Chat
x
toggle menu
toggle menu

Select Groups

All Group
  • All Group
  • นโยบายเเละมาตรการพิเศษในการส่งเสริม
  • การขอรับการส่งเสริมการลงทุน
  • การออกบัตรส่งเสริม
  • การเปิดดำเนินการ
  • การเเก้ไขโครงการ
  • การดำเนินการอื่น ๆ
  • การรายงานความคืบหน้าโครงการ (e-Monitoring)
  • การปฏิบัติหลังการได้รับการส่งเสริม
  • การยกเลิกบัตรส่งเสริม
  • เรื่องทั่วไป
  • การใช้สิทธิด้านที่ดิน
  • การใช้สิทธิด้านเครื่องจักร
  • การใช้สิทธิด้านช่างฝีมือ/ต่างด้าว
  • การใช้สิทธิด้านวัตถุดิบ
  • ประเภทกิจการ - การแพทย์
  • การใช้สิทธิด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ประเภทกิจการ - รถยนต์ไฟฟ้า
  • ประเภทกิจการ - ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (IBC) IPO และ TISO
  • ประเภทกิจการ - โรงแรม
  • ประเภทกิจการ - ผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ
  • ประเภทกิจการ - กิจการผลิตเครื่่องจักร อุุปกรณ์และชิ้นส่วน
  • ประเภทกิจการ - กิจการศูนย์กระจายสินค้าระหว่า ประเทศด้วยระบบที่่ทันสมัย (IDC)
เลขที่ XXXX(2)/2556 ประเภท 5.5 กิจการผลิตชิ้นส่วนและ/หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือชิ้นส่วนและ/หรืออุปกรณ์ที่ใช้กับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ 1. บริษัทได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ 7 ปี ดูจากบัตรส่งเสริม ถูกต้องไหม 2. สิทธิประโยชน์ตามประเภทกิจการ (Activity-based Incentives) A1-A4,B1-B2 ปี2556 กิจการบริษัทอยู่ในช่วงลำดับไหน 3. ไม่ว่าทาง BOI จะมีนโยบายส่งเสริมการลงทุน ยกเว้นภาษีเงินได้ เพิ่มขึ้นหรือน้อยลง ไม่สามารถปรับเปลี่ยน ทางบริษัทต้องยึดจากบัตรที่ได้รับ ยกเว้นภาษีเงินได้ 7 ปี จากที่อนุมัติถูกต้องไหม

บริษัทได้รับบัตรส่งเสริมในปี 2556 ในกิจการ 5.5 กิจการผลิตชิ้นส่วนและ/หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือชิ้นส่วนและ/หรืออุปกรณ์ที่ใช้กับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 7 ปี จึงเข้าใจว่าน่าจะเป็นดังนี้

1. บริษัทได้รับส่งเสริมตามหลักเกณฑ์ของ ประกาศ กกท ที่ 10/2552 ซึ่งยังไม่มีการกำหนดสิทธิประโยชน์เป็นกลุ่ม A1-A4, B1-B2

2. ได้รับสิทธิประโยชน์ ประกาศ กกท ที่ 4/2549 เรื่อง นโยบายส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 7 ปี หากตั้งโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมในเขต 2

3. การกำหนดสิทธิประโยชน์เป็นกลุ่ม A1-A4, B1-B2 เป็นไปตาม ประกาศ กกท ที่ 2/2557 ซึ่งมีผลใช้บังคับกับโครงการที่ยื่นคำขอรับการส่งเสริมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป

ทางบริษัทฯ ขนส่งสินค้าที่ผลิตเสร็จแล้วไปส่งให้กับ บ.A ซึ่งอยู่ในประเทศ บ.A เป็นบริษัทรับจ้างล้างชิ้นงานในห้องคลีนรูม หลังล้างเสร็จจะทำการส่งสินค้าดังกล่าวไปยัง บ.ลูกค้า ซึ่งอยู่เขต Free Zone คำถามคือ ค่าขนส่งจากบริษัทฯ ไปยังบริษัท A สามารถนำมาใช้สิทธิหักค่าขนส่งเป็น 2 เท่าได้หรือไม่

การหักค่าขนส่งเป็น 2 เท่า ตามมาตรา 35(2) จะต้องเป็นค่าขนส่งในประเทศเท่านั้น เช่น ค่าขนส่งสินค้า เครื่องจักร และวัตถุดิบ โดยไม่รวมถึงค่าขนส่งพนักงาน และจะหักได้เฉพาะส่วนที่เป็นต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตโดยตรงเท่านั้น ค่าขนส่งสินค้าไปว่าจ้างบริษัท A ให้ทำความสะอาด ก่อนจำหน่ายให้กับลูกค้า เป็นการขนส่งในประเทศที่เป็นต้นทุนการผลิตโดยตรง จึงสามารถใช้สิทธิตามมาตรา 25(2) ได้ แต่บริษัทจะต้องได้รับอนุมัติกรรมวิธีการผลิตให้มีขั้นตอนการนำสินค้าไปว่าจ้างทำความสะอาดด้วย

มีทางนายญี่ปุ่นเขาเคยได้ยินข่าวจากคนญี่ปุ่นด้วยกันว่า ถ้าบริษัทไหนที่ได้รับการส่งเสริมจาก BOI และได้นำช่างฝีมือเข้ามาปฏิบัติงาน ตอนที่เข้าประเทศมาถึงสนามบิน เหมือนเคยได้ยินมาว่า มีช่องทางพิเศษ สำหรับบริษัทที่ได้รับการส่งเสริม คือไม่ต้องไปต่อคิวยาวเหมือนปกติ ไม่ทราบว่าจริงหรือเปล่า

ชาวต่างชาติระดับบริหาร ในบริษัทที่ได้รับส่งเสริมจาก BOI สามารถขอใช้ช่องทางพิเศษ (Fast Track Lane / Premium Lane) ที่สนามบิน ในการเดินทางเข้าออกประเทศได้ ข้อมูลเบื้องต้นตาม www.faq108.co.th/common/topic/premium_lane.php

กรณีที่บริษัทมีบัตรส่งเสริม 2 บัตร บัตรแรกปี 2547(หมดสิทธิเครื่องจักรและวัตถุดิบแล้ว, บัตร 2 ปี 2554 ใช้สิทธิเครื่องจักรและวัตถุดิบอยู่โดยทำเรื่องขยายเวลาไว้แล้ว ยังไม่ได้เปิดดำเนินการ รบกวนสอบถาม 1. บริษัทไม่ต้องแจ้งยืนยันการดำเนินการตามโครงการแล้วใช่ไหม เนื่องจากครบ 2 ปีทั้ง 2 บัตรแล้ว 2. บริษัทต้องรายงานผลการดำเนินงาน (ตส.310) สำหรับบัตรที่ 1 หรือไม่

1) ถ้าทั้งสองบัตร เคยยื่นแบบยืนยัน 6 เดือน 1 ปี และ 2 ปีไปแล้ว หลังจากนั้นก็ไม่ต้องยื่นอีก แต่หากไม่ได้ยื่น และยังไม่ได้รับใบอนุญาตเปิดดำเนินการครบตามโครงการ ควรยื่นย้อนหลังให้ถูกต้องตามเงื่อนไขในบัตรส่งเสริม

2) รายงานฐานะการเงินและผลประกอบการ (ตส.310) จะเริ่มรายงานหลังจากได้รับใบอนุญาตเปิดดำเนินการครบตามโครงการ และต้องรายงานตลอดไป ตราบเท่าที่ยังมีสถานะเป็นผู้ได้รับส่งเสริม ไม่ว่าสิทธิทางภาษีอากรจะหมดสิ้นลงแล้วหรือไม่ก็ตาม ดังนั้น บัตรที่ 1 ปี 2547 ยังมีหน้าที่ต้องรายงานฐานะการเงินและผลประกอบการตามแบบ ตส.310 ทุกรอบปี

ในกรณีที่บริษัทโรงงานเพิ่มขยายฐานการผลิต และจะมีการนำเข้าเครื่องจักรเพิ่มเติม เพื่อผลิตสายไฟเหมือนเดิม แต่ไม่ใช่งานชิ้นเดิม บริษัทควรที่จะขอบัตรส่งเสริมใบใหม่ หรือควรทำการแก้ไขโครงการเดิม ปัจจุบันได้รับบัตรส่งเสริม 2 ใบ

บริษัท 1 บริษัท สามารถขอรับการส่งเสริมจาก BOI ได้หลายโครงการ โดยจะผลิตสินค้าชนิดเดียวกันหรือต่างกันก็ได้ แต่มีเงื่อนไขคือ แต่ละโครงการจะต้องมีเครื่องจักรสำหรับผลิตสินค้าเฉพาะของโครงการนั้นๆ เท่านั้น จะใช้เครื่องจักรร่วมกับโครงการอื่นไม่ได้ (เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก BOI) กรณีที่สอบถาม ให้ข้อมูลน้อยเกินกว่าจะตอบได้ว่า ควรยื่นขอเป็นโครงการใหม่ หรือขอแก้ไขโครงการเดิม

จึงขอตอบเฉพาะหลักเกณฑ์ดังนี้

1.กรณียื่นขอเป็นโครงการใหม่

- ต้องมีการลงทุนเครื่องจักรใหม่ครบสายการผลิต โดยไม่ใช้เครื่องจักรร่วมกับโครงการเดิม

- จะได้รับสิทธิประโยชน์ตามหลักเกณฑ์ ณ วันยื่นคำขอ

- ต้องแยกรายรับรายจ่ายของโครงการใหม่และโครงการเดิม และแยกใช้สิทธิประโยชน์ของโครงการใหม่และโครงการเดิม

2.กรณีแก้ไขโครงการเดิม

- โครงการเดิมต้องยังไม่เปิดดำเนินการเต็มโครงการ (ยกเว้นกิจการอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน)

- เพิ่มกำลังผลิตได้ไม่เกิน 30% ของบัตรฉบับแรก หากเกิน ต้องยื่นขอเป็นโครงการใหม่ (ยกเว้นกรณีสิทธิประโยชน์เดิมและใหม่ได้รับเท่ากัน)

- จะได้รับสิทธิประโยชน์เท่าที่เหลืออยู่ของโครงการเดิม

ถ้ากรรมการไม่ได้ไปยื่นเอกสารเอง ต้องมอบอำนาจ หรือมีเอกสารแนบอื่นๆไหม

กรรมการเป็นผู้ลงนามและปรับตราในเอกสาร แต่จะให้ใครไปยื่นแทนก็ได้ ไม่ต้องมีหนังสือมอบอำนาจในการไปยื่นเรื่อง

ต้องแจ้งหรือดำเนินการ ต่อ BOI อย่างไรบ้าง (2 ก.ค. 2563)
หากการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น ทำให้อัตราส่วนผู้ถือหุ้นไทยต่ำกว่าเงื่อนไขในบัตรส่งเสริม ให้ยื่นแบบคำขอแก้ไขอัตราส่วนผู้ถือหุ้นต่อ BOI
ขนาดการลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดิน และทุนหมุนเวียน) ไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาทที่กำหนดในบัตรส่งเสริมฯ มีหลักการคำนวณอย่างไร

ขนาดการลงทุนที่กำหนดในบัตรส่งเสริม นับจากเงินลงทุน โดยแยกเป็น 2 กรณี ดังนี้

กรณีโครงการริเริ่ม (ตั้งบริษัทใหม่ และประกอบกิจการภายใต้ชื่อบริษัทนี้เป็นครั้งแรก) เงินลงทุนประกอบด้วย
ค่าก่อสร้าง หรือค่าเช่าอาคารที่ทำสัญญาเช่ามากกว่า 3 ปี
ค่าเครื่องจักร ค่าติดตั้ง ค่าทดลองเครื่อง หรือค่าเช่าเครื่องจักรที่ทำสัญญาเช่ามากกว่า 1 ปี
ค่าใช้จ่ายก่อนเปิดดำเนินการ หมายถึง ค่าจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทใหม่
ค่าทรัพย์สินอื่นๆ ได้แก่ ค่าอุปกรณ์สำนักงาน ยานพาหนะ และค่าสัมปทาน ประทานบัตร

กรณีโครงการขยาย (เป็นบริษัทที่เคยประกอบกิจการมาแล้ว ไม่ว่ากิจการนั้นจะได้รับส่งเสริมหรือไม่ก็ตาม) เงินลงทุนประกอบด้วย
ค่าก่อสร้าง หรือค่าเช่าอาคารที่ทำสัญญาเช่ามากกว่า 3 ปี
ค่าเครื่องจักร ค่าติดตั้ง ค่าทดลองเครื่อง หรือค่าเช่าเครื่องจักรที่ทำสัญญาเช่ามากกว่า 1 ปี

เงื่อนไขขนาดการลงทุนไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาทนี้ จะต้องดำรงตลอดระยะเวลาที่ได้รับการส่งเสริม หากมีการขายเครื่องจักรหรือทรัพย์สินไปก่อนวันที่ BOI ตรวจเปิดดำเนินการ จะนำมูลค่าเครื่องจักรหรือทรัพย์สินนั้น มานับเป็นขนาดการลงทุนไม่ได้

อ่านเพิ่มเติม : คลิก

บริษัทได้รับการส่งเสริมจากสำนักงานฯ ให้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 2 โครงการ 1. โครงการ A ( เปิดดำเนินการแล้วประมาณ 5 - 6 ปี ) 2. โครงการ B (ยังไม่ครบกำหนดเปิดดำเนินการ) ในกรณีนี้บริษัทสามารถขออนุมัติรวมบัญชีสต็อควัตถุดิบของทั้ง 2 โครงการเข้าด้วยกันได้หรือไม่

หากทั้ง 2 โครงการได้รับอนุมัติบัญชี Max Stock แล้ว และมีรายการวัตถุดิบเหมือนกันตั้งแต่ 1 รายการขึ้นไป สามารถขอรวมบัญชี Max Stock เข้าด้วยกันได้ แต่จะถูกปรับลดระยะเวลานำเข้าให้เหลือเท่ากับโครงการที่สั้นที่สุด และเมื่อจะขอขยายระยะเวลานำเข้าวัตถุดิบ จะต้องยื่นขอขยายพร้อมกันทั้ง 2 โครงการ

สอบถามเกี่ยวกับคำว่า "ตามสภาพ" ของการชำระภาษีตามสภาพของเครื่องจักรหรือแม่พิมพ์นั้น ถ้าเป็นเครื่องจักรก็สามารถคำนวณได้ตามที่แจ้งไว้ข้างต้น แต่ในกรณีที่เป็นแม่พิมพ์นั้น วัสดุของแม่พิมพ์จะเป็นเหล็ก "ตามสภาพ" คือ ราคาขายที่ผู้รับซื้อประเมินราคาออกมา (ราคาอาจจะตีเป็นกิโลหรือเหมารวม) และนำราคานั้น มาคำนวณเพื่อเป็นการชำระภาษี เข้าใจถูกต้องหรือไม่

แม่พิมพ์ก็คำนวณเหมือนกับเครื่องจักร แม่พิมพ์ราคา 1 ล้านบาท ถ้าใช้ไป 2 ปี แล้วจะจำหน่ายมูลค่าตามสภาพ (คำนวณจากอายุ 5 ปี) ก็คือ 1 ล้าน x 60% คือ 600,000 บาท

บริษัทที่ได้รับส่งเสริมในกิจการ IBC อยู่แล้ว สามารถยื่นขอรับการส่งเสริมในกิจการ IPO ได้หรือไม่ หากไม่ได้ จะขอยกเลิกบัตรส่งเสริมกิจการ IBC และยื่นขอรับการส่งเสริมในกิจการ IPO ได้หรือไม่ หรือสามารถเปลี่ยนกิจการที่ได้รับส่งเสริมจาก IBC เป็นกิจการ IPO ได้หรือไม่
หากมีบัตร IBC อยู่แล้ว บริษัทสามารถขอรับการส่งเสริมกิจการ IPO ได้ เนื่องจาก 1 บริษัท สามารถขอรับการส่งเสริมได้หลายบัตรหรือหลายกิจการ ทั้งนี้ บริษัทจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขเฉพาะโครงการของกิจการแต่ละประเภท อย่างไรก็ตามบริษัทไม่สามารถนำบัตร IBC มาเปลี่ยนประเภทเป็นกิจการ IPO ได้ เนื่องจากเป็นคนละประเภทกิจการกัน และมีลักษณะการให้บริการที่แตกต่างกัน
อยากทราบขอบข่ายการให้บริการภายใต้กิจการ IPO
ขอบข่ายการให้บริการภายใต้กิจการ IPO เป็นการให้บริการทางด้านการจัดหา จัดซื้อวัตถุดิบ ชิ้นส่วน และส่วนประกอบ ที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต รวมถึงการให้บริการตรวจสอบคุณภาพและการบรรจุสินค้า เป็นต้น
จะรบกวนสอบถามเกี่ยวกับการจำหน่ายแม่พิมพ์ที่นำเข้าจากตปท.โดยใช้สิทธิ์ BOI ในการนำเข้ามา (เป็นการจำหน่ายให้กับผู้รับซื้อภายในประเทศ) 1. มีขั้นตอนการดำเนินการอย่างไรบ้าง 2. แม่พิมพ์ที่จะจำหน่ายมีหลาย Code No.จะต้องแยกออกจากกันหรือไม่ เพื่อให้ทางสำนักงานฯที่เกี่ยวข้องเข้าตรวจ เช่น จำนวน, รูปแบบของแม่พิมพ์เป็นต้น เพื่อจะนำไปเสียภาษีอากรในภายหลัง

ขั้นตอนคือ

1. ยื่นแบบฟอร์มขอจำหน่ายเครื่องจักร

- หนังสือนำส่งของบริษัทฯ

- รายการเอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบการพิจารณาเรื่องการนำเครื่องจักรไปใช้เพื่อการอื่น/การตัดบัญชีเครื่องจักร (F IN MC 01-03)

- แบบคำขออนุญาตจำหน่าย/โอน/บริจาคเครื่องจักร (F IN MC 04-03)

2. หากเป็นเครื่องจักรนำเข้าไม่เกิน 5 ปี จะมีภาระภาษีตามสภาพ ซึ่งต้องไปติดต่อขอชำระภาษีต่อกรมศุลกากร ตามหนังสือที่ BOI แจ้ง และเก็บเอกสารใบเสร็จรับเงินต่างๆ เป็นหลักฐานไว้

3. การขอจำหน่ายเครื่องจักร ต้องแยกแสดงเป็นแต่ละรายการ ตามที่นำเข้าและได้รับอนุมัติสั่งปล่อย โดยระบุเลขที่/วันที่หนังสืออนุมัติสั่งปล่อย ในแบบฟอร์มด้วย

สมมุติว่าบริษัทจะขอรวมสต๊อควัตถุดิบบัตร A และบัตร B โดยบัตร A ระยะเวลานำเข้า 2 ก.พ. 56 - 1 ก.พ.60 และ บัตร B ระยะเวลานำเข้า 14 มิ.ย. 59 - 13 มิ.ย. 61 กรณีนี้ หากได้รับอนุมัติรวมสต๊อควัตถุดิบแล้ว BOI จะอนุมัติให้ตามระยะเวลาใด

การรวมบัญชีสต๊อควัตถุดิบ จะกำหนดวันที่สิ้นสุดให้เท่ากับวันที่ของบัตรที่สั้นที่สุด จากนั้นจึงจะขยายระยะเวลานำเข้าของทุกบัตรไปพร้อมๆกัน

กรณีที่สอบถาม ขั้นแรกให้รวมบัญชีสต็อค โดยกำหนดวันสิ้นสุดของทั้ง 2 บัตร เป็น 1 ก.พ. 60 จากนั้นเมื่อจะขยายระยะเวลา ให้ยื่นขอขยายเวลาพร้อมกันทั้ง 2 บัตรส่งเสริม ซึ่งปกติจะขยายให้ครั้งละ 2 ปี คือ จาก 1 ก.พ. 60 เป็น 1 ก.พ. 62

บริษัทจะประกอบกิจการผู้ผลิตและจำหน่ายแม่พิมพ์ จำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งตามที่ได้ดูในเว็บไซต์แล้ว อยู่ในประเภทกิจการที่ได้รับการส่งเสริม 3.1.2 กิจการผลิตเครื่องจักร อุปกรณ์ หรือชิ้นส่วน และ/หรือ การซ่อมแซมแม่พิมพ์ โดยมีเงื่อนไขต้องมีขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นส่วนที่ใช้ทำงานตามวัตถุประสงค์หลักของเครื่องจักรที่ผลิต และ/หรือการออกแบบทางวิศวกรรม และได้รับสิทธิและประโยชน์ A3

คำถามข้อที่ 1. ขอรับการส่งเสริมในหมวดนี้ได้หรือไม่ และจะขอในนามบุคคลก่อน แล้วจึงจะจดทะเบียนบริษัทภายหลัง ทั้งนี้การจดทะเบียนบริษัท A ........ CO.,LTD จะมีทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาท หุ้นส่วน : เกาหลี 49%: ไทย 51%

คำถามข้อที่ 2. กรณีเงินปันผล ถ้า บมจ. B... ร่วมจดทะเบียนเป็นผู้ถือหุ้นกับบริษัท A... CO.,LTD บริษัทฯ จะต้องนำเงินปันผลที่ได้มาคำนวณรายได้เพื่อเสียภาษีนิติบุคคลหรือไม่ หรือไม่ต้องนำมาคำนวณ

ตอบคำถามข้อที่ 1. กิจการผลิตแม่พิมพ์ ขอรับส่งเสริมได้ในประเภท 3.1.2 โดยมีเงื่อนไขคือ ต้องมีขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นส่วนที่ใช้ทำงานตามวัตถุประสงค์หลักของเครื่องจักรที่ผลิต และ/หรือ และ/หรือ การออกแบบทางวิศวกรรม สิทธิและประโยชน์ A3

ตอบคำถามข้อที่ 2. กรณีที่บริษัท A มีกำไรจากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมซึ่งได้รับสิทธิประโยชน์ตามมาตรา 31 และ 34 เงินปันผลส่วนที่จ่ายจากกิจการที่ได้การส่งเสริมจากบีโอไอไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ดังนั้น ผู้ถือหุ้นของบริษัท A (บุคคล/นิติบุคคล/บริษัท B) จึงไม่ต้องนำเงินปันผลดังกล่าวไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ส่วนเงินปันผลส่วนอื่นจะต้องเสียภาษีตามที่สรรพากรกำหนด

เมื่อได้ลองกดลิงค์แบบฟอร์ม "การขอขยายเปิดดำเนินการเพียงอย่างเดียว" ตามด้านบนแล้ว มัน error ไม่สามารถดูได้ และได้ลองเปิดดูใน www.faq108.co.thแล้ว ก็ไม่สามารถเปิดดูได้เช่นกัน ไม่ทราบว่าจะดาวน์โหลดแบบฟอร์มนี้ได้ที่ไหน หรือ มีการเปลี่ยนแปลงขั้นตอนการในการยื่นขอขยายเปิดดำเนินการ

Link ตามนี้ https://www.boi.go.th/upload/content/F%20PM%20EX%2006%20e-form_5bbc2a008049b.pdf

บริษัทมีเครื่องจักรในโครงการ และกำลังการผลิตของเครื่องจักรที่ผลิตได้เกินจากกำลังการผลิตของบัตรส่งเสริมที่ได้รับอนุมัติจากบีโอไอ บริษัทจะสามารถทำอย่างไรได้บ้างเพื่อขอแก้ไขกำลังการผลิต (เพิ่มกำลังการผลิต) ในบัตรส่งเสริมให้ถูกต้องตรงตามกำลังการผลิตของเครื่องจักร * บริษัทเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว * บริษัทได้รับการส่งเสริมในกิจการ ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

กรณีที่เปิดดำเนินการแล้ว แต่ต่อมาภายหลังมีกำลังผลิตเพิ่มขึ้น น่าจะเกิดจาก 3 สาเหตุคือ

1. แจ้งกำลังผลิตในขั้นเปิดดำเนินการ ต่ำกว่าความเป็นจริง

- ไม่อยู่ในข่ายที่จะขอแก้ไขกำลังผลิต

2. cycle time ในการผลิตลดลง (เช่น สินค้ามีขนาดเล็กลง หรือ) ทำให้ผลิตสินค้าได้เพิ่มขึ้น

- อาจขอแก้ไขได้เป็นกรณีๆไป ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ BOI

3. มีการลงทุนเครื่องจักรเพิ่มเติมหลังจากได้รับในอนุญาตเปิดดำเนินการไปแล้ว

- ไม่อยู่ในข่ายที่จะขอแก้ไขกำลังผลิต

กิจการอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องไฟฟ้า สามารถแก้ไขกำลังผลิตได้ แม้ว่าจะเปิดดำเนินการเต็มโครงการไปแล้วก็ตาม แต่หากบริษัทลงทุนเครื่องจักรเพิ่มขึ้นไปแล้ว โดยไม่ได้ยื่นขอแก้ไขโครงการต่อ BOI ก่อนที่จะซื้อเครื่องจักรเพิ่มเติม ก็จะไม่นับกำลังผลิตที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นกำลังผลิตของโครงการที่ได้รับส่งเสริม

การยื่น ตส.310 มีอัพเดทเปลี่ยนแปลงข้อมูลหรือไม่ ต้องรายงานทุกปีเมื่อเริ่มมีรายได้ครั้งแรก หรือรายงานหลังเปิดดำเนินการไปแล้ว

ในบัตรส่งเสริมว่า กำหนดเงื่อนไขการยื่น ตส.310 ว่า เมื่อเปิดดำเนินการแล้ว จะต้องรายงานผลการดำเนินงานทุกรอบปีภายในวันที่ 31 กรกฎาคม ของปีถัดไป ดังนั้น ที่ผ่านมาจึงจะยื่นเมื่อได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการแล้วเท่านั้น แต่ประมาณปีที่แล้ว BOI ได้เปลี่ยนแนวทางใหม่ คือต้องการให้รายงาน ตส.310 หลังจากที่มีรายได้ แม้ว่าจะยังไม่ได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการก็ตาม ซึ่ง BOI ก็ไม่แก้ไขเงื่อนไขในบัตรส่งเสริมให้สอดคล้องกัน ดังนั้น เงื่อนไขในบัตร กับวิธีปฏิบัติจริง จึงยังมีความขัดแย้งกันอยู่ สรุปคือ ณ ปัจจุบัน จะต้องยื่น ตส.310 หลังจากปีที่เริ่มมีรายได้

ช่างฯที่ถือใบถิ่นที่อยู่สามารถนำบุตรอายุ 18 ปีเข้ามาในประเทศได้หรือไม่ จะได้ระยะเวลาอยู่ในไทยกี่ปี (คิดตามใบถิ่นที่อยู่ หรือ ตามระยะเวลาที่ BOI อนุมัติ)

ช่างฝีมือที่ได้รับอนุมัติบรรจุตามสิทธิประโยชน์ BOI สามารถขอนำครอบครัว (คู่สมรส และบุตรที่อายุไม่เกิน 20 ปี) เข้ามาประเทศได้ โดยครอบครัวจะได้รับอนุมัติให้อยู่ในประเทศได้ตามระยะเวลาที่ช่างฝีมือได้รับอนุมัติจาก BOI ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทกิจการที่ได้รับส่งเสริม เช่น

- กิจการผลิต 2 ปี

- กิจการสนับสนุนการค้าและการลงทุน (TISO ) 1 ปี

- กิจการ ITC และ IHQ 4 ปี

กรณีที่สอบถาม บุตรอายุ 18 ปี จึงสามารถขอใช้สิทธิข้างต้นจาก BOI ได้ แต่จะได้รับอนุญาตให้อยู่ได้ถึงอายุ 20 ปีบริบูรณ์ หลังจากนั้นต้องขอวีซ่าอื่น (เช่น วีซ่านักศึกษา) ตามขั้นตอนปกติ

กรณีที่บริษัทได้ว่าจ้างบริษัทขนส่งให้ดำเนินการขนส่งสินค้าให้กับลูกค้าของบริษัท สามารถนำรายจ่ายนี้มาหักเพิ่ม 2 เท่าได้หรือไม่ แยกเป็น 2 กรณี 1.ว่าจ้างให้ส่งสินค้าให้กับลูกค้าในประเทศ 2.ว่าจ้างให้ส่งสินค้าให้กับลูกค้าต่างประเทศ แต่ในการเรียกเก็บค่าบริการทางบริษัทขนส่งจะมีการเรียกเก็บแยกส่วนระหว่างค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในไทย กับ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเมืองนอกและทางเมืองนอกเรียกเก็บ ในส่วนของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในไทย สามารถนำมาหัก 2 เท่าได้หรือไม่

1.การว่าจ้างบริษัทขนส่ง ให้ขนส่งสินค้าจากบริษัทที่ได้รับส่งเสริม ไปยังโรงงานของลูกค้า เป็นค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาหักเพิ่มได้ 2 เท่า ตามมาตรา 35(2)

2.การว่าจ้างบริษัทขนส่ง ให้ขนส่งสินค้าจากบริษัทที่ได้รับส่งเสริม ไปยังท่าเรือหรือสนามบิน เพื่อส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ เป็นค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาหักเพิ่มได้ 2 เท่า ตามมาตรา 35(2) ทั้ง 2 กรณีข้างต้น จะต้องเป็นค่าขนส่งเท่านั้น ไม่รวมค่าบริการอื่นๆ เช่น ค่ายกของ ค่าฝากของ ฯลฯและบริษัทที่ได้รับส่งเสริมซึ่งเป็นผู้ว่าจ้าง จะต้องลงบัญชีเป็นค่าขนส่งด้วย

ขออภัยครับ ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ในภาษาที่ท่านเลือก !

Sorry, There is no information support your selected language !

Download และ ติดตั้งโปรแกรมอ่าน PDF

Download PDF Reader

Site map