แบบคำขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ข้อ 1.4 ช่องที่ 5 ให้ระบุปริมาณการจำหน่ายตามจริง ซึ่งอาจจะเกินกำลังผลิตในบัตรส่งเสริมก็ได้ แต่ช่องที่ 6 ปริมาณที่ขอใช้สิทธิ จะต้องไม่เกินกว่ากำลังผลิตในบัตรส่งเสริม และไม่เกินกว่ากำลังผลิตของเครื่องจักรที่ติดตั้งแล้ว
กิจการในกลุ่ม B สามารถได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ ได้อย่างไรบ้าง
1. กิจการกลุ่ม B คือกลุ่มที่ไม่ให้ได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายส่งเสริมการลงทุน แต่ในบางช่วงเวลา BOI อาจกำหนดให้กิจการกลุ่ม B (เฉพาะกรณีเป็นการลงทุนใหม่) ได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมหากมีการลงทุนตามมาตรการเป้าหมาย เช่น มีการนำใช้ระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์มาใช้ หรือมีการนำเทคโลยีดิจิทัลมาใช้ เป็นต้น โดยจะให้สิทธิประโยชน์ด้านเครื่องจักรและภาษีเงินได้เป็นสัดส่วนเฉพาะเท่าที่ลงทุนเพิ่มเติมตามมาตรการเป้าหมายนั้นๆ เท่านั้น
2. ปัจจุบันสำนักงานได้มีมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ เช่น การลงทุนติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ (ประกาศ กกท ที่ 1/2564) จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ วงเงินไม่เกิน 50% ของเงินลงทุนติดตั้งโซลาร์เซลล์ แต่มีเงื่อนไขว่าโครงการเดิมที่จะลงทุนติดตั้งแผงโซลาร์ ต้องไม่ได้รับสิทธิ/หรือสิ้นสุดสิทธิภาษีเงินได้แล้วซึ่งกิจการกลุ่ม B สามารถขอรับการส่งเสริมในมาตรการนี้ได้
3. การขอรับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลทั้งในกรณีการลงทุนตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ และกรณีการลงทุนของกิจการกลุ่ม B ที่ขอรับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม จะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้เป็นวงเงินไม่เกิน 50% (บางกรณี 100%) ของการลงทุนเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับมาตรการนั้นๆ เท่านั้น เช่น หากจะลงทุนติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์มูลค่า 10 ล้านบาท จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ไม่เกิน 5 ล้านบาท หรือโครงการในกลุ่ม B หากจะลงทุน 100 ล้านบาท โดยเป็นระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์ 10 ล้านบาท จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ไม่เกิน 5 ล้านบาท (บางกรณีไม่เกิน 10 ล้านบาท หรือร้อยละ 100 ของเงินลงทุน)
ถาม Q15.1:
กิจการกลุ่ม B มีการขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นไปอีก 3 เท่า ต้องการขอรับการส่งเสริมเป็นบัตรใหม่ โดยยังไม่มีการลงทุนในโซลาร์เซลล์ในตอนแรก เมื่อได้รับการส่งเสริมแล้วสามารถขอส่งเสริมตามมารการปรับปรุงประสิทธิภาพในการติดตั้งโซลาร์เซลล์ เพื่อให้ได้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ครึ่งหนึ่งของมูลค่าการลงทุนโซลาร์เซลล์ภายหลังได้หรือไม่ตอบ A15.1:
1. กิจการผลิตในกลุ่ม B หากจะนำโครงการเดิมที่ได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการแล้ว มายื่นขอรับส่งเสริมตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ โดยการลงทุนติดตั้งโซลาร์เซลล์กรณีนี้สามารถทำได้หากประเภทกิจการไม่ขัดกับบัญชี negative list ของกิจการกลุ่ม B ที่ไม่ให้สิทธิประโยชน์ตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ (ตามประกาศ สกท ที่ ป.1/2564)2. กรณีลงทุนใหม่ในกิจการผลิตในกลุ่ม B โครงการนั้นจะต้องเปิดดำเนินการเต็มโครงการให้เสร็จสิ้นก่อน จากนั้นจึงจะนำโครงการนั้นมายื่นขอรับส่งเสริมตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพได้ ทั้งนี้เนื่องจากการขอรับส่งเสริมตามมาตรการปรับปรุง จะมีการยกเลิกบัตรส่งเสริมฉบับเดิมแต่หากบัตรส่งเสริมฉบับเดิมไม่ได้เปิดดำเนินการเต็มโครงการจะเป็นการผิดเงื่อนไขสำคัญ และจะถูกเพิกถอนสิทธิประโยชน์ของโครงการนั้น
ถาม Q15.2:
หากโครงการเดิมได้รับการส่งเสริมก่อนที่จะมีการจัดประเภทกิจการแบบใหม่เป็น A, B เราได้สิทธิภาษี 8 ปี ได้สิทธิครึ่งหนึ่ง 5 ปี ตอนนี้หมดไปแล้ว 8 ปี อยู่ในช่วง 5 ปีหลัง แต่ปัจจุบันประเภทกิจการเป็นกลุ่ม B จะเข้าข่ายการขอรับการส่งเสริมหรือไม่ หรือที่เขียนหมายถึงโครงการกลุ่ม B ที่ได้รับการส่งเสริมตอนที่มีการจัดประเภทกิจการแบบใหม่แล้วเท่านั้นตอบ A15.2:
กิจการกลุ่ม B ในที่นี้ หมายถึง ตามประเภทกิจการ ณ วันที่ยื่นขอรับส่งเสริมตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพโดยก่อนหน้านี้ (ก่อนจะยื่นขอรับส่งเสริมตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ) จะเป็นกิจการในประเภท/หรือกลุ่มใดก็ได้ถาม Q15.3:
การเปิดดำเนินการเต็มโครงการของกิจการในกลุ่ม B ดำเนินการเช่นเดียวกับกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้หรือไม่ (เป็นกิจการที่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าเครื่องจักรได้ตลอดระยะเวลาส่งเสริมแต่ไม่ได้รับสิทธิภาษีเงินได้)ตอบ A15.3:
1. การตรวจสอบเปิดดำเนินการ (กรณีกิจการผลิต) มีหลักการเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นกิจการในกลุ่มใด 2. กรณีได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร 30 เดือน สามารถขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรได้ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ปี และจะต้องเปิดดำเนินการภายใน 6 เดือน หลังวันสิ้นสุดระยะเวลานำเข้าเครื่องจักร และขอขยายเวลาเปิดดำเนินการเพียงอย่างเดียว ได้ 1 ครั้ง ไม่เกิน 1 ปี 3. กรณีได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรตลอดระยะเวลาที่ได้รับส่งเสริมจะต้องเปิดดำเนินการภายใน 36 เดือน นับจากวันที่ออกบัตรและขอขยายเปิดดำเนินการเพียงอย่างเดียวได้ 1 ครั้ง ไม่เกิน 1 ปีข้อ 1.3 ต้องเป็นเครื่องจักรที่ซื้อมาหลังจากวันที่ยื่นขอรับการส่งเสริมเท่านั้น หากบริษัทซื้อเครื่องจักรมาก่อนหน้าที่จะยื่นคำขอ จะต้องอธิบายรายละเอียดให้ชัดเจนในขั้นชี้แจงโครงการ โดย BOI จะพิจารณาเหตุผลเป็นกรณีๆไป และอาจอนุญาตให้นับเครื่องจักรนั้นเป็นขนาดการลงทุนของโครงการที่ยื่นขอรับส่งเสริมได้ โดยจะระบุการอนุญาตให้ใช้เครื่องจักรที่ซื้อมาก่อนยื่นคำขอฯไว้ในบัตรส่งเสริมโดยชัดเจน กรณีที่สอบถาม จะขอย้อนกลับไปถึงปี 2554 ซึ่งน่าจะเป็นวันก่อนยื่นคำขอรับส่งเสริมตามนโยบายฟื้นฟูอุทกภัย จึงไม่สามารถทำได้ ให้ใส่เฉพาะเครื่องจักรและการซ่อมแซม ที่เกิดหลังจากวันที่ยื่นคำขอรับการส่งเสริมเท่านั้น เว้นแต่ในบัตรส่งเสริมจะระบุไว้เป็นอย่างอื่น จึงจะสามารถรวมค่าเครื่องจักรก่อนนั้นได้
กรณีที่ได้รับส่งเสริมในนามบุคคล ผู้ที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม จะต้องเป็นผู้ลงนามในแบบขอรับบัตรส่งเสริมและเอกสารแนบทั้งหมด โดยในครั้งนี้ จะต้องแนบหลักฐานการจดทะเบียนบริษัทที่ต้องการจะให้ BOI ออกบัตรส่งเสริมมาด้วย และผู้ที่จะมารับบัตร จะต้องเป็นกรรมการคนใดคนหนึ่งของบริษัท
หลักเกณฑ์การนับวันในบัตรส่งเสริมของ BOI ใช้แนวทางดังนี้ กรณีเกี่ยวกับสิทธิและประโยชน์
- นับวันชนวัน
- เช่น ถ้าได้รับสิทธิ 2 ปีนับจากวันออกบัตร และบัตรออกวันที่ 1 ก.ค. 57 ก็จะได้รับสิทธิถึงวันที่ 30 มิ.ย. 59
กรณีเกี่ยวกับเงื่อนไข
- นับวันทับวัน
- เช่น ถ้ามีเงื่อนไขต้องปฏิบัติภายใน 2 ปีนับจากวันออกบัตร และบัตรออกวันที่ 1 ก.ค. 57 ก็จะต้องปฏิบัติให้ได้ภายในวันที่ 1 ก.ค. 59 กรณีที่สอบถาม เป็นเงื่อนไข จึงจะครบ 1 ปี ในวันที่ 27 กันยายน 2557
โดยปกติหลังจากที่ได้รับการส่งเสริมแล้ว ทางผู้ได้รับการส่งเสริมจะต้องยื่นแบบขอเปิดดำเนินการเต็มโครงการภายใน 36 เดือนนับแต่วันที่ได้รับบัตรส่งเสริม ในกรณีที่ไม่สามารถเปิดดำเนินการได้ตามกำหนด สามารถขอขยายระยะเวลาในการเปิดดำเนินการได้ 1 ครั้ง ขยายไปอีก 1 ปี ในกรณีหากยังไม่สามารถเปิดดำเนินการได้ หรือปฏิบัติตามเงื่อนไขได้ อาจจะถูกพิจารณาเพิกถอนบัตรและสิทธิประโยชน์ทั้งหมด เสมือนไม่เคยได้รับการส่งเสริมตั้งแต่ต้น
1. การผลิตสินค้าตามโครงการที่ 1 และนำไปจำหน่ายเป็นชิ้นส่วนหรือวัตถุดิบของโครงการที่ 2 ภายใต้นิติบุคคลเดียวกัน สามารถทำได้ โดยในทางบัญชี จะต้องจัดทำเป็นรูปการซื้อขายภายในบริษัท ตามที่กรมสรรพากรกำหนด เช่น มีการออกอินวอยซ์ และซื้อขายในราคาต้นทุน เป็นต้น
2. ในส่วนของ BOI ไม่ต้องยื่นขออนุญาตซื้อขายระหว่าง 2 โครงการภายใต้นิติบุคคลเดียวกัน แต่หากโครงการที่ 1 นำเข้าวัตถุดิบโดยใช้สิทธิมาตรา 36 เมื่อจำหน่ายให้กับโครงการที่ 2 จะต้องนำไปผลิตส่งออก จากนั้นโครงการที่ 2 ยื่นตัดบัญชีวัตถุดิบ และโอนสิทธิให้โครงการที่ 1 เพื่อนำไปตัดบัญชีต่อไป
กรณีที่บริษัทจะผลิตสินค้าใหม่ โดยมีการนำเครื่องจักรเข้ามาใหม่ หากนำเครื่องจักรเข้ามาใหม่ครบขบวนการผลิต โดยไม่ต้องใช้เครื่องจักรหลักร่วมกับโครงการเดิม สามารถยื่นขอรับส่งเสริมเป็นบัตรใหม่ ได้ และบริษัทสามารถใช้อาคารโรงงานเดิมได้ แต่จะไม่สามารถนำค่าก่อสร้างของโครงการเดิมมานับเป็นการลงทุนของโครงการขยายได้
ทั้งนี้ การขยายโครงการใหม่ในบัตรเดิมเป็นไปตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ ป.3/2547 ลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2547
การจะจำหน่ายเครื่องจักรที่นำเข้ามาโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีจะต้องได้รับอนุญาตก่อน หากเป็นเครื่องจักรที่นำเข้ามาแล้วเกิน 5 ปี ให้ยื่นเรื่องขอจำหน่ายพร้อมกับขอตัดบัญชีเพื่อปลอดภาระภาษี ซึ่งเมื่อได้รับอนุญาตจะสามารถจำหน่ายได้โดยไม่มีภาระภาษีอากร แต่หากเป็นเครื่องจักรนั้น เป็นเครื่องจักรหลักที่กระทบต่อกรรมวิธีการผลิตหรือกำลังผลิตเกิน 20% จะต้องมีการซื้อเครื่องจักรมาแทน หรือต้องแก้ไขโครงการให้สอดคล้องกรรมวิธีผลิตหรือกำลังผลิตที่หายไปด้วย
การจะจำหน่ายเครื่องจักรเกิน 5 ปี โดยไม่มีภาระภาษี ต้องยื่นขอตัดบัญชีเพื่อตัดภาระภาษีก่อน การอนุญาตให้ตัดบัญชีเพื่อตัดภาระภาษี จะต้องเป็นกรณีที่บริษัทปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขที่ได้รับส่งเสริมเท่านั้น เช่น หากบริษัทครบกำหนดเปิดดำเนินการแล้ว แต่ยังไม่ได้ยื่นขออนุมัติเปิดดำเนินการ จะไม่อนุญาตให้ตัดบัญชีเครื่องจักรแม้จะนำเข้าเกิน 5 ปี แต่หากบริษัทยังไม่ครบกำหนดเปิดดำเนินการ ก็สามารถขอตัดบัญชีเครื่องจักรเกิน 5 ปีได้ แม้จะยังไม่ได้เปิดดำเนินการครบตามโครงการ
การขออนุมัติปริมาณสต็อกสินค้าที่นำกลับเข้ามาซ่อม ใช้แบบฟอร์มเดียวกับการขอแก้ไขสต็อกวัตถุดิบตามปกติ โดย group no. ให้กำหนดเป็น R00001
การขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งนี้ท่านสามารถติดต่อสอบถาม หรือปรึกษาได้ที่ https://www.boi.go.th/th/contact_boi หรือ www.boi.go.th
1.วันที่จะเริ่มใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 31 คือวันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริม
กรณีที่สอบถาม การนำเข้าสินค้ามาจำหน่ายในประเทศ ไม่ใช่กิจการที่บริษัทได้รับการส่งเสริมการลงทุน จึงไม่ถือเป็นวันเริ่มมีรายได้ครั้งแรกตามมาตรา 31
2. นอกจากนี้ การนำเข้าสินค้ามาจำหน่ายในลักษณะค้าส่ง/ค้าปลีก เป็นกิจการในบัญชีสามท้าย พรบ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
หากบริษัทเป็นนิติบุคคลต่างชาติ จะต้องขออนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ด้วย
แม้จะมีการขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรย้อนหลังไปจนถึงวันที่ยื่นคำขอรับการส่งเสริม แต่ระยะเวลาการเปิดดำเนินการก็ยังคงเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในบัตรส่งเสริมเหมือนเดิม ไม่ถูกร่นให้เร็วขึ้น
- ตอบรับมติการอนุมัติให้การส่งเสริม
- ขอรับบัตรส่งเสริม
- ขออนุมัติตำแหน่งช่างฝีมือต่างชาติ
- ขอใบอนุญาตทำงานของช่างต่างชาติ
- ขออนุมัติบัญชีเครื่องจักร (Master List)
- นำเข้าเครื่องจักร
- ขออนุมัติบัญชีรายการสต็อกวัตถุดิบ (Max Stock)
- นำเข้าวัตถุดิบ
- ขออนุมัติสูตรการผลิต / ส่งออก / ตัดบัญชี ฯลฯ บางบริษัทฯ อาจมีขั้นตอนมากกว่านี้บ้าง น้อยกว่านี้บ้าง หรืออาจสลับขั้นตอนก่อนหลังบ้าง เป็นกรณีๆไป
2. เงื่อนไข หลักเกณฑ์ กฎระเบียบต่างๆ สามารถศึกษาจากเว็บไซต์ของ BOI และ IC แต่บางกรณีอาจจำเป็นต้องเข้าฝึกอบรมตามหลักสูตรต่างๆ ที่จัดขึ้นโดย BOI และ IC เมื่อมีความรู้เบื้องต้นในระดับหนึ่งแล้ว ก็สามารถปรึกษาเพิ่มเติมจาก จนท ของ BOI และ IC เป็นกรณีๆ ไป
กรณีบัตรส่งเสริมระบุชนิดผลิตภัณฑ์เป็น STEM PART FOR DIODE บริษัทจะผลิต STEM PART สำหรับ DIODE ชนิดใดก็ได้ แต่ต้องมีกรรมวิธีการผลิตที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม จึงไม่ต้องแก้ไขชื่อผลิตภัณฑ์ในบัตรส่งเสริม
1. การตรวจสอบวันที่ยื่นคำขอรับการส่งเสริม ให้ตรวจสอบจากหนังสือแจ้งมติให้การส่งเสริม ซึ่งจะมีการระบุเลขที่และวันที่ของคำขอรับการส่งเสริม
2. การนับขนาดการลงทุน สามารถนับตั้งแต่วันที่ยื่นคำขอรับการส่งเสริม ดังนั้น หากมีค่าใช้จ่ายการลงทุนเกิดขึ้นระหว่างวันที่ยื่นคำขอจนถึงวันที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม ก็ควรนับมูลค่าการลงทุนในส่วนนั้นด้วย เพื่อให้สามารถคำนวณได้วงเงินสูงสุดที่พึงได้