1.เมื่อขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรครบ 3 ครั้งแล้ว จะไม่สามารถขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรได้อีก
2.หลังจากขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรครบ 3 ครั้งแล้ว สามารถขยายเวลาเปิดดำเนินการเพียงอย่างเดียวได้อีก 1 ครั้ง เป็นเวลาไม่เกิน 1 ปี
3.หากไม่ขยายเวลาเปิดดำเนินการ จะต้องยื่นคำขอเปิดดำเนินการภายในเวลาที่กำหนด หากไม่ยื่นคำขอเปิดดำเนินการภายในเวลาที่กำหนด อาจไม่สามารถขอขยายเวลาการปฏิบัติงานของช่างฝีมือต่างชาติ หรืออาจไม่สามารถขยายเวลานำเข้าวัตถุดิบได้
4.การขยายเวลานำเข้าเครื่องจักร ให้ยื่นผ่านระบบ emt โดยจะได้รับอนุมัติให้ขยายเวลาเปิดดำเนินการไปด้วยให้พร้อมกัน ส่วนการขอขยายเวลาเปิดดำเนินการเพียงอย่างเดียว ให้ยื่นคำขอขยายเวลาเปิดดำเนินการเพียงอย่างเดียว (F PM EX 02) ที่สำนักงาน
A (BOI) จำหน่าย Connector ให้กับ B (BOI) แต่ชื่อวัตถุดิบของ B ที่โอนสิทธิตัดบัญชีให้ A คือ Ferrule, Plug Frame ซึ่งเป็นชิ้นส่วนที่นำไปประกอบเป็น Connector กรณีนี้ A จะนำ report-v ไปตัดบัญชีไม่ได้ เนื่องจากรายการวัตถุดิบที่ B โอนสิทธิมาให้ ไม่ตรงกับชื่อสินค้าที่ A จำหน่ายให้ B
1. หาก Ferrule, Plug Frame ตรงกับชนิดผลิตภัณฑ์ที่ระบุในบัตรส่งเสริมของ A และมีกรรมวิธีการผลิตตรงตามที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม บริษัท A ก็สามารถขออนุมัติสูตรการผลิต Ferrule, Plug Frame ได้โดยไม่ต้องแก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์ในบัตรส่งเสริม แต่หากไม่ตรง A ก็ต้องขอแก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์ในบัตรส่งเสริม
2. หาก Connector เป็นสินค้าชนิดเดียวกับ Ferrule, Plug Frame บริษัท B ก็สามารถเพิ่ม Connector เป็นชื่อรองใน Group No. เดียวกับ Ferrule, Plug Frame ได้
กรณีที่ระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรสิ้นสุดแล้ว แต่มีการขยายระยะเวลาการเปิดดำเนินการครบตามโครงการออกไป หากบริษัทจะนำเข้าเครื่องจักร อะไหล่ แม่พิมพ์ เพื่อให้ครบตามโครงการ ก็ต้องชำระภาษีอากรตามปกติ
หากนำเข้าเครื่องจักรเข้ามาในช่วงที่สิทธิมาตรา 28 ยังไม่ขาดก็สามารถสั่งปล่อยยกเว้นภาษีได้ตามปกติ แต่ถ้านำเข้ามาในช่วงที่สิทธิขาด และอยู่ระหว่างขยายเวลานำเข้าเครื่องจักร ก็ต้องชำระภาษีอากรโดยสงวนสิทธิไว้
เมื่อได้รับอนุมัติขยายเวลานำเข้าเครื่องจักร ต้องแก้ไขท้ายบัตรส่งเสริม และแก้ไขระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรในระบบ eMT จากนั้นจึงสามารถยื่นสั่งปล่อยขอคืนอากรเครื่องจักรได้ แต่ VAT จะไม่ได้รับคืนโดยสิทธิ BOI โดย VAT จะเข้าสู่ระบบ VAT ขาย - VAT ซื้อ ตามปกติ
1. กำหนดชื่อโมเดลให้ต่างกัน เช่น สมมุติว่ากำหนดโมเดลเป็น Model AAA-A และ AAA-B กรณีนี้ Model AAA-A (ซึ่งใช้ semi-part) ก็จะมีรายการวัตถุดิบเป็น 000002, 000003, 000004ส่วน AAA-B (ซึ่งฉีดชิ้นส่วนพลาสติกเอง) ก็จะมีรายการวัตถุดิบเป็น 000001, 000002, 000003 เมื่อส่งออก ก็ระบุโมเดลให้ถูกต้อง และตัดบัญชีตามสูตรของโมเดลนั้นๆ
2. แก้ไข revision ของสูตรการผลิต โดยการขอสูตรโมเดล AAA ครั้งแรก (ซึ่งใช้ semi-part) จะถือเป็น revision #1 และมีรายการวัตถุดิบเป็น 000002, 000003, 000004 จากนั้นยื่นแก้ไขสูตรการผลิต (เปลี่ยนจาก semi-part เป็นฉีดพลาสติก) จะถือเป็น revision #2 และจะมีรายการวัตถุดิบเป็น 000001, 000002, 000003 ตอนยื่นตัดบัญชีก็คีย์ revision ในไฟล์ birtexp ให้ถูกต้อง
1. หากเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบ แต่ไม่ขัดกับกรรมวิธีผลิตที่ได้รับส่งเสริม ก็สามารถดำเนินการไปได้เลย
2. หากวัตถุดิบตัวใหม่ เป็นคนละรายการกับวัตถุดิบตัวเดิม จะต้องยื่นขอแก้ไขบัญชีสต็อควัตถุดิบ (Max Stock) เพื่อเพิ่มรายการวัตถุดิบ จากนั้นต้องยื่นขอสูตรการผลิตใหม่เพิ่มเติมด้วย เพื่อให้สามารถใช้สิทธินำเข้าและตัดบัญชีวัตถุดิบตัวใหม่ได้ด้วย
กิจการ ITC ที่มีการใช้เครื่องจักร เช่น เครื่องตรวจสอบ สามารถขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรได้ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ปี เช่นเดียวกับกิจการอื่นๆ
ความเห็นส่วนตัวคือ หากจะขอขยายเวลาครั้งที่ 4 จะต้องเป็นเหตุสุดวิสัยที่ไม่สามารถคาดการณ์และหลีกเลี่ยงได้เท่านั้น จึงจะมีน้ำหนักเพียงพอที่ BOI อาจจะรับไว้พิจารณา
2. กรณีไม่สามารถนำเครื่องจักรเข้ามาในกำหนดระยะเวลาที่ได้รับสิทธิประโยชน์บริษัทยังสามารถนำเข้าเครื่องจักรได้จนครบกำหนดเปิดดำเนินการ แต่จะไม่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรที่นำเข้ามาหลังพ้นกำหนดระยะเวลานำเข้า หากครบกำหนดเปิดดำเนินการแล้ว แต่ยังนำเข้าเครื่องจักรไม่ครบ BOI จะลดกำลังผลิต / กรรมวิธีผลิต / และขนาดของโครงการ ให้เหลือเท่าที่มีการลงทุน
กรณีตามที่สอบถาม ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบ แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงปริมาณการใช้วัตถุดิบ ซึ่งต้องขออนุมัติสูตรการผลิตและโมเดลใหม่ แต่หากจะใช้โมเดลเดิม ก็ต้องขอแก้ไขสูตรการผลิต โดยบันทึกเป็น revision 2 ไม่เกี่ยวกับการแก้ไขบัตรส่งเสริม
ใช่ ยื่นเฉพาะรายการที่ใช้สิทธิกับ BOI หากใส่วัตถุดิบรายการที่ไม่ได้ใช้สิทธิ ไว้ในสูตรการผลิต เวลาตัดบัญชีก็จะถูกนำไปคำนวณปริมาณการใช้ และหักลบยอดออกจากยอดนำเข้าสะสมด้วย ซึ่งไม่ถูกต้อง
ตามหลักเกณฑ์ปัจจุบัน ระยะเวลานำเข้าแม่พิมพ์ จะสิ้นสุดพร้อมกับระยะเวลานำเข้าเครื่องจักร ดังนั้น หากบริษัทจำเป็นต้องนำเข้าแม่พิมพ์ หลังจากที่นำเครื่องจักรเข้ามาครบแล้ว ก็ควรขยายระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรออกไปอีก โดยสามารถขอขยายได้สูงสุด 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ปี แต่หากขยายระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรครบ 3 ครั้งแล้ว แม่พิมพ์ที่นำเข้าหลังจากนั้น ก็ต้องชำระภาษีอากร
- ขออนุญาตส่งคืนเครื่องจักรไปต่างประเทศ
- ส่งออกใน 90 วัน
- ยื่นตัดบัญชีเครื่องจักรจากการส่งคืน
สามารถขอสูตรเฉพาะรายการวัตถุดิบที่ใช้สิทธิ BOI เท่านั้น แต่ต้องระวังรายการวัตถุดิบที่ซื้อจากเวนเดอร์ BOI ด้วย คือต้องใส่รายการวัตถุดิบที่จะมีการโอนสิทธิ ไว้ในสูตรการผลิตด้วย
กิจการผลิตเครื่องไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สามารถนำเข้าเครื่องจักรตลอดระยะเวลาที่ได้รับส่งเสริม เพื่อปรับปรุงและทดแทนเครื่องจักรเดิม หรือเพิ่มกำลังผลิตของโครงการเดิมไม่ว่าจะเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้วหรือไม่ก็ตาม ตามประกาศ ที่ 6/2549
กรณีที่สอบถาม
1.กรณีนำเครื่องจักรเข้ามาเพิ่มเติมก่อนครบกำหนดเปิดดำเนินการ ในขั้นตรวจสอบเปิดดำเนินการ BOI จะอนุญาตให้แก้ไขกำลังผลิตตามที่ตรวจพบจริง แต่ไม่เกิน 30% ของกำลังผลิตตามบัตรแรก โดยเครื่องจักรที่นำเข้ามาก่อนวันครบกำหนดเปิดดำเนินการ จะนับเป็น cap วงเงินให้ด้วยตามสัดส่วนที่เพิ่มกำลังผลิตไม่เกิน 30% รายละเอียดดูได้จาก คำชี้แจงของ BOI ตาม link: http://www.boi.go.th/index.php?page=faq_inside&group_id=300¤tpage=5&language=th คำถามที่ 23 หลักเกณฑ์การพิจารณาการแก้ไขโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามนโยบายเดิม ภายหลังวันที่ 1 มกราคม 2558
2.กรณีนำเครื่องจักรเข้ามาเพิ่มเติมหลังครบกำหนดเปิดดำเนินการ สามารถทำได้ โดยจะยังคงได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรตามประกาศ ที่ 6/2549 โดย BOI จะพิจารณาแก้ไขเพิ่มกำลังผลิตให้ไม่เกิน 30% ของบัตรแรก แต่จะไม่แก้ไข cap วงเงินยกเว้นภาษีเงินได้ เนื่องจากเป็นการลงทุนเพิ่มเติมหลังวันครบกำหนดเปิดดำเนินการไปแล้ว
กิจการที่ได้รับสิทธิยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้าเครื่องจักร สามารถขอขยายระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรและเปิดดำเนินการ ได้ 3 ครั้ง หากบริษัทไม่เคยขยายเวลานำเข้ามาก่อน ก็สามารถขอขยายได้ เอกสารที่ใช้คือ
1. หนังสือนำส่งของบริษัท เพื่อแสดงความประสงค์ขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักร
2. แบบขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรและเปิดดำเนินการ (F IN EM 02) จำนวน 1 ชุด
3. สำเนาหนังสือ BOI ที่อนุมัติให้ขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรครั้งล่าสุด (ถ้ามี) จำนวน 1 แผ่น
การผลิตสินค้าที่มีเฉพาะขั้นตอนการประกอบ แม้จะมีส่วนสูญเสียเกิดขึ้น แต่ปกติจะเกิดขึ้นโดยมีปริมาณไม่แน่นอน จึงจะนำส่วนสูญเสียนี้ มารวมในสูตรการผลิตไม่ได้ แต่หากบริษัทสามารถพิสูจน์ยืนยันได้ว่า วัตถุดิบบางรายการ จะเกิดส่วนสูญเสียในอัตราคงที่เสมอ ก็อาจพิจารณาอนุญาตให้มีส่วนสูญเสียในสูตรการผลิตได้
1. หากนำเข้าวัตถุดิบโดยใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้า หรือซื้อวัตถุดิบจากผู้ใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าตามมาตรา 36 บริษัทต้องยื่นขออนุมัติสูตรการผลิต มิฉะนั้น หลังจากส่งออก จะไม่สามารถตัดบัญชี เพื่อปลดภาระภาษีวัตถุดิบนั้นได้
2. สูตรการผลิต ให้จัดทำขึ้นเมื่อมีการผลิตไปแล้ว คือให้ใช้ข้อมูลและหลักฐานจริง ซึ่งระหว่างที่ยื่นขอสูตรการผลิตนี้ สามารถส่งออกไปก่อนก็ได้ (แต่โดยทฤษฎี ควรยังต้องมีการผลิตโมเดลนั้นอยู่)
1.การยื่นขยายเวลาเครื่องจักร ต้องยื่นที่ BOI โดยกำหนดเวลาพิจารณาไว้ไม่เกิน 45 วันทำการ (หรือ 20 วัน กรณีขยายเวลาเฉพาะแม่พิมพ์) แต่ส่วนใหญ่มักจะใช้เวลาไม่นานมากนัก
2.การยื่นก่อนล่วงหน้ากี่วัน ไม่ได้กำหนดไว้ชัดเจน แต่หากดูจากระยะเวลาพิจารณาที่ BOI กำหนด ก็ควรยื่นล่วงหน้าได้ตั้งแต่ 2 - 2.5 เดือน ก่อนครบกำหนดวันนำเข้าเครื่องจักร
3.หากเครื่องจักรเข้ามาหลังจากสิ้นสุดระยะเวลาไปแล้ว แต่การพิจารณาอนุมัติขยายเวลายังไม่แล้วเสร็จ บริษัทต้องยื่นขออนุญาตใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร หรือชำระภาษีอากรไปก่อน จากนั้น เมื่อได้รับอนุมัติขยายระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรเรียบร้อยแล้ว จึงสามารถยื่นสั่งปล่อยถอนค้ำประกันหรือสั่งปล่อยคืนอากรได้ต่อไป