Chat
x
toggle menu
toggle menu

Select Groups

All Group
  • All Group
  • นโยบายเเละมาตรการพิเศษในการส่งเสริม
  • การขอรับการส่งเสริมการลงทุน
  • การออกบัตรส่งเสริม
  • การเปิดดำเนินการ
  • การเเก้ไขโครงการ
  • การดำเนินการอื่น ๆ
  • การรายงานความคืบหน้าโครงการ (e-Monitoring)
  • การปฏิบัติหลังการได้รับการส่งเสริม
  • การยกเลิกบัตรส่งเสริม
  • เรื่องทั่วไป
  • การใช้สิทธิด้านที่ดิน
  • การใช้สิทธิด้านเครื่องจักร
  • การใช้สิทธิด้านช่างฝีมือ/ต่างด้าว
  • การใช้สิทธิด้านวัตถุดิบ
  • ประเภทกิจการ - การแพทย์
  • การใช้สิทธิด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ประเภทกิจการ - รถยนต์ไฟฟ้า
  • ประเภทกิจการ - ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (IBC) IPO และ TISO
  • ประเภทกิจการ - โรงแรม
  • ประเภทกิจการ - ผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ
  • ประเภทกิจการ - กิจการผลิตเครื่่องจักร อุุปกรณ์และชิ้นส่วน
  • ประเภทกิจการ - กิจการศูนย์กระจายสินค้าระหว่า ประเทศด้วยระบบที่่ทันสมัย (IDC)
บริษัทฯ ได้ยื่นขอจดทะเบียนบริษัทที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ตอนเปิดบริษัทฯ) 35 ล้านบาท และได้ยื่นขอรับการส่งเสริมจาก BOI ขนาดการลงทุนโดยไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน 50.9 ล้านบาท ต่อมาบริษัทฯ ได้มีการเพิ่มทุนบริษัทและได้จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเพิ่มอีก แต่มูลค่าการลงทุนของกิจการภายใต้ BOI เท่าเดิม 1. ไม่ทราบว่าเงินจดทะเบียนทั้ง 2 ที่จะต้องเหมือนหรือต่างกันหรือไม่ ต่างกันอย่างไร? 2. ถ้าเหมือนกัน เราจะต้องแจ้งเพิ่มกับ BOI ด้วยวิธีใด

เงื่อนไขของหน่วยงานราชการแต่ละแห่ง เป็นเงื่อนไขที่กำหนดตาม พรบ. ที่หน่วยงานนั้นเป็นผู้รับผิดชอบ จึงขอให้มองว่าเป็นคนละเรื่องกัน การเพิ่มทุน ลดทุน เรียกประชุมผู้ถือหุ้น เปลี่ยนแปลงกรรมการ ฯลฯ เป็นเรื่องที่ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยการจดทะเบียนหุ้นส่วนและบริษัท

ส่วนเงื่อนไขทุนจดทะเบียนที่ BOI กำหนด เป็นไปตาม พรบ ส่งเสริมการลงทุน ให้ดูที่บัตรส่งเสริมฯ ของบริษัท กำหนดเงื่อนไขทุนจดทะเบียนไว้เท่าไร

- หากบริษัทจดทะเบียนไว้เท่ากับ หรือเกินกว่า เงื่อนไขในบัตร ถือว่าถูกต้องตามเงื่อนไข BOI

- แต่หากจดไว้น้อยกว่า ก็ผิดเงื่อนไข ต้องเพิ่มทุนจดทะเบียนให้เท่ากับเงื่อนไข หรือบางกรณี อาจขอแก้ไขเงื่อนไขเพื่อลดทุนจดทะเบียนในบัตรส่งเสริมก็ได้

ตอนนี้ทำเรื่องขอส่งคืนวัตถุดิบไปยังต่างประเทศเรียบร้อยแล้ว ทาง BOI ได้อนุมัติให้หนังสือมาแล้ว ขั้นตอนต่อไปสามารถส่งออกได้เลยใช่ไหม แล้วขั้นตอนการส่งออกในใบขนต้องระบุใช้สิทธิ์ BOI ด้วยหรือไม่ และขั้นตอนต่อไปทำยังไง

การส่งคืนวัตถุดิบไปต่างประเทศ เมื่อได้รับอนุญาตจาก BOI แล้ว สามารถดำเนินการส่งออกได้ โดยให้ระบุเลขที่หนังสืออนุญาตส่งคืนวัตถุดิบ และเลขที่บัตรส่งเสริม ไว้บนใบขนขาออก และเมื่อส่งเสร็จสิ้นแล้ว ให้ยื่นปรับยอดกับ IC ต่อไป

การที่จะรู้ได้ว่าเครื่องจักรที่นำเข้ามานั้นเกิน 5 ปีแล้ว หรือ ยังไม่เกิน 5 ปีต้องนับตั้งแต่ "วันที่นำเข้า" หรือ "วันที่ผลิต" ของเครื่องจักร (เพราะส่วนตัวถ้าอ่านจาก wording นี้แล้ว คือ คิดได้ว่า นับตั้งแต่ "วันที่นำเข้าเครื่องจักร")

การนับอายุเครื่องจักร เพื่อปลอดภาระภาษี นับอายุ 5 ปีจากวันนำเข้า

อยากทราบเงื่อนไขและข้อกำหนดของคลังสินค้า รวมถึงซอฟต์แวร์ที่ใช้ในระบบบริหารจัดการคลังสินค้า
ไม่ได้มีข้อกำหนดถึงขนาด (Size)หรือรูปแบบของ Warehouse แต่จะต้องมีขนาดและอุปกรณที่เหมาะสมกับปริมาณและชนิดสินค้าที่บริษัทจะขาย ซึ่งสามารถเช่า Warehouse หรือลงทุนสร้างและปรับปรุงเองได้ นอกจากนี้ ระบบหรือซอฟต์แวร์ ควรเป็นชนิดที่สามารถอัพเดทได้อย่าง Real Time ว่ามีกี่ชิ้นคงเหลือในคลังสินค้า สินค้าอยู่ Shelf ไหน สามารถ Link การทำงานของทุกแผนกที่เกี่ยวข้องกับสินค้าได้ ทั้งนี้ สำนักงานไม่ได้ระบุชนิดซอฟต์แวร์เฉพาะ แต่ห้ามเป็นระบบ Manual อย่าง Excel หรือ Word ที่ทำตารางเอง และไม่สามารถดู Real Time ได้
มีข้อกำหนดสำหรับซอฟต์แวร์ที่ใข้ในระบบบริหารจัดการคลังสินค้าของกิจการ IPO หรือไม่ อย่างไร
ระบบหรือซอฟต์แวร์ ควรเป็นชนิดที่สามารถอัพเดทได้อย่าง Real Time ว่ามีกี่ชิ้นคงเหลือในคลังสินค้า สินค้าอยู่ Shelf ไหน สามารถ Link การทำงานของทุกแผนกที่เกี่ยวข้องกับสินค้าได้ ทั้งนี้ สำนักงานไม่ได้ระบุชนิดซอฟต์แวร์เฉพาะ แต่ห้ามเป็นระบบ Manual อย่าง Excel หรือ Word ที่ทำตารางเอง และไม่สามารถดู Real Time ได้
ทางบริษัทฯ มีแผนจะจำหน่ายเครื่องจักรหลักไปต่างประเทศในเครือเดียวกัน ดังนั้นทางบริษัทฯ ต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง แล้วต้องชำระภาษีอากรด้วยหรือไม่

การส่งเครื่องจักรหลักคืนกลับไปต่างประเทศ

1. หากไม่ทำให้กำลังผลิตลดลงมากกว่า 20% และไม่ทำให้กรรมวิธีการผลิตขาดหายไป สามารถยื่นคำร้องขอส่งคืนเครื่องจักรได้ในระบบ eMT จากนั้นจะต้องส่งเครื่องจักรคืนออกไปภายใน 90 วัน และยืนยันการส่งออกบนระบบ eMT อีกครั้งหนึ่ง

2. แต่หากเป็นการส่งคืนเครื่องจักรหลัก ที่ทำให้กำลังผลิตลดลงเกินกว่า 20% หรือทำให้กรรมวิธีการผลิตขาดหายไป โดยจะไม่นำเครื่องจักรใหม่เข้ามาทดแทน จะต้องขอแก้ไขโครงการ เพื่อลดกำลังผลิตหรือลดขั้นตอนการผลิตก่อน จึงจะส่งคืนเครื่องจักรหลักไปต่างประเทศได้

ตรงประเภทใบขนขาออก ก็ระบุใช้สิทธิ BOI ใช่ไหม
ใช่ครับ
บริษัทต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ต้องจดทะเบียนบริษัทพร้อมกับขอบีโอไอใช่ไหม และใช้เวลานานแค่ไหน

บริษัทต่างชาติที่มาลงทุนในประเทศไทยสามารถทำได้ ทั้งขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI และไม่ขอรับการส่งเสริมการลงทุน

หากขอรับส่งเสริมจาก BOI บุคคลธรรมดาสามารถยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนได้ และในขั้นตอบรับมติก็สามารถเป็นบุคคลธรรมดาได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ในขั้นตอนการออกบัตรส่งเสริม ผู้ยื่นจะต้องจดทะเบียนเป็นบริษัท สหกรณ์ หรือมูลนิธิที่จดทะเบียนในประเทศไทย ระยะเวลาการพิจารณาโครงการประมาณ 40-90 วันทำการ ขึ้นอยู่กับประเภทกิจการ และขนาดการลงทุน

การตรวจสอบเรื่องกำลังการผลิต ในกรณีขอเพิ่มกำลังการผลิต เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบที่เครื่องจักรว่าผลิตได้เท่าไหร่ต่อนาทีต่อเครื่องตามที่ระบุไป หรือตรวจสอบว่าสินค้าที่ผลิตออกมาประจำวันนั้นได้เท่าไหร่

การตรวจสอบกำลังผลิต ณ วันเปิดดำเนินการ ในทางทฤษฎี เจ้าหน้าที่จะต้องตรวจสอบกำลังผลิตจริง จากทั้งรายงานการผลิต (production report) ของโรงงาน และตรวจสอบจับเวลาเครื่องจักรส่วนที่เป็น bottle neck แต่ในทางปฏิบัติ เนื่องจากแต่ละโครงการมีรายละเอียดแตกต่างกัน จึงขึ้นอยู่กับวิธีการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่คนนั้นๆ

หากบริษัทไม่สามารถขอแก้ไขโครงการได้แล้ว บริษัทสามารถขอรับการส่งเสริมโครงการใหม่ภายใต้บัตรส่งเสริมเดิมได้หรือไม่ ( ถ้าเครื่องจักรที่จะนำมาใช้ในการผลิตของโครงการใหม่มีเครื่องจักรไม่ครบทุกกระบวนการผลิต เช่น กระบวนการผลิตมีทั้งหมด 5 ขั้นตอน ต้องใช้เครื่องจักรในการผลิตทั้งหมด 5 ชื่อ แต่โครงการที่จะขอใหม่มีเครื่องจักรในกระบวนการผลิต แค่ 4 ชื่อ เพราะเครื่องจักรบางตัวสามารถใช้ร่วมกับของโครงการเดิมได้ )

การขอรับส่งเสริมโครงการใหม่ ภายใต้บัตรส่งเสริมฉบับเดิม ไม่สามารถทำได้ โดยการขอรับส่งเสริมโครงการใหม่ จะต้องยื่นแบบคำขอรับการส่งเสริม ซึ่งเมื่อได้รับอนุมัติ จะได้รับบัตรส่งเสริมฉบับใหม่ ซึ่งอาจมีเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์แตกต่างไปจากบัตรส่งเสริมฉบับเดิม แต่การแก้ไขโครงการภายใต้บัตรส่งเสริมฉบับเดิม จะต้องยื่นแบบคำขอแก้ไขโครงการ

การยื่น ตส.310 จะต้องใช้ข้อมูลงบการเงินที่มีคนเซ็นรับรองงบ และยื่น ภงด.50 แล้วใช่หรือเปล่าเนื่องจากปัจจุบัน งบการเงินยังไม่มีคนเซ็นเลย จะมีปัญหาอะไรหรือเปล่า ถ้ายื่นหลังจาก 31 ก.ค.

1) ถูกต้อง

2) การไม่ยื่น ตส.310 ภายในระยะเวลาที่กำหนด อาจไม่สามารถยื่นงานที่เกี่ยวข้องกับช่างฝีมือต่างชาติในระบบ e-expert ได้ ดังนั้น หากมีความจำเป็นต้องยื่น ตส.310 ล่าช้า น่าจะทำหนังสือถึงสำนักบริหารการลงทุนที่รับผิดชอบ เพื่อแจ้งเหตุผลในการยื่นล่าช้า และระยะเวลาที่คาดว่าจะแล้วเสร็จ เพื่อใช้เป็นหลักฐานต่อไป

บริษัทจะมีช่างฝีมือต่างชาติที่จะลาออก แต่ยังไม่ได้ลาออกในตอนนี้ และพนักงานที่ทำเรื่อง BOI แจ้งพ้นตำแหน่งไปแล้วด้วยความเข้าใจผิด สามารถแจ้งยกเลิกได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ จะต้องทำอย่างไร พนักงานต่างชาติท่านนี้ถึงจะสามารถทำงานได้ต่อ

การแจ้งพ้นตำแหน่งช่างฝีมือ เมื่อระบบอนุมัติแล้ว ไม่สามารถยกเลิกได้ การดำเนินการ แยกได้เป็น 2 กรณีดังนี้

1. กรณีที่ระยะเวลาตามที่แจ้งพ้น เหลือเกินกว่า 15 วัน

สามารถยื่นขอบรรจุในตำแหน่งเดิมได้ โดยแจ้งเหตุผลว่าเคยมีการแจ้งพ้นเมื่อ .... ซึ่งแจ้งผิด จึงขอบรรจุกลับเข้าไปใหม่

2. กรณีระยะเวลาตามที่แจ้งพ้น เหลือไม่ถึง 15 วัน

2.1 ต้องเดินทางออกนอกประเทศภายในระยะเวลาที่แจ้งพ้น จากนั้น ทำ visa non-B และกลับเข้ามาในประเทศไทย และจึงยื่นขอบรรจุใหม่ หรือ

2.2 ขอบรรจุเป็นช่างชั่วคราวเป็นการเร่งด่วน (30 วัน) จากนั้นยื่นประทับตราวีซ่าเพื่อขยายเวลาอยู่ต่อตามที่ได้รับอนุญาต จากนั้นจึงยื่นแจ้งพ้นตำแหน่งช่างชั่วคราวก่อนที่วีซ่าจะหมดอายุ 15 วัน พร้อมกับยื่นขอบรรจุในตำแหน่งเดิม โดยการยื่นบรรจุนี้จะต้องมีระยะเวลาวีซ่าเหลือไม่น้อยกว่า 15 วัน

เนื่องจากสิทธิตามบัตรหมดอายุ 26 ก.พ. 2558 สิทธิบางส่วนคือ 57 วัน (1 ม.ค. 58 - 26 ก.พ. 58) นำมาใช้สิทธิยกเว้นภาษี การนำรายการ ค่าใช้จ่ายและรายได้ สามารถนำค่าใช้จ่ายและรายได้ที่เกิดขึ้นจริงจากงบในช่วง ม.ค. - 26 ก.พ. คือ 57/59 วัน มาใช้ในการคำนวณกรอก ภงด 50 ได้เลยตามจริง หรือ จะต้องนำรายได้และค่าใช้จ่ายทั้งปีมาปันส่วนตามอัตราส่วนรายได้ 57 วัน ต่อ รายได้ทั้งปี ก่อนแล้วจึงจะเป็นส่วนที่ได้รับสิทธิและไม่ได้รับสิทธิ ***คชจ และ รายได้ ตามจริงที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ได้สิทธิ ไม่ต้องปันส่วนจากรายได้ทั้งปี วิธีการคิดนี้ถูกต้องไหม

กรณีที่ใช้สิทธิภาษีได้ไม่ครบรอบปีบัญชี รายได้ ให้นับถึงอินวอยซ์ฉบับสุดท้ายที่ไม่เกินวันที่สิ้นสุดสิทธิ รายจ่าย ให้ดูเป็นกรณี รายจ่ายที่ไม่ต้องปันส่วน เช่น ค่าวัตถุดิบฯ ให้นับถึงวันที่สิ้นสุดสิทธิ ส่วนรายจ่ายที่ต้องปันส่วน เช่า ค่าเช่าฯ ให้ปันส่วนจากค่าเช่าทั้งปี เป็นต้น

บริษัทได้รับการส่งเสริม BOI ผลิตชิ้นส่วนสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น LEAD FRAME กรณีที่บริษัทอื่นนำวัตถุดิบมาให้เราผลิตตามกระบวนการที่บริษัทฯ ได้รับอนุมัติตามบัตรส่งเสริม บริษัทผู้ว่าจ้างสามารถหัก ณ ที่จ่าย 3% กับบริษัทเราได้หรือไม่อย่างไร (กรณีวัตถุดิบไม่ใช่ของเรา)

รายได้จากการรับจ้างผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้รับส่งเสริม โดยมีขั้นตอนการผลิตครบถ้วนตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม ถือเป็นรายได้ตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม ซึ่งสามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้

ดังนั้น บริษัทผู้ว่าจ้างจึงไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ก็ได้ โดยใช้สำเนาบัตรส่งเสริมของผู้รับจ้างเป็นหลักฐานในการไม่หักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีเป็นการรับจ้างผลิตเช่นนี้ หากบริษัทผู้รับจ้างเป็นนิติบุคคลต่างชาติ จะต้องยื่นขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จากสำนักบริหารการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ให้ถูกต้องด้วย

ทางบริษัทจะขอขยายเวลาการอยู่ในประเทศคนต่างด้าว(ต่ออายุ) ต้องจัดเตรียมเอกสารตามใบตรวจเอกสารของงานช่างฝีมือ มาตรา 25 ซึ่งจะครบ 21/10/15 สามารถขอต่อก่อนได้เลยหรือไม่ ยื่นทางอินเตอรเน็ทได้หรือไม่หรือว่าต้องไปยื่นที่ตึกจามจุรี
การต่ออายุการอยู่ในประเทศของช่างฝีมือ มีขั้นตอนคือ

1. เอกสารตามแบบตรวจเอกสาร ม.25 คือ สำเนาหนังสือเดินทาง สำเนาหนังสือรับรองไม่เกิน 6 เดือน และสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นไม่เกิน 6 เดือน

2. ต้องยื่นขอขยายเวลาของตำแหน่งคนต่างด้าวให้เสร็จสิ้นก่อน

- การขยายเวลาตำแหน่ง ยื่นก่อนล่วงหน้าได้ 90 วัน

- ใช้เอกสารคือ แผนผังสายงาน ผลการถ่ายทอดเทคโนโลยี งบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีรับรองแล้ว สำเนาหนังสือรับรองไม่เกิน 6 เดือน และสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นไม่เกิน 6 เดือน

3. การยื่นขยายเวลาตำแหน่ง และการยื่นต่ออายุการอยู่ในประเทศ ต้องยื่นทางอินเตอร์เน็ตบนระบบ e-expert เท่านั้น

- เมื่อได้รับอนุญาตต่ออายุแล้ว จึงไปรับหนังสืออนุญาต และพาช่างฝีมือไปต่อวีซ่าและใบอนุญาตทำงานต่อไป

บัตรส่งเสริมยังไม่ได้แจ้งเปิดดำเนินการแต่เมื่อเข้าไปในระบบยืนยันโครงการ พบว่าข้อมูลรายงานผลการดำเนินงานของบริษัท ตส.310 ของปี 54 - 57 ขึ้นสถานะว่ารอส่งข้อมูล จึงอยากสอบถามว่า 1) จำเป็นต้องรายงาน ตส.310 ของปี 54-57 หรือเปล่า 2) รายงานผลย้อนหลังจะมีปัญหาอะไรหรือไม่

การรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ (ตส.310) กำหนดเงื่อนไขในบัตรส่งเสริมว่า ต้องรายงานทุกรอบปี "หลังจากเปิดดำเนินการตามโครงการ" แต่ในปีที่ผ่านมา BOI ได้เปลี่ยนแนวทาง คือจะให้บริษัทรายงานผลการดำเนินการทุกรอบปี นับจากปีที่เริ่มมีรายได้ เช่น สมมุติว่าบริษัทได้รับบัตรเดือนตุลาคม 2556 และรายงานความคืบหน้า 12 เดือน ณ ตุลาคม 2557 โดยระบุว่ามีรายได้แล้ว ระบบก็จะแจ้งให้ต้องรายงานผลดำเนินการตาม ตส.310 ตั้งแต่รอบปี 2557 นั้นเลยตอบคำถามดังนี้

1) บริษัทต้องรายงาน ตส.310 ตามที่ BOI แจ้งไว้ในระบบรายงานผลการดำเนินงาน

2) รายงานผลย้อนหลังได้ เพราะบริษัทที่ยังไม่เปิดดำเนินการครบตามโครงการ ซึ่งไม่ควรมีหน้าที่ต้องรายงาน แต่ก็ต้องรายงานตามแนวทางใหม่ ดังนั้น บางบริษัทจึงต้องรายงานหลายปีย้อนหลัง เพราะเริ่มมีรายได้มาหลายปีแล้ว

บริษัทจะขอแก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์หรือยกเลิกชนิดผลิตภัณฑ์ เนื่องจาก มีความต้องการส่งเครื่องจักรไปต่างประเทศ เป็นเครื่องจักรหลักที่ใช้ผลิตแม่พิมพ์ ซึ่งบริษัทมีประเภทผลิตภัณฑ์ของบริษัท 2 ชนิด คือชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และยานยนต์เป็นต้น แม่พิมพ์ และซ่อมแซมแม่พิมพ์ที่ผลิตเอง และเมื่อส่งเครื่องจักรหลักไป แต่ยังมีเครื่องจักรบางส่วนยังคงอยู่ เพื่อใช้ซ่อมแซมแม่พิมพ์ที่ใช้ในโครงการ และอาจจะมีรับผลิตหรือซ่อมแซมชิ้นส่วนแม่พิมพ์จากข้างนอกด้วยได้หรือไม่ และหากยื่นขอแก้ไข ทางสำนักงานใช้ระยะเวลาในการพิจารณาเท่าไร หมายเหตุ บริษัทครบตรวจเปิดดำเนินการแล้ว ยื่นเรื่องตรวจเปิดแล้ว แต่รอเจ้าหน้าที่มาตรวจ

1. การแก้ไขโครงการเพื่อยกเลิกผลิตภัณฑ์ กำหนดเวลาพิจารณา 30 วันทำการ

2. การแก้ไขเพื่อรับจ้างซ่อมชิ้นส่วนแม่พิมพ์จากภายนอก อยู่ในข่ายจะพิจารณาอนุมัติได้ ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง หลังจากได้รับอนุมัติ จะต้องขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจต่างด้าวให้ครอบคลุ่มขอบข่ายกิจการรับจ้างซ่อมนี้ด้วย

3. การแก้ไข บางเรื่องต้องแก้ไขก่อนเปิดดำเนินการ บางเรื่องสามารถแก้ไขพร้อมเปิดดำเนินการ บางเรื่องถ้าเปิดดำเนินการแล้วจะแก้ไขไม่ได้ จึงควรสะสางให้ชัดเจนว่า จะแก้อะไร และจะแก้ในขั้นไหน

สิทธิประโยชน์ที่บริษัทจะได้รับหลังจากการเปิดดำเนินการเสร็จแล้ว มีอะไรบ้าง

สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับหลังเปิดดำเนินการเสร็จแล้ว ไม่มีครับ การเปิดดำเนินการให้ครบตามโครงการ เป็น "เงื่อนไข" ที่จะต้องทำ หากไม่สามารถทำได้ภายในเวลาที่กำหนด จะถูกเพิกถอนบัตรส่งเสริม และถูกเพิกถอนสิทธิประโยชน์ทั้งหมด ในขั้นตอนการเปิดดำเนินการ จะมีสิ่งที่กระทบกับสิทธิประโยชน์ของโครงการ ดังนี้

โครงการที่มีเงื่อนไขกำหนดวงเงินสูงสุดในการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล จะมีการตรวจสอบขนาดการลงทุน ที่ได้ลงทุนไปจริง จากนั้น จะปรับเปลี่ยนวงเงินสูงสุดที่จะให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้เป็นไปตามเงินที่ได้ลงทุนจริง ซึ่งอาจจะมากขึ้นหรือลดน้อยลงจากวงเงินที่เคยกำหนดไว้เดิมก็ได้ตามข้อเท็จจริง จะมีการตรวจสอบกำลังผลิตของเครื่องจักรที่ติดตั้งจริง ซึ่งหากมีกำลังผลิตของเครื่องจักร มากกว่ากำลังผลิตในบัตรส่งเสริม บริษัทสามารถขอแก้ไขกำลังผลิตในบัตรส่งเสริมให้มากขึ้นเท่ากับตามที่ตรวจสอบได้จริง ซึ่งจะทำให้กำลังผลิตส่วนที่เพิ่มขึ้นนี้ ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย

สอบถามแบบฟอร์มที่กรอกสำหรับการขอรับส่งเสริม ใช้แบบฟอร์มไหน

ปัจจุบัน (2568) ให้ผู้ขอรับการส่งเสริมการลงทุนสามารถยื่นคำขอผ่านระบบออนไลน์ e-Investment Promotion ผ่าน https://www.boi.go.th/un/boi_online_services_form

ทั้งนี้แบบฟอร์มสำหรับการขอรับการส่งเสริมสามารถดูได้จาก https://www.boi.go.th/index.php?page=form_app1

ถ้าส่งออกในอินวอย์ส่งออกยอดมูลค่าสินค้าจะต้องเท่ากับตอนที่นำเข้าด้วยไหม เหมือนตอนนี้ส่งออกไปแล้ว แล้วใส่ยอดตามอินวอยที่นำเข้ามาแล้ว เสีย Duty Tax ที่ต่างประเทศเยอะจะทำยังไงได้บ้าง

1. ในการพิจารณาอนุญาตให้ส่งคืนวัตถุดิบไปต่างประเทศ BOI จะตรวจสอบเฉพาะชื่อวัตถุดิบที่ขอส่งคืน ว่าเป็นชื่อเดียวกับวัตถุดิบที่นำเข้า โดย BOI จะไม่ตรวจสอบเรื่องราคา

2. การส่งคืนวัตถุดิบกลับไปยังผู้ผลิตในต่างประเทศ ปกติผู้ผลิตในต่างประเทศไม่น่าจะต้องเสียภาษีขาเข้า เพราะเป็นการนำสินค้าของตนเองที่ถูก reject กลับเข้ามา จึงควรให้ผู้ผลิตต่างประเทศเป็นผู้แจ้งมาว่าต้องการให้ทำอินวอยซ์อย่างไร

ขออภัยครับ ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ในภาษาที่ท่านเลือก !

Sorry, There is no information support your selected language !

Download และ ติดตั้งโปรแกรมอ่าน PDF

Download PDF Reader

Site map