1.1 ขอรับส่งเสริมเป็นโครงการใหม่ ประเภท 7.11 กิจการวิจัยและพัฒนา
ต้องเป็นการวิจัยพัฒนาจนถึงขั้นจดสิทธิบัตรใหม่ จากนั้นนำผลวิจัยพัฒนานั้นไปทำการผลิตเชิงพาณิชย์ โดยจะใช้กิจการโรงงานที่ดำเนินการอยู่เดิมก็ได้ รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นผลงานจาก R&D นี้ ถือเป็นรายได้ที่สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ในโครงการ R&D จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ 8 ปี โดยไม่กำหนดวงเงินสูงสุด (ตามประเภท A1) https://www.boi.go.th/upload/Section7th_90697.pdf
1.2 ขอรับส่งเสริมเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต
เป็นการวิจัยพัฒนาหรือออกแบบทางวิศวกรรมเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เช่น พัฒนาคุณสมบัติสินค้า หรือพัฒนาสินค้ารุ่นใหม่ หรือออกแบบกระบวนการผลิตสินค้าให้มีประสิทธิภาพ เป็นต้น ขอรับส่งเสริมตามประกาศ กกท ที่ 9/2560 เรื่อง มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต https://www.boi.go.th/upload/content/9_2560_10104.pdf และคำชี้แจง https://www.boi.go.th/upload/content/c8_2561_5bb7426f6bcda.pdf จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ 3 ปี ไม่เกิน 50% ของมูลค่าเงินลงทุน R&D ต้องยื่นคำขอรับส่งเสริมภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2563 โครงการเดิมที่จะขอปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ต้องไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี หรือสิ้นสุดสิทธิยกเว้นภาษีไปแล้ว
2. บัญชีนวัตกรรมไทยเป็นคนละมาตรการกัน ไม่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการลงทุนของ BOI บริษัทจะรับสิทธิทั้ง 2 มาตรการก็ไม่มีปัญหาอะไร
ไม่ใช่
กิจการที่ได้รับสิทธิประโยชน์ในกลุ่ม B
สามารถได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบเพื่อผลิตเพื่อการส่งออก
หรือบางกิจการจะได้รับสิทธิ์เฉพาะการยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบเพื่อผลิตเพื่อการส่งออกเท่านั้น
สำหรับกิจการในกลุ่ม B
ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล
จะต้องเป็นกิจการที่มีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต
ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่
ป.10/60 ว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
ให้สิทธิประโยชน์กับประเภทกิจการกลุ่ม B (ยกเว้น ประเภทกิจการตามข้อ 2 ของประกาศ
สกท.ที่ ป.4/2560 ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2560) ที่มีการใช้ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ ดังนี้
1. กรณีมีการใช้เครื่องจักรที่มีการเชื่อมโยงหรือสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรระบบอัตโนมัติในประเทศไม่น้อยกว่าร้อยละ
30 ของมูลค่าเครื่องจักรเฉพาะส่วนที่เป็นการลงทุนนำระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์มาใช้ในการผลิตหรือการบริการ
ให้ได้รับวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 100
ของเงินลงทุนโดยไม่รวมค่าที่ดินและเงินทุนหมุนเวียนเป็นระยะเวลา 3 ปี
2. กรณีมีการใช้เครื่องจักรที่มีการเชื่อมโยงหรือสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรระบบอัตโนมัติในประเทศน้อยกว่าร้อยละ
30 ของมูลค่าเครื่องจักรเฉพาะส่วนที่เป็นการลงทุนนำระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์มาใช้ในการผลิตหรือการบริการ
ให้ได้รับวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 50 ของเงินลงทุนโดยไม่รวมค่าที่ดินและเงินทุนหมุนเวียนเป็นระยะเวลา
3 ปี
ตามประกาศ สกท ที่ ป 4/2560
ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2560 กำหนดประเภทกิจการที่ไม่ให้ได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม
ได้แก่
ประเภท 4.6 กิจการผลิตรถยนต์ทั่วไป
ประเภท 4.12
กิจการผลิตรถจักรยานยนต์ (ยกเว้นที่มีความจุกระบอกสูบต่ำกว่า 248 ซีซี)
ประเภท 4.16
กิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสม (Hybrid Electric Vehicles – HEV) และชิ้นส่วน
ประเภท 5.8 กิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ประเภท 7.2 กิจการสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ
ประเภท 7.5 กิจการสำนักงานใหญ่ข้ามประเทศ (International
Headquarters : IHQ)
ประเภท 7.6 กิจการบริษัทการค้าระหว่างประเทศ (international
Trading Centers : ITC)
ประเภท 7.7 กิจการสนับสนุนการค้าและการลงทุน (Trade
and Investment Support Office : TISO)
สืบเนื่องจากนโยบายที่ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่
2/2557 ได้มีประกาศอื่นๆเพื่อสนับสนุนนโยบายดังกล่าวดังนี้
- มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต
- นโยบายส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ และมาตรการส่งเสริมการลงทุนภายใต้โครงการเมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”
- นโยบายส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
“มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต”
ตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ 9/2560 ลงวันที่ 28 ตุลาคม 2560
มาตรการนี้ใช้กับ
1. กิจการที่ดำเนินการอยู่แล้ว ไม่ว่าจะได้รับการส่งเสริมหรือไม่ก็ตาม
หากไม่ได้รับการส่งเสริมต้องเป็นกิจการที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนประกาศให้การส่งเสริมการลงทุนในปัจจุบัน
2. โครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนอยู่เดิมสามารถยื่นขอรับการส่งเสริมภายใต้มาตรการนี้ได้
เมื่อระยะเวลาการยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้นสิ้นสุดลงแล้ว หรือเป็นโครงการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
เงื่อนไข
1. ต้องมีขนาดการลงทุนไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท โดยไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน
ยกเว้นโครงการลงทุนของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ต้องมีขนาดลงทุนไม่น้อยกว่า 500,000 บาทโดยไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน
2. ผู้ประกอบการที่จะเข้าข่ายเป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ต้องมีหลักเกณฑ์ดังนี้
2.1 เมื่อรวมกิจการทั้งหมดทั้งที่ได้รับการส่งเสริมและไม่ได้รับการส่งเสริมแล้ว
ผู้ขอรับการส่งเสริมต้องมีสินทรัพย์ถาวรสุทธิหรือขนาดลงทุนไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนไม่เกิน
200 ล้านบาท
2.2
ต้องมีบุคคลธรรมดาสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ
51 ของทุนจดทะเบียน
3. จะต้องยื่นคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนภายในปี
2563 และจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 3 ปี นับจากวันที่ออกบัตรส่งเสริม
สิทธิประโยชน์
1. ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร
2. ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
3 ปี เป็นสัดส่วนร้อยละ 50 ของเงินลงทุนโดยไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนในการปรับปรุง
โดยให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจากรายได้ของกิจการที่ดำเนินการอยู่เดิม ทั้งนี้ หากเป็นการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
โดยใช้หุ่นยนต์และเครื่องจักรระบบอัตโนมัติที่มีการเชื่อมโยงหรือสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรระบบอัตโนมัติในประเทศไม่น้อยกว่าร้อยละ
30 ของมูลค่าเครื่องจักรที่มีการปรับเปลี่ยนให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3
ปี จากรายได้ของกิจการที่ดำเนินการอยู่เดิม ในวงเงินไม่เกินร้อยละ 100
ของเงินลงทุนไม่รวมที่ดินและทุนหมุนเวียนในการปรับปรุง
3. ระยะเวลายกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
ให้นับจากวันที่มีรายได้ภายหลังได้รับบัตรส่งเสริม
หลักเกณฑ์การให้การส่งเสริม แบ่งออกเป็น 4 มาตรการย่อย ดังนี้
1. มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน หรือการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
กิจการที่มายื่นขอรับการส่งเสริมจะต้องเสนอแผนการลงทุนปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อการประหยัดพลังงาน
การนำพลังงานทดแทนมาใช้ในกิจการ หรือการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยดำเนินการในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ดังนี้
1) จะต้องมีการลงทุนปรับเปลี่ยนเครื่องจักรไปสู่เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อให้เกิดการใช้พลังงาน
ลดลงตามสัดส่วนที่กำหนด
2) จะต้องมีการลงทุนปรับเปลี่ยนเครื่องจักร เพื่อให้มีการนำพลังงานทดแทนมาใช้ในกิจการในสัดส่วนตามที่กำหนด
เมื่อเทียบกับการใช้พลังงานทั้งสิ้น
3) จะต้องมีการลงทุนปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการลดปริมาณของเสีย
น้ำเสีย หรืออากาศตามเกณฑ์ที่กำหนด
2.
มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
กิจการที่มายื่นขอรับการส่งเสริมจะต้องเสนอแผนการลงทุนปรับเปลี่ยนเครื่องจักรตามเกณฑ์ที่กำหนด
เช่น การนำระบบอัตโนมัติมาใช้ในสายการผลิตที่มีอยู่เดิม เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต
เป็นต้น
3. มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการวิจัยพัฒนาและออกแบบทางวิศวกรรมเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ
กิจการที่มายื่นขอรับการส่งเสริมจะต้องเสนอแผนการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาหรือออกแบบทางวิศวกรรมตามเกณฑ์ที่กำหนด
โดยจะต้องมีการลงทุนหรือมีค่าใช้จ่ายด้านวิจัยและพัฒนาหรือออกแบบทางวิศวกรรม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 1 ของยอดขายรวมใน3 ปีแรก นับจากวันที่ยื่นขอรับการส่งเสริม
ในกรณีเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต้องลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาหรือออกแบบทางวิศวกรรม
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.5 ของยอดขายรวมใน 3 ปีแรก นับจากวันที่ยื่นขอรับการส่งเสริม
4. มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการยกระดับอุตสาหกรรมเกษตรไปสู่มาตรฐานระดับสากล
ผู้ยื่นขอจะต้องจะต้องเสนอแผนการลงทุนเพื่อการยกระดับอุตสาหกรรมเกษตรไปสู่มาตรฐานระดับสากล เช่น มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agriculture Practices: GAP) มาตรฐานการรับรองป่าไม้ตามแนวทางขององค์การพิทักษ์ป่าไม้ (Forest Stewardship Council: FSC) มาตรฐาน PEFCs (Program for the Endorsement of Forest Certification Scheme) มาตรฐานระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหาร (ISO 22000) หรือมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการจัดการป่าไม้แบบยั่งยืน (ISO 14061 Sustainable Forest Management System (SFM)) หรือ มาตรฐานสากลอื่นที่เทียบเท่า และจะต้องมีการลงทุนหรือมีค่าใช้จ่ายดำเนินการตามแผนดังกล่าว โดยต้องได้รับการรับรองมาตรฐานดังกล่าวภายใน 3 ปี นับจากวันที่ออกบัตรส่งเสริม
มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต
มาตรการนี้เป็นมาตรการส่งเสริมการลงทุนตามประกาศที่
9/2560
ลงวันที่ 28 ตุลาคม 2560 คือ มาตรการการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนใน 4 เรื่อง
ดังนี้
-
การลงทุนด้านการประหยัดพลังงาน การลงทุนเพื่อใช้พลังงานทดแทน หรือการลงทุนเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
-
การลงทุนเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
-
การลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา หรือออกแบบทางวิศวกรรมเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ
-
การลงทุนเพื่อการยกระดับอุตสาหกรรมเกษตรไปสู่มาตรฐานระดับสากล
บริษัทมีความสนใจในมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต
จะได้รับสิทธิ์และประโยชน์ดังนี้
- จะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร
- จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
3 ปี จำนวน 50 % ของเงินที่ลงทุนเพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพดังกล่าว
(ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนในการปรับปรุงติดตั้ง)
- ระยะเวลายกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
(3 ปี) นับจากวันที่มีรายได้หลังได้รับบัตรส่งเสริม
และไม่เกินมูลค่า 50 % ของเงินที่ลงทุน
แล้วแต่ว่าอย่างใดจะครบกำหนดก่อน
ทั้งนี้ กรณีการลงทุนเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี มูลค่า 100 % ของเงินลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนในการปรับปรุงติดตั้ง)
กรณีที่การปรับปรุงดังกล่าว มีการเชื่อมโยงหรือสนับสนุนอุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักรอัตโนมัติในประเทศ
ไม่น้อยกว่า 30 % ของเครื่องจักรที่ติดตั้งเพิ่ม
เงื่อนไขของผู้ที่สามารถขอส่งเสริมการลงทุน
ภายใต้มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต
-
ผู้ขอส่งเสริมหากไม่เคยขอรับส่งเสริมการลงทุนมาก่อน
สามารถนำกิจการที่ดำเนินการอยู่ปัจจุบันมาขอรับส่งเสริมการลงทุนได้
โดยธุรกิจนั้นต้องเป็นกิจการที่สำนักงานให้ส่งเสริมการลงทุน ตามบัญชีประเภทกิจการที่ส่งเสริมการลงทุน
-
สำหรับกิจการเคยที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนแล้ว
สามารถยื่นขอรับสิทธิ์นี้ได้เมื่อระยะเวลาการยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้นสิ้นสุดลง
(สิ้นสุดมาตรา 31 แล้ว) หรือเป็นโครงการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
(ยกเว้นบางกิจการตามนโยบายเฉพาะที่สำนักงานกำหนด)
-
มีการลงทุนไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน)
- สำหรับกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม
จะต้องที่มีสินทรัพย์ถาวรสุทธิ หรือ ขนาดการลงทุนไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนไม่เกิน
200 ล้านบาท และมีหุ้นไทยไม่น้อยกว่า 50 % กำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำไม่น้อยกว่า
500,000 บาท (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน)
จะต้องใช้แบบฟอร์มดังนี้
- กรณีกิจการอยู่ในหมวดส่งเสริมการลงทุน 1 – 6 ให้ใช้แบบฟอร์มขอรับส่งเสริมการลงทุนทั่วไป (F PA PP 01-06)
- กรณีกิจการอยู่ในหมวดส่งเสริมการลงทุน 7 ให้ใช้แบบฟอร์มขอรับส่งเสริมการลงทุน (บริการ) (F PA PP 03-07)
โดยยื่นพร้อมกับแบบประกอบคำขอรับส่งเสริมการลงทุนตามกรณีต่าง ๆ ดังนี้
- แบบประกอบคำขอรับส่งเสริมตามหลักเกณฑ์การให้สิทธิและประโยชน์ตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน หรือการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (F PA PP 28-03)
- แบบประกอบคำขอรับการส่งเสริมตามหลักเกณฑ์การให้สิทธิและประโยชน์ ตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต (F PA PP 30-02)
- แบบประกอบคำขอรับการส่งเสริมตามหลักเกณฑ์การให้สิทธิและประโยชน์ ตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการวิจัย พัฒนา และออกแบบทางวิศวกรรมเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตตามประกาศณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ 1/2557 (F PA PP 38-01)
โครงการที่ได้รับส่งเสริมแล้ว และอยากจะขอรับส่งเสริมตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพฯ โครงการนั้นจะต้องสิ้นสุดแล้วทั้ง มาตรา 31 และ 35(1) จึงจะขอรับการส่งเสริมได้ ทั้งนี้หากจะยกเลิกโครงการก่อนก็สามารถทำได้ แต่อาจจะได้สิทธิภาษีจากมาตรการปรับปรุงฯ ไม่คุ้มกับการเสียสิทธิด้านภาษีเดิมที่มีอยู่
1. มาตรการสนับสนุนการฝึกอบรม ตามมาตรการบีโอไอ THAILAND PLUS สามารถดูรายละเอียดได้จาก ประกาศ กกท ที่ 5/2562
2. เนื่องจากในประกาศไม่ได้มีข้อกำหนดห้าม จึงเข้าใจว่าสามารถฝึกอบรมและใช้สิทธิทั้ง 2 แบบ ควบคู่กัน
3. หลักสูตรการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีขั้นสูง ครอบคลุมถึงหลักสูตรเทคโนโลยีขั้นสูงหรือทักษะพิเศษที่เป็นเป้าหมาย ซึ่งได้รับการรับรองจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) หรือจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ซึ่งสามารถติดต่อขอรายละเอียดหลักสูตรจากหน่วยงานดังกล่าวได้
ปัจจุบันกิจการ IPO และ ITC ไม่มีการให้การส่งเสริมแล้ว หากจะขอส่งเสริม จะต้องขอรับส่งเสริมในประเภท 7.34 กิจการศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (International Business Center : IBC) ในหมวดย่อย 1.11 แต่จะต้องเป็นการบริการแก่วิสาหกิจในเครือ และจะต้องมีขอบข่ายธุรกิจที่รวมหมวดย่อย 1.1 - 1.10 ข้อใดข้อหนึ่งรวมอยู่ด้วยไม่น้อยกว่า 1 ข้อ
โดยจะต้องมีการจ้างพนักงานประจำที่มีความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับงาน IBC ไม่น้อยกว่า 10 คน แต่จะไม่ได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบตามมาตรา 36 จึงอาจสรุปได้ว่า ตามประกาศฉบับปัจจุบัน กิจการ IPO และ ITC ในรูปแบบเดิม ไม่มีการให้การส่งเสริมแล้ว
กรณีบริษัทมีผลิตภัณฑ์ 2 ชนิด คือ A และ B ซึ่งจัดเป็นคนละประเภทกิจการ บริษัทสามารถยื่นขอรับส่งเสริมการส่งเสริมรวมในโครงการได้ โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ และกำหนดเงื่อนไข แยกตามประเภทกิจการนั้นๆ แต่ระยะเวลาการเริ่มใช้สิทธิครั้งแรก (เช่น สิทธิด้านเครื่องจักร วัตถุดิบ และภาษีเงินได้) จะเริ่มนับได้เพียง 1 ครั้ง ต่อ 1 โครงการ คือ ไม่แยกนับตามการเริ่มใช้สิทธิของ A หรือ B
ซึ่งในทางปฏิบัติ หากสิทธิประโยชน์ (โดยเฉพาะด้านเครื่องจักรและวัตถุดิบ) ของ A และ B แตกต่างกัน อาจมีปัญหาในการใช้สิทธิในระบบ EMT และ RMTS ด้วย ซึ่งบริษัทควรศึกษาข้อจำกัดของระบบให้ชัดเจนก่อน
โดยทั่วไป หากสิทธิประโยชน์ของ A และ B ไม่เท่ากัน แนะนำให้แยกยื่นเป็น 2 โครงการ เนื่องจากวันเริ่มใช้สิทธิครั้งแรกจะแยกกันตามแต่ละโครงการ ซึ่งจะคุ้มค่าทางภาษีมากกว่า
การปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ตาม ประกาศ กกท.9/2560 ข้อ 3 และตามคำชี้แจง สกท ลงวันที่ 28 กันยายน 2561 ข้อ 1.4 ไม่มีข้อกำหนดว่าจะต้องเป็นการปรับเปลี่ยนในขั้นตอนการผลิตหลักเท่านั้น
ดังนั้น หากจะปรับเปลี่ยนเฉพาะในขั้นตอนบรรจุ ก็อยู่ในข่ายที่จะยื่นขอรับส่งเสริมได้ แต่รายละเอียดและสาระในการปรับปรุงจะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่ จะต้องให้บีโอไอเป็นผู้พิจารณา
เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน ขอเรียบเรียงข้อเท็จจริงที่ได้แจ้งมาดังนี้ หากมีความเข้าใจไม่ตรงกันอย่างไรโปรดแจ้ง
1. บริษัทมี 2 ที่ตั้ง คือ ที่จังหวัดสมุทรปราการ และนครราชสีมา
2. โครงการที่จังหวัดนครราชสีมาได้รับการส่งเสริม (BOI) มาก่อน
3. ภายหลังโครงการที่จังหวัดสมุทรปราการ ได้รับส่งเสริมตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ Solar
4. ทั้งสองโครงการเป็นสายการผลิตแยกกันเด็ดขาด และมีการทำบัญชีกำไรขาดทุนแยกกันโดยชัดเจน
หากข้อมูลดังกล่าวถูกต้องขอนำเรียนดังนี้
1. BOI ให้การส่งเสริมแยกเป็นรายโครงการ ดังนั้นโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต Solar Rooftop ของโรงงานสมุทรปราการจะสามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล (ม.31) ได้เฉพาะสำหรับกำไรที่เกิดขึ้นในโครงการที่ได้รับส่งเสริมในโรงงานสมุทรปราการเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้กับกำไรจากโครงการอื่นของบริษัทได้
2. การพิจารณาว่ากำไรส่วนใดเป็นกำไรจากสายการผลิตใดที่ได้รับส่งเสริม ให้ดูจากแบบฟอร์มคำขอที่ได้ยื่นกับสำนักงาน ซึ่งจะระบุชื่อผลิตภัณฑ์และกำลังการผลิตที่ได้รับส่งเสริม ในหัวข้อเงื่อนไขเฉพาะโครงการในบัตรส่งเสริมตามาตรการ Solar ของโครงการสมุทรปราการ
3. โครงการเดิมที่ได้รับส่งเสริมที่จังหวัดนครราชสีมา น่าจะได้รับส่งเสริมตามมาตรการทั่วไป ไม่สามารถนำมาปะปนกับโครงการที่จังหวัดสมุทรปราการได้
4. การบันทึกสินทรัพย์ส่วน Solar ให้อยู่กับโครงการสมุทรปราการน่าจะถูกต้องแล้ว ค่าเสื่อม สิทธิยกเว้นภาษี บัญชีกำไรขาดทุนที่แยกกันระหว่าง 2 โครงการน่าจะถูกต้องตามหลักการแล้ว
ประเภทกิจการที่สามารถขอรับการส่งเสริมภายใต้มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โดยมาตรการนี้กำหนดเงื่อนไขการขอรับการส่งเสริมว่า
“กิจการที่ดำเนินการอยู่แล้ว ไม่ว่าจะได้รับการส่งเสริมหรือไม่ก็ตาม หากไม่ได้รับการส่งเสริมต้องเป็นประเภทกิจการที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนประกาศให้การส่งเสริมการลงทุนที่ใช้บังคับอยู่ในขณะยื่นขอรับการส่งเสริม”
![]() |
ทั้งนี้ จากการประสานงานทางโทรศัพท์ บริษัทแจ้งว่า โครงการยังไม่เคยได้รับการส่งเสริมจากสำนักงาน และโครงการผลิตผลิตภัณฑ์ลูกอม ซึ่งกิจการดังกล่าวเป็นประเภทกิจการที่ไม่เข้าข่ายให้การส่งเสริมตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ 2/2557
![]() |
ดังนั้น โครงการของท่านจึงไม่สามารถขอรับการส่งเสริมภายใต้มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน หรือการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม