กรณีเป็นส่วนสูญเสียที่ผสมกันระหว่างวัตถุดิบที่ใช้สิทธิ BOI และไม่ใช้สิทธิ BOI ไม่สามารถรวมเป็นของ BOI ทั้งหมด ต้องแยกคำนวณตามปริมาณที่ใช้จริงและสูญเสียจริง โดยอาจพิสูจน์ยืนยันตาม BOM ของสินค้าโมเดลนั้นๆ
1. ส่วนสูญเสียในสูตร
- รวมปริมาณการสูญเสียไว้ในสูตรการผลิตแล้ว
- ไม่ต้องยื่นตัดบัญชีส่วนสูญเสีย เนื่องจากถูกตัดไปพร้อมกับการตัดบัญชีสินค้าตามใบขนหรือ report-v แล้ว
- แต่เนื่องจากเศษซากยังอยู่ในประเทศ ดังนั้น หากเศษซากมีมูลค่าเชิงพาณิชย์ ต้องขอส่งออกต่างประเทศ หรือหากจะจำหน่ายในประเทศ ต้องขอชำระภาษีตามสภาพเศษซาก
2. ส่วนสูญเสียนอกสูตร
- ไม่รวมปริมาณการสูญเสียไว้ในสูตรการผลิต
- ต้องแยกเก็บ ห้ามปะปนกับส่วนสูญเสียในสูตร
- ต้องขอส่งออกไปต่างประเทศ หรือหากไม่ส่งออก ต้องขอทำลายและชำระภาษีตามสภาพเศษซากหลังทำลาย จากนั้นจึงนำมาปรับยอด (ตัดบัญชีส่วนสูญเสียนอกสูตร)
ถ้าชื่อที่ BOI แจ้งสั่งปล่อยไปยังกรมศุลฯ ไม่ตรงกับชื่อในอินวอยซ์และใบขน ก็จะนำไปใช้สร้างใบขนไม่ได้ กรณีที่สอบถาม แม้จะเห็นว่าเป็นของชนิดเดียวกันก็ตาม แต่เนื่องจากชื่อในอินวอยซ์ไม่ตรงกับชื่อที่อนุมัติในบัญชี (คือ มีขีด กับไม่มีขีด) จึงจะติดปัญหา ต้องขอเพิ่มชื่อรองให้ตรงตามอินวอยซ์ก่อน จึงจะสั่งปล่อยได้ การเพิ่มชื่อรองของเครื่องจักร หรือเพิ่มชื่ออะไหล่ หรือชื่อแม่พิมพ์ ใช้เวลาพิจารณาอนุมัติเพียง 1 วัน
ถ้ายังไม่ได้เดินพิธีการ ให้ทำใบขนใหม่ ให้ตรงกับอินวอยซ์ คือไม่นำรายการที่ 3 และ 4 ไปยุบรวมกัน เพื่อที่จะแยกคีย์ข้อมูลในช่องลำดับอินวอยซ์ได้ตรง คือเป็นรายการที่ 3 และ 4 แต่ถ้าเป็นการสั่งปล่อยคืนอากร คงไม่สามารถแก้ไขข้อมูลใบขนได้ จึงคงต้องคีย์ช่องลำดับอินวอยซ์เป็นรายการที่ 3 แต่จำนวนที่ขอคืนอากรคือจำนวนตามหน้าใบขน (รายการที่ 3 และ 4 ในอินวอยซ์รวมกัน)
การชำระภาษีส่วนสูญเสีย จะพิจารณาตามสภาพเศษซาก ตามที่ BOI มีหนังสือแจ้งไปยังกรมศุลกากรเพื่อให้เก็บภาษีโดยกรมศุลกากรจะเป็นผู้ไปตรวจและประเมินอากร เช่น ถ้าส่วนสูญเสียเป็นเศษขี้กลึงอลูมิเนียม 1,000 กก. ราคาประเมิน กก.ละ 80 บาท (สมมุติ) อัตราอากรขาเข้า 0% ก็จะเสียภาษีเฉพาะ vat คือ 1,000 x 80 x 7% = 5,600 บาท
- เวนเดอร์แจ้งความเอกสารหาย
- ส่งใบแจ้งความให้บริษัทที่โอนสิทธิ เพื่อให้ยื่นต่อ IC ให้ออก report-v ฉบับใหม่แทนฉบับเก่าที่หาย
2. ใบขนขาออก และ report-v ต้องนำมาตัดบัญชีใน 1 ปี นับจากวันส่งออก หรือวันที่ออก report-v หากมีเหตุอันสมควรสามารถขอขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกิน 1 ปี ตาม ประกาศที่ ป.3/2556 เรื่อง วิธีปฏิบัติในการใช้สิทธิและประโยชน์ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบและวัสดุจำเป็น เพื่อใช้ในการผลิตเพื่อส่งออก
การสั่งปล่อยคืนอากรเครื่องจักร ไม่ต้องแนบเอกสาร เพียงแค่คีย์ข้อมูลเลขที่/วันที่อินวอยซ์ ใบขน ด่านที่นำเข้า รายการ/จำนวนที่ขอสั่งปล่อย มูลค่า ฯลฯ เท่านั้น
แต่ปัจจุบัน การสั่งปล่อยคืนอากรเครื่องจักรของระบบ eMT ยังไม่ใช่ paperless จึงต้องไปรับหนังสืออนุมัติที่ IC เพื่อนำไปเดินพิธีการ นอกจากนี้ รายการเครื่องจักรที่จะขอสั่งปล่อยคืนอากร ต้องตรงกับรายการในบัญชีที่ได้รับอนุมัติ หากไม่ตรง ต้องยื่นขอเพิ่มชื่อรองให้ตรงกันก่อนขอโทษด้วย คือเป็นเคสที่บริษัท A ยื่นขอตัดบัญชีส่วนสูญเสียต่อ BOI พร้อมกับขอโอนสิทธิการตัดบัญชีวัตถุดิบจากส่วนสูญเสีย ให้กับบริษัท B
1. กรณีนี้จะมีปัญหา เนื่องจากใบโอนสิทธิตัดบัญชีวัตถุดิบจากส่วนสูญเสีย ที่ออกให้กับ B นี้ จะไม่มีเลขที่และวันที่กำกับในเอกสาร จึงจะตรวจสอบไม่ได้ว่าใบโอนสิทธิดังกล่าว มีอายุเกิน 1 ปีแล้วหรือไม่ ความเห็นส่วนตัว จึงเข้าใจว่า บริษัท B น่าจะนำไปปรับยอดได้
2. กรณีที่ใบโอนสิทธิดังกล่าวหาย จะเกิดปัญหาคือ จะตรวจสอบไม่ได้ว่า บริษัท B เคยมีการนำใบโอนสิทธินั้นไปตัดบัญชีแล้วหรือไม่ เพราะใบโอนสิทธินั้น ไม่มีเลขที่กำกับ ต่างกับกรณี report-v ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ว่า มีการตัดซ้ำหรือไม่
หากคิดในแง่ลบ เช่น บริษัท B อาจไม่ได้ทำใบโอนสิทธิหาย แต่ไปแจ้งความว่าเอกสารหาย เพื่อให้ออกใบโอนสิทธิใหม่ จึงจะมีใบโอนสิทธิ 2 ชุด และสามารถนำไปตัดบัญชีได้ 2 ครั้ง ซึ่งไม่ถูกต้อง
กรณีนี้เข้าใจว่า BOI น่าจะไม่มีหลักเกณฑ์ปฏิบัติที่ชัดเจน จึงแนะนำว่าควรขอรับคำปรึกษาจาก จนท ผู้ดูแลโครงการของบริษัทโดยตรง
scrap ที่เกิดขึ้นจากวัตถุดิบที่นำเข้าโดยยกเว้นภาษีตามมาตรา 36(1) แบ่งเป็น 2 กรณี ซึ่งต้องดำเนินการขออนุญาตต่างกัน ดังนี้
ส่วนสูญเสียในสูตรการผลิต
- ยื่นขอชำระภาษีตามสภาพเศษ
- ชำระภาษีให้เสร็จสิ้นก่อน จึงจะจำหน่ายได้
- ไม่ต้องนำมาตัดบัญชี (ปรับยอด) อีก
ส่วนสูญเสียนอกสูตรการผลิต
- ขออนุมัติวิธีทำลาย
- ทำลายให้เป็นเศษซากตามวิธีที่ได้รับอนุมัติ
- ให้บริษัท inspector ที่ได้รับมอบหมายตรวจสอบการทำลาย และออกหนังสือรับรอง
- ยื่นขอชำระภาษีตามสภาพเศษซาก และขอตัดบัญชี
- ชำระภาษีให้เสร็จสิ้นก่อน จึงจะจำหน่ายได้
- นำหนังสืออนุมัติและหลักฐานการชำระ ไปยื่นตัดบัญชี (ปรับยอด)
ทั้ง 2 กรณี (และทุกๆ กรณี) ไม่สามารถขอคืน VAT จากการสั่งปล่อยได้โดยตรง ต้องใช้วิธีเครดิตภาษีซื้อภาษีขายคืนตามแบบ ภพ 30 เท่านั้น และถ้าในวันที่นำเข้าเครื่องจักร บริษัทยังไม่ได้จดทะเบียน VAT ก็ไม่สามารถเครดิตภาษี VAT คืนได้
ดังนั้น หากเป็นบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งใหม่ ก็ต้องจดทะเบียน VAT ไว้ก่อนที่จะนำเข้าเครื่องจักรนั้น
หากกระบวนการรีไซเคิลเกิดขึ้นภายในโรงงาน ก็สามารถทำได้เลย โดยไม่ต้องขออนุญาต BOI แต่ถ้าจะต้องมีการนำออกไปรีไซเคิลนอกโรงงาน จะต้องขออนุญาต BOI เพื่อขอนำวัตถุดิบ และส่วนสูญเสีย ฯลฯ ตามมาตรา 36 ออกไปนอกโรงงาน
ตามประกาศ BOI ที่ ป.5/2543 ข้อ 9.2 กำหนดไว้ว่า การจำหน่ายหรือโอนส่วนสูญเสียที่ได้รับอนุมัติให้รวมอยู่ในสูตรการผลิต (ซึ่งก็คือ "ส่วนสูญเสียในสูตร") จะต้องชำระภาษีอากรตามสภาพโดยใช้พิกัดอัตราศุลกากรในปัจจุบัน ซึ่งหมายความว่า จะต้องชำระภาษีตามสภาพเศษซากก่อนการจำหน่ายหรือโอน กรณีมีปัญหาเรื่องพื้นที่จัดเก็บ สามารถขออนุญาตนำส่วนสูญเสียไปเก็บนอกสถานที่ได้ ตาม ประกาศ BOI ที่ ป.3/2556
ส่วนสูญเสียในสูตร หากจะส่งออก จะต้องขออนุญาตจาก BOI ก่อน ซึ่งเมื่อส่งออก ก็จะปลดภาระภาษีของวัตถุดิบที่นำเข้ามาโดยใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้า ส่วนขั้นตอนต่างๆเกี่ยวกับการส่งออก ขอให้สอบถามจากกรมศุลกากรโดยตรง
แม้จะได้รับการส่งเสริมเรียบร้อยแล้ว แต่หากนำเครื่องจักรเข้ามาโดยชำระอากรขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่มไปแล้ว เมื่อจะสั่งปล่อยขอคืนอากร ก็จะได้รับคืนเฉพาะอากรเท่านั้น ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น หากบริษัทจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็จะได้รับคืนในระบบ VAT คือเครดิตภาษีขาย-ภาษีซื้อ
ไม่ใช่การคืนภาษีมูลค่าเต็มตามจำนวนเหมือนกับการคืนอากร แต่ถ้าหากว่า ในวันที่บริษัทนำเข้าเครื่องจักร บริษัทยังไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีนี้จะไม่ได้รับคืน VAT และไม่สามารถเครดิตภาษีขาย-ภาษาซื้อในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้
จึงต้องนำ VAT ที่ชำระไปนั้น ไปรวมเป็นต้นทุนของเครื่องจักร
1.ถ้าก่อนจดทะเบียน VAT ก็ไม่น่ามีทางจะคืน VAT ได้
2.แต่ถ้าหลังจากจดทะเบียน VAT ก็จะได้คืนจาก VAT ขาย - VAT ซื้อ ไปแล้ว ไม่ใช่หรือ
ส่วนสูญเสียที่เคยได้รับอนุมัติวิธีทำลายแล้ว หากจะทำลายด้วยวิธีเดิมที่อนุมัติ และเป็นส่วนสูญเสียชนิดเดิม ไม่ต้องขออนุมัติวิธีทำลายอีก ปริมาณที่แจ้งไว้ในการขออนุมัติวิธีทำลายในครั้งแรก เป็นเพียงตัวเลขอ้างอิงเท่านั้น จะทำลายมากหรือน้อยกว่านั้นก็ได้ และการทำลายส่วนสูญเสีย จะต้องปฏิบัติตาม คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.79/2541 และหรือระเบียบของหน่วยงานอื่น (ถ้ามี) ด้วย
สมมุติว่าสินค้าของบริษัทคือชิ้นงานขึ้นรูปโลหะ และมีสูตรการผลิตโมเดล A0001 คือ รายการวัตถุดิบ ปริมาณใช้สุทธิ (กรัม) ปริมาณส่วนสูญเสีย (กรัม) ปริมาณใช้รวม (กรัม) Aluminium Pipe 80.0 20.0 100.0
หมายความว่า เมื่อผลิตสินค้าโมเดล A001 จำนวน 1 ชิ้น จะเกิดส่วนสูญเสียจำนวน 20 กรัม
1. ส่วนสูญเสียที่ระบุปริมาณในสูตรการผลิตนี้ เรียกว่า "ส่วนสูญเสียในสูตร" เมื่อส่งผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายต่างประเทศ และนำใบขนมาตัดบัญชี จะตัดบัญชีวัตถุดิบให้ชิ้นละ 100 กรัม คือตัดปริมาณส่วนสูญเสียในสูตรไปให้ด้วย
2. กรณีที่ผลิตสินค้าออกมาแล้วกลายเป็นของเสีย ไม่สามารถจำหน่ายได้ จะไม่สามารถตัดบัญชีตามปกติได้ เนื่องจากไม่มีหลักฐานส่งออก
กรณีนี้จะถือว่าสินค้าที่ไม่สามารถจำหน่ายได้นั้น เป็น "ส่วนสูญเสียนอกสูตร" จะต้องขออนุมัติวิธีทำลาย จากนั้นทำการทำลายตามวิธีที่ได้รับอนุญาตโดยมี inspector ตรวจสอบรับรอง จากนั้นจึงนำใบรับรองที่ออกโดย inspector มายื่นขอตัดบัญชีวัตถุดิบต่อไป เรื่องส่วนสูญเสีย มีรายละเอียดตาม
link : http://www.faq108.co.th/boi/rm36/scrap.php
การรวมบัตรส่งเสริม จะถูกปรับลดสิทธิประโยชน์ให้เหลือเท่ากับระยะเวลาของสิทธิประโยชน์ที่สั้นที่สุด ปกติควรรวมบัตรส่งเสริมเฉพาะกรณีที่เปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว และสิทธิประโยชน์ทางภาษีสิ้นสุดแล้ว หรือเหลือเฉพาะสิทธิการนำเข้าวัตถุดิบตามมาตรา 36 ซึ่งแม้จะถูกปรับลดให้สั้นลง แต่ก็สามารถขอขยายเวลาได้ในภายหลัง
กรณีของบริษัทฯ เข้าใจว่าสิทธิประโยชน์ยังไม่สิ้นสุด จึงควรศึกษาผลกระทบที่จะเกิดจากการรวมบัตรส่งเสริม โดยอาจขอรวมเฉพาะบัญชีสต็อกวัตถุดิบเท่านั้น กรณีต้องการรวมบัตรส่งเสริม โดยสิทธิประโยชน์การนำเข้าเครื่องจักรยังเหลืออยู่
1.ให้ขออนุมัติบัญชีเครื่องจักรในบัตรใหม่ (บัตรรวมโครงการ) เฉพาะเครื่องจักรที่ยังนำเข้ามาไม่ครบ
2.กรณีจะนำเข้าอะไหล่สำหรับเครื่องจักรที่นำเข้ามาแล้วใน 2 โครงการแรก ให้ขออนุมัติในบัตรใหม่ (บัตรรวมโครงการ) โดยระบุเครื่องจักรเป็น 0.5 เครื่อง
3.ข้อมูลเครื่องจักรที่ใช้สิทธินำเข้ามาภายใน 2 บัตรแรก จะไม่โอนย้ายไปยังบัตรใหม่ (บัตรรวมโครงการ) ดังนั้น บริษัทจึงต้องควบคุมข้อมูลทั้ง 3 บัตรไปพร้อมๆกัน
4.หลักเกณฑ์อื่นๆ เช่น ระยะเวลาพิจารณาอนุมัติ เป็นไปตามปกติ