญชีของใบขนฉบับนั้นๆ (ซึ่งระบบจะล็อคไม่ให้นำใบขนนั้นมาตัดบัญชีในภายหลังได้อีก)

ขั้นตอนดำเนินการ คือ เข้าไปที่เว็บ IC Online System และเลือกเมนู ตัดบัญชีวัตถุดิบ / ส่งข้อมูลยื่นความจำนงการใช้ใบขนตัดบัญชี

จากนั้นส่งไฟล์ยื่นความจำนงการใช้ใบขนตัดบัญชี โดยระบุในช่อง "ยืนยันสถานะใบขนขาออก" เป็นเลข 3 สำหรับใบขนที่ไม่ต้องการใช้สิทธิตัดบัญชี

ซึ่งเมื่อระบบประมวลผลเสร็จ และไม่มีใบขนเกิน 1 ปีค้างในระบบแล้ว ก็จะสามารถยื่นขอขยายเวลาวัตถุดิบได้ต่อไป

การสั่งปล่อยผิด สอบถามกรณีสั่งปล่อยนำเข้าผิด คือ สั่งปล่อยบีโอไอสำหรับวัตถุดิบที่ไม่ได้รับสิทธิ ม.36 เช่น - เดือน มี.ค. 61 ปล่อย Screw (ไม่ได้รับ ม.36) 10 ชิ้น ใน Group 000001 Nut - เดือน พ.ค. 61 ปล่อย Screw (ไม่ได้รับ ม.36) 50 ชิ้น ใน Group 000001 Nut กรณีนี้จะสามารถไปขอทำ post review กับกรมศุลกากร เพื่อเสียภาษีย้อนหลัง และได้สต็อกคืนจากบีโอไอหรือไม่

กรณีที่บริษัทนำวัตถุดิบที่ใช้สิทธิมาตรา 36 ไปจำหน่ายในประเทศ และได้ไปชำระภาษีอากรต่อกรมศุลกากรแล้ว บริษัทสามารถนำหลักฐานการชำระภาษี ไปยื่นต่อ ฺBOI เพื่อขอให้ BOI มีหนังสืออนุญาตให้ปรับยอดวัตถุดิบเพื่อแจ้งไปยัง IC ได้

ขออภัยครับ ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ในภาษาที่ท่านเลือก !

Sorry, There is no information support your selected language !

Download และ ติดตั้งโปรแกรมอ่าน PDF

Download PDF Reader

Site map