Chat
x
toggle menu
toggle menu

Select Groups

All Group
  • All Group
  • นโยบายเเละมาตรการพิเศษในการส่งเสริม
  • การขอรับการส่งเสริมการลงทุน
  • การออกบัตรส่งเสริม
  • การเปิดดำเนินการ
  • การเเก้ไขโครงการ
  • การดำเนินการอื่น ๆ
  • การรายงานความคืบหน้าโครงการ (e-Monitoring)
  • การปฏิบัติหลังการได้รับการส่งเสริม
  • การยกเลิกบัตรส่งเสริม
  • เรื่องทั่วไป
  • การใช้สิทธิด้านที่ดิน
  • การใช้สิทธิด้านเครื่องจักร
  • การใช้สิทธิด้านช่างฝีมือ/ต่างด้าว
  • การใช้สิทธิด้านวัตถุดิบ
  • ประเภทกิจการ - การแพทย์
  • การใช้สิทธิด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ประเภทกิจการ - รถยนต์ไฟฟ้า
  • ประเภทกิจการ - ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (IBC) IPO และ TISO
  • ประเภทกิจการ - โรงแรม
  • ประเภทกิจการ - ผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ
  • ประเภทกิจการ - กิจการผลิตเครื่่องจักร อุุปกรณ์และชิ้นส่วน
  • ประเภทกิจการ - กิจการศูนย์กระจายสินค้าระหว่า ประเทศด้วยระบบที่่ทันสมัย (IDC)
ทางบริษัทมีข้อสงสัยในสิทธิ์ที่ได้รับในมาตรา 35(3) ให้ได้รับอนุญาตหักเงินลงทุนในการติดตั้งหรือก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกร้อยละ 25 ของเงินลงทุน นอกเหนือจากการหักค่าเสื่อมราคาตามปกติ ความหมายของ คำว่า ในการติดตั้งหรือก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก หมายถึงอะไร

ค่าติดตั้งหรือก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก ปกติจะสามารถหักค่าเสื่อมราคาได้ เช่น 20 ปี ปีละ 5% หากได้รับ ม 35(3) ก็จะสามารถนำวงเงิน 25% ของค่าติดตั้งหรือก่อสร้างดังกล่าว ไปหักออกจากกำไรสุทธิของปีใดปีหนึ่ง หรือหลายปีก็ได้ แต่ต้องไม่เกิน 10 ปี นับจากวันที่เริ่มมีรายได้ จึงทำให้มีกำไรสุทธิที่พึงเสียภาษี น้อยลงกว่าปกติ จะได้เสียภาษีน้อยลง -> เป็นมาตรการช่วยเหลือทางภาษีอีกวิธีหนึ่ง

ในอดีต กิจการที่จะได้รับสิทธิตาม ม.35(3) จะเป็นกิจการในเขต 3 ซึ่งจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ 8 ปีดังนั้น ม.35(3) จึงจะใช้ประโยชน์จริงๆได้ในปีที่ 9 และ 10 เท่านั้น แต่ปัจจุบัน เนื่องจากมีการกำหนดวงเงินสูงสุดในการยกเว้นภาษีเงินได้ (cap วงเงิน) จึงสามารถใช้ ม.35(3) ได้เร็วขึ้น โดยจะใช้สิทธิ ม.35(3) ตั้งแต่ปีต้นๆ ควบคู่ไปกับการใช้สิทธิ ม.31 ก็ได้

หลังจากได้รับการขออนุมัติตำแหน่งเรียบร้อยแล้ว ต้องดำเนินการบรรจุช่างฝีมือภายในเวลากี่วัน

หลังจากได้รับอนุมัติตำแหน่ง บริษัทจะยื่นบรรจุช่างฝีมือเมื่อใดก็ได้ แต่ระยะเวลาวีซ่าของช่างฝีมือที่จะบรรจุ จะต้องเหลือไม่น้อยกว่า 7 วัน และเมื่อได้รับอนุมัติบรรจุ จะต้องไปดำเนินการทำใบอนุญาตงานและต่อวีซ่าก่อนที่ระยะเวลาวีซ่าเดิมจะสิ้นสุด

ทางบริษัทฯ ปิดรอบบัญชีตั้งแต่เดือน พ.ค. 56 - เม.ย. 57 ดังนั้นทางบริษัทฯ ต้องยื่นรายงานภายในเดือน กรกฎาคม 2558 ใช่หรือไม่

ถูกต้อง หากรอบปีบัญชีคือ พ.ค. 56 - เม.ย. 57 การรายงานผลการดำเนินงาน (ตส.310) ก็คือภายใน 31 ก.ค. 58

เอกสาร "หนังสือรับทราบเงื่อนไขว่าจะไม่สามารถขยายระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรได้ (ไม่มีแบบฟอร์ม) " ที่แจ้งไว้ข้างต้น ยังคงต้องยื่นพร้อมกับแบบฟอร์มคำขอขยายด้วยใช่หรือไม่
ต้องยื่นด้วย
ถ้าจะยื่นขอรับการส่งเสริมขยายการลงทุน จะต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

เอกสารสำหรับการขอรับการส่งเสริม ประกอบด้วยรายการดังต่อไปนี้ https://www.boi.go.th/index.php?page=before_promo_apply_form

บริษัทฯ กิจการ 2.9.3 กิจการผลิตเหล็กทรงยาวสำหรับงานอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโครงการ เดิม ประเภท 2.4 การแปรรูปและแปรสภาพโลหะ อุตสาหกรรมการผลิตลวดและเพลาสแตนเลส ซึ่งบริษัทแจ้งยืนยันโครงการคาดว่าจะเริ่มผลิต มกราคม 2561 แต่ทาง สนง BOI ได้มีหนังสือแจ้งเข้าไปที่ IC .ให้ระงับการให้บริการ ของบริษัท ฯ ในโครงการเดิม คือ ประเภทกิจการ 2.4 แต่ไม่มีหนังสือแจ้งมาที่บริษัท ฯ ให้รับทราบ จึงทำให้บริษัท ฯ ไม่สามารถนำเข้าวัตถุดิบ Import Inline ได้ และมีสินค้า ที่ลูกค้าจะส่งกลับเข้ามาซ่อมแซมเพื่อส่งออกไป จึงรบกวนสอบถามว่าบริษัทต้องดำเนินการอย่างไรต่อไป เพื่อที่จะสามารถนำเข้าวัตถุดิบได้ หรือบริษัท ฯ ต้อง นำเข้า โดยโครงการ กิจการ 2.9.3และ บริษัท ฯต้อง ยื่นขอ Max Stock ใหม่ และขอสูตรการผลิตใหม่ทั้งหมด และดำเนินการโอนวัตถุดิบ จากโครงการ 2.4 มาที่โครงการ 2.9.3

บริษัทควรตรวจสอบกับ BOI ว่าเหตุใดจึงแจ้งระงับการใช้สิทธิมาตรา 36(1) ไปยัง IC แอดมินคาดว่า โครงการของบริษัทอาจไม่ได้รับสิทธิมาตรา 36 ตั้งแต่ต้น หรือสิทธิอาจจะขาดไปแล้ว และนโยบายส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ก็ไม่ได้ให้สิทธิมาตรา 36 เพิ่มเติม แต่อาจมีการระบุสิทธิผิดพลาดไปหรือไม่? กรณีที่บริษัทไม่ได้รับสิทธิมาตรา 36 หรือสิทธิขาดไปแล้ว สามารถยื่นขอรับสิทธิมาตรา 36 เพิ่มเติมได้

1. ภาษีที่จะต้องนำจ่ายที่ศุลฯ จะถูกคำนวณจากราคาขาย(แม่พิมพ์) ถูกต้องหรือไม่ 2. จากข้อที่1 ในกรณีที่ภาษีถูกคำนวณจากราคาขาย (แม่พิมพ์) ไม่ทราบว่า จะถูกคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ หรือมีวิธีการคิดอย่างไรบ้าง

กรณีที่ BOI อนุมัติให้ชำระภาษีตามสภาพ กรมศุลกากรจะคำนวณจากราคาสินค้าตามสภาพ x อัตราอากร ณ วันที่อนุมัติ

บริษัทร่วมทุนญี่ปุ่น-ไทย โดยมีผู้ถือหุ้นไทยข้างมาก สามารถยื่นขอรับการส่งเสริมในกิจการ IPO ได้หรือไม่
จะต้องจัดตั้งเป็นบริษัทนิติบุคคลในไทย โดยสามารถเป็นหุ้นไทยข้างมาก หรือหุ้นต่างชาติข้างมากได้
กิจการ IPO สามารถดำเนินธุรกรรมในรูปแบบ In-In, In-Out, Out-In, Out-Out ได้ทั้งหมดหรือไม่
กิจการ IPO ไม่สามารถทำกิจกรรม Out-Out ได้ เนื่องจากมีเงื่อนจะต้องมี Warehouse ในประเทศ (สามารถลงทุนสร้างเอง หรือเช่าได้) เพื่อทำการตรวจสอบสินค้า หรือ Repackage ก่อนส่งสินค้าให้ลูกค้า
1. "อัตราอากร ณ วันที่อนุมัติ" ทางบริษัทสามารถตรวจสอบเองได้หรือไม่ ในกรณีที่ทางบริษัทสามารถตรวจสอบได้ ไม่ทราบว่าจะตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์ไหนได้บ้าง 2. "หากเป็นเครื่องจักรนำเข้ามาไม่เกิน 5 ปี จะมีภาระภาษีตามสภาพ" นับตั้งแต่วันนำเข้า ถูกต้องหรือไม่

1. พิกัดอัตราศุลกากร ตรวจสอบได้จาก เว็บข้อมูลอากร กรมศุลกากร

2. เครื่องจักรที่นำเข้ามายังไม่ครบ 5 ปี หากปฏิบัติเงื่อนไขถูกต้องตามที่ได้รับส่งเสริม จะได้รับอนุญาตให้จำหน่ายโดยชำระภาษีตามสภาพ

ในกรณีที่รวมบัญชีสต๊อกวัตถุดิบ จะทำเรื่องขอขยายระยะเวลานำเข้าวัตถุดิบ ต้องทำเรื่องแยกทีละบัตร หรือสามารถทำรวมได้

กรณีรวมสต็อควัตถุดิบ (แต่ไม่ได้รวมบัตรส่งเสริม) เมื่อจะขยายระยะเวลานำเข้า ให้เตรียมคำร้องแยกตามบัตรส่งเสริม โดยแต่ละคำร้องให้แนบเอกสารตามที่กำหนดให้ครบถ้วน เช่น MML report เป็นต้น แต่ตอนที่ยื่นคำร้องให้ยื่นเข้าไปพร้อมกัน เพื่อจะได้พิจารณาไปในคราวเดียวกัน

ข้อแตกต่างระหว่างเงินลงทุนและทุนจดทะเบียนที่ระบุในบัตรส่งเสริม เช่นในบัตร ระบุว่า “จะต้องเพิ่มทุนจดทะเบียน 500,000 บาท รวมทุนจะทะเบียนเดิมไม่น้อยกว่า สามสิบหกล้านห้าแสนบาท ต้องชำระเต็มก่อนวันเปิดดำเนินการ” กับ “จะต้องมีขนาดลงทุน ไม่รวมค่าที่ดินและเงินหมุนเวียนไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท”

ความหมายของ BOI เงินลงทุน คือ จำนวนเงินทั้งหมดที่ใช้ไปเพื่อดำเนินการโครงการนั้น เช่น ค่าที่ดิน ค่าก่อสร้าง ค่าเครื่องจักร ค่าสินทรัพย์ต่างๆ และเงินทุนหมุนเวียน เป็นต้น

เงินลงทุนนี้ มีที่มาหลักๆ คือ 1) เงินของเราเอง คือเงินทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระ และ 2) เงินของคนอื่น คือ เงินกู้ ในการขอรับการส่งเสริมทั่วไป BOI จะกำหนดเงื่อนไขว่า ต้องใช้เงินของเราเองไม่น้อยกว่า 1 ส่วน และกู้ไม่เกิน 3 ส่วน (คือมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนจดทะเบียนไม่เกิน 3:1)

ยกตัวอย่าง บริษัทจะยื่นโครงการใหม่เข้าไป โดยมีขนาดการลงทุนประมาณ 2 ล้านบาท บีโอไอก็เลยกำหนดเงื่อนไขว่า ต้องเพิ่มทุนจดทะเบียนและเรียกชำระไม่น้อยกว่า 0.5 ล้านบาท (ส่วนที่เหลือ 1.5 ล้าน ใช้เงินกู้ก็ได้) ส่วนเงื่อนไข "ขนาดการลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) ไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท" นั้น เป็นเงื่อนไขพื้นฐาน ซึ่งกำหนดเหมือนกันทุกโครงการ (ยกเว้นโครงการ SME) คือไม่ว่าจะยื่นโครงการขอรับส่งเสริมที่มีขนาดการลงทุน 2 ล้านบาท หรือ 200 ล้านบาท หรือ 2,000 ล้านบาท บีโอไอก็จะกำหนดเงื่อนไขเหมือนกันว่า "ต้องมีขนาดการลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) ไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท"

ขนาดการลงทุนไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาทนี้ มีวิธีนับแตกต่างกัน ระหว่างโครงการริเริ่ม กับโครงการขยาย จึงต้องศึกษาทำความเข้าใจให้ถูกต้องด้วย

1. ขอคำแนะนำในการจัดทำ "หนังสือรับทราบเงื่อนไขว่าจะไม่สามารถขยายระยะเวลานำเข้าเครื่องจักร" ได้หรือไม่ ว่าเนื้อหารายละเอียด จะต้องระบุอะไรบ้าง เพราะไม่มีแบบฟอร์ม 2. เอกสารที่จะต้องยื่นให้กับสำนักงาน มีเพียงแค่ 2 อย่างนี้ใช่หรือไม่

ใช้ชื่อเรื่องว่า การรับทราบเงื่อนไขสิทธิประโยชน์ตามมาตรา 28 เนื้อความในหนังสือให้ระบุเหตุผลที่ต้องการขยายเวลาเปิดดำเนินการเพียงอย่างเดียว และมีข้อความว่า บริษัทรับทราบเงื่อนไขสิทธิประโยชน์การยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรตามมาตรา 28 ว่า หากบริษัทยื่นขอขยายเวลาเปิดดำเนินการเพียงอย่างเดียว บริษัทจะไม่สามารถยื่นขอขยายระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรตามมาตรา 28 ได้อีก ส่วนเนื้อความที่เหลือ เขียนเพิ่มเติมเองได้ให้หนังสือสมบูรณ์

1) การยื่นแบบ ตส.310 เริ่มยื่นครั้งแรกหลังจากที่บริษัทได้เปิดดำเนินการแล้ว หรือหลังจากบริษัท ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลครั้งแรก 2) หากบริษัทปิดรอบ บช เดือน ต.ค. 56 - ก.ย. 57 ดังนั้นบริษัทต้องยื่น ตส.310 ภายใน กรกฎาคม 2558 ใช่หรือไม่

1) เงื่อนไขในบัตรส่งเสริม กำหนดให้ต้องยื่นรายงานผลการดำเนินงาน (ตส.310) หลังจากที่เปิดดำเนินการครบตามโครงการแต่เมื่อประมาณปีทีแล้ว BOI ได้ขอให้ผู้ได้รับส่งเสริมทุกราย ที่เริ่มมีรายได้แล้ว ยื่นรายงานผลการดำเนินงานด้วย แม้จะยังไม่เปิดดำเนินการครบตามโครงการก็ตาม

2) หากรอบบัญชีคือ ต.ค. 56 - ก.ย. 57 จะต้องยื่นรายงาน ตส.310 ภายในวันที่ 31 ก.ค. 58 ถูกต้อง

เนื่องจากบริษัทได้รับการสนับสนุนจาก BOI เลขที่ใบส่งเสริม 11**/2544 มีความประสงค์จะนำเข้าช่างฝีมือจากต่างประเทศ ขณะนี้อยู่ในระหว่างขออนุมัติตำแหน่ง แต่พบข้อสงสัยเรื่องวุฒิการศึกษา เนื่องจากในข้อกำหนดสำหรับตำแหน่งทั่วไป ไม่ได้กำหนดระดับของวุฒิการศึกษามา จึงอยากขอคำปรึกษาในส่วนนี้เพื่อที่จะได้ดำเนินการบรรจุช่างฝีมือต่างด้าวได้อย่างถูกต้องครบถ้วน

ช่างต่างด้าวจะขอนำเข้ามาทำงานในประเทศโดยใช้สิทธิ BOI ต้องเป็นช่างฝีมือหรือผู้ชำนาญการที่เข้ามาเพื่อกำกับดูแลกิจการของบริษัท หรือเพื่อถ่ายทอดความรู้ให้กับคนไทย ไม่ใช่เข้ามาเพื่อปฏิบัติงานในตำแหน่งที่คนไทยสามารถทำงานแทนได้ กรณีตำแหน่งทั่วไป ปกติจะเป็นตำแหน่งระดับหัวหน้างานหรือผู้เชี่ยวชาญ ที่จะมาถ่ายทอดความรู้ให้กับคนไทย ดังนั้น จึงต้องมีวุฒิการศึกษาตรงกับตำแหน่งงานนั้นๆ และมีประสบการณ์ทำงานที่ตรงกับตำแหน่งนั้นๆ ไม่น้อยกว่า 2 ปี แต่หากมีวุฒิการศึกษาไม่ตรงกับตำแหน่ง จะต้องมีประสบการณ์ทำงานที่ตรงกับตำแหน่งนั้นๆ ไม่น้อยกว่า 5 ปี

บริษัทได้รับสิทธิ์ตามมาตรา 31 เป็นเวลา 8 ปี แต่ใช้สิทธิ์ได้ 4 ปีก้อครบตามจำนวนวงเงิน ไม่ทราบว่าบริษัทสามารถใช้สิทธิ์ตามมาตรา 35(1)ต่อได้อีก 5 ปีเลยหรือไม่ หรือต้องรอให้ครบ 8 ปี ก่อน

การใช้สิทธิมาตรา 35 สามารถใช้ได้ 2 วิธี แล้วแต่ว่ากรณีใดสิ้นสุดก่อนกัน คือ

ใช้สิทธิมาตรา 31 ครบตามระยะเวลา 8 ปี

ใช้สิทธิมาตรา 31 ครบตามวงเงิน นอกจากนี้ การเริ่มใช้สิทธิมาตรา 35 จะเริ่มใช้ก่อนวันสิ้นสุดมาตรา 31 ก็ได้ เช่น มาตรา 31 ครบในวันที่ 4 มกราคม แต่เพื่อความสะดวก บริษัทจะใช้สิทธิมาตรา 35 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ก็ได้ (คือสละสิทธิการใช้สิทธิมาตรา 31 ของวันที่ 1-4 ไป)

มีข้อควรระวังคือ หากบริษัทใช้สิทธิมาตรา 31 ครบในปีที่ 4 เป็นไปได้ว่าบริษัทยังไม่ได้ยื่นเปิดดำเนินการครบตามโครงการ ดังนั้น วงเงินการยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 31 ก็อาจเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นกับผลการตรวจสอบในวันเปิดดำเนินการครบตามโครงการ จึงจะทำให้การยื่นใช้สิทธิในรอบปีนั้น และก่อนหรือหลังจากนั้นผิดพลาดไปด้วย

คำแนะนำคือ ควรยื่นเปิดดำเนินการเต็มโครงการ เพื่อให้มีการตรวจสอบขนาดการลงทุนและวงเงินที่จะได้รับยกเว้นภาษี เพื่อที่จะคำนวณได้ว่าสิทธิตามมาตรา 31 จะสิ้นสุดลงเมื่อไร แต่หากบริษัทเห็นว่า ยังขอเปิดดำเนินการเต็มโครงการไม่ได้ เพราะยังจะมีเครื่องจักรเข้ามาอีก ก็แสดงว่าวงเงินที่จะใช้สิทธิตามมาตรา 31 ยังไม่เป็นที่ยุติ จึงไม่ควรเริ่มใช้สิทธิมาตรา 35 เพราะจะทำให้มีปัญหาที่ต้องแก้ไขในภายหลัง เช่น ยื่นภาษีขาด เป็นต้น

หากบริษัทได้รับสิทธิมาตรา 31 เป็นเวลา 8 ปี และมาตรา 35(1) ได้รับลดหย่อนร้อยละ 50 เป็นเวลา 5 ปี นับจากหมดระยะเวลามาตรา 31 อยากทราบว่า ถ้าในเงื่อนไขระบุให้จำกัดมูลค่าวงเงินภาษีเงินได้ที่ได้รับยกเว้น ตามมาตรา 31 อยากทราบว่าวงเงินนี้ จะต้องรวมวงเงินที่ได้รับลดหย่อน ตามมาตรา 35(1) ด้วยหรือไม่ เช่น พอครบ 8 ปี บริษัทได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าครบตามจำนวนในมาตรา 31 จะยังได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้อีกร้อยละ 50 ต่อไปอีก 5 ปี หรือไม่

การกำหนดวงเงินยกเว้นภาษีที่ระบุในบัตรส่งเสริม จะหมายถึง เฉพาะวงเงินที่จะใช้สิทธิตามมาตรา 31 วรรคหนึ่งเท่านั้น ส่วนมาตรา 35(1) จะไม่มีกำหนดวงเงินสูงสุด ดังนั้น แม้ว่าบริษัทใช้สิทธิยกเว้นภาษีตามมาตรา 31 ครบตามวงเงินแล้ว ก็ยังสามารถใช้สิทธิการลดหย่อนภาษีตามมาตรา 35(1) ต่อจากนั้นได้อีก 5 ปี

ถ้าจะขออนุญาตให้คนต่างด้าวคนใหม่เข้ามาทำงานแทนคนเดิม ต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง ใช้เอกสารอะไรบ้าง ต้องเตรียมเอกสารยื่นเรื่องก่อนเข้ามาทำงานจริงกี่วัน
1.ขั้นตอนที่ต้องดำเนินการ

- ยื่นแจ้งพ้นตำแหน่งของช่างฝีมือคนเก่า

- ยื่นบรรจุช่างฝีมือคนใหม่

- ติดต่อ ตม. และแรงงาน เพื่อยกเลิกวีซ่าและใบอนุญาตทำงานของช่างฝีมือคนเก่า

- ติดต่อ ตม. และแรงงาน เพื่อขยายเวลาวีซ่าและทำใบอนุญาตทำงานของช่างฝีมือคนใหม่

2.ใช้เอกสารอะไรบ้าง

1) การแจ้งพ้นตำแหน่งไม่ต้องใช้เอกสาร

2) การยื่นบรรจุ

- ไฟล์รูปถ่าย

- สำเนาหนังสือเดินทาง

- สำเนาใบรับรองการศึกษา

- สำเนาใบรับรองการทำงาน

- สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) (ไม่เกิน 6 เดือน)

3.ระยะเวลาเตรียมการก่อนเข้ามาทำงานจริง

- ช่างฝีมือต้องเดินทางเข้ามาแล้ว จึงจะยื่นขอบรรจุได้

- การพิจารณาอนุมัติบรรจุใช้เวลาไม่เกิน 3 วันทำการ

- เมื่อได้รับอนุมัติบรรจุแล้ว จะต้องพาช่างฝีมือไปทำใบอนุญาตทำงาน และต่อวีซ่าภายใน 15 วัน

จากแบบรายงาน ตส.310 ในข้อ 6 การใช้วัตถุดิบและวัสดุที่ใช้ไป หากรอบบัญชีคือ ต.ค. 56 – ก.ย. 57 จะต้องยื่นรายงาน ตส.310 ภายในวันที่ 31 ก.ค. 58 นี้ มูลค่าวัตถุดิบดังกล่าวต้องระบุเฉพาะที่เกิดขึ้นตามรอบบัญชีเดือน ต.ค. 56 – ก.ย. 57 ใช่หรือไม่
ตัวเลขการใช้วัตถุดิบและวัสดุ ให้ใช้ตัวเลขต้นทุนวัตถุดิบใน ภงด.50 ตามรอบระยะเวลาบัญชีที่ยื่นเลย
คำนวณกำลังการผลิตของเครื่องฉีดพลาสติก จะต้องคำนวณน้ำหนักของชิ้นงานอย่างเดียวหรือต้องรวมก้าน(Runner) ที่ฉีดงานออกมาด้วย

กรณีที่บัตรส่งเสริมกำหนดกำลังผลิตสูงสุดเป็น "น้ำหนัก" ย่อมหมายถึง น้ำหนักของผลิตภัณฑ์ โดยไม่ได้รวมถึงน้ำหนักของ runner ดังนั้น การคำนวณกำลังผลิตของเครื่องฉีดพลาสติก จึงควรคำนวณจากน้ำหนักของชิ้นงาน โดยไม่รวมน้ำหนัก runner ได้

ขออภัยครับ ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ในภาษาที่ท่านเลือก !

Sorry, There is no information support your selected language !

Download และ ติดตั้งโปรแกรมอ่าน PDF

Download PDF Reader

Site map