Chat
x
toggle menu
toggle menu

Select Groups

All Group
  • All Group
  • นโยบายเเละมาตรการพิเศษในการส่งเสริม
  • การขอรับการส่งเสริมการลงทุน
  • การออกบัตรส่งเสริม
  • การเปิดดำเนินการ
  • การเเก้ไขโครงการ
  • การดำเนินการอื่น ๆ
  • การรายงานความคืบหน้าโครงการ (e-Monitoring)
  • การปฏิบัติหลังการได้รับการส่งเสริม
  • การยกเลิกบัตรส่งเสริม
  • เรื่องทั่วไป
  • การใช้สิทธิด้านที่ดิน
  • การใช้สิทธิด้านเครื่องจักร
  • การใช้สิทธิด้านช่างฝีมือ/ต่างด้าว
  • การใช้สิทธิด้านวัตถุดิบ
  • ประเภทกิจการ - การแพทย์
  • การใช้สิทธิด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ประเภทกิจการ - รถยนต์ไฟฟ้า
  • ประเภทกิจการ - ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (IBC) IPO และ TISO
  • ประเภทกิจการ - โรงแรม
  • ประเภทกิจการ - ผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ
  • ประเภทกิจการ - กิจการผลิตเครื่่องจักร อุุปกรณ์และชิ้นส่วน
  • ประเภทกิจการ - กิจการศูนย์กระจายสินค้าระหว่า ประเทศด้วยระบบที่่ทันสมัย (IDC)
รบกวนสอบถามเกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินการหลังจากได้รับบัตรส่งเสริม ได้แก่การทำเรื่องแจ้งใช้บริการที่ IC จากนั้นทำเรื่องสูตรการผลิต และทำเรื่องยื่นขออนุมัติ รายการวัตถุดิบ
ขั้นตอนคร่าวๆ คือ ในการใช้สิทธิวัตถุดิบ คือ

1.สมัครใช้บริการ RMTS-2011

2.ขออนุมัติบัญชีรายการวัตถุดิบ

3.บันทึกฐานข้อมูลวัตถุดิบ และยืนยันวันขอใช้สิทธิครั้งแรก

4.ยื่นสั่งปล่อยวัตถุดิบ

5.ขออนุมัติสูตรการผลิต

6.ตัดบัญชีวัตถุดิบ

7.ปรับยอดวัตถุดิบ (ตัดบัญชี และชำระภาษีส่วนสูญเสีย) แนะนำให้เข้ารับการฝึกอบรมเรื่องงานวัตถุดิบที่สมาคม IC จัดขึ้นเป็นประจำ

การเปลี่ยนแปลงสินค้าที่ได้รับตามบัตรส่งเสริม บริษัทได้รับบัตรส่งเสริม ประเภท 5.5 กิจการผลิตชิ้นส่วนและ/หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือชิ้นส่วน และ/หรืออุปกรณ์ที่ใช้กับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยผลิตเซ็นเซอร์สำหรับแอร์บ้านหรือแอร์โรงงาน แต่หากในอนาคตจะผลิตเซ็นเซอร์ในแอร์รถยนต์ จะสามารถผลิตใน โปรเจคที่ได้รับการส่งเสริมได้หรือไม่ โดยสินค้าจะเป็นในลักษณะเดียวกัน

กิจการประเภท 5.5 (เดิม) หรือ 5.4 (ใหม่) การผลิตชิ้นส่วนและ/หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือชิ้นส่วนและ/หรืออุปกรณ์ที่ใช้กับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ พิจารณาได้ 2 แนวทาง คือ

1) เป็นชิ้นส่วน/อุปกรณ์ที่มีลักษณะการทำงานในเชิงอิเล็กทรอนิกส์ หรือ

2) เป็นชิ้นส่วนที่ใช้กับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์

กรณีที่สอบถาม เซ็นเซอร์ที่บริษัทผลิต มีลักษณะการทำงานในเชิงอิเล็กทรอนิกส์

ดังนั้นแม้จะผลิตเซ็นเซอร์เพื่อใช้ในเครื่องปรับอากาศ (ซึ่งจัดเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า) แต่ก็สามารถให้การส่งเสริมได้ในประเภทของกิจการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และเมื่อประสงค์จะผลิตจำหน่ายเพื่อใช้กับแอร์ในรถยนต์ แต่หากตัวเซ็นเซอร์ยังคงมีลักษณะการทำงานเชิงอิเล็กทรอนิกส์ ก็ยังคงสามารถให้การส่งเสริมในประเภทของกิจการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

แต่ทั้งนี้จะต้องมีการแก้ไขชื่อผลิตภัณฑ์ให้ครอบคลุมในส่วนของแอร์รถยนต์ด้วย แนะนำให้นำรายละเอียดไปปรึกษากับเจ้าหน้าที่ BOI ที่รับผิดชอบโครงการของบริษัท

บริษัทฯ ได้รับส่งเสริมในกิจการประเภท 4.10 กิจการผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะ จะครบเปิดดำเนินการในเดือน เม.ย. 64 เนื่องจากมีการเปลี่ยนชนิดของวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิต บริษัทฯ ไม่สามารถใช้สิทธินำเข้าเครื่องจักรได้ เนื่องจากขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรครบ 3 ครั้งแล้ว แต่ต้องการขอใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้นิติบุคคล จากการลงทุนเพิ่มในครั้งนี้ ขอสอบถามว่า บริษัทจะยื่นขอแก้ไขโครงการได้หรือไม่ และต้องดำเนินการอย่างไร (2 ก.ค. 2563)

การเปลี่ยนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต มีทั้งกรณีที่ต้องแก้ไขโครงการ และไม่ต้องแก้ไชโครงการ

และหากจำเป็นต้องซื้อเครื่องจักรเพิ่มเติมเพื่อใช้กับวัตถุดิบชนิดใหม่นี้ ก็มีทั้งกรณีที่ต้องแก้ไขโครงการก่อนจึงจะยื่นขอแก้ไขบัญชีรายการเครื่องจักรได้ กับกรณีที่สามารถยื่นแก้ไขบัญชีเครื่องจักรได้โดยไม่ต้องยื่นแก้ไขโครงการ

กรณีจำเป็นต้องแก้ไขโครงการ ตามข้อมูลของบริษัท โครงการนี้สิ้นสุดระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรแล้ว (ขยาย 3 ครั้งแล้ว) แต่ยังไม่ครบกำหนดเปิดดำเนินการ ดังนั้น หากจะยื่นขอแก้ไขโครงการ ก็สามารถทำได้ แต่จะต้องนำเครื่องจักรเข้ามาก่อนวันครบกำหนดเปิดดำเนินการ และจะไม่ได้รับขยายเวลานำเข้าเครื่องจักร

กรณีมีการซื้อเครื่องจักรภายหลังจากระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรสิ้นสุดแล้ว แต่ยังไม่ครบกำหนดเปิดดำเนินการ

หากเครื่องจักรดังกล่าวใช้ในการผลิตสินค้าตามกรรมวิธีที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม จะนับรวมเป็นขนาดการลงทุนของโครงการ เพื่อคำนวณวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย ไม่ว่าเครื่องจักรนั้นจะนำเข้าโดยใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าตามมาตรา 28 หรือไม่ก็ตาม

ถ้าก่อนหน้านั้น ได้นำเข้าวัตถุดิบมาแล้ว บางส่วนและทำการสงวนสิทธิ์ไว้ สามารถที่จะขอคืนย้อนหลังได้ไหม
สามารถขอคืนอากรได้ หากเป็นไปตามหลักเกณฑ์คือ

- นำเข้ามาหลังจากได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมและตอบรับมติการให้การส่งเสริมแล้ว

- นำเข้ามาภายในระยะเวลาที่ได้รับสิทธิ์ และไม่ก่อนวันที่ขอใช้สิทธิ์ครั้งแรก

- ได้รับอนุมัติบัญชีรายการวัตถุดิบแล้ว A และ B เป็นบริษัทฯ ที่ได้รับการส่งเสริม บีโอไอ ทั้งคู่ กิจการของ A คือเป็นโรงฉีดชิ้นส่วนพลาสติก กิจการของ B เป็นการผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะ

- โดยปกติ B เป็นลูกค้าของ A คือซื้อชิ้นส่วนจาก A แล้วไปประกอบแล้วส่งออก

- แต่ปัจจุบัน ถ้า B ซื้องานจาก A แล้วนำไปส่งออกขายไปต่างประเทศเลย เคสนี้ B ทำผิดหลักการใช่หรือไม่?

บริษัทฯ นำเข้า Mold /แม่พิมพ์, Jig ที่นำเข้าจากต่างประเทศโดยใช้สิทธิ BOI ทั้งหมด บริษัทฯสามารถส่งซ่อม ภายในประเทศได้หรือไม่ ถ้าได้ต้องทำอย่างไรบ้าง และหรือถ้าไม่ได้เพราะอะไร
การขออนุญาตนำเครื่องจักร/แม่พิมพ์ ที่นำเข้าโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากร ไปซ่อมในประเทศ ไม่มีแบบฟอร์มเป็นการเฉพาะ

กรณีนี้ควรปรึกษากับ จนท BOI ที่รับผิดชอบโครงการของบริษัทโดยตรง ว่าควรยื่นขออนุญาตอย่างไร

ตอบในความเห็นส่วนตัวโดยทั่วไป คือ อาจใช้แบบฟอร์มการขอนำวัตถุดิบ/ส่วนสูญเสียไปเก็บนอกสถานที่ หรือแบบฟอร์มการขอนำเครื่องจักร/แม่พิมพ์ไปใช้เพื่อการอื่น/ให้ผู้อื่นใช้ มาปรับเปลี่ยนให้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่จะขอนำแม่พิมพ์ออกนอกโรงงานเพื่อทำการซ่อม
ทางบริษัทได้จัดส่งแม่พิมพ์ (ที่ใช้สิทธิ์ BOI ลดหย่อนหรือยกเว้นอากรขาเข้า) ซ่อมที่บริษัทแม่(ญี่ปุ่น) โดยยื่นรายงานต่อ BOI ผ่าน eMT Online (การส่งซ่อม) แต่เมื่อถึงประเทศญี่ปุ่นแล้ว ทางญี่ปุ่นได้เสียค่าภาษีขาเข้า *ปล. ได้แจ้งกับทางShippingเป็นที่เรียบร้อยว่าจะส่งซ่อมโดยใช้สิทธิ์BOIพร้อมเอกสารที่จำเป็นตามที่ Shipping ร้องขอเพื่อไปดำเนินพิธีการศุลฯ* ไม่ทราบว่าเป็นปกติหรือไม่ที่ญี่ปุ่นต้องเสียภาษีขาเข้าอยู่แล้ว ทั้งๆ ที่บริษัทได้จัดส่งซ่อมภายใต้สิทธิ์ BOI
การส่งแม่พิมพ์ที่นำเข้าโดยใช้สิทธิ BOI ไปซ่อมที่ต่างประเทศ

1. ต้องทำใบสุทธินำกลับต่อกรมศุลฯ เพื่อให้นำกลับเข้ามาโดยไม่มีภาระภาษีอากร

2. ต้องขออนุญาต BOI เพื่อส่งแม่พิมพ์ไปซ่อมต่างประเทศไทย

3. ต้องยื่นขอสั่งปล่อยแม่พิมพ์ที่นำกลับเข้ามาหลังซ่อมเสร็จ เพื่อใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับค่าซ่อม โดยใช้สิทธิ BOI

ส่วนการที่ส่งไปซ่อมที่ประเทศญี่ปุ่น แล้วประเทศญี่ปุ่นเก็บอากรขาเข้านั้น เป็นคนละประเด็นกัน ซึ่งจะมีวิธีการยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีอากรที่ประเทศนั้นๆเรียกเก็บหรือไม่นั้น น่าจะสอบถามกับบริษัทคู่ค้าในประเทศนั้นๆโดยตรง ไม่เกี่ยวกับการยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้าตามมาตรา 28, 29 ของ BOI
A จะมีส่วนผิดด้วยหรือไม่ เพราะไม่ทราบว่า B จะซื้อไป แล้วขายไปเลย แล้วถ้า B จะส่งใบขนให้ A ตัดบัญชีบีโอไอ โดยระบุโอนสิทธิ์การตัดบัญชีให้ A อยากถามว่าจะทำได้ไหม และหาก A นำใบขนนั้นมาตัดบัญชีจะมีความผิดด้วยหรือไม่ จะสามารถทำได้หรือเปล่า หากทั้งหมดนี้ผิดหลักการ จะมีวิธีแก้ไขอย่างไรบ้าง ขอคำชี้แนะด้วย

A ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบเข้ามาผลิตเป็นชิ้นส่วนพลาสติกเพื่อการส่งออก โดยจะเป็นการส่งออกทางตรงหรือทางอ้อมก็ได้ และผู้ซื้อจะนำชิ้นส่วนพลาสติกของ A ไปประกอบเป็นสินค้าอื่น หรือส่งออกในสภาพนั้นก็ได้ ขอเพียงมีหลักฐานมาแสดงว่าสินค้าของ A ได้มีการส่งออกไปจริงก็พอ

กรณีนี้ B สามารถโอนสิทธิตัดบัญชีใบขนขาออกมาให้ A สำหรับชิ้นส่วนพลาสติกที่ซื้อไปจาก A ได้ และ A ก็สามารถนำใบขนนั้น มาตัดบัญชีได้ ซึ่งอาจเกิดจากการที่ B ซื้อชิ้นส่วนพลาสติกจาก A ไปส่งออกเป็น service part ให้กับลูกค้าของ B ในต่างประเทศ เป็นต้น

แต่สำหรับ B จะถือเป็นกิจการในส่วนที่ไม่ได้รับส่งเสริม ซึ่งจะใช้สิทธิประโยชน์ใดๆจาก BOI ไม่ได้

ในการขอรับการส่งเสริมการลงทุน ได้ระบุที่ตั้งโรงงานที่นวนคร และในกระบวนการผลิตได้ระบุ ขั้นตอน Plating โดยว่าจ้างผลิต (Outsourcing) ต่อมาได้เปลี่ยนจากว่าจ้างผลิต Outsourcing เป็นดำเนินการ Plating ที่บริษัทเอง โดยทำที่โรงงานฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นสาขาของบริษัท (สนง.ใหญ่) กรณีนี้บริษัทจะต้องดำเนินการอย่างไร (2 ก.ค. 2563)

เครื่อง Plating ที่ฉะเชิงเทรา บันทึกทะเบียนสินทรัพย์เป็นของโครงการที่นวนครหรือไม่

1. หากใช่ เป็นการมีสถานประกอบการ 2 แห่ง จะต้องแก้ไขสถานที่ตั้งโรงงาน และแก้ไขกรรมวิธีการผลิตขั้นตอน Plating เป็นการดำเนินการเอง

2. หากไม่ใช่ เป็นการว่าจ้างโครงการอื่นในนิติบุคคลเดียวกันให้ทำการ Plating ซึ่งไม่ต้องแก้ไขกรรมวิธีการผลิต เนื่องจากเป็นการว่าจ้าง Plating อยู่แล้ว แต่ต้องแยกบัญชีรายรับรายจ่ายในส่วนการ Plating ให้ถูกต้อง และโครงการที่ลงทุนเครื่อง Plating จะต้องได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องจักรเพื่อการอื่น (รับจ้าง Plating) ด้วย

ขอเพิ่มกำลังผลิตโดยการเพิ่มเวลาการทำงาน ปัจจุบันยื่นออนไลน์ หรือ ยื่นเอกสารที่สำนักงาน
การยื่นแบบฟอร์มคำขอแก้ไขโครงการสามารถยื่นเอกสารได้ที่สำนักงาน BOI
กรณีที่บริษัทได้รับการส่งเสริมบีโอไอ จะนำเข้าสินค้าจากบริษัทเครือข่ายที่ประเทศมาเลเซียเป็นผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูปคือนำเข้ามาแล้วทำการตรวจสอบแก้ไขในกรณีที่ผลิตภัณฑ์ไม่ได้สเปค แต่ถ้าผลิตภัณฑ์ได้ตรงตามคุณภาพแล้วก็ทำการ Packing แล้วส่งให้ลูกค้าที่อยู่ในเขตประกอบการเสรี ในกรณีนี้บริษัทสามารถยื่นขอใช้สิทธินำเข้าโดยปลอดภาษีอากรได้หรือไม่ และถ้าไม่ได้การนำส่งสินค้าเข้าไปในเขตประกอบการเสรีเราใช้สิทธิ Vat 0% ได้หรือไม่ หรือต้องใช้ Vat 7% คะ รบกวนสอบถาม เพราะตอนนี้ทำใบเสนอราคาให้ลูกค้าโดยคิดค่าภาษีนำเข้า 10% บวกเข้าไปกับผลิตภัณฑ์แล้วลูกค้าไม่ยอมรบกวนด้วยว่าสามารถใช้สิทธิได้หรือไม่จะได้แจ้งลูกค้าได้ถูกต้อง ลืมบอกไปค่ะแต่ตอนยื่นขอรับการส่งเสริมยื่นขั้นตอนไป 4 ขั้นตอนการผลิต คือ 1.ปั้มขึ้นรูปชิ้นงาน 2. ตกแต่งแก้ไขชิ้นงาน 3.ตรวจสอบคุณภาพ 4. Packing ถ้านำเข้ามาโดยขาดขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งอย่างไหนกรณีดังกล่าวจะสามารถใช้สิทธิได้หรือเปล่า

การนำสินค้ามาตรวจสอบแก้ไข เพื่อจำหน่ายต่อ ไม่ตรงกับโครงการที่บริษัทได้รับส่งเสริม กิจการซ่อมผลิตภัณฑ์ เดิมเคยมีประเภทกิจการที่จะให้การส่งเสริม และตามนโยบายปัจจุบัน เข้าใจว่าไม่มีประเภทที่จะให้ส่งเสริมการลงทุนแล้ว จึงไม่น่าจะแก้ไขโครงการเพื่อให้บริการตรวจสอบแก้ไข (ซ่อม) ได้ และไม่สามารถใช้สิทธิจาก BOI ได้

ในกรณีนำเข้าเครื่องจักรมาทดแทนเครื่องที่ส่งซ่อม ไม่ทราบว่าเครื่องที่นำเข้ามาทดแทนสามารถยกเว้นอากรขาเข้าได้หรือไม่ (นำมาใช้ชั่วคราว หลังซ่อมเสร็จจะส่งกลับ supplier หรือ ตัวแทน supplier ในประเทศไทย)
1. เครื่องจักรที่นำเข้ามาใช้งานทดแทนเป็นการชั่วคราว สามารถขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรได้ โดยขออนุมัติบัญชี และยื่นสั่งปล่อยตามขั้นตอนปกติ

2. เมื่อใช้เสร็จ จะต้องขอส่งคืนไปต่างประเทศ หรือหากจะจำหน่ายในประเทศ ก็ต้องขอชำระภาษีอากรตามขั้นตอนปกติ

"การส่งแม่พิมพ์ที่ใช้สิทธิ์ BOI ในการนำเข้ามาส่งกลับไปยังบริษัทแม่เพื่อทำการตรวจสอบคุณภาพ" มีแม่พิมพ์ทั้ง 2 แบบ 1. แบบที่ใช้ไปแล้ว 2.แบบที่ยังไม่ได้ใช้ ในกรณีที่ได้รับการตรวจสอบแล้วว่า ยังสามารถใช้งานได้อยู่ ส่งกลับคืนมาเหมือนเดิม แต่ถ้าใช้ไม่ได้แล้ว จะไม่ส่งกลับคืนมาที่ไทย ไม่ทราบว่าจะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง
1. การส่งเครื่องจักร แม่พิมพ์ไปตรวจสอบต่างประเทศ ให้ยื่นคำร้องในระบบ emt เช่นเดียวกับการส่งซ่อม

2. แต่หากตรวจสอบหรือซ่อมแล้ว ไม่สามารถนำกลับเข้ามาใช้ได้ ให้ยื่นคำร้องในระบบ emt เพื่อเปลี่ยนสถานะ การส่งซ่อมเป็นการส่งคืน

ต้องการทราบขั้นตอนการดำเนินการ กรณีที่บริษัท A (Zone 3) ต้องการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการส่งเสริม ให้กับบริษัทที่อยู่ในประเทศซึ่งได้รับสิทธิ BOI (Zone 2) 1. เริ่มแรก ต้องยื่นเรื่องหรือขออนุญาตจาก BOI ก่อนหรือไม่ 2. ต้องตรวจสอบเรื่องสิทธิประโยชน์กับบริษัทที่ลูกค้าก่อนหรือไม่ เนื่องจากสิทธิประโยชน์ต่างกัน (ต่าง Zone)
A (BOI) -> B (BOI) -> ส่งออก

1. การที่ A จะขายให้ B ไม่ต้องขออนุญาตจากบีโอไอ เพราะ A จะส่งออกโดยตรงหรือทางอ้อม ก็ไม่ผิดเงื่อนไขอะไร

2. แม้ว่า A และ B จะตั้งอยู่คนละโซน แต่หากทั้ง 2 บริษัทได้รับสิทธิประโยชน์มาตรา 36 (โซน 3 ยกเว้น 5 ปี โซน 2 ยกเว้น 1 ปี) ก็ไม่มีปัญหาอะไร เนื่องจากเมื่อ B ส่งออก ก็สามารถโอนสิทธิตัดบัญชีวัตถุดิบกลับมาให้ A ได้

3. แต่ทั้งนี้ A ควรตรวจสอบกับ B ก่อนว่า สินค้าที่ซื้อ A ขายให้ B เข้าข่ายวัตถุดิบตามโครงการที่ B ได้รับส่งเสริมหรือไม่ เวลาโอนสิทธิตัดบัญชีกลับมาจะได้ไม่มีปัญหา

แก้ไขกำลังการผลิตหลังเปิดดำเนินการแล้ว (11 พ.ย. 2564)
บัตรส่งเสริมปี 56 ประเภทกิจการ 5.1 และ 5.3 ได้เปิดดำเนินการแล้ว สามารถแก้ไขกำลังการผลิตหลังเปิดดำเนินการ และขอเพิ่มปริมาณสต๊อกของวัตถุดิบได้หรือไม่
เหตุผลที่ผลิตมากกว่าที่ระบุตอนเปิดดำเนินการ เนื่องจากการดำเนินการช้ากว่าที่คาดการณ์ทำให้มีการนำเข้าเครื่องจักรและขยายไลน์การผลิตช้ากว่ากำหนด รวมถึงมีความต้องการใช้สินค้าจากลูกค้ามากกว่าที่คาดการณ์ในตอนแรกจึงมีการนำเข้าเครื่องจักรเพิ่มขึ้นและขยายไลน์การผลิตมากขึ้นด้วย
ตอบ:
1. กิจการ 5.1 และ 5.3 ตามบัญชีประเภทกิจการเดิม คือ การผลิตเครื่องไฟฟ้า และชิ้นส่วน ซึ่งหากได้รับบัตรส่งเสริมในปี 2556 จะได้รับสิทธิตามหลักเกณฑ์ของ ประกาศ กกท ที่ 4/2549 คือได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรตลอดระยะเวลาที่ได้รับส่งเสริม
2. ตาม ประกาศ กกท ที่ 6/2549 ระบุว่า ให้โครงการผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และชิ้นส่วน สามารถนำเครื่องจักรเข้ามาเพื่อปรับปรุงและทดแทนเครื่องจักรเดิม หรือเพื่อเพิ่มกำลังผลิตในโครงการเดิมไม่ว่าเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้วหรือไม่ก็ตาม ตลอดระยะเวลาที่ได้รับส่งเสริมโดยได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร
3. นโยบายฉบับปัจจุบัน คือ ประกาศ กกท ที่ 2/2557 ข้อ 10.3 ระบุว่า ให้โครงการที่ได้รับส่งเสริมสามารถนำเข้าเครื่องจักรตลอดระยะเวลาที่ได้รับส่งเสริม กรณีที่เป็นเครื่องจักรที่ใช้ในโครงการผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน เพื่อปรับปรุงและทดแทนเครื่องจักรเดิม หรือเพื่อเพิ่มกำลังผลิตในโครงการเดิมไม่ว่าจะได้รับอนุญาตให้เปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้วหรือไม่ก็ตาม โดยมีผลกับคำขอรับการส่งเสริมที่ยื่นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป

โครงการที่ได้รับส่งเสริมในปี 2556 เพื่อผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วน ได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรตลอดระยะเวลาที่ได้รับการส่งเสริม หากประสงค์จะนำเข้าเครื่องจักรมาเพื่อเพิ่มกำลังผลิตของโครงการเดิมภายหลังจากเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว และจะขอเพิ่ม Max Stock ของวัตถุดิบได้หรือไม่นั้น
 
หากอ้างอิงจากประกาศที่เกี่ยวข้องบริษัทสามารถยื่นขอนำเครื่องจักรเข้ามาเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มกำลังผลิตได้ ตามประกาศ กกท ที่ 6/2549 แต่สำนักงานอาจจะอนุมัติให้แก้ไขเฉพาะบัญชีรายการเครื่องจักร เพื่อให้บริษัทนำเครื่องจักรเข้ามาเพิ่มเติมโดยยกเว้นภาษีอากรได้ แต่อาจไม่อนุมัติให้แก้ไขกำลังผลิตในบัตรส่งเสริม เนื่องจากโครงการที่เปิดดำเนินการเต็มโครงการไปแล้ว จะไม่มีการตรวจสอบเปิดดำเนินการเป็นรอบที่ 2 อีก ดังนั้น หากสำนักงานให้แก้ไขกำลังผลิตในบัตรส่งเสริม แต่บริษัทไม่ได้นำเครื่องจักรเข้ามาเพิ่มเติมจริง จะเท่ากับเป็นการขยายกรอบการยกเว้นยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และกรอบการอนุมัติปริมาณ Max Stock ของวัตถุดิบให้กับโครงการเดิม โดยอาจไม่มีการนำเครื่องจักรเข้ามาเพิ่มจริง
ประกาศ กกท ที่ 2/2557 ที่ระบุให้เพิ่มกำลังผลิตในโครงการเดิม ได้สำหรับคำขอตั้งแต่ 1 ม.ค. 58 นั้นไม่ได้ยกเลิกประกาศ กกท ที่ 4/2549 และประกาศ กกท ที่ 6/2549 ที่ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็นโครงการที่ยื่นเมื่อใดที่สามารถเพิ่มกำลังผลิตในโครงการเดิมได้ หรือว่าทั้งสองประกาศได้มีการยกเลิกไปแล้วจากประกาศอื่น (11 พ.ย. 2564)
ประกาศ กกท ที่ 4/2549 และ 6/2549 ไม่ได้ถูกยกเลิกโดยประกาศ กกท ที่ 2/2557 บริษัทที่ได้รับส่งเสริมในกิจการผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และชิ้นส่วน จึงยังสามารถขอนำเครื่องจักรเข้ามาปรับปรุงหรือทดแทนเครื่องจักรเดิม หรือเพื่อเพิ่มกำลังผลิตได้ โดยได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร แม้จะเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้วก็ตาม

แต่ทั้งนี้ ประกาศ กกท ที่ 4/2549 และ 6/2549 ไม่ได้ระบุว่า กำลังผลิตที่เพิ่มขึ้น จะให้ได้รับสิทธิประโยชน์หรือไม่/อย่างไร ดังนั้นจึงเป็นไปได้ ที่สำนักงานอาจไม่ให้ได้รับสิทธิการยกเว้นภาษีเงินได้ และ/หรือ การเพิ่ม Max Stock สำหรับกำลังผลิตในส่วนที่เพิ่มขึ้น
A ต้องใช้เอกสารอะไรในการพิสูจน์ว่า B ส่งออกสินค้าของ A ไปต่างประเทศ

โดยหลักการ เมื่อ B (ผู้ส่งออก) จะโอนสิทธิตัดบัญชีให้กับ A B จะต้องสามารถแสดงหลักฐานได้ว่า ได้ซื้อวัตถุดิบมาจาก B จริง หาก B โอนสิทธิตัดบัญชีไปให้กับบริษัทที่ไม่ได้ขายวัตถุดิบให้กับ B ย่อมถือว่า B มีความผิด และหากบริษัทผู้รับโอนสิทธิมาโดยมิชอบนั้น นำสิทธิไปตัดบัญชี ก็ย่อมถือว่า มีความผิดเช่นกัน หลักฐานเบื้องต้นที่สามารถพิสูจน์ยืนยันได้ คือหลักฐานการซื้อขาย (ใบรับของ/ใบกำกับภาษี ฯลฯ) ระหว่าง A กับ B

ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง นอกเหนือจาก INV. เพื่อที่จะยื่นเรื่องและกรอกข้อมูลในระบบเพื่อทำการส่งแม่พิมพ์ออกไปซ่อมต่างประเทศ และเมื่อนำตัวที่ซ่อมกลับเข้ามาใหม่อีกครั้ง จะต้องดำเนินการสั่งปล่อยเหมือนตอนที่สั่งปล่อยแม่พิมพ์(ตัวใหม่) เข้ามาใช่หรือไม่
1. ข้อมูลที่ต้องใช้ในการคีย์คำขอส่งซ่อม เช่น เลขที่หนังสืออนุมัติสั่งปล่อย รายการเครื่องจักร Serial No. จำนวน เป็นต้น

2. การจะนำเครื่องจักรที่ส่งซ่อมกลับเข้ามา จะต้องทำใบสุทธินำกลับต่อกรมศุลกากร ก่อนการส่งออก เมื่อซ่อมเสร็จและนำกลับเข้ามา ให้ยื่นขอสั่งปล่อยเครื่องจักรที่ส่งซ่อม โดยเครื่องจักรจะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าตามสิทธิใบสุทธินำกลับ ส่วนค่าซ่อมจะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าตามสิทธิของ BOI

กรณีเป็นคำถามเกี่ยวกับขั้นตอนการปฏิบัติงาน ควรเข้าฝึกอบรมการใช้ระบบต่างๆ กับสมาคม IC ควบคู่ไปด้วย เพื่อให้มีความเข้าใจหลักเกณฑ์เบื้องต้น และป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการปฏิบัติงาน
ในกรณีที่จะแม่พิมพ์บางตัว สามารถจำหน่ายได้ แต่จะทำการจำหน่ายในต่างประเทศนั้น ไม่ทราบว่าจะต้องดำเนินการอย่างไรในกรณีนี้
การส่งคืนหรือจำหน่ายเครื่องจักรที่นำเข้ามาโดยได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้า ไปต่างประเทศ ให้ยื่นเรื่องขอส่งเครื่องจักรไปต่างประเทศ(ส่งคืน) ในระบบ eMT จากนั้นส่งออกภายใน 90 วัน หลังจากส่งออกให้คีย์ข้อมูลในระบบอีกครั้ง เพื่อยืนยันการส่งออก
A (BOI) -> B (Non BOI) -> ส่งออก กรณีนี้ A ต้องใช้เอกสารอะไรในการพิสูจน์ว่า B ส่งออกสินค้าของ A ไปต่างประเทศ

กรณีส่งออกทางอ้อม คือ A (BOI) -> B -> ส่งออก BOI อนุญาตให้ A ตัดบัญชีวัตถุดิบมาตรา 36 ด้วยระบบ RMTS ใน 4 กรณี คือ

1. B เป็น BOI และได้รับ ม.36

- ตัดบัญชีแบบโอนสิทธิด้วย Report-V

2. B เป็น Non-BOI แต่เป็น Trading ที่ไม่ได้นำของไปผลิตต่อ และส่งออกไปในชื่อสินค้าเดียวกันกับที่ซื้อมาจาก B โดยไม่มีการแกะกล่องหรือ re-pack ใหม่

- ตัดบัญชีโดยใช้ใบขนของผู้ส่งออกที่มีการระบุหน้าใบขนโดยชัดเจนว่าโอนสิทธิตัดบัญชีให้กับ A

3. B เป็นคลังสินค้าทัณฑ์บน (B จะเป็น BOI หรือ Non-BOI ก็ได้)

- ตัดบัญชีโดยใช้ใบขนสินค้าขาออกโอนย้าย

4. B อยู่ใน Free Zone (B จะเป็น BOI หรือ Non-BOI ก็ได้)

- ตัดบัญชีโดยใช้ใบขนสินค้าขาออกของ A

แต่ถ้า B เป็นบริษัทที่ใช้สิทธิตามมาตรา 19 ทวิ ของกรมศุลกากร จะใช้ใบแนบท้ายใบขนขาออก เป็นหลักฐานในการขอคืนอากรจากกรมศุลกากร

บริษัทต้องการขอเพิ่มเติมสิทธิการนำเข้าเครื่องจักรตามประกาศ ประกาศ กกท ที่ 2/2557 ต้องใช้แบบฟอร์มใดในการขอสิทธิ์ดังกล่าว (13 ธ.ค. 2564)
ให้ยื่นแก้ไขโครงการตามแบบคำขออนุญาตแก้ไขโครงการ (F PA PC 01) 

ขออภัยครับ ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ในภาษาที่ท่านเลือก !

Sorry, There is no information support your selected language !

Download และ ติดตั้งโปรแกรมอ่าน PDF

Download PDF Reader

Site map