Chat
x
toggle menu
toggle menu

Select Groups

All Group
  • All Group
  • นโยบายเเละมาตรการพิเศษในการส่งเสริม
  • การขอรับการส่งเสริมการลงทุน
  • การออกบัตรส่งเสริม
  • การเปิดดำเนินการ
  • การเเก้ไขโครงการ
  • การดำเนินการอื่น ๆ
  • การรายงานความคืบหน้าโครงการ (e-Monitoring)
  • การปฏิบัติหลังการได้รับการส่งเสริม
  • การยกเลิกบัตรส่งเสริม
  • เรื่องทั่วไป
  • การใช้สิทธิด้านที่ดิน
  • การใช้สิทธิด้านเครื่องจักร
  • การใช้สิทธิด้านช่างฝีมือ/ต่างด้าว
  • การใช้สิทธิด้านวัตถุดิบ
  • ประเภทกิจการ - การแพทย์
  • การใช้สิทธิด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ประเภทกิจการ - รถยนต์ไฟฟ้า
  • ประเภทกิจการ - ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (IBC) IPO และ TISO
  • ประเภทกิจการ - โรงแรม
  • ประเภทกิจการ - ผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ
  • ประเภทกิจการ - กิจการผลิตเครื่่องจักร อุุปกรณ์และชิ้นส่วน
  • ประเภทกิจการ - กิจการศูนย์กระจายสินค้าระหว่า ประเทศด้วยระบบที่่ทันสมัย (IDC)
บริษัทได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน อนุมัติวันที่ 26 กันยายน 2560 ให้ไว้ ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2560 เริ่มเปิดดำเนินการเดือน กรกฏาคม 2560 ไม่ทราบว่าต้องได้รับอนุมัติ ISO ภายในเดือนและปีที่เท่าไรคะ

เงื่อนไขเฉพาะโครงการเรื่อง ISO ของบริษัท

“จะต้องดำเนินการให้ได้รับใบรับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9000 หรือ ISO 14000 หรือมาตรฐานสากลอื่นที่เทียบเท่า ภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันครบเปิดดำเนินการ หากไม่สามารถดำเนินการได้ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว จะถูกเพิกถอนสิทธิและประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 1 ปี

ตามเงื่อนไขกำหนดไว้ 2 ปี นับแต่วันครบเปิดดำเนินการ วันครบเปิดดำเนินการในที่นี้ คือ ทางบริษัทต้องยื่นขอเปิดดำเนินการเต็มโครงการกับสำนักงานฯ ภายใน 36 เดือน นับแต่วันที่บัตรออก ซึ่งคือวันที่ 27 พฤศจิกายน 2561 หมายความว่า วันเปิดดำเนินการเต็มโครงการวันสุดท้ายของบริษัทคือวันที่ 27 พฤศจิกายน 2564

การเปิดดำเนินการเต็มโครงการหลังจากยื่นขอเปิดฯ แล้วทางเจ้าหน้าที่จะไปตรวจโรงงาน และตรวจสอบเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ได้ระบุไว้หลังบัตร หลังจากตรวจดำเปิดดำเนินการเรียบร้อยแล้ว จะออกใบอนุญาตเปิดดำเนินการเต็มโครงการ ให้นับวันนั้นไปอีก 2 ปีครับ สำหรับเงื่อนไข ISO

เครื่องขัดโลหะ,เครื่องตรวจสอบหรือทดสอบแสง,เครื่องตรวจชิ้นงานเก่าผ่านการใช้งานแล้วหรือเครื่องมือสองพร้อมอุปกรณ์ (บริษัทได้รับอนุมัติให้ใช้เครื่องจักรเก่าใช้ในโครงการได้) ถือเป็นเครื่องจักรสนับสนุนโครงการหรือไม่ ถ้าใช่สามารถใช้สิทธิBOI ด้านยกเว้นภาษีอากรได้หรือไม่ และถ้าไม่ได้บริษัทต้องทำอย่างไรบ้าง

หากเครื่องจักรเก่าที่สอบถาม ใช้ในกรรมวิธีผลิตที่ได้รับส่งเสริม ก็สามารถขออนุมัติบัญชีเครื่องจักร เพื่อใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรได้ โดยต้องแนบใบรับรองประสิทธิภาพเครื่องจักรเก่าตามที่ BOI กำหนด ในขั้นยื่นขออนุมัติบัญชีเครื่องจักร

อย่างนั้นเตรียมเอกสาร F PM EX 06-02 พร้อมนำบัตรส่งเสริมฉบับจริงไปยื่นที่ สำนัก4 ตรงถนนวิภาวดีได้เลยไหม

การยื่นขยายเวลาเปิดดำเนินการเพียงอย่างเดียว ใช้แบบฟอร์ม F PM EX 06-02 ถูกต้อง แต่จะขยายเวลาได้เพียงครั้งเดียว โดยหลังจากนี้จะขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรและเวลาเปิดดำเนินการไม่ได้อีก เอกสารแนบใช้สำเนาบัตรส่งเสริมและเอกสารแนบท้ายบัตรฯ เท่านั้น โดยอาจจะแนบสำเนาหนังสือรับรองจดทะเบียน และสำเนางบการเงินล่าสุดไปด้วยก็ได้

การขอแก้ไขรายงานความคืบหน้าของโครงการ 6 เดือนเนื่องจากกรอกมูลค่าที่ดินผิดต้องทำอย่างไร

ให้ติดต่อกับ จนท. ผู้ดูแลรับแจ้งปัญหาระบบ ตส.310 และระบบรายงานความคืบหน้าของโครงการ เพื่อขอแก้ไขข้อมูลใหม่ให้ถูกต้อง

กรณีของบริษัท ให้ติดต่อกับสำนัก 1 อุตสาหกรรมเบาและการเกษตรตามชื่อและเบอร์โทร หน้าสุดท้ายใน คู่มือการใช้งาน ตส.310

การตอบรับมติและออกบัตรส่งเสริม กรอกในระบบได้เลยใช่ไหม แล้วต้องส่งเอกสารตัวจริงที่สำนักงานไหม

การตอบรับมติ และการออกบัตรส่งเสริม สามารถทำได้ 2 กรณีดังนี้


1. กรอกผ่านระบบออนไลน์ ผ่านระบบงานบัตรส่งเสริม (Promotion Certificate System) จากนั้น BOI จะตรวจสอบข้อมูลที่ยื่น

- หากข้อมูลไม่ถูกต้อง จนท จะแจ้งข้อผิดพลาดให้บริษัทราบ ผ่านระบบออนไลน์

- หากข้อมูลถูกต้อง จนท จะเปิดให้บริษัทส่งเอกสารประกอบการออกบัตรส่งเสริมผ่านระบบออนไลน์ โดยไม่ต้องยื่นเอกสารตัวจริง


2. ยื่นเอกสารที่สำนักงานฯ ในกรณีการโอนกิจการเท่านั้น

การตอบรับมติให้ยื่นแบบตอบรับมติการส่งเสริมการ ลงทุน (F GA CT 07) ที่กลุ่มบัตรส่งเสริม สำนักงานบีโอไอส่วนกลาง และการการออกบัตรส่งเสริมกรอกแบบฟอร์มประกอบการขอรับบัตรส่งเสริม (F GA CT 08) พร้อมยื่นเอกสารหลักฐาน ประกอบการออกบัตร


อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

https://www.boi.go.th/index.php?page=before_promo_get_cert

สินทรัพย์ที่จะนำมารวม Cap วงเงินภาษี นอกจากเครื่องจักรแล้ว การลงทุนในส่วนอื่น หรือสินทรัพย์อื่นที่เกี่ยวข้องกับโครงการ สามารถนำมารวมใน Cap วงเงินด้วยกันได้หรือไม่

สินทรัพย์ที่จะนับเป็นขนาดการลงทุนเพื่อยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล (การ cap วงเงิน) หากเป็นโครงการริเริ่ม (คือเป็นกิจการแรกที่บริษัทเริ่มประกอบการ) จะนับรวมทรัพย์สินอื่นๆ ได้แก่ อุปกรณ์สำนักงาน และยานพาหนะ ได้ แต่หากเป็นโครงการขยาย (คือเคยประกอบธุรกิจอื่นอยู่ก่อนแล้ว ไม่ว่าจะได้รับส่งเสริมจาก BOI หรือไม่ก็ตาม) จะไม่สามารถนำทรัพย์สินอื่นๆ มานับรวมเป็นขนาดการลงทุนเพื่อ cap วงเงิน รายละเอียดศึกษาเพิ่มเติมจาก http://www.faq108.co.th/boi/tax/amount.php

“มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ” มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ สามารถขอ 2 มาตรการย่อยพร้อมกันได้หรือไม่ (2 ธ.ค. 2564)
สามารถขอได้ โดยจะต้องมีเงินลงทุนแต่ละมาตรการย่อยละ 1 ล้านบาท ซึ่งจะได้รับสิทธิประโยชน์วงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามที่ลงทุนของ 2 มาตรการย่อย เป็นระยะเวลา 3 ปี
บริษัทมีหุ้นต่างชาติทั้งสิ้นได้รับส่งเสริมการลงทุนประเภทกิจการ “IPO” ของ BOI ต้องการขยาย กิจการเพื่อสนับสนุนด้านการขายและการตลาด รวมถึงบริหารงานและควบคุมดูแลบริษัทในเครือ ในเอเชียและประเทศไทย โดยรับค่าบริการเป็นการตอบแทน บริษัทควรจะดำเนินการอย่างไร

สามารถยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนในกิจการ IBC สำหรับการขยายธุรกิจดังกล่าว โดยไม่จำเป็นต้อง จัดตั้งบริษัทใหม่

เงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ในการส่งเสริมการลงทุนที่ปรับเปลี่ยนสำหรับกิจการ IBC ที่แตกต่างจากประเภทกิจการ IHQ และกิจการ ITC คืออะไร

ที่มา: ได้ยกเลิกการให้ส่งเสริมการลงทุนกิจการ International Headquarters (IHQ), International Trading Center (ITC) โดยกิจการ IBC เปรียบเหมือนการปรับการให้ส่งเสริมในกิจการ International Headquarters (IHQ) มาเป็นกิจการ IBC จึงมีเงื่อนไขว่าจะต้องมีแผนการดำเนินการให้บริการแก่วิสาหกิจในเครือ และส่งเสริมให้ดำเนินธุรกิจการค้าระหว่างประเท ได้ หากมีการดำเนินธุรกิจให้บริการแก่บริษัทในเครือ (IHQ) เป็นหลัก

(1) เงื่อนไข:

- ต้องมีการจ้างพนักงานประจำที่มีความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับ IBC ไม่น้อยกว่า 10 คน เว้นแต่กรณี IBC ที่มีเฉพาะการให้บริการด้านการบริหารเงินแก่วิสาหกิจในเครือ ต้องมีการจ้างพนักงานประจำที่มีความรู้และทักษะไม่น้อยกว่า 5 คน

- กรณีเป็นการดำเนินกิจการการค้าระหว่างประเทศ ภายใต้ประเภทกิจการ 7.34 IBC จะต้องมีขอบข่ายธุรกิจในข้อ 1.1 – 1.10 ของกิจการ IBC ร่วมด้วยไม่น้อยกว่า 1 ข้อ

(2) สิทธิประโยชน์: ไม่ได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบของ BOI ได้ แต่สามารถขอคืนภาษีนำเข้ากับกรมศุลกากรได้

“มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ”ในกรณีลงทุนโซลาร์เซลล์ ต้องมีการกำหนดตัวชี้วัดหรือไม่ เช่น การวัดปริมาณการผลิตไฟฟ้าที่นำมาใช้เอง (2 ธ.ค. 2564)
ตัวชี้วัดกรณีการติดตั้งโซลาร์เซลล์ จะพิจารณาจากปีฐาน (ก่อนที่บริษัทจะผลิตไฟฟ้าด้วยโซลาร์เซลล์) เทียบกับปีที่ประเมิน (ปีที่บริษัทคาดการว่า ภายหลังติดตั้งโซลาร์เซลล์จะทำให้ปริมาณไฟฟ้าที่ใช้จากการไฟฟ้าเป็นเท่าไหร่) เช่น เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายระหว่างการใช้ไฟฟ้าและการใช้พลังงานแสงอาทิตย์
การ Cap วงเงินจากเครื่องจักรและอุปกรณ์ อุปกรณ์ในที่นี้จะรวมถึงโต๊ะที่ใช้ในการผลิตด้วยไหม เนื่องจาก กิจการของบริษัทจะต้องมีโต๊ะที่ใช้ในการทำกิจกรรมในด้านการผลิต เช่น ผสม ประกอบ เป็นต้นเลยไม่แน่ใจว่าจะเข้าข่ายอุปกรณ์ด้วยหรือไม่ หรือสามารถนำมา Cap วงเงินได้หรือไม่

1. BOI กำหนดนิยามของเครื่องจักรไว้ตาม ประกาศ ที่ ป.1/2546 ซึ่งครอบคลุมค่อนข้างกว้าง โต๊ะที่ใช้ในขั้นตอนการผลิต ผสม ประกอบ สามารถจัดเป็น "เครื่องใช้" ตามนิยามของประกาศ จึงสามารถขออนุมัติบัญชีเครื่องจักร เพื่อใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าตาม ม.28 ได้ แต่จะต้องไม่เป็นรายการที่สามารถผลิตได้ในประเทศ

2. กรณีการคำนวณวงเงินลงทุนเพื่อกำหนดวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ก็ใช้แนวทางเดียวกัน หากเป็นโต๊ะที่ใช้สนับสนุนกรรมวิธีการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพ ตามนิยามในประกาศ ก็สามารถนับเป็นมูลค่าการลงทุนในข่ายเครื่องจักรได้

หลังจากที่บริษัทได้รับหนังสือแจ้งมติจาก BOI เรียบร้อยแล้ว บริษัทสามารถยื่นเอกสารขอตอบรับมติ และยื่นเอกสารเพื่อขอออกบัตรส่งเสริมพร้อมกันได้หรือไม่ และอยากทราบว่าหลังจากที่บริษัทฯ ยื่นเอกสารเพื่อขอออกบัตรส่งเสริมแล้วระยะเวลาในการออกบัตรฯ ประมาณกี่วันทำการ

บริษัทสามารถยื่นเอกสารตอบรับมติ และเอกสารประกอบการขอออกบัตรส่งเสริมได้พร้อมกัน และระยะเวลาการออกบัตรส่งเสริม กำหนดไว้ 10 วันทำการ (ระเบียบ BOI ที่ 1/2553) อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

https://www.boi.go.th/index.php?page=before_promo_get_cert

เนื่องด้วยบริษัทได้รับกิจการประเภท 2.18 และ 5.5 ในบริษัทเดียวกัน บริษัทมีการเช่าที่ดิน+โรงงาน โดยประกอบการทั้ง 2 โครงการและกิจการประเภท 2.18 จะต้องทำการแจ้งยืนยันการดำเนินการตามโครงการ 6 เดือน อยากสอบถามว่า ช่องอาคารสถานประกอบการจะต้องแบ่งค่าเช่าเป็นแต่ละโครงการหรือไม่ สามารถใช้ยอดรวมต่อปีได้หรือไม่

กรณีที่ได้รับส่งเสริมหลายกิจการหรือหลายบัตรส่งเสริม ซึ่งสิทธิประโยชน์ไม่เท่ากัน หรือเริ่มต้นและสิ้นสุดไม่เท่ากัน บริษัทจะต้องแยกบัญชีรายรับรายจ่ายเพื่อคำนวณต้นทุนกำไรของแต่ละโครงการ เพื่อใช้สิทธิภาษีเงินได้ให้ถูกต้อง ค่าอาคารสถานประกอบการ ก็ต้องแยกต้นทุนของแต่ละโครงการด้วย กรณีที่สอบถาม น่าจะได้รับส่งเสริมเป็นคนละบัตร บัตรละ 1 กิจการ (โครงการ) ดังนั้น ในการแจ้งยืนยันการดำเนินการตามโครงการ ก็ควรแยกค่าใช้จ่ายของแต่ละโครงการด้วย

บัตรส่งเสริมการลงทุน เลขที่ xxxx(9)/2551 และได้มีการขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรเป็นจำนวน 3 ครั้ง ทำให้ต้องเปิดกิจการในช่วงวันที่ 29 กันยายน 2557 แต่จนถึงปัจจุบัน สถานะบริษัทยังไม่ได้เปิดกิจการ ถ้าบริษัทจะต้องการทำเรื่องขอเปิดกิจการสามารถดำเนินการได้เลยหรือเปล่า มีขั้นตอนยังไงบ้าง

บริษัทได้ขยายระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรครบ 3 ครั้งแล้ว ปัจจุบันพ้นกำหนดที่จะต้องเปิดดำเนินการแล้ว หากมีความจำเป็น เช่น ยังติดตั้งเครื่องจักรไม่เสร็จ อาจขอขยายเปิดอีก 1 ครั้ง ไม่เกิน 1 ปี ได้เป็นครั้งสุดท้าย จากนั้นจะต้องยื่นเปิดดำเนินการ หรือถ้าปัจจุบันพร้อมแล้ว ก็ควรยื่นขอเปิดดำเนินการ เพราะเลยกำหนดเปิดไปแล้ว ขั้นตอนขอเปิดดำเนินการ ก็กรอกแบบคำขออนุญาตเปิดดำเนินการ พร้อมกับเตรียมเอกสารตามที่กำหนด และยื่นต่อ BOI

สอบถามเรื่องเครื่องดูดฝุ่นเก่าอายุเกิน 10 ปีบริษัทสามารถซื้อเข้ามาใช้ได้รึเปล่า ถ้าได้ต้องทำอย่างไรบ้าง

เกิน 10 ปี ปกติไม่น่าจะได้ ซื้อมาเพื่อใช้งานอะไร เกี่ยวข้องกับโครงการที่ได้รับส่งเสริมอย่างไร สามารถผลิตในประเทศได้หรือไม่อย่างไร

การขอรับการส่งเสริมกิจการอาหาร และแป้งแปรรูป

กิจการผลิตอาหารเข้าข่ายให้การส่งเสริมได้ในประเภท 1.17 กิจการผลิตหรือถนอมอาหาร เครื่องดื่ม โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และกิจการผลิตแป้งแปรรูปเข้าข่ายให้การส่งเสริมได้ในประเภท 1.9 กิจการผลิตแป้งแปรรูป โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ ดังนี้

- ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 5 ปี (กำหนดวงเงินภาษีที่ได้รับยกเว้น ตามมูลค่าเงินลงทุนไม่รวมค่าที่ดินและเงินทุนหมุนเวียน)

- ยกเว้นภาษีนำเข้าเครื่องจักร

- ยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบสำหรับวัตถุดิบที่นำเข้ามาผลิตเพื่อส่งออก

- สิทธิประโยชน์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่ภาษีอากร (การอนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินตามโครงการที่ได้รับการส่งเสริม การอนุญาตนำเข้าช่างฝีมือต่างด้าว การอำนวยความสะดวกในการทำวีซ่าและใบอนุญาตทำงานแก่ช่างฝีมือต่างด้าว)

หลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการ

สำนักงานฯ ให้การส่งเสริมสำหรับกิจการที่มีการลงทุนในเครื่องจักรใหม่ทั้งสายการผลิต โดยเครื่องจักรที่ลงทุนใหม่นั้น จะต้องซื้อเข้ามาในโครงการที่ขอรับการส่งเสริมหลังจากวันที่ยื่นคำขอรับการส่งเสริม

ต้องเป็นการลงทุนในเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ใหม่ (เครื่องจักรต้องซื้อหลังจากวันที่ยื่นคำขอรับการส่งเสริม)

อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนจดทะเบียน (หรือส่วนของผู้ถือหุ้น) ไม่เกิน 3ต่อ1

เงินลงทุนขั้นต่ำ (ไม่รวมค่าที่ดินและเงินทุนหมุนเวียน) ไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท

กรณีมีน้ำเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิต ต้องมีการบำบัดให้เป็นไปตามมาตรฐานของกรมโรงงานอุตสาหกรรม

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่คู่มือการขอรับการส่งเสริม https://www.boi.go.th/upload/content/BOI_A_Guide_TH.pdf

กรณีต้องการขอรับการส่งเสริม กรุณากรอกแบบคำขอรับการส่งเสริมการลงทุน (F PA PP 01-07) https://www.boi.go.th/upload/content/F PA PP 01(Th) e-Form_5ce7a02221ad9.pdf และคู่มือการกรอกแบบขอรับการส่งเสริม โดยดาว์นโหลดได้จากลิงค์ https://www.boi.go.th/upload/content/expla_app_89488.pdf และยื่นคำขอได้ที่สำนักบริหารการลงทุน 1 หรือยื่นคำขอออนไลน์ได้ในระบบ e-investment http://e-investment.boi.go.th/auth/login

ถ้าคนต่างชาติต้องการขอรับการส่งเสริมการลงทุนในไทย (สำหรับการส่งเสริมกิจการทั่วไป)
1. ก่อนที่จะยื่นเอกสารหรือข้อมูลเพื่อขอรับการส่งเสริมกับสำนักงานฯ จะต้องอย่างไร เช่น ซื้อที่ดินฯ
2. คนต่างชาติจะต้องมีการซื้อที่ดินสำหรับก่อตั้งบริษัทที่จะขอรับการส่งเสริมใช่หรือไม่
3. เมื่อมีที่ดินแล้วจะต้องดำเนินการก่อสร้างบริษัทตามโครงการที่ได้รับการส่งเสริมให้แล้วเสร็จภายในกี่ปี
ตอบคำถามดังนี้
1. การจะซื้อที่ดินตามสิทธิประโยชน์มาตรา 27 จะต้องได้รับบัตรส่งเสริมแล้ว และจะต้องยื่นขออนุญาตถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน ตามแบบฟอร์มที่ BOI กำหนดในระบบ E-Land เมื่อสำนักงานอนุมัติแล้วจึงนำหนังสืออนุมัติถือกรรมสิทธิ์ที่ไปแสดงต่อกรมที่ดินเพื่อทำการโอนกรรมสิทธิ์ต่อไป
2. บริษัทต่างชาติสามารถขอถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน ตามมาตรา 27 เพื่อเป็นที่ตั้งสถานประกอบการ ตามโครงการที่ได้รับส่งเสริมได้ตามขอบข่ายภายใต้กิจการที่ได้รับการส่งเสริมเท่านั้น
3. โครงการที่ได้รับการส่งเสริมจะต้องดำเนินการให้พร้อมเปิดดำเนินการได้ภายใน 36 เดือน นับจากวันที่ออกบัตรส่งเสริม
หากต้องการยกเลิกบัตรส่งเสริม ต้องทำอย่างไร

หากท่านไม่ประสงค์จะเป็นผู้ที่ได้รับการส่งเสริม สามารถยื่นหนังสือขอยกเลิกบัตรส่งเสริมกับสำนักงาน โดยชี้แจงเหตุผลที่ต้องการยกเลิก เช่น การเลิกประกอบกิจการ การยกเลิกการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการส่งเสริม หรือสิทธิและประโยชน์ทางภาษีสิ้นสุดลงและไม่ประสงค์จะใช้สิทธิ์ที่ไม่ใช่ภาษี เป็นต้น โดยใช้ แบบคำขอขอยกเลิกบัตรส่งเสริม (F PM CC 01-00)

กรณีทางบริษัทนำเข้าชิ้นส่วนโดยใช้สิทธิ BOI เพื่อนำมาประกอบเป็นผลิตภัณฑ์ส่งงานขายให้ลูกค้า แต่ต่อมาภายหลังทางลูกค้าไม่มีorder จึงทำให้มียอดbalance ค้างใน MML กรณีนี้ทางบริษัทต้องดำเนินการอย่างไร
กรณีมีวัตถุดิบค้างคงเหลือในสต็อค สามารถดำเนินการได้หลายวิธีเช่น

1. ขอชำระภาษีอากรตามสภาพ ณ วันนำเข้า หลังจากนั้นจะนำไปจำหน่ายในประเทศก็ได้

2. ขอส่งคืนไปต่างประเทศโดยไม่มีภาระภาษี

3. ขอทำลายและชำระภาษีตามสภาพเศษซาก (ถ้ามี)

4. เก็บรักษาไว้ก่อน จนกว่าจะสามารถนำไปผลิตเป็นสินค้าส่งออก

แต่ถ้าระยะเวลาการยกเว้นภาษีวัตถุดิบสิ้นสุดลง จะต้องเคลียร์ยอดคงเหลือให้เป็น 0 ภายในระยะเวลาที่กำหนด มิฉะนั้นจะมีภาระภาษีเกิดขึ้น

กรณีขอชำระภาษีอากรตามสภาพ ต้องรวมถึง เบี้ยปรับ vat 1.5% ต่อเดือนด้วยหรือไม่
กรณีขอชำระภาษีอากรตามสภาพ ณ วันนำเข้า จะต้องชำระตามนี้

- อากรขาเข้า และ VAT ตามสภาพและพิกัดศุลกากร ณ วันนำเข้า

- เงินเพิ่ม VAT 1.5% ต่อเดือน

- เบี้ยปรับ VAT 1 เท่า

ขออภัยครับ ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ในภาษาที่ท่านเลือก !

Sorry, There is no information support your selected language !

Download และ ติดตั้งโปรแกรมอ่าน PDF

Download PDF Reader

Site map