ตาม พรบ ส่งเสริมการลงทุน มาตรา 55 บีโอไอมีอำนาจสั่งเพิกถอนสิทธิและประโยชน์เกี่ยวกับภาษีอากรทั้งหมดสำหรับของที่นำเข้า โดยให้ถือว่าผู้ได้รับการส่งเสริมไม่เคยได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีอากรมาแต่ต้น และผู้ได้รับการส่งเสริมจะต้องเสียภาษีอากรตามสภาพของราคาและอัตราภาษีอากร ณ วันนำเข้า
ซึ่งหมายความว่า แม้เครื่องจักรที่นำเข้ามา จะใช้งานไปแล้ว 10 ปี ก็ตาม แต่หากปฏิบัติผิดเงื่อนไขด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือด้วยเหตุผลอื่นใด บีโอไอมีอำนาจสั่งเพิกถอนสิทธิทั้งหมดก็ได้ ซึ่งจะทำให้บริษัทต้องเสียภาษีอากรเครื่องจักรย้อนหลัง ณ วันนำเข้า คือเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ซึ่งจะเป็นมูลค่าภาษีอากรจำนวนมหาศาล
ดังนั้น บีโอไอจึงออก ประกาศ สกท ที่ ป.3/2538 กำหนดอายุของเครื่องจักรที่นำเข้ามาโดยใช้สิทธิ์ยกเว้นภาษี ให้มีอายุ 5 ปี ซึ่งหากในช่วงเวลานี้ ไม่ได้ฝ่าฝืนหรือปฏิบัติผิดเงื่อนไข ก็จะปลอดจากภาระภาษีอากร แต่ทั้งนี้ ต้องยื่นเรื่องให้บีโอไอตรวจสอบเป็นรายๆไป เมื่อบีโอไอตรวจสอบว่าบริษัทปฏิบัติตามเงื่อนไขถูกต้อง ก็จะตัดบัญชีเพื่อปลอดภาระภาษีให้กับเครื่องจักรนั้นๆ การตัดบัญชีเครื่องจักรเพื่อปลอดภาระภาษี จึงเสมือนเป็นหลักประกันเบื้องต้นว่า เครื่องจักรนั้นจะไม่มีการถูกเรียกเก็บภาษีอีก
ยกตัวอย่าง เช่น เมื่อครบ 5 ปี และตัดบัญชีเพื่อปลอดภาระภาษีไปแล้ว แต่ในปีที่ 6 บริษัทฝ่าฝืนเงื่อนไข เช่น นำเครื่องจักรไปให้ผู้อื่นยืมใช้ หรือนำเครื่องจักรไปผลิตสินค้าอื่นที่ไม่ได้รับการส่งเสริม บีโอไอก็ไม่สามารถเรียกเก็บภาษีเครื่องจักรนั้นได้ (แต่อาจใช้มาตรการอื่น เช่น เพิกถอนการให้การส่งเสริม เป็นต้น)
การตัดบัญชีเครื่องจักรเพื่อปลอดภาระภาษีเมื่อครบ 5 ปีนี้ ไม่ใช่มาตรการบังคับ จะทำหรือไม่ก็ได้ แต่เป็นการลดภาระการตรวจสอบในอนาคต เพราะหากปล่อยทิ้งไว้นานเกินไป แล้วพบว่ามีการปฏิบัติผิดเงื่อนไข ก็จะเป็นภาระของทั้งบีโอไอและผู้ประกอบการในการต้องตรวจสอบเอกสารย้อนหลังกลับไปหลาย ๆ ปี เครื่องจักรในที่นี้ รวมถึงเครื่องจักร อุปกรณ์ แม่พิมพ์ และอื่นๆ ที่นำเข้ามาโดยใช้สิทธิมาตรา 28 และ 29
- บัตรส่งเสริมยังเป็นฉบับเดิม
- Project Code ในระบบ RMTS ยังเป็นรหัสโครงการเดิม
- Max Stock และยอดคงเหลือ (balance) ของวัตถุดิบที่นำเข้าโดยใช้สิทธิมาตรา 36 ยังเป็นเหมือนเดิม
- ยังสามารถซื้อขายวัตถุดิบ ชิ้นส่วนชนิดเดิมได้ (เว้นแต่ไปแก้ไขขอบข่ายธุรกิจจนทำการซื้อขายสินค้าเดิมไม่ได้)
ดังนั้น หากมียอดวัตถุดิบคงเหลือในบัญชี บริษัทจะต้องส่งไปต่างประเทศและตัดบัญชีจน balance เป็น 0 มิฉะนั้นจะมีภาระภาษี
ข้อ 3 หน้า 3/7 รายละเอียดเครื่องจักรที่ติดตั้งในโครงการของผลิตภัณฑ์ตามบัตรส่งเสริม ให้กรอกข้อมูลเครื่องจักรที่ใช้ในโครงการตามบัตรส่งเสริม เฉพาะที่มีในทะเบียนสินทรัพย์ ณ ปัจจุบันแม้จะเป็นโครงการได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการเต็มโครงการไปแล้วก็ตาม
ข้อ 5 หน้า 5/7 การคำนวณกำลังผลิตของผลิตภัณฑ์ตามบัตรส่งเสริม ให้แสดงการคำนวณกำลังผลิตจากเครื่องจักรที่มีอยู่จริงตามข้อ 3
1. ในเรื่องที่ขอแก้ไข ให้ใส่ว่า ขอแก้ไขโครงการเพื่อขอใช้เครื่องจักรในโครงการ ถูกต้องแล้ว
2. เหตุผลที่ขอแก้ไข ให้ระบุไปตรงๆได้เลยว่า เพื่อลดภาระการลงทุน (หรือลดต้นทุนการผลิต)
3. หน้า 3/5 เป็นเรื่องกรรมวิธีผลิตและวัตถุดิบ ไม่จำเป็นต้องใส่ / หรือใส่ว่า -ไม่เปลี่ยนแปลง- ก็ได้
4. หน้า 4/5 ด้านการเงิน ต้องกรอกด้วย เพราะราคาเครื่องจักรเก่าจะถูกลงกว่าเดิม ดังนั้น ในช่องโครงการเดิม ให้ใส่ข้อมูลตามคำขอฯ ส่วนในช่องโครงการที่ขอแก้ไข ให้ใส่มูลค่าเครื่องจักรที่ลดลง (โดยใส่เป็นค่าลบก็ได้) และในช่องรวมทั้งสองโครงการ ให้ใส่ผลรวมของทั้ง 2 ช่อง ซึ่งจะลดลงกว่าที่เคยยื่นคำขอไว้ และหากเริ่มผลิตแล้ว ก็ต้องใส่ข้อมูลเรื่องผลดำเนินการที่ผ่านมาด้วย
5. หน้า 5/5 ไม่ต้องกรอกอะไร นอกจากนี้ ให้แนบตารางรายการเครื่องจักรเก่าที่จะนำเข้า โดยระบุรายการ จำนวน ปีที่ผลิต มูลค่า และประเทศที่จะนำเข้าด้วย
1. การขอหยุดกิจการชั่วคราวเกินกว่า 2 เดือน ปกติจะต้องได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้วเสียก่อน จึงจะอนุญาตให้หยุดกิจการได้
2. กรณียังไม่ได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการ แต่จำเป็นต้องหยุดดำเนินการชั่วคราว โดยยังคงมีแผนการจะผลิตต่อที่ชัดเจน (เช่น การหยุดเพื่อซ่อมเครื่องจักรหรือโรงงาน) จะต้องขออนุญาตเช่นเดียวกับข้อ 1
3. กรณียังไม่ได้เปิดดำเนินการ และจะหยุดดำเนินการโดยไม่มีแผนการที่แน่ชัดว่าจะดำเนินการต่อหรือไม่/เมื่อไร น่าจะไม่เข้าข่ายที่จะขออนุญาตหยุดดำเนินการ หากเข้าข่ายข้อ 3 ควรขอเปิดดำเนินการโดยลดขนาดกิจการเหลือเท่าที่มีกำลังผลิตจริง จากนั้นจึงยื่นขอหยุดกิจการชั่วคราว
ให้ยื่นขอเพิ่มลักษณะงานต่อ BOI (ระบบ e-expert) และเมื่อได้รับอนุมัติแล้ว จึงนำเอกสารหลักฐานไปติดต่อแรงงาน เพื่อขอแก้ไขลักษณะงานในใบอนุญาตทำงาน
ใช้วิธีคำนวณสัดส่วนตามบัญญัติไตรยางศ์เลย
ช่วงแรก (1 ต.ค. 57 - 19 มิ.ย. 58) เท่ากับ X วัน มีกำลังผลิต 80,000 ตัน/ปี จึงสามารถใช้สิทธิได้ไม่เกิน 80,000 x X / 365 ตัน
ช่วงหลัง (20 มิ.ย. 58 - 30 ก.ย. 58) เท่ากับ Y วัน มีกำลังผลิต 90,000 ตัน/ปี จึงสามารถใช้สิทธิได้ไม่เกิน 90,000 x Y / 365 ตัน
ส่วนรอบปีถัดไป จึงจะใช้สิทธิได้เต็มไม่เกิน 90,000 ตัน
ถ้ามีหลายบัตรส่งเสริมและผลิตภัณฑ์ต่างกัน จะรวมออกใบกำกับภาษีฉบับเดียวกันก็ได้ เพราะสามารถแยกได้ชัดเจนอยู่แล้ว แต่ถ้าผลิตภัณฑ์เหมือนกัน (บัตรส่งเสริมคนละฉบับ) แล้วมารวมออกใบกำกับภาษีฉบับเดียวกัน สุดท้ายก็ต้องไปพิสูจน์รายละเอียดกับสรรพากรอยู่ดี ซึ่งน่าจะเป็นการสร้างภาระเพิ่มเติมในภายหลัง จึงน่าจะแยกกันตามบัตรส่งเสริม
ประกาศ BOI ที่ ป.2/2558 ผ่อนผันให้โครงการที่ได้รับส่งเสริม ใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือได้ โดยต้องไม่ขัดต่อกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง จนถึงสิ้นปี 2559 ผู้ได้รับส่งเสริมจึงไม่ต้องแจ้งหรือขออนุญาตจาก BOI แต่ต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงแรงงาน
สิทธิประโยชน์ไม่สามารถหยุดเวลาได้ คือจะนับต่อเนื่องต่อไปจนครบกำหนด ข้อ 1-3 ไม่ใช่ให้ทำตามขั้นตอน แต่เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาว่าเข้าข่ายข้อไหน
ข้อมูลที่ให้มามีน้อยไป เข้าจะใจเป็นกรณีของข้อ 3 ซึ่งไม่น่าจะอยู่ในข่ายจะขอหยุดกิจการ ดังนั้น หากเปิดดำเนินการโดยการลดขนาดกิจการไม่ได้ น่าจะต้องขอยกเลิกโครงการ และชำระภาษีคืนทั้งหมด
การยื่นเป็นภาษาอังกฤษ จะยื่นได้เฉพาะคำขอรับการส่งเสริมเท่านั้น หลังจากได้รับส่งเสริมแล้ว จะต้องยื่นเรื่องต่างๆ ตามแบบฟอร์มภาษาไทยเท่านั้น เนื่องจากบริษัทได้จัดตั้งในประเทศไทยเสร็จแล้ว จึงต้องยื่นแบบฟอร์มภาษาไทยซึ่งเป็นภาษาราชการ
ข้อ 1 ซื้อวัตถุดิบจากเวนเดอร์ที่เป็น non-BOI จึงไม่ต้องใช้สิทธิอะไร
ข้อ 2 ขอเปลี่ยนตัวอย่างเป็น A(BOI) -> B(non-BOI) -> export
หาก BOI สามารถตรวจสอบพิสูจน์ได้ว่า สินค้าที่ A ขายให้ B ถูกนำไปผลิตส่งออก BOI จะอนุญาตให้ A ใช้สิทธิด้านวัตถุดิบได้ ปัจจุบันกรณีที่ BOI ให้ A ตัดบัญชีวัตถุดิบได้ เช่น กรณีที่ B ส่งออกสินค้าตามชื่อและโมเดลที่ซื้อไปจาก A โดยระบุในใบขนสินค้าขาออกว่า B ขอโอนสิทธิให้ A เป็นผู้ตัดบัญชี
5 ปี นับจากวันที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร (วันนำเข้าตามใบขนฯ)
ถ้าได้รับหนังสืออนุมัติจากบีโอไอให้ตัดบัญชีเครื่องจักรเพื่อปลอดภาระภาษี ก็เป็นอันจบขั้นตอนทั้งหมดแล้ว
- เครื่องจักรยังคงต้องใช้ในกิจการที่ได้รับส่งเสริมนั้นต่อไป
- ให้เก็บหนังสืออนุมัติจาก BOI เป็นหลักฐานว่าเครื่องจักรรายการที่อนุมัติ หมดจากภาระภาษีแล้ว
- การตัดบัญชีเพื่อปลอดภาระภาษี ไม่ใช่การอนุมัติให้จำหน่าย
ดังนั้น หากหลังจากนั้น จะขอจำหน่าย ก็จะต้องยื่นเรื่องตามขั้นตอนต่อไป ซึ่งหากจะขอจำหน่ายในประเทศ ก็จะไม่มีภาระภาษี เพราะได้ตัดบัญชีเพื่อปลอดภาระภาษีไปแล้ว
1. สามารถตัดออกจากรายการ Asset List ได้ไหม เช่น ใบมีด ณ ปัจจุบัน ไม่มีของแล้วหรือผู้ใช้งานอาจทิ้งไปแล้ว บริษัทตัดบัญชี 5 ปี แล้ว จะสามารถดำเนินการอย่างไรได้ต่อเพื่อตัดรายการออกจาก List ในโครงการได้
2. ราคาเครื่องจักรใน Asset List ณ วันยื่นเรื่องเปิดดำเนินการ กับ ใน invoice ไม่ตรงกัน สามารถแก้ไขได้ไหม กรณีเปิดดำเนินการแล้ว (สิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล หมดสิ้นปี 2564) เช่น ใบมีดรายการหนึ่ง ราคาที่แจ้งไว้ในทะเบียนทรัพย์สิน 169,233.31 บาท แต่ใน invoice กับที่สั่งปล่อยในระบบ EMT มูลค่า175,433.88 บาท หากเป็นเช่นนี้จำเป็นต้องแก้ไขข้อมูลเพื่อให้ตรงกันไหม หรือข้อมูลในเอกสารไม่ต้องสนใจ ให้ยึดจาก invoice และ ข้อมูลที่สั่งปล่อยในระบบแทน
3. เนื่องจากตัวเลขไม่ตรงกัน ทำให้มีผลกระทบกับราคาทุน สำหรับฝ่ายบัญชีต้องดำเนินการอย่างไร
4. หลังจากที่ขออนุญาตจำหน่ายเครื่องจักรออกจากโครงการแล้ว สามารถตัดเครื่องจักรออกจากทะเบียนสินทรัพย์และตัดออกจากราคาทุนด้วย ได้หรือไม่
ตอบคำถามดังนี้
1. ใบมีด หากนำเข้ามาโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรตามมาตรา 28 และนำเข้าเกิน 5 ปีแล้ว ให้ยื่นขออนุญาตจำหน่ายออกจากโครงการ โดยไม่มีภาระภาษีอากร
2. มูลค่าเครื่องจักรที่บันทึกในทะเบียนสินทรัพย์ กับมูลค่าเครื่องจักรที่แจ้งในระบบ eMT หากไม่ตรงกัน ไม่ต้องยื่นแก้ไขใด ๆ
3. ตัวเลขสำหรับฝ่ายบัญชีของบริษัท เป็นตัวเลขตามทะเบียนสินทรัพย์และงบการเงิน ไม่เกี่ยวกับตัวเลขที่แจ้งในระบบ eMT
4. เมื่อได้รับอนุญาตจำหน่ายออกจากโครงการ คือ จะไม่ใช้เครื่องจักรดังกล่าวในโครงการนั้นอีกต่อไป จึงต้องตัดออกจากบัญชีสินทรัพย์ของโครงการนั้น
การอนุญาตให้ใช้เครื่องจักรเก่า เป็นการอนุมัติบนหลักการเพียงครั้งเดียว ดังนั้น แม้ว่าต่อมาภายหลังจะมีการเปลี่ยนแปลงรายการ หรือจำนวน หรือปีที่ผลิต ของเครื่องจักรเก่า แต่เก่าไม่เกิน 10 ปี ตามที่ได้รับอนุมัติไว้ ก็ไม่ต้องยื่นขอแก้ไขสภาพเครื่องจักรอีก แต่จะต้องขอแก้ไขบัญชีรายการเครื่องจักร (Master List) ให้ตรงกับข้อเท็จจริง