Chat
x
toggle menu
toggle menu

Select Groups

All Group
  • All Group
  • นโยบายเเละมาตรการพิเศษในการส่งเสริม
  • การขอรับการส่งเสริมการลงทุน
  • การออกบัตรส่งเสริม
  • การเปิดดำเนินการ
  • การเเก้ไขโครงการ
  • การดำเนินการอื่น ๆ
  • การรายงานความคืบหน้าโครงการ (e-Monitoring)
  • การปฏิบัติหลังการได้รับการส่งเสริม
  • การยกเลิกบัตรส่งเสริม
  • เรื่องทั่วไป
  • การใช้สิทธิด้านที่ดิน
  • การใช้สิทธิด้านเครื่องจักร
  • การใช้สิทธิด้านช่างฝีมือ/ต่างด้าว
  • การใช้สิทธิด้านวัตถุดิบ
  • ประเภทกิจการ - การแพทย์
  • การใช้สิทธิด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ประเภทกิจการ - รถยนต์ไฟฟ้า
  • ประเภทกิจการ - ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (IBC) IPO และ TISO
  • ประเภทกิจการ - โรงแรม
  • ประเภทกิจการ - ผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ
  • ประเภทกิจการ - กิจการผลิตเครื่่องจักร อุุปกรณ์และชิ้นส่วน
  • ประเภทกิจการ - กิจการศูนย์กระจายสินค้าระหว่า ประเทศด้วยระบบที่่ทันสมัย (IDC)
บริษัทฯต้องการขายโรงงาน แต่ไม่ทราบข้อมูลว่าปิดโครงการหรือยัง และไม่ทราบว่าสถานะของบัตรส่งเสริมติดค้างอะไรบ้าง ต้องทำอย่างไร? และในการขายโรงงาน ต้องทำหนังสือแจ้ง BOI หรือไม่ *หมายเหตุ มีทั้งหมด 4 project

ตามความหมายของ BOI จะเรียกว่า เป็นการโอนกิจการ หรือการยกเลิกโครงการ

การโอนกิจการ

คือการจะขอโอนสิทธิความเป็นผู้ได้รับส่งเสริมไปให้กับบริษัทอื่นเพื่อดำเนินโครงการนั้นต่อไป ดูรายละเอียดตาม link และหากมีคำถามเพิ่มเติม ให้ตั้งเป็นกระทู้ใหม่ภายใต้หมวดหมู่ "การขอรับส่งเสริม / การโอน-รับโอนกิจการ" การยกเลิกโครงการ

คือการจะยกเลิกความเป็นผู้ได้รับส่งเสริม (ยกเลิกบัตรส่งเสริม) ในโครงการนั้นๆ แต่บริษัทจะยังคงดำรงอยู่ต่อไป และประกอบกิจการนั้นต่อไปก็ได้ โดยจะไม่ได้รับสิทธิใดๆทั้งสิ้นจาก BOI ในการยกเลิกโครงการ จะต้องเคลียร์ภาระภาษีต่างๆให้หมดสิ้น จึงจะยกเลิกโครงการได้โดยไม่มีภาระภาษี

และจะต้องเปิดดำเนินการตามโครงการให้ได้ มิฉะนั้นจะถูกเพิกถอนบัตรส่งเสริม และอาจถูกเพิกถอนสิทธิประโยชน์ย้อนหลัง เสมือนไม่เคยได้รับสิทธิประโยชน์ หากมีคำถามเพิ่มเติม ให้ตั้งเป็นกระทู้ใหม่ภายใต้หมวดหมู่ "การขอรับส่งเสริม / อื่นๆ (ยกเลิกโครงการ)"

การขยายเวลามาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ
มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพที่สิ้นสุดระยะเวลาในปี 2565 มีการขยายระยเวลาเพิ่มเติมหรือไม่

เนื่องจากเป็นมาตรการที่ช่วยยกระดับในด้านต่างๆ ให้กับผู้ประกอบการในประเทศ และมีมาตรการย่อย บางข้อที่เพิ่งเริ่มประกาศใช้ได้ไม่นาน จึงอาจจะมีการพิจารณาขยายเวลาของมาตรการนี้ ทั้งนี้ขอให้ติดตามประกาศอย่างเป็นทางการของสำนักงานจากหน้าเว็บไซต์

การติดตั้ง Solar Roof ตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ
มีการกำหนดสัดส่วนของพลังงานที่ได้จากโซลาร์เซลล์หรือไม่ และต้องมีการลงทุนเท่าใด

ตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ ด้านการนำพลังงานทดแทนมาใช้ในกิจการ หมายถึง การเปลี่ยพลังงานที่ใช้ในโครงการ จากเดิมที่ใช้พลังงานฟอสซิล (เช่น น้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ) เป็นการใช้พลังงานทดแทน ตามชนิดที่กำหนด (เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม เป็นต้น) นั้นไม่มีเงื่อนไขตัวชี้วัดเป็นตัวเลขที่ต้องปฏิบัติให้ได้ เนื่องจากในบางกรณีหรือในช่วงระยะเวลาหนึ่ง การใช้พลังงานทดแทนอาจมีต้นทุนสูงกว่าพลังงานที่ใช้อยู่เดิม แต่จะพิจารณาว่าพลังงานทดแทนที่จะนำมาใช้ มีความเหมาะสมหรือไม่

ถาม Q14.1:

ทำไมจึงไม่ให้สิทธิประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุตตลตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพกับโครงการที่ยังไม่สิ้นสุดระยะเวลาการได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจากโครงการเดิมที่มีอยู่

ตอบ A14.1:

กรณีที่บริษัทจะลงทุนติดตั้งแผง Solar

1. หากโครงการที่ได้รับส่งเสริม ยังไม่สิ้นสุดระยะเวลายกเว้นภาษีเงินได้ และยังไม่ครบกำหนดเปิดดำเนินการ
- ให้ยื่นขอแก้ไขกรรมวิธีผลิต โดยให้ระบุว่าจะมีการลงทุนติดตั้งแผง Solar เพื่อใช้พลังงานทดแทนในโครงการด้วย
- เมื่อได้รับอนุมัติ จะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าแผง Solar (กรณีไม่ผลิตหรือประกอบในประเทศ) และจะได้รับแก้ไขวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เพิ่มขึ้นเท่ากับ 100% ของมูลค่าการลงทุนในส่วนของแผง Solar (ซึ่งจะมากกว่าข้อ 2 ที่กำหนดวงเงินยกเว้นภาษีเพียง 50% ของมูลค่าการลงทุนแผง Solar)
2. หากโครงการที่ได้รับส่งเสริม สิ้นสุดระยะเวลายกเว้นภาษีเงินได้ และได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว
- สามารถนำโครงการนี้มายื่นขอรับส่งเสริมตามมาตรการปรับปรุงฯ
- จะได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าตามมาตรา 28 และยกเว้นภาษีเงินได้เป็นวงเงิน 50% ของมูลค่าการลงทุนในส่วนของแผง Solar
3. หากโครงการที่ได้รับส่งเสริม ได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว แต่ยังไม่สิ้นสุดสิทธิการยกเว้น/ ลดหย่อนภาษีเงินได้
- ไม่สามารถยื่นแก้ไขโครงการตามข้อ 1 เนื่องจาก BOI ไม่อนุญาตให้แก้ไขโครงการที่มีการลงทุนเพิ่มเติม หลังเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว
- และไม่สามารถยื่นขอรับส่งเสริมตามมาตรการปรับปรุงตามข้อ 2 เนื่องจากยังไม่สิ้นสุดสิทธิการยกเว้น/ลดหย่อนภาษีเงินได้

ถาม Q14.2:

- การใช้สิทธิยกเว้นอากรนำเข้าเครื่องจักร หากทางบริษัทที่เป็นผู้รับติดตั้งนำเข้ามาเอง สามารถใช้สิทธิยกเว้นอากรนำเข้าของบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมได้หรือไม่
- ระบบบัญชีต้องดำเนินการอย่างไร ต้องแยกบัญชีหรือไม่หากได้รับการส่งเสริมตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ
- Serial No. ของอุปกรณ์ จะต้องถูกต้องตรงกับที่จะนำมาติดตั้งจริง หากไม่ตรงกันจะทำให้ไม่สามารถผ่านพิธีศุลกากรใช่หรือไม่

ตอบ A14.2:

ตอบคำถามดังนี้
1. ในการจะใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร ผู้นำเข้าจะต้องเป็นบริษัทที่ได้รับส่งเสริมที่ได้รับสิทธิ เท่านั้น (แต่สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่น เป็นผู้ดำเนินการผ่านพิธีการศุลกากรแทนได้ ตามระเบียบของกรมศุลกากร) หากบริษัทที่เป็นผู้รับติดตั้งแผงโซลาร์ เป็นผู้นำเข้าจากนั้นจำหน่ายพร้อมติดตั้งให้กับผู้ได้รับส่งเสริม จะไม่สามารถใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรได้
2. กรณีติดตั้งแผงโซลาร์ ปกติจะตรวจสอบเพียงว่าได้นำพลังงานจากแผงโซลาร์ไปใช้ในโครงการที่ได้รับส่งเสริมปรับปรุงประสิทธิภาพเท่านั้น เช่น หากบริษัทได้รับส่งเสริมหลายโครงการ (บัตร 1, บัตร 2, บัตร 3) อยู่ในสถานประกอบการเดียวกัน แต่ยื่นขอส่งเสริมเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเฉพาะบัตร 1 บริษัทจะต้องดำเนินการให้สามารถตรวจสอบได้ว่า การลงทุนแผงโซลาร์ เป็นการนำพลังงานทดแทนมาใช้ในบัตร 1 เท่านั้น
3. การยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร มีเงื่อนไขว่า ต้องไม่เป็นเครื่องจักรที่ผลิตหรือประกอบได้ในประเทศ ซึ่งมีคุณภาพใกล้เคียงกับชนิดที่ผลิตในต่างประเทศ และมีปริมาณเพียงพอที่จะจัดหามาใช้ได้ การระบุ serial หรือ spec เป็นวิธีการหนึ่งที่จะยืนยันว่า เครื่องจักรที่จะขอนำเข้าโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากร ไม่เป็นชนิดที่มีผลิตหรือประกอบในประเทศ ซึ่งมีคุณภาพใกล้เคียงกัน ดังนั้น หากบริษัทยื่นขออนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักรโดยระบุ serial / spec ก็จะต้องระบุ serial / spec ของสินค้านำเข้า ให้ตรงกับที่ได้รับอนุมัติ มิฉะนั้นจะขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรไม่ได้
ในกรณีที่สิทธิฯ ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร สิ้นสุดวันที่ 30 ม.ค. และบริษัท ต้องเปิดดำเนินการภายใน 30 มิ.ย. แต่ระหว่างวันที่ 1 ก.พ. - 29 มิ.ย. บริษัทมีการซื้อเครื่องจักรเข้ามาใช้เพิ่มเติมในโครงการ (ทั้งนำเข้าและซื้อในประเทศ) บริษัทฯ สามารถนำมูลค่าของเครื่องจักรที่ซื้อมาในช่วงระยะเวลาดังกล่าว มารวมคำนวณเป็นวงเงินที่จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้หรือไม่

การคำนวณขนาดการลงทุนเพื่อนับเป็นวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สามารถนับได้ถึงวันที่บริษัทขอยุติการนับขนาดการลงทุน ซึ่งต้องไม่เกินวันครบกำหนดเปิดดำเนินการ กรณีที่สอบถามข้างต้น หากบริษัทยื่นคำขอเปิดดำเนินการในวันที่ 30 มิ.ย. ก็สามารถกำหนดวันยุติการนับขนาดการลงทุนเป็นวันที่ 30 มิ.ย. และนำมูลค่าเครื่องจักรที่ซื้อมาระหว่าง 1 ก.พ. - 29 มิ.ย. มารวมนับเป็นขนาดการลงทุนได้ แม้ว่าเครื่องจักรนั้นจะชำระภาษีอากรเข้ามาเองก็ตาม แต่ทั้งนี้ต้องเป็นเครื่องจักรที่ถูกต้องตามตามเงื่อนไขของโครงการ (เช่น เป็นเครื่องจักรใหม่ ในกรณีมีเงื่อนไขให้ใช้เครื่องจักรใหม่ เป็นต้น)

(ปล. หากระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรสิ้นสุดในวันที่ 30 ม.ค. ระยะเวลาเปิดดำเนินการน่าจะนับไปอีก 6 เดือน คือ 30 ก.ค. ไม่น่าจะใช่ 30 มิ.ย.)

ข้อความในบัตรส่งเสริมการลงทุน [ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 25xx ให้ไว้ ณ วันที่ 25 สิงหาคม 25xx] หมายถึงอะไร

วันแรก คือ วันที่อนุมัติให้การส่งเสริม ทั้งนี้สิทธิประโยชน์ด้านวัตถุดิบ และภาษีเงินได้ สามารถขอใช้ย้อนหลังได้ไม่เกินวันนี้ (ส่วนเครื่องจักรจะย้อนได้ถึงวันที่ยื่นคำขอรับการส่งเสริม) แต่จะต้องได้รับบัตรส่งเสริมก่อน

วันที่สอง คือ วันที่ออกบัตรส่งเสริม

อย่างไรก็ตาม สถานะความเป็นผู้ได้รับการส่งเสริม และการใช้สิทธิประโยชน์ต่างๆ จะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย เมื่อมีการออกบัตรส่งเสริมแล้ว

สอบถามเกี่ยวกับการกรอกข้อมูลตรงส่วนของเครื่องจักรและวัตถุดิบ โดยปกติจะยืนยันเมื่อครบ 6 เดือน 1 ปี 2 ปี ตามลำดับ ยกตัวอย่างเช่น เครื่องจักร 6 เดือน = 2,000,000 บาท และเมื่อถึงกำหนดที่จะทำการยืนยันครบปีที่1 มีเครื่องจักรเข้ามาอีก = 1,000,000 บาท ตัวเลขที่จะนำไปกรอก คือ ส่วนต่างจากเดือนที่ 6 จนถึงครบปีที่ 1 คือ 1,000,000 บาทหรือ นำส่วนต่างบวกกับจำนวนที่ได้แจ้งไว้เมื่อครบ 6 เดือน คือ 2,000,000 + 1,000,000 = 3,000,000 บาท
ให้กรอกตัวเลขสะสมจนถึงตอนที่ยื่น คือ 3,000,000 บาท
เครื่องจักรที่ระบุในโครงการที่ขอเปิดดำเนินการ ทั้งเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตและเครื่องจักรสาธารณูปโภครอบนอกที่จ่ายให้กับการผลิต เช่น Boiler, Chiller, Air compressor เป็นต้น ด้วยหรือไม่ - จากคำถามข้อ 2 บริษัทขอชี้แจงว่าบริษัทมีโครงการเดิม ซึ่งเปิดดำเนินการเรียบร้อยแล้ว แต่หลังจากนั้นน้ำได้ท่วม บริษัทจึงขอรับการส่งเสริมเพื่อฟื้นฟูอุทกภัยและได้รับบัตรส่งเสริมฉบับใหม่มา บัดนี้บริษัทต้องการเปิดดำเนินการตามบัตรใหม่ อยากทราบว่าบริษัทต้องกรอกช่อง 5.3 (B) ทั้งค่าก่อสร้าง ค่าเครื่องจักร ค่าใช้จ่ายก่อนเปิดดำเนินการและสินทรัพย์อื่นๆ ใช่หรือไม่ (ตามแบบฟอร์ม F PM OP 01-06 )

1. เครื่องจักรที่จะกรอกให้แบบฟอร์มการขอเปิดดำเนินการ ให้รวมถึงเครื่องจักรด้านสาธารณูปโภคได้ด้วย เพราะเป็นการลงทุนที่นับเป็นขนาดการลงทุนเพื่อคำนวณวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ด้วย

2. ตามที่แอดมินเข้าใจคือ โครงการตามนโยบายฟื้นฟูฯ จะได้รับอนุญาตให้นำเครื่องจักรจากโครงการเก่าที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย มาใช้ในโครงการใหม่ได้ โดยกำลังผลิตของเครื่องจักรเก่านั้น สามารถนับรวมกำลังในโครงการใหม่ได้ด้วย และจะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้มากกว่าปกติ เช่น จะได้รับวงเงินยกเว้นภาษีเท่ากับ 150% ของขนาดการลงทุนโดยไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน เป็นต้น

แต่ขนาดการลงทุนไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน ที่จะคำนวณวงเงินยกเว้นภาษี จะนับเฉพาะการลงทุนที่เกิดขึ้นใหม่ และการลงทุนในการซ่อมแซมอาคารหรือเครื่องจักรเท่านั้น แต่ไม่รวมไปถึงค่าก่อสร้างอาคารและค่าเครื่องจักรที่มีอยู่ในโครงการเดิม ซึ่งเคยนับเป็นวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้ไปแล้วครั้งหนึ่ง

การกรอกข้อ 5.3 (B) จึงควรเป็น

- ค่าก่อสร้าง กรอกเฉพาะส่วนที่ก่อสร้างใหม่ ก่อสร้างเพิ่มเติม หรือการซ่อมแซมส่วนเดิมที่ได้รับความเสียหาย

- ค่าเครื่องจักร กรอกเฉพาะในส่วนที่ลงทุนใหม่ หรือที่ซ่อมแซมเครื่องจักรเดิมที่ได้รับความเสียหาย

- ค่าใช้จ่ายก่อนเปิดดำเนินการ ไม่นับ เพราะไม่ใช่โครงการริเริ่ม

- ค่าสินทรัพย์ ไม่นับ เพราะไม่ใช่โครงการริเริ่ม

อย่างไรก็ตาม การกรอกข้อมูลเครื่องจักรในข้อ 2 ควรต้องกรอกข้อมูลเครื่องจักรทั้งหมด คือทั้งที่ลงทุนใหม่ และที่นำมาใช้จากโครงการเดิม (แต่ส่วนที่นำมาจากโครงการเดิมจะไม่นับเป็นขนาดการลงทุน)โครงการตามนโยบายฟื้นฟูฯ ค่อนข้างแตกต่างจากกิจการปกติ หากเป็นไปได้ ควรนัดหมายเข้าไปพบกับเจ้าหน้าที่ BOI ผู้ดูแลโครงการ เพื่อขอรับคำปรึกษาโดยตรง จะได้ข้อมูลที่ชัดเจนกว่า

บริษัทต้องการขอ BOI เพื่อทำ R&D, พัฒนาเรื่องยนต์ และ battery สำหรับ Electric Bike ในประเทศไทย ส่วนการผลิตนั้น ปัจจุบัน บริษัทผลิต ส่งออก และขาย Scooter ในประเทศอยู่ และกำลังย้ายโรงงาน เข้าไปตั้งใน free trading zone ทีชลบุรี นอกจากนั้นบริษัทกำลังจะขยายการลงทุนเรื่อง EV เลยอยากทราบเพิ่มเติมอีกโครงการหนึ่งสำหรับการผลิต Scooter บริษัทกังวลว่า ต้องมีเครื่องขนาด 248 ซีซีเท่านั้นจึงจะขอ BOI ได้ เพราะปัจจุบันขนาดเครื่องยนต์ที่ผลิตอยู่ที่มีขนาด 125 และ 200 ซีซีเท่านั้นสำหรับกรณีการทำวิจัย EV จะสามารถขอรับการส่งเสริมได้อย่างไรบ้าง

สำนักงานขอชี้แจงดังนี้

(1) กิจการวิจัยและพัฒนา Electric Bike การพัฒนาเครื่องยนต์และแบตเตอรี่ในประเทศไทย สามารถขอรับการส่งเสริมได้ในประเภทกิจการ 7.11 กิจการวิจัยและพัฒนามีรายละเอียดดังนี้

เงื่อนไขเฉพาะโครงการ

1. ต้องมีขอบข่ายของการวิจัยและพัฒนา ดังนี้

- การวิจัยขั้นพื้นฐาน (Basic Research) หมายถึง การวิจัยหรือการค้นคว้าเพื่อการค้นพบองค์ความรู้ใหม่ที่มีคุณค่าทางวิชาการและองค์ความรู้นี้อาจนำไปสู่การใช้ประโยชน์หรือแก้ปัญหาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์กระบวนการการผลิตหรือการให้บริการในอนาคต

- การวิจัยประยุกต์ (Applied Research) หมายถึง การวิจัยที่นำความรู้พื้นฐานมาประยุกต์ใช้พเอแก้ปัญหาหรือพัฒนาองค์ความรู้เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ หรือกระบวนการใหม่ ทั้งนี้รวมถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น การคิดค้นสูตร การออกแบบผลิตภัณฑ์และการออกแบบกระบวนการผลิตที่นำไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์

- การวิจัยพัฒนาระดับนำร่อง (Pilot Development) หมายถึง การขยายขนาดการผลิตที่เป็นผลมาจากการวิจัยขั้นพื้นฐานและการวิจัยประยุกต์ เป็นการทดลองผลิตผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (Prototype) และ/หรือทดสอบกระบวนการผลิตในระดับกึ่งอุตสาหกรรมเพื่อวัตถุประสงค์ในการทดสอบตลาดและ/หรือ เก็บรวบรวมข้อมูลสภาวะที่เหมาะสำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในการออกแบบกระบวนการผลิตในระดับอุตสาหกรรม

- การวิจัยพัฒนาเชิงสาธิต (Demonstration Development) หมายถึง การวิจัยพัฒนาที่นำผลการวิจัยพัฒนาระดับนำร่องมาขยายขนาด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบ กระบวนการผลติในระดับอุตสาหกรรมเพื่อยืนยันความน่าเชื่อถือของเทคโนโลยีและกระบวนการผลิต รวมทั้งสาธิตให้เห็นถึงความเสถียรของกระบวนการและศักยภาพการผลิตเชิงพาณิชย์ ทั้งในส่วนของการควบคุม คุณภาพและการประเมินต้นทุน

2. ต้องเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับขอบข่ายการวิจัยและการพัฒนา จำนวนนักวิจัยตามโครงการตลอดจนประวัติการศึกษาและประสบการณ์ของนักวิจัย

3. หากตั้งอยู่ในเขตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ได้รับการส่งเสริมหรือได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการให้ได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิร้อยละ 50 เป็นระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันที่กำหนดระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสิ้นสุดลง

4. ต้องมีค่าใช้จ่ายเงินเดือนของบุคลากรด้านวิจัยและพัฒนาไม่น้อยกว่า 1,500,000 บาทต่อปี หรือมีเงินลงทุนขั้นต่ำที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับกิจการไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน)

ทั้งนี้ จะได้รับสิทธิและประโยชน์ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในการวิจัยและ พัฒนารวมทั้งการทดสอบที่เกี่ยวข้องโดยจะอนุมัติให้คราวละ 1 ปี ซึ่งของนำเข้าที่จะได้รับการยกเว้นอากรจะต้องไม่ใช่เครื่องจักรหรือวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่สามารถนำเข้าโดยได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรหรือวัตถุดิบและวัสดุจำเป็น ทั้งนี้ ตามชนิด ปริมาณ ระยะเวลา เงื่อนไข และวิธีการที่ประกาศกำหนด

สิทธิประโยชน์

- ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี (ไม่กำหนดวงเงินภาษีที่ได้รับ)

- ยกเว้นภาษีนำเข้าเครื่องจักร

- ยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบสำหรับวัตถุดิบที่นำเข้ามาผลิตเพื่อส่งออก

- สิทธิประโยชน์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่ภาษีอากร (การอนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินตามโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการอนุญาตนำเข้าช่างฝีมือต่างด้าว การอำนวยความสะดวกในการทำวีซ่าและใบอนุญาตทำงานแก่ช่างฝีมือต่างด้าว) หลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการ

1. ต้องเป็นการลงทุนในเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ใหม่ (เครื่องจักร/อุปกรณ์ต้องซื้อหลังจากวันที่ยื่นคำขอรับการส่งเสริม)

2. อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนจดทะเบียน (หรือส่วนของผู้ถือหุ้น) ไม่เกิน 3 ต่อ 1

ท่านสามารถดูรายละเอียดทั้งหมดนี้รวมถึงขั้นตอนการขอรับการส่งเสริมและเอกสารการยื่นขอรับการส่งเสริม (หน้า 131 - 140)จากคู่มือการขอรับการส่งเสริมการลงทุนสำหรับการยื่นคำขอรับการส่งเสริมโปรดกรอกแบบคำขอรับการส่งเสริมการลงทุน บริการ (F PA PP 03-08) ตามลิงค์ :

https://www.boi.go.th/upload/content/F%20PA%20PP%2003(Th)%20e-Form_5cf9da6cca46d.pdf และสามารถศึกษาการกรอกแบบคำขอได้ตามคู่มือการกรอกแบบคำขอฯ ตามลิงค์ : https://www.boi.go.th/upload/content/expla_app_89488.pdf กรณียื่นคำขอออนไลน์ กรุณาลงทะเบียนตามลิงค์ : https://boi-investment.boi.go.th/public/

(2) สำหรับกิจกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า (Scooter) เป็นกิจการที่ไม่เข้าข่ายประเภทกิจการที่สำนักงานให้การส่งเสริม

2.1 สำนักงานให้การส่งเสริมการลงทุนในประเภทกิจการผลิตรถจักรยานยนต์ ในประเภทกิจการ 4.12 โดยมีเงื่อนไขของโครงการ คือ ต้องเป็นรถจักรยานยนต์ที่มีความจุของเครื่องยนต์ตั้งแต่ 248 ซีซี ขึ้นไป ดังนั้น กรณีที่ท่านต้องการผลิตรถจักรยานยนต์ที่มีความจุของเครื่องยนต์ที่ 125 และ 200 ซีซี จึงไม่เข้าข่ายประเภทกิจการที่สำนักงานให้การส่งเสริม

(3) การผลิตรถจักรยานยนต์ EV เป็นกิจการที่ไม่เข้าข่ายประเภทกิจการที่สำนักงานให้การส่งเสริม อย่างไรก็ตาม สำนักงานมีประเภทกิจการที่อาจเกี่ยวข้องกับการขอรับการส่งเสริมของท่าน เช่น ประเภทกิจการ 4.8.3 กิจการผลิตอุปกรณ์สำหรับรถยนต์ Hybrid, Battery Electric Vehicles (BEV) และ Plug-in Hybrid Electric Vehicles (PHEV) ทั้งนี้ ท่านสามารถศึกษาประเภทกิจการที่เกี่ยวข้องภายใต้ประเภทกิจการ 4.8.3 จากคู่มือขอรับการส่งเสริมการลงทุน

บริษัทได้รับการส่งเสริมการลงทุน โดยมี 4 บัตรส่งเสริม และยังไม่ได้ขอเปิดดำเนินการ ต่อมาทางบริษัทต้องการแยกบัตรที่ 1 และบัตรที่ 2 เป็นอีกบริษัท โดยตั้งชื่อเป็นบริษัทใหม่ มีทุนจดทะเบียนใหม่ แต่ตั้งอยู่ที่เดิมจะต้องทำอย่างไรบ้าง

ต้องทำเรื่องโอนและรับโอนกิจการ เพื่อโอนโครงการตามบัตรที่ 1 และบัตรที่ 2 จากบริษัทที่ได้รับส่งเสริมเดิม ไปให้บริษัทที่ตั้งขึ้นใหม่ (แม้ว่าจะเป็นบริษัทในเครือเดียวกันก็ตาม)

กรณีที่บริษัทเดิมเป็นหุ้นไทยข้างมาก บริษัทที่ตั้งขึ้นใหม่สามารถตั้งอยู่ที่เดิมได้ แต่หากบริษัทเดิมเป็นหุ้นต่างชาติข้างมาก และถือครองที่ดินโดยสิทธิประโยชน์มาตรา 27 จาก BOI อาจจะเกิดปัญหา เนื่องจาก BOI จะอนุญาตให้นำที่ดินที่ถือครองกรรมสิทธิ์ตามมาตรา 27 ไปให้ผู้อื่น เช่น บริษัทในเครือ

ถ้าในกรณีที่ส่งขายให้ลูกค้าที่เป็นเขตปลอดอากร และลูกค้าส่งไปขายต่อยังต่างประเทศ และผู้ที่จะส่งกลับมาให้ซ่อมคือต่างประเทศ ถือว่าอยู่ในข่ายที่สามารถขออนุมัติได้หรือไม่

A(BOI) -> B(Free Zone) -> C(ต่างประเทศ) A สามารถนำสินค้าจาก C กลับเข้ามา เพื่อซ่อมแซม แล้วส่งกลับออกไปให้ C โดยขอใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าตามมาตรา 36 ได้

บ. ได้รับบัตรส่งเสริม 2 โครงการคือ 4.10 กิจการชิ้นส่วนยานพาหนะ และ 4.1.3 กิจการโลหะ ในการผลิตผลิตภัณฑ์เหมือนกัน ขั้นตอนการผลิตเหมือนกัน แต่ต้องการรวมโครงการให้เป็นโครงการเดียว (ยกเลิก 4.1.3) จะสามารถ จำหน่าย / โอน เครื่องจักรจาก โครงการ 2 มาใช้ในโครงการ 1 ได้หรือไม่ โครงการ 1 ขยายสิทธิการนำเข้าเครื่องจักรครบแล้ว 3 ครั้ง ปัจจุบันรอยื่นขอเปิดดำเนินการอย่างเดียว

กรณีได้รับส่งเสริมมากกว่า 1 โครงการ บริษัทสามารถขอรวมโครงการเข้าด้วยกันได้ (ไม่ใช่การโอนเครื่องจักรของบัตรหนึ่งให้กับอีกบัตรหนึ่ง) ซึ่งเมื่อรวมโครงการ ปกติจะถูกปรับลดสิทธิประโยชน์ลงให้เหลือเท่ากับโครงการที่สั้นที่สุด กรณีที่สอบถาม บริษัทจะขอรวมโครงการโดยมีผลิตภัณฑ์ 2 ชนิด และ 2 ประเภทกิจการ ตามที่ได้รับส่งเสริมอยู่เดิมก็ได้ หรือจะขอรวมโครงการพร้อมกับแก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์และประเภทกิจการให้เหลือชนิดเดียวก็ได้ กรณีนี้น่าจะเตรียมข้อมูลและนำไปปรึกษากับ จนท BOI เพื่อเลือกวิธีดำเนินการที่เหมาะสม

อยากทราบความแตกต่างระหว่างกิจการ IBC, IPO และ TISO
กิจการ 7.34 IBC คือกิจการที่ให้บริการบริษัทในเครือและในกลุ่มเป็นหลัก ทำหน้าที่เสมือน Headqaurters หรือ Regional Operating Headquarters นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรม Trading แต่กิจกรรมนี้สามารถให้บริการใครก็ได้ แต่จะต้องทำกิจกรรมให้บริการ HQ เป็นหลักก่อน ถึงจะสามารถขอกิจกรรม Trading ได้เพิ่มเติมได้

กิจการ 7.37 IPO คือกิจการจัดซื้อวัตถุดิบ ชิ้นส่วน และส่วนประกอบ จากหลายๆแหล่ง ให้แก่ลูกค้าซึ่งเป็นโรงงานอุตสาหกรรม หรือตัวแทนจำหน่าย โดยจะเป็นการค้าส่งในประเทศ และ/หรือส่งออกต่างประเทศ ทำหน้าที่เสมือน Sourcing Unit ของให้แก่ลูกค้าที่เป็นโรงงานอุตสาหกรรมหรือ Distributors

กิจการ 7.7 TISO เป็นกิจการสนับสนุนด้านการค้าการลงทุนของอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีหลายขอบข่ายธุรกิจที่บริษัทสามารถขอรับการส่งเสริมได้ เช่น การให้บริการทางวิศวกรรม การให้คำปรึกษา การติดตั้ง บำรุงรักษา ซ่อมแซมเครื่องจักร เป็นต้น อย่างไรก็ตาม แต่ละประเภทกิจการจะมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันออกไป (สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเงื่อนไขกิจการได้ที่คู่มือขอรับการส่งเสริม)
ทำไม BOI จึงพิจารณานำกิจการ IPO กลับมาให้ส่งเสริมอีกครั้ง และอยากทราบความแตกต่างระหว่างกิจการ IBC, IPO และ TISO
เนื่องจาก BOI ได้ยกเลิกการส่งเสริมกิจการ International Trading Center (ITC) โดยได้กำหนดกิจการใหม่เป็น IBC ที่รวมการทำ Trading ไปด้วย แต่เนื่องจากจะต้องดำเนินธุรกิจ Headquarters เป็นหลักก่อน จึงจะสามารถทำกิจกรรม Trading ได้ ทำให้บางบริษัท ที่ไม่ต้องการจะเป็น HQ จะไม่สามารถขอรับการส่งเสริมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ Trading ได้ นอกจากนี้ รัฐบาลไทยได้มุ่งเน้นผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุนของภูมิภาค และได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของกิจการ IPO ซึ่งถือเป็นธุรกิจในภาคบริการที่มีส่วนสำคัญต่อภาคการผลิตในประเทศ ก่อให้เกิดการเชื่อมโยงของห่วงโซ่อุปทานอย่างครบวงจร จึงกลับมาส่งเสริมกิจการ IPO อีกครั้ง เพื่อกระตุ้นภาคเศรษฐกิจและการลงทุนในประเทศ สำหรับความแตกต่างกิจ IPO IBC และ TISO อ้างอิงคำตอบจากข้อ 1.
สอบถามเพิ่มเติม เนื่องจากปัจจุบัน ผู้ดูแลของทั้ง 2 โครงการไม่ใช่กองเดียวกัน ควรที่จะเข้าปรึกษากับกองไหนดี ประเภท 4.10 อยู่กอง 2 / ประเภท 4.1.3 อยู่กอง 3

หากรวมแล้ว จะเป็นประเภท 4.10 ก็ควรปรึกษากับ จนท กอง 2 แต่ถ้ารวมแล้ว ยังแยกเป็น 2 ประเภทกิจการ ไม่แน่ใจว่าควรปรึกษากับกองที่ดูแลบัตรส่งเสริมฉบับแรกที่ได้รับ หรือควรปรึกษากับกองที่ดูแลกิจการของบัตรที่มีขนาดการลงทุนสูงกว่า เบื้องต้นลองปรึกษากับ จนท กอง 2 (ประเภท 4.10) ดูก่อน

ถ้านำกลับมาจาก C เพื่อซ่อม แต่ซ่อมเสร็จส่งไป B ได้หรือไม่

สามารถทำได้ หากเป็นการนำสินค้าที่ a ส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศ กลับเข้ามาซ่อม เพื่อส่งออก ก็สามารถใช้สิทธิได้

ทางบริษัทได้ขอรับบัตรส่งเสริมการลงทุนอยู่ 2 บัตร ทั้ง 2 บัตรได้เปิดดำเนินการแล้ว และสิ้นสุดสิทธิภาษีเงินได้แล้ว ความประสงค์จะขอรวมบัตรเพื่อให้ง่ายต่อการบริหาร มีคำถามว่า

- ถ้ารวมบัตรแล้วสิทธิที่ทางบริษัทจะได้รับจะเท่าเดิมหรือไม่

- เรื่อง Max Stock ที่เราจะได้รับจะได้เท่ากับ 2 บัตรเดิม รวมกันหรือไม่

- เรื่องวัตถุดิบและวัสดุจำเป้นของเดิมที่มีอยู่ทั้ง 2 โครงการจะทำอย่างไร จะมีข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้างในการรวมบัตร

1. การรวมบัตรส่งเสริม จะถูกปรับลดสิทธิประโยชน์ลงเท่าที่เหลือตามระยะเวลาของบัตรที่สั้นที่สุด เช่น บริษัทเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว และสิ้นสุดระยะเวลายกเว้นภาษีเงินได้แล้ว หากรวมบัตรส่งเสริม จะถูกปรับลดเฉพาะระยะเวลานำเข้าเครื่องจักร/แม่พิมพ์ (ถ้ามี) และระยะเวลานำเข้าวัตถุดิบ ลงเหลือเท่ากับระยะเวลาของบัตรที่สั้นที่สุด และในการออกบัตรส่งเสริม บริษัทจะต้องโอนย้ายบัญชีรายการเครื่องจักรและวัตถุดิบที่เหลือของบัตรฉบับเดิม ไปเป็นค่าตั้งต้นของบัตรส่งเสริมฉบับใหม่ด้วย

2. หากบริษัทต้องการลดภาระเฉพาะการบริหารจัดการวัตถุดิบ บริษัทสามารถขอรวมเฉพาะบัญชีปริมาณสต็อกวัตถุดิบ โดยไม่ต้องรวมบัตรส่งเสริมก็ได้ โดยจะได้รับอนุมัติบัญชีสต็อกวัตถุดิบใหม่ (บัญชีรวมสต็อก) ซึ่งจะมีระยะเวลานำเข้าเท่ากับระยะเวลาที่สั้นที่สุดของบัตรเดิม และต้องย้ายรายการและปริมาณวัตถุดิบคงเหลือของแต่ละบัตร ไปเป็นค่าตั้งต้นของบัญชีรวมสต็อกด้วย

การให้เช่าพื้นที่ BOI ในเขต กนอ. สอบถามเรื่องการเช่าที่ดินในเขตนิคมค่ะ ค่าเช่าสามารถนำมานับเป็นเงินลงทุนในโครงการได้หรือไม่คะ

เงินค่าเช่าที่ดินที่จะนับเป็นขนาดการลงทุนของโครงการ มีหลักเกณฑ์ดังนี้

1.ต้องเป็นการเช่าซึ่งมีอายุสัญญาเช่ามากกว่า 3 ปี (เช่น 3 ปี 1 เดือน) และจดทะเบียนสัญญาเช่ากับกรมที่ดิน

2.กรณีเป็นการเช่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง จะต้องแยกค่าเช่าที่ดินและค่าเช่าสิ่งปลูกสร้างไว้ในสัญญา

การเช่าที่ดินในนิคมอุตสาหกรรม หากเป็นไปตามเงื่อนไขทั้ง 2 ข้อนี้ ก็สามารถนับเป็นขนาดการลงทุนของโครงการได้

ในเอกสาร F PM OP 01 - 06 อยากทราบว่า ราคาทุน คือ ราคาสินค้า (CIF) รวมอากรและภาษีมูลค่าเพิ่มหรือค่าอื่นๆ ด้วยหรือเปล่า

กรณีเป็นเครื่องจักร ก็ให้ใช้ราคาทุน/ราคาที่ได้มาของเครื่องจักร รวมถึงค่าติดตั้ง ค่าทดลองเครื่อง และค่าวิชาการที่รวมอยู่ในต้นทุนเครื่องจักรด้วย

ค่าวัตถุดิบที่ให้ระบุในแบบแจ้งยืนยันฯ หมายความรวมถึงบรรจุภัณฑ์ที่นำมาใช้กับผลิตภัณฑ์ด้วยหรือไม่

บรรจุภัณฑ์ ถือเป็นวัตถุดิบของสินค้าตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม ค่าบรรจุภัณฑ์จึงรวมเป็นค่าวัตถุดิบตามโครงการได้

กรณีที่ยื่นคำขอรับส่งเสริมในนามบุคคล และได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม โดย BOI ได้ส่งหนังสือแจ้งมติมายังที่อยู่ของผู้ขอรับการส่งเสริม แต่หากในระหว่างนี้ ผู้ขอรับส่งเสริมได้จัดตั้งบริษัทเสร็จแล้ว จะต้องให้กรรมการของบริษัทเป็นผู้ตอบรับมติการให้การส่งเสริมหรือไม่

การยื่นคำขอรับการส่งเสริมในนามบุคคล ผู้ที่มีสิทธิลงนามตอบรับมติให้การส่งเสริม จึงต้องเป็นผู้ขอรับการส่งเสริมเท่านั้น ดังนั้น แม้จะจัดตั้งบริษัทเสร็จก่อนตอบรับมติ กรรมการบริษัทก็ไม่สามารถลงนามตอบรับมติได้

ขออภัยครับ ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ในภาษาที่ท่านเลือก !

Sorry, There is no information support your selected language !

Download และ ติดตั้งโปรแกรมอ่าน PDF

Download PDF Reader

Site map