ท่านสามารถกรอกข้อมูลการผลิตไฟฟ้า โดยคำนวณจากกำลังการผลิตไฟฟ้าสูงสุดของแผงโซลาร์เซลล์ ตัวอย่างเช่น
ปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้ หลังจากติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์
ข้อมูล |
การผลิตไฟฟ้า |
ขนาดแผงเซลล์แสงอาทิตย์ 380 วัตต์/แผง/ชั่วโมง (A) |
การผลิตไฟฟ้ารวมต่อชั่วโมง (A) X B) = (ก) 212.80 กิโลวัตต์/ชั่วโมง |
จำนวนแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้ง 560 แผง (B) |
|
จำนวนเวลาที่ผลิตไฟฟ้าได้ต่อวัน 3.60 ชั่วโมง (C) |
ปริมาณผลิตไฟฟ้าต่อปี (ก) X (C) X (D) = (ข) 279,619.20 kWh/ปี |
จำนวนวันทำงานต่อปี ตามโครงการที่ดำเนินการอยู่เดิมที่ยื่นขอรับการส่งเสริม 365 วัน (D) |
มูลค่าไฟฟ้าที่ผลิตได้ หลังจากติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์
ข้อมูล |
การผลิตไฟฟ้า |
ปริมาณผลิตไฟฟ้าต่อปี (ข) 279,619.20 kWh/ปี |
มูลค่าไฟฟ้าต่อปี (ข) X (ค) = (ง) 1,126,865.37 บาท/ปี |
ค่าไฟฟ้า (ค) 4.03 บาท/kWh |
รายได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล จะต้องเป็นรายได้ของกิจการที่ดำเนินการอยู่เดิม และเป็นรายได้ที่เกิดขึ้นภายหลังได้รับบัตรส่งเสริม ทั้งนี้ ระยะเวลายกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น ให้เริ่มนับถัดจากวันที่ออกบัตรส่งเสริม
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ ป.1/2545 เรื่อง การกำหนดความหมายรายการเงินลงทุน ดังนี้
ค่าก่อสร้าง ให้หมายความถึงรายการ ดังนี้
1. กรณีก่อสร้างเอง ได้แก่ ค่าก่อสร้างอาคารสำนักงาน โรงงาน สาธารณูปโภค และสิ่งอนวยความสะดวกต่าง ๆ และรวมถึงค่าต่อเติมหรือปรับปรุงด้วย
2. กรณีการเช่าอาคารหรือโรงงาน ให้ใช้ค่าเช่าตามสัญญาการเช่า ทั้งนี้จะต้องมีระยะเวลาการเช่ามากกว่า 3 ปี
ทุนจดทะเบียน และขนาดการลงทุน เป็นตัวเลขที่มาจากคำขอรับการส่งเสริมที่บริษัทยื่นต่อ BOI
ตามคำชี้แจงแนบท้ายแบบคำขอเปิดดำเนินการ ระบุว่า ค่าก่อสร้าง กรณีก่อสร้างเอง หมายถึง การก่อสร้างอาคาร สำนักงาน โรงงาน สาธารณูปโภค และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมถึงกรณีต่อเติมหรือปรับปรุง ค่าก่อสร้างโรงอาหาร และโรงจอดรถ อาจพิจารณาว่าเข้าข่ายสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ซึ่งจัดเป็นค่าก่อสร้างที่นับเป็นขนาดการลงทุนของโครงการได้ ส่วนค่าถนน เป็นค่าปรับปรุงที่ดิน ซึ่งไม่นับเป็นค่าก่อสร้าง และค่าที่นั่งตามทาง ก็ไม่นับเป็นค่าก่อสร้าง