Chat
x
toggle menu
toggle menu

Select Groups

All Group
  • All Group
  • นโยบายเเละมาตรการพิเศษในการส่งเสริม
  • การขอรับการส่งเสริมการลงทุน
  • การออกบัตรส่งเสริม
  • การเปิดดำเนินการ
  • การเเก้ไขโครงการ
  • การดำเนินการอื่น ๆ
  • การรายงานความคืบหน้าโครงการ (e-Monitoring)
  • การปฏิบัติหลังการได้รับการส่งเสริม
  • การยกเลิกบัตรส่งเสริม
  • เรื่องทั่วไป
  • การใช้สิทธิด้านที่ดิน
  • การใช้สิทธิด้านเครื่องจักร
  • การใช้สิทธิด้านช่างฝีมือ/ต่างด้าว
  • การใช้สิทธิด้านวัตถุดิบ
  • ประเภทกิจการ - การแพทย์
  • การใช้สิทธิด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ประเภทกิจการ - รถยนต์ไฟฟ้า
  • ประเภทกิจการ - ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (IBC) IPO และ TISO
  • ประเภทกิจการ - โรงแรม
  • ประเภทกิจการ - ผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ
  • ประเภทกิจการ - กิจการผลิตเครื่่องจักร อุุปกรณ์และชิ้นส่วน
  • ประเภทกิจการ - กิจการศูนย์กระจายสินค้าระหว่า ประเทศด้วยระบบที่่ทันสมัย (IDC)
การคำนวณเงินลงทุนสำหรับค่าก่อสร้างสำนักงานที่อยู่ในกรุงเทพ และโรงงานที่อยู่สระบุรี สามารถนำมาคำนวณเป็นเงินลงทุนได้หรือเปล่า

ถ้าเป็นสำนักงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการที่ได้รับส่งเสริมโดยตรง แม้จะอยู่คนละแห่งกับโรงงาน ก็สามารถนำมาคำนวณเป็นเงินลงทุนได้

ทางบริษัทฯ ได้รับอนุญาตนำช่างฝีมือเข้ามาทำงานภายใต้ BOI แล้วได้มีการตรวจสอบย้อนหลัง ปรากฏว่าชื่อ-สกุลของช่างฝีมือระบุผิด โดยใบอนุญาตทำงานได้รับการอนุมัติแล้ว ถ้าทางบริษัทฯ ต้องการจะแก้ไขชื่อ-สกุลของช่างฝีมือ ต้องทำเรื่องยกเลิกกับ BOI ก่อน แล้วขอบรรจุใหม่ โดยเสียค่าธรรมเนียมซ้ำอีกรอบใช่หรือไม่

กรณีนี้ไม่สามารถแก้ไขได้แล้ว หากจะแก้ไขชื่อนามสกุลให้ถูกต้อง จะต้องแจ้งพ้นตำแหน่งช่างต่างชาติดังกล่าว (แจ้งเผื่อล่วงหน้าให้เหลือระยะเวลาวีซ่าเกินกว่า 15 วัน) แล้วจึงยื่นขอบรรจุใหม่ จากนั้นจึงต่อวีซ่าและทำใบอนุญาตทำงานใหม่

เอกสารแนบสำหรับออกบัตรส่งเสริม “หลักฐานการนำเงินตราต่างประเทศเข้ามา (กรณีที่มีหุ้นต่างชาติ)” กรณีนี้หมายถึงต้องมีหลักฐานการโอนเงินเข้ามาในบัญชีใช่หรือไม่ และยอดเงินที่แสดงต้องมีจำนวนเท่าไร

1. ตามหลักเกณฑ์ปัจจุบัน การขอออกบัตรส่งเสริมกรณีมีหุ้นต่างชาติ จะต้องแนบหลักฐานการโอนเงินจากต่างประเทศด้วย โดยจะต้องระบุวัตถุประสงค์การโอนเงินว่าเป็นการลงทุนตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม และจะต้องโอนเงินเข้ายังบัญชีของบริษัทที่ได้รับส่งเสริมนั้นโดยตรง

2. จำนวนเงินที่ต้องแสดงหลักฐาน จะต้องไม่น้อยกว่า 25% ของเงินทุนจดทะเบียนตามที่กำหนดในหนังสือแจ้งมติอนุมัติให้การส่งเสริม โดยคำนวณเฉพาะตามสัดส่วนของหุ้นต่างชาติ เช่น หากหนังสือแจ้งมติอนุมัติให้การส่งเสริม กำหนดเงื่อนไขต้องมีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท โดยต้องเรียกชำระเต็มมูลค่าหุ้นก่อนเปิดดำเนินการ และเป็นหุ้นต่างชาติทั้งสิ้น ก็จะต้องมีหลักฐานโอนเงินจากต่างประเทศไม่น้อยกว่า 25% ของทุนจดทะเบียน คือ 2.5 ล้านบาท

บริษัทลืม User และ Password ในการเข้าระบบเพื่อส่ง ตส.310 สามารถสอบถาม User และ Password เดิมจาก BOI ได้หรือเปล่า หรือต้องขอ User และ Password ใหม่

กรณีที่ username และ password ของระบบงานตรวจสอบ (ตส.310) และการตรวจสอบเอกสารออนไลน์ (doctracking) หาย จะต้องยื่นขอรับ password ใหม่ โดยใช้เอกสารคือ

1. หนังสือมอบอำนาจให้เป็นผู้ยื่น/และรับ password ใหม่

2. สำเนาบัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทาง ของผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ

3. สำเนาหนังสือรับรองบริษัทหน้าแรก (ไม่เกิน 6 เดือน)

กรณีทางบริษัทฯ จะแก้ไขโครงการเพื่อเพิ่มกำลังผลิตโดยมีการลงทุนเครื่องจักรเพิ่ม ทางบริษัทฯ จะต้องกรอกเอกสารในแบบฟอร์มใด และต้องแนบเอกสารอื่นใดนอกเหนือจากตัวแบบฟอร์มเพื่อยื่นต่อเจ้าหน้าที่หรือไม่

การแก้ไขโครงการเพื่อเพิ่มกำลังผลิต ให้ใช้แบบฟอร์มแก้ไขโครงการ เอกสารอื่นที่ต้องใช้ เช่น งบการเงินปีล่าสุด และรายละเอียดที่ไม่สามารถกรอกลงในแบบฟอร์มก็ให้ทำเป็นเอกสารแนบ หลักเกณฑ์การพิจารณา จะอ้างอิงจากประกาศที่ ป.3/2547 คือ

- จะต้องยังไม่ได้เปิดดำเนินการเต็มโครงการ

- จะเพิ่มกำลังผลิตได้ไม่เกิน 30% ของกำลังผลิตเดิมในบัตรแรก (หากเกินกว่า 30% ต้องยื่นขอเป็นโครงการใหม่) แต่หากสิทธิประโยชน์ในการแก้ไขโครงการกับการขอโครงการใหม่ไม่แตกต่างกัน จะขอเพิ่มกำลังผลิตเกินกว่า 30% ก็ได้

รายการเครื่องจักรที่จะต้องใช้ประกอบการยื่นเปิดดำเนินการ บริษัทสามารถเตรียมรายการหรือเอกสารโดยยึดเฉพาะรายการที่เป็นเครื่องจักรหลัก หรือรอง และรายการแม่พิมพ์ ได้หรือไม่หรือต้องเตรียมรายการทั้งหมดที่บริษัทใช้สิทธิตามตรา 27

รายการเครื่องจักรที่ต้องใช้ประกอบการยื่นเปิดดำเนินการ ต้องเป็นรายการดังนี้

- ทำให้กำลังผลิตครบถ้วนตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม

- ทำให้กรรมวิธีการผลิตครบถ้วนตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม

- เป็นเครื่องจักรใหม่ (หากเป็นเครื่องจักรเก่า โครงการต้องได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องจักรเก่า โดยเป็นเครื่องจักรนำเข้าจากต่างประเทศ มีอายุไม่เกินกว่าที่กำหนด และมีใบรับรองประสิทธิภาพถูกต้องตามที่กำหนด)

- เป็นรายการที่จะนำมารวมเป็นขนาดการลงทุน เพื่อคำนวณวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

วิธีคำนวณค่าใช้จ่ายข้อ 8.1 ในแบบคำขอรับการส่งเสริมการลงทุน:ในแบบคำขอรับการส่งเสริมการลงทุน ข้อ 8.1 ค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าเสื่อมราคา (คำนวณตามประมวลรัษฎากร) ที่เป็นอาคาร/โรงงาน และเครื่องจักร/อุปกรณ์ มีวิธีคำนวณอย่างไร (11 มิ.ย. 2563)

การคำนวณค่าเสื่อมราคาโรงงาน และเครื่องจักรเป็นไปตามหลักการบัญชี โดยต้องเป็นไปตามประมวลรัษฎากร BOI ไม่ได้เป็นผู้กำหนดวิธีคำนวณ แต่จะตรวจสอบว่าข้อมูลที่บริษัทกรอกสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ข้างต้นหรือไม่

การลงทุน 1 ล้านบาท หากครบ 36 เดือน หรือครบเปิดดำเนินการแล้วยังลงทุนไม่ครบ จะถูกยกเลิกการส่งเสริมหรือไม่

หากครบกำหนดเปิดดำเนินการแล้ว แต่ไม่สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในบัตรส่งเสริม จะถูกเพิกถอนบัตร ท่านสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ ที่นี่

หากท่านไม่ประสงค์จะเป็นผู้ที่ได้รับการส่งเสริม สามารถยื่นหนังสือขอยกเลิกบัตรส่งเสริมกับสำนักงาน โดยชี้แจงเหตุผลที่ต้องการยกเลิก เช่น การเลิกประกอบกิจการ การยกเลิกการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการส่งเสริม หรือสิทธิและประโยชน์ทางภาษีสิ้นสุดลงและไม่ประสงค์จะใช้สิทธิ์ที่ไม่ใช่ภาษี เป็นต้น โดยใช้ แบบฟอร์มคำขอยกเลิกบัตรส่งเสริม (F PM CC 01-00)

ประเภทกิจการ 5.5 บริษัท A นำเข้าวัตถุดิบมาเพื่อผลิตงาน และจะขายวัตถุดิบที่นำเข้าให้กับ บริษัท B เพื่อให้บริษัท B ผลิตงานแล้วขายให้ บริษัท A อีกที โดยทั้งหมดใช้สิทธิ BOI 1. บริษัท A สามารถดำเนินการขายวัตถุดิบ ให้บริษัท B โดยใช้สิทธิ BOI ได้หรือไม่ 2. การทำลักษณะนี้จะมีปัญหาตามมาหรือไม่ 3. หรือมีวิธีไหนที่สามารถทำได้ 4.หากดำเนินการได้จะตัดบัญชีอย่างไร

ข้อมูลที่ให้มาไม่เพียงพอที่จะตอบคำถาม จึงขอตอบเฉพาะหลักการคือ หาก A ได้รับส่งเสริมในกิจการผลิต และนำเข้าวัตถุดิบโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรตามมาตรา 36 เพื่อใช้ผลิตสินค้าตามกรรมวิธีผลิตที่ได้รับส่งเสริม A ไม่สามารถจำหน่ายวัตถุดิบดังกล่าวได้ เนื่องจากไม่ตรงเงื่อนไขในการใช้สิทธิ/และเงื่อนไขในการให้การส่งเสริม

ทางบริษัทต้องการจำหน่ายเครื่องจักรที่นำเข้ามาน้อยกว่า 5 ปีไปยังต่างประเทศ พร้อมทั้งยกเลิกการดำเนินการของโครงการและยกเลิกบัตรส่งเสริม บริษัทยังต้องดำเนินการจำหน่ายเครื่องจักรแบบมีหรือไม่มีภาระภาษี นับอากรขาเข้าหรือภาษีมูลค่าเพิ่ม

การส่งคืนเครื่องจักรไปต่างประเทศ สามารถขออนุญาตส่งคืนได้โดยไม่มีภาระภาษี ไม่ว่าจะนำเข้ามาเป็นเวลากี่ปีก็ตาม แต่หากจะส่งคืนเครื่องจักรหลัก ที่ทำให้กำลังผลิตลดลงเกินกว่า 20% โดยไม่มีการซื้อเครื่องจักรใหม่มาทดแทน จะต้องขอลดขนาดกิจการก่อน จึงจะอนุญาตให้ส่งคืนเครื่องจักรไปต่างประเทศได้

กรณีที่สอบถาม เป็นการขอส่งคืนเครื่องจักรทั้งหมดที่นำเข้าไม่เกิน 5 ปี เนื่องจากจะยกเลิกโครงการจึงมีประเด็นต้องพิจารณาว่า โครงการครบกำหนดเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้วหรือไม่ หากโครงการดังกล่าวยังไม่ครบกำหนดเปิดดำเนินการเต็มโครงการ จะมีขั้นตอนดังนี้

1. ยื่นหนังสือขอยกเลิกโครงการ

2. ยื่นคำร้องขอส่งคืนเครื่องจักรไปต่างประเทศ (ในระบบ eMT)

3. ส่งคืนเครื่องจักรไปต่างประเทศ

4. ยื่นตัดบัญชีเครื่องจักรที่ส่งออกไปแล้ว (ในระบบ eMT)

5. BOI จะตรวจสอบว่าโครงการดังกล่าวยังมีเครื่องจักรและวัตถุดิบที่มียอดคงเหลือค้างในระบบ RMTS และ eMT หรือหากไม่มี จะอนุมัติให้ยกเลิกโครงการโดยไม่มีภาระภาษี

การเปิดให้การส่งเสริมในประเภทกิจการ IPO ใหม่นี้ มีกำหนดเวลาสิ้นสุดหรือไม่
ปัจจุบัน ยังไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุด
ตามที่กิจการ ITC ได้ถูกยกเลิกให้การส่งเสริมอย่างกะทันหันเมื่อเดือนธันวาคม 2561 อยากทราบว่ากิจการ IPO จะมีกำหนดเวลาสิ้นสุดการให้ส่งเสริมหรือไม่
ปัจจุบัน ยังไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุด
บริษัทฯ นำเข้าเครื่องจักร (ไม่ใช่เครื่องจักรหลัก) ภายใต้โครงการที่ได้รับส่งเสริม อายุนับแต่วันนำเข้า 3 ปี 1. บริษัทต้องการจำหน่ายภายในประเทศ ต้องชำระอากรขาเข้าตามมูลค่าคงเหลือหลังจากที่หักค่าเสื่อมแล้วใช่ไหม 2. แบบฟอร์มที่ใช้ขอชำระอากรขาเข้าของเครื่องจักรใช้ตัวไหน เพราะหาในแบบฟอร์มที่เว็บไซต์บีโอไอแล้วไม่มี

1.การจำหน่ายเครื่องจักรในประเทศ ต้องชำระภาษีอากรตามสภาพ โดยต้องได้รับอนุมัติจาก BOI ก่อน แต่หากจำหน่ายไปโดยไม่ได้รับอนุมัติ ต้องชำระภาษีอากรย้อนหลัง ณ วันนำเข้า และเบี้ยปรับเงินเพิ่ม

2.เอกสารที่ขอจำหน่ายเครื่องจักรในประเทศตามนี้

  • check list
  • หนังสือนำส่ง ใช้หัวหนังสือบริษัท ร่างขึ้นได้เอง
  • แบบคำขออนุญาตจำหน่าย/โอน/บริจาคเครื่องจักร
  • สำเนาหลักฐานการนำเข้าเครื่องจักรที่ขอจำหน่าย

ปัจจุบันบริษัทใช้สิทธิประโยชน์ IPO ไปว่าจ้างผลิต โดยให้ใช้วัตถุดิบของบริษัท ฯ ต้นปีหน้าบริษัท ฯ มีแผนว่าจะเปลี่ยนไปใช้ เป็น ITC แทน บริษัทฯ ขอสอบถาม 2 แบบ ดังนี้ 1. ถ้าบริษัทฯ ได้รับอนุมัติ เปลี่ยนจาก IPO เป็น ITC และได้รับอนุมัติให้ไปว่าจ้างบริษัท A (ไม่เป็น BOI) ผลิตผลิตภัณฑ์เดิมได้ (บริษัท A เป็นบริษัทฯ เดิมที่เคยว่าจ้างตอนเป็น IPO) ซึ่งตอนเป็น IPO บริษัท ฯได้นำวัตถุดิบไปไว้ที่ A เพื่อทำการผลิต ระหว่างที่รอ BOI อนุมัติเป็น ITC วัตถุดิบที่อยู่ที่บริษัท ฯ A ก็สามารถนำมาใช้ผลิตได้อย่างต่อเนื่องใช่ไหม โดยไม่ต้องแจ้งใด ๆกับ BOI และ Investor Club Association หรือต้องมีการหยุดใช้วัตถุดิบและหยุดนำเข้าก่อน BOI อนุมัติ ITC 2. ถ้าบริษัท ฯ ยื่น ITC แบบไม่ว่าจ้างผลิต แต่ให้ A นำเข้าวัตถุดิบเข้ามาเอง ระหว่างที่รออนุมัติวัตถุดิบบางส่วนที่ทางบริษัท ฯ เอาไปให้ ผลิตที่ค้างที่ A (ตอนเป็น IPO) , บริษัท ฯ สามารถให้ A ผลิตวัตถุดิบที่เหลือนั้น แล้วส่งออกมาตัดบัญชีได้หรือไม่ บริษัท ฯ ต้องปฏิบัติอย่างไร ต้องหยุดการใช้วัตถุดิบที่เคยนำเข้า ภายใต้ IPO ทุกอย่างหรือไม่

1. การอนุญาตเรื่องการใช้สิทธิต่างๆ เช่น การนำวัตถุดิบไปว่าจ้างผลิต หรือนำไปเก็บนอกสถานที่ เป็นการอนุมัติตามเลขที่บัตรส่งเสริม ไม่ได้ผูกติดกับประเภทกิจการ

ดังนั้น หากบริษัทแก้ไขกิจการจาก IPO เป็น ITC โดยยังคงได้รับอนุญาตให้ทำว่าจ้างผลิต สิทธิต่างๆเกี่ยวกับการนำวัตถุดิบไปว่าจ้าง ตามที่เคยขออนุญาตไว้ ก็ยังคงใช้ต่อเนื่องไปได้ ไม่ต้องขอใหม่ เพราะยังเป็นเลขที่บัตรส่งเสริมฉบับเดิม

2. หากบริษัทจะขอเปลี่ยนประเภทกิจการเป็น ITC โดยจะไม่ทำการว่าจ้าง แต่เปลี่ยนเป็นการซื้อจากบริษัท A วัตถุดิบที่ยังค้างอยู่กับ A ก็ต้องเรียกคืนกลับมาทั้งหมด และจะว่าจ้างให้ A ผลิตไม่ได้ ตั้งแต่วันที่มีผลตามที่ระบุในหนังสืออนุมัติ การแก้ไขอย่างนี้เป็นโทษ ไม่เป็นคุณ ไม่น่าจะยื่นแก้ไขแบบนี้

มูลค่าการลงทุนเท่าไหร่ถึงต้องจัดทำรายงานการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility Study)

รายงานการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility Study) ต้องจัดทำหากเงินลงทุนในโครงการมากกว่า 2,000 ล้านบาท โดยที่ไม่รวมค่าที่ดิน และทุนหมุนเวียน

ค่าบริการสาธารณูปโภคที่ใช้ในการกรอกคำขอรับการส่งเสริมการลงทุน: อยากทราบหลักการและวิธีคำนวณค่าบริการสาธารณูปโภค (ที่ใช้ในการผลิต) เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าเชื้อเพลิง/พลังงาน ที่ใช้ในการกรอกคำขอรับการส่งเสริมการลงทุน (11 มิ.ย. 2563)

การคำนวณค่าบริการสาธารณูปโภค เป็นไปตามแผนการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนของบริษัท BOI ไม่ได้กำหนดหลักการและวิธีคำนวณค่าใช้จ่ายในส่วนนี้

สอบถามเรื่องเครื่องจักรใหม่ที่ซื้อในประเทศ สามารถนำมาใช้ในโครงการได้หรือไม่ แล้วตอนเปิดดำเนินการสามารถนับเงินลงทุน และคิดกำลังการผลิตได้หรือไม่ โดยอ้างถึงประกาศไหน

1. เครื่องจักรใหม่ที่ซื้อในประเทศ สามารถนำมาใช้ในโครงการได้

เนื่องจากตรงตามเงื่อนไขในบัตรส่งเสริม คือ เงื่อนไขเฉพาะโครงการข้อ 1 ซึ่งระบุว่าเครื่องจักรที่ใช้ในกิจการที่ได้รับส่งเสริมต้องเป็นเครื่องจักรใหม่ แต่ไม่ได้กำหนดว่าต้องซื้อจากที่ไหน

2. เครื่องจักรใหม่ที่ซื้อในประเทศ นับเป็นขนาดการลงทุนและกำลังผลิตของโครงการได้

เพราะเป็นการลงทุนที่ตรงตามเงื่อนไขในบัตรส่งเสริมตามข้อ 1 การให้การส่งเสริมการลงทุน ไม่ได้มีเจตนาต้องการให้ซื้อเครื่องจักรจากต่างประเทศ แต่หากบริษัทได้รับส่งเสริม จำเป็นเครื่องจักรนำเครื่องจักรเข้ามาจากต่างประเทศ BOI ก็จะช่วยลดภาระการลงทุน โดยการยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้าให้ แต่ไม่ได้แปลว่า โครงการที่ได้รับส่งเสริม "ต้อง" ใช้เครื่องจักรจากต่างประเทศ

บริษัทมีแผนการยกเลิกผลิตภัณฑ์ 1 model ของบัตรส่งเสริมที่ได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการแล้ว ทั้งนี้จะต้องมีการขายเครื่องจักรหลักเกินกว่า 20% ของบัตรส่งเสริม 1.บริษัทต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง 2.แบบฟอร์มที่ใช้สำหรับการขอลดกำลังการผลิต 3.เอกสารประกอบการยื่นขอลดกำลังการผลิต

กรณีที่จะจำหน่ายเครื่องจักรหลัก ที่ทำให้กำลังผลิตลดลงเกินกว่า 20% โดยจะไม่มีการนำเข้าเครื่องจักรใหม่มาทดแทนกำลังผลิตที่ขาดหายไป จะต้องยื่นขอแก้ไขโครงการเพื่อลดขนาดกิจการก่อน จึงจะอนุญาตให้จำหน่ายเครื่องจักรดังกล่าวได้

ขั้นตอนคือ

1. ยื่นแบบคำขออนุญาตแก้ไขโครงการ (F PA PC 01) เพื่อขอลดขนาดกิจการ โดยชี้แจงเหตุผล และรายละเอียดต่างๆที่เกี่ยวข้อง รวมถึงแนบงบการเงินล่าสุดด้วย

2. หลังจากอนุมัติ จะต้องนำบัตรส่งเสริมไปแก้ไขด้วย ส่วนการจำหน่ายเครื่องจักร สามารถยื่นขอได้หลังจากที่ยื่นแบบแก้ไขโครงการตามข้อ 1 ต่อ BOI แล้ว

ลงตัวเลขงบการเงินใน ตส.310 ผิด จะขอดึงกลับมาแก้ไขตัวเลขใหม่ต้องทำยังไง เพราะในเว็บไซต์ที่ให้กรอกไม่มีให้ดึงกลับมาแก้ไข

ให้ติดต่อกับ จนท ผู้ดูแลรับแจ้งปัญหาระบบ ตส.310 ของสำนักที่ดูแลรับผิดชอบ (กรณีนี้คือ สำนัก 4) ตามชื่อและเบอร์โทร ท้ายคู่มือการใช้งาน ตส.310

การกรอกเอกสารตามแบบ ตม.7 วรรคสุดท้ายที่บอกว่า ขออนุญาตเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไปอีก มีกำหนด.....วัน อยากทราบว่า 90 วัน หรือว่า 2 ปี ตามที่ได้รับอนุมัติ
ให้กรอก 2 ปี ตามระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติ

ขออภัยครับ ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ในภาษาที่ท่านเลือก !

Sorry, There is no information support your selected language !

Download และ ติดตั้งโปรแกรมอ่าน PDF

Download PDF Reader

Site map