Chat
x
toggle menu
toggle menu

Select Groups

All Group
  • All Group
  • นโยบายเเละมาตรการพิเศษในการส่งเสริม
  • การขอรับการส่งเสริมการลงทุน
  • การออกบัตรส่งเสริม
  • การเปิดดำเนินการ
  • การเเก้ไขโครงการ
  • การดำเนินการอื่น ๆ
  • การรายงานความคืบหน้าโครงการ (e-Monitoring)
  • การปฏิบัติหลังการได้รับการส่งเสริม
  • การยกเลิกบัตรส่งเสริม
  • เรื่องทั่วไป
  • การใช้สิทธิด้านที่ดิน
  • การใช้สิทธิด้านเครื่องจักร
  • การใช้สิทธิด้านช่างฝีมือ/ต่างด้าว
  • การใช้สิทธิด้านวัตถุดิบ
  • ประเภทกิจการ - การแพทย์
  • การใช้สิทธิด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ประเภทกิจการ - รถยนต์ไฟฟ้า
  • ประเภทกิจการ - ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (IBC) IPO และ TISO
  • ประเภทกิจการ - โรงแรม
  • ประเภทกิจการ - ผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ
  • ประเภทกิจการ - กิจการผลิตเครื่่องจักร อุุปกรณ์และชิ้นส่วน
  • ประเภทกิจการ - กิจการศูนย์กระจายสินค้าระหว่า ประเทศด้วยระบบที่่ทันสมัย (IDC)
กรณีที่บริษัทนำอะไหล่ของเครื่องจักรส่งไปซ่อมต่างประเทศ อะไหล่ที่ส่งซ่อมนำเข้ามาครั้งแรกพร้อมกับเครื่องจักรหลัก with accessories ถ้าเราจะส่งอะไหล่ไปซ่อม ตอนนำเข้าในใบขนขาเข้าราคาที่สำแดง ต้องเป็นราคาค่าซ่อมใช่หรือไม่ เนื่องจากตอนเราส่งออกไปซ่อม ราคาที่สำแดงในใบขนจะเป็นราคาของสินค้า แต่เวลาที่เรานำเข้า ในใบขนขาเข้าราคาที่สำแดงเป็นราคาค่าซ่อมถูกต้องหรือไม่
การนำอะไหล่ที่ส่งไปซ่อม กลับเข้ามาในประเทศ

- จะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าของอะไหล่ ตามสิทธิใบสุทธินำกลับที่ได้ทำไว้ก่อนส่งออก

- จะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าของค่าซ่อม โดยการใช้สิทธิที่ได้รับจาก BOI

วิธีการทำใบขนสินค้า ขอให้สอบถามกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ กรมศุลกากร (หรือ บ.ตัวแทนออกของ)

กรณีที่สิทธิ์นำเข้าเครื่องจักรหมดแล้ว ตอนส่งไปซ่อมและนำกลับเข้ามา ตอนนำเข้าเสียภาษีหรือไม่ (ระยะการนำเข้าเครื่องจักรหมดแล้ว) ส่งคืน-ส่งซ่อม และการส่งคืน-ส่งซ่อม กรณีที่สิทธิ์การนำเข้าเครื่องจักรหมดแล้ว เวลานำเข้าจะเสียภาษีหรือไม่ และต้องทำสั่งปล่อยในระบบ EMT หรือไม่
1.การนำเครื่องจักรที่ส่งซ่อมกลับเข้ามาในประเทศ

หากวันที่นำกลับเข้ามา สิทธิการยกเว้นอากรตามมาตรา 28 สิ้นสุดแล้ว จะไม่สามารถยื่นสั่งปล่อยเครื่องจักรที่นำกลับเข้ามาได้ บริษัทจึงต้องชำระภาษีอากรค่าซ่อม ส่วนอากรเครื่องจักรจะได้รับการยกเว้นตามสิทธิใบสุทธินำกลับ

2.กรณีตามข้อ 1 นี้ สถานะเครื่องจักรจะยังคงค้างเป็น

"ส่งซ่อม" ซึ่งคงต้องค้างสถานะไว้ตามนั้น ไม่ควรแก้ไขสถานะเป็น "ส่งคืน" เพราะจะไม่ตรงกับข้อเท็จจริง
ต้องยื่นสูตรการผลิตเพื่อตัดบัญชีเช่นเดียวกับกรณีวัตถุดิบรึเปล่า
ต้องยื่นไว้ในสูตรการผลิตด้วย และต้องตัดบัญชีเช่นเดียวกับวัตถุดิบ
การแก้ไขกรรมวิธีการผลิต นำไปว่าจ้างผู้อื่นทำ การแก้ไขกรรมวิธีการผลิตนำไปว่าจ้างผู้อื่นทำ ในขั้นตอนการผลิตหลักของโครงการการสามารถทำได้หรือไม่

โดยปกติการนำขั้นตอนกรรมวิธีหลักไปว่าจ้างผู้อื่นผลิตจะทำไม่ได้ เพราะอาจทำให้โครงการขาดสาระสำคัญ และอาจทำให้มูลค่าเพิ่มของโครงการไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การอนุมัติให้การส่งเสริม รวมถึงในบางกิจการ เช่น กิจการผลิตผลิตภัณฑ์/ชิ้นส่วนพลาสติก มีแนวทางพิจารณาว่าจะต้องเป็นการฉีดพลาสติกขึ้นเองในโรงงานเท่านั้น เป็นต้น

กรณีที่มีความจำเป็นต้องนำขั้นตอนหลักไปว่าจ้างผลิต เช่น เครื่องจักรเสีย หรือเป็นการว่าจ้างชั่วคราว หรือจำกัดจำนวน อาจยื่นขอผ่อนผันกรรมวิธีการผลิตเป็นการชั่วคราวได้ เช่น ขอทำการว่าจ้างในขั้นตอน ... เป็นเวลา .... เดือน (หรือจำนวน .... ชิ้น) เป็นต้น

แต่จะได้รับอนุมัติหรือไม่ ขึ้นอยู่กับเหตุผลความจำเป็นของบริษัท และแนวทางการพิจารณาของ BOI

1.สาระสำคัญของโครงการคือขั้นตอนการผลิตที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงาน ตามหนังสือแจ้งมติ ใช่หรือไม่ 2.มูลค่าเพิ่มของโครงการคือรายได้รวมของโครงการที่ได้รับสิทธิประโยชน์จาก BOI ใช่หรือไม่ 3.กรณีการนำขั้นตอนบางส่วนไปว่าจ้างผู้อื่นให้ผลิตให้ ทำให้มูลค่าเพิ่มของโครงการต่ำกว่า 20% ของรายได้ จะไม่อนุญาตให้แก้ไขกรรมวิธีการผลิต รบกวนอธิบายเพิ่มเติมในส่วนนี้ด้วยได้ไหม เพราะตีความไม่ถูกต้องเท่าไร

ช่วยให้ข้อมูลด้วยว่า บริษัทได้รับส่งเสริมในกิจการอะไร ผลิตสินค้าอะไร กรรมวิธีผลิตที่ได้รับอนุมัติระบุไว้อย่างไรและจะนำขั้นตอนใดไปทำการว่าจ้าง โดยจะว่าจ้างเป็นบางส่วนหรือทั้งหมด และเป็นการว่าจ้างชั่วคราวหรือตลอดไป จะตอบคำถามให้เข้าใจได้ง่ายกว่าการอธิบายหลักเกณฑ์การพิจารณา

การขอเพิ่มชื่อรองของวัตถุดิบ กรณีพิกัดศุลกากรไม่เหมือนกันสามารถทำได้รึเปล่า เช่น โครงตัวอย่างทำจากพลาสติก และโครงตัวอย่างที่ทำมาจากสแตนเลสหรืออลูมิเนียม สามารถอยู่ในรายการชื่อหลักที่เป็น โครงตัวอย่าง และชื่อรองขอเป็นโครงตัวอย่างที่ทำมาจากพลาสติกและอลูมิเนียมหรือสแตนเลส ได้หรือไม่

ชื่อรองที่อยู่คนละพิกัดกัน จะขอภายใต้ชื่อหลักเดียวกันก็ได้ ส่วนการพิจารณา จะขึ้นอยู่กับรายละเอียดของโครงการนั้นๆ

สอบถามว่า บริษัทสามารถส่งแม่พิมพ์ไปซ่อมที่ต่างประเทศ (เป็นครั้งที่ 2) จะเป็นตัวเดียวกันกับที่เคยส่งออกไปซ่อมแล้วได้หรือไม่ ในกรณีที่ได้ ไม่ทราบว่า มีการจำกัดจำนวนในการส่งซ่อมหรือไม่ เพราะแม่พิมพ์ของทางบริษัทสามารถซ่อมได้สูงสุดถึง 4 ครั้ง วันจันทร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2560
จะส่งไปซ่อมกี่ครั้งก็ได้ ไม่มีข้อจำกัด โดยแต่ละครั้งให้อ้างเลขที่อนุมัติล่าสุดที่สั่งปล่อยนำกลับเข้ามา
สำหรับการ "อ้างเลขที่อนุมัติล่าสุดที่สั่งปล่อยนำกลับเข้ามา" นั้น ให้ระบุลงในระบบ eMT Online อาจจะเป็นช่องหมายเหตุ ใช่หรือไม่
หมายถึง ในการจะทำคำร้องในระบบ emt ให้อ้างอิงเลขอนุมัติล่าสุดที่นำเข้าแม่พิมพ์นั้น
ทางบริษัทฯ ได้ต้องการจะเพิ่มเติมชื่อรองบัญชีปริมาณสต็อก เนื่องจาก Vendor ร้องขอให้เพิ่มเติมเพื่อให้สอดคล้องกับการตัดบัญชี ดังนั้นทางบริษัทฯ ต้องยื่นแบบฟอร์ม BOI ชุดไหนและต้องแนบเอกสารเพิ่มเติมอะไรบ้าง

การเพิ่มชื่อรอง ให้ยื่นเรื่องต่อ BOI โดยใช้เอกสารคือ

หนังสือนำส่ง ใช้หัวจดหมายบริษัท (ไม่มีแบบฟอร์ม)

แบบการขอใช้สิทธิประโยชน์ ม.36 (F IN RM-13)

ใบสรุปแก้ไขเพิ่มเติมชื่อวัตถุดิบ (ตัวอย่าง 17)

นอกจากนี้ บางสำนักจะให้บริษัทเตรียมเอกสารอนุมัติไปให้ด้วย จึงควรตรวจสอบกับสำนักนั้นๆ อีกครั้งหนึ่ง เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว จึงยื่นบันทึกฐานข้อมูลที่ IC ต่อไป

ประเภท 4.2 กิจการผลิตเครื่องจักร อุปกรณ์ และชิ้นส่วน ผลิตอุปกรณ์ Cutting Tools กรรมวิธีการผลิตคือ 1.นำวัตถุดิบ TUNGSTEN CARBIDE มาเจียรผิวให้เรียบ ตัด เจียรร่อง เป็นชิ้นงานย่อยตามขนาดที่กำหนด และทำความสะอาด 2. นำ SINTERED มาเจียรหยาบแล้วนำเข้าเตาอบเพื่อเพิ่มอุณหภูมิ ใช้ลวดเงิน แต้มเชื่อมประกอบกับTUNGSTEN CARBIDE เข้าด้วยกัน 3. ตัดขอบส่วนเกินหลังการเชื่อม 4. เจียรหยาบ เจียรละเอียดพร้อมทั้งทำมุมโค้งที่หัวตัด 5. ประทับตราลงบนชิ้นงาน ตรวจสอบขนาดในทุกทิศทาง 6. ปิดฉลาก บรรจุและจัดส่งไปยังลูกค้า ขั้นตอนที่จะนำไปว่าจ้างคือ ขั้นตอนที่ 4 และเป็นขั้นตอนหลักของโครงการ โดยจะแก้ไขว่าบางรุ่น นำไปว่าจ้างผู้อื่นเจียรหยาบ เจียรละเอียดพร้อมทั้งทำมุมโค้งที่หัวตัด (ซึ่งคิดประมาณ 30% ของกำลังการผลิต) เป็นการว่าจ้างตลอดไปจะทำได้หรือไม่

กรณีที่สอบถาม หากในขั้นยื่นขอรับส่งเสริมบริษัทเสนอว่าจะมีกรรมวิธีการผลิตเฉพาะขั้นตอนที่ 1-3 และ 5-6 โดยขั้นตอนที่ 4 จะว่าจ้างผู้อื่นผลิต ก็เข้าใจว่าน่าจะให้การส่งเสริมได้ตั้งแต่ต้น เนื่องจากมีกรรมวิธีการผลิตที่ทันสมัย และน่าจะมีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่า 20%

ดังนั้น แม้ว่าจะขอแก้ไขกรรมวิธีขั้นที่ 5 เป็นการว่าจ้างบางรุ่นก็ไม่น่าจะทำให้สาระสำคัญของโครงการลดลงต่ำกว่าเกณฑ์ที่จะให้การส่งเสริม จึงน่าจะอยู่ในข่ายที่อนุมัติได้

บริษัทได้รับสิทธิ์ทาง BOI การรับจ้างผลิต โดยได้รับอนุมัติ ขั้นตอนการผลิตดังนี้ 1. จัดหาชิ้นส่วน 2. นำมา Machining ให้ได้ตามรูปแบบ 3. บางชิ้นงานนำไปว่าจ้างผู้ชุบแข็ง 4. นำชิ้นงานที่ได้มาเจียรตกแต่งชิ้นงานตามแบบ ตรวจสอบ 5. บางผลิตภัณฑ์จะนำชิ้นงานที่ได้มาประกอบเข้าด้วยกันตามแบบ แต่บริษัทมีงานรับจ้างผลิตที่ทำไม่ครบตามขั้นตอนที่ขออนุมัติ ขอสอบถามว่าสามารถรับทำแบบ Non-BOI ได้หรือไม่ จากการตรวจสอบเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตเป็นเครื่องจักรที่ไม่ใช้สิทธิ์ และต้องทำการยื่นขออนุญาตหรือไม่

กรณีที่สอบถาม หากทำการรับจ้างไม่ครบตามกรรมวิธีที่ได้รับอนุมัติ โดยจะถือว่าส่วนนี้เป็นการทำแบบ Non-BOI นั้นน่าจะเป็นเรื่องที่ยากในการควบคุม เช่น

  • เป็นบริษัทต่างชาติหรือไม่ (การรับจ้างจะต้องยื่นขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า แต่จะครอบคลุมเฉพาะการรับจ้างตามโครงการที่ได้รับส่งเสริมเท่านั้น หากไม่เป็นส่วนที่ได้รับส่งเสริมจะต้องขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว)
  • ประกอบกิจการบนที่ดินที่ถือกรรมสิทธิ์ตามมาตรา 27 หรือไม่ (ตามเงื่อนไขต้องใช้ที่ดินตามมาตรา 27 เพื่อประกอบกิจการที่ได้รับส่งเสริมเท่านั้น)

คำแนะนำคือ ควรยื่นขอแก้ไขกรรมวิธีการผลิต เพื่อให้ครอบคลุมขั้นตอนการรับจ้างผลิตที่บริษัทต้องการ

บริษัทฯ มี MML ทั้งหมด 11 กรุ๊ป ต่อมาทางกรมศุลกากรประกาศลดอัตราพิกัดอากรขาเข้าเป็น 0% ซึ่งมีกรุ๊ปที่เข้าข่ายลดเหลือ 0% คือกรุ๊ปที่ 4 1กรุ๊ปที่4 ยังมียอดวัตถุดิบคงเหลือ อีก ประมาณ 100 ชิ้น ต้องทำอย่างไร 2.ถ้าจะทำการแก้ไข MML และ แก้ไขสูตรการผลิต (30 สูตร) ต้องทำอย่างไร 3. ถ้ากรุ๊ปที่ 4 เป็น 0% สามารถลบออกแล้วเอากรุ๊ปที่ 5 ขึ้นมาแทนกรุ๊ปที่ 4 ได้เลยหรือเปล่า ถ้าไม่ได้ต้องทำอย่างไร
วัตถุดิบมีอากรขาเข้าเป็น 0 แต่หากบริษัทจะยังคงใช้สิทธิสั่งปล่อยตามเดิม ก็สามารถทำได้

- VAT จะยังคงได้รับยกเว้นตามเดิม (ที่ถูกต้องคือ ค้ำประกัน VAT และถอนประกัน)

- MML และสูตร ไม่ต้องแก้ไขอะไร เพราะยังคงใช้สิทธิสั่งปล่อยเหมือนเดิม

แต่หากบริษัทจะไม่ใช้สิทธิสั่งปล่อยวัตถุดิบที่มีอากรเป็น 0 อีกต่อไป

1. วัตถุดิบคงเหลือ ให้หาวิธีเคลียร์ยอดคงเหลือให้เป็น 0 เพราะยังคงมีภาระภาษีอากรย้อนหลัง ณ วันนำเข้า ค้างอยู่

2. ไม่ต้องแก้ไข MML แต่ให้แก้ไขเฉพาะสูตรการผลิตเป็น revision ใหม่ ซึ่งไม่มีการใช้วัตถุดิบกรุ๊ปที่ 4

3. การตัดกรุ๊ป 4 ออก แล้วเลื่อนกรุ๊ป 5 มาเป็นกรุ๊ป 4 แทน => ทำไม่ได้ ให้ปล่อยกรุ๊ปที่ 4 ค้างไว้อย่างนั้น

ราคาแม่พิมพ์ (Mold) ที่จะส่งกลับไปซ่อมยังต่างประเทศ ราคาใน Invoice จะต้องตรงตามราคาที่นำเข้ามาหรือไม่ เพราะถ้าใช้ราคาตาม Invoice ที่นำเข้าจะเสียภาษีสูงมาก (ส่งกลับญี่ปุ่น)
หากทำใบสุทธินำกลับ ตอนที่นำกลับเข้ามา จะไม่เสียอากรขาเข้าสำหรับแม่พิมพ์ดังกล่าว และสามารถใช้สิทธิยกเว้นอากรสำหรับค่าซ่อมแม่พิมพ์จาก BOI

ส่วนการสำแดงราคาในอินวอยซ์/ใบขนสินค้า น่าจะสอบถามกับชิปปิ้งหรือกรมศุลกากร

ในกรณีที่ไม่ใช่เครื่องจักรหลัก ยื่นเรื่องส่งซ่อมต่างประเทศ (นอกระบบ) ใช้ระยะเวลาพิจารณาอนุมัติกี่วัน
- การส่งเครื่องจักรออกไปต่างประเทศซ่อมแซม ใช้เวลาพิจารณา 1 วันทำการ

- การส่งเครื่องจักรออกไปต่างประเทศซ่อมแซม กรณีเป็นเครื่องจักรหลักและโครงการสิ้นสุดสิทธินำเข้าเครื่องจักรแล้ว กำหนดเวลาพิจารณาไม่เกิน 15 วันทำการ

เครื่องจักรในระบบและนอกระบบ ใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน
บริษัทฯ ได้รับบัตรส่งเสริมใหม่ประเภท 4.5.2 กิจการผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์ (Die Parts) ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีอากรวัตถุดิบ มาตรา36(1) อยากปรึกษาว่าถ้าไม่ใช้สิทธิ์ BOI ในการนำเข้าวัตถุดิบ แต่ใช้สิทธิ์ประโยชน์ JTEPA แทน ไม่ใช้ BOI เลย ดังนั้นจะต้องทำ max stock หรือว่าลงทะเบียนการใช้งานระบบ RMTS หรือเปล่า และต้องทำอะไรบ้างเกี่ยวกับวัตถุดิบ จะต้องรายงาน BOI หรือเปล่า และต้องทำอย่างไรบ้าง

บริษัทที่ได้รับส่งเสริมจาก BOI จะใช้สิทธิประโยชน์ที่ได้รับตามบัตรส่งเสริมหรือไม่ก็ได้

หากใช้สิทธิ จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขว่าด้วยการใช้สิทธินั้นๆ อย่างถูกต้อง เช่น หากใช้สิทธิมาตรา 36(1) ก็จะต้องใช้เพื่อผลิตส่งออก โดยจะต้องขอ Max Stock ขอสั่งปล่อย ขอสูตรการผลิต ขอตัดบัญชี ขอชำระภาษีส่วนสูญเสียที่ไม่ได้ส่งออก เป็นต้น แต่หากไม่ใช้สิทธิ ก็ไม่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขใดๆ ว่าด้วยการใช้สิทธินั้นๆ

กรณีที่สอบถาม บริษัทเลือกที่จะไม่ใช้สิทธิวัตถุดิบมาตรา 36(1) แต่จะใช้สิทธิทางอื่น คือ JTEPA จึงไม่ต้องลงทะเบียนใช้ระบบ RMTS และไม่ต้องขอ Max Stock หรือสูตรการผลิตใดๆ กับ BOI

สรุปคือ ในส่วนวัตถุดิบไม่ต้องมีการขออนุญาตใดๆจาก BOI แต่ในส่วนอื่น เช่น กรรมวิธีการผลิต ฯลฯ ยังคงต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ได้รับส่งเสริม

บริษัทฯ เป็นประเภทกิจการ 4.2 ผลิตผลิตภัณฑ์ Cutting Tools รวม 3 บัตรส่งเสริม แต่หลายผลิตภัณฑ์ อยากทราบการคำนวณกำลังการผลิตของโครงการ ดังนี้ 1.บัตร 1 ผลิตผลิตภัณฑ์ A1 และ A2 มีหลาย Model ขั้นตอนคือ นำชิ้นงานไป Machining > ลับคม > บางชิ้นพ่นทราย > ว่าจ้างผู้อื่นชุบแข็ง > นำมาประกอบกับชิ้นส่วนที่จัดหามา > ประทับตรา ตรวจสอบ 2.บัตร 2 ผลิตผลิตภัณฑ์ B ขั้นตอนคือ นำวัตถุดิบไปตรวจสอความหนา > เจียรผิวด้านข้าง > บางชิ้นเจียรผิวเซาะร่อง > บางชิ้นขัดผิวให้มัน > ทำ Marking ทำความสะอาด 3.บัตร 3 ผลิตผลิตภัณฑ์ C ขั้นตอนคือ นำวัตถุดิบมาเจียรให้ได้ตามขนาด > ทำร่องเป็นเกลียวดอกสว่าน > เจียรปลาย > ลับคม > ประทับตรา ตรวจสอบ ในแต่ละบัตรฯ จะมีขั้นตอนที่ไม่เหมือนกัน ทางบริษัทต้องคำนวณกำลังการผลิตอย่างไร คำนวณจากกำลังการผลิตของเครื่องจักรตามขั้นตอนการผลิตนั้นๆ ใช่หรือไม่ แล้ว Bottle neck คือขั้นตอนใด

บัตรที่ 1 ขั้นตอนหลักที่จะนำมาคำนวณกำลังผลิตของโครงการคือ ขั้นตอน Machining

บัตรที่ 2 ขั้นตอนหลักที่จะนำมาคำนวณกำลังผลิตของโครงการคือ ขั้นตอนการเจียรผิว

บัตรที่ 3 ขั้นตอนหลักที่จะนำมาคำนวณกำลังผลิตของโครงการคือ ขั้นตอนการเจียร

เครื่องจักรแต่ละเครื่องจะต้องใช้เฉพาะในโครงการนั้นๆ เท่านั้น เว้นแต่จะเป็นเครื่องจักรที่ไม่มีผลต่อกำลังผลิต เช่น เครื่องตรวจสอบ เครื่องบรรจุ ฯลฯ สามารถขอใช้เครื่องจักรร่วมกับโครงการอื่นได้ การคำนวณกำลังผลิตของแต่ละบัตรส่งเสริม จะต้องคำนวณจากเครื่องจักรที่นำเข้าโดยใช้สิทธิของโครงการนั้นๆ และบันทึกเป็นทะเบียนสินทรัพย์ของโครงการนั้นๆ เท่านั้น

กรณีที่บัตรส่งเสริมมีผลิตภัณฑ์หลายโมเดล สามารถเลือกโมเดลหลัก (เช่น โมเดลที่มีการผลิตจำหน่ายมากที่สุด) มาใช้เป็นผลิตภัณฑ์ที่จะคำนวณกำลังผลิตของโครงการได้ โดยจะเลือกเพียง 1 โมเดลหรือมากกว่าก็ได้

เรื่อง กำลังการผลิตจริงต่ำกว่าที่ระบุในบัตรส่งเสริม กรณีที่บริษัทเปิดบัตรทั้งหมด 4 บัตรครบแลัว เเละใช้สิทธิประโยชน์ทั้งหมดเเล้ว ต่อมา ณ ปัจุจบัน กำลังการผลิตลดลงจากที่เคยขอเปิดดำเนินการไป เพราะยอดการผลิตลดลง จำเป็นต้องไปขอลดกำลังการผลิตที่บีโอไอหรือไม่ หากแก้ไขลดกำลังการผลิต ต้องไม่ต่ำกว่ากี่เปอร์เซนต์ และถ้าไม่เเก้ไขบัตรจะผิดเงื่อนไขหรือไม่

กรณีที่ได้รับใบอนุญาตเปิดดำเนินการครบตามโครงการแล้ว แต่ต่อมายอดการผลิตลดลง เนื่องจากคำสั่งซื้อลดลง หรือกำลังผลิตลดลงจากประสิทธิภาพเครื่องจักรด้อยลง ไม่ต้องขอลดขนาดกิจการ

กรณีที่ต้องขอลดขนาดกิจการมีกรณีเดียว คือการขอจำหน่ายเครื่องจักรหลักที่ทำให้กำลังผลิตลดลงเกินกว่า 20% ของกำลังผลิตตามบัตรส่งเสริม โดยไม่มีการซื้อเครื่องจักรใหม่มาทดแทน

กรณีบริษัทได้รับการส่งเสริมประเภทกิจการ 7.6 ITC ซื้อชิ้นส่วนมาตรวจสอบ บรรจุ ส่งขาย อย่างนี้ต้องใช้สิทธิตามมาตรา 36 (1) หรือ 36 (2)
ของที่นำเข้า มีการผ่านขบวนการตามที่ได้รับส่งเสริม จึงใช้สิทธิมาตรา 36(1)
ในกรณีส่งคืนเครื่องจักร (นอกระบบ) ที่ไม่ใช่เครื่องจักรหลัก ใช้เวลาพิจารณากี่วัน
การส่งคืนเครื่องจักร (ในระบบ/นอกระบบ) ก็ใช้เวลาพิจารณา 1 หรือ 15 วัน เช่นเดียวกับกรณีส่งซ่อม
การส่งเครื่องจักรหลักไปต่างประเทศ หลังเปิดดำเนินการ 1 กรณีนี้ยื่นผ่าน eMT online ได้เลยใช่ไหมค่ะ ระยะเวลาพิจารณาอนุมัติกี่วัน 2 ต้องยื่นแก้ไขโครงการด้วยหรือไม่ 3. การตัดบัญชี ยังคงต้องยื่นผ่านเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานส่งเสริมการลงทุน หรือยื่นผ่าน eMT online ได้เลย
การขอส่งเครื่องจักรหลักไปต่างประเทศ

1. ต้องยื่นผ่านระบบ eMT โดยหากสิ้นสุดระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรแล้ว ระยะเวลาพิจารณา 15 วันทำการ

2. หากทำให้กำลังผลิตลดลงเกินกว่า 20% หรือทำให้กรรมวิธีการผลิตไม่ครบถ้วน ต้องยื่นแก้ไขโครงการก่อน

3. การตัดบัญชีเครื่องจักรหลังจากส่งออกไปต่างประเทศแล้ว ให้ยื่นบนระบบ eMT

ขออภัยครับ ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ในภาษาที่ท่านเลือก !

Sorry, There is no information support your selected language !

Download และ ติดตั้งโปรแกรมอ่าน PDF

Download PDF Reader

Site map