เมื่อบริษัท A และบริษัท B ควบรวมกิจการเข้าด้วยกันเป็นบริษัทไม่ว่าจะใช้ชื่อเป็น A หรือ B หรือ C ก็ตาม ในทางกฎหมายถือเป็นคนละนิติบุคคลกับบริษัทเดิมที่ก่อนจะควบรวมกิจการ ดังนั้น บัตรส่งเสริมของบริษัท A และ B จึงจะสิ้นสุดอายุไปในเวลา 3 เดือนนับจากวันที่ควบรวมกิจการด้วยเช่นกัน
กรณีที่บริษัทที่เกิดขึ้นใหม่จากการควบรวมกิจการ ประสงค์จะเป็นผู้ได้รับส่งเสริมในกิจการเดิมของบริษัท A และ B จะต้องยื่นขอรับโอนกิจการจากบริษัท A และ B เช่นเดียวกับกรณีของการโอนและรับโอนกิจการข้างต้น
ทั้งนี้หากบริษัท C ที่คาดว่าจะขอรับการส่งเสริมเพื่อควบรวมกิจการยังไม่มีการจัดตั้ง ณ วันที่ยื่นขอรับการส่งเสริม สามารถยื่นขอในนามบุคคลธรรมดาได้ แต่ควรระบุชื่อบริษัทที่คาดว่าจะจัดตั้งในคำขอรับการส่งเสริมด้วย
บริษัท C จะต้องยื่นคำขอรับการส่งเสริมเพื่อขอรับโอนกิจการดังกล่าว โดยคณะกรรมการจะพิจารณาให้ได้รับสิทธิประโยชน์เท่าที่ยังเหลืออยู่เดิม
ขั้นตอนการขอรับโอนกิจการในกรณีที่ผู้รับโอนเป็นบริษัทที่เกิดใหม่จากการควบรวมกิจการ มีขั้นตอนและแนวทางพิจารณาเช่นเดียวกันกับการโอน – รับโอนกิจการตามปกติ
ข้อควรระวังในการควบรวมกิจการ
ควรจะต้องยื่นขอรับการส่งเสริมก่อนที่การควบรวมกิจการมีผล เนื่องจากผลกำไรของรายได้ที่จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจากจากกิจการที่มีการควบรวมกิจการจะมีผลตั้งแต่วันอนุมัติขอรับการส่งเสริมควบรวมกิจการ
หากอนุมัติภายหลังหรือยื่นภายหลังเกิดการควบรวมกิจการแล้ว รายได้ในช่วงระหว่างยื่นเรื่องถึงวันก่อนอนุมัติจะไม่สามารถยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้
ถ้าเป็นเครื่องจักรเก่าใช้แล้วจะกี่วันกี่เดือนก็ต้องขออนุญาต และต้องมีใบรับรองประสิทธิภาพ
ปกติก็ควรเป็นเช่นนั้น แต่หากสินค้าของบริษัท ต้องทำการตรวจสอบ 100% ด้วยเครื่องจักรทันสมัย ขั้นตอนตรวจสอบก็อาจจะเป็นตัวกำหนดกำลังการผลิตของโครงการก็ได้ ดังนั้น จึงขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงของโครงการนั้นๆ ด้วย
1) เครื่องจักรที่ซื้อใหม่ในประเทศ สามารถนับได้ตั้งแต่วันที่ยื่นคำขอรับการส่งเสริม จนถึงวันที่ครบกำหนดยื่นรายงาน โดยให้รวม vat ด้วย
2) วัตถุดิบที่ซื้อในประเทศ จะนับจากวันที่ยื่นคำขอรับการส่งเสริมก็ได้ แต่ถ้ายังไม่มีการซื้อวัตถุดิบ ก็กรอกเป็น 0
ถ้าชื่อภาษาไทย/อังกฤษ ของประเภทกิจการในบัตรส่งเสริมไม่ตรงกัน ควรแก้ไขให้ถูกต้อง แต่ไม่มีแบบฟอร์มสำหรับการแก้ไขกรณีนี้เป็นการเฉพาะ จึงควรปรึกษาเจ้าหน้าที่ BOI ผู้วิเคราะห์โครงการนี้ว่า จะให้ยื่นเป็นหนังสือบริษัทเพื่อขอแก้ไข หรือจะให้ใช้แบบฟอร์มแก้ไขโครงการ(กรณีปกติ)
1. การขายโรงงานก่อนเปิดดำเนินการ โดยเปลี่ยนเป็นการเช่า ไม่ต้องขออนุญาตจาก BOI แต่มูลค่าก่อสร้างที่ได้ลงทุนไปแล้ว ไม่สามารถนำมานับเป็นเงินลงทุนของโครงการได้ เนื่องจากในวันเปิดดำเนินการ บริษัทได้จำหน่ายโรงงานไปแล้ว จึงจะนับค่าเช่าตามสัญญาที่มากกว่า 3 ปี เป็นขนาดการลงทุนแทน
2. การขายโรงงานหลังเปิดดำเนินการ ไม่ต้องขออนุญาตจาก BOI และค่าก่อสร้างที่ได้นับเป็นขนาดการลงทุนไปแล้วในวันเปิดดำเนินการ ก็จะไม่ลดลง แม้จะขายโรงงานออกไปก็ตาม
ตอบคำถามดังนี้
1. หากมีขนาดการลงทุนเกินกว่า 1 ล้านบาท ไม่ต้องมีคุณสมบัติตามข้อ 2.4 ของประกาศ
2. มาตรการตามประกาศ กกท ที่ 1/2564 ใช้กับกิจการที่ดำเนินการอยู่แล้ว ดังนั้น หากบริษัทจะลงทุนเพื่อขยายกิจการ (ยื่นคำขอเป็นโครงการใหม่) จะไม่เข้าข่ายตามประกาศ กกท ที่ 1/2546
แต่จะได้รับสิทธิประโยชน์ตามหลักเกณฑ์การส่งเสริมการลงทุน ตาม ประกาศ กกท ที่ 2/2557
Q5.1:
หมายความว่าหากบริษัททจะขอขยายโครงการใหม่ ก็จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์จากการติดตั้งโซลาร์เซลล์ ใช่หรือไม่
A5.1:
หากยื่นขอรับส่งเสริมเป็นโครงการใหม่ การลงทุนในส่วนของ Solar Roof จะนับเป็นการลงทุนเครื่องจักรที่จะนำมาคำนวณเป็นขนาดการลงทุนของโครงการได้ แต่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือไม่ ขึ้นอยู่กับประเภทกิจการที่ยื่นขอรับส่งเสริม ว่าเข้าข่ายกิจการในประเภท A ที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้หรือไม่
Q5.2:
หมายถึงหากเป็นกิจการประเภท A จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เพิ่มเติมจากตัวโครงการ แต่หากเป็นประเภท B ที่ไม่ได้รับยกเว้นเงินได้จากตัวโครงการ ก็จะไม่ได้รับยกเว้นเงินได้จากตัวโซลาร์เซลล์ใช่หรือไม่
A5.2:
1. หากเป็นกิจการในประเภท A จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ 3 - 8 ปี โดยมูลค่าการลงทุน Solar Roof ทั้ง 100% จะถูกนับรวมเป็นขนาดการลงทุนของโครงการ (และรวมกับมูลค่าการลงทุนค่าก่อสร้าง และเครื่องจักรอื่นๆ) เพื่อกำหนดวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่หากเป็นมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ จะได้รับวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้ เพียงแค่ 50% ของมูลค่าการลงทุนของ Solar Roof
2. หากเป็นกิจการในประเภท B จะไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ทั้งในส่วนของการยื่นขอรับส่งเสริมเป็นโครงการขยาย หรือยื่นขอรับส่งเสริมตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ
Q5.3:
สำหรับโครงการที่สิ้นสุดระยะเวลายกเว้นภาษีเงินได้แล้ว จึงจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ 50% ของเงินลงทุน ในที่นี้คือเงินลงทุนทั้งหมดหรือเงินลงทุนค่าโซลาร์เซลล์
หากเป็นโครงการเดิมที่ยังไม่หมดภาษีเงินได้ไม่สามารถขอยื่นปรับปรุงประสิทธิภาพได้ แต่สามารถนำเข้าโซลาร์เซลล์โดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีเครื่องจักรได้ใช่หรือไม่
การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ หากจะนำมาใช้กับโครงการเดิม (ที่ยังเหลือสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ 50% อีก 5 ปี) สามารถขอรับการส่งเสริมได้หรือไม่
A5.3:
ตอบคำถามดังนี้
1. การลงทุนตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ 3 ปี เป็นสัดส่วน 50% ของเงินลงทุนไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน เฉพาะเงินลงทุนในการปรับปรุง
2. หากโครงการเดิมยังไม่สิ้นสุดการยกเว้นภาษีเงินได้ จะขอรับการส่งเสริมตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพไม่ได้ แต่หากโครงการเดิมยังไม่ครบกำหนดเปิดดำเนินการ บริษัทสามารถลงทุนโซลาร์เซลล์ และนำมูลค่าการลงทุนนั้นมารวมคำนวณเป็นมูลค่าการลงทุนของโครงการ เพื่อปรับเปลี่ยนวงเงินที่จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ภายใต้โครงการเดิมได้
3. มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ตามประกาศ กกท ที่ 4/2564 จะต้องเป็นโครงการที่สิ้นสุดสิทธิการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้ว
Q5.4:
ตามคำตอบข้อ 2 ข้างต้น ไม่ทราบว่าสามารถได้รับยกเว้นภาษีนำเข้าโซลาร์เซลล์ไหม (ทั้งกรณีเปิดดำเนินการแล้วและยังไม่ได้เปิด)
A5.4:
หากยังมีระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรเหลืออยู่ สามารถขอแก้ไขบัญชีรายการเครื่องจักรเพื่อนำเข้า โซลาเซลล์ได้
หากคลังสินค้านั้นใช้เฉพาะกิจการที่ได้รับส่งเสริมตามโครงการนั้น การติดตั้งโซลาเซลล์ที่คลังสินค้า ก็เข้าข่ายมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพตามประกาศ
หากเงินลงทุนในขั้นเปิดดำเนินการ มีมูลค่าแตกต่างจากตอนยื่นคำร้องขอรับการส่งเสริม จะแก้ไขวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลที่กำหนดไว้ในบัตรส่งเสริม ให้เป็นไปตามมูลค่าที่ลงทุนที่แท้จริงในวันเปิดดำเนินการ ไม่ว่าจะแตกต่างกันมากหรือน้อยเพียงใด
1) สามารถขอรับได้ที่ สนง BOI ทุกแห่ง (นำเอกสารไปยื่น และรอรับได้เลย)
2) หนังสือมอบอำนาจไม่มีแบบฟอร์มเฉพาะ สามารถใช้รูปแบบทั่วไปที่มีให้โหลดในเน็ตได้
3) หนังสือรับรอง ใช้เฉพาะหน้าแรกหน้าเดียว โดยให้ลงนามรับรองและประทับตราด้วย รายละเอียดอื่นๆ ดูได้จาก
[http://doctracking.boi.go.th/doctrack-ts310.pdf] ตามเอกสาร 1.1 - 1.4ในใบอนุญาตเปิดดำเนินการ จะระบุเพียงแค่ว่า "อนุญาตให้เปิดดำเนินการได้ ตามใบอนุญาตเลขที่ ....... ลงวันที่ ........." โดยไม่มีการระบุว่า ให้เปิดดำเนินการได้ตั้งแต่เมื่อใด ส่วนในการเริ่มใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 31 นั้น กำหนดไว้ตาม พรบ. และเงื่อนไขในบัตรส่งเสริมอยู่แล้ว คือ "ตั้งแต่วันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับส่งเสริม" ซึ่งวันที่เริ่มมีรายได้ ซึ่งสามารถเริ่มใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นี้ ปกติจะเป็นวันก่อนที่จะออกใบอนุญาตเปิดดำเนินการอยู่แล้ว
วันเริ่มใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ ให้ยึดตามวันที่เริ่มมีรายได้ครั้งแรกตามโครงการ โดยไม่ต้องอิงกับวันที่ในใบอนุญาตเปิดดำเนินการ เช่น ถ้าในปีที่ 1 บริษัทเริ่มมีรายได้จากการจำหน่ายสินค้าตามโครงการ ก็ให้เริ่มใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันที่มีรายได้นั้น ส่วนใบอนุญาตเปิดดำเนินการ อาจจะออกตามหลังมาอีก 3 ปี ก็ไม่เป็นไร เพราะใบอนุญาตเปิดดำเนินการในความหมายของบีโอไอ ไม่ใช่ออกเพื่ออนุญาตให้บริษัทเริ่มประกอบกิจการได้ แต่เป็นการออกเพียงการยืนยันว่า บริษัทมีการลงทุนครบตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม
สามารถซื้อเครื่องจักรในประเทศได้ โดยไม่ต้องระบุไว้ในโครงการ และไม่ต้องขออนุญาต แต่จะต้องเป็นเครื่องจักรใหม่เท่านั้น
ไม่สามารถนำเครื่องจักรที่ไม่ได้ใช้สิทธิ มาใช้ร่วมในโครงการ BOI เพราะเท่ากับเป็นการใช้เครื่องจักรเก่าในประเทศ ซึ่งผิดเงื่อนไขในการให้ส่งเสริม
ผู้ได้รับส่งเสริมสามารถขอยกเลิกบัตรส่งเสริมในเวลาใดก็ได้ โดยหลักประกัน การคุ้มครอง และสิทธิประโยชน์ทั้งหมดจะสิ้นสุดลงในวันที่ได้รับอนุมัติให้ยกเลิกบัตรส่งเสริม
กรณีที่ได้รับส่งเสริมนำเครื่องจักรและวัตถุดิบเข้ามาโดยการยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้า แต่ต่อมาได้รับอนุมัติให้เลิกบัตรส่งเสริม เครื่องจักรที่มีอายุมากกว่า 5 ปี นับจากวันที่นำเข้าจะไม่มีภาระภาษีอาการขาเข้า ทั้งนี้จะต้องดำเนินการตามที่ สำนักงานกำหนด สำหรับวัตถุดิบที่นำเข้า ขอให้บริษัทชำระภาษีอากรขาเข้า หรือส่งออกไปต่างประเทศ ให้เรียบร้อย
กรณีที่ผู้ได้รับส่งเสริมเป็นนิติบุคคลต่างด้าว และใช้สิทธิและประโยชน์ในการถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน ผู้ได้รับส่งเสริมจะต้องจำหน่ายที่ดินดังกล่าวภายใน 1 ปีนับจากวันที่ได้รับอนุมัติให้ยกเลิกบัตรส่งเสริม
กรณีที่ผู้ได้รับส่งเสริมไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เป็นสาระสำคัญในการให้การส่งเสริมได้ เช่น มีขนาดการลงทุนไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนต่ำกว่า 1 ล้านบาท หรือมีกรรมวิธีการผลิตไม่เป็นไปตามที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม และทำให้มูลค่าเพิ่มของโครงการต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผู้ได้รับส่งเสริมจะถูกเพิกถอนบัตรส่งเสริม
ในกรณีที่ถูกเพิกถอนบัตรส่งเสริม ผู้ได้รับส่งเสริมอาจถูกเพิกถอนสิทธิและประโยชน์ทั้งหมดเสมือนว่าไม่เคยได้รับส่งเสริมมาตั้งแต่ต้น ซึ่งจะต้องทำให้เสียภาษีอากรเครื่องจักรและวัตถุดิบย้อนหลังตามสภาพ ณ วันนำเข้า พร้อมเงินเพิ่มและเบี้ยปรับ ซึ่งรวมถึงการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มย้อนหลังอีกด้วย
การนำสินค้าที่ส่งไปจำหน่ายต่างประเทศกลับเข้ามาซ่อม สามารถขอใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าตามมาตรา 36(1) ได้ โดยมีเงื่อนไขคือ
1. ต้องเป็นสินค้าที่บริษัท BOI ส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศ
2. ชื่อสินค้าและโมเดลที่นำกลับเข้ามาซ่อม ต้องเป็นชื่อสินค้าและโมเดลเดียวกับที่ส่งออก และได้รับอนุมัติสูตรการผลิต
3. ต้องเป็นสินค้าที่สามารถซ่อมแซมเพื่อส่งกลับออกไปใหม่ได้
4. เมื่อซ่อมแซมเสร็จแล้วต้องส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศ
5. ให้ยื่นขออนุมัติ Max Stock ในข่ายสินค้านำกลับเข้ามาซ่อม
6. จะยกเว้นอากรขาเข้าให้เฉพาะสินค้าที่นำเข้ามาซ่อมเท่านั้น โดยจะไม่ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่ใช้ไปในการซ่อมสินค้านั้นๆ
ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตและส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ สามารถขอนำกลับเข้ามาซ่อมเพื่อส่งกลับออกไปอีกครั้งหนึ่ง โดยจะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับผลิตภัณฑ์นั้น แต่จะไม่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับชิ้นส่วนที่ใช้การซ่อม
ขั้นตอนคือ
1. ยื่นขอแก้ไขบัญชีปริมาณสต๊อก เพื่อเพิ่มรายการผลิตภัณฑ์ที่นำกลับเข้ามาซ่อม ขออนุมัติปริมาณสต๊อกได้ไม่เกิน 10% ของกำลังผลิตตามบัตรส่งเสริม
Project Code ใช้เป็นมาตรา 36(1) แบบหมุนเวียน คือ xxxxxx11
Group No. ให้เริ่มต้นจาก R00001 ไปตามลำดับ
ชื่อหลัก ให้ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์ตามบัตรส่งเสริม หรือผลิตภัณฑ์ที่ส่งออก
ชื่อรอง ให้ใช้ตามผลิตภัณฑ์ที่จะนำกลับเข้ามาซ่อม
2. เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว นำไปบันทึกฐานข้อมูลที่ IC จากนั้น ยื่นสั่งปล่อยเช่นเดียวกับขั้นตอนปกติ
3. ยื่นขออนุมัติสูตรการผลิตจาก BOI จากนั้นนำไปบันทึกฐานข้อมูลที่ IC
สูตรจะต้องเป็น 1 ต่อ 1 เท่านั้น จะไม่อนุมัติรายการวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนอื่นๆ ที่ใช้เพื่อการซ่อม
ยื่นตัดบัญชีหลังจากส่งผลิตภัณฑ์ที่ซ่อมเสร็จแล้วออกไปต่างประเทศ ระหว่างที่ยื่นแก้ไขบัญชีปริมาณสต๊อก สามารถชำระภาษีสงวนสิทธิ์ได้เช่นเดียวกับกรณีการสงวนสิทธิ์วัตถุดิบรายการอื่นๆ
สามารถทำได้ทั้ง 2 วิธี คือจะแก้ไขที่ตั้งสถานประกอบการก่อนออกบัตรหรือหลังออกบัตรก็ได้ แต่หากยื่นเอกสารประกอบการขอออกบัตรส่งเสริมไปแล้ว ควรรอให้ขั้นตอนการออกบัตรเสร็จสิ้นก่อน จึงยื่นขอแก้ไขสถานที่ตั้ง
การนำเครื่องจักรของโครงการ 1 ไปใช้ในโครงการ 2 เป็นการปฏิบัติเงื่อนไขทั้งโครงการ 1 และโครงการ 2 คือ
โครงการ 1 ผิดเงื่อนไข คือนำเครื่องจักรที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีอากร ไปใช้งานนอกเหนือกิจการตามบัตรส่งเสริมฉบับนั้น
โครงการ 2 ผิดเนื่องจากไม่มีการลงทุนตามโครงการ แต่นำเครื่องจักรที่มีอยู่แล้วมาสวมสิทธิในการผลิตเพื่อยกเว้นภาษีเงินได้ ฯลฯ
แต่หากเป็นเครื่องจักรบางรายการที่ไม่มีผลกับกำลังผลิต เช่น แม่พิมพ์ อยู่ในข่ายที่สามารถใช้ร่วมกันได้ แต่เป็นการยอมรับในทางปฏิบัติเท่านั้น ซึ่งหากจะทำให้ถูกต้องจริงๆ อาจจะต้องยื่นหนังสือขอใช้แม่พิมพ์ของโครงการที่ 1 และ 2 ร่วมกัน
เครื่องจักรที่ไม่ได้รับส่งเสริม คืออะไร
ก. เครื่องจักรที่นำเข้ามาโดยไม่ได้ใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้า ข. เครื่องจักรที่ผิดเงื่อนไขตามบัตรส่งเสริม (เช่น เครื่องจักรเก่าที่ไม่มีใบรับรองประสิทธิภาพ หรือเครื่องจักรเก่าซื้อในประเทศ เป็นต้น)ตอบคำถาม
1. หากเป็นเครื่องจักรตามข้อ ก. ก็ต้องระบุด้วย มิฉะนั้น กรรมวิธีการผลิตหรือกำลังผลิตอาจไม่ครบตามบัตรส่งเสริม แต่หากเป็นข้อ ข. จะระบุหรือไม่ ก็มีปัญหา เพราะกำลังทำผิดเงื่อนไขในการส่งเสริม
2. ช่อง 5.3 เป็นการกรอกมูลค่าการลงทุนเพื่อนำไปกำหนดวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ถ้าเป็นโครงการริเริ่ม จะนับค่าสินทรัพย์ และค่าใช้จ่ายก่อนเปิดดำเนินการ เป็นขนาดการลงทุนได้ด้วย แต่ต้องเป็นโครงการขยาย จะนับได้เฉพาะค่าเครื่องจักร และค่าก่อสร้างส่วนที่เพิ่มเติม ในบัตรส่งเสริมระบุเงื่อนไขไว้อย่างไร และประเด็นที่สอบถามคืออะไร ขอรายละเอียดอีกหน่อย
การยืนยันการดำเนินการตามโครงการ ให้ยื่นผ่านระบบงานตรวจสอบทางอินเตอร์เน็ต https://boieservice.boi.go.th/PM/ โดย user ID และ password เป็นอันเดียวกับระบบตรวจสอบเอกสารทางอินเตอร์เน็ต (http://doctracking.boi.go.th/) แต่หากยังไม่มี user ID ให้ติดต่อขอรับได้ที่ BOI ทุกแห่ง รายละเอียดตาม Link : http://doctracking.boi.go.th/doctrack-ts310.pdf
หลังจากตอบรับมติการให้การส่งเสริมแล้ว จะต้องยื่นเอกสารเพื่อขอออกบัตรส่งเสริมภายใน 6 เดือนหลังวันที่ตอบรับมติ โดยสามารถขยายเวลาการยื่นเอกสารฯ ได้ 3 ครั้ง ครั้งละ 4 เดือน
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.boi.go.th/index.php?page=before_promo_get_cert