ค่าก่อสร้างคลังเก็บสินค้าและวัตถุดิบที่ใช้ในกิจการที่ได้รับส่งเสริม ถือเป็นขนาดการลงทุนที่สามารถนำมาคำนวณเป็นวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ โดยจะอยู่ในอาคารเดียวกันกับอาคารโรงงานหรือไม่ก็ได้ แต่ต้องอยู่ในท้องที่ตามที่กำหนดไว้ในบัตรส่งเสริม และหากมีการเก็บสินค้าหรือวัตถุดิบอื่นที่นอกเหนือจากโครงการที่ได้รับส่งเสริม ก็ต้องปันส่วนค่าก่อสร้างตามพื้นที่ใช้งาน
ถือว่าเป็น กำไรจากการปริวรรตเงินตรา ซึ่งเกิดจากการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนโดยตรง เช่น จากการส่งออกผลิตภัณฑ์ หรือจากการนำเข้าเครื่องจักร วัตถุดิบ ตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม ถือเป็นรายได้ที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ในข่ายรายได้อย่างอื่นที่ได้รับความเห็นชอบจาก BOI และสรรพากร ตามข้อ 2.4 ของประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530
ประกาศกรมสรรพากร ลงวันที่ 2 กพ 2530 : http://www.rd.go.th/publish/3537.0.html
ตัวอย่างคำตอบข้อหารือกรมสรรพากร (1) : http://www.rd.go.th/publish/23061.0.html
ตัวอย่างคำตอบข้อหารือกรมสรรพากร (2) : http://www.rd.go.th/publish/25229.0.html
ประเภทกิจการที่สามารถขอรับการส่งเสริมภายใต้มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โดยมาตรการนี้กำหนดเงื่อนไขการขอรับการส่งเสริมว่า
“กิจการที่ดำเนินการอยู่แล้ว ไม่ว่าจะได้รับการส่งเสริมหรือไม่ก็ตาม หากไม่ได้รับการส่งเสริมต้องเป็นประเภทกิจการที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนประกาศให้การส่งเสริมการลงทุนที่ใช้บังคับอยู่ในขณะยื่นขอรับการส่งเสริม”
![]() |
ทั้งนี้ จากการประสานงานทางโทรศัพท์ บริษัทแจ้งว่า โครงการยังไม่เคยได้รับการส่งเสริมจากสำนักงาน และโครงการผลิตผลิตภัณฑ์ลูกอม ซึ่งกิจการดังกล่าวเป็นประเภทกิจการที่ไม่เข้าข่ายให้การส่งเสริมตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ 2/2557
![]() |
ดังนั้น โครงการของท่านจึงไม่สามารถขอรับการส่งเสริมภายใต้มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน หรือการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
กรมสรรพากรยุติการอนุมัติให้เป็น IHQ หรือ ITC และประกาศให้ส่งเสริมกิจการ IBC ซึ่งมีเงื่อนไขเข้มงวดมากขี้น หากต้องการขอรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีกับกรมสรรพากร จะต้องเปลี่ยนมาขอรับการส่งเสริม IBC แทน
ขึ้นอยู่กับนโยบายของบริษัท หากยังคงเป็นกิจการ IHQ สามารถใช้สิทธิและโยชน์ทางด้านภาษีในปัจจุบันต่อไปถึงระยะเวลาที่กำหนด (15 รอบปีบัญชี)
1. ต้องยื่นแบบขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีต่อ BOI ภายใน 120 วัน เพื่อให้ทันกำหนดที่บริษัทจะต้องยื่น ภงด จึงจะสามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบปีนั้นได้
2. หากยื่นหลังจาก 120 วัน BOI จะตรวจสอบไม่ทันกำหนดที่บริษัทจะต้องยื่น ภงด แต่บริษัทยังคงได้รับสิทธิยกเว้นภาษีในรอบปีนั้น (หากยังอยู่ในช่วงที่ได้รับสิทธิ ม.31) เพียงแต่บริษัทอาจต้องยื่น ภงด ช้า หรืออาจต้องขอแก้ไข ภงด ที่ยื่นไปแล้ว ซึ่งก็เป็นเรื่องของบริษัทกับสรรพากร
กรณีปิดงบวันที่ 28 ก.พ. 61 ถือเป็นงบของปี 61 จึงจะต้องรายงานภายในวันที่ 31 ก.ค. 62 แต่หากบริษัทปิดงบได้เร็ว จะยื่นรายงานภายในวันที่ 31 ก.ค. 61 ก็ได้
น่าจะระบุวันที่ออกบัตรส่งเสริมผิด คือ ควรจะเป็น 9 ก.พ. 56
1. เจ้าหน้าที่แนะนำถูกต้องแล้ว เนื่องจากหากขอขยายเวลาเปิดดำเนินการเพียงอย่างเดียว จะขอได้เพียง 1 ครั้ง (1 ปี) เท่านั้น
- แต่หากขอระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรพร้อมกับขยายเปิดดำเนินการ จะขอได้ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ปี และจะขอขยายเฉพาะเปิดดำเนินการเพียงอย่างเดียว ได้อีก 1 ครั้ง (1 ปี) คือ รวมสามารถขยายเวลาเปิดดำเนินการได้สูงสุด 4 ปี
2. หากบริษัทยื่นขอขยายเวลานำเข้าและขยายเปิดดำเนินการ โดยได้รับอนุมัติแล้วเมื่อวันที่ 8 ม.ค. 58
- การจะได้รับขยายถึงเมื่อไร ให้ตรวจสอบจากหนังสือแจ้งมติ
- ปกติจะได้รับขยายเวลานำเข้าเครื่องจักร 1 ปี (กรณีนี้ควรได้รับขยายเครื่องจักรถึงวันที่ 9 ส.ค. 58) และได้รับขยายเวลาเปิดดำเนินการ 1 ปี (กรณีนี้ควรได้รับขยายเวลาเปิดดำเนินการถึงวันที่ 9 ก.พ. 59)
- เมื่อได้รับหนังสือแจ้งมติแล้ว จะต้องนำบัตรส่งเสริมตัวจริงไปยื่นเพื่อขอแก้ไขด้วย จึงจะเสร็จสิ้นขั้นตอน
3. หากบริษัทไม่สามารถนำเข้าเครื่องจักรและเปิดดำเนินการได้ทันตามที่ได้รับขยายเวลาตามข้อ2
- เมื่อใกล้ครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ก็ให้ยื่นเรื่องขยายระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรและขยายเวลาเปิดดำเนินการอีกเป็นครั้งที่ 2
ขั้นตอนคือ ทำหนังสือหัวจดหมายบริษัท ยื่นพร้อมแบบฟอร์มขอแก้ไข แนบรายละเอียดอื่นๆ ที่จำเป็น เช่น รูปภาพ หรือ flowchart นำไปยื่นที่สำนักบริการลงทุน 1-4 ที่เป็นผู้พิจารณาอุตสาหกรรมนั้น หรือจะยื่นผ่าน สนง.บีโอไอ ต่างจังหวัด ก็ได้ แต่จะพิจารณาที่กรุงเทพ และหากจำเป็นต้องชี้แจงรายละเอียด ก็จะต้องชี้แจงที่กรุงเทพ การแก้ไขกรรมวิธีการผลิต มีหลายกรณี ดูข้อมูลเบื้องต้นได้จาก link http://faq108.co.th/boi/modify/process.php
หากนำเครื่องจักรมูลค่า 1 ล้านบาท เข้ามาโดยชำระภาษีอากร เพื่อใช้ในกิจการ BOI บางส่วน (50%) และใช้ในกิจการ Non-BOI บางส่วน (50%) ก็จะนับมูลค่าเงินลงทุนของเครื่องจักรนี้ได้ตามสัดส่วนที่ใช้ในกิจการ BOI (กรณีนี้คือ 5 แสน)
หลังจากได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการครบตามโครงการแล้ว หากนำเครื่องจักรตามข้อ 1 ไปใช้ในกิจการ Non-BOI ทั้งหมด จะไม่มีผลกับการนับมูลค่าเงินลงทุน
กรณีที่ 2 เปรียบเทียบกับตัวอย่างที่เข้าใจง่าย เช่น บริษัทซื้อเครื่องตรวจสอบ โดยชำระภาษีเข้ามาเอง ซึ่งสามารถนับเป็นมูลค่าเงินลงทุนได้ แต่ต่อมาหลังเปิดดำเนินการครบตามโครงการ ปรากฏว่าไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องตรวจสอบนั้นต่อไป ก็สามารถจำหน่ายได้ โดยไม่มีผลกับมูลค่าเงินลงทุนที่ได้ cap เป็นวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้ไปแล้ว
การขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรและเปิดดำเนินการ และการแก้ไขข้อมูลแนบท้ายบัตร มีดังนี้
1. บริษัทจะต้องยื่นขอขยายเวลาเปิดดำเนินการผ่านระบบ e-Services ตามลิงค์: https://www.boi.go.th/un/boi_online_services_form เลือกเมนู ระบบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานสิทธิประโยชน์ด้านเครื่องจักร (EMT) เข้า Login :Username / Password หากบริษัทไม่สามารถเข้า Login: Username / Password สามารถติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รายละเอียดดังนี้
คุณปองพล รอดสวัสดิ์ปอง โทร : 02-553-8395
คุณปิยะวรรณ ขยันมาก โทร : 02-553-822
ทั้งนี้ เมื่อบริษัทดำเนินการยื่นผ่านระบบ (EMT) รอการอนุมัติการขยายเวลาเปิดดำเนินการ/เครื่องจักร จากกองที่ดูแลประเภทกิจการนั้น
2. นำบัตรส่งเสริมตัวจริง และ Screen capture พิมพ์หน้าจอที่ได้รับอนุมัติ นำมายื่นที่กลุ่มบัตรส่งเสริม ชั้น 3
3. ระยะเวลาดำเนินการ 1-2 วันทำการ เนื่องจากกลุ่มบัตรส่งเสริมต้องได้รับข้อมูลจากกองที่อนุมัติการขอขยายเวลาเปิดดำเนินการ/เครื่องจักร ที่ทางบริษัทได้ยื่นไว้
4. ช่วงเวลาที่เปิดทำการแก้ไขแนบท้ายบัตรตั้งแต่วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น.
5. ติดต่อฝ่ายดำเนินการแก้ไขแนบท้ายบัตร กลุ่มบัตรส่งเสริม ชั้น 3 เบอร์โทร. 02-553-8111 กด 4
มาตรา 27 กำหนดเฉพาะระยะเวลาที่ต้องขายที่ดิน ภายหลังจากเลิกกิจการที่ได้รับส่งเสริม แต่ไม่ได้กำหนดเกี่ยวกับราคา จึงสามารถจำหน่ายที่ดินที่ถือครองตามสิทธิประโยชน์ ในราคาที่สูงกว่าที่ซื้อมาได้
รายละเอียดเครื่องจักร หมายถึงเครื่องจักรที่มีแผนจะลงทุนใหม่สำหรับโครงการที่ยื่นขอส่งเสริม โดยเป็นการประมาณการในรายละเอียดของเครื่องจักรที่จะใช้ในโครงการทั้งหมด ทั้งนี้เครื่องจักรเก่าใช้แล้วในประเทศ ไม่สามารถนำมานับรวมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการได้ นอกจากนี้อุปกรณ์สำนักงานอื่นๆ ไม่นับเป็นเครื่องจักร แต่นับเป็นสินทรัพย์อื่น ๆ
การยื่นตัดบัญชีวัตถุดิบ จากการชำระภาษีอากรผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ให้ยื่นไฟล์ตัดบัญชี โดยช่อง EXP_EXTRY ให้คีย์เลขที่หนังสืออนุมัติจาก BOI โดยไม่ต้องคีย์คำว่า " นร " และช่อง EXP_DATE ให้คีย์วันที่ของหนังสืออนุมัติ
เมื่อไปยื่นตัดบัญชีที่เคาน์เตอร์ IC จะยื่นไม่ผ่าน เนื่องจาก format ไม่ตรงกับที่กำหนด ให้แจ้งกับพนักงาน IC เพื่อให้ปลดล็อคระบบให้ กรณีจะยื่นตรวจสอบตัดบัญชีออนไลน์ จะยื่นไม่ได้ เนื่องจาก format ไม่ตรงกับที่กำหนด ให้คีย์เลขที่ใบขนขาออกอะไรก็ได้ เพื่อให้ยื่นตรวจสอบออนไลน์ได้
2. เอกสารที่ต้องใช้คือ
หนังสือบริษัทขอตัดบัญชี
ใบขนขาเข้าที่ชำระภาษีอากรผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป (ลงนามประทับตราทุกแผ่น) ใบเสร็จรับเงิน (ฉบับจริงและสำเนา)
สำเนาหนังสืออนุมัติให้ชำระภาษีอากรสินค้าสำเร็จรูป (ฉบับที่มีประทับตราครุฑแดงจาก BOI)
สามารถเปลี่ยนได้ โดยสำนักงานได้มีการกำหนดเงื่อนไขที่ตั้งโรงงาน/สถานประกอบการไว้ในบัตรส่งเสริม โดยผู้ได้รับส่งเสริมประสงค์จะเปลี่ยนสถานที่ตั้งโรงงาน/สถานประกอบการสามารถแบ่งได้เป็น 2 กรณีดังนี้
- ย้ายที่ตั้งโรงงาน/สถานประกอบการ โดยยังคงอยู่ในจังหวัดเดิมตามที่ระบุไว้ในบัตรส่งเสริม (เช่น เปลี่ยน ตำบล หรือ อำเภอ หรือย้ายไปในเขตหรือนิคมอุตสาหกรรมตามเดิม) และไม่ขัดกับกฎหมายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรณีนี้ไม่ต้องแก้ไขโครงการ แต่ผู้ได้รับการส่งเสริมจะต้องส่งจดหมายแจ้งให้สำนักงานทราบ
- ย้ายที่ตั้งโรงงาน/สถานประกอบการ โดยเปลี่ยนจากที่ตั้งเดิมที่ระบุไว้ในบัตรส่งเสริม (ย้ายไปอยู่จังหวัดอื่น/อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมอื่น) ผู้ได้รับการส่งเสริมต้องยื่นขอแก้ไขที่ตั้งโรงงาน/สถานประกอบการให้สำนักงาน
ตามแบบคำขออนุญาตเปลี่ยน/เพิ่ม/ลด สถานที่ตั้งโรงงาน/สถานประกอบการ (F PA PC 03-09)
กรณีที่บริษัท A และ B ควบรวมกิจการ นิติบุคคลใหม่ (C) ที่เกิดจากการควบรวมกิจการต้องยื่นคำขอรับการส่งเสริมสำหรับการโอน/ควบรวมกิจการภายใน 3 เดือนนับจากวันที่ทำการโอน/ควบรวมกิจการแล้ว ซึ่งบริษัทสามารถดำเนินการยื่นคำขอส่งเสริมสำหรับการโอน/ควบรวมกิจการได้ก่อนวันที่ทำการโอน/ควบรวมกิจการ
ทั้งนี้ นิติบุคคลใหม่ที่เกิดจากการควบรวมกิจการจะได้รับสิทธิและประโยชน์เท่าที่บัตรส่งเสริมของผู้โอนกิจการเดิมยังเหลืออยู่ เช่น สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สิทธิด้านเครื่องจักร สิทธิด้านวัตถุดิบ และสิทธิถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน เป็นต้น ซึ่งสิทธิประโยชน์จะถูกโอนจากบัตรเดิมมายังบัตรใหม่สำหรับการโอน/ควบรวมกิจการ
แม่พิมพ์เก่า ไม่ต้องมีใบรับรองประสิทธิภาพเครื่องจักรเก่า ตามประกาศ สกท. ที่ ป.2/2546 ข้อ 6