หากจะไม่ทำการผลิตแม่พิมพ์อีกต่อไป สามารถยื่นขออนุญาตจำหน่ายเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตแม่พิมพ์ทั้งหมดโดยชำระภาษีตามสภาพ โดยชี้แจงเหตุผลว่าเนื่องจากจะขอยกเลิกผลิตภัณฑ์คือแม่พิมพ์ และเมื่อจำหน่ายเครื่องจักรและเคลียร์บัญชีวัตถุดิบ (หากมี) เสร็จแล้ว ก็ให้ยื่นแก้ไขโครงการเพื่อยกเลิกชนิดผลิตภัณฑ์แม่พิมพ์ เหลือไว้แค่ผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนพลาสติก
กิจการ IPO และกิจการ ITC มีเงื่อนไขเหมือนกัน คือ ต้องมีขนาดการลงทุนไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) และต้องมีทุนจดทะเบียนเรียกชำระไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท ดังนั้น การแก้ไขประเภทกิจการจาก IPO เป็น ITC จึงไม่ต้องลงทุนเพิ่ม และไม่ต้องเพิ่มทุนจดทะเบียน โดยจะได้รับยกเลิกเงื่อนไขเดิมของ IPO ที่ไม่เป็นเงื่อนไขของ ITC ด้วย และสามารถจัดซื้อสินค้าสำเร็จรูปได้ โดยต้องเป็นการค้าส่งในประเทศหรือส่งออกต่างประเทศ โดยไม่เข้าข่ายนายหน้าหรือตัวแทน
หลักเกณฑ์ปัจจุบัน สิทธิมาตรา 36 ให้เป็นเวลา 1 ปี ทุกประเภทกิจการ (A1-A4, B1) ตามประกาศ กกท ที่ 2/2557 ข้อ 9.1
ขอทราบข้อมูลเพิ่มเติม คือโครงการนี้เคยสิ้นสุดระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรไปแล้ว แต่ต่อมาได้รับอนุมัติขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรอีก 2 ปี เพื่อให้นำเครื่องจักรเข้ามาทดแทนเครื่องที่เสียหายจากอุทกภัย ใช่ไหม
บัตรส่งเสริมที่ขึ้นต้นด้วยเลข 5 คือ บัตรที่ออกตามมาตรการฟื้นฟูการลงทุนจากวิกฤติอุทกภัย เช่น โครงการเดิมอาจจะสิ้นสุดระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรไปแล้ว แต่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย จึงให้ได้รับสิทธินำเข้าเครื่องจักรใหม่อีกครั้งหนึ่ง เป็นเวลา 30 เดือน และกำหนดให้เปิดดำเนินการภายใน 6 เดือนนับจากวันสิ้นสุดการนำเข้าเครื่องจักร ประเด็นที่สอบถาม น่าจะหมายความว่า บริษัทสามารถขอนำอะไหล่สำหรับเครื่องจักรเดิมที่มีอยู่ในโครงการเดิม เข้ามาเพิ่มเติม ได้หรือไม่
กรณีนี้เข้าใจว่า จะต้องใช้ คำชี้แจงเรื่องแนวทางปฏิบัติตามมาตรการฟื้นฟูการลงทุนจากวิกฤติอุทกภัย ลงวันที่ 28 ตุลาคม 2556 ตามข้อ 2.1.2 กำหนดไว้ว่า เครื่องจักรในโครงการเก่าที่ยังใช้งานได้ จะต้องโอนย้ายไปยังโครงการที่ขอรับส่งเสริมใหม่ โดยจะคัดข้อมูลเครื่องจักรที่นำเข้าโดยใช้สิทธิจากสมาคม IC และแจ้งรายการต่อ BOI ภายใน 3 เดือน นับจากวันที่ออกบัตรส่งเสริมฉบับใหม่
หากดำเนินการตามที่ BOI ประกาศ เครื่องจักรที่มีอยู่ในโครงการเดิม ก็จะถูกย้ายไปในบัญชีเครื่องจักรของโครงการใหม่ ซึ่งน่าจะขอนำเข้าอะไหล่ของเครื่องจักรส่วนนี้ได้เช่นเดียวกับเครื่องจักรใหม่ที่นำเข้ามาใหม่ภายหลัง
ส่วนการนำเครื่องจักรเข้ามาเพิ่มเติมในกระบวนการผลิต หากไม่ทำให้กำลังผลิต หรือชนิดผลิตภัณฑ์เปลี่ยนแปลงไป น่าจะทำได้ เนื่องจากในคำชี้แจง ข้อ 5.1 ระบุว่า จะไม่อนุมัติในกรณีเป็นการเพิ่มกำลังผลิต หรือเพิ่มชนิดผลิตภัณฑ์ แต่หากเป็นการแก้ไขอื่นๆ สามารถแก้ไขได้ตามเกณฑ์
การขยายเวลานำเข้าวัตถุดิบ กำหนดไว้ตามประกาศ สกท ที่ ป.3/2556 ข้อ 8 คือ ครั้งละไม่เกิน 2 ปีในทางปฏิบัติ ปกติจะให้ขยายเวลาครั้งละ 2 ปีเสมอ ยกเว้นกิจการบางประเภท เช่น IPO/ITC จะขยายให้ครั้งละ 1 ปี หรือหากเป็นกรณีที่ยังไม่เคยตัดบัญชีวัตถุดิบ อาจขยายให้เพียง 6 เดือนไปก่อน
กรณีที่สอบถามไม่ชัดเจนว่าบริษัท A ได้รับส่งเสริมหรือไม่ / ใครเป็นผู้นำเข้า / ใครใช้สิทธิใคร / ใครเป็นผู้ส่งออก จึงขอตอบเฉพาะหลักการคือ
1. การจะใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าตามมาตรา 36 ผู้ที่ได้รับสิทธิ (บริษัท BOI) จะต้องมีสถานะเป็นผู้นำเข้า
2. การรับจ้างผลิตสินค้าชนิดเดียวกับที่ได้รับส่งเสริม โดยมีกรรมวิธีผลิตครบถ้วนที่ได้รับส่งเสริม ถือเป็นการผลิตสินค้าตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม สามารถใช้สิทธิประโยชน์ได้ตามปกติ
3. กรณีใช้สิทธินำเข้าวัตถุดิบตามาตรา 36(1) จะต้องผลิตเพื่อส่งออกโดยตรง หรือจำหน่ายให้กับบริษัทที่ได้รับส่งเสริมเพื่อส่งออกทางอ้อม และรับหลักฐานการส่งออก (report-v) เพื่อตัดบัญชีวัตถุดิบต่อไป
การแจ้งบีโอไอในที่นี้ คือการยื่นขอใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้า การที่บีโอไออนุมัติสั่งปล่อยเครื่องจักรโดยยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้า จะทำให้บริษัทได้รับการค้ำประกันและถอนค้ำประกัน VAT ด้วย (คือไม่ต้องชำระ VAT) ดังนั้น แม้ว่าเครื่องจักรจะมีอากรเป็น 0 แต่หากไม่ต้องการชำระ VAT ก็สามารถยื่นขอใช้สิทธิสั่งปล่อยได้ แต่หากปรากฏว่ามีการนำเครื่องจักรดังกล่าวไปใช้งานผิดเงื่อนไขที่ได้รับส่งเสริม และถูกเพิกถอน บริษัทจะต้องชำระ VAT พร้อมกับค่าปรับ และเงินเพิ่ม ย้อนหลังไปถึงวันที่นำเข้าเครื่องจักร
1.แม้ว่าจะได้รับสิทธิยกเว้นหรืออากรเครื่องจักร ตามมาตรา 28 และ 29 แต่หากจะนำเครื่องจักรเข้ามาโดยชำระอากรขาเข้าและ VAT ตามปกติ ก็สามารถทำได้ แต่เครื่องจักรนั้นต้องมีสภาพใหม่เก่าตรงตามเงื่อนไขในบัตรส่งเสริม และหากเป็นเครื่องจักรเก่าก็ต้องมีใบรับรองประสิทธิภาพ
2.เครื่องจักรที่นำเข้าโดยชำระภาษีอากรเข้ามาเอง จะเป็นเครื่องจักรหลักของโครงการก็ได้ และมูลค่าเครื่องจักรนี้ก็นับเป็นขนาดการลงทุนของโครงการสามารถนำไปรวมคำนวณวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ตามปกติ
3.เครื่องจักรที่ไม่ได้ใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้า ไม่ต้องยื่นขอตัดบัญชีเพื่อปลอดภาษีหลังนำเข้าครบ 5 ปี
4.ไม่ต้องใส่เครื่องจักรนั้นใน Master List ก็ได้ เพราะปัจจุบัน Master List จะให้ยื่นขอเฉพาะรายการที่ต้องการใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากร
A (non-BOI) จ้างให้ B (BOI) ผลิตสินค้า โดย A จัดหาวัตถุดิบจากต่างประเทศมาให้ B โดย B มีสถานะเป็นผู้นำเข้า (คือ Bill to A, Ship to B) เมื่อผลิตเสร็จ A จะรับสินค้านั้นไปส่งออก และสลักหลังใบขนขาออกเพื่อโอนสิทธิตัดบัญชีให้กับ B
ตอบคำถามตามนี้
1. สินค้าที่ B (BOI) รับจ้างผลิต ต้องเป็นสินค้าตามบัตรส่งเสริม และมีขั้นตอนการผลิตครบตามที่ได้รับส่งเสริม จึงจะใช้สิทธิประโยชน์ต่างๆได้
2. หาก B เป็นหุ้นต่างชาติข้างมาก ต้องขอใบรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวด้วย เนื่องจากจะเข้าข่ายการรับจ้างให้บริการทำของ
3. กรณีเป็นการส่งออกทางอ้อมตามที่สอบถาม
แนะนำให้ A ยื่นขอรับการส่งเสริมในข่าย ITC เพื่อให้ได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบตามมาตรา 36 ซึ่งเมื่อ B จำหน่ายให้ A และ A นำไปส่งออก A ก็จะสามารถโอนสิทธิตัดบัญชีให้ B ด้วย report-v ตามขั้นตอนการปฏิบัติในการใช้สิทธิมาตรา 36 ของ BOI ได้
4. ส่วนกรณีที่ A สลักหลังเพื่อโอนสิทธิให้ B นำไปตัดบัญชี ขอไม่ตอบบนหน้าเว็บบอร์ด
ถ้าเป็นการขาย ก็ทำการขายตามปกติ และยื่นขอตัดบัญชีตามปกติ แต่ถ้าจะส่งคืน ก็ทำเรื่องขออนุญาตส่งคืนส่วนสูญเสียไปต่างประเทศ จากนั้นทำเรื่องขอตัดบัญชีเพื่อปรับยอดส่วนสูญเสียที่ส่งคืนต่างประเทศ
เครื่องมือสำหรับตรวจสอบชิ้นงาน ให้ยื่นขออนุมัติในบัญชีรายการเครื่องจักรทั่วไป ระยะเวลาพิจารณาอนุมัติแก้ไขบัญชีเครื่องจักร (ชื่อหลัก) กำหนดไว้ 30 วันทำการ แต่หากยื่นขออนุมัติไม่กี่รายการ และไม่มีประเด็นที่เป็นปัญหา โดยทั่วไปก็น่าจะใช้เวลา 2-3 วัน
เมื่อยื่นคำร้องขออนุมัติหรือแก้ไขบัญชีเครื่องจักร บริษัทสามารถตรวจสอบสถานภาพโดยดูในระบบ emt ได้ว่า เจ้าหน้าที่คนไหนถือครองงานอยู่ การพิจารณาอนุมัติจะผ่าน 3 ระดับ คือ เจ้าหน้าที่ หัวหน้าฝ่าย และ ผอ. โดยระบบจะแสดงเฉพาะชื่อ โดยไม่แสดงระดับ ดังนั้น หากจะติดตามงาน ก็สามารถติดตามจากคนที่แสดงชื่อว่าถือครองงานนั้นอยู่ได้โดยตรง
ผู้ได้รับส่งเสริมที่นำวัตถุดิบจากต่างประเทศเข้ามาเพื่อผลิตส่งออก หาก Max Stock เต็ม สามารถชำระภาษีอากรโดยทำเรื่องสงวนสิทธิ และขอสั่งปล่อยคืนอากรได้ในภายหลัง
A (โรงงานผลิต BOI) สามารถซื้อวัตถุดิบจาก IPO เพื่อนำไปผลิตและส่งออกได้ โดยยังคงได้รับสิทธิด้านวัตถุดิบ
โดยมีขั้นตอนตอนตามนี้
IPO นำเข้าวัตถุดิบโดยใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าตาม ม.36 พักเก็บสินค้าในโกดัง จากนั้นจำหน่ายให้ A
เมื่อ A ผลิตและส่งออก ก็โอนสิทธิตัดบัญชีวัตถุดิบให้ IPO
IPO นำ report-v ที่ได้รับจาก A มาตัดบัญชีวัตถุดิบของตนเองต่อไป
การทำใบขนฯ เป็นคำถามในส่วนของงานศุลกากร จึงขอให้ปรึกษากับกรมศุลฯ และ/หรือชิปปิ้ง จะได้คำตอบที่ถูกต้องชัดเจนกว่า
ตามความเข้าใจส่วนตัว กรณีหีบห่อบรรจุเป็นวัสดุคงทนมีค่า เช่น โลหะ พลาสติก ฯ ควรแสดงรายการในใบขน และชำระอากรขาเข้าในส่วนนี้ แต่ถ้าเป็นหีบห่อบรรจุที่ไม่คงทนมูลค่าต่ำ จะรวมไปในรายการเครื่องจักร และสั่งปล่อยโดยใช้สิทธิ์ยกเว้น/ลดหย่อนภาษีอากรไปพร้อมกับเครื่องจักรก็ได้
1. สมัครใช้บริการระบบ eMT
2. ยื่นขออนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักร (Master List) ผ่านระบบ eMT
3. ยื่นขอสั่งปล่อยเครื่องจักรที่นำเข้าตามบัญชีรายการที่ได้รับอนุมัติ
4. ส่งข้อมูลผลอนุมัติให้ชิปปิ้งเพื่อทำใบขนขาเข้าโดยการยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้าตามสิทธิที่ได้รับอนุมัติ
ของที่ส่งออก ไม่ตรงกับผลิตภัณฑ์ในบัตร จึงจะใช้สิทธิไม่ได้ หากต้องการใช้สิทธิ ก็ต้องแก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์ในบัตรส่งเสริมให้ครอบคลุมถึงชิ้นส่วนที่จะส่งออก
เป็นการแก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์ เช่น แก้ไขจากผลิตภัณฑ์ A เป็น ผลิตภัณฑ์ A และชิ้นส่วน แต่ถ้าจะส่งไปชิ้นส่วนไปตรวจสอบแค่ครั้งสองครั้ง อาจจะใช้วิธีชำระภาษี โดยไม่แก้ไขโครงการก็ได้
B (ต่างประเทศ) ส่งเครื่องจักรมายังไทย -------> C (BOI) นำเข้าโดยใช้สิทธิ BOI และขออนุญาตนำเครื่องจักรไปให้ผู้อื่นใช้ -------> A (BOI) กรณีนี้สามารถทำได้ โดย A จะต้องใช้เครื่องจักรเพื่อประโยชน์ตามโครงการที่ได้รับส่งเสริมของ C เช่น C อาจจะนำเข้าแม่พิมพ์โดยใช้สิทธิ BOI และขออนุญาตนำแม่พิมพ์นั้นไปให้ A ยืมใช้ เพื่อรับจ้างผลิตชิ้นส่วนให้ C เป็นต้น
แต่ทั้งนี้ กรรมวิธีการผลิตที่ได้รับส่งเสริมของ C จะต้องระบุไว้ด้วยว่า จะมีการนำแม่พิมพ์ไปว่าจ้างผู้อื่นให้ผลิตชิ้นงานให้ เป็นต้น
กรณีนี้แม่พิมพ์ยังเป็นกรรมสิทธิ์ของ C เพียงแค่ขอนำไปให้ A ยืมใช้ตามกรรมวิธีที่ได้รับส่งเสริมเท่านั้น