หากเป็นการนำส่วนสูญเสียไปเก็บในสถานที่เดิม ที่เคยได้รับอนุมัติไว้แล้ว ก็ไม่ต้องขออนุญาตอีก แต่หากจะไปเก็บในที่แห่งใหม่ ก็ต้องขออนุญาตใหม่
1.การขออนุญาตนำวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ และส่วนสูญเสีย ไปเก็บนอกสถานประกอบการ กำหนดเงื่อนไขไว้ใน ประกาศ สกท ที่ ป.3/2556 ข้อ 10
2.การขออนุญาตนำวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ และส่วนสูญเสีย ไปเก็บนอกสถานประกอบการ ให้ยื่นคำร้องขออนุญาต
3. หลักเกณฑ์การพิจารณา ไม่ทราบแน่ชัด แต่หาก ฺBOI พิจารณาแล้วว่ามีเหตุผลความจำเป็น และมีเอกสารหลักฐานครบถ้วนถูกต้อง น่าจะได้รับอนุญาตทุกกรณี
1.ยื่นคำร้องขอทำบัญชีเครื่องจักร/หรือเพิ่มรายการเครื่องจักรในระบบ eMT ให้ตรงกับชื่อเครื่องจักรที่นำเข้ามาแล้ว
2.ยื่นคำร้องขอสั่งปล่อยคืนอากรเครื่องจักรในระบบ eMT
3.จากนั้นไปติดต่อกรมศุลกากร เพื่อยื่นเรื่องขอคืนอากรต่อไป
ทั้งนี้ ภายใต้สิทธิ BOI จะได้รับคืนเฉพาะอากรขาเข้าเท่านั้น ส่วน VAT ที่ได้ชำระไปแล้วให้ใช้วิธีเครดิต VAT (VAT ขาย - VAT ซื้อ) ทุกรอบเดือนตามปกติ หรือหากจำเป็นต้องขอคืน VAT ต้องติดต่อกับกรมสรรพากรโดยตรง1.ยื่นคำร้องขอสั่งปล่อยคืนอากรเครื่องจักรผ่านระบบ eMT
2.เมื่อได้รับอนุมัติ ให้ติดต่อกับกรมศุลกากร เพื่อขอคืนอากรเครื่องจักร แต่จะไม่ได้รับคืน VAT
กรณีที่รับงานต่อจากพนักงานท่านเดิมที่ลาออก
ก่อนอื่นควรเข้ารับการอบรมวิธีการใช้สิทธิประโยชน์เครื่องจักรบนระบบ eMT จากสมาคม IC ซึ่งจัดคอร์สฝึกอบรมเป็นประจำ จากนั้นตรวจสอบข้อมูลคำร้องในระบบ eMT ว่าเคยมีการยื่นสั่งปล่อยคืนอากรเครื่องจักรแล้วหรือไม่ และได้รับอนุมัติแล้วหรือไม่ หากเรื่องได้รับอนุมัติแล้ว ให้ส่งข้อมูลให้กับ บ.ชิปปิ้ง เพื่อให้เป็นตัวแทนยื่นคำร้องขอคืนอากรเครื่องจักรต่อกรมศุลกากรต่อไปหากบริษัทตัวแทนฯ รับเศษพลาสติกไปจากโรงงานของเรา โดยจ่ายเงินทุกครั้งที่รับไป ก็เท่ากับเกิดการขายในประเทศ และผิดเงื่อนไขในการใช้สิทธิมาตรา 36 (แม้ว่าหลังจากนั้นจะนำไปส่งออกก็ตาม)
การจ่ายเงินหลังจาก scrap ส่งออกไปต่างประเทศ ไม่น่าจะแก้ผิดเป็นถูกได้ แม้จะส่ง scrap ไปต่างประเทศ แต่ถ้านิติกรรมนั้นเข้าข่ายการซื้อขายในประเทศ ก็อาจจะมีปัญหา เรื่องนี้น่าจะสอบถามกรมศุลกากรด้วย
1. หากชื่อสินค้าในใบขน ตรงกับสูตรการผลิตที่ได้รับอนุมัติ สามารถยื่นตัดบัญชีตามปกติ โดยไม่ต้องขออนุญาตส่งออกส่วนสูญเสีย
2. หากชื่อสินค้าในใบขน ไม่ตรงกับสูตรการผลิต โดยต้องระบุว่าส่วนสูญเสีย เช่น LEAD FRAME Model FL-2L (NG Product) จะต้องยื่นขออนุญาตส่งออกและขอตัดบัญชีในข่ายส่วนสูญเสีย ซึ่งทำได้ 2 วิธีคือ
2.1 ให้บริษัท Inspector ตรวจสอบรับรองชนิดและปริมาณวัตถุดิบที่ได้ใช้ไป
2.2 จนท. BOI อาจแจ้งต่อไปยัง IC เพื่อให้ตัดบัญชีวัตถุดิบจากสูตรการผลิตนั้นโดยตรง
กรณีนี้แนะนำให้ติดต่อกับ จนท BOI ผู้รับผิดชอบโครงการของบริษัท เพื่อปรึกษาแนวทางดำเนินการ
ถ้าชื่อสินค้าและโมเดลในใบขนสินค้าขาออก ตรงกับสูตรการผลิต จะสามารถตัดบัญชีได้ตามปกติ แต่ถ้าชื่อสินค้าไม่ตรง เช่น มีคำว่า scrap เพิ่ม ต้องระบุว่าส่วนสูญเสีย เช่น LEAD FRAME Model FL-2L (NG Product) จะต้องยื่นขออนุญาตส่งออกและขอตัดบัญชีในข่ายส่วนสูญเสีย
ซึ่งทำได้ 2 วิธีคือ
2.1 ให้บริษัท Inspector ตรวจสอบรับรองชนิดและปริมาณวัตถุดิบที่ได้ใช้ไป
2.2 จนท.BOI อาจแจ้งต่อไปยัง IC เพื่อให้ตัดบัญชีวัตถุดิบจากสูตรการผลิตนั้นโดยตรง
หากส่วนสูญเสียนอกสูตร เป็นชนิดเดียวกันกับวัตถุดิบที่นำเข้า เช่น วัตถุดิบที่นำเข้าคือ PP RESIN และส่วนสูญเสียนอกสูตรคือ SCRAP PP RESIN สามารถขออนุญาตส่งออกได้โดยไม่ต้องให้ Inspector ตรวจสอบรับรอง แต่ทั้งนี้ จะต้องระบุรายการสินค้าในใบขนสินค้าขาออกเป็น SCRAP PP RESIN ด้วย
แต่หากส่วนสูญเสียนอกสูตร เป็นคนละชื่อกับวัตถุดิบ เช่น มีการผสม/ประกอบ เป็นชิ้นส่วนอื่นไปแล้ว จะต้องให้ Inspector ตรวจสอบรับรองว่าสวนสูญเสียนอกสูตรนั้น เกิดจากวัตถุดิบรายการใดบ้าง จำนวนอย่างละเท่าไร จากนั้นจึงจะขออนุญาตส่งออกได้
1) ส่วนสูญเสียในสูตรที่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์
- ต้องยื่นขออนุมัติชำระภาษีตามสภาพเศษซาก และชำระภาษีให้เสร็จสิ้นก่อน จึงจะจำหน่ายได้
- หลังจากชำระภาษีแล้ว ไม่สามารถนำมาตัดบัญชีได้อีก เนื่องจากตัดบัญชีไปในสูตรแล้ว
2) ส่วนสูญเสียในสูตรที่ไม่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์
- สามารถนำไปกำจัดได้ตามที่กฎหมายกำหนด โดยไม่ต้องขออนุญาตจาก BOI การยื่นขอชำระภาษีส่วนสูญเสียในสูตร จึงยื่นเฉพาะรายการตามกรณีที่ 1 เท่านั้น
1. หากเป็นเครื่องจักรที่ตรงตามรายการใน Master List ก็สามารถนำเข้ามาโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรตามมาตรา 28 หรือ 29 ได้ ไม่ว่าจะเป็นการยืม เช่า หรือซื้อ ก็ตาม แต่ทั้งนี้ สภาพใหม่เก่าก็ต้องสอดคล้องกับเงื่อนไขในบัตรส่งเสริมด้วย ยกเว้นกรณีที่เป็นการยืมมาใช้ชั่วคราวไม่เกิน 1 ปี จะพิจารณาอายุของเครื่องจักรให้ตามความเหมาะสม
2. มูลค่าเครื่องจักรตามหน้าอินวอยซ์ ให้สำแดงตามจริง โดยระบุว่าเพื่อประโยชน์ทางศุลกากร โดยไม่มีการเรียกเก็บเงิน
3. เครื่องจักรที่ได้มาจากบริษัทในเครือโดยไม่ต้องจ่ายค่าตอบแทน จะต้องระบุไว้ในขั้นขอรับการส่งเสริม จึงจะนับเป็นขนาดการลงทุนได้ โดยจะนับมูลค่าตามบัญชีของบริษัทที่ให้มา ณ วันที่ยื่นขอรับการส่งเสริม (ตามประกาศ สกท ที่ ป.1/2545 ข้อ 1.2.4) และต้องครอบครองเครื่องจักรนั้นอยู่จนถึงวันเปิดดำเนินการตามโครงการด้วย กรณีที่สอบถาม น่าจะเป็นการยืมใช้ชั่วคราว และไม่น่าจะแจ้งไว้ในขั้นขอรับการส่งเสริม จึงไม่เข้าข่ายที่จะนับเป็นมูลค่าการลงทุน
บริษัทได้รับส่งเสริมจาก BOI โดยให้ใช้เครื่องจักรใหม่ แต่นำเข้ามาเป็นเครื่องจักรเก่า โดยสำแดงใบขนว่าเป็นเครื่องจักรใหม่ กรมศุลกากร
เป็นความผิดสำแดงเท็จ มีบทลงโทษอย่างไร จะต้องแก้ไขอย่างไร ไม่ทราบ ขอให้ติดต่อกับกรมศุลกากรโดยตรง BOI จะใช้เครื่องจักรเก่านั้นในโครงการ BOI ไม่ได้ และจะไม่ได้รับสิทธิทางภาษีในส่วนของเครื่องจักร ตลอดจนสินค้าที่ผลิตจากเครื่องจักรนั้น ต้องยื่นแก้ไขโครงการ เพื่อขออนุญาตใช้เครื่องจักรเก่า และต้องทำใบรับรองประสิทธิภาพเครื่องจักรเก่าการขออนุมัติวิธีทำลายส่วนสูญเสียนอกสูตร ใช้เอกสารตามนี้
สำหรับบริษัท
1.1 หนังสือบริษัทฯ ขออนุมัติทำลายส่วนสูญเสีย
1.2 ใบสรุปส่วนสูญเสียแต่ละรายการพร้อมระบุวิธีการทำลาย จำนวน 1 ชุด
1.3 ภาพถ่ายส่วนสูญเสียแยกรายการก่อนทำลาย จำนวน 1 ชุด
สำหรับเจ้าหน้าที่
1.4 แบบสรุปเรื่องการพิจารณาของสำนักงาน
1.5 หนังสือสำนักงานอนุญาตให้ทำลายส่วนสูญเสีย
1.6 ตารางสรุปวิธีการทำลายที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงาน จำนวน 3 ชุด เอกสารไม่มีให้ดาวน์โหลดจากเว็บของ BOI บริษัทสามารถขอรับตัวอย่างเอกสารและไฟล์ ได้จากสำนักที่รับผิดชอบโครงการของบริษัทโดยตรง
1. การทำลายวัตถุดิบและวัสดุจำเป็น ใช้ประกาศฉบับเดียวกัน คือ ประกาศ ป.5/2543
2. ขั้นตอนดำเนินการคือ
2.1 ขออนุมัติวิธีทำลาย (ขอครั้งแรกครั้งเดียว หากครั้งต่อไป จะทำลายวัตถุดิบชนิดเดิม ด้วยวิธีเดิม ไม่ต้องขออนุมัติวิธีทำลายอีก)
2.2 แจ้งให้ผู้ประกอบธุรกิจตรวจสอบส่วนสูญเสียที่ได้รับอนุญาตจาก BOI เข้าร่วมทำการตรวจสอบการทำลาย และรายงานผลการทำลายตามที่ BOI กำหนด
2.3 การทำลายวัตถุดิบและวัสดุจำเป็น ให้ศึกษาและปฏิบัติตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.79/2541
2.4 ยื่นขออนุญาตตัดบัญชีส่วนสูญเสียต่อ BOI
2.5 หากเศษซากมีมูลค่าเชิงพาณิชย์ ให้ยื่นชำระภาษีตามสภาพเศษซาก ต่อกรมศุลกากร
2.6 ยื่นปรับยอดวัตถุดิบที่ IC
3. ค่าใช้จ่าย ให้ติดต่อกับผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตจาก BOI โดยตรง
หากมีการยกเลิกการสั่งปล่อยเครื่องจักร ระบบ eMT-online จะตรวจสอบข้อมูลกับกรมศุลกากรว่ามีการใช้สิทธินำเข้าเครื่องจักรนั้นโดยยกเว้นภาษีอากรไปแล้วหรือไม่
หากใช้สิทธิไปแล้ว จะยกเลิกสั่งปล่อยไม่ได้ หากไม่ต้องการใช้สิทธิอีกต่อไป จะต้องยื่นขอจำหน่ายเครื่องจักร โดยจะมีภาระภาษีอากรเกิดขึ้น
หากยังไม่ได้ใช้สิทธิ สามารถยกเลิกสั่งปล่อยได้ โดยระบบจะคืนค่าที่สั่งปล่อยไปแล้วเป็น 0
1. เครื่องจักรที่ชำระภาษีอากรเข้ามาเอง สามารถใช้ในโครงการที่ได้รับส่งเสริมได้ แต่ต้องไม่ขัดกับเงื่อนไขของโครงการ เช่น ต้องเป็นเครื่องจักรใหม่ (หรือหากโครงการได้รับอนุมัติให้ใช้เครื่องจักรเก่า ก็ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ และมีใบรับรองประสิทธิภาพ และอายุไม่เกินที่กำหนด) ส่วนเครื่องจักรนั้นจะได้รับอนุมัติในบัญชีหรือไม่ ไม่ใช่ประเด็น
2. การตัดบัญชีเพื่อปลอดภาระภาษีสำหรับเครื่องจักรที่เกิน 5 ปี ให้ตัดเฉพาะเครื่องจักรที่นำเข้าโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษี ส่วนเครื่องจักรที่ชำระภาษีเข้ามาเอง ไม่ต้องยื่นตัดบัญชี 5 ปี เพราะไม่มีภาระภาษีที่ต้องยื่นขอตัดอีก