การจำแนกประเภทพิกัดสินค้า หลักเกณฑ์ข้อ 5 (ข) กำหนดไว้ว่า "วัตถุและภาชนะสำหรับใช้ในการบรรจุที่บรรจุของเข้ามา ให้จำแนกเข้าประเภทเดียวกันกับของนั้นถ้าวัตถุและภาชนะนั้นเป็นชนิดที่ตามปกติใช้สำหรับบรรจุของดังกล่าว อย่างไรก็ตามไม่ให้ใช้ข้อกำหนดนี้เมื่อเห็นได้ชัดว่า วัตถุและภาชนะสำหรับใช้ในการบรรจุนั้นเหมาะสำหรับใช้ซ้ำได้อีก"
แกนพลาสติกพันสายไฟ น่าจะเป็นวัตถุที่ใช้ซ้ำได้อีก จึงอาจเข้าข่ายที่ต้องจำแนกพิกัดสินค้าคนละรายการกับสายไฟและสามารถขออนุมัติบัญชีรายการวัตถุดิบจาก BOI เป็น 1.สายไฟ และ 2.แกนพลาสติก ได้ สายไฟจะตัดบัญชีได้ตามสูตรการผลิต
ส่วนแกนพลาสติกจะไม่สามารถตัดบัญชีได้ แต่สามารถดำเนินการดังนี้
1. ขอส่งคืนไปต่างประเทศโดยไม่มีภาระภาษี
2. ขอทำลายในข่ายส่วนสูญเสียนอกสูตร และชำระภาษีตามสภาพเศษซาก แล้วจึงจำหน่ายเป็นเศษพลาสติก หรือไม่อย่างนั้น ก็อาจชำระอากรแกนพลาสติกตั้งแต่ตอนที่นำเข้า และเมื่อใช้เสร็จแล้วก็จำหน่ายในประเทศต่อไป
การแสดงรายการในอินวอยซ์น่าจะเป็นเช่นนั้น plastic spool, plastic reel, plastic bobbin, plastic roll แล้วแต่จะเรียก
BOI จะอนุมัติยกเว้นอากรขาเข้าของที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ BOI เช่น เป็นอะไหล่สำหรับเครื่องจักรที่ใช้ในโครงการ และเป็นอะไหล่ที่ไม่มีผลิตในประเทศ แต่ BOI จะไม่ทราบว่าบริษัทจะนำเข้ามาโดยใช้สิทธิร่วมกับมาตรการอื่นหรือไม่ และมาตรการนั้นๆ มีข้อกำหนดอย่างไร จึงตอบเฉพาะในส่วนของ BOI คือ บริษัทสามารถขออนุมัติสั่งปล่อยอะไหล่ของเครื่องจักรที่ใช้ในโครงการได้
สามารถสั่งปล่อยคืนอากรอะไหล่ที่เคยนำเข้ามาแล้วโดยเสียภาษีได้ โดยวันนำเข้าจะต้องอยู่ในระยะเวลาที่ได้รับสิทธิมาตรา 28 และจะได้รับคืนเฉพาะอากรขาเข้าเท่านั้น
การขอทำลายส่วนสูญเสียนอกสูตร จะต้องมีวิธีการจำกัดที่เหมาะสมไม่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม การทิ้งเศษพลาสติกเป็นขยะ ไม่ใช่การกำจัดที่เหมาะสม ทั้งนี้ บริษัทต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรมด้วย
1. แกนพลาสติกตัดบัญชีไม่ได้ คือ ไม่สามารถตัดบัญชีจากสูตรการผลิตโดยตรง เพราะในสูตรการผลิตจะใส่ปริมาณการใช้งานแกนพลาสติกไม่ได้ ดังนั้น แม้จะส่งสินค้าไปจำหน่ายต่างประเทศและนำใบขนมาตัดบัญชี ก็ไม่สามารถตัดบัญชีแกนพลาสติกได้
2. หากจะขอทำลายเป็นส่วนสูญเสียนอกสูตร ก็ต้องให้ inspector มาตรวจสอบรับรองปริมาณและการทำลาย ตามประกาศ BOI และชำระภาษีตามสภาพเศษซาก แล้วจึงนำหลักฐานมาปรับยอด
หากเป็นเครื่องจักรที่จะทำให้กำลังผลิตและกำลังผลิตครบตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม ก็สามารถยื่นขอเพิ่มรายการเครื่องจักรได้ แต่หากเป็นเครื่องจักรที่นำเข้ามาเพิ่มกำลังผลิตหรือเพิ่มขั้นตอนการผลิต ให้ยื่นขอแก้ไขโครงการก่อน
1.การขออนุมัติบัญชีแม่พิมพ์ จะต้องระบุว่าแม่พิมพ์ที่จะขออนุมัตินั้น ใช้ในขั้นตอนการผลิตใด แต่เนื่องจากการระบุขั้นตอนการผลิต จะต้องระบุในการขออนุมัติบัญชีเครื่องจักร ดังนั้น การจะขออนุมัติบัญชีแม่พิมพ์ จึงต้องขออนุมัติบัญชีเครื่องจักรให้เสร็จสิ้นก่อน
2.ขั้นตอนการใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าแม่พิมพ์ที่บริษัทต้องดำเนินการจึงเป็นดังนี้ ขออนุมัติบัญชีเครื่องจักร -> ขออนุมัติรายการแม่พิมพ์ -> ขอสั่งปล่อยแม่พิมพ์
3.ระยะเวลาการพิจารณา การอนุมัติบัญชีเครื่องจักร 60 วันทำการ (ขึ้นอยู่กับปริมาณงานของ จนท แต่โดยทั่วไปน่าจะประมาณ 3-4 สัปดาห์) การอนุมัติรายการแม่พิมพ์ 3 วันทำการ (ปกติจะพิจารณาอนุมัติใน 1 วัน)
4.กรณีที่บริษัทไม่มีแผนจะนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศเลย บริษัทยังคงต้องขออนุมัติบัญชีเครื่องจักรก่อน เพื่อคีย์ขั้นตอนการผลิตที่ได้รับส่งเสริมในระบบ eMT เพื่อให้สามารถขออนุมัติรายการแม่พิมพ์ได้ในภายหลัง โดยกรณีนี้ บริษัทอาจขออนุมัติเครื่องจักรอะไรสักตัวหนึ่ง ในบัญชีเครื่องจักร เช่น เครื่องจักรสำหรับการตรวจสอบคุณภาพ ก็ได้
1. ถ้ามีคนมารับซื้อ ก็มีมูลค่า
2. ถ้ามีคนมาขนไปให้ฟรี ก็มีมูลค่า (ไม่อย่างนั้นคงไม่มีใครยอมเสียเวลา เสียค่าน้ำมัน มาขนไปให้)
ส่วนสูญเสียจะต้องทำลายเป็นเศษซาก หากเศษซากนั้นมีพิษหรือผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จะต้องนำไปกำจัดด้วยวิธีที่เหมาะสมไม่ก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม โดยหน่วยงานหรือผู้ประกอบการที่ BOI ให้ความเห็นชอบ บริษัท Inspector มีหน้าที่ต้องตรวจสอบจนถึงขั้นตอนการทำลายเสร็จ แต่บริษัท Inspector ไม่ต้องร่วมตรวจสอบในขั้นตอนการจำกัด คือ ให้บริษัทที่นำไปกำจัดต่อ เป็นผู้ออกหนังสือรับรองการกำจัด (ชนิด ปริมาณ วิธีจำกัด) เพื่อแนบเป็นหลักฐานร่วมกับหนังสือรับรองของ Inspector
กรณีที่สอบถาม อาจไม่ได้แจ้งขั้นตอนการทำลายมาทั้งหมด การฝังกลบอาจเป็นเพียงขั้นตอนการกำจัดก็ได้ ซึ่งถ้าเป็นขั้นตอนการกำจัด บ.Inspector ก็ไม่จำเป็นต้องอยู่ร่วมในการจำกัด แต่ต้องมีหลักฐานการตรวจสอบส่วนสูญเสียและรับรองการทำลายของ Inspector และหนังสือรับรองการกำจัดของหน่วยงานที่กำจัด จึงจะใช้ตัดบัญชีได้
Jig & Fixture ให้ขออนุมัติในบัญชีแม่พิมพ์ เพราะจะอนุมัติโดยไม่กำหนดปริมาณสูงสุด แต่เนื่องจากระบบ eMT ออกแบบให้ต้องขอบัญชีเครื่องจักรก่อน จึงจะเริ่มขอบัญชีอะไหล่ หรือบัญชีแม่พิมพ์ได้
กรณีนี้จึงน่าจะขอบัญชีเครื่องจักร โดยใส่เครื่อง Inspection อะไรไปสักเครื่องหนึ่ง (ซึ่งไม่ต้องนำเข้ามาจริงก็ได้) เมื่อได้รับอนุมัติบัญชีเครื่องจักรแล้ว จึงค่อยยื่นขอบัญชีแม่พิมพ์ต่อไป
ถ้าเป็นโคมไฟแว่นขยายตั้งโต๊ะ อาจขอบัญชีไม่ได้ เพราะอาจอยู่ในข่ายมีผลิตในประเทศ ส่วนบัญชีแม่พิมพ์ ไม่ต้องเป็นรายการที่เกี่ยวข้องกับรายการเครื่องจักร หรือไม่อย่างนั้น ก็ยื่นขออนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักร เป็นโคมไฟแว่นขยายตั้งโต๊ะ แต่ระบุปริมาณเป็น 0.5 เครื่อง (ซึ่งจะสั่งปล่อยไม่ได้) และชี้แจงเหตุผลว่า เป็นการขออนุมัติบัญชีเครื่องจักรโดยไม่มีวัตถุประสงค์จะนำเข้า แต่ต้องการให้ระบบเดินได้ เพื่อจะยื่นขออนุมัติบัญชีแม่พิมพ์ต่อไปอย่างนี้ก็ได้
การชำระภาษีส่วนสูญเสีย จะยื่นขอชำระที่ด่านใดก็ได้ เนื่องจากการให้ไปชำระภาษีส่วนสูญเสียนั้น จะไม่อ้างถึงใบขนขาเข้าและอินวอยซ์ เพราะส่วนสูญเสียนั้นอาจเกิดจากวัตถุดิบที่นำเข้ามาหลายอินวอยซ์และหลายด่านก็ได้ การยื่นคำร้องถึง BOI หากไม่ระบุด่านที่จะขอชำระภาษี BOI จะออกหนังสือให้ไปชำระภาษีอากรส่วนสูญเสีย ถึงผู้อำนวยการส่วนบริหารกลาง สำนักงานท่าเรือกรุงเทพ แต่หากบริษัทต้องการไปชำระภาษีที่ด่านใดด่านหนึ่ง ก็ให้ระบุหมายเหตุในหนังสือที่ยื่นต่อ BOI เพื่อให้ BOI มีหนังสือไปยังด่านนั้น
NG ที่เกิดขึ้น เป็นส่วนสูญเสียนอกสูตร เบื้องต้นลองศึกษาข้อมูลตาม link : http://www.faq108.co.th/boi/rm36/scrap.php
ให้ใช้ข้อมูลจากการประมาณการ เช่น การกลึงขึ้นรูปชิ้นงาน 1 ชิ้น ต้องใช้เวลาการกลึงกี่นาที จากนั้นคำนวณกลับเป็นกำลังผลิตต่อชั่วโมง และคูณเวลาทำงานตามบัตรส่งเสริม คูณวันทำงานตามบัตรส่งเสริม ออกมาเป็นกำลังผลิตของเครื่องจักรเครื่องนั้น
เนื่องจากเป็นการคำนวณกำลังผลิตสูงสุดของเครื่องจักร จึงจะคำนวณจากชิ้นส่วนที่เล็กที่สุดที่ผลิตก็ได้ แต่หากทำให้ตัวเลขที่คำนวณได้ สูงกว่ากำลังผลิตที่ขอรับส่งเสริมมากเกินไป จะคำนวณจากชิ้นส่วนมาตรฐาน (คือชิ้นส่วนที่ผลิตมากที่สุด หรือชิ้นส่วนที่เป็นค่าเฉลี่ย) ก็ได้
หากบริษัทนำเข้าวัตถุดิบโดยชำระภาษีอากร ก็ไม่ต้องขอบัญชีปริมาณวัตถุดิบ สูตรการผลิต และตัดบัญชี ต่อ BOI ส่วนสูญเสียที่เกิดขึ้น จะขายเป็นเศษเหล็ก หรือนำกลับมาหลอมใช้ใหม่ในโครงการก็ได้
สรุปคือไม่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขทุกอย่างเกี่ยวกับมาตรา 30 (กรณีจำหน่ายประเทศ) และมาตรา 36 (กรณีส่งออก) เพราะไม่ใช้สิทธิยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีอากรเข้ามา
ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากวัตถุดิบที่ไม่ได้ใช้สิทธิ ยังคงถือเป็นผลิตภัณฑ์ตามโครงการ BOI ในบัตรส่งเสริม มีการกำหนดเงื่อนไข และสิทธิประโยชน์ เอาไว้ เงื่อนไข เป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติให้ครบถ้วน มิฉะนั้นอาจถูกเพิกถอนสิทธิหรือเพิกถอนบัตร สิทธิประโยชน์ บริษัทจะใช้สิทธิที่ได้รับไป หรือไม่ใช้ ก็ได้
2.ขออนุมัติบัญชีรายการวัตถุดิบและปริมาณสต็อกสูงสุด
3.สมัครใช้บริการระบบ RMTS-2011 และบันทึกบัญชีที่ได้รับอนุมัติในระบบ
4.ขอส่งปล่อยวัตถุดิบ เป็นรายอินวอยซ์
5.ขออนุมัติสูตรการผลิต และบันทึกสูตรที่ได้รับอนุมัติในระบบ
6.ตัดบัญชีวัตถุดิบ ตามใบขนขาออก หรือรายงานโอนสิทธิ (report-v) ที่ได้รับจากลูกค้า
7.ตัดบัญชี/ชำระภาษีเศษซากวัตถุดิบ ฯลฯ
หากเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว จะไม่สามารถขอขยายเวลานำเครื่องจักร เพื่อนำเข้าเครื่องจักร อะไหล่ แม่พิมพ์ เข้ามาโดยยกเว้นภาษีได้อีก เว้นแต่กิจการบางประเภท เช่น เครื่องไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อาจมีการระบุในบัตรส่งเสริมให้สามารถนำเข้าเครื่องจักรได้ตลอดระยะเวลาที่ได้รับส่งเสริม