Chat
x
toggle menu
toggle menu

Select Groups

All Group
  • All Group
  • นโยบายเเละมาตรการพิเศษในการส่งเสริม
  • การขอรับการส่งเสริมการลงทุน
  • การออกบัตรส่งเสริม
  • การเปิดดำเนินการ
  • การเเก้ไขโครงการ
  • การดำเนินการอื่น ๆ
  • การรายงานความคืบหน้าโครงการ (e-Monitoring)
  • การปฏิบัติหลังการได้รับการส่งเสริม
  • การยกเลิกบัตรส่งเสริม
  • เรื่องทั่วไป
  • การใช้สิทธิด้านที่ดิน
  • การใช้สิทธิด้านเครื่องจักร
  • การใช้สิทธิด้านช่างฝีมือ/ต่างด้าว
  • การใช้สิทธิด้านวัตถุดิบ
  • ประเภทกิจการ - การแพทย์
  • การใช้สิทธิด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ประเภทกิจการ - รถยนต์ไฟฟ้า
  • ประเภทกิจการ - ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (IBC) IPO และ TISO
  • ประเภทกิจการ - โรงแรม
  • ประเภทกิจการ - ผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ
  • ประเภทกิจการ - กิจการผลิตเครื่่องจักร อุุปกรณ์และชิ้นส่วน
  • ประเภทกิจการ - กิจการศูนย์กระจายสินค้าระหว่า ประเทศด้วยระบบที่่ทันสมัย (IDC)
บริษัทฯ ได้สิทธิตามมาตรา 31 มีรายได้แล้วตั้งแต่ปีแรกที่เปิดบริษัทฯ แต่ตอนนี้ยังขาดทุนอยู่ และยังไม่ได้แจ้งเปิดดำเนินการกับ BOI ระยะเวลา 8 ปี ที่ใช้สิทธิทางภาษีต้องนับอย่างไร

วันที่จะเริ่มนับสิทธิการยกเว้นภาษีเงินได้ จะนับจากวันที่มีรายได้ครั้งแรกตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม รายละเอียดเบื้องต้นตามนี้ www.faq108.co.th/boi/tax/firstdate.php

กรณีต้องการเปลี่ยนการใช้สิทธิการนำเข้าคนต่างด้าว ผ่าน กนอ มาใช้สิทธิ ทางด้าน BOI เนื่องจากทางบริษัทต้องการเปลี่ยนการใช้สิทธิการนำเข้าคนต่างด้าว ผ่าน กนอ มาใช้สิทธิ ทางด้าน BOI ซึ่งจะเป็นตำแหน่งระดับ Manager รบกวนสอบถามว่า สามารถทำได้หรือไม่ มีวิธีการ ขั้นตอน และเอกสาร อย่างไรบ้าง

บริษัทสามารถเปลี่ยนการใช้สิทธิช่างฝีมือต่างชาติ จากเดิมของ กนอ มาเป็นของ BOI ได้ โดยดำเนินการดังนั้น

1. ยื่นขออนุมัติตำแหน่งช่างฝีมือต่างชาติต่อ BOI

2. ยื่นแจ้งพ้นตำแหน่งเดิมต่อ กนอ. โดยต้องแจ้งล่วงหน้า เพื่อให้มีระยะเวลาวีซ่าเหลือไม่น้อยกว่าที่จะยื่นต่อ BOI ตามข้อ 3

3. ยื่นขอบรรจุช่างฝีมือต่อ BOI โดยระยะเวลานับจากวันที่ยื่นคำร้องในระบบ e-expert ของ BOI จนถึงวันที่ในหนังสือแจ้งพ้นที่ กนอ อนุญาตให้อยู่ในประเทศ จะต้องเหลือไม่น้อยกว่า 15 วัน กรณีที่ระยะเวลาเหลือน้อยกว่า 15 วัน จะไม่สามารถยื่นบรรจุต่อ BOI ได้ ดังนั้น ก่อนจะแจ้งพ้นตำแหน่งเดิมต่อ กนอ (ตามข้อ 2) จะต้องตรวจสอบขั้นตอนและเอกสารที่ใช้ยื่นขอบรรจุช่างฝีมือต่อ BOI (ตามข้อ 3) ให้ถูกต้อง ด้วย

บริษัทได้รับการส่งเสริมกิจการประเภท 6.9 และทางบริษัทต้องการการว่าจ้าง out source ในการทดลองการผลิตงานซึ่งในขั้นตอนที่ว่าจ้างนี้เป็นขั้นตอนหลัก แต่เนื่องจากเครื่องจักรของบริษัทไม่มีเวลาพอที่จะทดลอง จึงอยากจะไปทดลองข้างนอกจึงขอสอบถามว่าสามารถทำได้หรือไม่ ถ้าได้มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

ถ้าไม่นำวัตถุดิบ/เครื่องจักร/แม่พิมพ์ ที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีจาก BOI ไปว่าจ้างทดลองผลิตชิ้นงาน ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตจาก BOI และชิ้นงานตัวอย่างที่ผลิตนั้น ก็ไม่นับเป็นสินค้าในโครงการที่ได้รับ BOI

ในปีหน้าบริษัทจะย้ายเข้าไปตั้งโรงงานที่นิคมอุตสาหกรรมเจโม ซึ่งเข้าใจว่าจะได้สิทธิยกเว้นภาษีทั้งนิติบุคคล 3 ปี และได้รับสิทธิยกเว้นภาษีนำเข้าเครื่องจักร จึงรบกวนขอคำปรึกษาว่าจะเริ่มดำเนินการอย่างไรบ้าง และต้องติดต่อที่ไหนอย่างไร

1. การเปลี่ยนที่ตั้งโรงงาน จะได้รับสิทธิประโยชน์ตามหลักเกณฑ์ ณ วันที่ยื่นขอรับการส่งเสริมครั้งแรก เช่น ถ้าบริษัทยื่นขอรับส่งเสริมในปี 2555 โดยตั้งโรงงานในเขต 2 นอกนิคม ซึ่งจะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ 3 ปี และได้รับลดหย่อนอากรขาเข้ากึ่งหนึ่ง แต่ต่อมาจะขอเปลี่ยนสถานที่ตั้งโรงงานเป็นในเขต 3 ในนิคมอุตสาหกรรม ก็จะใช้หลักเกณฑ์การพิจารณา ณ วันที่ยื่นคำขอรับส่งเสริม (คือ ปี 2555) คือ การตั้งโรงงานในนิคม ในเขต 3 จะได้รับยกเว้นภาษี 8 ปี และได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร ดังนั้น บริษัทจะได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนที่ตั้งจากเดิม เป็นนิคมในเขต 3 และจะแก้ไขสิทธิการยกเว้นภาษีเงินได้จาก 3 ปี เป็น 8 ปี และเปลี่ยนจากการลดหย่อนอากรขาเข้าเครื่องจักร เป็นการยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร แต่การนับระยะเวลาเริ่มใช้สิทธิจะนับต่อเนื่องจากวันเริ่มใช้สิทธิครั้งแรกตามโครงการเดิม และสิทธิที่เพิ่มขึ้นจะใช้ได้เฉพาะในส่วนที่เกิดหลังจากการเปลี่ยนที่ตั้งโรงงานแล้ว

2. การขอรับคำปรึกษา สามารถติดต่อกับเจ้าหน้าที่วิเคราะห์โครงการของสำนักบริหารการลงทุน 1-4 ที่รับผิดชอบโครงการของบริษัทได้โดยตรง

ในการกรอกค่าก่อสร้างในแบบคำขออนุญาตเปิดดำเนินการ กรณีค่าเช่าสัญญาเช่าต้องมากกว่า 3 ปีขึ้นไปหรือถ้ากรณีของบริษัทสัญญาเช่าอยู่ที่ 3 ปี ต้องกรอกค่าเช่าไหม (11 มิ.ย. 2563)

1. สัญญาเช่าโรงงานหรือสำนักงานที่มีอายุสัญญาเช่าเกินกว่า 3 ปี และจดทะเบียนสัญญาเช่าต่อกรมที่ดินสามารถนำมาคำนวณเป็นขนาดการลงทุน และเพื่อคำนวณวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้จึงให้กรอกมูลค่าเช่า ในช่องค่าก่อสร้าง

2. สัญญาเช่าโรงงานหรือสำนักงานที่มีอายุสัญญาเช่าไม่เกิน 3 ปี เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่นำมานับเป็นขนาดการลงทุนจึงไม่ต้องกรอกในช่องค่าก่อสร้าง

สืบเนื่องจากประกาศสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงที่ ป.8/2561 ในข้อที่ 7 ว่าด้วยการขอตัดบัญชีวัตถุดิบ ข้อ 1.1 ได้อธิบายไว้ว่า "...ต้องระบุในใบขนสินค้าขาออกว่ามีการใช้สิทธิและประโยชน์ตามมาตรา 36" จึงอยากทราบว่าจะต้องระบุประโยคดังกล่าวหรือไม่ หรือเพียงแค่ระบุเลขที่บัตรส่งเสริมตามปกติในแต่ละรายการเหมือนเดิม

ใบขนสินค้าขาออกที่จะนำมาตัดบัญชีได้ จะต้องบันทึกข้อมูลในช่องสิทธิประโยชน์ว่าใช้สิทธิประโยชน์ BOI ส่วนการระบุเลขที่บัตรส่งเสริม เข้าใจว่าเป็นข้อกำหนดของกรมศุลกากร ไม่ใช่ BOI

1. กรณีเครื่องจักรนำเข้าโดยใช้สิทธิ BOI เกิน 5 ปี บริษัทต้องขอตัดบัญชีเครื่องจักรนำเข้าเกิน 5 ปี ก่อนหรือหลัง การจำหน่ายในประเทศหรือส่งออก 2. เมื่อบริษัทได้รับการอนุญาตจำหน่ายเครื่องจักรโดยไม่มีภาระภาษีอากรแล้ว บริษัทจะต้องดำเนินการอย่างไร 3. หากในอนาคต บริษัทต้องการปิดบัตรส่งเสริม วัตถุดิบและเครื่องจักรจะต้องดำเนินการเช่นไร

1. แยกเป็น 3 กรณี คือ

1) หากจะยังคงใช้เครื่องจักรนั้นในโครงการต่อไป ให้ยื่นขอตัดบัญชีเพื่อปลอดภาระภาษีสำหรับเครื่องจักรที่เกิน 5 ปี

2) หากจะจำหน่ายในประเทศ ให้ยื่นขอจำหน่าย (หากเกิน 5 ปี จะไม่มีภาระภาษี)

3) หากจะส่งออก ให้ยื่นขอส่งเครื่องจักรไปต่างประเทศ (ไม่มีภาระภาษี แม้จะไม่เกิน 5 ปี)

2. ก็สามารถจำหน่ายได้ตามที่ได้รับอนุญาต

3. - หากได้รับอนุญาตให้เปิดดำเนินการแล้ว ให้ยื่นขอยกเลิกโครงการ โดยเครื่องจักรที่นำเข้าไม่ครบ 5 ปี จะต้องชำระภาษีตามสภาพ ส่วนวัตถุดิบที่ไม่ได้ส่งออก จะต้องชำระภาษีตามสภาพ ณ วันนำเข้า

- หากจะสอบถามเรื่องยกเลิกโครงการ ให้แยกเป็นคำถามใหม่ ในหมวดหมู่ที่เกี่ยวข้อง

กิจการ ITC เดิม ได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและบุคคลธรรมดาจากกรมสรรพากร อยากทราบว่ากิจการ IPO ใหม่จะได้รับสิทธิประโยชน์ดังกล่าวด้วยหรือไม่
IPO ไม่ได้รับสิทธิและประโยชน์ด้านภาษีเงินได้นิติบุคคลและบุคคลธรรมดาจากกรมสรรพากร
อยากทราบสิทธิประโยชน์และข้อจำกัดในการขอรับการส่งเสริมภายใต้กิจการ IBC
สิทธิประโยชน์ของ BOI ภายใต้กิจการ IBC จะได้รับสิทธิและประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษีอากร เช่น การถือหุ้นต่างชาติข้างมาก การถือครองที่ดิน และสิทธิ Visa และ Work Permit ของการนำต่างชาติเข้ามาทำงานใน เป็นต้น รวมถึงการยกเว้นอากรขาเข้าเครื่อจักรสำหรับเพื่อใช้ในกิจกรรมการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการฝึกอบรม ทั้งนี้ กรมสรรพากร จะให้สิทธิและประโยชน์ทางภาษี ในการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล และบุคคลธรรมดาสำหรับชาวต่างชาติ โดยมีรายละเอียดและเงื่อนไขตาม Link นี้ https://www.rd.go.th/fileadmin/images/IBC/Presentation%20by%20Revenue%20Department%20%28EN%29.pdf สำหรับภาษาอังกฤษ และhttps://www.rd.go.th/fileadmin/images/IBC/Presentation%20by%20Revenue%20Department%20%28JP%29.pdf สำหรับภาษาญี่ปุ่น

สำหรับเงื่อนไขหรือข้อจำกัดของ BOI บริษัทจะต้องมีการลงทุนขั้นต่ำ (ไม่รวมค่าที่ดินและเงินทุนหมุนเวียน) ไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท ในระยะเวลา 3 ปี ซึ่ง 1 ล้านบาทสามารถรวมค่าสินทรัพย์ที่ใช้ในการให้บริการลูกค้าตามขอบข่ายธุรกิจที่บริษัทขอ ค่า Renovate Office ค่าเช่าอาคารที่มากกว่า 36 เดือน เป็นต้น รวมถึงจะต้องมีการจ้างงานขั้นต่ำ 10 คน (รวมทั้งคนไทยและต่างชาติ)
เมื่อบริษัทจำหน่ายเครื่องจักรโดยไม่มีภาระภาษีอากรที่ต้องชำระไปเรียบร้อยแล้ว บริษัทจะต้องยื่นเรื่องขอตัดบัญชีเครื่องจักรอีกครั้งหรือไม่

1.การอนุญาตให้จำหน่ายเครื่องจักรโดยมีภาระภาษี จะเป็นไปตามแบบฟอร์มนี้ ซึ่งระบุให้บริษัทต้องนำหลักฐานชำระภาษีมายื่นขอตัดบัญชี

2.การอนุญาตให้จำหน่ายเครื่องจักรโดยไม่มีภาระภาษี จะเป็นตามแบบฟอร์มนี้ ซึ่งไม่ได้ระบุให้บริษัทต้องมาตัดบัญชี จึงไม่ต้องยื่นตัดบัญชีอีก

หากบริษัท A ที่เป็นกิจการ IPO ขายสินค้าให้เรา (บ.B) เป็น BOI และB ทำการส่งออกทางอ้อมสามารถใช้ report v ให้ A ในการตัด report v ได้หรือไม่

A (BOI - IPO) นำเข้าวัตถุดิบโดยใช้สิทธิมาตรา 36 และจำหน่ายให้ B (BOI) จากนั้น B นำไปผลิตและส่งออก B สามารถตัดบัญชี และออก report-V เพื่อโอนสิทธิให้ A นำไปตัดบัญชีได้

ยื่นรายงานผู้สอบบัญชีไม่ทัน 120 หลังจากรอบบัญชี (ติดปัญหาเรื่องโรคระบาดโควิด-19) ต้องทำอย่างไรบ้าง (11 มิ.ย. 2563)
สามารถยื่นแบบขอใช้สิทธิฯ ภายหลังจากพ้นกำหนด 120 ไปแล้วก็ตาม แต่ก่อนที่จะยื่นแบบขอใช้สิทธิฯ จะไม่สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ในรอบปีบัญชีนั้น
แบบคำขออนุญาตเปลี่ยน/เพิ่ม/ลด สถานที่ตั้งโรงงาน/สถานประกอบการ ต้องใช้เอกสารแนบอะไรบ้าง

ขึ้นอยู่กับว่าจะแก้ไขในลักษณะไหน หากจะมีการย้ายเครื่องจักรบางส่วนไปติดตั้งในสถานที่ใหม่ ให้แสดงรายละเอียดเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์และกำลังผลิตของที่ตั้งเดิมและที่ตั้งใหม่ ให้ชัดเจนด้วย

บริษัทได้รับบัตรส่งเสริมจาก BOI โดยผู้ถือหุ้นเป็นญี่ปุ่น 100% ประกอบด้วย บริษัทในประเทศญี่ปุ่น(นิติบุคคล) 96% บุคคลธรรมดา(คนญี่ปุ่น) 4 คนๆละ1% ขอถามว่า บริษัทในประเทศญี่ปุ่นที่เป็นผู้ถือหุ้น ได้เปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่ ต้องแจ้ง BOI หรือไม่ (สัดส่วนหุ้นไม่เปลี่ยนแปลง)

ในบัตรส่งเสริมกำหนดเงื่อนไขไว้ว่าจะต้องรายงานการเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนการถือหุ้นระหว่างผู้มีสัญชาติไทยและคนต่างด้าว และการเปลี่ยนแปลงการถือหุ้นของคนต่างด้าวต่างสัญชาติทุกครั้ง กรณีที่สอบถาม เป็นการเปลี่ยนชื่อของบริษัทที่ถือหุ้น ซึ่งบริษัทนั้นยังคงเป็นสัญชาติเดิม จึงไม่เข้าข่ายที่จะต้องรายงานตามเงื่อนไขในบัตรส่งเสริม

ถ้ากรณีที่ตอนนี้ช่างฝีมืออยู่ต่างประเทศ จะแพลนจะเข้ามาในเดือนเมษายน 2560 กรณีนี้หมายความว่า เราสามารถดำเนินการตามข้อ1 และ 3 ได้เลยใช่ไหม
ถ้าช่างฝีมือคนดังกล่าวยังไม่เข้ามาประเทศโดยใช้สิทธิจาก กนอ ก็สามารถขอใช้สิทธิจาก BOI ตามขั้นตอน 1 และ 3
นับจากวันที่เลยใช่ไหม เช่น ของผมมีรายได้วันแรก วันที่ 19 ตุลาคม 2554 นับไปอีก 8 ปี ก็จะครบ 18 ตุลาคม 2562 คือในปี 2562 ก็ใช้สิทธิได้แต่ไม่เต็มปีใช่ไหม แล้วกรณีมีขาดทุนสะสมก็จะยกไปใช้ ในปี 2563 - 2567 ใช่ไหม

1. การนับระยะเวลายกเว้นภาษีจะนับวันชนวัน ถูกต้อง ปีไหนที่ได้รับสิทธิไม่ครบปี ก็ใช้สิทธิได้เฉพาะรายได้ในช่วงวันเวลาที่ได้รับสิทธิเท่านั้น

2. หากในระหว่างที่ได้รับยกเว้นภาษีมีผลขาดทุนประจำปี ก็สามารถยกผลขาดทุนไปหักลบจากกำไรหลังสิ้นสุดสิทธิได้ไม่เกิน 5 ปี ตามที่เข้าใจ ถูกต้องแล้ว

บริษัทที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 6 ปี เริ่มมีรายได้ครั้งแรก วันที่ 10/4/2010 แล้วอย่างนี้จะครบ 6 ปี จะต้องนับยังไง (เพราะว่าครั้งแรกที่มีรายได้เป็นเดือน 4) จำเป็นต้องเริ่มเสียภาษีตั้งแต่ปีไหน

บริษัทได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ 6 ปี นับจากวันที่เริ่มมีรายได้ครั้งแรก จึงจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ของรายได้ตั้งแต่วันที่ 10/4/2010 - 9/4/2016 หากรอบปีบัญชีของบริษัท คือ มกราคม - ธันวาคม จะสามารถใช้สิทธิ 7 รอบปีบัญชี แต่รอบปีแรกและรอบปีสุดท้าย จะใช้สิทธิได้ไม่ครบรอบปีบัญชี คือ สามารถใช้สิทธิสำหรับรายได้ดังนี้

รอบปี 2010 ใช้สิทธิสำหรับรายได้ 10/4/2010 - 31/12/2010

2011 ใช้สิทธิได้ตลอดทั้งปี

2012 ใช้สิทธิได้ตลอดทั้งปี

2013 ใช้สิทธิได้ตลอดทั้งปี

2014 ใช้สิทธิได้ตลอดทั้งปี

2015 ใช้สิทธิได้ตลอดทั้งปี

รอบปี 2016 ใช้สิทธิสำหรับรายได้ 1/1/2016 - 9/4/2016

บริษัทเป็นบริษัทฉีดพลาสติก ตั้งอยู่นอกเขตนิคมฯ มีช่างชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานอยู่แล้วก่อนขอ BOI และมีช่างที่เข้ามาใหม่ ซึ่งทำงานในส่วนการผลิตแม่พิมพ์ ไม่ทราบว่าต้องขออนุญาตหรือไม่

สิทธิประโยชน์ที่ได้รับจาก BOI จะใช้หรือไม่ใช้ก็ได้ ช่างต่างชาติที่ได้รับใบอนุญาตทำงานอยู่แล้วก่อนที่บริษัทจะขอส่งเสริม ก็ยังสามารถทำงานได้ต่อไป ส่วนช่างต่างชาติที่เข้ามาใหม่ จะขอใช้สิทธิจาก BOI หรือไม่ก็ได้ หากจะขอใช้สิทธิ BOI ก็ต้องยื่นขออนุมัติตำแหน่ง และขอบรรจุ ตามหลักเกณฑ์ที่ BOI กำหนด

กรณีบริษัทได้เปิดดำเนินการแล้ว ต่อมาภายหลังอยากเพิ่มทุนจดทะเบียนอีก ต้องยื่นเรื่องแจ้งต่อสำนักงาน บีโอไอ หรือไม่อย่างไร

ในบัตรส่งเสริมกำหนดทุนจดทะเบียนขั้นต่ำไว้ หากจะเพิ่มทุนจดทะเบียนมากกว่าที่กำหนดในบัตร ก็ดำเนินการได้โดยไม่ต้องแจ้ง BOI แต่หากมีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการถือหุ้นระหว่างคนไทยกับคนต่างด้าว หรือระหว่างคนต่างด้าวต่างสัญชาติ จะต้องรายงาน BOI เพื่อทราบ

สอบถามเรื่องกำลังการผลิตสูงสุด บริษัทมีหลายผลิตภัณฑ์ เช่น ผลิตภัณฑ์ที่ 1 = มีจำนวน 6 เครื่อง / ผลิตได้ 60 ชิ้นต่อชม. / 2,160,000 ชิ้นต่อปี ผลิตภัณฑ์ที่ 2 = มีจำนวน 1 เครื่อง / ผลิตได้ 275ชิ้นต่อชม. / 1,1650,000 ชิ้นต่อปี กำลังการผลิตสูงสุดต่อปี เราดูตรงที่ผลิตได้จำนวนชิ้นต่อชั่วโมง หรือกำลังการผลิตที่ผลิตได้ต่อปี (2 ก.ค. 2563)
กำลังผลิตสูงสุดต่อปี คำนวณจากกำลังผลิตของเครื่องจักร (เช่น ... ชิ้น/ชม.) x ... ชม. x ... วัน ตามที่ระบุในบัตรส่งเสริม ไม่เกี่ยวกับว่าบริษัทจะผลิตจำหน่ายในแต่ละปีเท่าไร

ขออภัยครับ ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ในภาษาที่ท่านเลือก !

Sorry, There is no information support your selected language !

Download และ ติดตั้งโปรแกรมอ่าน PDF

Download PDF Reader

Site map