เนื่องจากไม่มีข้อมูลว่าได้รับส่งเสริมในกิจการประเภทใด และที่ตั้งโรงงานอยู่ในหรือนอกนิคมอุตสาหกรรม จึงขอตอบตามหลักการทั่วไปดังนี้
1.กรณีเป็นโครงการยื่นคำขอรับส่งเสริมก่อนวันที่ 1 มกราคม 2558จะได้รับสิทธิประโยชน์ตามเกณฑ์ที่ตั้งโรงงาน ดังนั้น หากย้ายที่ตั้งจากปราจีนบุรี (เขต 3) ไปยังปทุมธานี (เขต 1) จะได้รับสิทธิประโยชน์ลดลง
2.กรณีเป็นโครงการยื่นคำขอรับส่งเสริมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558จะได้รับสิทธิประโยชน์ตามประเภทกิจการ ดังนั้น หากย้ายที่ตั้งจากปราจีนบุรี ไปยังปทุมธานี จึงจะได้รับสิทธิประโยชน์เท่าเดิม
แต่หากย้ายออกนอกนิคมอุตสาหกรรม อาจถูกเพิกถอนสิทธิภาษีเงินได้ 1 ปี ตามที่เคยได้รับตามคุณค่าของโครงการ (Merid-based Incentives)กรณีบริษัทมีกำลังผลิตสูงสุดต่ำกว่ากำลังผลิตในบัตรส่งเสริม สามารถขอลดขนาดกิจการในขั้นตอนการเปิดดำเนินการได้
โดย BOI จะปรับลดมูลค่าการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามที่มีการลงทุนจริง และปรับลดปริมาณบัญชีสต็อกวัตถุดิบสูงสุดตามกำลังผลิตที่ปรับลดลง
การให้การส่งเสริมของ BOI ไม่มีวันที่สิ้นสุดการให้การส่งเสริม จะสิ้นสุดเฉพาะการยกเว้นภาษีอากรต่างๆ เท่านั้น แต่ถึงแม้ว่าสิทธิทางภาษีจะสิ้นสุดลง บริษัทก็ยังมีสถานะเป็นผู้ได้รับส่งเสริม จึงยังคงใช้สิทธิอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับภาษี เช่น การถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน การขออนุญาตทำงานของช่างฝีมือต่างชาติ ได้ต่อไป สถานะการเป็นผู้ได้รับส่งเสริมจะสิ้นสุดลงเมื่อบริษัทขอยกเลิกบัตรส่งเสริม หรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขจนถูกเพิกถอนบัตรส่งเสริม กิจการผลิตสินค้าที่ไม่อยู่ในบัญชีท้ายประกาศ พรบ การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ไม่อยู่ในข่ายที่จะต้องขออนุญาตตาม พรบ ดังกล่าว ดังนั้น แม้ว่าจะได้/ไม่ได้รับส่งเสริมจาก BOI ก็ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับ Foreign Business License
ตำแหน่งที่ได้รับอนุมัติ ปกติมีระยะเวลา 2 ปี นับจากวันที่ยื่นคำร้อง (ยกเว้นกิจการบางประเภท เช่น TISO หรือซอฟต์แวร์ จะมีระยะเวลา 1 ปี) หากตำแหน่งใกล้จะสิ้นสุดลง สามารถยื่นขอขยายระยะเวลาตำแหน่งได้ โดย BOI จะพิจารณาเหตุผลความจำเป็นเป็นกรณีไป ตำแหน่งที่ได้รับอนุมัติแล้ว แต่ไม่ได้ยื่นขอบรรจุ เมื่อครบตามกำหนดเวลาที่ได้รับอนุมัติ ตำแหน่งนั้นก็จะสิ้นสุดลง
สมมุติว่า A และ B มีรอบปีเหมือนกัน คือ ม.ค. - ธ.ค. หากโอนบัตรในวันที่ 1 ก.ค. 56 A จะสามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษี สำหรับยอดขายระหว่าง 1 ม.ค. - 30 มิ.ย. ได้ไม่เกิน 6,000 ชิ้น (50% ของกำลังผลิตสูงสุดต่อปี) ส่วน B ก็สามารถใช้สิทธิสำหรับยอดขายระหว่าง 1 ก.ค. - 31 ธ.ค. ได้ไม่เกิน 6,000 ชิ้น ดังนั้น หาก A ยื่นขอใช้สิทธิระหว่าง 1 ม.ค. - 30 มิ.ย. จำนวน 7,000 ชิ้น ก็ถือว่าใช้สิทธิเกินกว่าที่ได้รับส่งเสริม
บัตรส่งเสริม ไม่มีเงื่อนไขกำหนดว่า ต้องเริ่มมีรายได้ครั้งแรกภายในเมื่อใด จึงไม่ต้องยื่นขยายวันเริ่มมีรายได้ครั้งแรก และไม่เกี่ยวอะไรกับการยืนยันการดำเนินการตามโครงการ
1.-2. หากจะขออนุญาตทำงานเกินกว่า 6 เดือน จะต้องยื่นขออนุมัติตำแหน่ง / ยื่นขอบรรจุ / ทำแผนถ่ายทอดเทคโนโลยี / ระบุในผังองค์กร เช่นเดียวกับตำแหน่งช่างฝีมือ/ผู้ชำนาญการอื่นๆ
กิจการ ITC จะระบุขอบข่ายธุรกิจว่า การจัดซื้อสินค้า วัตถุดิบ และชิ้นส่วนสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ การจำหน่ายถุงหรือบรรจุภัณฑ์ ก็รวมอยู่ในขอบข่ายธุรกิจของ ITC ด้วย
ใบอนุญาตเปิดดำเนินการของ BOI เป็นเอกสารแสดงว่าบริษัทได้มีการลงทุนครบถ้วนตามเงื่อนไขที่กำหนดในบัตรส่งเสริมแล้ว
หลังจากบริษัทได้รับใบอนุญาตเปิดดำเนินการ บริษัทยังคงต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในบัตรส่งเสริม และจะต้องรายงานผลการดำเนินการประจำปี ตาม ประกาศ สกท ที่ ป.2/2561 จนกว่าจะสิ้นสุดสภาพการเป็นผู้ได้รับการส่งเสริม
การเปลี่ยนสถานที่ตั้งโรงงาน จะอนุญาตให้เปลี่ยนได้ โดยใช้หลักเกณฑ์การพิจารณา ณ วันที่เคยได้รับอนุมัติอยู่เดิม เช่น หากบริษัทได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมในปี 2556 โดยได้รับสิทธิประโยชน์ตามหลักเกณฑ์ของประกาศ ที่ 2/2552 แต่ต่อมาในปี 2560 หากบริษัทจะขอเปลี่ยนที่ตั้งจากนิคม A เป็นนิคม B ในจังหวัดเดียวกัน BOI ก็จะยังคงพิจารณาให้ได้รับสิทธิประโยชน์ตามประกาศ ที่ 2/2552 เช่นเดิม โดยจะนับสิทธิต่อจากที่ได้รับอยู่เดิม หลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการในอดีตที่ผ่านมา
การตั้งโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดเดียวกัน จะได้รับสิทธิประโยชน์เท่ากัน (ยกเว้นนิคมแหลมฉบัง) ดังนั้น หากจะเปลี่ยนที่ตั้งโรงงาน เป็นนิคมอื่น ในจังหวัดเดียวกัน (ยกเว้นนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง) จะได้รับสิทธิประโยชน์เท่าที่ได้รับอยู่เดิม
แต่หากเป็นกรณีที่จะย้ายเข้าหรือออกจากนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จะต้องตรวจสอบสิทธิประโยชน์ตามประกาศหลักเกณฑ์การส่งเสริมการลงทุน ที่ใช้ในวันที่อนุมัติให้การส่งเสริมโครงการนั้น
กรณี A ผลิตสินค้าจำหน่ายให้ B จากนั้น B นำไปส่งออก
1.กรณี B เป็นบริษัทที่ได้รับส่งเสริมและได้รับสิทธิตามมาตรา 36 B สามารถยื่นตัดบัญชีวัตถุดิบ และโอนสิทธิตัดบัญชีวัตถุดิบ (report-V) ให้ A นำไปตัดบัญชีบัญชีต่อไป
2.กรณี B เป็น Trader ที่ไม่ได้รับส่งเสริมจาก BOI
- B ต้องระบุการใช้สิทธิ BOI ในใบขนสินค้าขาออก และ
- ระบุเลขนิติบุคคล 13 หลักของบริษัทที่จะโอนสิทธิตัดบัญชี ในช่อง remark ของสินค้าแต่ละรายการในใบขนสินค้าขาออก และ
- ระบุชื่อสินค้าและโมเดลให้ตรงกับสูตรการผลิตของบริษัทที่จะโอนสิทธิตัดบัญชีให้
3.กรณี B เป็นโรงงานผลิตที่ไม่ได้รับส่งเสริมจาก BOI ไม่สามารถโอนสิทธิใบขนสินค้าขาออกให้กับ A
โครงการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุน จะใช้เครื่องจักรเก่าใช้แล้วจากภายในประเทศไม่ได้ กรณีได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องจักรเก่า จะต้องเป็นเครื่องจักรเก่าจากต่างประเทศเท่านั้น ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการ ข้อ 6.1.3 ตามประกาศที่ 2/2557 เรื่อง นโยบายและหลักเกณฑ์การส่งเสริมการลงทุน (ยกเว้นกิจการที่ได้รับส่งเสริมตามนโยบายพิเศษ เช่น นโยบาย SMEs จึงจะอนุญาตให้ใช้เครื่องจักรเก่าใช้แล้วในประเทศได้)
1.ต้องได้รับการตัดบัญชีก่อนจึงจะจำหน่ายได้โดยไม่มีภาระภาษี
- กรณีต้องการตัดบัญชีและจำหน่าย บางสำนักให้ยื่นเรื่องพร้อมกันได้ แต่บางสำนักงานให้ยื่นเรื่องตัดบัญชีให้เสร็จก่อนจึงจะยื่นเรื่องขอจำหน่าย จึงให้ตรวจสอบกับแต่ละสำนักอีกครั้งหนึ่ง
2.การตัดบัญชีเครื่องจักรเกิน 5 ปี ยังคงต้องใช้เครื่องจักรในโครงการต่อไป เว้นแต่จะยื่นขอจำหน่ายเครื่องจักรนั้นด้วย
3.ไม่เข้าใจคำถาม ข้อมูลที่ต้องใช้ในการตัดบัญชี 5 ปี คือ ชื่อเครื่องจักร และเลขที่/วันที่หนังสืออนุมัติสั่งปล่อย
กรณีที่บริษัท A (BOI) จำหน่ายสินค้าให้บริษัท B (non-BOI) เพื่อส่งออกทางอ้อม สินค้าที่ส่งออกจะต้องเป็นชื่อและโมเดลเดียวกันกับที่บริษัท A จำหน่ายให้บริษัท B และต้องตรงกับชื่อผลิตภัณฑ์และโมเดลที่บริษัท A ได้รับอนุมัติสูตรการผลิต การโอนสิทธิใบขนขาออกเพื่อตัดบัญชีแบบไร้เอกสาร บริษัท A จะต้องปฏิบัติดังนี้
1. ต้องติ๊กสิทธิประโยชน์ในใบขนอิเล็กทรอนิกส์เป็น BOI
2. ต้องระบุเลขนิติบุคคล 13 หลักของบริษัท B ในช่อง remark ของสินค้าแต่ละรายการที่จะโอนสิทธิ โดยจะระบุข้อความอื่นต่อท้ายได้เลข 13 หลักก็ได้ แต่ระบบ RMTS จะดึงข้อมูลจากช่อง remark ในใบขนอิเล็กทรอนิกส์เฉพาะ 13 ตัวอักษรแรกเท่านั้น
3. สินค้าแต่ละรายการในใบขนอิเล็กทรอนิกส์ สามารถโอนสิทธิให้ผู้ผลิตรายเดียวเท่านั้น หากต้องการโอนสิทธิให้ผู้ผลิตหลายราย ต้องแยกสินค้าเป็นแต่ละรายการ
4. ต้องระบุชื่อสินค้าและโมเดล ในใบขนอิเล็กทรอนิกส์ ตามข้อกำหนดใน ประกาศ สกท ที่ ป.9/2561 คือ
- ต้องระบุชื่อผลิตภัณฑ์ในช่อง ENGLISH DESCRIPTION OF GOODS และระบุชื่อโมเดลในช่อง PRODUCT CODE หรือ
- ต้องระบุชื่อผลิตภัณฑ์ตามด้วยชื่อโมเดลในช่อง ENGLISH DESCRIPTION OF GOODS และต้องไม่ระบุข้อมูลใดๆ ในช่อง PRODUCT CODE
ตามประกาศ BOI ที่ ป.1/2559 ลงวันที่ 29 เมษายน 2559 ข้อ 2. ผ่อนผันให้ผู้ได้รับส่งเสริมใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือที่ถูกต้องตามกฎหมายในโครงการที่ได้รับการส่งจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2561 ข้อ 3. ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไป จะอนุญาตให้ใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจ้างแรงงานภาครัฐ (MOU) เท่านั้น ข้อ 4. โครงการที่ตั้งอยู่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 10 จังหวัดและพื้นที่ตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ สามารถใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือที่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522
เอกสารอ้างอิง สามารถค้นหาได้จากรวมประกาศ BOI โดยคีย์คำว่า แรงงาน ในช่องค้นหา
กรณีนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศ และมีการให้ช่างต่างชาติเข้ามาติดตั้งเครื่องจักร ค่าติดตั้งดังกล่าวเป็นค่าบริการที่เกิดขึ้นในประเทศ ไม่เป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องรวมสำแดงเป็นราคานำเข้าเครื่องจักร รายละเอียดขอให้ติดต่อสอบถามกับกรมศุลกากรโดยตรง
เครื่องจักร อะไหล่ แม่พิมพ์ ฯลฯ ที่นำเข้าโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากร จะต้องยื่นแสดงรายการในแบบคำขอเปิดดำเนินการด้วย
แต่กรณีที่สอบถาม น่าจะเป็นอุปกรณ์ที่มีราคาต่ำ และอาจไม่ได้บันทึกในทะเบียนสินทรัพย์ ซึ่งอุปกรณ์ลักษณะนี้ หากมีเป็นจำนวนมาก และบริษัทไม่ประสงค์จะนำมารวมเป็นมูลค่าการลงทุนเพื่อคำนวณวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล อาจใช้วิธีจัดทำเป็นเอกสารแนบ โดยพิมพ์รายงานการสั่งปล่อยจากระบบ eMT เพื่อแนบเป็นหลักฐานว่ามีการใช้สิทธินำเข้า แต่ไม่ประสงค์จะนำมารวมเป็นมูลค่าการลงทุน ก็ได้
หากบริษัทได้รับส่งเสริมโดยได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมเป็นพิเศษ ตามนโยบายพัฒนาคลัสเตอร์ (ประกาศ กกท ที่ 10/2558) ก็จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของประกาศ คือ ต้องมีรายได้ครั้งแรกภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2560 หากปฏิบัติไม่ได้ หรือยื่นขอขยายเวลาแล้วแต่ไม่ได้รับอนุญาตจาก BOI ก็จะถูกปรับลดสิทธิประโยชน์เหลือเท่ากับหลักเกณฑ์ตามนโยบายส่งเสริมการลงทุนตามปกติ ที่บังคับใช้อยู่ในขณะนั้น